จงปลูกฝังการเชื่อฟังขณะอวสานใกล้เข้ามา
จงปลูกฝังการเชื่อฟังขณะอวสานใกล้เข้ามา
“ชนชาติทั้งปวงจะต้องเชื่อฟัง [ซีโลห์].”—เยเนซิศ 49:10, ล.ม. (ฉบับแปลเก่าข้อ 11.)
1. (ก) ในอดีต การเชื่อฟังพระยะโฮวาบ่อยครั้งเกี่ยวข้องกับอะไร? (ข) ยาโคบได้กล่าวคำพยากรณ์อะไรเกี่ยวกับการเชื่อฟัง?
การเชื่อฟังพระยะโฮวาบ่อยครั้งเกี่ยวข้องกับการเชื่อฟังผู้ที่เป็นตัวแทนของพระองค์. ตัวแทนของพระองค์ในอดีตที่ผ่านมารวมถึงทูตสวรรค์, ปฐมบรรพบุรุษ, ผู้วินิจฉัย, ปุโรหิต, ผู้พยากรณ์, และกษัตริย์. ราชบัลลังก์ของกษัตริย์อิสราเอลถูกเรียกด้วยว่าเป็นราชบัลลังก์ของพระยะโฮวา. (1 โครนิกา 29:23) แต่น่าเศร้าที่ผู้ปกครองหลายคนของอิสราเอลไม่เชื่อฟังพระเจ้า จึงนำความหายนะมาสู่พวกเขาเองและราษฎรของพวกเขา. อย่างไรก็ตาม พระยะโฮวาไม่ได้ทอดทิ้งเหล่าผู้ภักดีของพระองค์ให้ปราศจากความหวัง; พระองค์ชูใจพวกเขาด้วยคำสัญญาว่าจะสถาปนากษัตริย์ที่ไม่เสื่อมเสียองค์หนึ่ง ซึ่งผู้ชอบธรรมจะชื่นชมยินดีในการเชื่อฟังกษัตริย์องค์นี้. (ยะซายา 9:6, 7) ยาโคบปฐมบรรพบุรุษขณะใกล้จะสิ้นใจได้พยากรณ์ถึงผู้ปกครองในอนาคตผู้นี้ โดยกล่าวว่า “คทาจะไม่ขาดไปจากยูดาห์ เช่นเดียวกับไม้ธารพระกรจะไม่ขาดไปจากเท้าของเขาจนกว่าซีโลห์จะมา; และชนชาติทั้งปวงจะต้องเชื่อฟังเขา.”—เยเนซิศ 49:10, ล.ม.
2. อะไรคือความหมายของคำ “ซีโลห์” และการปกครองของพระองค์จะครอบคลุมเพียงไร?
2 “ซีโลห์” เป็นคำในภาษาฮีบรู หมายถึง “ผู้มีสิทธิ์เป็นเจ้าของ.” ถูกแล้ว ซีโลห์จะได้รับสิทธิโดยสมบูรณ์ในการปกครอง ซึ่งแสดงสัญลักษณ์ด้วยคทา และอำนาจในการเยเนซิศ 22:17, 18, ล.ม.) พระยะโฮวาทรงยืนยันเอกลักษณ์ของ “พงศ์พันธุ์” นี้ในปี ส.ศ. 29 เมื่อพระองค์เจิมเยซูชาวนาซาเร็ธด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์.—ลูกา 3:21-23, 34; ฆะลาเตีย 3:16.
บัญชาการ ซึ่งแทนสัญลักษณ์ด้วยธารพระกร. ยิ่งกว่านั้น การปกครองของพระองค์จะครอบคลุมไม่เพียงลูกหลานของยาโคบเท่านั้น แต่รวมไปถึง “ชนชาติทั้งปวง” ด้วย. สิ่งนี้สอดคล้องกับคำสัญญาที่พระยะโฮวาให้แก่อับราฮามว่า “พงศ์พันธุ์ของเจ้าจะยึดประตูเมืองแห่งพวกศัตรูของเขา. และโดยทางพงศ์พันธุ์ของเจ้า ทุกชาติแห่งแผ่นดินโลกจะทำให้ตนเองได้พระพรเป็นแน่.” (ราชอาณาจักรแรกของพระเยซู
3. พระเยซูได้รับการปกครองอะไรเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นสู่สวรรค์?
