‘จงมีความรักระหว่างพวกเจ้าเอง’
‘จงมีความรักระหว่างพวกเจ้าเอง’
“โดยเหตุนี้ คนทั้งปวงจะรู้ว่าเจ้าทั้งหลายเป็นสาวกของเรา ถ้าเจ้ามีความรักระหว่างพวกเจ้าเอง.”—โยฮัน 13:35, ล.ม.
1. ไม่นานก่อนการสิ้นพระชนม์ พระเยซูทรงเน้นถึงคุณลักษณะอะไร?
“ลูกเล็ก ๆ เอ๋ย.” (โยฮัน 13:33) พระเยซูกล่าวถ้อยคำอันอ่อนโยนเช่นนั้นกับเหล่าอัครสาวกในคืนก่อนการสิ้นพระชนม์ของพระองค์. ในพระธรรมกิตติคุณทั้งสี่ เราไม่พบเรื่องราวที่บันทึกว่าพระเยซูเคยใช้ถ้อยคำที่สะท้อนความเมตตาสงสารอย่างนั้นกับพวกเขามาก่อน. อย่างไรก็ตาม ในคืนพิเศษนั้น พระองค์ปรารถนาจะใช้ถ้อยคำที่แสดงความรักใคร่อันอ่อนละมุนดังกล่าวเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกรักที่พระองค์มีต่อเหล่าสาวกอย่างลึกซึ้ง. ที่จริง พระเยซูกล่าวถึงความรักราว 30 ครั้งในคืนนั้น. ทำไมพระองค์จึงเน้นคุณลักษณะนี้มากขนาดนั้น?
2. ทำไมการแสดงความรักจึงสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคริสเตียน?
2 พระเยซูอธิบายว่าทำไมความรักจึงสำคัญอย่างยิ่ง. พระองค์ตรัสว่า “โดยเหตุนี้ คนทั้งปวงจะรู้ว่าเจ้าทั้งหลายเป็นสาวกของเรา ถ้าเจ้ามีความรักระหว่างพวกเจ้าเอง.” (โยฮัน 13:35, ล.ม.; 15:12, 17) การเป็นสาวกของพระคริสต์เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการแสดงความรักฉันพี่น้อง. คริสเตียนแท้ไม่ได้ถูกระบุตัวด้วยลักษณะการแต่งกายในแบบเฉพาะหรือขนบธรรมเนียมบางอย่างที่ผิดแผกไปจากคนอื่น แต่ด้วยความรักอันอบอุ่นและอ่อนละมุนที่พวกเขาแสดงต่อกัน. การมีความรักอย่างโดดเด่นแบบนี้เป็นข้อเรียกร้องประการที่สองในข้อเรียกร้องสำคัญสามประการของการเป็นสาวกของพระคริสต์ตามที่กล่าวไปในตอนต้นของบทความก่อน. อะไรจะช่วยเราให้ทำตามข้อเรียกร้องประการที่สองนี้ได้ต่อ ๆ ไป?
“ทำเช่นนั้น . . . ให้มากยิ่งขึ้น”
3. อัครสาวกเปาโลให้คำเตือนอะไรในเรื่องความรัก?
3 เช่นเดียวกับที่เห็นได้ชัดท่ามกลางเหล่าสาวกของพระคริสต์ในศตวรรษแรก ความรักอันโดดเด่นนี้ในท่ามกลางเหล่าสาวกแท้ของพระคริสต์ในปัจจุบันก็เป็นที่สังเกตเห็นได้1 เธซะโลนิเก 3:12; 4:9, 10, ล.ม.) เราต้องเอาใจใส่คำเตือนของเปาโลเช่นเดียวกันและพยายามที่จะแสดงความรักต่อกัน “ให้มากยิ่งขึ้น.”
