“จงเฝ้าระวังอยู่เสมอ”!
“จงเฝ้าระวังอยู่เสมอ”!
“สิ่งซึ่งเราบอกพวกเจ้า เราก็บอกคนทั้งปวง จงเฝ้าระวังอยู่เสมอ.”—มาระโก 13:37, ล.ม.
1, 2. (ก) บทเรียนอะไรที่ชายคนหนึ่งได้เรียนรู้ในเรื่องการปกป้องรักษาทรัพย์สิน? (ข) เราได้เรียนอะไรเกี่ยวกับการตื่นตัวอยู่เสมอจากตัวอย่างเปรียบเทียบของพระเยซูในเรื่องขโมย?
ฮวนเก็บสิ่งของมีค่าไว้ที่บ้าน. เขาเก็บมันไว้ใต้เตียง ที่ซึ่งเขาคิดว่าปลอดภัยที่สุดในบ้าน. อย่างไรก็ตาม คืนหนึ่ง ขณะที่เขากับภรรยากำลังหลับอยู่ ขโมยได้เข้ามาในห้องนอน. เห็นได้ชัดว่าขโมยรู้ว่าจะหาของมีค่าเจอได้ที่ไหน. ขโมยกวาดเอาของมีค่าทั้งหมดที่อยู่ใต้เตียงไปอย่างเงียบเชียบ รวมทั้งเงินที่ฮวนเก็บไว้ที่ลิ้นชักโต๊ะข้างเตียง. วันรุ่งขึ้น ฮวนถึงรู้ว่าขโมยขึ้นบ้าน. เขาจะจดจำบทเรียนอันเจ็บปวดในครั้งนี้ไปอีกนานที่ว่า คนที่กำลังหลับอยู่ไม่สามารถปกป้องรักษาทรัพย์สินของเขาไว้ได้.
2 ข้อนี้เป็นจริงในแง่ฝ่ายวิญญาณเช่นกัน. เราไม่สามารถปกป้องรักษาความหวังและความเชื่อของเราไว้ได้หากเราหลับใหลอยู่. ดังนั้น เปาโลจึงกระตุ้นเตือนว่า “อย่าให้เราหลับเหมือนคนอื่น แต่ให้เราตื่นอยู่และรักษาสติของเรา.” (1 เธซะโลนิเก 5:6, ล.ม.) เพื่อจะแสดงให้เห็นว่าการตื่นตัวอยู่เสมอนั้นสำคัญเพียงไร พระเยซูทรงยกตัวอย่างเปรียบเทียบในเรื่องขโมย. พระองค์ได้บรรยายถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การเสด็จมาของพระองค์ในฐานะผู้พิพากษา แล้วพระองค์เตือนว่า “เหตุฉะนั้นจงเฝ้าระวังอยู่, เพราะท่านไม่รู้ว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าของท่านจะเสด็จมาเวลาไหน. แต่ให้เข้าใจอย่างนี้ว่า, ถ้าเจ้าของบ้านล่วงรู้ได้ว่าขโมยจะมายามไหน เขาจะเฝ้าระวังไว้ ไม่ให้ตัดฝาเรือนของเขาได้. เหตุฉะนั้นท่านทั้งหลายจงเตรียมตัวไว้ให้พร้อม ในโมงที่ท่านไม่ทันคิดนั้น บุตรมนุษย์จะเสด็จมา.” (มัดธาย 24:42-44) ขโมยจะไม่ประกาศให้ทราบล่วงหน้าว่าจะมาเมื่อไร. เขาหวังที่จะไปถึงในเวลาที่ไม่มีใครคาดคิดว่าขโมยจะมา. ในทำนองเดียวกัน พระเยซูตรัสไว้ว่า อวสานของระบบนี้จะมาถึง ‘ในโมงที่เราไม่ทันคิด.’
“จงตื่นตัวอยู่เสมอ จงยืนมั่นในความเชื่อ”
3. โดยใช้ตัวอย่างเปรียบเทียบเรื่องบ่าวที่คอยนายของตนกลับจากงานสมรส พระเยซูทรงแสดงให้เห็นอย่างไรถึงความสำคัญของการตื่นตัวอยู่เสมอ?