3 เมื่อพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ พระองค์ไม่ได้รับคทาแห่งการปกครองเหนือพลเมืองทั้งโลกในทันที. (บทเพลงสรรเสริญ 110:1) กระนั้น พระองค์ได้รับ “ราชอาณาจักร” หนึ่งพร้อมกับผู้อยู่ใต้อำนาจที่เชื่อฟังพระองค์. อัครสาวกเปาโลกล่าวถึงราชอาณาจักรนี้เมื่อท่านเขียนว่า “[พระเจ้า] ได้ทรงช่วยเรา [คริสเตียนผู้ได้รับการเจิมด้วยพระวิญญาณ] ให้พ้นจากอำนาจแห่งความมืดและทรงย้ายเราเข้าสู่ราชอาณาจักรแห่งพระบุตรที่รักของพระองค์.” (โกโลซาย 1:13, ล.ม.) การช่วยให้พ้นจากอำนาจแห่งความมืดนี้เริ่มต้นในวันเพนเตคอสเต ปี 33 ส.ศ. เมื่อมีการหลั่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ลงบนเหล่าสาวกที่ซื่อสัตย์ของพระเยซู.—กิจการ 2:1-4; 1 เปโตร 2:9.
4. ในทางใดที่เหล่าสาวกของพระเยซูในยุคแรกแสดงการเชื่อฟัง และพระเยซูทรงระบุตัวพวกเขาในฐานะกลุ่มชนอย่างไร?
4 ในฐานะ “ราชทูตทำหน้าที่แทนพระคริสต์” เหล่าสาวกที่เชื่อฟังผู้ได้รับการเจิมด้วยพระวิญญาณเริ่มรวบรวมคนอื่น ๆ ที่จะมาเป็น “พลเมืองร่วม” ในราชอาณาจักรฝ่ายวิญญาณดังกล่าว. (2 โกรินโธ 5:20, ล.ม.; เอเฟโซ 2:19, ล.ม.; กิจการ 1:8) นอกจากนั้น คนเหล่านี้จำเป็นต้องรักษาความ “เป็นหนึ่งเดียวโดยมีจิตใจและแนวความคิดเดียวกัน” เพื่อจะได้รับความโปรดปรานจากกษัตริย์เยซูคริสต์. (1 โกรินโธ 1:10, ล.ม.) ในฐานะกลุ่มชน พวกเขาประกอบกันขึ้นเป็นชนชั้น “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” หรือคนต้นเรือนที่สัตย์ซื่อ.—มัดธาย 24:45, ล.ม.; ลูกา 12:42.
ได้รับพระพรเนื่องจากการเชื่อฟัง “คนต้นเรือน”
5. ตั้งแต่สมัยโบราณมา พระยะโฮวาได้สอนไพร่พลของพระองค์โดยวิธีใด?
5 พระยะโฮวาทรงจัดเตรียมผู้ทำหน้าที่สอนให้แก่ไพร่พลของพระองค์เสมอมา. ยกตัวอย่าง หลังจากชาวยิวกลับจากบาบิโลน เอษราและพวกผู้ชายที่มีคุณวุฒิคนอื่น ๆ ไม่เพียงแต่อ่านพระบัญญัติของพระเจ้าให้ประชาชนฟังเท่านั้น พวกเขายังได้ “อธิบาย” พระบัญญัติ ‘และชี้แจงความหมายให้เข้าใจ’ พระคำของพระเจ้า.—นะเฮมยา 8:8, ล.ม.
6, 7. ชนชั้นทาสได้จัดเตรียมอาหารฝ่ายวิญญาณตามเวลาผ่านทางคณะกรรมการปกครองโดยวิธีใด และทำไมการยอมอ่อนน้อมต่อชนชั้นทาสจึงเป็นการสมควร?
6 ในศตวรรษแรก เมื่อเกิดประเด็นเรื่องการรับสุหนัตขึ้นในปี ส.ศ. 49 คณะกรรมการปกครองกิจการ 15:6-15, 22-29; 16:4, 5) เช่นกันในสมัยปัจจุบัน คณะกรรมการปกครองซึ่งเป็นตัวแทนของทาสสัตย์ซื่อได้ชี้แจงประเด็นสำคัญ ๆ อย่างเช่น ความเป็นกลางของคริสเตียน, ความศักดิ์สิทธิ์ของเลือด, รวมถึงการใช้ยาเสพติดและยาสูบ. (ยะซายา 2:4; กิจการ 21:25; 2 โกรินโธ 7:1) พระยะโฮวาทรงอวยพรไพร่พลของพระองค์เนื่องจากพวกเขาเชื่อฟังพระคำของพระองค์และเชื่อฟังทาสสัตย์ซื่อ.
