“ความรอดย่อมมาแต่พระยะโฮวา”
“ความรอดย่อมมาแต่พระยะโฮวา”
เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ในประเทศและความตึงเครียดระหว่างชาติ ประชาชนหมายพึ่งรัฐบาลประเทศของตนเพื่อความมั่นคงปลอดภัย. ส่วนรัฐบาลก็เร่งเสริมโครงการต่าง ๆ โดยหวังได้รับการสนับสนุนจากประชาชน. ยิ่งโครงการดังกล่าวส่งเสริมให้รักประเทศชาติมากเท่าใด การเฉลิมฉลองแสดงความรักชาติก็ยิ่งมีขึ้นบ่อยครั้งและเป็นไปอย่างกระตือรือร้นมีชีวิตชีวา.
ในช่วงที่ประเทศชาติประสบภาวะฉุกเฉิน ความรักชาติอย่างแรงกล้ามักจะส่งเสริมประชาชนให้สำนึกในความสามัคคี, การรวมพลัง, และอาจส่งเสริมหมู่พลเมืองให้มีน้ำใจร่วมมือกันและใส่ใจต่อความจำเป็นและผลประโยชน์ของชุมชน. อย่างไรก็ตาม บทความหนึ่งในวารสาร เดอะ นิวยอร์ก ไทมส์ กล่าวว่า “การแสดงความรักชาติมีอันตรายแฝงเร้น เหมือนอารมณ์ใด ๆ ที่แปรปรวนง่าย ไม่อาจบอกล่วงหน้าได้ หากปล่อยให้เป็นไปโดยไม่มีการควบคุม มันอาจเป็นการแสดงออกที่น่ารังเกียจและไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง.” การแสดงความรักชาติแบบปกติธรรมดาอาจเปลี่ยนเป็นพฤติกรรมเชิงล่วงล้ำเสรีภาพของพลเมืองและเสรีภาพทางศาสนาของบุคคลบางกลุ่มของประเทศ. โดยเฉพาะคริสเตียนแท้มักตกอยู่ภายใต้แรงกดดันให้อะลุ่มอล่วยความเชื่อของตน. คนเหล่านี้ประพฤติตัวอย่างไรยามที่โลกรอบ ๆ ตัวถูกครอบงำด้วยบรรยากาศดังกล่าว? หลักการอะไรในคัมภีร์ไบเบิลช่วยพวกเขาให้ลงมือปฏิบัติด้วยความหยั่งเห็นเข้าใจและรักษาความซื่อสัตย์มั่นคงต่อพระเจ้า?
“อย่ากราบไหว้ .. . รูปเหล่านั้น”
บางครั้ง การทำความเคารพธงชาติกลายเป็นความนิยมเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกรักชาติ. แต่บ่อยครั้งบนผืนธงชาติปรากฏภาพของสิ่งที่เห็นบนฟ้าอากาศ เป็นต้นว่า ดวงดาว และรวมถึงสิ่งที่อยู่บนแผ่นดินด้วย. พระเจ้าทรงแสดงทัศนะของพระองค์เกี่ยวกับการกราบบูชาสิ่งเหล่านั้นเมื่อพระองค์บัญชาไพร่พลของพระองค์ดังนี้: “อย่าทำรูปเคารพสำหรับตน, เป็นสัณฐานรูปสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งมีอยู่ในฟ้าอากาศเบื้องบน, หรือซึ่งมีอยู่ที่แผ่นดินเบื้องล่าง, หรือซึ่งมีอยู่ในน้ำใต้แผ่นดิน, อย่ากราบไหว้หรือปรนนิบัติรูปเหล่านั้น; ด้วยเราคือยะโฮวาพระเจ้าของเจ้าเป็นผู้หวงแหน [“เป็นพระเจ้าที่เรียกร้องความเลื่อมใสโดยเฉพาะ,” ล.ม.].”—เอ็กโซโด 20:4, 5.