3 ในถ้อยคำที่บันทึกไว้ในกิตติคุณของลูกา พระเยซูทรงเปรียบเทียบคริสเตียนกับบ่าวที่คอยนายของตนกลับจากงานสมรส. พวกเขาต้องคอยเฝ้าระวังเพื่ออยู่พร้อมที่จะต้อนรับนายเมื่อเขามาถึง. ในทำนองเดียวกัน พระเยซูตรัสว่า “บุตรมนุษย์จะเสด็จมาในโมงที่ท่านไม่ทันคิด.” (ลูกา 12:40) บางคนที่รับใช้พระยะโฮวามานานหลายปีอาจสูญเสียความสำนึกถึงความเร่งด่วนของสมัยที่เรามีชีวิตอยู่นี้. พวกเขาอาจถึงกับลงความเห็นว่าอวสานคงอยู่อีกไกล. แต่การคิดอย่างนั้นอาจหันเหความสนใจของเราจากสิ่งฝ่ายวิญญาณและมุ่งไปแสวงหาสิ่งฝ่ายวัตถุหรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้เราเซื่องซึมฝ่ายวิญญาณ.—ลูกา 8:14; 21:34, 35.
4. การมีความมั่นใจในเรื่องอะไรจะกระตุ้นเราให้เฝ้าระวัง และพระเยซูทรงแสดงให้เห็นในเรื่องนี้อย่างไร?
4 ยังมีบทเรียนอีกอย่างหนึ่งที่เราอาจได้จากตัวอย่างเปรียบเทียบนี้ของพระเยซู. ถึงแม้บ่าวไม่รู้ว่านายจะมาถึงกี่ทุ่มกี่ยาม แต่ก็ดูเหมือนพวกเขารู้ว่านายจะกลับมาคืนไหน. ถ้าพวกบ่าวคิดว่านายคงยังไม่มาในคืนนั้น ก็ยากที่พวกเขาจะตื่นอยู่ตลอดคืนนั้น. แต่พวกเขารู้ว่านายจะมาคืนไหน และนั่นเป็นแรงกระตุ้นที่มีพลังให้พวกเขาตื่นอยู่เสมอ. ในทำนองเดียวกัน คำพยากรณ์ต่าง ๆ ในคัมภีร์ไบเบิลเปิดเผยอย่างชัดเจนว่าเรากำลังมีชีวิตอยู่ในเวลาที่อวสานจะมาถึง แต่คำพยากรณ์เหล่านั้นไม่ได้บอกเราให้รู้ว่าอวสานนั้นจะเกิดขึ้นในวันไหนและโมงไหน. (มัดธาย 24:36) ความเชื่อของเราที่ว่าอวสานกำลังจะมาช่วยให้เราตื่นตัวอยู่เสมอ แต่ถ้าเรามั่นใจว่าวันของพระยะโฮวาใกล้เข้ามาแล้วจริง ๆ เราก็ยิ่งมีแรงกระตุ้นมากขึ้นอีกที่จะเฝ้าระวัง.—ซะฟันยา 1:14.
5. เราจะตอบรับคำกระตุ้นเตือนของเปาโลที่ให้ “ตื่นตัวอยู่เสมอ” ได้โดยวิธีใด?