แห่งชนชั้นทาสในสมัยนั้นได้อธิษฐานขอการทรงนำเมื่อพิจารณาประเด็นดังกล่าวและได้ข้อสรุปที่เป็นไปตามหลักพระคัมภีร์. เมื่อพวกเขาประกาศข้อตัดสินทางจดหมาย ประชาคมต่าง ๆ ปฏิบัติตามการชี้นำที่ให้ไว้และได้รับพระพรอย่างอุดมจากพระเจ้า. (7 โดยการยอมอ่อนน้อมต่อชนชั้นทาส ไพร่พลของพระเจ้าแสดงถึงการอยู่ใต้อำนาจผู้เป็นนายคือพระเยซูคริสต์ด้วย. ในปัจจุบัน การยอมอยู่ใต้อำนาจเช่นนั้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่าแต่ก่อน เนื่องจากบัดนี้พระเยซูมีสิทธิอำนาจในขอบข่ายที่มากขึ้น ดังที่บอกไว้ล่วงหน้าในคำพยากรณ์ของยาโคบก่อนสิ้นใจ.
ซีโลห์กลายเป็นผู้ครอบครองทั่วแผ่นดินโลกโดยชอบธรรม
8. สิทธิอำนาจของพระคริสต์ขยายขอบเขตไปถึงขนาดไหนและเมื่อไร?
8 คำพยากรณ์ของยาโคบบอกล่วงหน้าว่าซีโลห์จะมีอำนาจบัญชาการเหนือ “ชนชาติทั้งปวง.” เห็นได้ชัดว่าการปกครองของพระคริสต์จะครอบคลุมมากกว่าอิสราเอลฝ่ายวิญญาณ. จะครอบคลุมถึงขนาดไหน? วิวรณ์ 11:5 (ล.ม.) ให้คำตอบดังนี้: “อาณาจักรของโลก ได้กลายเป็นราชอาณาจักรขององค์พระผู้เป็นเจ้าของเราและของพระคริสต์ของพระองค์ และพระองค์จะทรงปกครองเป็นกษัตริย์ตลอดไปเป็นนิตย์.” คัมภีร์ไบเบิลเปิดเผยว่าพระเยซูได้รับสิทธิอำนาจดังกล่าวเมื่อ “เจ็ดวาระ” เชิงพยากรณ์หรือ “เวลากำหนดของนานาชาติ” สิ้นสุดลงในปี ส.ศ. 1914. * (ดานิเอล 4:16, 17, ฉบับแปลใหม่; ลูกา 21:24, ล.ม.) ในปีนั้นเอง “การประทับ” ของพระคริสต์ที่ไม่ปรากฏแก่ตาในฐานะกษัตริย์มาซีฮาได้เริ่มต้น เป็นเวลาเดียวกับที่พระองค์ “ออกไปปราบปรามท่ามกลางศัตรู [ของพระองค์].”—มัดธาย 24:3, ล.ม.; บทเพลงสรรเสริญ 110:2, ล.ม.
9. พระเยซูทรงทำอะไรเมื่อได้รับสิทธิอำนาจในราชอาณาจักร และอะไรเป็นผลกระทบทางอ้อมที่เกิดแก่มนุษยชาติจากการกระทำเช่นนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเหล่าสาวกของพระองค์?
9 ราชกิจประการแรกของพระเยซูหลังจากได้รับขัตติยอำนาจคือเหวี่ยงซาตานผู้เป็นที่รู้กันดีว่าไม่เชื่อฟังยิ่งกว่าใคร ๆ “ลงมาอยู่ที่แผ่นดินโลก” พร้อมกับเหล่าผีปิศาจของมัน. ตั้งแต่นั้นมา วิญญาณชั่วเหล่านี้ได้ก่อวิบัติที่คาดไม่ถึงหลายอย่างแก่มนุษยชาติ อีกทั้งส่งเสริมบรรยากาศที่ทำให้การเชื่อฟังพระยะโฮวาเป็นข้อท้าทาย. (วิวรณ์ 12:7-12; 2 ติโมเธียว 3:1-5) อันที่จริง เป้าหมายหลักในการโจมตีในสงครามฝ่ายวิญญาณของซาตานคือเหล่าผู้ถูกเจิมของพระยะโฮวา ผู้ “ซึ่งปฏิบัติตามข้อบัญญัติต่าง ๆ ของพระเจ้าและมีงานเป็นพยานถึงพระเยซู” พร้อมกับ “แกะอื่น” สหายของพวกเขา.—วิวรณ์ 12:17, ล.ม.; โยฮัน 10:16.