ชัดเช่นกัน. อัครสาวกเปาโลเขียนถึงคริสเตียนในศตวรรษแรกดังนี้: “ในเรื่องความรักฉันพี่น้อง พวกท่านไม่จำเป็นต้องให้เราเขียนถึงท่าน เพราะพวกท่านเองได้รับการสอนจากพระเจ้าให้รักกันและกัน; และแท้จริง พวกท่านกำลังทำเช่นนั้นแก่พี่น้องทั้งปวง.” ถึงกระนั้น เปาโลกล่าวต่อไปว่า “ให้ทำเช่นนั้นต่อไปให้มากยิ่งขึ้น.” (4. ตามที่เปาโลและพระเยซูกล่าว เราควรคำนึงถึงใครเป็นพิเศษ?
4 ในจดหมายที่ได้รับการเขียนโดยการดลใจฉบับเดียวกันนั้น เปาโลสนับสนุนเพื่อนร่วมความเชื่อให้ “พูดปลอบโยนจิตวิญญาณที่หดหู่ใจ” และ “เกื้อหนุนคนที่อ่อนแอ.” (1 เธซะโลนิเก 5:14, ล.ม.) ในอีกโอกาสหนึ่ง ท่านเตือนคริสเตียนว่าคน “ที่เข้มแข็ง . . . ควรจะทนรับความอ่อนแอต่าง ๆ ของคนที่ไม่เข้มแข็ง.” (โรม 15:1, ล.ม.) พระเยซูประทานคำแนะนำเกี่ยวกับการช่วยคนที่อ่อนแอเช่นกัน. หลังจากที่บอกล่วงหน้าว่าเปโตรจะทิ้งพระองค์ไปในคืนที่พระองค์ถูกจับกุมนั้น พระเยซูบอกเปโตรว่า “เมื่อท่านได้หันกลับแล้ว, จงชูกำลังพี่น้องทั้งหลายของท่าน.” เพราะเหตุใด? เพราะพวกเขาจะทิ้งพระเยซูไปเช่นกัน และจึงย่อมต้องการความช่วยเหลือ. (ลูกา 22:32; โยฮัน 21:15-17) ดังนั้น พระคำของพระเจ้าแนะนำเราให้แผ่ความรักไปยังผู้ที่อ่อนแอฝ่ายวิญญาณและอาจขาดการติดต่อกับประชาคมคริสเตียน. (เฮ็บราย 12:12) ทำไมเราควรทำเช่นนั้น? อุทาหรณ์สองเรื่องของพระเยซูที่ให้ภาพอย่างชัดเจนจะให้คำตอบ.
แกะที่หายไปและเหรียญที่หายไป
5, 6. (ก) พระเยซูเล่าอุทาหรณ์สั้น ๆ อะไรสองเรื่อง? (ข) อุทาหรณ์เหล่านี้เปิดเผยอะไรเกี่ยวกับพระยะโฮวา?
5 เพื่อจะสอนผู้ฟังของพระองค์เกี่ยวกับทัศนะของพระยะโฮวาต่อคนที่หลงหายไป พระเยซูทรงเล่าอุทาหรณ์สั้น ๆ สองเรื่อง. เรื่องแรกเกี่ยวกับผู้เลี้ยงแกะคนหนึ่ง. พระเยซูตรัสว่า “ในพวกท่านมีคนใดที่มีแกะร้อยตัว, และตัวหนึ่งหายไป, จะไม่ละเก้าสิบเก้าตัวนั้นไว้ในป่า, และไปเที่ยวหาตัวที่หายไปนั้นจนกว่าจะได้พบหรือ เมื่อพบแล้วเขาก็ยกขึ้นใส่บ่าแบกมาด้วยความยินดี. เมื่อมาถึงบ้านแล้วจึงเชิญพวกมิตรสหายและเพื่อนบ้านให้มาพร้อมกันพูดกับเขาว่า, ‘จงยินดีกับข้าพเจ้า, เพราะข้าพเจ้าได้พบแกะของข้าพเจ้าที่หายไปนั้น.’ เราบอกท่านทั้งหลายว่า, เช่นนั้นแหละ, จะมีความยินดีในสวรรค์เพราะคนบาปคนเดียวที่กลับใจเสียใหม่, มากกว่าคนชอบธรรมเก้าสิบเก้าคนที่ไม่ต้องการกลับใจเสียใหม่.”—ลูกา 15:4-7.
