ความเชื่อของคุณเข้มแข็งเพียงไร?
ความเชื่อของคุณเข้มแข็งเพียงไร?
“โดยความเชื่อของท่านนั่นเองที่ท่านตั้งมั่นอยู่.”—2 โกรินโธ 1:24, ล.ม.
1, 2. ทำไมเราต้องมีความเชื่อ และความเชื่อจะเข้มแข็งยิ่งขึ้นได้โดยวิธีใด?
ผู้รับใช้ของพระยะโฮวารู้ว่าพวกเขาต้องมีความเชื่อ. อันที่จริง “ถ้าไม่มีความเชื่อแล้ว, จะเป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้าก็หามิได้.” (เฮ็บราย 11:6) จึงนับว่าฉลาดสุขุมที่เราจะอธิษฐานขอพระวิญญาณบริสุทธิ์และขอให้มีความเชื่อซึ่งเป็นผลแห่งพระวิญญาณที่น่าปรารถนา. (ลูกา 11:13; ฆะลาเตีย 5:22, 23) เรายังสามารถเสริมความเชื่อให้เข้มแข็งขึ้นในตัวเราด้วยการเลียนแบบอย่างคุณลักษณะนี้ของเพื่อนร่วมความเชื่อ.—2 ติโมเธียว 1:5; เฮ็บราย 13:7.
2 ความเชื่อของเราจะเข้มแข็งยิ่งขึ้นถ้าเรามุ่งมั่นติดตามแนวทางที่พระคำของพระเจ้าวางไว้สำหรับคริสเตียนทุกคนต่อ ๆ ไป. การอ่านพระคัมภีร์ทุกวันและการศึกษาพระคัมภีร์อย่างขยันขันแข็งโดยใช้สรรพหนังสือที่ “คนต้นเรือนสัตย์ซื่อ” จัดเตรียมให้จะทำให้เรามีความเชื่อมากขึ้น. (ลูกา 12:42-44; ยะโฮซูอะ 1:7, 8) เราได้รับการหนุนกำลังใจจากความเชื่อของกันและกันเมื่อเราเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนเป็นประจำ รวมถึงการประชุมพิเศษ, การประชุมหมวด, และการประชุมภาค. (โรม 1:11, 12; เฮ็บราย 10:24, 25) และความเชื่อของเราจะได้รับการเสริมให้เข้มแข็งขึ้นเมื่อเราพูดคุยกับคนอื่น ๆ ในงานประกาศ.—บทเพลงสรรเสริญ 145:10-13; โรม 10:11-15.
3. ในเรื่องความเชื่อ เราได้รับความช่วยเหลืออะไรจากคริสเตียนผู้ปกครองที่เปี่ยมด้วยความรัก?
2 โกรินโธ 1:23, 24, ล.ม.) อีกฉบับแปลหนึ่งอ่านว่า “เราทำงานด้วยกันกับท่านเพื่อให้ท่านได้รับความชื่นชมยินดี เนื่องจากความเชื่อของท่านเข้มแข็ง.” (ฉบับแปลคอนเทมโพรารี อิงลิช) คนชอบธรรมมีชีวิตดำรงอยู่ด้วยความเชื่อ. แน่นอน ไม่มีใครจะแสดงความเชื่อแทนเราหรือทำให้เราเป็นผู้รักษาความซื่อสัตย์มั่นคงที่ภักดีได้. ในเรื่องนี้ ‘เราต้องแบกภาระของเราเอง.’—ฆะลาเตีย 3:11; 6:5.
3 โดยการให้คำแนะนำและการหนุนใจตามหลักพระคัมภีร์ คริสเตียนผู้ปกครองที่เปี่ยมด้วยความรักช่วยเราให้เสริมสร้างความเชื่อของเรา. พวกเขามีน้ำใจเหมือนอัครสาวกเปาโล ผู้ซึ่งบอกแก่คริสเตียนชาวโครินท์ว่า “เราเป็นเพื่อนร่วมงานเพื่อความยินดีของท่าน เพราะโดยความเชื่อของท่านนั่นเองที่ท่านตั้งมั่นอยู่.” (4. เรื่องราวในพระคัมภีร์เกี่ยวกับเหล่าผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระเจ้าจะช่วยเสริมความเชื่อของเราให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นได้อย่างไร?