10. ความสำเร็จสมจริงของคำพยากรณ์อะไรในคัมภีร์ไบเบิลรับประกันถึงความพ่ายแพ้ของซาตานในสงครามต่อต้านคริสเตียนแท้?
10 อย่างไรก็ตาม ซาตานจะพ่ายแพ้ในสงครามอย่างแน่นอน เนื่องจากบัดนี้เป็น “วันขององค์พระผู้เป็นเจ้า” และไม่วิวรณ์ 1:10; 6:2, ล.ม.) ยกตัวอย่าง พระองค์จะอารักขาชนอิสราเอลฝ่ายวิญญาณ 144,000 คนเพื่อรับประกันว่าการประทับตราขั้นสุดท้ายจะสำเร็จ. และพระองค์จะคุ้มครอง “ชนฝูงใหญ่ ซึ่งไม่มีใครนับจำนวนได้ จากชาติและตระกูลและชนชาติและภาษาทั้งปวง” เช่นกัน. (วิวรณ์ 7:1-4, 9, 14-16, ล.ม.) ถึงกระนั้น ต่างจากสหายผู้ถูกเจิมของพวกเขา ชนฝูงใหญ่เหล่านี้จะเป็นราษฎรที่เชื่อฟังภายใต้การปกครองของพระเยซูบนแผ่นดินโลก. (ดานิเอล 7:13, 14) การที่พวกเขาปรากฏตัวในฉากโลกทุกวันนี้ให้หลักฐานที่เห็นได้ด้วยตาแล้วว่า ซีโลห์เป็นผู้ปกครองเหนือ “อาณาจักรของโลก” อย่างแท้จริง.—วิวรณ์ 11:15.
มีอะไรขัดขวางพระเยซูจากการ ‘ทำให้ชัยชนะของพระองค์ครบถ้วน’ ได้. (บัดนี้เป็นเวลาที่จะ “เชื่อฟังข่าวดี”
11, 12. (ก) ใครเท่านั้นที่จะรอดผ่านอวสานของระบบปัจจุบัน? (ข) คนที่ซึมซับ “วิญญาณของโลก” ได้พัฒนาลักษณะนิสัยเช่นไรในตัวของเขา?
11 ทุกคนที่ปรารถนาชีวิตนิรันดร์ต้องเรียนรู้ที่จะเชื่อฟัง เนื่องจากคัมภีร์ไบเบิลกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า “คนที่ไม่รู้จักพระเจ้าและคนที่ไม่เชื่อฟังข่าวดีเรื่องพระเยซูเจ้าของเรา” จะไม่รอดพ้นการถูกทำลายในวันแห่งการแก้แค้นของพระเจ้า. (2 เธซะโลนิเก 1:8, ล.ม.) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศที่ชั่วช้าและน้ำใจแห่งการขัดขืนกฎหมายและหลักการในคัมภีร์ไบเบิลที่แพร่หลายในปัจจุบันทำให้การเชื่อฟังข่าวดีเป็นข้อท้าทายสำหรับเรา.
12 คัมภีร์ไบเบิลพรรณนาน้ำใจขัดขืนพระเจ้าเช่นนี้ว่าเป็น “วิญญาณของโลก.” (1 โกรินโธ 2:12) เมื่ออธิบายถึงผลกระทบของวิญญาณนี้ต่อผู้คน อัครสาวกเปาโลเขียนถึงคริสเตียนที่เอเฟโซสในสมัยศตวรรษแรกดังนี้: “คราวหนึ่งท่านทั้งหลายได้ดำเนินตามระบบของโลกนี้ ตามผู้ครองอำนาจแห่งอากาศ คือวิญญาณซึ่งบัดนี้ปฏิบัติการในบุตรแห่งการไม่เชื่อฟัง. ถูกแล้ว ท่ามกลางพวกเขาครั้งหนึ่งเราทุกคนได้ประพฤติตัวสอดคล้องกับความปรารถนาแห่งเนื้อหนังของเรา โดยกระทำสิ่งที่เนื้อหนังและความคิดปรารถนา และเราจึงเป็นลูกแห่งความพิโรธตามธรรมดาเหมือนคนอื่น.”—เอเฟโซ 2:2, 3, ล.ม.
