‘จงเอาใจใส่ให้มากกว่าปกติ’
‘จงเอาใจใส่ให้มากกว่าปกติ’
“จำเป็นที่เราจะเอาใจใส่ในสิ่งต่าง ๆ ที่เราได้ยินแล้วนั้นให้มากกว่าปกติ เพื่อว่าเราจะไม่ลอยห่างไป.”—เฮ็บราย 2:1, ล.ม.
1. จงยกตัวอย่างว่าการถูกทำให้เขวอาจนำไปสู่ความหายนะได้อย่างไร.
อุบัติเหตุบนท้องถนนทำให้ผู้คนราว 37,000 คนเสียชีวิตทุกปีเฉพาะในสหรัฐ. ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการสูญเสียชีวิตหลายรายเหล่านี้อาจป้องกันได้หากคนขับเอาใจใส่ให้มากกว่านี้บนท้องถนน. ผู้ขับขี่บางคนเขวไปเนื่องจากสนใจเครื่องหมายและป้ายโฆษณาต่าง ๆ หรือเพราะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่. แล้วยังมีบางคนที่มัวแต่เพลิดเพลินกับอาหารที่วางไว้ตรงเบาะหน้าหรือที่แผงหน้าปัดขณะขับขี่. ในทุกสถานการณ์ที่ว่ามานี้ การถูกทำให้เขวนำไปสู่ความหายนะได้.
2, 3. เปาโลให้คำตักเตือนอะไรแก่คริสเตียนชาวฮีบรู และเหตุใดคำแนะนำของท่านจึงเหมาะสม?
2 เกือบ 2,000 ปีมาแล้ว ก่อนมีการประดิษฐ์ยานยนต์ อัครสาวกเปาโลได้ระบุถึงสิ่งหนึ่งที่ทำให้เขวซึ่งนำความหายนะมาสู่คริสเตียนชาวฮีบรูบางคน. เปาโลเน้นว่าพระเยซูคริสต์ที่ถูกปลุกให้คืนพระชนม์ได้รับมอบตำแหน่งสูงเหนือเหล่าทูตสวรรค์ทั้งปวง เนื่องด้วยพระองค์เสด็จนั่งเบื้องขวาพระหัตถ์ของพระเจ้า. จากนั้น ท่านอัครสาวกกล่าวดังนี้: “เหตุฉะนั้นจึงจำเป็นที่เราจะเอาใจใส่ในสิ่งต่าง ๆ ที่เราได้ยินแล้วนั้นให้มากกว่าปกติ เพื่อว่าเราจะไม่ลอยห่างไป.”—เฮ็บราย 2:1, ล.ม.
3 ทำไมคริสเตียนชาวฮีบรูจำเป็นต้อง ‘เอาใจใส่ในสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ยินมาแล้วนั้นให้มากกว่าปกติ’ ในเรื่องพระเยซู? เนื่องจากผ่านมาเกือบ 30 ปีแล้วนับตั้งแต่พระเยซูได้จากโลกนี้ไป. เมื่อนายของพวกเขาไม่อยู่บนแผ่นดินโลก คริสเตียนชาวฮีบรูบางคนได้เริ่มลอยห่างจากความเชื่อแท้. พวกเขาถูกทำให้เขวออกไปโดยศาสนายูดาห์ แนวทางการนมัสการของพวกเขาในอดีต.
พวกเขาจำต้องเอาใจใส่ให้มากขึ้น
4. เหตุใดคริสเตียนชาวฮีบรูบางคนอาจถูกล่อใจให้กลับไปหาศาสนายูดาห์?