5 เมื่อเขียนไปถึงชาวโครินท์ เปาโลกระตุ้นพวกเขาดังนี้: “จงตื่นตัวอยู่เสมอ จงยืนมั่นในความเชื่อ.” (1 โกรินโธ 16:13, ล.ม.) ถูกแล้ว การตื่นตัวอยู่เสมอเกี่ยวข้องกับการยืนมั่นในความเชื่อฝ่ายคริสเตียน. เราจะตื่นตัวอยู่เสมอได้โดยวิธีใด? เราต้องเพิ่มพูนความรู้ในพระคำของพระเจ้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น. (2 ติโมเธียว 3:14, 15) นิสัยการศึกษาส่วนตัวที่ดีและการเข้าร่วมประชุมเป็นประจำจะช่วยให้เรามีความเชื่อที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น และการคำนึงถึงวันของพระยะโฮวาเสมอก็เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของความเชื่อของเรา. ด้วยเหตุนั้น การทบทวนเป็นระยะ ๆ ถึงข้อพิสูจน์จากพระคัมภีร์ที่ว่าเรากำลังมีชีวิตอยู่ใกล้อวสานของระบบนี้จะช่วยเราไม่ให้ ลืมความจริงที่สำคัญเกี่ยวกับอวสานที่กำลังใกล้เข้ามานั้น. * คงจะเป็นประโยชน์ด้วยที่จะใส่ใจเหตุการณ์ต่าง ๆ ของโลกที่เกิดขึ้นจริงตามคำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิล. พี่น้องชายคนหนึ่งในเยอรมนีเขียนว่า “ทุกครั้งที่ผมดูข่าวเกี่ยวกับสงคราม, แผ่นดินไหว, ความรุนแรง, และการทำลายสิ่งแวดล้อม นั่นตอกย้ำให้ผมเห็นชัดว่าอวสานใกล้เข้ามาแล้ว.”
6. พระเยซูแสดงให้เห็นโดยวิธีใดว่ามีแนวโน้มที่จะขาดการเฝ้าระวังฝ่ายวิญญาณเมื่อเวลาผ่านไป?
6 ในพระธรรมมาระโกบทที่ 13 เราพบคำกระตุ้นเตือนที่พระเยซูให้แก่เหล่าสาวกอีกเรื่องหนึ่งเพื่อพวกเขาจะตื่นตัวอยู่เสมอ. ตามที่กล่าวในบทนี้ พระเยซูเปรียบสถานการณ์ของเหล่าสาวกกับสถานการณ์ของคนเฝ้าประตูที่คอยนายของตนกลับมาจากเดินทางไกล. คนเฝ้าประตูไม่รู้เลยว่านายจะกลับมายามไหน. เขาจึงได้แต่เฝ้าคอย. พระเยซูตรัสถึงช่วงเวลาที่แตกต่างกันสี่ช่วงที่นายอาจมาถึง. ช่วงที่สี่เริ่มตั้งแต่ตีสามจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้น. ในช่วงสุดท้ายนี้ ความง่วงอาจเข้าครอบงำคนเฝ้าประตูได้ง่าย. ว่ากันว่าพวกทหารถือว่าช่วงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นนี้เป็นช่วงเวลาดีที่สุดที่จะบุกจับข้าศึกแบบไม่ให้รู้ตัว. ในทำนองเดียวกัน ในช่วงปลายของสมัยสุดท้ายนี้ เมื่อโลกรอบตัวเราอยู่ในภาวะหลับสนิททางฝ่ายวิญญาณ เราอาจต้องบากบั่นยิ่งกว่าที่เป็นมาเพื่อจะตื่นตัวอยู่เสมอ. (โรม 13:11, 12) ด้วยเหตุนั้น ในตัวอย่างเปรียบเทียบนี้ของพระเยซู พระองค์จึงกล่าวกระตุ้นหลายครั้งว่า “จงคอยดูอยู่ จงตื่นตัวเสมอ . . . เหตุฉะนั้น จงเฝ้าระวังเสมอ . . . สิ่งซึ่งเราบอกพวกเจ้า เราก็บอกคนทั้งปวง จงเฝ้าระวังอยู่เสมอ.”—มาระโก 13:32-37, ล.ม.
7. มีอะไรเป็นอันตรายอย่างแท้จริง และด้วยเหตุนี้ เราจึงอ่านพบคำกระตุ้นอะไรในพระคัมภีร์บ่อยครั้ง?
7 หลายต่อหลายครั้งระหว่างงานรับใช้ของพระเยซูและหลังจากที่ทรงคืนพระชนม์ พระองค์ทรงกระตุ้นให้เฝ้าระวัง. อันที่จริง แทบทุกครั้งที่พระคัมภีร์กล่าวถึงอวสานของระบบนี้ เราพบคำเตือนที่ให้ตื่นตัวหรือเฝ้าระวังอยู่เสมอ. * (ลูกา 12:38, 40; วิวรณ์ 3:2; 16:14-16) เห็นได้ชัด การง่วงซึมฝ่ายวิญญาณเป็นอันตรายอย่างแท้จริง. เราทุกคนจำเป็นต้องได้รับคำเตือนดังกล่าว!—1 โกรินโธ 10:12; 1 เธซะโลนิเก 5:2, 6.