13. คริสเตียนประสบผลสำเร็จในการต้านทานวิญญาณของโลกได้อย่างไร พร้อมด้วยผลดีประการใด?
13 น่ายินดี คริสเตียนชาวเอเฟโซสไม่ได้เป็นทาสวิญญาณแห่งการไม่เชื่อฟังอีกต่อไป. ตรงกันข้าม พวกเขาได้มาเป็นบุตรที่เชื่อฟังของพระเจ้าโดยยอมอยู่ใต้อำนาจพระวิญญาณของพระองค์และเก็บเกี่ยวผลดีมากมายจากพระวิญญาณนั้น. (ฆะลาเตีย 5:22, 23) เช่นเดียวกันในทุกวันนี้ พระวิญญาณของพระเจ้า พลังที่ทรงอำนาจที่สุดในเอกภพ กำลังช่วยหลายล้านคนให้มาเป็นผู้เชื่อฟังพระยะโฮวา ผลคือพวกเขามี “ความมั่นใจเต็มที่เกี่ยวกับความหวังจนถึงที่สุด.”—เฮ็บราย 6:11, ล.ม.; ซะคาระยา 4:6.
14. พระเยซูทรงเตือนคริสเตียนทุกคนในสมัยสุดท้ายให้ทราบถึงสิ่งที่จะเป็นการทดสอบการเชื่อฟังของพวกเขาโดยวิธีใด?
14 นอกจากนี้ ขอระลึกเสมอว่าเราได้รับการหนุนหลังเต็มกำลังจากซีโลห์และพระบิดาของพระองค์ ซึ่งทั้งสองพระองค์จะไม่ยอมให้ศัตรูหน้าไหน ไม่ว่ามนุษย์หรือผีปิศาจ มาทดลองการเชื่อฟังของเราจนเกินกว่าที่เราจะทนได้. (1 โกรินโธ 10:13) อันที่จริง เพื่อช่วยเราในการทำสงครามฝ่ายวิญญาณ พระเยซูทรงแจกแจงปัญหาบางอย่างที่เราอาจจะเผชิญในสมัยสุดท้ายนี้. พระองค์ทรงทำเช่นนั้นโดยใช้จดหมายเจ็ดฉบับ ซึ่งพระองค์ประทานแก่อัครสาวกโยฮันทางนิมิต. (วิวรณ์ 1:10, 11) จริงอยู่ จดหมายเหล่านี้บรรจุคำแนะนำที่จำเป็นสำหรับคริสเตียนย้อนไปในสมัยนั้น แต่ที่สำคัญคือ คำแนะนำดังกล่าวใช้กับคริสเตียนใน “วันขององค์พระผู้เป็นเจ้า” ตั้งแต่ปี ส.ศ. 1914. ดังนั้น ช่างเหมาะสักเพียงไรที่เราจะเอาใจใส่ข่าวสารที่บรรจุอยู่ในจดหมายเหล่านี้! *
หลีกเลี่ยงความเฉยเมย, การผิดศีลธรรม, การนิยมวัตถุ
15. ทำไมเราต้องคอยระวังปัญหาเหมือนที่ได้เกิดขึ้นในประชาคมที่เอเฟโซส และเราจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร? (2 เปโตร 1:5-8)
15 จดหมายฉบับแรกของพระเยซูมีไปถึงประชาคมที่เอเฟโซส. หลังจากชมเชยประชาคมนี้ในเรื่องความเพียรอดทนของพวกเขา พระเยซูกล่าวว่า “แต่กระนั้น เรามีข้อต่อว่าเจ้า คือเจ้าได้ละความรักซึ่งเจ้าเคยมีในตอนแรก.” (วิวรณ์ 2:1-4, ล.ม.) ในทุกวันนี้ก็เช่นกัน บางคนซึ่งเคยเป็นคริสเตียนที่กระตือรือร้นได้สูญเสียความรักอันแรงกล้าที่พวกเขาเคยมีต่อพระเจ้า. การสูญเสียความรักเช่นนั้นอาจบ่อน ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้าและเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน. เราจะฟื้นความรักที่มอดไปให้ลุกกระพือขึ้นมาใหม่ได้อย่างไร? โดยการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล, เข้าร่วมประชุม, อธิษฐาน, และคิดรำพึงเป็นประจำ. (1 โยฮัน 5:3) จริงอยู่ การทำเช่นนี้ต้องอาศัย “ความพยายามอย่างจริงจัง” แต่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าแน่นอน. (2 เปโตร 1:5-8, ล.ม.) หากการตรวจสอบตัวเองอย่างซื่อตรงเปิดเผยว่าความรักของคุณเย็นชาลง จงรีบแก้ไขทันที โดยเชื่อฟังคำกระตุ้นเตือนของพระเยซูที่ว่า “จงระลึกถึงสภาพที่เจ้าได้ตกลงมานั้น และจงกลับใจ และกระทำอย่างแต่ก่อน.”—วิวรณ์ 2:5, ล.ม.
