พระยะโฮวาทรงใฝ่พระทัยคุณ
พระยะโฮวาทรงใฝ่พระทัยคุณ
‘จงมอบความกระวนกระวายทั้งสิ้นของท่านไว้กับ [พระเจ้า] เพราะว่าพระองค์ทรงใฝ่พระทัยในท่านทั้งหลาย.’—1 เปโตร 5:7, ล.ม.
1. พระยะโฮวากับซาตานตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิงในแง่ใดที่สำคัญ?
พระยะโฮวากับซาตานตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง. ใครก็ตามที่อยากเข้าใกล้พระยะโฮวามีแต่จะรังเกียจพญามาร. หนังสืออ้างอิงเล่มหนึ่งได้เน้นให้เห็นถึงความแตกต่างนี้. สารานุกรมบริแทนนิกา (1970) กล่าวเกี่ยวกับกิจกรรมของซาตานตามที่มีเค้าโครงอยู่ในพระธรรมโยบดังนี้: ‘งานของซาตานคือท่องไปทั่วโลกเพื่อเสาะหาการกระทำใดหรือคนใดที่มันจะนำมาใช้กล่าวหาได้ สิ่งที่มันทำจึงตรงข้ามกับ “พระเนตรของพระผู้เป็นเจ้า” ที่กวาดมองไปทั่วแผ่นดินโลกเพื่อหนุนกำลังทุกคนที่ทำดี (2 โครนิกา 16:9). ซาตานสงสัยในความสุจริตใจของมนุษย์ในการทำดีและมันได้รับอนุญาตให้พิสูจน์ข้อสงสัยของมันภายใต้การกำกับดูแลของพระเจ้าและในขอบเขตที่พระองค์ทรงกำหนดไว้.’ ถูกแล้ว ซาตานกับพระเจ้าช่างต่างกันเสียจริง ๆ!—โยบ 1:6-12; 2:1-7.
2, 3. (ก) สิ่งที่เกิดขึ้นกับโยบอธิบายความหมายของคำ “พญามาร” ในภาษากรีกได้อย่างเหมาะเจาะอย่างไร? (ข) คัมภีร์ไบเบิลแสดงอย่างไรว่าซาตานยังคงกล่าวหาเหล่าผู้รับใช้ของพระยะโฮวาบนแผ่นดินโลกเรื่อยมา?
2 คำในภาษากรีกสำหรับ “พญามาร” มีความหมายว่า “ผู้กล่าวหาเท็จ” หรือ “ผู้ใส่ร้าย.” พระธรรมโยบเปิดเผยว่าซาตานได้กล่าวหาโยบผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระยะโฮวาว่ารับใช้พระองค์เนื่องด้วยหวังผลประโยชน์สำหรับตนเอง โดยที่มันกล่าวว่า “โยบนั้นยำเกรงพระเจ้าด้วยเปล่าประโยชน์หรือ?” (โยบ 1:9) เรื่องราวในพระธรรมโยบแสดงว่า ทั้ง ๆ ที่โยบประสบการทดสอบและความยากลำบาก ท่านกลับใกล้ชิดพระยะโฮวามากขึ้นเรื่อย ๆ. (โยบ 10:9, 12; 12:9, 10; 19: 25; 27:5; 28:28) หลังจากผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายไปแล้ว ท่านทูลต่อพระเจ้าว่า “แต่ก่อนข้าฯ ได้ยินถึงเรื่องพระองค์ด้วยหูฟังเรื่องราวมา, แต่บัดนี้ข้าฯ เห็นพระองค์ด้วยตาของข้าฯ แล้ว.”—โยบ 42:5.
3 นับจากสมัยของโยบเป็นต้นมา ซาตานเลิกกล่าวหาเหล่าผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระเจ้าไหม? ไม่. พระธรรมวิวรณ์แสดงว่าในเวลาอวสานนี้ ซาตานยังคงกล่าวหาพี่น้องผู้ถูกเจิมของพระคริสต์ และแน่นอน รวมทั้งสหายที่ซื่อสัตย์ของพวกเขาด้วย. (2 ติโมเธียว 3:12; วิวรณ์ 12:10, 17) ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราแต่ละคนในฐานะคริสเตียนแท้จะยอมตัวอยู่ใต้อำนาจพระยะโฮวา พระเจ้าผู้ทรงใฝ่พระทัยเรา และรับใช้พระองค์เนื่องด้วยความรักที่มีต่อพระองค์อย่างลึกซึ้ง และโดยวิธีนี้จึงพิสูจน์ว่าข้อกล่าวหาของซาตานไม่เป็นความจริง. เมื่อทำเช่นนั้น เราจะทำให้พระทัยของพระยะโฮวามีความปีติยินดี.—สุภาษิต 27:11.
