จงเลียนแบบครูผู้ยิ่งใหญ่
จงเลียนแบบครูผู้ยิ่งใหญ่
“เหตุฉะนั้น จงไปและทำให้ชนจากทุกชาติเป็นสาวก . . . สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้.”—มัดธาย 28:19, 20, ล.ม.
1, 2. (ก) ในความหมายใดที่ว่าเราทุกคนเป็นครู? (ข) ในเรื่องการสอน คริสเตียนแท้มีความรับผิดชอบอะไรเป็นพิเศษ?
คุณเป็นครูไหม? ในแง่หนึ่ง เราทุกคนเป็นครู. ทุกครั้งที่คุณบอกเส้นทางแก่ผู้ที่หลงทาง, แสดงให้เพื่อนร่วมงานเห็นวิธีทำงานบางอย่าง, หรืออธิบายวิธีผูกเชือกรองเท้าแก่เด็ก, คุณกำลังทำการสอน. การช่วยเหลือผู้อื่นเช่นนั้นนำความอิ่มใจพอใจมาให้เราไม่น้อยมิใช่หรือ?
2 ในเรื่องการสอน คริสเตียนแท้มีความรับผิดชอบเป็นพิเศษ. เราได้รับมอบหมายให้ “ทำให้ชนจากทุกชาติเป็นสาวก . . . สอนเขา.” (มัดธาย 28:19, 20, ล.ม.) ภายในประชาคม เรามีโอกาสสอนเช่นกัน. พวกผู้ชายที่มีคุณวุฒิได้รับการแต่งตั้งให้รับใช้ฐานะ “ผู้บำรุงเลี้ยงและผู้สอน” โดยมีจุดมุ่งหมายจะเสริมสร้างประชาคม. (เอเฟโซ 4:11-13, ล.ม.) ในกิจกรรมประจำวันของคริสเตียน สตรีผู้อาวุโสควร “เป็นผู้สอนการดี” แก่ผู้หญิงที่อ่อนวัยกว่า. (ติโต 2:3-5) เราทุกคนได้รับการกระตุ้นให้ชูใจเพื่อนร่วมความเชื่อ และเราสามารถเอาใจใส่คำแนะเตือนนั้นโดยใช้คัมภีร์ไบเบิลในการเสริมสร้างผู้อื่น. (1 เธซะโลนิเก 5:11) นับเป็นสิทธิพิเศษจริง ๆ ที่ได้เป็นผู้สอนพระคำของพระเจ้าและแบ่งปันค่านิยมฝ่ายวิญญาณที่ก่อผลประโยชน์ถาวร!
3. เราอาจปรับปรุงประสิทธิภาพของเราในฐานะผู้สอนได้อย่างไร?
3 แต่เราอาจปรับปรุงประสิทธิภาพของเราฐานะผู้สอนได้อย่างไร? วิธีหลักก็คือโดยการเลียนแบบพระเยซูครูผู้ยิ่งใหญ่. บางคนอาจสงสัยว่า ‘แต่พระเยซูทรงสมบูรณ์พร้อม เราจะเลียนแบบพระองค์ได้อย่างไร?’ จริงอยู่ เราไม่อาจเป็นครูที่สมบูรณ์พร้อม. ถึงกระนั้น เราสามารถทำดีที่สุดเท่าที่เราทำได้เพื่อเลียนแบบวิธีที่พระเยซูสอน ไม่ว่าเรามีความสามารถมากน้อยเท่าไร. ขอให้เราพิจารณาว่าจะใช้วิธีการสอนสี่วิธีของพระองค์ได้อย่างไร คือ การใช้ถ้อยคำที่เรียบง่าย, การใช้คำถามที่บังเกิดผล, การหาเหตุผลที่ถูกต้อง, และการใช้อุทาหรณ์ที่เหมาะสม.
ทำให้คำสอนเข้าใจง่าย
4, 5. (ก) เหตุใดความเรียบง่ายจึงเป็นลักษณะสำคัญของความจริงในคัมภีร์ไบเบิล? (ข) เพื่อจะให้คำสอนเข้าใจได้ง่าย เหตุใดจึงสำคัญที่เราจะระวังการเลือกใช้คำศัพท์?
4 ความจริงพื้นฐานในพระคำของพระเจ้าไม่สลับซับซ้อน. พระเยซูตรัสในคำอธิษฐานดังนี้: “ข้าพระองค์สรรเสริญพระองค์ เพราะทรงปิดบังสิ่งเหล่านี้เสียจากคนฉลาด และผู้รู้ และทรงเปิดเผยแก่บรรดาเด็กเล็ก ๆ.” (มัดธาย 11:25, ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) พระยะโฮวาทรงทำให้พระประสงค์ของพระองค์ได้รับการเปิดเผยแก่คนที่จริงใจและถ่อมใจ. (1 โกรินโธ 1:26-28) ด้วยเหตุนี้ ความเรียบง่ายจึงเป็นลักษณะสำคัญของความจริงในคัมภีร์ไบเบิล.