อัครสาวกสามคนที่ไม่สามารถตื่นตัวอยู่
8. ในสวนเฆ็ธเซมาเน อัครสาวกสามคนของพระเยซูตอบสนองอย่างไรเมื่อพระองค์ขอให้พวกเขาเฝ้าระวังอยู่?
8 การตื่นตัวอยู่เสมอต้องอาศัยบางสิ่งนอกเหนือจากความตั้งใจจริง ดังที่เราเห็นได้จากตัวอย่างของเปโตร, มัดธาย 26:38, ล.ม.) พระเยซูอธิษฐานด้วยความเร่าร้อนถึงพระบิดาฝ่ายสวรรค์ของพระองค์ถึงสามครั้ง และแต่ละครั้งที่กลับมาหาสหายของพระองค์ ก็พบว่าพวกเขากำลังหลับทุกครั้ง.—มัดธาย 26:40, 43, 45.
ยาโกโบ, และโยฮัน. ทั้งสามคนเป็นมนุษย์ฝ่ายวิญญาณผู้ซึ่งติดตามพระเยซูด้วยความภักดีและมีความรักใคร่อย่างสุดซึ้งต่อพระองค์. ถึงกระนั้น ในคืนวันที่ 14 เดือนไนซาน ปี ส.ศ. 33 พวกเขาไม่ได้ตื่นตัวอยู่. เมื่อออกจากห้องชั้นบนที่พวกเขาฉลองปัศคา อัครสาวกสามคนนี้ติดตามพระเยซูเข้าไปในสวนเฆ็ธเซมาเน. ที่นั่น พระเยซูตรัสแก่พวกเขาว่า “ตัวเราเป็นทุกข์นักแทบถึงตาย. จงรออยู่ที่นี่และเฝ้าระวังกับเรา.” (9. อะไรอาจเป็นเหตุที่ทำให้พวกอัครสาวกง่วงนอน?
9 ทำไมผู้ซื่อสัตย์เหล่านี้ทำให้พระเยซูผิดหวังในคืนนั้น? ความอ่อนล้าเป็นปัจจัยอย่างหนึ่ง. เวลานั้นก็ดึกมากแล้ว อาจเป็นหลังเที่ยงคืน และพวกเขาหลับ “ลืมตาไม่ขึ้น.” (มัดธาย 26:43, ฉบับแปลใหม่) ถึงกระนั้น พระเยซูตรัสว่า “จงเฝ้าระวังและอธิษฐาน, เพื่อท่านจะไม่ได้เข้าในการทดลอง จิตต์ใจพร้อมแล้วก็จริง, แต่เนื้อหนังยังอ่อนกำลัง.”—มัดธาย 26:41.
10, 11. (ก) ถึงแม้จะเหนื่อยล้า อะไรได้ช่วยพระเยซูให้เฝ้าระวังขณะอยู่ในสวนเฆ็ธเซมาเน? (ข) เราเรียนอะไรได้จากสิ่งที่เกิดขึ้นกับอัครสาวกสามคนเมื่อพระเยซูขอให้พวกเขาเฝ้าระวัง?
10 ไม่มีข้อสงสัย พระเยซูเหนื่อยล้าเช่นกันในคืนสำคัญทางประวัติศาสตร์นั้น. อย่างไรก็ตาม แทนที่พระเยซูจะหลับ พระองค์ทรงใช้เวลาสำคัญชั่วขณะสุดท้ายก่อนที่จะถูกจับกุมนี้เพื่ออธิษฐานด้วยใจร้อนรน. ไม่กี่วันก่อนหน้านั้น พระองค์ได้ทรงกระตุ้นเหล่าสาวกของพระองค์ให้อธิษฐาน โดยตรัสว่า “เหตุฉะนั้น จงตื่นตัวเสมอ เฝ้าวิงวอนอยู่ตลอดเวลา เพื่อเจ้าจะประสบผลสำเร็จในการหนีพ้นเหตุการณ์ทั้งปวงเหล่านี้ซึ่งถูกกำหนดไว้ว่าจะเกิดขึ้น และในการยืนอยู่ต่อหน้าบุตรมนุษย์.” (ลูกา 21:36, ล.ม.; เอเฟโซ 6:18) ถ้าเราเชื่อฟังคำแนะนำของพระเยซูและติดตามตัวอย่างที่ดีของพระองค์ในเรื่องการอธิษฐาน คำทูลวิงวอนจากใจจริงของเราถึงพระยะโฮวาจะช่วยให้เราตื่นตัวเสมอทางฝ่ายวิญญาณ.