พระยะโฮวาหาทางช่วยเหลือเรา
4, 5. (ก) สิ่งใดบนแผ่นดินโลกที่พระยะโฮวาเสาะหา ซึ่งตรงข้ามกับที่ซาตานทำ? (ข) เราต้องทำประการใดเพื่อจะได้เป็นที่โปรดปรานของพระยะโฮวา?
4 ซาตานท่องไปทั่วโลก เสาะหาใครสักคนที่มันจะกล่าวหาและขย้ำกลืนเสีย. (โยบ 1:7, 9; 1 เปโตร 5:8) ในทางตรงข้าม พระยะโฮวาเสาะหาเพื่อจะช่วยคนเหล่านั้นที่จำเป็นต้องได้รับกำลังจากพระองค์. ผู้พยากรณ์ฮะนานีทูลกษัตริย์อาซาว่า “ส่วนพระยะโฮวา พระเนตรของพระองค์กวาดมองไปทั่วแผ่นดินโลกเพื่อจะสำแดงฤทธิ์ของพระองค์เพื่อคนเหล่านั้นที่มีหัวใจเป็นหนึ่งเดียวต่อพระองค์.” (2 โครนิกา 16:9, ล.ม.) ช่างเป็นความแตกต่างอะไรเช่นนี้ระหว่างการสืบเสาะด้วยความรู้สึกชิงชังของซาตานกับความใฝ่พระทัยด้วยความรักของพระยะโฮวา!
5 พระยะโฮวาไม่ได้สอดแนมดูการกระทำทุกอย่างของเราเพื่อคอยจับผิด. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญเขียนว่า “ข้าแต่พระยะโฮวา, ถ้าหากพระองค์จะทรงจดจำการอสัตย์อธรรมทั้งหมดไว้, ใครจะทนไหว?” (บทเพลงสรรเสริญ 130:3) เห็นได้ชัดอยู่แล้วว่าคำตอบคือ ไม่มีสักคน. (ท่านผู้ประกาศ 7:20) ถ้าเราเข้าใกล้พระยะโฮวาด้วยหัวใจเป็นหนึ่งเดียว พระเนตรของพระองค์จะเพ่งดูเรา ไม่ใช่เพื่อหาข้อตำหนิ แต่เพื่อจะสังเกตความพยายามของเราและตอบคำอธิษฐานของเราที่ขอการช่วยเหลือและการอภัย. อัครสาวกเปโตรเขียนว่า “พระเนตรของพระยะโฮวาเพ่งดูคนชอบธรรม และพระกรรณของพระองค์สดับคำวิงวอนของเขาทั้งหลาย แต่พระพักตร์ของพระยะโฮวาทรงต่อต้านคนที่ทำการชั่ว.”—1 เปโตร 3:12, ล.ม.
6. สิ่งที่เกิดกับดาวิดเป็นทั้งการชูใจและการเตือนสติเราอย่างไร?
6 ดาวิดเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์และได้ทำผิดบาปอย่างมหันต์. (2 ซามูเอล 12:7-9) แต่ท่านพรั่งพรูความรู้สึกจากใจต่อพระยะโฮวาและเข้าใกล้พระองค์โดยการอธิษฐานด้วยใจแรงกล้า. (บทเพลงสรรเสริญ 51:1-12, จ่าหน้าบท 51, ฉบับแปลใหม่) พระยะโฮวาทรงสดับคำอธิษฐานและให้อภัยดาวิด แม้ว่าท่านได้รับผลที่ไม่น่ายินดีติดตามมาเนื่องจากบาปของท่าน. (2 ซามูเอล 12:10-14) สิ่งนี้ควรเป็นทั้งการชูใจและการเตือนสติพวกเรา. เราอบอุ่นใจเมื่อรู้ว่าพระยะโฮวาเต็มพระทัยจะให้อภัยบาปของเราหากเรากลับใจอย่างแท้จริง แต่เราต้องครุ่นคิดอย่างจริงจังเมื่อตระหนักว่าบาปมักก่อผลเลวร้ายติดตามมา. (ฆะลาเตีย 6:7-9) ถ้าเราปรารถนาจะเข้าใกล้พระยะโฮวา เราควรอยู่ให้ห่างมากเท่าที่เป็นไปได้จากสิ่งใด ๆ ซึ่งไม่เป็นที่พอพระทัยพระองค์.—บทเพลงสรรเสริญ 97:10.