4 เหตุใดคริสเตียนชาวฮีบรูคนหนึ่งคนใดอาจถูกล่อใจให้กลับไปหาศาสนายูดาห์? ระบบการนมัสการภายใต้พระบัญญัติเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ที่สัมผัสได้. ผู้คนสามารถมองเห็นพวกปุโรหิตและได้กลิ่นเครื่องบูชาเผา. แต่ในบางแง่ ศาสนาคริสเตียนต่างออกไปมากทีเดียว. คริสเตียนมีพระเยซูคริสต์เป็นมหาปุโรหิต แต่ไม่มีใครบนแผ่นดินโลกได้เห็นพระองค์สามทศวรรษมาแล้ว. (เฮ็บราย 4:14) คริสเตียนมีพระวิหาร แต่สถานบริสุทธิ์ของพระวิหารก็คือสวรรค์นั้นเอง. (เฮ็บราย 9:24) ต่างจากการรับสุหนัตทางกายภายใต้พระบัญญัติ คริสเตียนรับสุหนัต “ที่หัวใจโดยพระวิญญาณ.” (โรม 2:29, ล.ม.) ดังนั้น คริสเตียนชาวฮีบรูหลายคนอาจเริ่มรู้สึก ว่าศาสนาคริสเตียนมีลักษณะที่ดูเหมือนค่อนข้างเป็นนามธรรม.
5. เปาโลแสดงอย่างไรว่าระบบการนมัสการที่พระเยซูได้จัดตั้งขึ้นเหนือกว่าระบบการนมัสการภายใต้พระบัญญัติ?
5 คริสเตียนชาวฮีบรูจำต้องตระหนักถึงบางสิ่งที่สำคัญยิ่งเกี่ยวกับระบบการนมัสการที่พระคริสต์ได้จัดตั้งขึ้น. ระบบการนมัสการของคริสเตียนอาศัยความเชื่อมากกว่าการมองเห็น ถึงกระนั้น ก็เหนือกว่าพระบัญญัติที่ประทานผ่านทางผู้พยากรณ์โมเซ. เปาโลเขียนว่า “ถ้าเลือดแพะและเลือดวัวตัวผู้และเถ้าลูกโคตัวเมียประพรมหรือโปรยลงบนคนเหล่านั้นที่มลทินแล้ว ยังอาจชำระเนื้อหนังให้บริสุทธิ์ได้, มากยิ่งกว่านั้นสักเท่าไรพระโลหิตของพระเยซูคริสต์, ผู้ประกอบด้วยพระวิญญาณนิรันดร์ได้ทรงถวายพระองค์เองแก่พระเจ้าเป็นเครื่องบูชาอันปราศจากตำหนิ, จะได้ทรงชำระใจวินิจฉัยผิดและชอบของท่านทั้งหลายให้พ้นจากการประพฤติที่ตายแล้ว, เพื่อจะได้ปฏิบัติพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่.” (เฮ็บราย 9:13, 14) ถูกแล้ว การให้อภัยที่จัดให้มีโดยทางความเชื่อในเครื่องบูชาไถ่ของพระเยซูคริสต์นั้นเหนือกว่ามากในหลายทางเมื่อเทียบกับการให้อภัยที่จัดให้มีโดยทางเครื่องบูชาที่ถวายภายใต้พระบัญญัติ.—เฮ็บราย 7:26-28.
6, 7. (ก) สถานการณ์เร่งด่วนอะไรที่ทำให้คริสเตียนชาวฮีบรูต้อง ‘เอาใจใส่ในสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ยินแล้วนั้นให้มากกว่าปกติ’? (ข) เมื่อเปาโลเขียนจดหมายไปถึงคริสเตียนชาวฮีบรู เหลือเวลาอีกเท่าไรก่อนที่กรุงเยรูซาเลมจะถูกทำลาย? (ดูเชิงอรรถ.)