การทำความเคารพหรือการคุกเข่าต่อหน้าธงชาติซึ่งหมายถึงประเทศและชาติ จะถือเป็นการขัดขืนพระบัญชาจริง ๆ ไหมที่กำหนดให้ถวายความเลื่อมใสโดยเฉพาะแด่พระยะโฮวาพระเจ้า? เป็นที่ยอมรับว่า ชาวอิสราเอลโบราณมี “ธง” หรือสัญลักษณ์เพื่อให้ตระกูลต่าง ๆ มารวมตัวกันโดยแบ่งเป็นกองละสามตระกูลขณะอยู่ในถิ่นทุรกันดาร. (อาฤธโม 2:1, 2) เมื่อให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับคำต่าง ๆ ในภาษาฮีบรูที่ใช้หมายถึงสัญลักษณ์เหล่านั้น สารานุกรม ของแมกคลินทอกและสตรองก์ชี้แจงว่า “แต่คำฮีบรูเหล่านี้ ไม่มีคำใดถ่ายทอดให้เข้าใจว่า ‘สัญลักษณ์’ นั้นคือธง.” ยิ่งกว่านั้น ชาวอิสราเอลไม่ได้ถือว่าสัญลักษณ์เหล่านั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งไม่มีการประกอบพิธีใด ๆ ยามที่ใช้สิ่งนั้น. การใช้สัญลักษณ์เหล่านั้นก็ด้วยวัตถุประสงค์ให้เป็นเครื่องหมายแก่ประชาชนเพื่อจะรู้ว่าจะรวมตัวกันที่ไหนเท่านั้น.
รูปคะรูบในพลับพลาประชุมและในวิหารของซะโลโมนั้น จุดมุ่งหมายประการแรกเพื่อให้เป็นภาพแสดงถึงเหล่าคะรูบในสวรรค์. (เอ็กโซโด 25:18; 26:1, 31, 33; 1 กษัตริย์ 6: 23, 28, 29; เฮ็บราย 9:23, 24) ที่ว่าภาพคะรูบงามวิจิตรก็ไม่ได้ทำไว้เพื่อการนมัสการ ปรากฏหลักฐานจากข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้คนทั่ว ๆ ไปไม่เคยเห็นคะรูบและบรรดาทูตสวรรค์เองก็หาใช่ผู้ที่พึงได้รับการบูชานมัสการไม่.—โกโลซาย 2:18; วิวรณ์ 19:10; 22:8, 9.
อนึ่ง จงพิจารณารูปงูทองแดงที่ผู้พยากรณ์โมเซได้ทำขึ้นในช่วงเวลาที่ชาวอิสราเอลรอนแรมในถิ่นทุรกันดาร. รูปจำลองนั้นถูกใช้เป็นสัญลักษณ์และให้ความสำคัญเชิงพยากรณ์. (อาฤธโม 21:4-9; โยฮัน 3:14, 15) รูปงูนั้นไม่ได้ทำขึ้นเพื่อให้สักการะหรือนมัสการ. อย่างไรก็ตาม หลายร้อยปีภายหลังสมัยโมเซ ชาวอิสราเอลเริ่มนมัสการรูปงูจำลองนั้นอย่างไม่เหมาะสม มิหนำซ้ำยังเผาเครื่องหอมบูชารูปนั้น. ด้วยเหตุนี้ ฮีศคียากษัตริย์ยูดาห์จึงได้หักทำลายเสียสิ้น.—2 กษัตริย์ 18:1-4.
ธงชาติเป็นเพียงสัญลักษณ์ใช้เพื่อจุดมุ่งหมายที่เป็นประโยชน์บางอย่างเท่านั้นไหม? ธงเป็นเครื่องหมายแทนสิ่งใด? นักเขียน เจ. พอล วิลเลียมส์กล่าวว่า “สัญลักษณ์สำคัญที่สุดของลัทธิชาตินิยมที่แสดงความเชื่อศรัทธาและเป้าหมายอันเป็นแกนกลางการบูชาคือธง.” สารานุกรมอเมริกานา กล่าวว่า “ธงเทียบได้กับไม้กางเขน, เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์.” ธงใช้เป็นเครื่องหมายประจำชาติ. ดังนั้น การคำนับหรือการทำความเคารพธงเป็นพิธีกรรมเชิงศาสนาแสดงความเคารพนับถือชาติ. การกระทำความเคารพนับถือดังกล่าวเป็นการแสดงว่าความรอดมาจากรัฐ และไม่ประสานกับสิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลพูดเกี่ยวกับการไหว้รูปเคารพ.