พระยะโฮวาทรงชักนำไพร่พลของพระองค์เข้ามาหาพระองค์
7. ผู้คนชนิดใดที่พระยะโฮวาเฝ้าดูอย่างใฝ่พระทัย และพระองค์ชักนำผู้คนเหล่านั้นเข้ามาหาพระองค์โดยวิธีใด?
7 ในเพลงสรรเสริญบทหนึ่งของท่าน ดาวิดเขียนดังนี้: “พระยะโฮวาผู้เป็นใหญ่ยิ่ง, พระองค์ยังทรงระลึกถึงคนต่ำต้อย [“คนถ่อมใจ,” ล.ม.]; แต่คนจองหองนั้นพระองค์ทรงรู้จักแต่เผิน ๆ.” (บทเพลงสรรเสริญ 138:6) คล้ายกัน เพลงสรรเสริญอีกบทหนึ่งกล่าวว่า “มีผู้ใดเล่าจะเสมอเหมือนพระยะโฮวาพระเจ้าของพวกเรา? ผู้ซึ่งประทับอยู่เบื้องสูง, ผู้ซึ่งทรงถ่อมพระทัยทอดพระเนตรลงมาพิจารณาดูฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลก. พระองค์ทรงโปรดยกคนอนาถา [“คนต่ำต้อย,” ล.ม.] ขึ้นจากผงคลีดิน.” (บทเพลงสรรเสริญ 113:5-7) ถูกแล้ว พระผู้สร้างองค์ทรงฤทธานุภาพทุกประการแห่งเอกภพถ่อมพระทัยทอดพระเนตรลงมาที่แผ่นดินโลกและทรงเห็น “คนถ่อมใจ,” “คนต่ำต้อย,” ผู้ที่ “ถอนหายใจและคร่ำครวญเพราะความลามกทั้งสิ้นที่กระทำกัน.” (ยะเอศเคล 9:4, ฉบับแปลใหม่) พระองค์ชักนำคนเช่นนั้นเข้ามาหาพระองค์โดยทางพระบุตร. ขณะอยู่บนแผ่นดินโลก พระเยซูกล่าวว่า “ไม่มีผู้ ใดจะมาถึงเราได้เว้นแต่พระบิดาผู้ทรงใช้เรามาจะชักนำเขา . . . ไม่มีผู้ใดจะมาถึงเราได้เว้นแต่พระบิดาจะทรงอนุญาตให้ผู้นั้น.”—โยฮัน 6:44, 65, ล.ม.
8, 9. (ก) เหตุใดเราทุกคนต้องมาหาพระเยซู? (ข) มีอะไรที่น่าสังเกตเป็นพิเศษเกี่ยวกับการเตรียมการเรื่องค่าไถ่?
8 มวลมนุษย์ควรมาหาพระเยซูและมีความเชื่อในเครื่องบูชาไถ่เนื่องจากพวกเขาเกิดมาเป็นคนบาปและเหินห่างจากพระเจ้า. (โยฮัน 3:36) พวกเขาจำเป็นต้องกลับคืนดีกับพระเจ้า. (2 โกรินโธ 5:20) พระเจ้าไม่ได้รอให้คนบาปวิงวอนต่อพระองค์เพื่อเตรียมการบางอย่างที่จะช่วยพวกเขาให้มีสันติสุขกับพระองค์. อัครสาวกเปาโลเขียนดังนี้: “พระเจ้าได้ทรงสำแดงความรักของพระองค์แก่เราทั้งหลาย คือขณะเมื่อเราทั้งหลายยังเป็นคนบาป พระคริสต์ได้ทรงยอมตายแทนเรา . . . . ด้วยว่าถ้าเมื่อเราทั้งหลายยังเป็นศัตรูเราได้กลับเป็นไมตรีกันกับพระเจ้าโดยความตายแห่งพระบุตรของพระองค์, ครั้นเรากลับเป็นไมตรีแล้ว, เราจะรอดโดยชีวิตของพระองค์แน่ยิ่งกว่านั้นอีกมาก.”—โรม 5:8, 10.