4 พระคัมภีร์เต็มไปด้วยเรื่องราวของบุคคลต่าง ๆ ที่มีความเชื่อ. เราอาจคุ้นเคยดีกับการกระทำที่โดดเด่นหลายอย่างของพวกเขา แต่กับความเชื่อที่พวกเขาสำแดงวันแล้ววันเล่า หรืออาจจะตลอดชั่วชีวิตของพวกเขา เราคุ้นเคยด้วยไหม? บัดนี้ การพิจารณาว่าพวกเขาแสดงคุณลักษณะนี้อย่างไรในสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่คล้ายกับของเราจะช่วยเสริมความเชื่อของเราให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น.
ความเชื่อทำให้เรากล้าหาญ
5. มีหลักฐานอะไรจากพระคัมภีร์ที่ว่าความเชื่อเสริมกำลังเราให้ประกาศพระคำของพระเจ้าด้วยความกล้าหาญ?
5 ความเชื่อเสริมกำลังเราให้ประกาศพระคำของพระเจ้าด้วยความกล้าหาญ. ฮะโนคบอกล่วงหน้าถึงการสำเร็จโทษตามการพิพากษาของพระเจ้าอย่างกล้าหาญ. ฮะโนคกล่าวดังนี้: “นี่แน่ะ! พระยะโฮวาได้เสด็จมาพร้อมด้วยผู้บริสุทธิ์ของพระองค์นับเป็นหมื่น ๆ เพื่อสำเร็จโทษแก่ทุกคน และเพื่อตัดสินลงโทษคนดูหมิ่นพระเจ้าทุกคนเกี่ยวกับการกระทำที่ดูหมิ่นทุกอย่างของพวกเขา ซึ่งพวกเขาได้กระทำอย่างดูหมิ่น และเกี่ยวกับสิ่งอันน่าตกตะลึงทุกอย่างที่คนบาปผู้ดูหมิ่นพระเจ้าได้พูดต่อต้านพระองค์.” (ยูดา 14, 15, ล.ม.) เมื่อได้ยินอย่างนั้น ผู้ที่ดูหมิ่นพระเจ้าซึ่งเป็นศัตรูของฮะโนคคงต้องการฆ่าท่านอย่างแน่นอน. ถึงกระนั้น โดยความเชื่อ ท่านประกาศอย่างกล้าหาญ และพระเจ้า ‘รับท่านไป’ โดยให้ท่านตายไปขณะหลับอยู่ ดูเหมือนว่าพระองค์จะไม่ยอมให้ท่านต้องตายอย่างทนทุกข์ทรมาน. (เยเนซิศ 5:24; เฮ็บราย 11:5) เราไม่ได้ประสบการอัศจรรย์อย่างนั้น แต่พระยะโฮวาทรงตอบคำอธิษฐานของเราเพื่อว่าเราจะสามารถประกาศพระคำของพระองค์ด้วยความเชื่อและความกล้าหาญ.—กิจการ 4:24-31.
6. ความเชื่อและความกล้าหาญที่พระเจ้าประทานให้ได้ช่วยโนฮาอย่างไร?
6 โดยความเชื่อ โนฮา “ต่อนาวาซึ่งเป็นที่ให้ครอบครัวของตนรอดได้.” (เฮ็บราย 11:7; เยเนซิศ 6:13-22) โนฮาเป็น “ผู้ประกาศความชอบธรรม” ด้วย คือเป็นผู้ที่ประกาศคำเตือนของพระเจ้าอย่างกล้าหาญแก่คนร่วมสมัยของท่าน. (2 เปโตร 2:5, ฉบับแปลใหม่) พวกเขาคงต้องเยาะเย้ยข่าวสารที่ท่านประกาศในเรื่องน้ำท่วมใหญ่ที่จะเกิดขึ้น เหมือนอย่างที่บางคนเยาะเย้ยเมื่อเราให้ข้อพิสูจน์ตามหลักพระคัมภีร์ว่าระบบปัจจุบันจะถูกทำลายในอีกไม่ช้านี้. (2 เปโตร 3:3-12) อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับฮะโนคและโนฮา เราสามารถประกาศข่าวสารนั้นเนื่องด้วยความเชื่อและความกล้าหาญที่พระเจ้าโปรดประทานให้.
ความเชื่อทำให้เราอดทน
7. อับราฮาม และคนอื่น ๆ ได้แสดงความเชื่อ และความอดทนอย่างไร?