11 แน่นอน พระเยซูทรงเข้าใจว่าในอีกไม่ช้าพระองค์จะถูกจับกุมและถูกตัดสินโทษถึงประหาร ซึ่งสาวกของพระองค์ไม่เข้าใจในตอนนั้น. การทดลองที่พระองค์ประสบจะไปถึงจุดสุดยอดด้วยการทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสบนหลักทรมาน. พระเยซูได้เตือนเหล่าอัครสาวกของพระองค์ล่วงหน้าถึงเรื่องเหล่านี้ แต่พวกเขาไม่เข้าใจที่พระองค์ตรัส. ด้วยเหตุนั้น พวกเขาจึงหลับขณะที่พระองค์ตื่นอยู่และทูลอธิษฐาน. (มาระโก 14:27-31; ลูกา 22:15-18) ดังที่เป็นกับเหล่าอัครสาวก เนื้อหนังของเราอ่อนกำลังเช่นกัน และมีอีกหลายสิ่งที่เรายังไม่รู้. กระนั้น ถ้าเราไม่สังเกตเห็นความเร่งด่วนของสมัยที่เรามีชีวิตอยู่ ในแง่ฝ่ายวิญญาณเราอาจจะเคลิ้มหลับไป. เฉพาะเมื่อเราเฝ้าระวังเท่านั้น เราจึงจะตื่นตัวเสมอ.
คุณลักษณะที่สำคัญสามประการ
12. เปาโลเชื่อมโยงคุณลักษณะสามประการอะไรเข้ากับการรักษาสติ?
12 เราจะรักษาความสำนึกถึงความเร่งด่วนไว้ได้อย่างไร? เราได้เห็นแล้วถึงความสำคัญของการอธิษฐานและความจำเป็นที่จะคำนึงถึงวันของพระยะโฮวาอยู่เสมอ. แต่นอกจากนั้น เปาโลยังได้กล่าวถึงคุณลักษณะสำคัญสามประการที่เราควรปลูกฝัง. ท่านกล่าวว่า “ส่วนเราซึ่งเป็นฝ่ายกลางวัน จงให้เรารักษาสติ และสวมเกราะหน้าอกแห่งความเชื่อและความรัก และเอาความหวังเกี่ยวกับความรอดมาสวมเป็นหมวกเกราะ.” (1 เธซะโลนิเก 5:8, ล.ม.) ขอให้เราพิจารณาอย่างสั้น ๆ ถึงบทบาทของความเชื่อ, ความหวัง, และความรัก ในการช่วยให้เราตื่นตัวฝ่ายวิญญาณอยู่เสมอ.
13. ความเชื่อมีบทบาทเช่นไรในการเฝ้าระวังอยู่เสมอ?
13 เราต้องมีความเชื่ออย่างไม่สั่นคลอนว่าพระยะโฮวาทรงดำรงอยู่และเชื่อว่า “พระองค์เป็นผู้ประทานบำเหน็จให้แก่ทุกคนที่ปลงใจแสวงหาพระองค์.” (เฮ็บราย 11:6) ความสำเร็จสมจริงขั้นแรกของคำพยากรณ์ของพระเยซูในเรื่องอวสานในสมัยศตวรรษแรกเสริมสร้างความเชื่อของเราเกี่ยวกับการสำเร็จเป็นจริงที่ยิ่งใหญ่กว่าของคำพยากรณ์นั้นในสมัยของเรา. และความเชื่อทำให้เราคาดหมายวันของพระยะโฮวาด้วยความกระตือรือร้นอยู่เสมอ โดยแน่ใจว่า “[นิมิตเชิงพยากรณ์] จะสำเร็จเป็นแน่. จะไม่ล่าช้าเลย.”—ฮะบาฆูค 2:3, ล.ม.
