คริสเตียนต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน
คริสเตียนต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน
“เราเป็นอวัยวะของกันและกัน.”—เอเฟโซ 4:25, ล.ม.
1. สารานุกรมเล่มหนึ่งกล่าวเช่นไรเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์?
ร่างกายมนุษย์เป็นสิ่งทรงสร้างอันน่าพิศวง! สารานุกรม เดอะ เวิลด์ บุ๊ก กล่าวว่า “บางครั้ง ผู้คนเรียกร่างกายมนุษย์ว่าเป็นเครื่องจักรกล—เครื่องจักรกลที่มหัศจรรย์ที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้าง. แน่ล่ะ ร่างกายมนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักรกล. แต่ก็อาจเปรียบกันได้ในหลายทาง. เช่นเดียวกับเครื่องจักรกล ร่างกายประกอบด้วยหลายชิ้นส่วน. แต่ละส่วนของร่างกาย เหมือนกับแต่ละส่วนของเครื่องจักรกล คือทำหน้าที่เฉพาะอย่าง. แต่ทุกส่วนทำงานสัมพันธ์กัน และนั่นทำให้ร่างกายหรือเครื่องจักรกลทำงานอย่างราบรื่น.”
2. ร่างกายมนุษย์และประชาคมคริสเตียนคล้ายคลึงกันในทางใดบ้าง?
2 ถูกแล้ว ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยหลายส่วน หรือหลายอวัยวะ และอวัยวะแต่ละส่วนสนองความจำเป็นของกันและกัน. ไม่มีเส้นเลือด, กล้ามเนื้อ, หรืออวัยวะใดของร่างกายที่ไม่มีประโยชน์. คล้ายคลึงกัน สมาชิกแต่ละคนของประชาคมคริสเตียนต่างมีส่วนส่งเสริมสุขภาพและความงามฝ่ายวิญญาณของประชาคม. (1 โกรินโธ 12:14-26) แม้ว่าไม่ควรมีใครในประชาคมถือว่าตัวเหนือกว่าคนอื่น แต่ก็ไม่ควรมีใครคิดว่าตัวเองไม่สำคัญ.—โรม 12:3.
3. เอเฟโซ 4:25 บ่งชี้อย่างไรว่าคริสเตียนต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน?
3 อวัยวะของมนุษย์ต่างต้องพึ่งพากันฉันใด คริสเตียนต่างต้องพึ่งอาศัยกันฉันนั้น. อัครสาวกเปาโลบอกเพื่อนร่วมความเชื่อที่ได้รับการเจิมด้วยพระวิญญาณว่า “บัดนี้ ครั้นท่านทั้งหลายได้ละทิ้งความเท็จแล้ว ท่านทุกคนจงพูดความจริงกับเพื่อนบ้านของตน เพราะเราเป็นอวัยวะของกันและกัน.” (เอเฟโซ 4:25, ล.ม.) เนื่องจากพวกเขา “เป็นอวัยวะของกันและกัน” จึงมีการพูดความจริงต่อกันและมีการร่วมมือกันอย่างเต็มที่ในท่ามกลางสมาชิกของอิสราเอลฝ่ายวิญญาณ ซึ่งเป็น “พระกายของพระคริสต์.” ถูกแล้ว สมาชิกแต่ละคนที่ประกอบกันเป็นอิสราเอลฝ่ายวิญญาณต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน. (เอเฟโซ 4:11-13) เหล่าคริสเตียนที่มีความหวังทางแผ่นดินโลก ซึ่งรักความจริงและเต็มใจร่วมมือนั้น เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับอิสราเอลฝ่ายวิญญาณอย่างมีความสุข.
4. คนใหม่ ๆ อาจได้รับความช่วยเหลือในทางใดบ้าง?