6 อุทาหรณ์เรื่องที่สองเกี่ยวกับหญิงคนหนึ่ง. พระเยซูตรัสว่า “หญิงคนใดที่มีเงินสิบบาท, และบาทหนึ่งหายไป, จะไม่จุดตะเกียงกวาดเรือนค้นหาให้ละเอียดจนกว่าจะได้พบหรือ เมื่อพบแล้วจึงเชิญเหล่ามิตรสหายและเพื่อนบ้านให้มาพร้อมกันพูดกับเขาว่า, ‘จงยินดีกับข้าพเจ้าเถิด, เพราะข้าพเจ้าได้พบเงินบาทที่หายไปนั้น.’ เช่นนั้นแหละ, เราบอกท่านทั้งหลายว่า, จะมีความยินดีในพวกทูตของพระเจ้าเพราะคนบาปคนเดียวที่กลับใจเสียใหม่.”—ลูกา 15:8-10.
7. อุทาหรณ์เรื่องแกะที่หายไปและเหรียญที่หายไปสอนบทเรียนสองประการอะไรแก่เรา?
7 อุทาหรณ์สั้น ๆ เหล่านี้สอนอะไรแก่เรา? อุทาหรณ์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า (1) เราควรรู้สึก เช่นไรต่อคนที่กลายเป็นคนอ่อนแอ และ (2) เราควรทำ อะไรเพื่อช่วยเหลือพวกเขา. ให้เราพิจารณาจุดเหล่านี้.
หายไปแต่ถือว่ามีค่ามาก
8. (ก) ผู้เลี้ยงแกะและหญิงนั้นแสดงปฏิกิริยาเช่นไรต่อสิ่งที่หายไป? (ข) ปฏิกิริยาของผู้เป็นเจ้าของบอกให้รู้ว่าพวกเขามีทัศนะเช่นไรต่อสิ่งที่หายไปนั้น?
8 ในอุทาหรณ์ทั้งสองเรื่องมีสิ่งที่หายไป แต่ขอสังเกตปฏิกิริยาของผู้เป็นเจ้าของ. ผู้เลี้ยงแกะไม่ได้บอกว่า ‘แกะตัวเดียวจะสำคัญอะไร ในเมื่อยังมีแกะอีก 99 ตัว? ฉันก็อยู่ได้โดยไม่ต้องมีแกะตัวนั้น.’ หญิงในอุทาหรณ์ไม่ได้กล่าวว่า ‘จะไปคิดอะไรมากกับแค่เหรียญเดียว? ฉันพอใจที่ยังมีอีกเก้าเหรียญ.’ แทนที่จะเป็นอย่างนั้น ผู้เลี้ยงแกะตามหาแกะที่หายไปราวกับว่าเขามีอยู่แค่ตัวเดียว. และความรู้สึกที่หญิงนั้นมีต่อเหรียญที่หายไปเหมือนกับเธอไม่มีเหรียญอื่นใดอีก. ในทั้งสองกรณี สิ่งที่หายไปยังคงมีค่ามากในความคิดของผู้เป็นเจ้าของ. นั่นแสดงถึงอะไร?
9. ความห่วงใยของผู้เลี้ยงแกะและหญิงนั้นเป็นภาพแสดงถึงอะไร?
