เราควรมีทัศนะอย่างไรต่อการทดลอง?
เราควรมีทัศนะอย่างไรต่อการทดลอง?
การทดสอบ! การทดลอง! ทุกคนต้องเผชิญ. การทดลองอาจเกิดขึ้นเนื่องจากความขัดแย้งด้านบุคลิกภาพ, ความลำบากทางเศรษฐกิจ, สุขภาพไม่ดี, การล่อใจต่าง ๆ, ความกดดันจากคนรุ่นเดียวกันที่ให้ทำผิด, การข่มเหง, ข้อท้าทายต่าง ๆ ต่อจุดยืนของเราในเรื่องความเป็นกลางหรือจุดยืนที่คัดค้านการไหว้รูปเคารพ, และอีกมากมายหลายสิ่ง. ไม่ว่าเราเผชิญการทดลองเช่นไรก็ตาม การทดลองเหล่านั้นมักทำให้เกิดความกังวลมากมาย. เราจะรับมือกับการทดลองอย่างเป็นผลสำเร็จได้อย่างไร? การทดลองเป็นประโยชน์แก่เราในทางใดไหม?
การเกื้อหนุนที่ดีที่สุด
กษัตริย์ดาวิดในสมัยโบราณได้ประสบการทดลองต่าง ๆ ตลอดชั่วชีวิต กระนั้นท่านก็ซื่อสัตย์จนวันตาย. ท่านสามารถอดทนได้อย่างไร? ท่านชี้ถึงแหล่งแห่งกำลังของท่านเมื่อกล่าวว่า “พระยะโฮวาเป็นผู้ทรงบำรุงเลี้ยงข้าพเจ้า; ข้าพเจ้าจะไม่ขัดสน.” แล้วท่านกล่าวต่อไปว่า “แม้ว่าข้าพเจ้าจะดำเนินไปตามหว่างเขาอันมัวมืดแห่งความตาย, ข้าพเจ้าจะไม่กลัวอันตรายเลย; เพราะพระองค์ทรงสถิตอยู่ด้วยข้าพเจ้า; ไม้ทัณฑกร, และทานพระกรของพระองค์ทรงประเล้าประโลมข้าพเจ้า.” (บทเพลงสรรเสริญ 23:1, 4) ถูกแล้ว พระยะโฮวาทรงเป็นแหล่งของการเกื้อหนุนอย่างไม่มีขีดจำกัด. พระองค์ทรงบำรุงเลี้ยงดาวิดตลอดช่วงเวลาที่เครียดกังวล และพระองค์ทรงพร้อมจะทำอย่างเดียวกันเพื่อพวกเราเมื่อจำเป็น.
เราจะได้รับการเกื้อหนุนจากพระยะโฮวาได้โดยวิธีใด? คัมภีร์ไบเบิลชี้ถึงวิธีนั้นเมื่อกล่าวว่า “จงชิมดูจึงจะรู้ว่าพระยะโฮวาเป็นผู้ประเสริฐ.” (บทเพลงสรรเสริญ 34:8) นี่เป็นคำเชิญอย่างจริงใจ แต่หมายความเช่นไร? เป็นการให้กำลังใจที่จะรับใช้พระยะโฮวาและทำให้ชีวิตของเราประสานกับพระทัยประสงค์ของพระองค์อย่างเต็มที่. แนวทางดังกล่าวหมายถึงการสละเสรีภาพของเราบางส่วน การเสียสละ. ในบางกรณี นั่นอาจถึงกับนำไปสู่การทดลอง เช่น การข่มเหงและการทนทุกข์. กระนั้น คนที่ยอมรับคำเชิญของพระยะโฮวาอย่างสุดหัวใจไม่รู้สึกผิดหวังเลยที่ได้ทำเช่นนั้น. พระยะโฮวาจะทรงกรุณาพวกเขาอย่างยิ่ง. พระองค์จะทรงชี้นำพวกเขาและเอาพระทัยใส่พวกเขาทางฝ่ายวิญญาณ. พระองค์จะทรงค้ำจุนพวกเขาให้ผ่านการทดลองต่าง ๆ โดยทางพระคำของพระองค์, พระวิญญาณบริสุทธิ์, และประชาคมคริสเตียน. และในที่สุดพระองค์จะประทานรางวัลชีวิตนิรันดร์ให้พวกเขา.—บทเพลงสรรเสริญ 23:6; 25:9; ยะซายา 30:21; โรม 15:5.