7 เราจำเป็นต้องมีความเชื่อและความอดทน โดยเฉพาะเมื่อเราคอยท่าอวสานของระบบชั่วนี้. ในบรรดาคนเหล่านั้น “ซึ่งโดยทางความเชื่อและความอดทนจึงจะได้รับคำสัญญาเฮ็บราย 6:11, 12, ล.ม.) โดยความเชื่อ ท่านละเมืองอูระพร้อมกับข้อได้เปรียบด้วยประการทั้งปวงของเมืองนั้น และกลายเป็นคนต่างด้าวในแผ่นดินต่างประเทศที่พระเจ้าสัญญาว่าจะให้แก่ท่าน. ยิศฮาคและยาโคบเป็นผู้ร่วมรับมรดกตามคำสัญญาเดียวกันนั้น. อย่างไรก็ตาม “คนเหล่านี้ทุกคนตายไปขณะที่ยังมีความเชื่อ แม้ว่าเขามิได้รับผลตามคำสัญญาก็ตาม.” โดยความเชื่อ พวกเขา “มุ่งหน้าจะไปให้ถึงที่ที่ดีกว่า กล่าวคือที่ที่อยู่ฝ่ายสวรรค์.” ด้วยเหตุนั้น พระเจ้าจึง “ได้จัดเมืองหนึ่งไว้พร้อมแล้วสำหรับเขา.” (เฮ็บราย 11:8-16, ล.ม.) ถูกแล้ว อับราฮาม, ยิศฮาค, และยาโคบ พร้อมทั้งภรรยาของพวกเขาที่เกรงกลัวพระเจ้า ต่างคอยท่าราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์ของพระเจ้าด้วยความอดทน ซึ่งพวกเขาจะถูกปลุกให้เป็นขึ้นจากตายสู่ชีวิตบนแผ่นดินโลกภายใต้การปกครองแห่งราชอาณาจักรนั้น.
เป็นมรดก” นั้น ก็มีอับราฮาม ปฐมบรรพบุรุษที่เกรงกลัวพระเจ้า. (8. อับราฮาม, ยิศฮาค, และยาโคบแสดงความอดทนและความเชื่อทั้ง ๆ ที่เป็นเช่นไร?
8 อับราฮาม, ยิศฮาค, และยาโคบ มิได้สูญเสียความเชื่อ. พวกเขาไม่ได้ครอบครองแผ่นดินตามคำสัญญา และไม่ได้เห็นทุกชาติได้รับพระพรโดยทางพงศ์พันธุ์ของอับราฮาม. (เยเนซิศ 15:5-7; 22:15-18) ถึงแม้ว่า ‘เมืองที่พระเจ้าทรงสร้าง’ ยังไม่เกิดขึ้นจริงจนอีกหลายศตวรรษต่อมา บุรุษเหล่านี้ก็ยังคงแสดงความเชื่อและความอดทนตลอดชีวิตของพวกเขา. แน่นอน เราควรทำอย่างเดียวกันนั้นในเวลานี้ เนื่องจากราชอาณาจักรมาซีฮาได้สถาปนาขึ้นแล้วในสวรรค์.—บทเพลงสรรเสริญ 42:5, 11; 43:5.
ความเชื่อทำให้เรามีเป้าหมายที่สูงส่ง
9. ความเชื่อมีผลอะไรต่อเป้าหมายของเรา?
9 ปฐมบรรพบุรุษที่สัตย์ซื่อเหล่านั้นไม่เคยรับเอาวิถีชีวิตที่ต่ำทรามของชาวคะนาอัน เนื่องจากพวกเขามีเป้าหมายที่สูงส่งกว่านั้นมากนัก. คล้ายกัน ความเชื่อทำให้เรามีเป้าหมายฝ่ายวิญญาณที่ทำให้เราสามารถต้านทานการถูกกลืนไปในโลกที่อยู่ใต้อำนาจตัวชั่วร้าย คือซาตานพญามาร.—1 โยฮัน 2:15-17; 5:19.
10. เรารู้ได้อย่างไรว่าโยเซฟติดตามเป้าหมายที่สูงส่งกว่าการได้เป็นที่นับหน้าถือตาในโลก?