6 ยังมีเหตุผลอีกประการหนึ่งที่คริสเตียนชาวฮีบรูต้องเอาใจใส่อย่างจริงจังในสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ยินเกี่ยวกับพระเยซู. พระองค์ได้บอกพวกเขาไว้ล่วงหน้าว่ากรุงเยรูซาเลมจะถูกทำลาย. พระเยซูได้ตรัสว่า “เวลาจะมาถึงเจ้า, เมื่อศัตรูของเจ้าจะตั้งค่ายรอบเจ้า, และล้อมขังเจ้าไว้ทุกด้าน, แล้วจะทำลายเจ้าลงให้ราบเหมือนพื้นดิน, กับทั้งลูกทั้งหลายของเจ้าซึ่งอยู่ในเจ้า และเขาจะไม่ปล่อยให้ศิลาซ้อนทับกันไว้ภายในเจ้าเลย, เพราะเจ้าไม่ได้รู้เวลาที่พระองค์เสด็จมาหาเจ้า.”—ลูกา 19:43, 44.
7 เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อไร? พระเยซูไม่ได้เปิดเผยวันเวลา. แทนที่จะทำเช่นนั้น พระองค์ทรงสั่งดังนี้: “เมื่อท่านเห็นกองทัพมาตั้งล้อมรอบกรุงยะรูซาเลม, เมื่อนั้นท่านจงรู้ว่าความพินาศของกรุงนั้นก็ใกล้เข้ามาแล้ว. เวลานั้นให้คนทั้งหลายที่อยู่ในแขวงยูดายหนีไปยังภูเขา และคนทั้งหลายที่อยู่ในกรุงให้ออกไป และคนที่อยู่บ้านนอกอย่าให้เข้ามาในกรุง.” (ลูกา 21:20, 21) ในช่วงเวลา 30 ปีหลังจากที่พระเยซูได้ตรัสถ้อยคำเหล่านั้น คริสเตียนบางคนในกรุงเยรูซาเลมได้สูญเสียความสำนึกถึงความเร่งด่วนและเขวไป. เหมือนกับว่าพวกเขาได้ละสายตาจากถนน. หากพวกเขาไม่รีบปรับความคิด หายนะจะตามมาอย่างแน่นอน. ไม่ว่าพวกเขาจะคิดอย่างนั้นหรือไม่ ความพินาศของกรุงเยรูซาเลมเป็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น! * หวังว่าคำแนะเตือน ของเปาโลได้ปลุกคริสเตียนในกรุงเยรูซาเลมให้ตื่นจากการหลับใหลฝ่ายวิญญาณ.
การ ‘เอาใจใส่ให้มากกว่าปกติ’ ในทุกวันนี้
8. เหตุใดเราจำต้อง ‘เอาใจใส่ให้มากกว่าปกติ’ ต่อความจริงแห่งพระคำของพระเจ้า?
8 เช่นเดียวกับคริสเตียนในศตวรรษแรก เราจำต้อง ‘เอาใจใส่ให้มากกว่าปกติ’ ต่อความจริงแห่งพระคำของพระเจ้า. เพราะเหตุใด? เนื่องจากเราเผชิญกับความพินาศที่กำลังจะเกิดขึ้นเช่นกัน ไม่ใช่แค่ความพินาศของชาติใดชาติหนึ่ง แต่ของโลกทั้งสิ้น. (วิวรณ์ 11:18; 16:14, 16) แน่ล่ะ เราไม่ทราบวันเวลาแน่นอนที่พระยะโฮวาจะลงมือปฏิบัติการ. (มัดธาย 24:36) แต่กระนั้น เราก็เป็นประจักษ์พยานถึงความสำเร็จเป็นจริงของคำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิลที่ชี้ชัดว่าเรากำลังมีชีวิตอยู่ใน “สมัยสุดท้าย.” (2 ติโมเธียว 3:1-5, ล.ม.) ด้วยเหตุนี้ เราควรระวังไม่ปล่อยให้สิ่งใดทำให้เราเขวไป. เราต้องเอาใจใส่พระคำของพระเจ้าและรักษาความสำนึกอย่างแรงกล้าถึงความเร่งด่วน. เฉพาะเมื่อทำอย่างนี้เท่านั้น เราถึงจะ “ประสบผลสำเร็จในการหนีพ้นเหตุการณ์ทั้งปวงเหล่านี้ซึ่งถูกกำหนดไว้ว่าจะเกิดขึ้น.”—ลูกา 21:36, ล.ม.