9 อัครสาวกโยฮันยืนยันความจริงอันล้ำเลิศที่ว่าพระเจ้ากำลังทำให้มนุษย์กลับคืนดีกับพระองค์ โดยเขียนว่า “โดยข้อนี้ ความรักของพระเจ้าได้ปรากฏให้เห็นในกรณีของเรา เพราะว่า พระเจ้าได้ส่งพระบุตรผู้ได้รับกำเนิดองค์เดียวของพระองค์เข้ามาในโลกเพื่อเราจะได้ชีวิตโดยทางพระองค์นั้น. ความรักในกรณีนี้คือ ไม่ใช่ว่าเราได้รักพระเจ้า แต่ว่าพระองค์ได้ทรงรักเราและได้ส่งพระบุตรของพระองค์มาเป็นเครื่องบูชาระงับพระพิโรธเพราะบาปของเรา.” (1 โยฮัน 4:9, 10, ล.ม.) ผู้เป็นฝ่ายริเริ่มคือพระเจ้า มิใช่มนุษย์. คุณรู้สึกถูกดึงดูดให้มาหาพระเจ้ามิใช่หรือ ผู้ซึ่งแสดงความรักอย่างมากไม่เพียงแค่ต่อ “คนบาป” แต่ต่อ “ศัตรู” อีกด้วย?—โยฮัน 3:16.
เราจำเป็นต้องแสวงหาพระยะโฮวา
10, 11. (ก) เราต้องทำสิ่งใดเพื่อแสวงหาพระยะโฮวา? (ข) เราควรมีทัศนะเช่นไรต่อระบบของซาตาน?
10 แน่ละ พระยะโฮวาไม่ได้บังคับเราให้มาหาพระองค์. เราต้องแสวงหาพระองค์ “คลำหาพระองค์และพบพระองค์อย่างแท้จริง มาตรว่าที่จริง พระองค์มิได้ทรงอยู่ห่างไกลจากพวกเราแต่ละคน.” (กิจการ 17:27, ล.ม.) เราต้องยอมรับสิทธิของพระยะโฮวาที่จะเรียกร้องให้เรายอมตัวอยู่ใต้อำนาจพระองค์. สาวกยาโกโบเขียนดังนี้: “เพราะเหตุนี้ จงยอมตัวอยู่ใต้อำนาจพระเจ้า; แต่จงต่อต้านพญามาร แล้วมันจะหนีไปจากท่านทั้งหลาย. จงเข้าใกล้พระเจ้า แล้วพระองค์จะทรงเข้าใกล้ท่านทั้งหลาย. คนบาปทั้งหลาย จงชำระมือของท่านให้สะอาด และคนสองจิตสองใจทั้งหลาย จงกระทำหัวใจของท่านให้บริสุทธิ์.” (ยาโกโบ 4:7, 8, ล.ม.) เราไม่ควรลังเลในการยืนหยัดต่อต้านพญามารและยืนหยัดมั่นคงอยู่ฝ่ายพระยะโฮวา.
11 การทำเช่นนี้หมายถึงการอยู่ห่างจากระบบชั่วของซาตาน. ยาโกโบเขียนด้วยว่า “ท่านไม่รู้หรือว่า การเป็นมิตรกับโลกก็คือการเป็นศัตรูกับพระเจ้า? เพราะเหตุนี้ ใครก็ตามที่อยากเป็นมิตรของโลกก็ตั้งตัวเป็นศัตรูของพระเจ้า.” (ยาโกโบ 4:4, ล.ม.) ในทางตรงข้าม ถ้าเราต้องการเป็นมิตรของพระยะโฮวา เราต้องคาดหมายว่าโลกของซาตานจะเกลียดชังเรา.—โยฮัน 15:19; 1 โยฮัน 3:13.
12. (ก) ถ้อยคำที่ให้การชูใจอะไรที่ดาวิดได้เขียน? (ข) พระยะโฮวาทรงให้คำเตือนอะไรผ่านทางผู้พยากรณ์อะซาระยา?