พระคัมภีร์ระบุชัดเจนว่า “ความรอดย่อมมาแต่พระยะโฮวา.” (บทเพลงสรรเสริญ 3:8) ไม่ควรถือว่าความรอดมาจากสถาบันที่มนุษย์ตั้งขึ้นหรือสัญลักษณ์ของสถาบันเหล่านั้น. อัครสาวกเปาโลตักเตือนเพื่อนคริสเตียนทั้งหลายดังนี้: “พี่น้องที่รักของข้าพเจ้า จงหลีกหนีจากการไหว้รูปเคารพ.” (1 โกรินโธ 10:14, ล.ม.) คริสเตียนรุ่นแรก ๆ ไม่มีส่วนร่วมการบูชานมัสการชาติ. ในหนังสือ คนเหล่านั้นหวิดตาย (ภาษาอังกฤษ) แดเนียล พี. แมนนิกส์ได้ตั้งข้อสังเกตดังนี้: “คริสเตียนปฏิเสธที่จะ . . . บูชาภูตประจำองค์จักรพรรดิโรมัน เทียบได้พอ ๆ กันกับการปฏิเสธที่จะเคารพธงสมัยนี้.” คริสเตียนแท้ในปัจจุบันนี้ก็เช่นกัน. เพื่อจะแสดงความเลื่อมใสโดยเฉพาะแด่พระยะโฮวา พวกเขาจึงหลีกเว้นการทำความเคารพธงของชาติหนึ่งชาติใด. เมื่อทำเช่นนี้ คริสเตียนแท้ให้พระเจ้าอยู่ในอันดับแรก ขณะที่เขายังให้ความนับถือรัฐบาลและบรรดาผู้ที่ปกครองของรัฐบาลเหล่านั้น. จริง ๆ แล้ว พวกเขาตระหนักถึงหน้าที่รับผิดชอบของเขาที่จะต้องยอมอยู่ใต้การปกครองของรัฐ ซึ่งเป็น “อำนาจที่สูงกว่า.” (โรม 13:1-7, ล.ม.) ทว่า ทัศนะของพระคัมภีร์คืออย่างไรในเรื่องของการร้องเพลงปลุกใจให้รักชาติ อาทิ เพลงชาติ?
เพลงชาติคืออะไร?
สารานุกรมอเมริกานา อรรถาธิบายว่า “เพลงชาติแสดงออกซึ่งความรู้สึกรักชาติและมักจะรวมเอาคำทูลขอพระเจ้าโปรดให้การชี้นำและการพิทักษ์คุ้มครองประชาชนหรือบรรดาผู้ที่ทำการปกครอง.” ว่าไปแล้ว เพลงชาติเป็นประหนึ่งเพลงสวดหรือการอธิษฐานเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ. โดยปกติแล้วเพลงชาติมักวิงวอนเพื่อขอให้ประเทศชาติประสบความเจริญรุ่งเรืองสถาพร. สมควรไหมที่คริสเตียนแท้พึงร่วมรู้สึกกับการอธิษฐานทำนองนั้น?
ผู้พยากรณ์ยิระมะยาอยู่ท่ามกลางไพร่พลซึ่งกล่าวอ้างว่าปฏิบัติพระเจ้า. กระนั้น พระยะโฮวาทรงบัญชาท่านดังนี้: “อย่าอธิษฐานเพื่อชนชาตินี้ อย่าร้องขึ้นหรืออธิษฐานเพื่อเขาและอย่าวิงวอนขอต่อเรา เพราะเราจะไม่ฟังเจ้า.” (ยิระมะยา 7:16; 11:14; 14:11, ฉบับแปลใหม่) ทำไมยิระมะยาได้รับคำสั่งเช่นนี้? เพราะสังคมพวกเขาเต็มไปด้วยโจรกรรม, ฆาตกรรม, การทำผิดประเวณี, การสบถสาบานเป็นคำเท็จ, และการบูชารูปเคารพ.—ยิระมะยา 7:9.