16. มีอิทธิพลอันตรายฝ่ายวิญญาณอะไรในประชาคมที่เปอร์กาโมส์และธุอาทิรา และเหตุใดคำตรัสของพระเยซูถึงพวกเขาจึงเหมาะกับทุกวันนี้?
16 คริสเตียนในเปอร์กาโมส์ [เประฆาโม] และธุอาทิรา [ธุอาไตระ] ได้รับคำชมเชยในเรื่องความซื่อสัตย์มั่นคง, ความเพียรอดทน, และความมีใจแรงกล้า. (วิวรณ์ 2:12, 13, 18, 19) กระนั้น พวกเขาได้รับอิทธิพลจากบางคนที่แสดงน้ำใจชั่วอย่างบีละอามและอีซาเบลผู้ได้ก่ออิทธิพลเสื่อมเสียในอิสราเอลโบราณโดยใช้การผิดศีลธรรมทางเพศและการนมัสการพระบาละ. (อาฤธโม 31:16; 1 กษัตริย์ 16:30, 31; วิวรณ์ 2:14, 16, 20-23) แล้วในสมัยของเราล่ะ ซึ่งเป็น “วันขององค์พระผู้เป็นเจ้า”? มีอิทธิพลชั่วอย่างเดียวกันนั้นไหม? มี เพราะการผิดศีลธรรมเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่นำไปสู่การตัดสัมพันธ์ในท่ามกลางไพร่พลของพระเจ้า. ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญสักเพียงไรที่เราต้องหลีกเลี่ยงการคบหาสมาคมกับทุกคนที่ก่ออิทธิพลเสื่อมเสียทางศีลธรรม ไม่ว่าภายในหรือภายนอกประชาคม! (1 โกรินโธ 5:9-11; 15:33) นอกจากนี้ ทุกคนที่ปรารถนาจะเป็นราษฎรที่เชื่อฟังของซีโลห์ต้องหลีกหนีสื่อบันเทิงที่น่าสงสัยและภาพลามกไม่ว่าทางสิ่งพิมพ์หรืออินเทอร์เน็ต.—อาโมศ 5:15; มัดธาย 5:28, 29.
17. ทัศนะและเจตคติของคนเหล่านั้นที่ซาร์ดิสและลาโอดิเคียเมื่อเทียบกับทัศนะของพระเยซูเกี่ยวกับสภาพฝ่ายวิญญาณของพวกเขาแล้วเป็นอย่างไร?
17 เว้นแต่เพียงไม่กี่คน ประชาคมที่ซาร์ดิส [ซัรได] ไม่ได้รับคำชมเชยเลย. ประชาคมได้ “ชื่อ” หรือดูภายนอกว่ามีชีวิต แต่ประชาคมนี้แน่นิ่งอยู่ในสภาพเฉยเมยฝ่ายวิญญาณมานานจนพระเยซูถือว่า “ตายเสียแล้ว.” การเชื่อฟังข่าวดีเป็นแบบพอเป็นพิธีเท่านั้น. นั่นช่างเป็นคำกล่าวโทษที่รุนแรงจริง ๆ! (วิวรณ์ 3:1-3) ประชาคมที่ลาโอดิเคีย [ละโอดีไกอะ] ก็อยู่ในสภาพคล้าย ๆ กัน. ประชาคมนี้โอ้อวดความมั่งมีฝ่ายวัตถุโดยกล่าวว่า “ข้าพเจ้าร่ำรวย” แต่สำหรับพระคริสต์แล้ว ประชาคมนี้ “น่าสังเวชและน่าสมเพชและยากจนและตาบอดและเปลือยกายอยู่.”—วิวรณ์ 3:14-17, ล.ม.