12 เมื่อโลกของซาตานต่อต้านเราไม่ว่าทางใด เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้าเฝ้าพระยะโฮวาด้วยการอธิษฐาน ขอความช่วยเหลือจากพระองค์. ดาวิด ซึ่งได้รับการช่วยให้รอดด้วยพระหัตถ์ของพระยะโฮวาหลายครั้งหลายครา เขียนสิ่งที่ให้การชูใจพวกเราไว้ดังนี้: “พระยะโฮวาทรงสถิตใกล้คนทั้งปวงที่ร้องทูลต่อพระองค์ คือทุกคนที่ทูลต่อพระองค์ด้วยความสัตย์จริง. พระองค์จะทรงโปรดแก่คนทั้งหลายที่เกรงกลัวพระองค์ให้ได้สมปรารถนา และจะทรงสดับเสียงร้องขอความช่วยเหลือของเขา และพระองค์จะทรงช่วยเขาให้รอด. พระยะโฮวาทรงพิทักษ์คนทั้งปวงที่รักพระองค์ แต่คนชั่วทุกบทเพลงสรรเสริญ 145:18-20, ล.ม.) เพลงสรรเสริญบทนี้แสดงว่าพระยะโฮวาสามารถช่วยเราให้รอดเมื่อเราถูกทดลองเป็นรายบุคคลและแสดงว่าพระองค์จะช่วยไพร่พลของพระองค์ให้รอดในฐานะกลุ่มชนในคราว “ความทุกข์ลำบากครั้งใหญ่.” (วิวรณ์ 7:14, ล.ม.) พระยะโฮวาจะสถิตใกล้เราหากเราอยู่ใกล้พระองค์. ภายใต้การทรงนำจาก “พระวิญญาณพระเจ้า” ผู้พยากรณ์อะซาระยากล่าวถ้อยคำที่ถือได้ว่าเป็นจริงเสมอ ดังนี้: “พระยะโฮวาทรงสถิตอยู่ฝ่ายพวกท่าน, เมื่อท่านอยู่ฝ่ายพระองค์; ถ้าพวกท่านแสวงหาพระองค์ ๆ จะทรงโปรดให้พวกท่านประสบ; แต่ทว่า ถ้าพวกท่านละทิ้งพระองค์ ๆ จะละทิ้งพวกท่านเสีย”—2 โครนิกา 15:1, 2.
คน พระองค์จะทำลายเสียสิ้น.” (พระยะโฮวาต้องเป็นจริงสำหรับเรา
13. เราจะแสดงอย่างไรว่าพระยะโฮวาเป็นจริงสำหรับเรา?
13 อัครสาวกเปาโลเขียนเกี่ยวกับโมเซว่า “ท่านยืนหยัดมั่นคงต่อ ๆ ไปประหนึ่งเห็นพระองค์ผู้ไม่ปรากฏแก่ตา.” (เฮ็บราย 11:27, ล.ม.) แน่ละ โมเซไม่เคยเห็นพระยะโฮวาจริง ๆ. (เอ็กโซโด 33:20) แต่พระยะโฮวาเป็นจริงสำหรับท่านถึงขนาดที่ราวกับท่านได้เห็นพระองค์. คล้ายกัน หลังจากที่โยบผ่านการทดลองไปแล้ว ตาแห่งความเชื่อของท่านเห็นพระยะโฮวาได้ชัดยิ่งขึ้นว่าเป็นพระเจ้าผู้ที่แม้ยอมให้ผู้รับใช้ที่สัตย์ซื่อของพระองค์ถูกทดลอง แต่ไม่เคยทอดทิ้งพวกเขา. (โยบ 42:5) มีการพรรณนาถึงฮะโนคและโนฮาว่าท่านทั้งสอง “ดำเนินกับพระเจ้า.” ทั้งฮะโนคและโนฮาดำเนินกับพระเจ้าโดยพยายามทำให้พระเจ้าพอพระทัยและเชื่อฟังพระองค์. (เยเนซิศ 5:22-24; 6:9, 22; เฮ็บราย 11:5, 7) ถ้าพระยะโฮวาเป็นจริงสำหรับเราเหมือนกับที่เป็นจริงสำหรับฮะโนค, โนฮา, โยบ, และโมเซ เราจะ “รับพระองค์ให้เข้าส่วน” ในทางทั้งหลายของเรา และพระองค์จะ “ชี้ทางเดิน [ของเรา] ให้แจ่มแจ้ง.”—สุภาษิต 3:5, 6.