9 สังเกตข้อสรุปของพระเยซูในทั้งสองกรณี: “เช่นนั้นยิระมะยา 31:3) คนเหล่านั้นอาจอ่อนแอฝ่ายวิญญาณ แต่ก็อาจจะไม่ใช่คนที่แข็งข้อขัดขืนเสมอไปทุกราย. แม้อยู่ในสภาพอ่อนแอ พวกเขาอาจยังคงรักษาข้อเรียกร้องบางอย่างของพระยะโฮวา. (บทเพลงสรรเสริญ 119:176; กิจการ 15:29) ดังนั้น เหมือนที่เป็นมาในอดีต พระยะโฮวาไม่รีบด่วนในการ “กำจัดเขาจากคลองพระเนตรของพระองค์.”—2 กษัตริย์ 13:23.
แหละ, จะมีความยินดีในสวรรค์เพราะคนบาปคนเดียวที่กลับใจเสียใหม่” และ “เช่นนั้นแหละ, เราบอกท่านทั้งหลายว่า, จะมีความยินดีในพวกทูตของพระเจ้าเพราะคนบาปคนเดียวที่กลับใจเสียใหม่.” ดังนั้น ความห่วงใยของผู้เลี้ยงแกะและหญิงนั้นจึงสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกของพระยะโฮวาและพวกทูตสวรรค์ในระดับหนึ่ง. เช่นเดียวกับที่สิ่งที่หายไปยังคงมีค่ามากในสายตาของผู้เลี้ยงแกะและหญิงนั้น ผู้ที่ลอยห่างไปและขาดการติดต่อกับประชาชนของพระเจ้าก็ยังคงมีค่ามากในสายพระเนตรของพระยะโฮวา. (10, 11. (ก) เราปรารถนาจะมองคนเหล่านั้นที่ลอยห่างไปจากประชาคมด้วยความรู้สึกเช่นไร? (ข) ตามอุทาหรณ์ทั้งสองของพระเยซู เราจะแสดงความห่วงใยต่อพวกเขาได้อย่างไร?
10 เหมือนกับพระยะโฮวาและพระเยซู เราห่วงใยอย่างยิ่งต่อคนที่อ่อนแอและขาดการติดต่อกับประชาคมคริสเตียนเช่นกัน. (ยะเอศเคล 34:16; ลูกา 19:10) เราถือว่าคนที่อ่อนแอฝ่ายวิญญาณเป็นเหมือนแกะที่หายไป ไม่ใช่ผู้ที่จะช่วยอะไรไม่ได้อีกแล้ว. เราไม่หาเหตุผลว่า ‘จะไปห่วงคนที่อ่อนแอเช่นนั้นทำไมกัน? ประชาคมก็ดำเนินต่อไปได้โดยไม่ต้องมีเขา.’ แทนที่จะเป็นอย่างนั้น เรามีทัศนะต่อคนที่ลอยห่างไปซึ่งต้องการกลับมานั้นเหมือนกับที่พระยะโฮวาทรงมองพวกเขา คือมองว่ามีค่ามาก.
11 แต่เราจะแสดงความรู้สึกห่วงใยต่อพวกเขาได้อย่างไร? อุทาหรณ์ทั้งสองเรื่องของพระเยซูแสดงว่าเราทำเช่นนั้นได้โดย (1) เป็นฝ่ายริเริ่ม (2) ปฏิบัติด้วยความอ่อนโยน และ (3) พยายามอย่างจริงจัง. ให้เราพิจารณาแง่มุมเหล่านี้ทีละอย่าง.
เป็นฝ่ายริเริ่ม
12. ถ้อยคำที่ว่า “ไปเที่ยวหาตัวที่หายไปนั้น” บอกอะไรเราเกี่ยวกับเจตคติของผู้เลี้ยงแกะ?
12 ในอุทาหรณ์เรื่องแรกนั้น พระเยซูเล่าว่าผู้เลี้ยงแกะจะ “ไปเที่ยวหาตัวที่หายไปนั้น.” ผู้เลี้ยงแกะเป็นฝ่ายริเริ่มและพยายามเสาะหาแกะตัวที่หายไปอย่างถี่ถ้วน. ความยากลำบาก, อันตราย, และระยะทางไม่อาจขัดขวางเขาไว้. ตรงกันข้าม ผู้เลี้ยงแกะเที่ยวหา “จนกว่าจะได้พบ.”—ลูกา 15:4.