10 ภายใต้การบันดาลของพระเจ้า โยเซฟ บุตรชายของยาโคบ ได้รับใช้เป็นผู้อำนวยการด้านอาหารของอียิปต์ แต่เป้าหมายของท่านไม่ใช่การเป็นผู้มีอำนาจในโลกนี้. ด้วยความเชื่อในความสำเร็จเป็นจริงแห่งคำสัญญาของพระยะโฮวา โยเซฟซึ่งขณะนั้นมีอายุได้ 110 ปี บอกกับพวกพี่น้องของท่านว่า “เราจวนจะตายแล้ว; แต่พระเจ้าคงจะทรงเยี่ยมเยียนพวกท่านและจะพาออกไปจากแผ่นดินนี้ให้ถึงแผ่นดินนั้น, ที่พระองค์ทรงสัญญาไว้แก่อับราฮาม ยิศฮาคและยาโคบ.” โยเซฟขอให้ฝังศพท่านในแผ่นดินตามคำสัญญา. เมื่อเสียชีวิต มีการอาบยารักษาศพท่านและบรรจุหีบเก็บไว้ที่อียิปต์. แต่เมื่อชาวอิสราเอลถูกปล่อยจากการเป็นทาสของชาวอียิปต์ ผู้พยากรณ์โมเซให้เอากระดูกของโยเซฟไปด้วย เพื่อจะนำไปฝังในแผ่นดินที่สัญญาไว้. (เยเนซิศ 50:22-26; เอ็กโซโด 13:19) ความเชื่อแบบเดียวกับของโยเซฟน่าจะกระตุ้นเราให้ติดตามเป้าหมายที่สูงส่งกว่าการได้เป็นที่นับหน้าถือตาในโลก.—1 โกรินโธ 7:29-31.
11. ในทางใดที่โมเซให้หลักฐานว่าท่านมีเป้าหมายฝ่ายวิญญาณ?
เฮ็บราย 11:23-26, ล.ม.; กิจการ 7:20-22) ท่านได้สละชื่อเสียงเกียรติยศฝ่ายโลก และอาจรวมถึงโอกาสที่จะได้รับการฝังศพอย่างยิ่งใหญ่ในหีบศพซึ่งตกแต่งไว้อย่างวิจิตรบรรจงในสถานที่เก็บศพที่มีชื่อเสียงบางแห่งในอียิปต์. แต่นั่นจะมีค่าอะไรเมื่อเทียบกับสิทธิพิเศษในการได้เป็น “คนของพระเจ้าเที่ยงแท้,” ผู้กลางของสัญญาไมตรีแห่งพระบัญญัติ, ผู้พยากรณ์ของพระยะโฮวา, และผู้เขียนพระคัมภีร์? (เอษรา 3:2, ล.ม.) คุณปรารถนาจะเป็นที่นับหน้าถือตามากขึ้นในโลกไหม หรือว่าความเชื่อทำให้คุณมีเป้าหมายฝ่ายวิญญาณที่สูงส่งกว่านั้นมากนัก?
11 โมเซ “เลือกเอาการถูกเคี่ยวเข็ญร่วมกับประชาชนของพระเจ้าแทนที่จะเพลิดเพลินชั่วคราวกับการบาป” ในฐานะสมาชิกในเชื้อพระวงศ์ของอียิปต์ที่ได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี. (ความเชื่อทำให้เรามีชีวิตที่น่าพอใจ
12. ความเชื่อส่งผลเช่นไรต่อชีวิตของราฮาบ?
12 ความเชื่อไม่เพียงแต่ทำให้คนเรามีเป้าหมายที่สูงส่งกว่าเท่านั้น แต่ยังทำให้เรามีชีวิตที่น่าพอใจอีกด้วย. ราฮาบแห่งเมืองเยริโคคงต้องรู้สึกว่าการเป็นโสเภณีทำให้ชีวิตของเธอค่อนข้างไร้ความหมาย. แต่ชีวิตของเธอเปลี่ยนไปสักเพียงไรเมื่อเธอได้แสดงความเชื่อ! เธอ “ได้รับการประกาศว่าชอบธรรมด้วยการกระทำ [ที่แสดงความเชื่อ] . . . หลังจากที่เธอได้รับรองผู้ส่งข่าว [ชาวอิสราเอล] เหล่านั้นด้วยน้ำใจเอื้ออารี แล้วส่งพวกเขาออกไปอีกทางหนึ่ง” เพื่อจะหลบหนีศัตรูชาวคะนาอัน. (ยาโกโบ 2:24-26, ล.ม.) นอกจากจะยอมรับว่าพระยะโฮวาเป็นพระเจ้าองค์เที่ยงแท้แล้ว ราฮาบยังได้แสดงความเชื่อด้วยการเลิกชีวิตโสเภณี. (ยะโฮซูอะ 2:9-11; เฮ็บราย 11:30, 31) เธอสมรสกับผู้รับใช้ของพระยะโฮวา ไม่ใช่กับชาวคะนาอันที่ไม่มีความเชื่อ. (พระบัญญัติ 7:3, 4; 1 โกรินโธ 7:39) ราฮาบได้รับสิทธิพิเศษยิ่งใหญ่ในการได้เป็นบรรพสตรีของพระมาซีฮา. (1 โครนิกา 2:3-15; ประวัตินางรูธ 4:20-22; มัดธาย 1:5, 6) เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ซึ่งบางคนก็ได้เลิกแนวทางชีวิตที่ผิดศีลธรรม เธอยังจะได้รับบำเหน็จอีกอย่างหนึ่งด้วย นั่นคือ การกลับเป็นขึ้นจากตายสู่ชีวิตบนแผ่นดินโลกที่เป็นอุทยาน.