14. การ “ติดสนิท” อยู่กับพระยะโฮวามีความหมายเช่นไร?
14 ไม่นานก่อนชาวอิสราเอลจะเข้าสู่แผ่นดินตามคำสัญญา โมเซให้คำแนะนำพวกเขาดังนี้: “ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านและยำเกรงพระองค์ และรักษาพระบัญญัติของพระองค์ และเชื่อฟังพระสุรเสียงของพระบัญญัติ 13:4, ฉบับแปลใหม่) พวกเขาต้องดำเนินตาม, ยำเกรง, เชื่อฟัง, และติดสนิทอยู่กับพระยะโฮวา. เกี่ยวกับคำที่แปลในที่นี้ว่า “ติดสนิท” ผู้คงแก่เรียนด้านคัมภีร์ไบเบิลคนหนึ่งอธิบายว่า “ภาษา [ฮีบรู] ที่ใช้ในที่นี้บ่งชี้ถึงสภาพความสัมพันธ์ที่สนิทสนมและใกล้ชิดแนบแน่น.” ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญกล่าวว่า “ความสนิทสนมใกล้ชิดกับพระยะโฮวาย่อมมีอยู่แก่คนที่เกรงกลัวพระองค์.” (บทเพลงสรรเสริญ 25:14, ล.ม.) ความสัมพันธ์กับพระยะโฮวาที่ใกล้ชิดและล้ำค่านี้จะเป็นของเรา ถ้าพระองค์เป็นจริงสำหรับเรา และถ้าเรารักพระองค์มากจนเรากลัวว่าจะทำให้พระองค์ไม่พอพระทัยในทางใดทางหนึ่ง.—บทเพลงสรรเสริญ 19:9-14.
พระองค์ และท่านจงปรนนิบัติพระองค์และติดสนิทอยู่กับพระองค์.” (คุณสำนึกถึงความใฝ่พระทัยของพระยะโฮวาไหม?
15, 16. (ก) เพลงสรรเสริญบท 34 แสดงอย่างไรว่าพระยะโฮวาทรงใฝ่พระทัยเรา? (ข) เราควรทำประการใดถ้าเรานึกไม่ออกว่าพระยะโฮวาทรงกระทำการดีอะไรเพื่อเรา?
15 หนึ่งในการกระทำอันมีเล่ห์เหลี่ยมของซาตานคือพยายามทำให้เราลืมข้อเท็จจริงที่ว่าพระยะโฮวา พระเจ้าของเรา ทรงใฝ่พระทัยผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระองค์เสมอ. ดาวิด กษัตริย์อิสราเอลสำนึกเป็นอย่างดีถึงพระพาหุของพระยะโฮวาที่ให้การปกป้องคุ้มครองแม้ในยามที่ท่านเผชิญอันตรายอย่างยิ่ง. เมื่อจำใจต้องแสร้งทำเป็นบ้าต่อหน้าอาคิศเจ้าแผ่นดินเมืองฆัธ ท่านได้ประพันธ์เพลงสรรเสริญบทหนึ่งที่ไพเราะอย่างยิ่ง ซึ่งรวมเอาถ้อยคำที่แสดงถึงความเชื่อเหล่านี้ไว้ด้วย: “ท่านทั้งหลายจงมาสรรเสริญพระยะโฮวาด้วยกันกับข้าพเจ้า, ให้เราพร้อมใจกันเยินยอพระนามของพระองค์. เมื่อข้าพเจ้าได้แสวงหาพระยะโฮวา, พระองค์ได้ทรงตอบข้าพเจ้า, และได้ทรงช่วยข้าพเจ้าให้พ้นจากความหวาดกลัวทั้งปวง. ทูตของพระยะโฮวาแวดล้อมเหล่าคนที่ยำเกรงพระองค์, และทรงช่วยเขาให้พ้นจากภัยอันตราย. ท่านทั้งหลายจงชิมดูจึงจะรู้ว่าพระยะโฮวาเป็นผู้ประเสริฐ; ผู้ใดที่พึ่งอาศัยในพระองค์ก็เป็นสุข. พระยะโฮวาทรงสถิตอยู่ใกล้ผู้ที่มีใจชอกช้ำ, และคนที่มีใจสุภาพพระองค์จะทรงช่วยให้รอด. เหตุอันตรายมากหลายย่อมเกิดแก่ผู้สัตย์ธรรม; แต่พระยะโฮวาทรงช่วยเขาให้พ้นจากเหตุทั้งปวงเหล่านั้น.”—บทเพลงสรรเสริญ 34:3, 4, 7, 8, 18, 19; 1 ซามูเอล 21:10-15.