14. ความหวังเป็นสิ่งสำคัญเพียงไรถ้าเราจะตื่นตัวอยู่เสมอ?
14 ความหวังอันแน่นอนของเราเป็นดุจ “สมอสำหรับเฮ็บราย 6:18, 19, ล.ม.) มาร์กาเรต พี่น้องหญิงที่ได้รับการเจิมด้วยพระวิญญาณซึ่งมีอายุมากกว่า 90 ปี และรับบัพติสมามาแล้วกว่า 70 ปี ยอมรับว่า “เมื่อสามีของฉันเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในปี 1963 ฉันรู้สึกว่าคงจะวิเศษสักเพียงไรถ้าอวสานจะมาถึงเร็ว ๆ. แต่มาถึงตอนนี้ ฉันตระหนักว่าที่ฉันคิดนั้นก็นึกถึงแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง. ในตอนนั้น เราไม่รู้เลยว่างานของเราจะแผ่ขยายไปทั่วโลกถึงขนาดไหน. แม้แต่ในปัจจุบัน ก็ยังมีเขตงานใหม่ ๆ หลายแห่งที่เพิ่งเปิดออก. ฉันจึงดีใจที่พระยะโฮวาได้ทรงสำแดงความอดกลั้นพระทัย.” อัครสาวกเปาโลรับรองกับเราว่า “ความอดทนทำให้เห็นว่าเราเป็นคนที่พระเจ้าทรงใช้ได้ และการที่เราเห็นเช่นนั้นทำให้เกิดมีความหวังใจ และความหวังใจมิได้ทำให้เกิดความเสียใจเพราะผิดหวัง.”—โรม 5:3-5, ฉบับแปลใหม่.
จิตวิญญาณ” ที่ทำให้เราอดทนต่อความยากลำบากได้ แม้ว่าต้องคอยท่าคำสัญญาของพระเจ้าซึ่งจะสำเร็จเป็นจริงอย่างแน่นอน. (15. ความรักจะกระตุ้นเราให้ทำอะไรถึงแม้ดูเหมือนว่าเราได้รอมานานแล้วก็ตาม?
15 ความรักแบบคริสเตียนเป็นคุณลักษณะที่โดดเด่นเนื่องจากเป็นแรงกระตุ้นพื้นฐานสำหรับทุกสิ่งที่เราทำ. เรารับใช้พระยะโฮวาเพราะเรารักพระองค์ ไม่ใช่เพราะคำนึงถึงเวลากำหนดของพระองค์. ความรักต่อเพื่อนบ้านกระตุ้นเรา1 โกรินโธ 13:13, ล.ม.) ความรักทำให้เราอดทนต่อ ๆ ไปและช่วยให้เราตื่นตัวอยู่เสมอ. “[ความรัก] หวังทุกสิ่ง, อดทนทุกสิ่ง. ความรักไม่ล้มเหลวเลย.”—1 โกรินโธ 13:7, 8, ล.ม.
ให้ประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักร ไม่ว่าพระเจ้าจะประสงค์ให้เราทำงานนี้ไปอีกนานแค่ไหน หรือจะต้องประกาศซ้ำในเขตเดียวกันไปอีกสักกี่ครั้ง. ดังที่เปาโลได้เขียนไว้ว่า “ยังคงมีความเชื่อ, ความหวัง, ความรัก, สามอย่างนี้; แต่ที่ใหญ่ที่สุดคือความรัก.” (“จงยึดถือสิ่งซึ่งเจ้ามีอยู่ไว้ให้มั่นต่อ ๆ ไป”
16. แทนที่จะเพลามือลง เราควรปลูกฝังเจตคติเช่นไร?