4 แต่ละปี หลายแสนคนผู้มีความหวังที่จะมีชีวิตในอุทยานบนแผ่นดินโลกได้รับบัพติสมา. สมาชิกคนอื่น ๆ ในประชาคมยินดีช่วยผู้ที่รับบัพติสมาใหม่เหล่านี้ให้ “รุดหน้าสู่ความอาวุโส.” (เฮ็บราย 6:1-3, ล.ม.) การช่วยเหลือนี้ อาจเกี่ยวข้องกับการตอบคำถามเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลหรือการให้ความช่วยเหลือที่ใช้ได้ผลจริงในงานรับใช้. เราอาจช่วยเหลือคนใหม่ ๆ เหล่านี้โดยการวางตัวอย่างที่ดีในการเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนเป็นประจำ. ในยามที่ประสบความทุกข์เดือดร้อน เรายังสามารถให้การหนุนใจหรืออาจให้การปลอบโยน. (1 เธซะโลนิเก 5:14, 15) เราควรหาวิธีที่จะช่วยผู้อื่นให้ “ดำเนินอยู่ในความจริงต่อ ๆ ไป.” (3 โยฮัน 4, ล.ม.) ไม่ว่าเราอายุน้อยหรือมาก เพิ่งเริ่มดำเนินอยู่ในความจริงหรือดำเนินอยู่ในความจริงมานานแล้วก็ตาม เราสามารถส่งเสริมสวัสดิภาพฝ่ายวิญญาณของเพื่อนร่วมความเชื่อ และพวกเขาต้องพึ่งพาอาศัยเราอย่างแท้จริง.
พวกเขาให้การช่วยเหลือที่จำเป็น
5. อะกูลาและปริศกีลาเป็นประโยชน์อย่างไรต่อเปาโล?
5 คู่สมรสคริสเตียนรวมอยู่ในบรรดาคนเหล่านั้นที่มีความสุขจากการได้ช่วยเหลือเพื่อนร่วมความเชื่อ. เพื่อเป็นตัวอย่าง อะกูลาและปริศกีลาภรรยาของเขาได้ช่วยเปาโล. พวกเขาต้อนรับเปาโลให้พักอาศัยในบ้านของเขา, ทำงานด้วยกันเป็นช่างเย็บกระโจม, และได้ช่วยท่านตั้งประชาคมใหม่ที่เมืองโครินท์. (กิจการ 18:1-4) ในวิธีใดวิธีหนึ่งที่ไม่ได้บอกไว้ สามีภรรยาคู่นี้ถึงกับเสี่ยงชีวิตของตนเพื่อช่วยเปาโล. ทั้งสองอยู่ในกรุงโรมตอนที่เปาโลบอกคริสเตียนที่นั่นดังนี้: “ขอฝากความคิดถึงของข้าพเจ้ามายังปริศกาและอะควิลาผู้ร่วมงานกับข้าพเจ้าในพระคริสต์เยซู ผู้ได้เสี่ยงชีวิตตนเพื่อจิตวิญญาณของข้าพเจ้า ซึ่งมิใช่เพียงข้าพเจ้าเท่านั้น แต่ทุกประชาคมแห่งชาติต่าง ๆ ก็ขอบคุณเช่นกัน.” (โรม 16:3, 4, ล.ม.) เช่นเดียวกับอะกูลาและปริศกีลา คริสเตียนบางคนในปัจจุบันได้เสริมสร้างประชาคมและช่วยเพื่อนผู้นมัสการในหลากหลายวิธี บางครั้งถึงกับเสี่ยงชีวิตของตนเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้รับใช้คนอื่น ๆ ของพระเจ้าต้องถูกทำร้ายหรือถึงแก่ความตายด้วยน้ำมือของผู้ข่มเหง.
6. อะโปโลได้รับความช่วยเหลืออย่างไร?