16 คุณมั่นใจในฤทธิ์อำนาจของพระยะโฮวาในการช่วยให้รอดไหม? คุณสำนึกถึงการคุ้มครองจากทูตสวรรค์ของ2 โกรินโธ 4:7) ในอีกด้านหนึ่ง คุณอาจนึกไม่ออกว่าพระยะโฮวาทรงกระทำการดีอะไรเป็นพิเศษเพื่อคุณ. คุณอาจต้องนึกย้อนไปอีกหนึ่งสัปดาห์, หนึ่งเดือน, หนึ่งปี, หรือมากกว่านั้น. ถ้าเป็นอย่างนั้น ทำไมไม่ลองทุ่มเทความพยายามอย่างจริงจังเพื่อจะเข้าใกล้พระยะโฮวามากขึ้นและลองสังเกตวิธีที่พระองค์ทรงนำและชี้แนะคุณ? อัครสาวกเปโตรเตือนสติคริสเตียนดังนี้: “ท่านทั้งหลายจงถ่อมตัวลงภายใต้พระหัตถ์อันทรงฤทธิ์ของพระเจ้า . . . ขณะที่ท่านทั้งหลายมอบความกระวนกระวายทั้งสิ้นของท่านไว้กับพระองค์ เพราะว่าพระองค์ทรงใฝ่พระทัยในท่านทั้งหลาย.” (1 เปโตร 5:6, 7, ล.ม.) ที่จริง คุณจะประหลาดใจว่าพระองค์ทรงใฝ่พระทัยตัวคุณมากสักเพียงไร!—บทเพลงสรรเสริญ 73:28.
พระองค์ไหม? คุณได้ชิมดูและเห็นว่าพระยะโฮวาทรงประเสริฐไหม? ครั้งล่าสุดคือเมื่อไรที่คุณรู้สึกเป็นพิเศษว่าพระยะโฮวาทรงดีต่อคุณ? จงพยายามหวนระลึกถึงเรื่องนั้น. นั่นเป็นคราวที่คุณประกาศอยู่ที่บ้านหลังสุดท้ายไหม ขณะเมื่อคุณกำลังรู้สึกว่าคงจะประกาศต่อไปไม่ไหวแล้ว? บางทีในตอนนั้นแหละที่คุณกับเจ้าของบ้านมีการสนทนาที่ดีมาก. คุณได้ขอบคุณพระยะโฮวาที่ทรงประทานกำลังมากกว่าปกติให้คุณและอวยพรคุณไหม? (จงแสวงหาพระยะโฮวาต่อ ๆ ไป
17. อะไรเป็นสิ่งจำเป็นถ้าเราตั้งใจจะแสวงหาพระยะโฮวาต่อ ๆ ไป?
17 เราต้องรักษาสายสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระยะโฮวาเรื่อยไป. ในคำอธิษฐานถึงพระบิดาของพระองค์ พระเยซูตรัสว่า “นี่แหละหมายถึงชีวิตนิรันดร์ คือการที่เขารับเอาความรู้ต่อ ๆ ไปเกี่ยวกับพระองค์ ผู้เป็นพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว และเกี่ยวกับผู้ที่พระองค์ทรงใช้มา คือพระเยซูคริสต์.” (โยฮัน 17:3, ล.ม.) การรับเอาความรู้ต่อ ๆ ไปเกี่ยวกับพระยะโฮวาและพระบุตรของพระองค์เรียกร้องให้เราพยายามอย่างต่อเนื่อง. เราต้องการความช่วยเหลือจากการอธิษฐานและพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อจะเข้าใจ “สิ่งลึกซึ้งของพระเจ้า.” (1 โกรินโธ 2:10, ล.ม.; ลูกา 11:13) เราจำเป็นต้องได้รับการชี้นำที่มาจาก “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” เพื่อป้อนความคิดจิตใจด้วยอาหารฝ่ายวิญญาณที่จัดให้เรา “ในเวลาอันเหมาะ.” (มัดธาย 24:45, ล.ม.) พระยะโฮวาทรงใช้ร่องทางดังกล่าวแนะนำเราให้อ่านพระคำของพระองค์ทุกวัน, เข้าร่วมการประชุมคริสเตียนเป็นประจำ, และเข้าส่วนร่วมอย่างมีความหมายในการประกาศ “ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักร.” (มัดธาย 24:14, ล.ม.) โดยการทำอย่างนั้น เราแสดงว่าเราตั้งใจจะแสวงหาพระยะโฮวาพระเจ้าผู้ทรงใฝ่พระทัยต่อ ๆ ไป.