5 เมื่อคุณนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลตามบ้านและกลับเยี่ยมผู้สนใจ คุณจะสอนอย่างไรให้เข้าใจได้ง่าย? เอาล่ะ เราได้เรียนอะไรจากครูผู้ยิ่งใหญ่? เพื่อแน่ใจว่าคำสอนของพระองค์เป็นที่เข้าใจสำหรับผู้ฟังซึ่งหลายคน “ขาดการศึกษาและเป็นคนสามัญ” พระเยซูใช้ภาษาธรรมดาสามัญที่พวกเขาสามารถเข้าใจได้. (กิจการ 4:13, ฉบับแปลใหม่) ดังนั้น เพื่อให้คำสอนเข้าใจง่าย ข้อเรียกร้องประการแรกคือ ระมัดระวังการเลือกใช้คำศัพท์. เราไม่จำเป็นต้องตกแต่งถ้อยคำให้เลิศลอยเพื่อทำให้ความจริงแห่งพระคำของพระเจ้าฟังดูน่าเชื่อถือมากขึ้นแก่คนอื่น. “คำพูด . . . เลิศลอยเกินความจริง” เช่นนั้นอาจเป็นการข่มโดยเฉพาะกับ คนมีการศึกษาหรือความสามารถจำกัด. (1 โกรินโธ 2:1, 2, ล.ม.) ตัวอย่างของพระเยซูแสดงว่าถ้อยคำเรียบง่ายที่เลือกสรรอย่างดีสามารถถ่ายทอดความจริงได้อย่างมีพลัง.
6. เราจะระวังไม่ป้อนข้อมูลให้นักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลมากเกินไปได้อย่างไร?
6 เพื่อจะสอนให้เข้าใจได้ง่าย เราต้องระวังด้วยที่จะไม่ป้อนข้อมูลให้นักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลมากเกินไป. พระเยซูทรงคำนึงถึงข้อจำกัดของเหล่าสาวก. (โยฮัน 16:12) เราต้องคำนึงถึงข้อจำกัดของนักศึกษาเช่นกัน. เพื่อเป็นตัวอย่าง เมื่อนำการศึกษาโดยใช้หนังสือความรู้ซึ่งนำไปสู่ชีวิตนิรันดร์ เราไม่จำเป็นต้องอธิบายรายละเอียดทุกอย่าง. * อีกทั้งเราไม่จำเป็นต้องเร่งรีบให้จบเนื้อหาราวกับว่าการครอบคลุมเนื้อหาให้ได้มาก ๆ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด. แทนที่จะทำอย่างนั้น นับว่าฉลาดถ้าเราให้ความจำเป็นและความสามารถของนักศึกษาเป็นตัวกำหนดอัตราเร็วในการศึกษา. เป้าหมายของเราคือช่วยนักศึกษาให้มาเป็นสาวกของพระคริสต์และผู้นมัสการพระยะโฮวา. เราจำต้องใช้เวลามากเท่าที่จำเป็นเพื่อช่วยผู้สนใจให้เข้าใจสิ่งที่เขากำลังศึกษาอย่างชัดเจน. โดยวิธีนี้ ความจริงอาจมีผลกระทบหัวใจของเขาและกระตุ้นเขาให้ลงมือปฏิบัติ.—โรม 12:2.
7. มีข้อแนะอะไรที่อาจช่วยให้เราสอนอย่างที่เข้าใจได้ง่ายเมื่อบรรยายในประชาคม?