6 อะกูลาและปริศกีลายังได้ช่วยอะโปโล คริสเตียนผู้มีคารมดี ซึ่งกำลังสั่งสอนชาวเมืองเอเฟโซสในเรื่องพระเยซูคริสต์. ในตอนนั้น อะโปโลรู้แต่เพียงบัพติสมาของโยฮันซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการกลับใจจากบาปที่ละเมิดสัญญาไมตรีแห่งพระบัญญัติ. เนื่องจากเห็นว่าอะโปโลต้องได้รับความช่วยเหลือ อะกูลาและปริศกีลา “จึงรับท่านมาสั่งสอนให้รู้ทางของพระเจ้าให้ละเอียดขึ้น [“ถูกต้องยิ่งขึ้น,” ล.ม.].” พวกเขาคงได้อธิบายว่าบัพติสมาสำหรับคริสเตียนรวมถึงการจุ่มตัวมิดในน้ำและการรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่หลั่งลงมา. อะโปโลนำความรู้ที่ท่านได้รับไปใช้. ต่อมาที่มณฑลอะคายะ “ท่านได้ช่วยเหลือคนทั้งหลายที่ได้เชื่อโดยพระคุณนั้นเป็นอย่างยิ่ง. ด้วยท่านได้โต้แย้งพวกยูดายโดยแข็งแรงต่อหน้าคนทั้งปวง, และชี้แจงยกหลักในพระคัมภีร์อ้างให้เห็นว่าพระคริสต์นั้นคือพระเยซู.” (กิจการ 18:24-28) บ่อยครั้ง คำอธิบายจากเพื่อนผู้ร่วมนมัสการช่วยให้เราเข้าใจพระคำของพระเจ้ามากยิ่งขึ้น. ในเรื่องนี้ก็เช่นกัน เราต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน.
การให้ความช่วยเหลือฝ่ายวัตถุ
7. ชาวฟิลิปปีทำเช่นไรเมื่อรู้ว่าเพื่อนคริสเตียนจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือฝ่ายวัตถุ?
7 สมาชิกประชาคมคริสเตียนในฟิลิปปีมีความรักใคร่ต่อเปาโลและส่งสิ่งของที่จำเป็นไปให้ท่านในช่วงที่ท่านอยู่ในเมืองเทสซาโลนีกา (เธซะโลนิเก). (ฟิลิปปอย 4:15, 16) เมื่อพี่น้องในกรุงเยรูซาเลมจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือฝ่ายวัตถุ ชาวฟิลิปปีแสดงน้ำใจในการบริจาคอย่างล้นเหลือ จนเกินกำลังความสามารถของพวกเขาก็ว่าได้. เปาโลหยั่งรู้ค่าน้ำใจที่ดีของพี่น้องชายหญิงในฟิลิปปีมากจนถึงกับยกพวกเขาเป็นตัวอย่างแก่ผู้เชื่อถือคนอื่น ๆ.—2 โกรินโธ 8:1-6.
8. เอปาฟะโรดีโตแสดงน้ำใจเช่นไร?
ฟิลิปปอย 2:25-30, ล.ม.; 4:18) เราไม่ทราบว่าเอปาฟะโรดีโตเป็นผู้ปกครองหรือผู้ช่วยงานรับใช้. แต่ไม่ว่าอย่างไร เขาเป็นคริสเตียนที่เสียสละตนเองและเต็มใจช่วยเหลือ และเปาโลจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากเขาจริง ๆ. มีใครเป็นเหมือนเอปาฟะโรดีโตในประชาคมของคุณไหม?
8 ตอนที่เปาโลถูกจำจองอยู่ ชาวฟิลิปปีไม่เพียงแต่ส่งสิ่งของต่าง ๆ ไปให้ท่าน แต่ยังส่งเอปาฟะโรดีโตไปด้วยในฐานะเป็นตัวแทนของพวกเขา. เปาโลกล่าวว่า “ด้วยเห็นแก่งานขององค์พระผู้เป็นเจ้า [เอปาฟะโรดีโต] เกือบเสียชีวิต เพราะเอาตัวเข้าเสี่ยงอันตราย เพื่อจะทำอย่างไม่ขาดตกบกพร่องแทนพวกท่านซึ่งไม่อยู่ที่นี่เพื่อรับใช้ข้าพเจ้าเป็นส่วนตัว.” (พวกเขาเป็น “ผู้ช่วยเสริมกำลัง”
9. อะริศตาโคเป็นตัวอย่างแก่เราในเรื่องใด?