13. ดาวิดทำบาปอะไรที่เกี่ยวข้องกับนางบัธเซบะ แต่ท่านได้แสดงเจตคติเช่นไร?
13 หลังจากเลิกใช้ชีวิตผิดศีลธรรม ดูเหมือนว่าราฮาบได้ยึดมั่นกับแนวทางชีวิตที่มีศีลธรรมต่อ ๆ ไป. อย่างไรก็ตาม บางคนที่ได้อุทิศตัวแด่พระเจ้ามานานตกเข้าสู่การทำบาปร้ายแรง. กษัตริย์ดาวิดได้เล่นชู้กับนางบัธเซบะ, ให้สามีของนางถูกฆ่าในสนามรบ, แล้วเอานางมาเป็นภรรยา. (2 ซามูเอล ) เมื่อกลับใจและรู้สึกเสียใจอย่างยิ่ง ดาวิดทูลวิงวอนต่อพระยะโฮวาดังนี้: “ขออย่าทรงนำพระจิตต์ [“พระวิญญาณ,” ล.ม.] บริสุทธิ์ของพระองค์ไปจากข้าพเจ้า.” ดาวิดไม่ได้สูญเสียพระวิญญาณของพระเจ้า. ท่านมีความเชื่อว่าด้วยพระเมตตาของพระยะโฮวา พระองค์จะไม่ดูหมิ่น “ใจแตกและฟกช้ำ” เนื่องจากการทำบาป. ( 11:1-27บทเพลงสรรเสริญ 51:11, 17; 103:10-14) เพราะดาวิดและบัธเซบะมีความเชื่อ ทั้งสองจึงได้รับสิทธิพิเศษในการได้อยู่ในลำดับวงศ์ตระกูลที่สืบเชื้อสายไปถึงพระมาซีฮา.—1 โครนิกา 3:5; มัดธาย 1:6, 16; ลูกา 3:23, 31.
ความเชื่อได้รับการเสริมด้วยการรับรองจากพระเจ้า
14. การรับรองอะไรที่ฆิดโอนได้รับ และเรื่องนี้น่าจะมีผลเช่นไรต่อความเชื่อของเรา?
14 ถึงแม้เราดำเนินโดยความเชื่อ บางครั้งเราอาจต้องการการรับรองเรื่องการหนุนหลังจากพระเจ้า. นั่นคือสิ่งที่ได้เกิดขึ้นกับผู้วินิจฉัยฆิดโอน หนึ่งในคนเหล่านั้น “ซึ่งโดยความเชื่อจึงรบชนะอาณาจักรต่าง ๆ.” (เฮ็บราย 11:32, 33, ล.ม.) เมื่อชาวมีเดียและเหล่าพันธมิตรของพวกเขาได้รุกรานอิสราเอล พระวิญญาณของพระเจ้าสวมทับฆิดโอน. เนื่องจากปรารถนาจะได้รับการรับรองว่าพระยะโฮวาอยู่กับท่านจริง ฆิดโอนจึงเสนอให้มีการทดลองโดยวางขนแกะไว้ที่ลานนวดข้าวตลอดคืน. ในการทดลองครั้งแรก มีน้ำค้างเปียกเฉพาะที่ขนแกะ ในขณะที่พื้นดินโดยรอบแห้ง. สภาพการณ์กลับกันในการทดลองครั้งที่สอง. เมื่อได้รับการเสริมให้มั่นใจด้วยการรับรองเช่นนั้น ฆิดโอนผู้รอบคอบจึงลงมือปฏิบัติการด้วยความเชื่อและมีชัยเหนือเหล่าศัตรูของอิสราเอล. (วินิจฉัย 6:33-40; 7:19-25) ถ้าเราแสวงหาการรับรองเมื่อเผชิญการตัดสินใจ นั่นไม่ได้หมายความว่าเราขาดความเชื่อ. เราแสดงความเชื่ออย่างแท้จริงโดยการแสวงหาคำแนะนำจากคัมภีร์ไบเบิลและสรรพหนังสือคริสเตียน และโดยอธิษฐานขอการทรงนำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ก่อนทำการตัดสินใจ.—โรม 8:26, 27.