7 เมื่อเราบรรยายในประชาคม โดยเฉพาะเมื่อมีผู้สนใจใหม่เข้ามาร่วมประชุม เราจะใช้ภาษาพูดที่ ‘เข้าใจง่าย’ ได้อย่างไร? (1 โกรินโธ 14:9) การพิจารณาข้อแนะสามประการต่อไปนี้อาจช่วยได้. ประการแรก อธิบายคำศัพท์ที่ผู้ฟังไม่คุ้นเคยซึ่งคุณจำเป็นต้องใช้. ความเข้าใจของเราในพระคำของพระเจ้าทำให้เรามีคำหรือวลีที่มีความหมายเฉพาะ. หากเราใช้คำเฉพาะ อย่างเช่น “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม,” “แกะอื่น,” และ “บาบูโลนใหญ่” เราอาจต้องอธิบายความหมายคำเหล่านี้ด้วยถ้อยคำง่าย ๆ ให้กระจ่าง. ประการที่สอง หลีกเลี่ยงการใช้คำเยิ่นเย้อ. ถ้อยคำที่ฟุ่มเฟือย, กล่าวอย่างละเอียดลออเกินไป อาจทำให้ผู้ฟังหมดความสนใจ. ความกระจ่างชัดเกิดจากการตัดถ้อยคำและวลีที่ไม่จำเป็นออกไป. ประการที่สาม อย่าพยายามครอบคลุมเนื้อหามากเกินไป. การค้นคว้าอาจทำให้เรารวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ ที่น่าสนใจมากมาย. แต่ดีที่สุดที่จะจัดเนื้อหาให้มีจุดสำคัญแค่ไม่กี่จุด ใช้แต่ข้อมูลที่สนับสนุนจุดสำคัญต่าง ๆ เหล่านั้นและที่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนภายในเวลาที่จัดไว้ให้.
ใช้คำถามที่บังเกิดผล
8, 9. เราจะตั้งคำถามที่เข้ากับความสนใจของเจ้าของบ้านได้อย่างไร? จงให้ตัวอย่าง.
8 ขอให้ระลึกว่าพระเยซูเป็นผู้ชำนิชำนาญในการใช้คำถามเพื่อให้เหล่าสาวกของพระองค์เผยสิ่งที่อยู่ในใจ และเพื่อกระตุ้นและฝึกหัดให้พวกเขาใช้ความคิด. โดยใช้คำถาม พระเยซูเข้าถึงและกระตุ้นหัวใจพวกเขาอย่างอ่อนโยน. (มัดธาย 16:13, 15; โยฮัน 11:26) เราจะใช้คำถามที่บังเกิดผลเหมือนอย่างพระเยซูได้อย่างไร?
9 เมื่อเราประกาศตามบ้าน เราสามารถใช้คำถามเพื่อเร้าความสนใจ ปูทางไว้ให้เราสำหรับสนทนาเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า. เราจะตั้งคำถามที่เข้ากับความสนใจของเจ้าของบ้านได้อย่างไร? จงเป็นคนช่างสังเกต. เมื่อไปถึงบ้านที่จะประกาศ ขอให้สังเกตบริเวณบ้าน. มีของเล่นที่ลานบ้านหรือที่สนามหญ้าไหมซึ่งบ่งบอกว่าบ้านนี้มีเด็ก? ถ้าเป็นเช่นนั้น เราอาจถามว่า ‘คุณเคยสงสัยไหมว่าโลกจะเป็นเช่นไรเมื่อลูก ๆ ของคุณโตขึ้น?’ (บทเพลงสรรเสริญ 37:10, 11) บ้านนั้นมีกุญแจล็อกประตูหน้าบ้านหลายชุดหรือติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยไว้ไหม? ถ้าอย่างนั้น เราอาจถามว่า ‘คุณคิดว่าจะมีสมัยหนึ่งที่เรารู้สึกปลอดภัยโดย ไม่ต้องกลัวขโมยเข้าบ้านและรู้สึกปลอดภัยเมื่อเดินตามถนนหนทางไหม?’ (มีคา 4:3, 4) มีทางลาดทำไว้สำหรับเข็นเก้าอี้ล้อเลื่อนของผู้ป่วยไหม? ถ้ามี เราอาจถามว่า ‘คุณคิดว่าจะมีสมัยหนึ่งไหมที่ทุกคนจะมีสุขภาพดี?’ (ยะซายา 33:24) คุณจะพบข้อเสนอแนะมากมายในหนังสือเล่มเล็กวิธีเริ่มและสานต่อการสนทนาเรื่องพระคัมภีร์. *
10. เราจะใช้คำถามเพื่อ ‘ดึง’ ความคิดและความรู้สึกในใจนักศึกษาออกมาได้อย่างไร แต่เราควรระลึกอะไรไว้เสมอ?