9 พี่น้องชายหญิงที่เปี่ยมด้วยความรักแบบอะกูลา, ปริศกีลา, และเอปาฟะโรดีโตเป็นที่หยั่งรู้ค่ามากไม่ว่าในประชาคมใด ๆ. บางคนในท่ามกลางเพื่อนผู้นมัสการของเราอาจเป็นเหมือนอะริศตาโค คริสเตียนในศตวรรษแรก. เขาและคริสเตียนอีกหลายคนเป็น “ผู้ช่วยเสริมกำลัง” โดยอาจเป็นแหล่งให้การปลอบโยนหรือการช่วยเหลือในเรื่องความจำเป็นพื้นฐาน. (โกโลซาย 4:10, 11, ล.ม.) โดยการช่วยเหลือเปาโล อะริศตาโคพิสูจน์ตัวว่าเป็นเพื่อนแท้ในยามที่จำเป็น. เขาเป็นบุคคลประเภทที่กล่าวถึงในสุภาษิต 17:17 (ล.ม.) ที่ว่า “มิตรแท้ย่อมรักอยู่ทุกเวลา และเป็นพี่น้องซึ่งเกิดมาเพื่อยามที่มีความทุกข์ยาก.” เราทุกคนควรพยายามจะเป็น “ผู้ช่วยเสริมกำลัง” แก่เพื่อนคริสเตียนมิใช่หรือ? โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราควรให้การช่วยเหลือคนเหล่านั้นที่ประสบความยากลำบาก.
10. ตัวอย่างอะไรที่คริสเตียนผู้ปกครองได้จากเปโตร?
10 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คริสเตียนผู้ปกครองต้องเป็นผู้ช่วยเสริมกำลังแก่พี่น้องชายหญิงฝ่ายวิญญาณของเขา. พระคริสต์ทรงบอกอัครสาวกเปโตรดังนี้: “จงชูกำลังพี่น้องทั้งหลายของท่าน.” (ลูกา 22:32) เปโตรสามารถทำเช่นนั้นได้ เพราะท่านได้แสดงความมั่นคง ไม่หวั่นไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่พระเยซูได้คืนพระชนม์. ผู้ปกครองทั้งหลาย ในทุกทาง จงพยายามทำอย่างเดียวกันด้วยความเต็มใจและอ่อนโยนเนื่องจากเพื่อนร่วมความเชื่อจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยพวกคุณ.—กิจการ 20:28-30; 1 เปโตร 5:2, 3.
11. เราจะได้ประโยชน์อย่างไรจากการพิจารณาถึงน้ำใจของติโมเธียว?
11 ติโมเธียว เพื่อนร่วมเดินทางของเปาโล เป็นผู้ปกครองคนหนึ่งที่มีความห่วงใยอย่างแท้จริงต่อคริสเตียนคนอื่น ๆ. แม้ว่าติโมเธียวมีปัญหาสุขภาพบางอย่าง เขาก็ยังแสดงความเชื่อที่มั่นคงและ ‘ทำงานเยี่ยงทาสด้วยกันกับเปาโลในการส่งเสริมข่าวดี.’ ด้วยเหตุนั้น ท่านอัครสาวกจึงบอกชาวฟิลิปปีได้ว่า “ข้าพเจ้าไม่มีผู้ใดที่มีน้ำใจเหมือนติโมเธียวนั้น, ซึ่งจะเอาใจใส่ในการงานของท่านทั้งหลายโดยแท้.” (ฟิลิปปอย 2:20, 22; 1 ติโมเธียว 5:23; 2 ติโมเธียว 1:5) โดยการแสดงน้ำใจเหมือนติโมเธียว เราจะเป็นพระพรแก่เพื่อนผู้นมัสการพระยะโฮวา. จริงอยู่ เราต้องรับมือกับความอ่อนแอของมนุษย์ในตัวของเราเองและความยากลำบากต่าง ๆ แต่เราก็สามารถแสดงความเชื่อที่เข้มแข็งและความรักใคร่ห่วงใยต่อพี่น้องชายหญิงฝ่ายวิญญาณของเราได้เช่นกัน และเราควรทำเช่นนั้น. เราควรระลึกอยู่เสมอว่าพี่น้องชายหญิงจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเรา.
เหล่าสตรีที่ห่วงใยผู้อื่น
12. เราอาจเรียนอะไรได้จากตัวอย่างของโดระกา?