9, 10. (ก) เราจะแสดงอย่างไรว่าตัวเราเองเอาใจใส่สิ่งฝ่ายวิญญาณ? (ข) พระคำของพระเจ้าเป็น ‘โคมสำหรับเท้าของเรา’ และ ‘แสงสว่างส่องทางของเรา’ อย่างไร?
9 ในยุคสมัยที่วิกฤติอย่างนี้ เราจะแสดงอย่างไรว่าเรากำลัง ‘เอาใจใส่มากกว่าปกติ’ ในสิ่งฝ่ายวิญญาณ? วิธีหนึ่งคือเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนเป็นประจำทั้งการประชุมประจำประชาคม, การประชุมหมวด, และการประชุมภาค. นอกจากนี้ เราควรเป็นนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลที่ขยันขันแข็งเพื่อจะเข้าใกล้พระยะโฮวา ผู้ประพันธ์คัมภีร์ไบเบิล. (ยาโกโบ 4:8) ถ้าเรารับความรู้เกี่ยวกับพระยะโฮวาโดยการศึกษาส่วนตัวและเข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ เราจะเป็นเหมือนผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญที่กล่าวต่อพระเจ้าว่า “พระวจนะของพระองค์เป็นโคมสำหรับเท้าของข้าพเจ้า, และเป็นแสงสว่างตามทางของข้าพเจ้า.”—บทเพลงสรรเสริญ 119:105.
10 คัมภีร์ไบเบิลเป็น ‘แสงสว่างส่องทางของเรา’ ในแง่ที่ว่าพระคัมภีร์บอกเราถึงพระประสงค์ของพระเจ้าสำหรับอนาคต. พระคัมภีร์ยังเป็น ‘โคมสำหรับเท้าของเรา’ ด้วย. กล่าวอีกอย่างหนึ่ง พระคัมภีร์สามารถช่วยเราให้เห็นว่าจะก้าวเดินต่อไปอย่างไรเมื่อเผชิญปัญหาหนักในชีวิต. นั่นคือเหตุผลสำคัญที่เราต้อง ‘เอาใจใส่ให้มากกว่าปกติ’ เมื่อเราประชุมกับเพื่อนร่วมความเชื่อเพื่อรับคำสั่งสอนและเมื่ออ่านพระคำของพระเจ้าเป็นส่วนตัว. ความรู้ที่เราได้รับจะช่วยเราให้ตัดสินใจอย่างฉลาดสุขุมและเป็นประโยชน์ซึ่งทำให้พระยะโฮวาพอพระทัยและทำให้พระหฤทัยของพระองค์มีความยินดี. (สุภาษิต 27:11; ยะซายา 48:17) เราจะเพิ่มช่วงสมาธิของเราให้นานขึ้นระหว่างร่วมประชุมและศึกษาส่วนตัวได้อย่างไรเพื่อจะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการจัดเตรียมฝ่ายวิญญาณของพระเจ้า?
การปรับปรุงสมาธิของเราขณะร่วมประชุม
11. เหตุใดการเอาใจใส่ขณะร่วมประชุมคริสเตียนจึงเป็นข้อท้าทายในบางครั้ง?
11 บางครั้ง การเอาใจใส่ขณะร่วมในการประชุมคริสเตียนเป็นข้อท้าทาย. ความคิดอาจถูกทำให้เขวไปได้ง่าย บางทีเนื่องจากเสียงทารกร้องหรือเห็นผู้มาสายกำลังหาที่นั่ง. หลังจากทำงานมาทั้งวัน เราอาจรู้สึกเหนื่อยล้า. ผู้ที่กำลังบรรยายบนเวทีอาจไม่ใช่ผู้บรรยายที่น่าติดตามที่สุด และโดยไม่ทันรู้ตัว เราอาจคิดฝัน กระทั่งงีบไปด้วยซ้ำ! เมื่อคำนึงถึงว่าความรู้ที่นำเสนอมีความสำคัญ เราควรพยายามปรับปรุงความสามารถของเราในการเอาใจจดจ่อขณะร่วมประชุมประจำประชาคม. แต่เราจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร?