16 เรามีชีวิตอยู่ในยุคสมัยที่สำคัญยิ่งซึ่งเหตุการณ์ต่าง ๆ ของโลกเตือนใจเราให้ระลึกอยู่เสมอว่าเราอยู่ในช่วงปลายของสมัยสุดท้าย. (2 ติโมเธียว 3:1-5) ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่จะเพลามือ แต่เป็นเวลาที่จะ ‘ยึดถือสิ่งซึ่งเรามีอยู่ไว้ให้มั่นต่อ ๆ ไป.’ (วิวรณ์ 3:11, ล.ม.) โดยการ “เฝ้าระวังในการอธิษฐาน” และโดยการปลูกฝังความเชื่อ, ความหวัง, และความรัก เราจะแสดงให้เห็นว่าเราอยู่พร้อมเมื่อชั่วโมงแห่งการทดสอบมาถึง. (1 เปโตร 4:7) เรามีมากมายหลายสิ่งที่จะทำในงานขององค์พระผู้เป็นเจ้า. การเอาการเอางานในการกระทำด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้าจะช่วยให้เราตื่นตัวเต็มที่อยู่เสมอ.—2 เปโตร 3:11, ล.ม.
17. (ก) เหตุใดความผิดหวังที่เกิดขึ้นเป็นบางครั้งไม่ควรทำให้เราท้อใจ? (ดูกรอบหน้า 21.) (ข) เราจะเลียนแบบพระยะโฮวาได้อย่างไร และคนที่เลียนแบบพระองค์จะได้รับพระพรอะไรในอนาคต?
17 ยิระมะยาเขียนดังนี้: “‘พระยะโฮวาทรงถือหุ้นร่วมกับข้าพเจ้า, เหตุฉะนี้ข้าพเจ้าจะหวังพึ่งพระองค์ [“สำแดงเจตคติแบบที่รอคอยพระองค์,” ล.ม.].’ พระยะโฮวาทรงดีต่อคนทั้งปวงที่ได้รอท่าพระองค์, ต่อจิตต์ใจที่ได้แสวงหาพระองค์. เป็นการดีที่มนุษย์จะสงบใจรอคอยความรอดของพระยะโฮวา.” (บทเพลงร้องทุกข์ 3:24-26) บางคนในพวกเราเพิ่งรอคอยมาได้ไม่นาน. ส่วนบางคนได้คอยมานานหลายปีแล้วเพื่อจะเห็นความรอดจากพระยะโฮวา. แต่ช่วงเวลาที่เรารอนั้นสั้นสักเพียงไรเมื่อเทียบกับนิรันดรกาลที่รออยู่เบื้องหน้า! (2 โกรินโธ 4:16-18) และขณะที่เราคอยท่าเวลากำหนดของพระยะโฮวานั้น เราสามารถปลูกฝังคุณลักษณะแบบคริสเตียนที่จำเป็นและช่วยผู้อื่นให้ฉวยประโยชน์จากความอดกลั้นพระทัยของพระยะโฮวาและรับเอาความจริง. ฉะนั้น ขอให้เราทุกคนเฝ้าระวังอยู่เสมอ. ให้เราเลียนแบบพระยะโฮวาและมีความอดทน ขอบพระคุณพระองค์สำหรับความหวังที่ทรงประทานแก่เรา. และขณะที่เราเฝ้าระวังอยู่เสมอด้วยความซื่อสัตย์ ขอให้เรายึดมั่นในความหวังเรื่องชีวิตนิรันดร์ต่อ ๆ ไป. แล้วคำสัญญาที่พยากรณ์ไว้ต่อไปนี้จะใช้ได้กับเราอย่างแน่นอน: “[พระยะโฮวา] จะทรงโปรดให้ท่านเลื่อนขึ้นได้มฤดกที่แผ่นดินนั้น: ท่านคงจะได้เห็น, เมื่อคนชั่วต้องถูกตัดขาดเสีย.”—บทเพลงสรรเสริญ 37:34.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 5 อาจเป็นประโยชน์ที่จะทบทวนหลักฐานหกประการที่พิสูจน์ว่าเรากำลังมีชีวิตอยู่ใน “สมัยสุดท้าย” ซึ่งลงไว้ในหอสังเกตการณ์ ฉบับ 15 มกราคม 2000 หน้า 12-13.—2 ติโมเธียว 3:1, ล.ม.