15. เราอาจได้รับประโยชน์อย่างไรจากการใคร่ครวญดูความเชื่อของบาราค?
15 ความเชื่อของผู้วินิจฉัยบาราคได้รับการเสริมให้เข้มแข็งขึ้นโดยการรับรองในรูปแบบของการหนุนกำลังใจ. ผู้พยากรณ์หญิงดะโบราเร้าใจท่านให้ลงมือช่วยชาวอิสราเอลพ้นจากการกดขี่ของกษัตริย์ยาบีนชาวคะนาอัน. โดยความเชื่อและได้รับการรับรองเรื่องการหนุนหลังจากพระเจ้า บาราคนำชาย 10,000 คนที่มีอาวุธยุทโธปกรณ์น้อยกว่าเข้าทำศึกกับกองกำลังที่เข้มแข็งมากกว่าหลายเท่าของยาบีนซึ่งมีซีซะราเป็นแม่ทัพ และได้ชัยชนะ. มีการฉลองชัยชนะในครั้งนั้นด้วยเพลงที่เร้าใจของดะโบราและบาราค. (วินิจฉัย 4:1–5:31) บาราคได้รับการสนับสนุนจากดะโบราให้ทำหน้าที่ผู้นำของชาติอิสราเอลที่พระเจ้าแต่งตั้ง และท่านเป็นหนึ่งในผู้รับใช้ของพระยะโฮวาซึ่งโดยความเชื่อ “ได้กระทำให้กองทัพประเทศอื่น ๆ แตกพ่ายแพ้หนีไป.” (เฮ็บราย 11:34) การใคร่ครวญดูว่าพระเจ้าได้อวยพรบาราคอย่างไรที่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยความเชื่อ อาจกระตุ้นเราให้ลงมือปฏิบัติเมื่อรู้สึกลังเลใจอยู่บ้างในการทำหน้าที่มอบหมายที่ท้าทายในการรับใช้พระยะโฮวา.
ความเชื่อส่งเสริมสันติสุข
16. อับราฮามได้วางตัวอย่างที่ดีอะไรในการแสวงหาสันติสุขกับโลต?
16 เช่นเดียวกับที่ความเชื่อช่วยเราให้ทำหน้าที่มอบหมายที่ยากในการรับใช้พระเจ้าให้สำเร็จ ความเชื่อก็ช่วยส่งเสริมสันติสุขและความสงบสุขเช่นกัน. อับราฮามผู้ชราให้โลตหลานชายที่อ่อนวัยกว่าของท่านเลือกผืนแผ่นดินสำหรับเลี้ยงสัตว์ที่ดีที่สุดเมื่อคนเลี้ยงสัตว์ของทั้งสองทะเลาะวิวาทกัน และจำเป็นต้องแยกจากกัน. (เยเนซิศ 13:7-12) อับราฮามคงต้องได้อธิษฐานด้วยความเชื่อเพื่อขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าในการแก้ปัญหานี้. แทนที่จะให้ผลประโยชน์ของตัวเองมาก่อน ท่านจัดการแก้ปัญหาอย่างสันติ. ถ้าเราพบว่าตัวเองขัดแย้งกับพี่น้องคริสเตียน ขอให้เราอธิษฐานด้วยความเชื่อและ “แสวงหาสันติสุข” โดยนึกถึงตัวอย่างของอับราฮามในเรื่องการคำนึงถึงผู้อื่นด้วยความรัก.—1 เปโตร 3:10-12.
17. ทำไมเราจึงกล่าวได้ว่าสิ่งที่ดูเหมือนเป็นความร้าวฉานที่เกิดขึ้นกับเปาโล, บาระนาบา, และมาระโกนั้น ได้รับการสมานด้วยสันติวิธี?