13. เหล่าผู้ซื่อสัตย์ในสมัยโบราณตอบสนองอย่างไรต่อความจำเป็นของคนที่อ่อนแอ และเราจะเลียนแบบตัวอย่างเหล่านั้นในพระคัมภีร์โดยวิธีใด?
13 คล้ายกัน บ่อยครั้งการช่วยเหลือผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการหนุนใจต้องให้คนที่เข้มแข็งกว่าเป็นฝ่ายริเริ่ม. เหล่าผู้ซื่อสัตย์สมัยโบราณเข้าใจข้อนี้ดี. ยกตัวอย่าง เมื่อโยนาธาน ราชบุตรของกษัตริย์ซาอูล สังเกตว่าดาวิด สหายสนิทของท่าน ต้องการการหนุนใจ โยนาธาน “ได้ลุกขึ้นไปหาดาวิดที่โฮเรช และสนับสนุนมือของเธอให้เข้มแข็งขึ้นในพระเจ้า.” (1 ซามูเอล 23:15, 16, ฉบับแปลใหม่) หลายศตวรรษต่อมา เมื่อผู้สำเร็จราชการนะเฮมยาเห็นพี่น้องชาวยิวของท่านบางคนท้อแท้ใจ ท่านก็เช่นกัน “ยืนขึ้นทันที” และกล่าวหนุนใจพวกเขาให้ “นึกถึงพระยะโฮวา.” (นะเฮมยา 4:14, ล.ม.) พวกเราในทุกวันนี้ก็เช่นกัน ปรารถนาที่จะ “ลุกขึ้น”—เป็นฝ่ายริเริ่ม—เสริมกำลังคนที่อ่อนแอ. แต่ใครในประชาคมควรทำหน้าที่นี้?
14. ใครในประชาคมคริสเตียนควรให้ความช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอ?
ยะซายา 35:3, 4, ล.ม.; 1 เปโตร 5:1, 2) อย่างไรก็ตาม โปรดสังเกตว่าคำเตือนของเปาโลที่ให้ “พูดปลอบโยนจิตวิญญาณที่หดหู่ใจ เกื้อหนุนคนที่อ่อนแอ” ไม่ได้ให้ไว้กับผู้ปกครองเท่านั้น. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เปาโลเขียนถึง “ประชาคมชาวเธซะโลนิเก” โดยรวม. (1 เธซะโลนิเก 1:1; 5:14, ล.ม.) ดังนั้น การให้ความช่วยเหลือคนที่อ่อนแอจึงเป็นหน้าที่ของคริสเตียนทุกคน. เช่นเดียวกับผู้เลี้ยงแกะในอุทาหรณ์ คริสเตียนแต่ละคนควรปรารถนาที่จะ “ไปเที่ยวหาตัวที่หายไปนั้น.” แน่นอน จะทำอย่างนี้ได้อย่างบังเกิดผลมากที่สุดถ้าร่วมมือกับผู้ปกครอง. คุณจะทำอะไรบางอย่างเพื่อช่วยคนที่อ่อนแอในประชาคมของคุณได้ไหม?
14 คริสเตียนผู้ปกครองมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นพิเศษในการ “เสริมกำลังมือที่อ่อนแอ และทำหัวเข่าที่สั่นให้มั่นคง” และ “กล่าวแก่คนเหล่านั้นที่มีหัวใจกังวลดังนี้: ‘จงเข้มแข็ง. อย่ากลัวเลย.’” (ปฏิบัติด้วยความอ่อนโยน
15. อะไรอาจเป็นเหตุให้ผู้เลี้ยงแกะลงมือทำอย่างที่เขาทำ?