12 ในหมู่สตรีที่เลื่อมใสพระเจ้า โดระกาเป็นคนหนึ่งที่ห่วงใยผู้อื่น. เมื่อเธอเสียชีวิต เหล่าสาวกจึงเชิญเปโตรมาและพาท่านขึ้นไปห้องชั้นบน. ที่นั่น “บรรดาหญิงม่ายที่ได้ยืนอยู่กับท่านพากันร้องไห้, และได้ชี้ให้ท่านดูเสื้อผ้าต่าง ๆ ซึ่งโดระกาได้ทำให้เขาเมื่อยังมีชีวิตอยู่.” โดระกากลับมามีชีวิตอีกและเราแน่ใจว่าเธอคงจะ “ประกอบการคุณและการให้ทาน” ต่อ ๆ ไป. ในประชาคมคริสเตียนทุกวันนี้ มีเหล่าสตรีที่เหมือนอย่างโดระกาซึ่งทำเสื้อผ้าหรือสิ่งอื่น ๆ ที่เป็นการแสดงความรักต่อผู้มีความจำเป็น. แน่นอน การดีของพวกเขาในประการแรกเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมผลประโยชน์แห่งราชอาณาจักรและการเข้าส่วนร่วมในงานทำให้คนเป็นสาวก.—กิจการ 9:36-42; มัดธาย 6:33; 28:19, 20.
13. ลุเดียได้แสดงความห่วงใยเพื่อนคริสเตียนอย่างไร?
13 ลุเดียเป็นสตรีผู้เกรงกลัวพระเจ้าอีกคนหนึ่งที่ห่วงใยกิจการ 16:12-15) เนื่องจากลุเดียปรารถนาจะทำดีต่อผู้อื่น เธอจึงวิงวอนให้เปาโลและเพื่อน ๆ ของท่านพักอาศัยอยู่กับเธอ. เราหยั่งรู้ค่าสักเพียงไรเมื่อคริสเตียนที่เปี่ยมด้วยความรักและกรุณาในทุกวันนี้แสดงน้ำใจต้อนรับคล้าย ๆ กัน!—โรม 12:13; 1 เปโตร 4:9.
ผู้อื่น. เธอเป็นชาวเมืองธุอาทิรา (ธุอาไตระ) โดยกำเนิด เธออยู่ที่เมืองฟิลิปปีตอนที่เปาโลประกาศที่นั่นในราวปี ส.ศ. 50. ลุเดียคงเป็นผู้ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนายิว แต่ในเมืองฟิลิปปีมีชาวยิวอยู่ไม่มากและไม่มีธรรมศาลา. เธอกับสตรีที่เลื่อมใสพระเจ้าคนอื่น ๆ กำลังประชุมกันเพื่อการนมัสการอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ตอนที่ท่านอัครสาวกได้ประกาศข่าวดีแก่พวกเขา. เรื่องราวเล่าต่อไปว่า “พระเจ้าได้ทรงเปิดใจ [ของลุเดีย] ให้สนใจในถ้อยคำซึ่งเปาโลได้กล่าวนั้น. เมื่อหญิงคนนั้นกับทั้งครอบครัวของเขาได้รับบัพติศมาแล้วจึงเชิญเราว่า, ‘ถ้าท่านเห็นว่าข้าพเจ้าเป็นคนสัตย์ซื่อต่อพระเจ้า, เชิญเข้ามาพักอาศัยในตึกของข้าพเจ้าเถิด’ และเขาได้วิงวอนจนเราขัดไม่ได้.” (ผู้เยาว์ทั้งหลายเราต้องการพวกคุณเช่นกัน
14. พระเยซูคริสต์ทรงปฏิบัติเช่นไรต่อเด็ก ๆ?