10 เราจะใช้คำถามอย่างบังเกิดผลเมื่อนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลได้อย่างไร? เราอ่านใจคนเหมือนอย่างพระเยซูไม่ได้. อย่างไรก็ตาม คำถามที่ผ่อนหนักผ่อนเบาและใช้ความสังเกตเข้าใจอาจช่วยเราให้ ‘ดึง’ ความคิดและความรู้สึกในใจนักศึกษาออกมาได้. (สุภาษิต 20:5) เพื่อเป็นตัวอย่าง สมมุติว่าเรากำลังศึกษาบท “เหตุผลที่การดำเนินชีวิตด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้านำมาซึ่งความสุข” ในหนังสือความรู้. บทนี้พิจารณาทัศนะของพระเจ้าในเรื่องความไม่ซื่อสัตย์, การผิดประเวณี, และเรื่องอื่น ๆ. นักศึกษาอาจตอบคำถามที่พิมพ์ไว้ได้อย่างถูกต้อง แต่เขาเห็นด้วยกับสิ่งที่เขากำลังเรียนรู้ไหม? เราอาจถามดังนี้: ‘คุณคิดว่าทัศนะของพระยะโฮวาในเรื่องเหล่านั้นดูมีเหตุผลไหม?’ ‘คุณคิดว่าจะนำเอาหลักการเหล่านี้จากคัมภีร์ไบเบิลไปใช้ในชีวิตของคุณอย่างไร?’ แต่จงระลึกไว้เสมอว่า เราต้องเคารพในศักดิ์ศรีของนักศึกษา. เราไม่อยากจะถามคำถามที่ทำให้นักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลต้องอึดอัดใจหรืออับอายขายหน้า.—สุภาษิต 12:18.
11. ในทางใดบ้างที่ผู้บรรยายสาธารณะอาจใช้คำถามอย่างบังเกิดผล?
11 ผู้บรรยายสาธารณะสามารถใช้คำถามอย่างบังเกิดผลเช่นกัน. โดยการใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ซึ่งเป็นคำถามที่ไม่คาดหมายให้ผู้ฟังตอบออกมา เราอาจช่วยผู้ฟังให้คิดและหาเหตุผล. เป็นครั้งคราว พระเยซูทรงใช้คำถามในรูปแบบนี้. (มัดธาย 11:7-9) นอกจากนี้ หลังจากเกริ่นนำ ผู้บรรยายอาจใช้คำถามเพื่อบอกเค้าโครงจุดสำคัญ ๆ ที่จะมีการพิจารณา. เขาอาจพูดว่า “ในคำบรรยายวันนี้ เราจะพิจารณากันถึงคำตอบของคำถามต่อไปนี้ .. . ” จากนั้น ในตอนสรุป เขาอาจอ้างถึงคำถามเหล่านี้เพื่อทบทวนจุดสำคัญ ๆ.
12. จงให้ตัวอย่างที่แสดงถึงวิธีที่คริสเตียนผู้ปกครองสามารถใช้คำถามเพื่อช่วยเพื่อนร่วมความเชื่อให้รับเอาการปลอบโยนจากพระคำของพระเจ้า.
12 ในการเยี่ยมบำรุงเลี้ยง คริสเตียนผู้ปกครองสามารถใช้คำถามเพื่อช่วย “จิตวิญญาณที่หดหู่ใจ” ให้รับเอาการปลอบโยนจากพระคำของพระยะโฮวา. (1 เธซะโลนิเก 5:14, ล.ม.) ยกตัวอย่าง เพื่อช่วยคนที่ท้อใจ ผู้ปกครองอาจนำความสนใจไปสู่บทเพลงสรรเสริญ 34:18 (ล.ม.). ข้อนั้นอ่านว่า “พระยะโฮวาทรงอยู่ใกล้คนที่หัวใจสลาย; และคนที่จิตใจชอกช้ำพระองค์ทรงช่วยให้รอด.” เพื่อทำให้แน่ใจว่าคนที่ท้อใจนั้นเห็นว่าข้อนี้ใช้กับเขาเป็นส่วนตัวได้อย่างไร ผู้ปกครองอาจถามว่า ‘พระยะโฮวาทรงอยู่ใกล้ใคร? บางครั้งคุณรู้สึก “หัวใจสลาย” และ “จิตใจชอกช้ำ” ไหม? ถ้าคัมภีร์ไบเบิลบอกว่าพระยะโฮวาอยู่ใกล้คนเช่นนั้น นั่นหมายความว่าพระองค์อยู่ใกล้คุณมิใช่หรือ?’ คำรับรองอันอ่อนละมุนเช่นนั้นอาจฟื้นจิตใจผู้ที่หดหู่ขึ้นมาใหม่ได้.—ยะซายา 57:15.
การหาเหตุผลที่ถูกต้อง
13, 14. (ก) เราอาจหาเหตุผลอย่างไรกับคนที่บอกว่าเขาไม่เชื่อในพระเจ้าที่เขามองไม่เห็น? (ข) ทำไมเราไม่ควรคาดหมายว่าทุกคนจะเชื่อการอ้างเหตุผลของเรา?