12. อะไรจะช่วยเราให้เอาใจใส่ในการประชุมได้ง่ายกว่า?
12 ปกติแล้ว เราเอาใจใส่ในการประชุมได้ง่ายกว่าถ้าเราเตรียมตัวมาอย่างดี. ถ้าอย่างนั้น ดีไหมถ้าเราจัดเวลาไว้ล่วงหน้าเพื่อคิดถึงเนื้อหาที่จะมีการพิจารณาในการประชุม? การอ่านและคิดรำพึงในส่วนที่กำหนดให้อ่านจากพระคัมภีร์แต่ละสัปดาห์นั้นใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีต่อวัน. ด้วยการวางแผนบ้าง เราสามารถหาเวลาเพื่อเตรียมตัวสำหรับการศึกษาหนังสือประจำประชาคมและการศึกษาหอสังเกตการณ์ ได้เช่นกัน. ไม่ว่าเราเลือกจัดเวลาอย่างไร สิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือ การเตรียมตัวจะช่วยเราให้เอาใจใส่เนื้อหาที่มีการพิจารณาเมื่อร่วมประชุมประจำประชาคม.
13. อะไรอาจช่วยเราให้จดจ่อเนื้อหาที่มีการพิจารณาในการประชุม?
13 นอกจากเตรียมตัวอย่างดีแล้ว บางคนพบว่าพวกเขาบทเพลงสรรเสริญ 26:12; ลูกา 2:36, 37) การประชุมเป็นวิธีสำคัญวิธีหนึ่งที่เราได้รับการเลี้ยงอาหารฝ่ายวิญญาณ. (มัดธาย 24:45-47) ยิ่งกว่านั้น การประชุมต่าง ๆ เปิดโอกาสให้เรา ‘เร้าใจกันและกันให้เกิดความรักและการกระทำที่ดี.’—เฮ็บราย 10:24, 25, ล.ม.
เอาใจใส่ขณะร่วมประชุมได้มากกว่าเมื่อพวกเขานั่งในแถวหน้า ๆ ของหอประชุม. การจับตาที่ผู้บรรยาย, การเปิดดูข้อพระคัมภีร์ตามไปด้วย, และการจดบันทึกเป็นวิธีต่าง ๆ ที่ป้องกันไม่ให้ใจเหม่อลอย. อย่างไรก็ตาม การเตรียมหัวใจให้พร้อมเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าเทคนิคใด ๆ ในการทำสมาธิ. เราจำต้องเข้าใจถึงจุดประสงค์ของการร่วมประชุมกัน. เราประชุมกับเพื่อนร่วมความเชื่อเพื่อนมัสการพระยะโฮวาเป็นประการสำคัญ. (14. ที่จริงแล้ว อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้การประชุมประสบความสำเร็จ?