14 ประชาคมคริสเตียนได้รับการก่อตั้งโดยพระเยซูคริสต์ พระบุตรของพระเจ้า ผู้ทรงมีพระทัยเอื้ออารีและเปี่ยมด้วยความกรุณา. ประชาชนรู้สึกสบายใจเมื่ออยู่ใกล้ ๆ พระองค์เนื่องจากพระองค์เปี่ยมไปด้วยความรักและความเมตตาสงสาร. ในโอกาสหนึ่ง เมื่อบางคนนำลูกเล็ก ๆ ของตนมาหาพระเยซู เหล่าสาวกพยายามกันพวกเขาออกไป. แต่พระเยซูตรัสว่า “จงยอมให้เด็กเล็ก ๆ เข้ามาหาเรา, อย่าห้ามเขาเลย, เพราะว่าชาวแผ่นดินของพระเจ้าย่อมเป็นคนอย่างนั้น. เราบอกท่านทั้งหลายตามจริงว่า, ผู้หนึ่งผู้ใดมิได้รับแผ่นดินของพระเจ้าเหมือนเด็กเล็ก ๆ, ผู้นั้นจะเข้าในแผ่นดินนั้นไม่ได้.” (มาระโก 10:13-15) เพื่อจะได้รับพระพรแห่งราชอาณาจักร เราต้องถ่อมใจและว่านอนสอนง่ายเหมือนเด็กเล็ก ๆ. พระเยซูทรงแสดงความรักต่อเด็กเล็ก ๆ โดยอุ้มแล้วอวยพรพวกเขา. (มาระโก 10:16) จะว่าอย่างไรสำหรับคุณ ผู้เยาว์ในทุกวันนี้? โปรดแน่ใจเถิดว่าพวกคุณเป็นที่รักและเป็นที่ต้องการในประชาคม.
15. ข้อเท็จจริงอะไรเกี่ยวกับชีวิตของพระเยซูมีบันทึกไว้ที่ลูกา 2:40-52 และพระองค์ทรงวางตัวอย่างอะไรสำหรับผู้เยาว์?
15 ในตอนที่พระเยซูยังเป็นเด็ก พระองค์ทรงแสดงความรักต่อพระเจ้าและพระคัมภีร์. เมื่อพระองค์ทรงพระชนมายุ 12 พรรษา พระองค์พร้อมกับโยเซฟและมาเรีย บิดามารดาของพระองค์ เดินทางออกจากเมืองนาซาเร็ธไปเยรูซาเลมเพื่อร่วมฉลองปัศคา. เมื่อเดินทางกลับ บิดามารดาของพระเยซูไม่พบพระองค์อยู่ในกลุ่มคนที่เดินทางมาด้วยลูกา 2:40-52, ฉบับแปลใหม่) พระเยซูทรงวางตัวอย่างที่ดีจริง ๆ ไว้สำหรับผู้เยาว์ท่ามกลางพวกเรา! พวกเขาควรจะเชื่อฟังบิดามารดาและสนใจเรียนรู้ในสิ่งฝ่ายวิญญาณ.—พระบัญญัติ 5:16; เอเฟโซ 6:1-3.
กัน. ในที่สุดก็ตามหาพระองค์พบในห้องหนึ่งของพระวิหาร พระองค์กำลังนั่งฟังพวกอาจารย์ชาวยิวและถามคำถามพวกเขาอยู่. เนื่องจากประหลาดใจที่โยเซฟและมาเรียไม่ทราบว่าจะหาพระองค์พบได้ที่ไหน พระเยซูจึงถามว่า “ท่านไม่ทราบหรือว่าฉันต้องอยู่ในพระนิเวศแห่งพระบิดาของฉัน.” พระองค์กลับบ้านไปพร้อมกับบิดามารดาของพระองค์ อยู่ภายใต้การดูแลของพวกเขาต่อไป และเจริญวัยขึ้นทั้งในด้านสติปัญญาและด้านร่างกาย. (16. (ก) เด็กผู้ชายกลุ่มหนึ่งร้องว่าอะไรในคราวที่พระเยซูกำลังให้คำพยาน ณ พระวิหาร? (ข) คริสเตียนวัยเยาว์ในทุกวันนี้มีสิทธิพิเศษอะไร?