15 ผู้เลี้ยงแกะจะทำอะไรต่อหลังจากพบแกะที่หายไปนั้นแล้ว? “เขาก็ยกขึ้นใส่บ่าแบกมา.” (ลูกา 15:5) ช่างเป็นรายละเอียดที่จับใจและให้ภาพชัดทีเดียว! แกะอาจเตร็ดเตร่ไปในอาณาเขตที่มันไม่คุ้นเคยหลายวันหลายคืน และยังอาจตกอยู่ในอันตรายจากสิงโตที่ตามล่าเหยื่อ. (โยบ 38:39, 40) แน่นอน แกะอาจอ่อนกำลังเนื่องจากขาดอาหาร. มันไม่มีแรงพอจะฝ่าฟันอุปสรรคที่จะพบเจอระหว่างทางกลับคืนสู่ฝูงด้วยกำลังของมันเอง. ดังนั้น ผู้เลี้ยงแกะจะก้มลง, ยกแกะขึ้นด้วยความอ่อนโยน, และแบกมันฝ่าอุปสรรคนานาประการกลับคืนสู่ฝูง. เราจะแสดงความห่วงใยอย่างเดียวกับผู้เลี้ยงแกะนี้ได้อย่างไร?
16. เหตุใดเราควรสะท้อนความอ่อนโยนที่ผู้เลี้ยงแกะสำแดงต่อแกะที่หลงไปนั้น?
16 คนที่ได้ขาดการติดต่อกับประชาคมอาจอ่อนกำลังในแง่ฝ่ายวิญญาณ. เช่นเดียวกับแกะที่แยกตัวจากผู้เลี้ยง บุคคลดังกล่าวอาจเตร็ดเตร่ไปอย่างไร้จุดหมายในอาณาเขตที่อันตรายของโลกนี้. โดยปราศจากการปกป้องที่ได้รับจากการอยู่ในคอก ซึ่งก็ได้แก่ประชาคมคริสเตียน เขาจึงมีโอกาสมากขึ้นที่จะถูกโจมตีจากพญามาร ผู้ซึ่ง “เที่ยวเดินไปเหมือนสิงโตที่แผดเสียงร้อง เสาะหาคนหนึ่งคนใดที่มันจะขย้ำกลืนเสีย.” (1 เปโตร 5:8, ล.ม.) นอกจากนี้ เขาอ่อนกำลังเนื่องจากขาดอาหารฝ่ายวิญญาณ. ดังนั้น ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือ เขาคงไม่มีแรงพอจะฝ่าฟันอุปสรรคที่เขาจะประสบระหว่างทางกลับมายังประชาคม. เพราะฉะนั้น ในความหมายเป็นนัย เราต้องก้มลง, ยกผู้ที่อ่อนแอขึ้นอย่างอ่อนโยน, และแบกเขากลับมา. (ฆะลาเตีย 6:2) เราอาจทำเช่นนั้นได้โดยวิธีใด?
17. เราจะเลียนแบบอัครสาวกเปาโลได้อย่างไรเมื่อเราเยี่ยมคนที่อ่อนแอ?
17 อัครสาวกเปาโลกล่าวดังนี้: “มีใครบ้างเป็นคนอ่อนกำลังและข้าพเจ้าไม่อ่อนกำลังด้วย.” (2 โกรินโธ 11:29, ฉบับแปลใหม่; 1 โกรินโธ 9:22) เปาโลร่วมความรู้สึกกับผู้คน รวมทั้งคนอ่อนแอ. เราต้องการจะแสดงความร่วมรู้สึกคล้ายกันนั้นต่อคนที่อ่อนแอ. เมื่อเราเยี่ยมคริสเตียนที่อ่อนแอฝ่ายวิญญาณ เราควรให้ความมั่นใจแก่เขาว่าเขามีค่าใน สายพระเนตรของพระยะโฮวาและเป็นที่คิดถึงอย่างยิ่งของพี่น้องในประชาคม. (1 เธซะโลนิเก 2:17) ให้เขารู้ว่าเพื่อนพยานฯ ของเขาอยู่พร้อมจะให้การช่วยเหลือและเต็มใจจะเป็น “พี่น้องซึ่งเกิดมาเพื่อยามที่มีความทุกข์ยาก.” (สุภาษิต 17:17, ล.ม.; บทเพลงสรรเสริญ 34:18) คำพูดจากใจจริงของเราอาจช่วยให้เขามีกำลังขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจนถึงขั้นที่เขาสามารถกลับไปยังฝูง. เราควรทำอะไรต่อไป? อุทาหรณ์เรื่องหญิงที่เหรียญหายไปจะให้แนวทาง.