พระเยซูคริสต์ได้ทรงวางแบบอย่างไว้เมื่อพระองค์ตรัสว่า “ข้าพเจ้ามิได้ทูลขอเพื่อโลก แต่เพื่อคนเหล่านั้นที่พระองค์ทรงประทานแก่ข้าพเจ้า.” (โยฮัน 17:9, ล.ม.) พระคัมภีร์แถลงว่า “โลกทั้งสิ้นอยู่ในอำนาจตัวชั่วร้ายนั้น” และ “กำลังผ่านพ้นไป.” (1 โยฮัน 2:17; 5:19, ล.ม.) ถ้าอย่างนั้น คริสเตียนแท้ที่มีสติรู้สึกผิดชอบอันดีจะอธิษฐานขอความเจริญรุ่งเรืองและความยืนยงให้มีแก่ระบบนี้ได้อย่างไร?
แน่ละ ไม่ใช่เพลงชาติของทุกประเทศประกอบด้วยคำทูลอธิษฐานวิงวอนพระเจ้า. สารานุกรมบริแทนนิกา แถลงว่า “อารมณ์ความรู้สึกของเพลงชาติมีหลากหลายต่างกัน ยะซายา 2:4, ล.ม.) อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “ถึงเรายังดำเนินอยู่ในเนื้อหนังก็จริง, แต่เราไม่ได้สู้รบฝ่ายเนื้อหนัง เหตุว่าเครื่องอาวุธของเราไม่เป็นฝ่ายเนื้อหนัง.”—2 โกรินโธ 10:3, 4.
ตั้งแต่การอธิษฐานเพื่อกษัตริย์จนถึงการกล่าวพาดพิงการต่อสู้ครั้งสำคัญของชาติ หรือการลุกฮือ . . . เพื่อแสดงความรู้สึกรักชาติ.” แต่บรรดาผู้ที่ปรารถนาจะให้พระเจ้าพอพระทัยจะสดุดีสงครามและการปฏิวัติของชาติใดชาติหนึ่งได้จริง ๆ ไหม? เกี่ยวกับผู้นมัสการแท้นั้น ยะซายาบอกล่วงหน้าว่า “เขาทั้งหลายจะต้องตีดาบของตนเป็นผาลและหอกของตนเป็นพร้าขอ.” (เพลงชาติมักแสดงออกซึ่งความรู้สึกภูมิใจในชาติหรือความเหนือกว่าของชาติตน. ทัศนะดังกล่าวไม่มีพื้นฐานในคัมภีร์ไบเบิล. ตอนที่อัครสาวกเปาโลกล่าว ณ ที่ประชุมบนภูเขาอารีโอพากุส ท่านพูดว่า “[พระยะโฮวาพระเจ้า] ได้ทรงสร้างมนุษย์ทุกชาติจากคนคนเดียว เพื่ออาศัยอยู่ตลอดทั่วพื้นแผ่นดิน.” (กิจการ 17:26, ล.ม.) อัครสาวกเปโตรแถลงว่า “พระเจ้าไม่ทรงเลือกหน้าผู้ใด แต่ชาวชนในประเทศใด ๆ ที่เกรงกลัวพระองค์และประพฤติในทางชอบธรรมก็เป็นที่ชอบพระทัยพระองค์.”—กิจการ 10:34, 35.
เนื่องด้วยความเข้าใจของพวกเขาเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิล หลายคนได้ตัดสินใจเป็นส่วนตัวไม่ยอมมีส่วนร่วมทำความเคารพธงและร้องเพลงแนวรักชาติ. แต่พวกเขาจะวางตัวเช่นไรเมื่อเจอสถานการณ์ที่ต้องเผชิญปัญหาเหล่านี้ซึ่งหน้า?