16 ในฐานะผู้เยาว์ คุณอาจกำลังให้คำพยานเกี่ยวกับพระยะโฮวาที่โรงเรียนและตามบ้านเรือนกับบิดามารดาของคุณ. (ยะซายา 43:10-12; กิจการ 20:20, 21) ในคราวที่พระเยซูกำลังให้คำพยานและรักษาประชาชนในพระวิหารไม่นานก่อนการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เด็กผู้ชายกลุ่มหนึ่งร้องออกมาว่า “ให้ราชโอรสแห่งดาวิดทรงสำราญเถิด.” เนื่องจากแค้นเคืองที่ได้ยินคำสรรเสริญเช่นนั้น พวกปุโรหิตใหญ่กับพวกอาลักษณ์จึงทักท้วงว่า “ท่านไม่ได้ยินคำที่เขาร้องหรือ.” “ได้ยินแล้ว” พระเยซูตรัสตอบ. “พวกท่านยังไม่เคยอ่านหรือว่า, ‘เสียงที่ออกจากปากเด็กอ่อนและทารกนั้นก็เป็นคำสรรเสริญอันจริงแท้?’” (มัดธาย 21:15-17) เช่นเดียวกับเด็ก ๆ เหล่านั้น คุณซึ่งเป็นผู้เยาว์ในประชาคมมีสิทธิพิเศษอันยอดเยี่ยมที่จะสรรเสริญพระเจ้าและพระบุตรของพระองค์. เราต้องการพวกคุณและจำเป็นต้องมีพวกคุณทำงานด้วยกันกับเราในฐานะผู้ประกาศราชอาณาจักร.
เมื่อเกิดความยากลำบาก
17, 18. (ก) ทำไมเปาโลจึงจัดระเบียบการบริจาคเพื่อคริสเตียนในแคว้นยูเดีย? (ข) การบริจาคด้วยใจสมัครเพื่อผู้เชื่อถือชาวยูเดียทำให้เกิดผลเช่นไรต่อคริสเตียนชาวยิวและคนต่างชาติ?
17 ไม่ว่าสภาพการณ์ของเราเป็นเช่นไร ความรักกระตุ้นเราให้ช่วยเหลือเพื่อนคริสเตียนที่มีความจำเป็น. (โยฮัน 13:34, 35; ยาโกโบ 2:14-17) ความรักต่อพี่น้องชายหญิงในแคว้นยูเดียนั่นเองที่กระตุ้นเปาโลให้จัดระเบียบการบริจาคในท่ามกลางประชาคมในมณฑลอะคายะ, กาลาเทีย, มาซิโดเนีย, และมณฑลเอเชีย. การกดขี่ข่มเหง, ความปั่นป่วนที่ฝูงชนก่อขึ้น, และการกันดารอาหารที่เหล่าสาวกในกรุงเยรูซาเลมประสบอาจยังผลเป็นสิ่งที่เปาโลเรียกว่า “ความยากลำบาก,” “[การ] ข่มเหง” และ “[การ] ปล้นชิงเอาสิ่งของของ [เขา] ไป.” (เฮ็บราย 10:32-34; กิจการ 11:27–12:1) ดังนั้น ท่านจึงดูแลเรื่องเงินกองทุนเพื่อคริสเตียนที่ขาดแคลนในแคว้นยูเดีย.—1 โกรินโธ 16:1-3; 2 โกรินโธ 8:1-4, 13-15; 9:1, 2, 7.
18 การบริจาคด้วยใจสมัครเพื่อเหล่าผู้บริสุทธิ์ในแคว้นยูเดียเป็นข้อพิสูจน์ว่ามีความผูกพันเป็นภราดรภาพระหว่างผู้นมัสการพระยะโฮวาชาวยิวและคนต่างชาติ. การส่งเงินบริจาคไปให้ยังทำให้คริสเตียนชาวต่างชาติมีโอกาสได้แสดงความรู้สึกขอบคุณต่อเพื่อนผู้ร่วมนมัสการชาวยูเดียสำหรับความรู้มากมายฝ่ายวิญญาณที่ได้รับจากพวกเขา. โดยวิธีนี้ จึงมีการแบ่งปันกันทั้งสิ่งฝ่ายวัตถุและสิ่งฝ่ายวิญญาณ. (โรม 15:26, 27) ในทุกวันนี้ การบริจาคเพื่อเพื่อนร่วมความเชื่อที่ขาดแคลนเป็นไปโดยใจสมัครเช่นกันและได้รับแรงกระตุ้นจากความรัก. (มาระโก 12:28-31) เราต่างต้องพึ่งพาอาศัยกันในเรื่องนี้เช่นกันเพื่อว่าจะมีการนำของมาเฉลี่ยกัน “และผู้ที่มีน้อยไม่ได้มีน้อยเกินไป.”—2 โกรินโธ 8:15, ล.ม.