18. เราจะหลีกเลี่ยงการเป็นคนอุ่น ๆ ฝ่ายวิญญาณในสายพระเนตรของพระเจ้าได้อย่างไร?
18 ทุกวันนี้ คริสเตียนบางคนซึ่งครั้งหนึ่งเคยสัตย์ซื่อได้2 เปโตร 3:3, 4, 11, 12) สำคัญสักเพียงไรที่คนเช่นนั้นจะเชื่อฟังพระคริสต์โดยลงทุนเพื่อความร่ำรวยฝ่ายวิญญาณด้วยการ “ซื้อทองคำที่ถลุงด้วยไฟแล้วจาก [พระคริสต์]”! (วิวรณ์ 3:18, ล.ม.) ความมั่งคั่งที่แท้จริงเช่นนั้นรวมเอาการ ‘ร่ำรวยในการงานอันดี, ใจกว้าง, พร้อมจะแบ่งปัน.’ โดยการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์แท้เหล่านี้ เรา ‘สะสมทรัพย์ประเสริฐอย่างปลอดภัยไว้สำหรับตนให้เป็นรากฐานอันดีสำหรับอนาคต เพื่อจะยึดเอาชีวิตแท้ให้มั่น.’—1 ติโมเธียว 6:17-19, ล.ม.
ล้มพลาดเข้าสู่การไม่เชื่อฟังแบบเดียวกัน. พวกเขาอาจปล่อยให้วิญญาณของโลกเซาะกร่อนความสำนึกถึงความเร่งด่วน จึงทำให้มีเจตคติที่อุ่น ๆ ฝ่ายวิญญาณต่อการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล, การอธิษฐาน, การประชุมคริสเตียน, และงานเผยแพร่. (ได้รับคำชมเชยเนื่องจากการเชื่อฟัง
19. คำชมเชยและคำกระตุ้นเตือนอะไรที่พระเยซูได้ให้แก่คริสเตียนที่ซมือร์นาและฟีลาเดลเฟีย?
19 ประชาคมที่ซมือร์นา [ซะมุระนา] และฟีลาเดลเฟีย [ฟีละเด็ลไฟอะ] เป็นตัวอย่างเด่นในเรื่องการเชื่อฟัง เนื่องจากไม่มีคำตำหนิในจดหมายของพระเยซูที่ส่งถึงพวกเขา. พระองค์บอกแก่คนเหล่านั้นที่ซมือร์นาดังนี้: “เรารู้จักความทุกข์ลำบากและความยากจนของเจ้า—แต่เจ้าก็ร่ำรวย.” (วิวรณ์ 2:9, ล.ม.) ช่างตรงกันข้ามจริง ๆ กับคนเหล่านั้นที่ลาโอดิเคียซึ่งโอ้อวดความมั่งมีฝ่ายโลกแต่แท้จริงแล้วยากจน! แน่นอน พญามารไม่ชอบใจที่เห็นคนใดแสดงความสัตย์ซื่อและการเชื่อฟังต่อพระคริสต์. ดังนั้น พระเยซูจึงเตือนว่า “อย่ากลัวต่อสิ่งที่เจ้ากำลังจะต้องทนรับเอา. นี่แน่ะ! พญามารจะยังคงจับพวกเจ้าบางคนขังคุกต่อไปเพื่อพวกเจ้าจะถูกทดสอบเต็มที่ และเพื่อพวกเจ้าจะได้รับความทุกข์ลำบากถึงสิบวัน. เจ้าจงพิสูจน์ตัวซื่อสัตย์ตราบเท่าวันตาย และเราจะให้มงกุฎแห่งชีวิตแก่เจ้า.” (วิวรณ์ 2:10, ล.ม.) คล้ายกัน พระเยซูทรงชมเชยคนเหล่านั้นที่ฟีลาเดลเฟียโดยกล่าวว่า “เจ้าได้ปฏิบัติตามคำของเรา [หรือ เชื่อฟังเรา] และไม่แสดงตัวเท็จต่อนามของเรา. เราจะมาโดยเร็ว. จงยึดถือสิ่งซึ่งเจ้ามีอยู่ไว้ให้มั่นต่อ ๆ ไป เพื่อจะไม่มีใครเอามงกุฎของเจ้าไปได้.”—วิวรณ์ 3:8, 11, ล.ม.
20. หลายล้านคนในทุกวันนี้ได้ปฏิบัติตามคำของพระเยซูอย่างไร และแม้ว่าอยู่ในสภาพการณ์เช่นไร?