คนเหล่านั้นที่ตัดสินใจโดยปรับเปลี่ยนชีวิตเพื่อรับใช้พระยะโฮวาและเป็นผู้ที่ยึดมั่นกับการตัดสินใจนั้นพบว่าพระยะโฮวาทรงทำตามคำสัญญาทั้งสิ้นของพระองค์. นั่นเป็นประสบการณ์ของชาวอิสราเอลซึ่งได้ติดตามยะโฮซูอะเข้าสู่แผ่นดินตามคำสัญญา. เมื่อพวกเขาได้ข้ามแม่น้ำจอร์แดน [ยาระเดน] แล้ว มีการทดลองต่าง ๆ ที่เขาต้องทนเอา, การสู้รบที่พวกเขาต้องมีส่วนร่วม, และบทเรียนอันน่าเศร้าสลดที่เขาต้องเรียนรู้. แต่คนรุ่นนั้นปรากฏว่าซื่อสัตย์มากกว่าเหล่ายะโฮซูอะ 21:44, 45) เราจะมีประสบการณ์เช่นนั้นได้ด้วยหากเราไว้วางใจอย่างเต็มเปี่ยมในพระยะโฮวาระหว่างที่ถูกทดลองและในเวลาอื่นทั้งสิ้น.
บิดาของพวกเขา ผู้ซึ่งออกจากอียิปต์แล้วตายในถิ่นทุรกันดาร. ฉะนั้น พระยะโฮวาทรงเกื้อหนุนชนผู้ซื่อสัตย์ และบันทึกในคัมภีร์ไบเบิลกล่าวเกี่ยวกับสภาพของพวกเขาในบั้นปลายของชีวิตยะโฮซูอะว่า “พระยะโฮวาให้เขามีความสงบเงียบในที่ล้อมรอบ, ตามสิ่งสารพัตรที่พระองค์ทรงปฏิญาณไว้แก่บิดาของเขาแล้ว . . . ในสรรพสิ่งที่ทุกอย่างซึ่งพระยะโฮวาตรัสไว้แก่เผ่าพันธุ์ยิศราเอล; หาได้ขาดเหลือสักสิ่งไม่, ย่อมสำเร็จไปทั้งสิ้น.” (อะไรอาจบั่นทอนความมั่นใจของเราในพระยะโฮวา? พระเยซูทรงชี้ถึงสิ่งหนึ่งเมื่อตรัสว่า “ไม่มีคนใดปรนนิบัตินายสองนายได้ .. . ท่านจะปฏิบัติพระเจ้าและจะปฏิบัติเงินทองด้วยก็ไม่ได้.” (มัดธาย 6:24) หากเราไว้วางใจในพระยะโฮวา เราจะไม่มองหาความมั่นคงในที่ซึ่งคนส่วนใหญ่ในโลกนี้แสวงหา คือในสิ่งฝ่ายวัตถุ. พระเยซูทรงแนะนำเหล่าสาวกของพระองค์ว่า “ดังนั้น จงแสวงหาราชอาณาจักรและความชอบธรรมของพระองค์ก่อนเสมอไป แล้วสิ่งอื่นเหล่านี้ทั้งหมด [สิ่งฝ่ายวัตถุที่จำเป็น] จะเพิ่มเติมให้แก่ท่าน.” (มัดธาย 6:33, ล.ม.) คริสเตียนซึ่งรักษาทัศนะที่สมดุลเกี่ยวกับสิ่งฝ่ายวัตถุและจัดเอาราชอาณาจักรของพระเจ้ามาเป็นอันดับแรกในชีวิตได้เลือกอย่างถูกต้อง. (ท่านผู้ประกาศ 7:12) แน่นอน เขาอาจต้องเสียอะไรบางอย่างไป. เขาอาจเสียสละในทางวัตถุ. แต่เขาจะได้ผลตอบแทนหลายอย่าง. และพระยะโฮวาจะทรงเกื้อหนุนเขา.—ยะซายา 48:17, 18.