ละเว้นด้วยท่าทีน่านับถือ
ด้วยความพยายามจะเสริมเอกภาพแห่งจักรวรรดิของตนให้เข้มแข็ง ราชานะบูคัดเนซัรผู้ครองบาบิโลนโบราณจึงได้สร้างรูปปั้นทองคำมหึมาตั้งไว้ ณ ที่ราบดูรา แล้วได้จัดให้มีพิธีเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่โดยเชิญอุปราช, ข้าหลวง, ผู้ว่าราชการ, ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน, และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่คนอื่น ๆ มาร่วมงาน. เมื่อได้ยินดนตรีบรรเลง ทุกคนที่ชุมนุม ณ ที่นั่นจะต้องกราบนมัสการรูปนั้น. ท่ามกลางพวกที่มาอยู่ที่นั่น ก็มีชายหนุ่มชาวฮีบรูสามคนคือ ซัดรัค, เมเซ็ค, และอะเบ็ดนะโค. คนเหล่านี้แสดงตัวเช่นไรว่าไม่ได้มีส่วนร่วมพิธีทางศาสนาครั้งนี้? ขณะดนตรีเริ่มขึ้นและฝูงชนเหล่านั้นที่มาชุมนุมอยู่ที่นั่นพากันก้มกราบรูปเคารพ ชาวฮีบรูสามคนยังคงยืนอยู่.—ดานิเอล 3:1-12.
สมัยนี้ ท่าเคารพธงโดยทั่วไปคือการเหยียดแขนไปข้าง
หน้า หรือทำวันทยหัตถ์ หรือเอามือทาบหน้าอก. บางครั้ง อาจแสดงอากัปกิริยาหรือท่าทางบางอย่าง. บางประเทศ คาดหมายให้เด็กนักเรียนคุกเข่าลงจูบธง. โดยการยืนอย่างสงบขณะที่คนอื่นทำความเคารพธง คริสเตียนแท้แสดงให้ประจักษ์แล้วว่าเขาเป็นผู้สังเกตการณ์ที่ให้ความนับถือ.ถ้าพิธีเคารพธงนั้นเป็นเพียงการยืนเฉย ๆ ให้หลักฐานไหมว่าเรามีส่วนร่วมด้วย? ยกตัวอย่าง สมมุตินักเรียนคนหนึ่งได้รับเลือกเป็นตัวแทนของโรงเรียน และเขายืนเคารพธงหน้าเสาธงนอกห้องเรียน ในขณะเดียวกันนักเรียนคนอื่น ๆ ถูกคาดหมายให้ยืนตรงในห้องเรียน. การเพียงแต่ยืนในกรณีตัวอย่างนี้ย่อมแสดงให้รู้เป็นนัยว่าเห็นด้วยกับสิ่งที่นักเรียนซึ่งยืนอยู่หน้าเสาธงนอกห้องเรียนได้ทำฐานะตัวแทนเคารพธงโดยตรง. ไม่ว่าจะยืนท่าไหนก็ตามย่อมบ่งชี้การมีส่วนร่วมในพิธี. ถ้าเป็นในกรณีนี้ ผู้ที่ปรารถนาเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ที่ให้ความนับถือจะนั่งอยู่กับที่. จะว่าอย่างไรหากนักเรียนในห้องยืนอยู่แล้วขณะพิธีเริ่มขึ้น? ในกรณีนี้ คงไม่แสดงถึงการมีส่วนร่วมพิธี หากเรายืนอยู่ในท่าเดิม.
สมมุติว่า คนหนึ่งไม่ถูกขอร้องให้ทำความเคารพธง เพียงแต่ขอให้เขาชูธงเพื่อคนอื่นจะทำความเคารพได้ อาจเป็นเวลาเดินแถว หรือในห้องเรียน, หรือที่อื่น ๆ. แทนที่จะ “หลีกหนีจากการไหว้รูปเคารพ” ดังมีคำสั่งในคัมภีร์ไบเบิล การกระทำเช่นที่ว่า จริง ๆ แล้วหมายถึงการอยู่กลางพิธีทีเดียว. เป็นเช่นเดียวกันกับการเดินขบวนปลุกใจให้รักชาติ. เนื่องจากการทำแบบนี้คงหมายถึงการเดินขบวนสนับสนุนสิ่งที่รับการยกย่อง คริสเตียนแท้จึงบอกปัดเนื่องด้วยสติรู้สึกผิดชอบ.