พยายามอย่างจริงจัง
18. (ก) ทำไมหญิงในอุทาหรณ์จึงไม่รู้สึกหมดหวัง? (ข) หญิงนั้นได้ใช้ความพยายามอย่างจริงจังอะไรบ้าง และผลเป็นประการใด?
18 หญิงที่เหรียญหายไปนั้นรู้ว่าแม้ยากที่จะหาเหรียญนั้นแต่ก็ยังไม่สิ้นหวัง. ถ้าเหรียญนั้นตกลงไปในพงไม้หนาทึบหรือตกลงไปในดินโคลนก้นทะเลสาบลึก เธอคงเลิกหาเพราะไม่มีทางจะหาพบได้. อย่างไรก็ตาม เมื่อรู้ว่าเหรียญนั้นต้องอยู่ที่ไหนสักแห่งในบ้านของเธอซึ่งจะสามารถหาพบได้ เธอจึงเริ่มลงมือค้นหาอย่างถี่ถ้วนและจริงจัง. (ลูกา 15:8) ก่อนอื่น เธอจุดตะเกียงเพื่อให้บ้านสว่าง. จากนั้น เธอกวาดเรือน หวังจะได้ยินเสียงจากเหรียญที่ไม้กวาดไปกระทบ. สุดท้าย เธอส่องไฟค้นหาทั่วทุกซอกทุกมุมจนกระทั่งเจอเหรียญเงินนั้น. ความพยายามอย่างจริงจังของเธอให้ผลตอบแทน!
19. การกระทำของหญิงในอุทาหรณ์เรื่องเหรียญที่หายไปให้บทเรียนอะไรแก่เราเกี่ยวกับการช่วยเหลือคนที่อ่อนแอ?
19 ดังที่รายละเอียดนี้ของอุทาหรณ์เตือนใจเรา พันธะหน้าที่ตามหลักพระคัมภีร์ในการช่วยเหลือคริสเตียนที่อ่อนแอนั้นไม่เกินความสามารถของเรา. ในขณะเดียวกัน เราก็ตระหนักว่าการช่วยเหลือคนเช่นนั้นต้องใช้ความพยายาม. อันที่จริง อัครสาวกเปาโลกล่าวแก่ผู้ปกครองชาวเอเฟโซสว่า “ด้วยการทำงานหนักเช่นนั้น ท่านต้องช่วยคนเหล่านั้นที่อ่อนกำลัง.” (กิจการ 20:35ก, ล.ม.) อย่าลืมว่าหญิงนั้นไม่ได้หาเหรียญพบด้วยการค้นหาอย่างสะเปะสะปะ ที่โน่นบ้างที่นี่บ้าง หรืออย่างไม่จริงจัง ทำ ๆ หยุด ๆ. เปล่าเลย เธอประสบความสำเร็จในการค้นหาเพราะเธอค้นหาอย่างเป็นระบบ “จนกว่าจะได้พบ.” ในทำนองเดียวกัน เมื่อเราพยายามฟื้นฟูสภาพฝ่ายวิญญาณของคนที่อ่อนแอ เราก็ต้องพยายามอย่างจริงจังและด้วยใจมุ่งมั่น. เราอาจทำอะไรได้?
20. เราอาจทำอะไรได้เพื่อช่วยคนที่อ่อนแอ?