13 ในงานเผยแพร่ เราต้องการเข้าถึงหัวใจของผู้ฟังด้วยการหาเหตุผลที่โน้มน้าวใจและถูกต้อง. (กิจการ 19:8; 28:23, 24) นี่หมายความว่าเราต้องเรียนการใช้ตรรกที่สลับ ซับซ้อนเพื่อทำให้คนอื่นเชื่อมั่นในความจริงแห่งพระคำของพระเจ้าไหม? ไม่เลย. การหาเหตุผลที่ถูกต้องไม่จำเป็นต้องสลับซับซ้อน. การอ้างเหตุผลที่สมเหตุสมผลในแบบที่ง่ายมักบังเกิดผลมากที่สุด. ขอให้พิจารณาสักตัวอย่างหนึ่ง.
14 เราอาจตอบอย่างไรเมื่อบางคนบอกว่าเขาไม่เชื่อในพระเจ้าที่เขามองไม่เห็น? เราอาจหาเหตุผลโดยอาศัยกฎธรรมชาติว่าด้วยเหตุและผล. เมื่อเราสังเกตเห็นผลอย่างหนึ่ง เรายอมรับว่าต้องมีเหตุที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น. เราอาจพูดว่า ‘ถ้าคุณอยู่ในที่ห่างไกลจากผู้คนและบังเอิญพบบ้านหลังหนึ่งที่สร้างไว้อย่างดีพร้อมมีอาหารเก็บไว้ (ผล) คุณคงยอมรับได้ทันทีว่ามีใครสักคน (เหตุ) ได้สร้างบ้านหลังนั้นและใส่อาหารไว้ในตู้เก็บอาหาร. ดังนั้น เมื่อคุณเห็นหลักฐานการออกแบบในธรรมชาติและอาหารที่มีอย่างอุดมใน “แหล่งเก็บอาหาร” บนผืนแผ่นดินโลก (ผล) ก็สมเหตุผลมิใช่หรือที่จะยอมรับว่ามีผู้ใดผู้หนึ่ง (เหตุ) ได้ทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเช่นกัน?’ คัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงความจริงข้อนี้อย่างชัดเจนด้วยการอ้างเหตุผลที่เรียบง่ายว่า “บ้านทุกหลังย่อมมีคนสร้าง แต่ผู้ที่ได้สร้างสรรพสิ่งทั้งปวงคือพระเจ้า.” (เฮ็บราย 3:4, ล.ม.) แต่ไม่ว่าเราอาจหาเหตุผลได้อย่างน่าเชื่อถือเพียงไร ไม่ใช่ทุกคนจะเชื่อ. คัมภีร์ไบเบิลเตือนใจเราว่าเฉพาะคนที่ “มีความโน้มเอียงอย่างถูกต้อง” เท่านั้นจะเข้ามาเป็นผู้เชื่อถือ.—กิจการ 13:48, ล.ม.; 2 เธซะโลนิเก 3:2.
15. แนวการหาเหตุผลเช่นไรที่เราสามารถใช้เพื่อเน้นคุณลักษณะและแนวทางต่าง ๆ ของพระยะโฮวา และสองตัวอย่างอะไรที่แสดงวิธีที่เราอาจใช้การหาเหตุผลเช่นนั้น?
15 ในการสอนของเรา ไม่ว่าในงานเผยแพร่หรือในประชาคม เราสามารถใช้การหาเหตุผลที่ถูกต้องเพื่อเน้นคุณลักษณะและแนวทางต่าง ๆ ของพระยะโฮวา. ที่บังเกิดผลเป็นพิเศษคือการหาเหตุผลในแนว ‘ยิ่งกว่านั้นสักเท่าใด’ ที่พระเยซูทรงใช้เป็นครั้งคราว. (ลูกา 11:13; 12:24) การหาเหตุผลโดยอาศัยความแตกต่างเช่นนี้อาจสร้างความประทับใจได้อย่างลึกซึ้ง. เพื่อชี้ให้เห็นว่าหลักคำสอนเรื่องไฟนรกนั้นไม่สมเหตุผล เราอาจพูดว่า ‘ไม่มีพ่อคนไหนที่มีความรักคิดจะลงโทษลูกของตนด้วยการจับมือลูกใส่ในไฟ. ยิ่งกว่านั้นสักเท่าใดที่ความคิดเรื่องการลงโทษในไฟนรกจะเป็นที่น่ารังเกียจสำหรับพระบิดาฝ่ายสวรรค์ผู้ทรงเปี่ยมด้วยความรักของเรา!’ (ยิระมะยา 7:31) เพื่อสอนว่าพระยะโฮวาทรงใฝ่พระทัยผู้รับใช้ของพระองค์เป็นรายบุคคล เราอาจกล่าวว่า ‘ถ้าพระยะโฮวาทรงรู้จักชื่อดาวทุกดวงที่มีจำนวนนับไม่ถ้วน ยิ่งกว่านั้นสักเท่าไรที่พระองค์คงต้องสนพระทัยในมนุษย์ที่รักพระองค์และได้ถูกซื้อไว้ด้วยพระโลหิตอันมีค่าของพระบุตรของพระองค์!’ (ยะซายา 40:26; กิจการ 20:28) การหาเหตุผลที่ทรงพลังเช่นนั้นจะช่วยเราเข้าถึงหัวใจของคนอื่นได้.