17 ขอให้พิจารณาว่าการนำหลักการคริสเตียนในเรื่องความเชื่อไปใช้จะช่วยเราส่งเสริมสันติสุขอย่างไร. เมื่อเปาโลกำลังจะเริ่มการเดินทางเผยแพร่ในต่างแดนรอบที่สอง บาระนาบาเห็นด้วยกับข้อเสนอที่ว่าพวกเขาจะแวะเยี่ยมประชาคมต่าง ๆ ในไซปรัสและเอเชียน้อยอีกครั้งหนึ่ง. อย่างไรก็ตาม บาระนาบาต้องการจะพามาระโกลูกพี่ลูกน้องของท่านไปด้วย. เปาโลไม่เห็นด้วยเนื่องจากมาระโกเคยทิ้งพวกเขาที่ปัมฟูเลีย. ผลคือ เกิด “การเถียงกันมาก” จนต้องแยกกัน. บาระนาบาพามาระโกไปที่ไซปรัส ในขณะที่เปาโลเลือกซีลาเป็นเพื่อนร่วมเดินทางและ “ไปตลอดมณฑลซุเรียกับมณฑลกิลิเกียเพื่อหนุนใจคริสตจักรให้แข็งแรงขึ้น.” (กิจการ 15:36-41) สิ่งที่ดูเหมือนเป็นความร้าวฉานกันนั้นได้รับการสมานในเวลาต่อมา เพราะมาระโกได้อยู่กับเปาโลที่โรม และท่านอัครสาวกก็กล่าวถึงเขาในทางที่ดี. (โกโลซาย 4:10; ฟิเลโมน 23, 24) เมื่อเปาโลถูกคุมขังที่โรมในราว ๆ ปี ส.ศ. 65 ท่านบอกกับติโมเธียวว่า “จงพามาระโกมาด้วย, เพราะเขาเป็นประโยชน์แก่ข้าพเจ้าในการปรนนิบัติ.” (2 ติโมเธียว 4:11) เปาโลคงได้นำเอาเรื่องความสัมพันธ์ของท่านกับบาระนาบาและมาระโกรวมอยู่ในคำอธิษฐานด้วยความเชื่อของท่าน และนี่ทำให้เกิดความสงบสุขที่เกี่ยวข้องกับ “สันติสุขแห่งพระเจ้า.”—ฟิลิปปอย 4:6, 7.
18. เป็นไปได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในกรณีของยุโอเดียและซุนตุเค?
18 แน่นอน เนื่องจากเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์ “เราทั้งหลายย่อมพลาดพลั้งกันหลาย ๆ สิ่ง.” (ยาโกโบ 3:2) เกิดปัญหาขึ้นระหว่างสตรีคริสเตียนสองคน ซึ่งเปาโลเขียนเกี่ยวกับพวกเขาดังนี้: “ข้าพเจ้าขอตักเตือนนางยุโอเดีย และข้าพเจ้าขอตักเตือนนางซุนตุเคให้มีจิตต์ใจปรองดองกันในองค์พระผู้เป็นเจ้า. . . . ให้ช่วยผู้หญิงเหล่านั้น, เพราะว่าเขาได้ทำการในกิตติคุณด้วยกันกับข้าพเจ้า.” (ฟิลิปปอย 4:1-3) เป็นไปได้มากว่าสตรีผู้เลื่อมใสในพระเจ้าสองคนนี้ได้แก้ปัญหาระหว่างกันด้วยสันติวิธีโดยใช้คำแนะนำเช่นที่บันทึกไว้ในมัดธาย 5:23, 24. การใช้คำแนะนำตามหลักพระคัมภีร์ด้วยความเชื่อย่อมจะส่งเสริมสันติสุขได้มากทีเดียวในทุกวันนี้.
ความเชื่อทำให้เราอดทน
19. สภาพการณ์ยุ่งยากอะไรที่ไม่ได้ทำให้ยิศฮาคและริบะคาสูญเสียความเชื่อ?
19 นอกจากนั้น โดยความเชื่อ เราสามารถอดทนต่อสภาพการณ์ที่ก่อความทุกข์อีกด้วย. เราอาจทุกข์ใจเนื่องจากสมาชิกในครอบครัวของเราที่รับบัพติสมาแล้วไม่เชื่อฟังพระเจ้าโดยไปสมรสกับคนที่ไม่มีความเชื่อ. (1 โกรินโธ 7:39) ยิศฮาคกับริบะคาเป็นทุกข์เนื่องจากเอซาว บุตรชายของตนไปสมรสกับเหล่าผู้หญิงที่ไม่เลื่อมใสในพระเจ้า. พวกภรรยาชาวฮิตไทต์ของเอซาว “ทำให้ชีวิต [พวกเขา] ขมขื่น” เสียจนริบะคากล่าวว่า “ฉันเบื่อชีวิตของฉันเหลือเกิน เพราะหญิงฮิตไทต์ ถ้ายาโคบแต่งงานกับหญิงฮิตไทต์ หญิงดินแดนนี้ ชีวิตฉันจะเป็นประโยชน์อะไรแก่ฉันเล่า.” (เยเนซิศ 26:34, 35; 27:46, ฉบับแปลใหม่) ถึงกระนั้น สภาพการณ์ยุ่งยากนี้ไม่ได้ทำให้ยิศฮาคและริบะคาสูญเสียความเชื่อ. ขอให้เรารักษาความเชื่อที่เข้มแข็งถ้าสภาพการณ์ที่ก่อความทุกข์ร้อนเป็นเรื่องยากที่จะรับมือ.