14 บางคนชอบวัดคุณภาพการประชุมจากความสามารถในการสอนของผู้ทำส่วนต่าง ๆ. หากผู้บรรยายมีความสามารถมาก เราอาจว่านั่นเป็นการประชุมที่ดี. แต่ถ้าการสอนดูเหมือนไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ เราอาจลงความเห็นในทางตรงกันข้าม. เป็นความจริงที่ว่าผู้มีส่วนในระเบียบวาระควรทำสุดความสามารถที่จะใช้ศิลปะในการสอนและพยายามเป็นพิเศษที่จะเข้าถึงหัวใจ. (1 ติโมเธียว 4:16) กระนั้น เราซึ่งเป็นผู้ฟังไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่สมควร. ถึงแม้ความสามารถในการสอนของผู้ที่ทำส่วนนั้นสำคัญ แต่ก็ไม่ใช่ปัจจัยอย่างเดียวในการทำให้การประชุมประสบความสำเร็จ. คุณเห็นด้วยไหมว่าเรื่องหลักที่เราควรเป็นห่วง ไม่ใช่อยู่ที่ว่าผู้บรรยายพูดได้ดีเพียงไร แต่อยู่ที่เราตั้งใจฟังมากแค่ไหน? เมื่อเราเข้าร่วมการประชุมและเอาใจใส่สิ่งที่มีการนำเสนอ เรากำลังนมัสการพระเจ้าประสานกับพระทัยประสงค์ของพระองค์. นั่นแหละคือสิ่งที่ทำให้การประชุมประสบความสำเร็จ. ถ้าเรากระหายที่จะรับความรู้ของพระเจ้า เราจะได้รับประโยชน์จากการประชุมโดยไม่ขึ้นกับความสามารถของผู้บรรยาย. (สุภาษิต 2:1-5) ดัง นั้น ในทุกทาง ขอให้เราตั้งใจแน่วแน่ที่จะ ‘เอาใจใส่ให้มากกว่าปกติ’ ณ การประชุมต่าง ๆ ของเรา.
รับประโยชน์เต็มที่จากการศึกษาส่วนตัว
15. การศึกษาและการคิดรำพึงเป็นประโยชน์ต่อเราได้อย่างไร?
15 เราได้รับประโยชน์อย่างมากจาก ‘การเอาใจใส่ให้มากกว่าปกติ’ ระหว่างการศึกษาส่วนตัวและการคิดรำพึง. การอ่านคัมภีร์ไบเบิลและสรรพหนังสือสำหรับคริสเตียนแล้วครุ่นคิดถึงสิ่งที่ได้อ่านนั้น ทำให้เรามีโอกาสอันล้ำค่าที่จะฝังความจริงแห่งพระคำของพระเจ้าลึกลงในหัวใจของเรา. การทำเช่นนี้จะส่งผลอย่างมากต่อวิธีที่เราคิดและกระทำ. ที่จริง การทำอย่างนั้นจะช่วยเราให้พบความยินดีในการทำตามพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวา. (บทเพลงสรรเสริญ 1:2; 40:8) ดังนั้น เราจำต้องพัฒนาความสามารถในการเอาใจจดจ่อเพื่อจะเป็นประโยชน์แก่เราในการศึกษาส่วนตัว. ง่ายมากที่เราจะเสียสมาธิ! การขัดจังหวะเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เสียงโทรศัพท์หรือเสียงอะไรบางอย่างที่ดังขึ้นอาจทำให้เราเขว. หรือแม้แต่เมื่อไม่มีอะไรรบกวน เราก็อาจพบว่ายากที่จะมีสมาธิได้นาน ๆ. เราอาจนั่งลงด้วยความตั้งใจอย่างดีว่าจะรับเอาอาหารฝ่ายวิญญาณ แต่พอนั่งไปได้ไม่นาน ใจของเราก็อาจล่องลอย. ถ้าอย่างนั้น เราจะ ‘เอาใจใส่ให้มากกว่าปกติ’ ระหว่างการศึกษาพระคำของพระเจ้าเป็นส่วนตัวได้อย่างไร?
16. (ก) เหตุใดการจัดตารางเวลาไว้เพื่อการศึกษาส่วนตัวจึงสำคัญสำหรับเรา? (ข) คุณได้จัดเวลาสำหรับศึกษาพระคำของพระเจ้าอย่างไร?