เมื่อเริ่มบรรเลงเพลงชาติ ตามปกติสิ่งที่ผู้คนต้องทำเพื่อแสดงว่าตนร่วมความรู้สึกกับเพลงนั้นคือยืนขึ้น. ในกรณีเช่นนั้น คริสเตียนจะนั่งอยู่ที่เดิม. แต่ถ้าเขายืนอยู่แล้วขณะเพลงชาติเริ่มบรรเลง จึงไม่จำเป็นต้องทรุดตัวลงนั่งอันเป็นกิริยาที่ผิดแผกออกไป. ทั้งนี้ไม่เหมือนการสมัครใจยืนขึ้นเพราะมีการบรรเลงเพลงชาติ. อีกด้านหนึ่ง ถ้าคนในกลุ่มนั้นถูกคาดหมายให้ยืนและร้องเพลง ในกรณีนี้ การเพียงแต่ยืนขึ้นเพื่อแสดงความนับถือแต่ไม่ร้องเพลง ย่อมไม่ถือว่ามีส่วนร่วมความรู้สึกกับบทเพลง.
“จงรักษาสติรู้สึกผิดชอบอันดีไว้”
หลังจากได้พรรณนาความไร้ประสิทธิภาพของสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อนมัสการ ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญกล่าวว่า “คนทั้งหลายที่กระทำรูปเคารพ; เออ, ทุกคนที่วางใจพึ่งในรูป, ก็จะเป็นเหมือนรูปนั้น.” (บทเพลงสรรเสริญ 115:4-8) เห็นได้ชัดว่า งานอาชีพใด ๆ ก็ตามซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการผลิตสิ่งของที่ใช้ในการเคารพบูชา รวมทั้งธงชาตินั้น คงไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับเหล่าผู้นมัสการพระยะโฮวา. (1 โยฮัน 5:21, ล.ม.) อาจเกิดสถานการณ์ขึ้นมาได้เช่นกันในงานอาชีพบางอย่างเมื่อคริสเตียนแสดงออกด้วยความนับถือว่าพวกเขาไม่บูชานมัสการธงหรือสิ่งที่ธงเป็นเครื่องหมายถึง แต่นมัสการเฉพาะพระยะโฮวาเท่านั้น.
ยกตัวอย่าง นายจ้างอาจสั่งลูกจ้างชักธงขึ้นหรือลงจากเสาที่อยู่หน้าอาคาร. ลูกจ้างจะทำหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับทัศนะส่วนตัวของเขาต่อสภาพการณ์แวดล้อม. หากการชักธงขึ้นหรือลงเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมโดยเฉพาะ พร้อมกับมีผู้คนพากันยืนสำรวมหรือทำความเคารพธง ดังนั้นแล้วการทำเช่นนี้ก็เท่ากับเป็นการร่วมพิธี.
อีกด้านหนึ่ง หากการชักธงไม่มีพิธีกรรมร่วมอยู่ด้วย การกระทำดังกล่าวก็คงเทียบได้กับการเตรียมอาคารเพื่อใช้งาน อาทิ การเปิดหรือปิดประตูหน้าต่าง. ในกรณีที่กล่าวมา ธงเป็นเพียงเครื่องหมายของชาติ ส่วนการชักธงขึ้นสู่ยอดเสาหรือชักธงลงรวมกับกิจวัตรอื่น ๆ เป็นเรื่องของการตัดสินใจส่วนตัวโดยอาศัยสติรู้สึกผิดชอบที่รับการฝึกฝนตามหลักพระคัมภีร์. (ฆะลาเตีย 6:5) สติรู้สึกผิดชอบของคนหนึ่งอาจกระตุ้นเขาให้ขอร้องนายจ้างมอบงานชักธงให้ลูกจ้างคนอื่นทำ. คริสเตียนอีกคนหนึ่งอาจคิดว่าสติรู้สึกผิดชอบของตนยอมให้รับหน้าที่ชักธงได้ตราบที่ไม่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม. ไม่ว่าจะตัดสินใจอย่างไร ผู้นมัสการแท้ควร “รักษาสติรู้สึกผิดชอบอันดีไว้” ต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้า.—1 เปโตร 3:16, ล.ม.