^ วรรค 7 เมื่อกล่าวถึงคำกริยาภาษากรีกที่มีการแปลว่า “ตื่นตัวเสมอ” ดับเบิลยู. อี. ไวน์ ผู้เรียบเรียงปทานุกรม อธิบายว่าคำนี้ตามตัวอักษรแล้วหมายถึง ‘ขับเอาการหลับออกไป’ และคำนี้ “ไม่หมายถึงเพียงแค่การตื่นตัวเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังของคนที่จดจ่ออยู่กับสิ่งหนึ่ง.”
คุณจะตอบอย่างไร?
• เราจะเสริมความเชื่อมั่นของเราที่ว่าอวสานของระบบนี้มาใกล้แล้วโดยวิธีใด?
• เราเรียนอะไรได้จากตัวอย่างของเปโตร, ยาโกโบ, และโยฮัน?
• คุณลักษณะสามประการอะไรจะช่วยเราให้เฝ้าระวังอยู่เสมอทางฝ่ายวิญญาณ?
• เหตุใดบัดนี้จึงเป็นเวลาที่จะ ‘ยึดถือสิ่งซึ่งเรามีอยู่ไว้ให้มั่นต่อ ๆ ไป’?
[คำถาม]
[กรอบ/ภาพหน้า 21]
“ความสุขย่อมมีแก่คนที่คอยอยู่.”—ดานิเอล 12:12
ขอให้จินตนาการว่ามียามคนหนึ่งสงสัยว่าขโมยวางแผนจะเข้ามาขโมยของในอาคารที่เขาเฝ้าอยู่. พอตกกลางคืน ยามคนนี้ตั้งใจฟังเสียงใด ๆ ที่อาจบ่งชี้ว่ามีขโมยมา. ชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่าที่เขาพยายามฟังเสียงและคอยสอดส่องอย่างเต็มที่. เป็นที่เข้าใจได้ไม่ยากว่าเขาอาจถูกหลอกด้วยเสียงลมที่กระโชกต้นไม้หรือแมวที่ชนของบางอย่างล้ม.—ลูกา 12:39, 40.
สิ่งคล้าย ๆ กันอาจเกิดขึ้นกับคนเหล่านั้นที่ “คอยท่าพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราผู้ที่จะเสด็จมาปรากฏ.” (1 โกรินโธ 1:7) พวกอัครสาวกคิดว่าพระเยซูจะ “ทรงตั้งราชอาณาจักรขึ้นใหม่ให้แก่ชนอิสราเอล” ไม่นานหลังจากพระองค์คืนพระชนม์. (กิจการ 1:6, ฉบับแปลใหม่) หลายปีต่อมา คริสเตียนในเทสซาโลนีกา (เธซะโลนิเก) จำเป็นต้องได้รับการเตือนให้รู้ว่าการประทับของพระเยซูยังอยู่ในอนาคต. (2 เธซะโลนิเก 2:3, 8) ถึงกระนั้น การคาดหมายที่ไม่สมหวังในเรื่องวันของพระยะโฮวาไม่ได้ทำให้เหล่าสาวกในยุคแรกของพระเยซูละทิ้งทางที่นำไปถึงชีวิต.—มัดธาย 7:13.
ในสมัยของเรา ความผิดหวังที่อวสานของระบบนี้ดูเหมือนว่ามาช้าไม่ควรทำให้เราเลิกเฝ้าระวัง. คนยามที่เฝ้าระวังอาจถูกหลอกด้วยเสียงที่ทำให้เข้าใจผิด ถึงกระนั้น เขาต้องเฝ้าระวังต่อ ๆ ไป! นั่นเป็นหน้าที่ของเขา. คริสเตียนต้องทำอย่างเดียวกัน.
[ภาพหน้า 18]
คุณเชื่อมั่นไหมว่าวันของพระยะโฮวามาใกล้แล้ว?
[ภาพหน้า 19]
การประชุมต่าง ๆ, การอธิษฐาน, และนิสัยการศึกษาที่ดี ช่วยเราให้เฝ้าระวังอยู่เสมอ
[ภาพหน้า 22]
เช่นเดียวกับมาร์กาเรต ขอให้เราเฝ้าระวังต่อ ๆ ไปด้วยความอดทนและใจจดจ่อ