สิ่งที่เราเรียนจากการทดลอง
แน่นอน การเลือกที่จะ ‘ชิมดูและรู้ว่าพระยะโฮวาเป็นผู้ประเสริฐ’ มิได้ป้องกันคนเราไว้จากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในชีวิต; ทั้งมิได้ปกป้องเราอย่างสิ้นเชิงจากการจู่โจมของซาตานและตัวแทนของมันที่เป็นมนุษย์. (ท่านผู้ประกาศ 9:11) ผลก็คือ ความจริงใจและความตั้งใจของคริสเตียนอาจถูกทดสอบ. ทำไมพระยะโฮวาปล่อยให้ผู้นมัสการพระองค์ประสบการทดลองเช่นนั้น? อัครสาวกเปโตรบอกเหตุผลอย่างหนึ่งเมื่อเขียนว่า “เดี๋ยวนี้ ถ้าหากต้องเป็นเช่นนั้น ท่านทั้งหลายได้รับความทุกข์โศกชั่วเวลาสั้น ๆ ด้วยการทดลองหลายอย่าง เพื่อว่าคุณภาพแห่งความเชื่อของท่านทั้งหลายที่ถูกทดสอบแล้ว ซึ่งล้ำค่ากว่าทองคำที่สูญเสียไปแม้ว่าถูกพิสูจน์ด้วยไฟ จะเป็นเหตุให้เกิดการสรรเสริญและสง่าราศีและเกียรติยศในคราวการปรากฏของพระเยซูคริสต์.” (1 เปโตร 1:6, 7, ล.ม.) ถูกแล้ว การทดลองต่าง ๆ เปิดโอกาสให้เราพิสูจน์แสดงคุณภาพแห่งความเชื่อและความรักของเราที่มีต่อพระยะโฮวา. และการทดลองเหล่านั้นช่วยให้มีคำตอบสำหรับคำเยาะเย้ยและข้อกล่าวหาของซาตานพญามาร.—สุภาษิต 27:11; วิวรณ์ 12:10.
การทดลองช่วยเราให้พัฒนาคุณลักษณะอื่น ๆ แบบคริสเตียนด้วย. ขอพิจารณาถ้อยคำของผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญเป็นตัวอย่างที่ว่า “[พระยะโฮวา] ยังทรงระลึกถึงคนต่ำต้อย [“คนถ่อม,” ล.ม.] แต่คนจองหองนั้นพระองค์ทรงรู้จักแต่เผิน ๆ.” (บทเพลงสรรเสริญ 138:6) พวกเราหลายคนไม่ได้เป็นคนถ่อมมาแต่กำเนิด แต่การทดลองต่าง ๆ อาจช่วยเราพัฒนาคุณลักษณะที่จำเป็นนั้น. ขอระลึกย้อนหลังไปในสมัยของโมเซคราวเมื่อบางคนในชาติอิสราเอลรู้สึกว่าการกินมานาสัปดาห์แล้วสัปดาห์เล่า, เดือนแล้วเดือนเล่าเป็นสิ่งน่าเบื่อ. ดูเหมือนว่านั่นเป็นการทดลองสำหรับพวกเขา ถึงแม้มานาเป็นอาหารที่จัดเตรียมอย่างอัศจรรย์ก็ตาม. จุดประสงค์ของการทดลองนั้นคืออะไร? โมเซได้บอกพวกเขาว่า “[พระยะโฮวา] ทรงเลี้ยงท่านทั้งหลายด้วยมานาในถิ่นทุรกันดาร . . . เพื่อว่าพระองค์จะทรงกระทำให้ท่านถ่อมใจและทดลองท่าน.”—พระบัญญัติ 8:16, ฉบับแปลใหม่.
ความถ่อมใจของเราอาจถูกทดสอบได้เช่นกัน. โดยวิธีใด? ตัวอย่างเช่น เรามีปฏิกิริยาอย่างไรต่อการปรับเปลี่ยนทางด้านองค์การ? (ยะซายา 60:17) เราสนับสนุนงานประกาศและงานสั่งสอนอย่างสุดหัวใจไหม? (มัดธาย 24:14; 28:19, 20) เรายอมรับอย่างกระตือรือร้นในคำอธิบายเกี่ยวกับความจริงของคัมภีร์ไบเบิลตามที่ “ทาสสัตย์ซื่อและ สุขุม” ได้จัดเตรียมให้ไหม? (มัดธาย 24:45-47, ล.ม.; สุภาษิต 4:18) เราต้านทานแรงกดดันที่จะได้สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ, แฟชั่นล่าสุด, หรือรถยนต์รุ่นใหม่ล่าสุดไหม? บุคคลที่ถ่อมใจจะสามารถตอบว่าใช่สำหรับคำถามดังกล่าว.—1 เปโตร 1:14-16; 2 เปโตร 3:11.
การทดลองช่วยพัฒนาคุณลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งในตัวเรา นั่นก็คือความอดทน. สาวกยาโกโบกล่าวว่า “พี่น้องของข้าพเจ้า จงถือว่าเป็นความยินดีทั้งสิ้นเมื่อท่านทั้งหลายประสบการทดลองต่าง ๆ เพราะอย่างที่ท่านทั้งหลายรู้อยู่ว่า คุณภาพของความเชื่อของท่านที่ผ่านการทดสอบแล้วทำให้เกิดความเพียรอดทน.” (ยาโกโบ 1:2, 3, ล.ม.) การอดทนการทดสอบครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างประสบผลสำเร็จด้วยความไว้วางใจเต็มเปี่ยมในพระยะโฮวาย่อมทำให้เกิดความมั่นคงแน่วแน่, ความเสมอต้นเสมอปลาย, และความซื่อสัตย์มั่นคง. ความอดทนเสริมกำลังให้ต้านทานการโจมตีในอนาคตโดยซาตาน พระเจ้าที่โกรธแค้นของโลกนี้.—1 เปโตร 5:8-10; 1 โยฮัน 5:19; วิวรณ์ 12:12.