อุทาหรณ์ที่เหมาะสม
16. ทำไมอุทาหรณ์จึงมีประโยชน์ในการสอน?
16 อุทาหรณ์ที่บังเกิดผลเป็นเครื่องปรุงที่ชูรสให้คำสอนของเราน่ากินมากขึ้นสำหรับคนอื่น. ทำไมอุทาหรณ์จึงมีประโยชน์ในการสอน? ผู้ให้การศึกษาคนหนึ่งให้ข้อสังเกตว่า “ความสามารถในการคิดเชิงนามธรรมเป็นหนึ่งในสิ่งที่มนุษย์ทำได้ยากที่สุด.” อุทาหรณ์ประทับภาพลงในจิตใจของเราอย่างที่มีความหมาย ช่วยเราให้จับแนวความคิดใหม่ ๆ ได้ดียิ่งขึ้น. พระเยซูทรงโดดเด่นในเรื่องการใช้อุทาหรณ์. (มาระโก 4:33, 34) ขอให้เราพิจารณาว่าเราจะใช้วิธีการสอนนี้ของพระองค์ได้อย่างไร.
17. อะไรคือปัจจัยสี่ประการที่ทำให้อุทาหรณ์บังเกิดผล?
17 มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้อุทาหรณ์บังเกิดผล? ประการแรก อุทาหรณ์ควรเหมาะกับผู้ฟัง นำเอาเหตุการณ์ที่ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายมาใช้. เราจำได้ว่าพระเยซูนำเอาเรื่องราวในชีวิตประจำวันของผู้ฟังมาใช้ในอุทาหรณ์ของพระองค์. ประการที่สอง อุทาหรณ์ควรเข้ากันอย่างเหมาะเจาะกับจุดสำคัญของเรื่องที่กำลังพิจารณา. ถ้าการเปรียบเทียบไม่เข้ากันกับเรื่องแล้ว อุทาหรณ์นั้นอาจทำให้ผู้ฟังเขวไปทางอื่น. ประการที่สาม อุทาหรณ์ไม่ควรมีรายละเอียดมากมายที่ไม่จำเป็น. จำไว้ว่าพระเยซูใส่รายละเอียดเฉพาะที่จำเป็นในอุทาหรณ์แต่ตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไป. ประการที่สี่ เมื่อเราใช้อุทาหรณ์ เราควรทำให้แน่ใจว่าได้อธิบายอย่างชัดเจนว่าอุทาหรณ์นั้นนำมาใช้อย่างไรกับเรื่องที่กำลังพิจารณา. มิฉะนั้น บางคนอาจไม่เข้าใจว่าเรายกอุทาหรณ์นั้นขึ้นมาทำไม.
18. เราจะคิดอุทาหรณ์ที่เหมาะสมออกได้อย่างไร?
18 เราจะคิดอุทาหรณ์ที่เหมาะสมออกได้อย่างไร? ไม่จำเป็นกิจการ 3:19 ที่กล่าวว่าพระยะโฮวาทรง “ลบล้าง” ความผิดของเราออกไป. คำพรรณนานั้นให้ภาพชัดเจนในตัวเองอยู่แล้ว แต่เราอาจใช้ตัวอย่างอะไรที่เป็นรูปธรรมเพื่อเน้นจุดสำคัญนี้. อาจเป็นยางลบไหม? หรือว่าเป็นฟองน้ำ? เราอาจพูดอย่างนี้: ‘เมื่อพระยะโฮวาให้อภัยความผิดของเรา พระองค์ทรงลบล้างความผิดนั้นเสมือนกับพระองค์ใช้ฟองน้ำ (หรือยางลบ).’ ง่ายที่เราจะเข้าใจจุดสำคัญของอุทาหรณ์ที่สั้น ๆ อย่างนั้น.