20 ใน “วันขององค์พระผู้เป็นเจ้า” ซึ่งเริ่มต้นในปี 1914 ชนที่เหลือที่สัตย์ซื่อและแกะอื่นสหายของพวกเขา ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนหลายล้านคน ได้ปฏิบัติตามคำของพระเยซูเช่นกันโดยมีส่วนร่วมในงานเผยแพร่ด้วยใจแรงกล้าและรักษาความซื่อสัตย์มั่นคง. เช่นเดียวกับพี่น้องในศตวรรษแรก บางคนประสบความทุกข์ยากเนื่องจากเชื่อฟังพระคริสต์ กระทั่งถูกจับขังในคุกและค่ายกักกัน. คนอื่น ๆ ปฏิบัติตามคำของพระเยซูโดยรักษา ‘ตาให้ปกติ’ แม้ถูกแวดล้อมไปด้วยความมั่งคั่งและความละโมบ. (มัดธาย 6:22, 23) ถูกแล้ว โดยการเชื่อฟังเสมอในทุกสภาพแวดล้อมและทุกสภาพการณ์ คริสเตียนแท้ทำให้พระทัยของพระยะโฮวามีความยินดีเรื่อยไป.—สุภาษิต 27:11.
21. (ก) พันธะหน้าที่อะไรฝ่ายวิญญาณที่ชนชั้นทาสจะทำต่อ ๆ ไปให้สำเร็จ? (ข) เราจะแสดงอย่างไรว่าเราต้องการเชื่อฟังซีโลห์จริง ๆ?
21 ขณะที่เราเข้าไปใกล้ความทุกข์ลำบากครั้งใหญ่ “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” ยังคงตั้งใจแน่วแน่ที่จะเชื่อฟังพระคริสต์ผู้เป็นนายของพวกเขาอย่างไม่เสื่อมคลาย. การเชื่อฟังนี้หมายรวมถึงการเตรียมอาหารฝ่ายวิญญาณตามเวลาให้แก่ครอบครัวของพระเจ้า. ดังนั้น ขอให้เราหยั่งรู้ค่าต่อ ๆ ไปต่อองค์การที่ยอดเยี่ยมตามระบอบของพระยะโฮวาและสิ่งที่องค์การนั้นจัดเตรียมให้. โดยการทำเช่นนั้น เราแสดงว่ายอมตัวอยู่ใต้อำนาจซีโลห์ ผู้จะประทานชีวิตนิรันดร์เป็นบำเหน็จแก่ราษฎรที่เชื่อฟังพระองค์ทุกคน.—มัดธาย 24:45-47, ล.ม.; 25:40; โยฮัน 5:22-24.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 8 สำหรับคำอธิบายเกี่ยวกับ “เจ็ดวาระ” โปรดดูบท 10 ของหนังสือความรู้ซึ่งนำไปสู่ชีวิตนิรันดร์ จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
^ วรรค 14 สำหรับการพิจารณาจดหมายทั้งเจ็ดฉบับอย่างละเอียด โปรดดูหนังสือพระธรรมวิวรณ์—ใกล้จะถึงจุดสุดยอด! จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา เริ่มตั้งแต่หน้า 33.
คุณจำได้ไหม?
• บทบาทอะไรของพระเยซูที่มีบอกไว้ล่วงหน้าในคำพยากรณ์ของยาโคบก่อนจะสิ้นใจ?
• เรายอมรับพระเยซูฐานะเป็นซีโลห์โดยวิธีใด และเราต้องหลีกเลี่ยงน้ำใจเช่นไร?
• จดหมายถึงเจ็ดประชาคมในพระธรรมวิวรณ์มีคำแนะนำอะไรที่เกี่ยวข้องกับสมัยของเรา?
• ในทางใดบ้างที่เราสามารถเลียนแบบคนเหล่านั้นในประชาคมที่ซมือร์นาและฟีลาเดลเฟียสมัยโบราณ?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 18]
พระยะโฮวาทรงอวยพรไพร่พลของพระองค์เนื่องจากพวกเขาเชื่อฟัง “คนต้นเรือน” ที่สัตย์ซื่อ
[ภาพหน้า 19]
อิทธิพลของซาตานทำให้การเชื่อฟังพระเจ้าเป็นข้อท้าทาย
[ภาพหน้า 21]
ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับพระยะโฮวาช่วยเราให้เชื่อฟังพระองค์