20. เรามีตัวอย่างอะไรเกี่ยวกับความเชื่อของนาอะมีและรูธ?
20 นาอะมี หญิงม่ายผู้ชราเป็นชาวยูดาห์และรู้ว่าหญิงจากตระกูลยูดาห์บางคนอาจให้กำเนิดบุตรที่จะเป็นบรรพบุรุษของพระมาซีฮา. อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบุตรชายทั้งสองของเธอเสียชีวิตไปโดยยังไม่มีบุตร และเธอก็เลยวัยที่จะให้กำเนิดบุตรแล้ว โอกาสที่ครอบครัวของเธออาจจะได้เป็นส่วนของเชื้อสายที่นำไปถึงพระมาซีฮานั้นจึงริบหรี่จริง ๆ. ถึงกระนั้น รูธ ลูกสะใภ้ของเธอที่เป็นม่ายได้มาเป็นภรรยาของชายสูงอายุที่ชื่อโบอัศและให้กำเนิดบุตรชาย และได้กลายเป็นบรรพสตรีของพระเยซู พระมาซีฮา! (เยเนซิศ 49:10, 33; ประวัตินางรูธ 1:3-5; 4:13-22; มัดธาย 1:1, 5) ความเชื่อของนาอะมีและรูธยืนหยัดอยู่ได้ภายใต้สภาพการณ์ที่ก่อความทุกข์และความเชื่อเช่นนั้นนำความยินดีมาสู่พวกเขา. เราจะประสบความยินดีอย่างใหญ่หลวงเช่นกันถ้าเรารักษาความเชื่อเมื่อเผชิญสภาพการณ์ที่ก่อความทุกข์.
21. ความเชื่อส่งผลเช่นไรต่อเรา และเราควรตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำอะไร?
21 แม้เราบอกไม่ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเราแต่ละคนในวันพรุ่งนี้ แต่โดยความเชื่อ เราสามารถรับมือกับสภาพการณ์ยุ่งยากใด ๆ ก็ตามได้อย่างประสบผลสำเร็จ. ความเชื่อทำให้เรากล้าหาญและอดทน. ความเชื่อทำให้เรามีเป้าหมายที่สูงส่งและมีชีวิตที่น่าพอใจ. ความเชื่อทำให้มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นและทำให้เรายืนหยัดต่อสภาพการณ์ที่ก่อความทุกข์. ดังนั้น ขอให้เราเป็น “คนชนิดที่มีความเชื่อที่จะรักษาจิตวิญญาณให้มีชีวิตอยู่.” (เฮ็บราย 10:39, ล.ม.) โดยอาศัยกำลังจากพระยะโฮวา พระเจ้าผู้ทรงเปี่ยมไปด้วยความรักของเรา ขอให้เราสำแดงความเชื่อที่มั่นคงเข้มแข็งต่อ ๆ ไปเพื่อถวายเกียรติแก่พระองค์.
คุณจะตอบอย่างไร?
• มีข้อพิสูจน์อะไรจากพระคัมภีร์ว่าความเชื่อทำให้เรากล้าหาญได้?
• ทำไมเราจึงกล่าวได้ว่าความเชื่อทำให้เรามีชีวิตที่น่าพอใจ?
• ความเชื่อส่งเสริมสันติสุขโดยวิธีใด?
• มีข้อพิสูจน์อะไรว่าความเชื่อช่วยเราให้สามารถอดทนต่อสภาพการณ์ที่ก่อความทุกข์?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 16]
ความเชื่อทำให้โนฮาและฮะโนคประกาศข่าวสารของพระยะโฮวาอย่างกล้าหาญ
[ภาพหน้า 17]
ความเชื่ออย่างเดียวกับของโมเซกระตุ้นเราให้ติดตามเป้าหมายฝ่ายวิญญาณ
[ภาพหน้า 18]
การรับรองในเรื่องการหนุนหลังจากพระเจ้าเสริมความเชื่อของบาราค, ดะโบรา, และฆิดโอน