ที่เราต้องคิดถึงเรื่องยืดยาวและสลับซับซ้อน. อุทาหรณ์ที่สั้นบังเกิดผลดีที่สุด. เพียงแต่พยายามคิดถึงตัวอย่างที่เกี่ยวกับจุดสำคัญที่กำลังพิจารณา. ตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังพิจารณาเรื่องการให้อภัยของพระเจ้า และเราต้องการให้ตัวอย่างที่เน้นจุดสำคัญใน19, 20. (ก) เราจะหาอุทาหรณ์ดี ๆ ได้จากที่ไหน? (ข) อะไรคือบางตัวอย่างของอุทาหรณ์ที่บังเกิดผลซึ่งได้ตีพิมพ์ไว้ในสรรพหนังสือของเรา? (โปรดดูกรอบสี่เหลี่ยมด้วย.)
19 คุณจะหาอุทาหรณ์ที่เหมาะสม รวมทั้งตัวอย่างเหตุการณ์จากชีวิตจริงได้จากที่ไหน? ค้นหาตัวอย่างเหล่านั้นจากชีวิตคุณเองหรือจากภูมิหลังและประสบการณ์ที่หลากหลายของเพื่อนร่วมความเชื่อ. คุณอาจเลือกใช้อุทาหรณ์จากหลายแหล่ง ไม่ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต, ของใช้ในครัวเรือน, หรือเหตุการณ์ในปัจจุบันซึ่งเป็นที่รู้จักในชุมชน. กุญแจในการหาอุทาหรณ์ดี ๆ คือการเป็นคนตื่นตัว คอย “สังเกตดู” เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวในแต่ละวัน. (กิจการ 17:22, 23, ล.ม.) หนังสืออ้างอิงเกี่ยวกับการพูดในที่ชุมชนเล่มหนึ่งอธิบายดังนี้: “นักพูดที่สังเกตชีวิตมนุษย์และกิจกรรมที่มนุษย์ทำกันเป็นประจำทุกวัน, พูดคุยกับผู้คนทุกชนิด, พิจารณาสิ่งต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วนและถามคำถามจนกว่าจะเข้าใจ จะเก็บรวบรวมข้อมูลไว้มากมายที่เขาสามารถนำมาใช้ยกตัวอย่างได้เมื่อมีความจำเป็น.”
20 มีอีกแหล่งหนึ่งที่เก็บรวบรวมอุทาหรณ์ที่บังเกิดผลไว้มากมาย นั่นคือวารสารหอสังเกตการณ์, ตื่นเถิด!, และสรรพหนังสืออื่น ๆ ที่ผลิตโดยพยานพระยะโฮวา. คุณสามารถเรียนรู้ได้มากจากการสังเกตวิธีที่สรรพหนังสือเหล่านี้ใช้อุทาหรณ์. * เพื่อเป็นตัวอย่าง ขอให้พิจารณาอุทาหรณ์ที่ใช้ในบท 17 ข้อ 11 ของหนังสือความรู้. ในข้อนั้นมีการเปรียบเทียบความหลากหลายของบุคลิกภาพภายในประชาคมกับยวดยานมากมายที่กำลังแล่นไปบนถนนพร้อมกับคุณ. อะไรทำให้อุทาหรณ์นี้บังเกิดผล? สังเกตว่าอุทาหรณ์ดังกล่าวอาศัยเหตุการณ์ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน เข้ากันได้อย่างเหมาะเจาะกับจุดสำคัญของเรื่องที่กำลังพิจารณา และมีการอธิบายอย่างชัดเจนว่าอุทาหรณ์นั้นเกี่ยวข้องอย่างไรกับจุดสำคัญของเรื่องนั้น. เราอาจใช้อุทาหรณ์ที่ตีพิมพ์ไว้ในสรรพหนังสือของเราในการสอน บางทีดัดแปลงอุทาหรณ์เหล่านั้นให้เข้ากับความจำเป็นของนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลของเราหรือปรับสำหรับใช้ในคำบรรยาย.
21. เราได้รับบำเหน็จอะไรจากการเป็นครูที่บังเกิดผลในการสอนพระคำของพระเจ้า?
21 บำเหน็จของการเป็นครูที่บังเกิดผลนั้นมีมากมาย. เมื่อเราสอน เราแบ่งปันให้กับผู้อื่น; เราใช้สิ่งที่เรามีเพื่อช่วยเหลือพวกเขา. การให้เช่นนั้นนำมาซึ่งความสุข เพราะคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “การให้เป็นเหตุให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ.” (กิจการ 20:35) สำหรับผู้สอนพระคำของพระเจ้า ความสุขนั้นมาจากความยินดีที่รู้ว่าเรากำลังให้สิ่งที่มีคุณค่าแท้และยั่งยืน นั่นคือความจริงเกี่ยวกับพระยะโฮวา. เราอาจมีความพึงพอใจเช่นกันที่รู้ว่าเรากำลังเลียนแบบพระเยซูคริสต์ ครูผู้ยิ่งใหญ่.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 6 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
^ วรรค 9 ดูส่วน “คำนำเพื่อใช้ในการประกาศ” หน้า 1-7.—จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
^ วรรค 20 เพื่อทราบว่าจะหาตัวอย่างได้จากที่ไหน ให้ดูจากดัชนีสรรพหนังสือของว็อชเทาเวอร์ 1986-2000 (ภาษาอังกฤษ) ภายใต้หัวเรื่อง “Illustrations” (อุทาหรณ์).—จัดพิมพ์ในหลายภาษาโดยพยานพระยะโฮวา.