16 เป็นประโยชน์ที่จะจัดตารางเวลาและเลือกสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการศึกษา. สำหรับพวกเราส่วนใหญ่ เวลาและความเป็นส่วนตัวเป็นสิ่งที่หาได้ยากเต็มที. เราอาจรู้สึกราวกับว่าความเร่งรีบของเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันกำลังพัดพาเราไปเหมือนเราเป็นกิ่งไม้ในสายน้ำที่ไหลเชี่ยว. ที่จริงแล้ว มันเหมือนกับเราต้องพยายามต้านกระแสน้ำและเสาะหาเกาะเล็ก ๆ สักแห่งหนึ่งกลางสายธารเพื่อจะพ้นจากกระแสน้ำที่ไหลปะทะ. เราไม่อาจเพียงแค่รอให้โอกาสในการศึกษามาหาเราเอง. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น เราต้องเข้าควบคุมสถานการณ์โดยจัดเวลาสำหรับศึกษา. (เอเฟโซ 5:15, 16) บางคนกันเวลาช่วงสั้น ๆ ในตอนเช้าไว้สำหรับศึกษาเนื่องจากมีสิ่งที่ทำให้เขวน้อยกว่า. คนอื่น ๆ พบว่าตอนเย็นเป็นช่วงเวลาที่เหมาะต่อการศึกษามากกว่า. จุดสำคัญคือว่าเราต้องไม่มองข้ามความจำเป็นที่จะรับเอาความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับพระเจ้าและพระบุตรของพระองค์. (โยฮัน 17:3) ดังนั้น ขอให้เราจัดตารางเวลาสำหรับศึกษาส่วนตัวแล้วยึดมั่นอยู่กับตารางนั้น.
17. การคิดรำพึงคืออะไร และเราได้ประโยชน์อย่างไรจากการคิดรำพึง?
17 การคิดรำพึง ซึ่งนิยามว่าเป็น ‘กระบวนการในการครุ่นคิดด้วยใจจดจ่อต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษา’ นั้นประเมินค่ามิได้. การคิดรำพึงช่วยเราให้หยิบยกพระดำริของพระเจ้าออกมาจากหน้าหนังสือและประทับเข้าไว้ในหัวใจของเรา. การคิดรำพึงช่วยเราให้เห็นวิธีที่จะใช้คำแนะนำจากคัมภีร์ไบเบิลเพื่อเราจะเป็น “ผู้ปฏิบัติตามพระคำ และไม่ใช่เป็นแต่เพียงผู้ฟังเท่านั้น.” (ยาโกโบ 1:22-25, ล.ม.) ยิ่งกว่านั้น การคิดรำพึงยังช่วยเราให้ใกล้ชิดกับพระยะโฮวามากขึ้น เพราะทำให้เราได้ครุ่นคิดถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระองค์และวิธีที่คุณลักษณะเหล่านั้นได้รับการเน้นในเนื้อหาที่เรากำลังพิจารณาขณะศึกษา.
18. สภาพเช่นไรจำเป็นเพื่อจะคิดรำพึงอย่างบังเกิดผล?
18 เพื่อจะได้ประโยชน์เต็มที่จากการศึกษาและการคิดรำพึง เราต้องทำให้ความคิดของเราปลอดจากสิ่งที่ทำให้เขว. เพื่อจะมีที่สำหรับใส่ความรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดจากการคิดรำพึง เราต้องสกัดกั้นไม่ให้เรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่ทำให้เขวเข้ามาในความคิดของเรา. การคิดรำพึงนี้อาศัยเวลาและความเป็นส่วนตัว กระนั้น เราได้รับความสดชื่นสักเพียงไรจากการรับเอาอาหารฝ่ายวิญญาณและน้ำแห่งความจริงที่พบในพระคำของพระเจ้า!
19. (ก) ในเรื่องการศึกษาส่วนตัว อะไรได้ช่วยบางคนเพิ่มช่วงสมาธิของเขาให้นานขึ้น? (ข) เราควรมีเจตคติเช่นไรต่อการศึกษา และเราอาจได้รับประโยชน์อะไรจากกิจกรรมที่สำคัญนี้?