18, 19. (ก) เราควรตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำอะไร? (ข) ถ้าเรายืนหยัดต่อต้านพญามารและแสวงหาพระยะโฮวาต่อ ๆ ไป เราจะได้รับพระพรเช่นไร?
18 ซาตานทำทุกสิ่งที่มันทำได้เพื่อนำการกดขี่ข่มเหง, การต่อต้าน, และความกดดันมาสู่ไพร่พลของพระยะโฮวาจากทุกทิศทุกทาง. มันพยายามก่อกวนสันติสุขของพวกเราและทำลายฐานะอันดีที่เรามีต่อพระเจ้า. มันไม่อยากให้เราทำงานของเราต่อไปในการเสาะหาผู้มีหัวใจสุจริตและช่วยคนเหล่านั้นให้มาอยู่ฝ่ายพระยะโฮวาเกี่ยวกับประเด็นเรื่องสากลบรมเดชานุภาพของพระองค์. แต่เราต้องตั้งใจแน่วแน่ที่จะรักษาความภักดีต่อพระยะโฮวา วางใจว่าพระองค์จะช่วยเราให้พ้นจากตัวชั่วร้าย. เมื่อเรายอมให้พระคำของพระเจ้าชี้นำเราและรักษาตัวให้แข็งขันอยู่ในองค์การของพระองค์ที่ประจักษ์แก่ตา เราแน่ใจได้ว่าพระองค์จะคอยค้ำจุนเราเสมอ.—ยะซายา 41:8-13.
19 ดังนั้น ขอให้เราทุกคนยืนหยัดต่อต้านพญามารและการกระทำอันมีเลห์เหลี่ยมของมัน ให้เราแสวงหาพระยะโฮวาเสมอ พระเจ้าผู้เป็นที่รักของเราซึ่งจะไม่ล้มเหลวในการ ‘ทำให้เรามั่นคงและทำให้เราเข้มแข็ง.’ (1 เปโตร 5:8-11, ล.ม.) โดยวิธีนี้ เราจะ ‘รักษาตัวเราให้อยู่ในความรักของพระเจ้า ขณะที่เรารอคอยพระเมตตาของพระเยซูคริสต์เจ้าของเรา พร้อมด้วยความหวังว่าจะได้ชีวิตนิรันดร์.’—ยูดา 21, ล.ม.
คุณจะตอบอย่างไร?
• คำในภาษากรีกที่มีการแปลว่า “พญามาร” หมายความเช่นไร และพญามารประพฤติตัวสมกับฉายานี้อย่างไร?
• พระยะโฮวาทรงต่างจากพญามารอย่างไรในเรื่องการเฝ้าสังเกตผู้คนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินโลก?
• ทำไมผู้ที่เข้าหาพระยะโฮวาต้องยอมรับในค่าไถ่?
• การ “ติดสนิท” อยู่กับพระยะโฮวามีความหมายเช่นไร และเราจะแสวงหาพระยะโฮวาต่อ ๆ ไปได้โดยวิธีใด?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 15]
แม้โยบประสบความยากลำบาก ท่านทราบดีว่าพระยะโฮวาทรงใฝ่พระทัยท่าน
[ภาพหน้า 16, 17]
การอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวัน, เข้าร่วมการประชุมคริสเตียนเป็นประจำ, และมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในงานประกาศทำให้เราระลึกว่าพระยะโฮวาทรงใฝ่พระทัยเรา