คุณจำได้ไหม?
• เราจะสอนอย่างไรให้เข้าใจได้ง่ายเมื่อนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลตามบ้าน? และเมื่อบรรยายในประชาคม?
• เราจะใช้คำถามอย่างบังเกิดผลได้อย่างไรเมื่อประกาศตามบ้าน?
• เราอาจใช้การหาเหตุผลอย่างสมเหตุสมผลอย่างไรเพื่อเน้นคุณลักษณะและแนวทางต่าง ๆ ของพระยะโฮวา?
• เราจะหาอุทาหรณ์ที่เหมาะสมได้จากที่ไหน?
[คำถาม]
[กรอบ/รูปภาพหน้า 23]
คุณจำอุทาหรณ์เหล่านี้ได้ไหม?
ต่อไปนี้เป็นอุทาหรณ์ที่บังเกิดผลเพียงบางตัวอย่าง. ลองค้นดูจากหนังสือที่อ้างถึงและสังเกตว่าอุทาหรณ์เหล่านี้ช่วยเน้นจุดสำคัญที่มีการพิจารณาอย่างไร?
• คล้ายกับนักกายกรรมผาดโผนหรือนักเล่นสเกตน้ำแข็งประเภทคู่ คนที่พยายามสร้างชีวิตสมรสให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยคู่ที่ดี.—หอสังเกตการณ์ 15 พฤษภาคม 2001 หน้า 16.
• การแสดงความรู้สึกของคุณเปรียบเหมือนการเล่นโยนลูกบอล. คุณอาจโยนเบา ๆ หรือขว้างอย่างแรงที่ทำให้เจ็บตัว.—ตื่นเถิด! 8 มกราคม 2001 หน้า 10.
• การเรียนที่จะแสดงความรักคล้ายกับการเรียนภาษาใหม่.—หอสังเกตการณ์ 15 กุมภาพันธ์ 1999 หน้า 18, 22, 23.
• บาปที่ได้รับเป็นมรดกอาจเปรียบได้กับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อไฟล์หนึ่งในคอมพิวเตอร์ผิดเพี้ยนไปเนื่องจากไวรัส.—พระผู้สร้างผู้ใฝ่พระทัยในตัวคุณมีไหม? หน้า 156.
• ลัทธิผีปิศาจเป็นประโยชน์ต่อพวกผีปิศาจเหมือนเหยื่อล่อเป็นประโยชน์ต่อนายพราน. มันดึงดูดใจเหยื่อ.—ความรู้ซึ่งนำไปสู่ชีวิตนิรันดร์ หน้า 111.
• วิธีที่พระเยซูช่วยชีวิตลูกหลานอาดามอาจเปรียบได้กับผู้ช่วยเหลือทางการเงินที่ฐานะมั่งคั่งคนหนึ่งได้ยอมชำระหนี้สินบริษัท (ที่ก่อโดยผู้จัดการคนหนึ่งที่กระทำการทุจริต) แล้วเปิดโรงงานดำเนินกิจการอีก ด้วยเหตุนี้ ลูกจ้างหลายคนของโรงงานจึงได้รับประโยชน์.—หอสังเกตการณ์ 15 กุมภาพันธ์ 1991 หน้า 13.
• เช่นเดียวกับคนที่รักศิลปะจะพยายามเต็มที่เพื่อบูรณะผลงานชิ้นเอกที่เสียหายหนัก พระยะโฮวาทรงมองข้ามความไม่สมบูรณ์ของเรา เห็นจุดดีในตัวเรา และในที่สุดจะฟื้นฟูเราสู่ฐานะสมบูรณ์ที่อาดามทำให้สูญไป.—หอสังเกตการณ์ 15 กุมภาพันธ์ 1990 หน้า 26.
[ภาพหน้า 20]
คริสเตียนแท้เป็นครูสอนพระคำของพระเจ้า
[ภาพหน้า 21]
ผู้ปกครองอาจใช้คำถามเพื่อช่วยเพื่อนร่วมความเชื่อให้รับเอาการปลอบโยนจากพระคำของพระเจ้า