1 โกรินโธ 2:10, ล.ม.) การทำเช่นนั้นทำให้เราสามารถเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับพระเจ้าและพัฒนาความสามารถในการสังเกตเข้าใจ. (เฮ็บราย 5:14, ล.ม.) นอกจากนั้น ถ้าเราขยันขันแข็งในการศึกษาพระคำของพระเจ้า เราจะ “มีคุณวุฒิพอที่จะสอนคนอื่น” ด้วย.—2 ติโมเธียว 2:2, ล.ม.
19 จะทำอย่างไรหากช่วงสมาธิของเราสั้นและใจเริ่มเหม่อลอยหลังจากศึกษาไปได้เพียงช่วงสั้น ๆ? บางคนพบว่าพวกเขาสามารถเพิ่มความสามารถในการเอาใจจดจ่อขณะศึกษาโดยเริ่มจากการศึกษาช่วงสั้น ๆ แล้วค่อย ๆ ขยายเวลาให้นานขึ้น. เป้าหมายของเราควรเป็นการใช้เวลาในการศึกษาให้มากพอแทนที่จะรีบเร่งศึกษา. เราจำต้องพัฒนาให้มีความสนใจอย่างกระตือรือร้นในเรื่องที่กำลังพิจารณา. และเราสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมโดยใช้ข้อมูลมากมายที่ชนชั้นทาสสัตย์ซื่อและสุขุมจัดเตรียมไว้ให้. มีผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากการเพ่งมองเข้าไปใน “สิ่งลึกซึ้งของพระเจ้า.” (20. เราจะพัฒนาและรักษาสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับพระยะโฮวาพระเจ้าได้อย่างไร?
20 การเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนและการศึกษาส่วนตัวช่วยเราได้มากในการพัฒนาและรักษาสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับพระยะโฮวา. นั่นดูเหมือนเป็นสิ่งที่ได้เกิดขึ้นกับผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญซึ่งทูลพระเจ้าว่า “ข้าพเจ้ารักข้อกฎหมายของพระองค์มากเพียงใด! ข้าพเจ้าคำนึงถึงตลอดวัน.” (บทเพลงสรรเสริญ 119:97, ล.ม.) ดังนั้น ในทุกทาง ขอให้เราเข้าร่วมเป็นประจำในการประชุมประจำประชาคม, ประชุมหมวด, และประชุมภาค. และขอให้เราซื้อโอกาสมาใช้สำหรับการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและการคิดรำพึง. โดยการทำอย่างนี้ เราจะได้รับบำเหน็จอันอุดมจาก ‘การเอาใจใส่ให้มากกว่าปกติ’ ในพระคำของพระเจ้า.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 7 จดหมายถึงคริสเตียนชาวฮีบรูคงถูกเขียนในปี ส.ศ. 61. ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็อีกแค่ห้าปีต่อมาที่กองทัพของเซสติอุส กัลลุสมาตั้งค่ายล้อมรอบกรุงเยรูซาเลม. ไม่นานจากนั้น กองทัพเหล่านั้นถอยกลับไปซึ่งเปิดโอกาสให้คริสเตียนที่ตื่นตัวหนีออกไป. สี่ปีต่อมา กรุงนั้นถูกทำลายโดยกองทัพโรมันภายใต้การนำของแม่ทัพติโต.
คุณจำได้ไหม?
• เหตุใดคริสเตียนชาวฮีบรูบางคนจึงลอยห่างไปจากความเชื่อแท้?
• เราจะรักษาสมาธิขณะร่วมประชุมคริสเตียนได้อย่างไร?
• อะไรจะช่วยเราให้ได้รับประโยชน์จากการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเป็นส่วนตัวและการคิดรำพึง?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 11]
คริสเตียนชาวฮีบรูจำต้องตื่นตัวต่อความพินาศของกรุงเยรูซาเลมที่จวนจะเกิดขึ้น
[ภาพหน้า 13]
บิดามารดาสามารถช่วยบุตรของตนให้ได้รับประโยชน์จากการประชุมต่าง ๆ ของคริสเตียน