20 เราจะช่วยคนที่อ่อนแอให้เสริมสร้างความเชื่อและความหยั่งรู้ค่าได้อย่างไร? อาจจำเป็นต้องศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับเขาเป็นส่วนตัวโดยใช้สรรพหนังสือคริสเตียนที่เหมาะสม. อันที่จริง การนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับคนที่อ่อนแออาจเปิดโอกาสให้เราได้ช่วยเขาอย่างต่อเนื่องและถี่ถ้วน. ผู้ดูแลการรับใช้คงบอกได้ดีที่สุดว่าใครเหมาะที่จะให้การช่วยเหลือนี้. เขาอาจแนะหัวเรื่องและหนังสือที่จะใช้ศึกษาซึ่งน่าจะเกิดผลดีที่สุด. เช่นเดียวกับหญิงในอุทาหรณ์ใช้เครื่องมือหลายอย่างที่เป็นประโยชน์เพื่อทำงานที่ยากของเธอให้สำเร็จ ในทุกวันนี้ เราก็มีเครื่องมือหลายอย่าง *
เช่นกันที่ช่วยเราทำหน้าที่รับผิดชอบที่พระเจ้าประทานให้อย่างบรรลุผลสำเร็จในการช่วยคนที่อ่อนแอ. เครื่องมือใหม่สองชิ้นหรือหนังสือสองเล่มที่ออกใหม่ของเราจะเป็นประโยชน์เป็นพิเศษในงานที่ต้องใช้ความเพียรพยายามนี้. นั่นคือหนังสือจงนมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว และ จงเข้าใกล้พระยะโฮวา.21. การช่วยเหลือคนที่อ่อนแอนำผลที่น่ายินดีมาสู่ทุกฝ่ายอย่างไรบ้าง?
21 การช่วยคนที่อ่อนแอนำผลที่น่ายินดีมาสู่ทุกฝ่าย. คนที่ได้รับการช่วยเหลือมีความสุขที่ได้กลับมาอยู่กับเพื่อนแท้อีกครั้งหนึ่ง. เราประสบความยินดีอย่างล้ำลึก ซึ่งมีแต่การให้เท่านั้นที่ทำให้เกิดความรู้สึกแบบนี้ได้. (ลูกา 15:6, 9; กิจการ 20:35ข) บรรยากาศทั่วไปในประชาคมจะอบอุ่นยิ่งขึ้นเมื่อสมาชิกแต่ละคนให้ความสนใจคนอื่น ๆ ด้วยความรัก. ที่สำคัญที่สุด นั่นนำพระเกียรติมาสู่พระยะโฮวาและพระเยซู ผู้เลี้ยงแกะของเราองค์เปี่ยมด้วยความห่วงใย เนื่องจากความปรารถนาของพระองค์ในการเกื้อหนุนคนที่อ่อนแอนั้นสะท้อนออกมาผ่านทางผู้รับใช้ของพระองค์ทางแผ่นดินโลก. (บทเพลงสรรเสริญ 72:12-14; มัดธาย 11:28-30; 1 โกรินโธ 11:1; เอเฟโซ 5:1) ด้วยเหตุนั้น เราจึงมีเหตุผลทุกประการที่จะ ‘มีความรักระหว่างพวกเราเอง’ ต่อ ๆ ไป!
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 20 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
คุณอธิบายได้ไหม?
• ทำไมการแสดงความรักจึงสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเราทุกคน?
• ทำไมเราจึงควรแผ่ความรักไปยังคนที่อ่อนแอ?
• อุทาหรณ์เรื่องแกะที่หายไปและเรื่องเหรียญที่หายไปสอนบทเรียนอะไรแก่เรา?
• เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยคนที่อ่อนแอ?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 16, 17]
ในการช่วยคนที่อ่อนแอ เราเป็นฝ่ายริเริ่ม, ปฏิบัติด้วยความอ่อนโยน, และพยายามอย่างจริงจัง
[ภาพหน้า 16, 17]
การช่วยเหลือคนที่อ่อนแอนำผลที่น่ายินดีมาสู่ทุกฝ่าย