ไม่มีข้อคัดค้านตามหลักพระคัมภีร์ที่จะทำงานหรืออยู่ในสาธารณสถาน เช่น สถานีดับเพลิง, ศาลาเทศบาล, และโรงเรียน ซึ่งสถานที่เหล่านั้นติดธงชาติ. นอกจากนี้ รูปธงอาจปรากฏให้เห็นบนตราไปรษณียากร, บนป้ายทะเบียนรถยนต์, หรือติดไว้ที่สิ่งของอื่น ๆ ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ผลิต. การใช้สิ่งของเหล่านั้นในตัวเองแล้วไม่ทำให้ปัจเจกบุคคลมีส่วนร่วมในการกระทำด้วยใจเลื่อมใส. จุดสำคัญของเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่ธงหรือรูปจำลองของธง แต่อยู่ที่คนเราปฏิบัติต่อสิ่งนั้นอย่างไรต่างหาก.
มักมีการใช้ธงประดับหน้าต่าง, ประตู, รถยนต์, โต๊ะเขียนหนังสือ, หรือสิ่งของอื่น ๆ. เสื้อผ้าพิมพ์ภาพธงเชิงศิลปะหาซื้อกันได้เช่นกัน. ในบางประเทศ การสวมใส่เสื้อผ้าประเภทนี้ถือว่าผิดกฎหมาย. แม้การกระทำเช่นนั้นจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายก็ตาม แต่เป็นสิ่งบ่งบอกถึงอะไรบางอย่างไหมเกี่ยวกับจุดยืนของคนเรากับโลก? พระเยซูคริสต์ตรัสเกี่ยวกับสาวกของพระองค์ว่า “พวกเขาไม่เป็นส่วนของโลก เหมือนข้าพเจ้าไม่เป็นส่วนของโลก.” (โยฮัน 17:16, ล.ม.) ไม่ควรมองข้ามผลกระทบซึ่งอาจมีต่อเพื่อนร่วมความเชื่อ. การทำดังกล่าวส่งผลเสียต่อสติรู้สึกผิดชอบของบางคนไหม? ความตั้งใจแน่วแน่ของพวกเขาเพื่อยืนหยัดมั่นคงในความเชื่ออาจย่อหย่อนไปไหม? เปาโลได้แนะนำคริสเตียนดังนี้: “ตรวจดูให้รู้แน่ถึงสิ่งที่สำคัญกว่า เพื่อท่านจะปราศจากตำหนิ และไม่ทำให้คนอื่นสะดุด.”—ฟิลิปปอย 1:10, ล.ม.
“สุภาพต่อคนทั้งปวง”
ขณะที่สภาพการณ์ต่าง ๆ ของโลกเสื่อมลงในสมัย “วิกฤตกาล” อย่างนี้ ความรู้สึกในเรื่องชาตินิยมอาจจะเข้มข้นมากขึ้น. (2 ติโมเธียว 3:1, ล.ม.) ขอคนเหล่านั้นที่รักพระเจ้าอย่าได้ลืมว่าความรอดมาจากพระยะโฮวาแต่องค์เดียว. พระองค์คู่ควรกับความเลื่อมใสศรัทธาโดยเฉพาะ. เมื่อถูกขอร้องให้ทำบางสิ่งซึ่งไม่ประสานกับพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวา เหล่าอัครสาวกของพระเยซูกล่าวดังนี้: “พวกข้าพเจ้าต้องเชื่อฟังพระเจ้าในฐานะเป็นผู้ปกครองยิ่งกว่ามนุษย์.”—กิจการ 5:29, ล.ม.
อัครสาวกเปาโลเขียนไว้ว่า “ทาสขององค์พระผู้เป็นเจ้าไม่จำเป็นต้องต่อสู้ แต่จำเป็นต้องสุภาพต่อคนทั้งปวง.” (2 ติโมเธียว 2:24, ล.ม.) ดังนั้น คริสเตียนพยายามจะเป็นคนสร้างสันติ, แสดงความนับถือ, และสุภาพอ่อนโยน ขณะที่เขาอาศัยสติรู้สึกผิดชอบซึ่งถูกฝึกสอนมาตามหลักพระคัมภีร์เมื่อต้องตัดสินใจเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับการทำความเคารพธงและร้องเพลงชาติ.
[ภาพหน้า 23]
ชาวฮีบรูสามคนเลือกปฏิบัติอย่างแน่วแน่แต่ด้วยความนับถือ เพื่อให้พระเจ้าพอพระทัย
[ภาพหน้า 24]
คริสเตียนควรทำอย่างไรในช่วงพิธีกรรมแสดงความรักชาติ?