รักษาทัศนะที่ถูกต้องในเรื่องการทดลอง
พระเยซูคริสต์ พระบุตรผู้สมบูรณ์พร้อมของพระเจ้าได้เผชิญการทดลองหลายอย่างขณะอยู่บนแผ่นดินโลกและได้รับผลประโยชน์มากมายจากการอดทนการทดลองเหล่านั้น. เปาโลได้เขียนว่าพระเยซู “ได้ทรงเรียนรู้การเชื่อฟังจากสิ่งต่าง ๆ ที่พระองค์ทนเอา.” (เฮ็บราย 5:8, ล.ม.) การที่พระเยซูมีความภักดีจนสิ้นพระชนม์นำคำสรรเสริญมาสู่พระนามของพระยะโฮวาและทำให้เป็นไปได้ที่พระองค์จะถวายคุณค่าแห่งชีวิตมนุษย์สมบูรณ์ของพระองค์เป็นค่าไถ่สำหรับมนุษยชาติ. นั่นเปิดทางไว้สำหรับคนเหล่านั้นที่แสดงความเชื่อในพระเยซูจะมีความหวังเรื่องชีวิตนิรันดร์. (โยฮัน 3:16) เพราะพระเยซูรักษาความซื่อสัตย์ระหว่างที่ถูกทดลอง ขณะนี้พระองค์จึงทรงเป็นมหาปุโรหิตและพระมหากษัตริย์ของเราผู้ทรงครองบัลลังก์แล้ว.—เฮ็บราย 7:26-28; 12:2.
พวกเราล่ะเป็นอย่างไร? ความภักดีของเราเมื่อเผชิญการทดลองย่อมนำมาซึ่งพระพรมากมายเช่นกัน. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวเกี่ยวกับคนเหล่านั้นที่มีความหวังทางภาคสวรรค์ว่า “ผู้ที่เพียรอดทนการทดลองต่อ ๆ ไปก็เป็นสุข เพราะเมื่อเป็นที่พอพระทัยแล้ว เขาจะได้รับมงกุฎแห่งชีวิตซึ่งพระยะโฮวาทรงสัญญาไว้กับคนเหล่านั้นที่ยังคงรักพระองค์อยู่มิได้ขาด.” (ยาโกโบ 1:12, ล.ม.) คนเหล่านั้นที่มีความหวังทางแผ่นดินโลกได้รับคำรับรองที่ว่าหากพวกเขาอดทนอย่างซื่อสัตย์ พวกเขาจะได้รับชีวิตนิรันดร์เป็นมรดกในอุทยานบนแผ่นดินโลก. (วิวรณ์ 21:3-6) และสิ่งสำคัญยิ่งกว่านั้นคือ ความอดทนอย่างซื่อสัตย์ของพวกเขานำคำสรรเสริญมาสู่พระนามของพระยะโฮวา.
ขณะที่เราดำเนินตามรอยพระบาทของพระเยซู เรามั่นใจได้ว่าจะรับมือกับการทดสอบทั้งสิ้นที่เราเผชิญในระบบนี้ได้อย่างเป็นผลสำเร็จ. (1 โกรินโธ 10:13; 1 เปโตร 2:21) โดยวิธีใด? โดยการที่เราไว้วางใจพระยะโฮวาผู้ทรงจัดเตรียม “กำลังที่มากกว่าปกติ” ให้แก่คนเหล่านั้นที่ไว้วางใจในพระองค์. (2 โกรินโธ 4:7, ล.ม.) ขอให้เรามีความเชื่อมั่นเหมือนโยบ ผู้ซึ่งแม้แต่ขณะที่อดทนการทดลองอันรุนแรงก็ได้ยืนยันด้วยความมั่นใจว่า “เมื่อพระองค์ทรงทดสอบข้าแล้วข้าก็จะเป็นอย่างทองคำ.”—โยบ 23:10, ฉบับแปลใหม่.
[ภาพหน้า 31]
ความภักดีของพระเยซูระหว่างการทดสอบนำคำสรรเสริญมาสู่พระนามของพระยะโฮวา. ความภักดีของเราจะเป็นเช่นเดียวกันนั้นได้