19, 20. จงให้ตัวอย่างที่แสดงถึงวิธีที่ไพร่พลของพระยะโฮวาให้ความช่วยเหลือกันเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น.
19 เนื่องจากตระหนักว่าคริสเตียนต่างต้องพึ่งพาอาศัย
กัน เราจึงพร้อมจะช่วยเหลือพี่น้องชายหญิงร่วมความเชื่อของเรา. เพื่อเป็นตัวอย่าง ขอให้พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวและแผ่นดินถล่มที่ก่อความเสียหายอย่างหนักในเอลซัลวาดอร์เมื่อต้นปี 2001. รายงานหนึ่งกล่าวว่า “มีพี่น้องจากทุกภูมิภาคในเอลซัลวาดอร์เข้าส่วนร่วมในงานบรรเทาทุกข์. กลุ่มพี่น้องจากกัวเตมาลา, สหรัฐ, และแคนาดา ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ . . . . บ้านกว่า 500 หลัง และหอประชุมที่สวยงามอีก 3 หลังถูกสร้างขึ้นอย่างรวดเร็ว. การทำงานหนักและการร่วมมือกันของพี่น้องที่เสียสละตนเองเหล่านี้ยังผลเป็นการให้คำพยานที่ใหญ่โต.”20 รายงานหนึ่งจากแอฟริกาใต้กล่าวว่า “น้ำท่วมใหญ่ที่ก่อความเสียหายอย่างหนักในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโมซัมบิกนั้นส่งผลกระทบต่อพี่น้องคริสเตียนของเราหลายคนเช่นกัน. สาขาในโมซัมบิกได้เอาใจใส่ดูแลความจำเป็นส่วนใหญ่ของพี่น้อง. อย่างไรก็ตาม สาขาโมซัมบิกยังได้ขอให้เราส่งเสื้อผ้าที่ใช้แล้วแต่ยังอยู่ในสภาพดีไปให้พี่น้องที่มีความจำเป็น. เรารวบรวมเสื้อผ้าได้เพียงพอที่จะบรรจุเต็มตู้บรรทุกสินค้าขนาด 12 เมตร ส่งไปให้พี่น้องของเราในโมซัมบิก.” ถูกแล้ว ในวิธีเหล่านี้ก็เช่นกันที่เราต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน.
21. จะมีการพิจารณาเรื่องอะไรในบทความถัดไป?
21 ดังที่กล่าวไปในตอนต้น ทุกส่วนในร่างกายมนุษย์ล้วนมีความสำคัญ. เป็นจริงเช่นเดียวกันกับประชาคมคริสเตียน. สมาชิกทุกคนในประชาคมต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน. พวกเขายังต้องรับใช้ร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพต่อ ๆ ไปด้วย. ในบทความถัดไปจะพิจารณาปัจจัยบางอย่างที่ทำให้สิ่งนี้เป็นไปได้.
คุณจะตอบอย่างไร?
• มีความคล้ายคลึงกันอย่างไรระหว่างร่างกายมนุษย์กับประชาคมคริสเตียน?
• คริสเตียนในสมัยแรกทำเช่นไรเมื่อเพื่อนร่วมความเชื่อจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ?
• ตัวอย่างอะไรจากพระคัมภีร์ที่แสดงว่าคริสเตียนต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน และให้การช่วยเหลือกัน?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 10]
อะกูลาและปริศกีลาห่วงใยคนอื่น ๆ
[ภาพหน้า 12]
ไพร่พลของพระยะโฮวาช่วยเหลือกันและกัน และช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเกิดความยากลำบาก