‘จงเกิดผลมากอยู่เสมอ’
‘จงเกิดผลมากอยู่เสมอ’
“[จง] เกิดผลมากอยู่เสมอ และพิสูจน์ตัวว่าเป็นสาวกของเรา.”—โยฮัน 15:8, ล.ม.
1. (ก) พระเยซูทรงบอกพวกอัครสาวกถึงข้อเรียกร้องอะไรสำหรับการเป็นสาวกของพระองค์? (ข) เราน่าจะถามตัวเองเช่นไร?
ในคืนก่อนการวายพระชนม์ของพระเยซู. พระองค์ได้ใช้เวลามากมายเพื่อหนุนใจพวกอัครสาวกด้วยการตรัสกับพวกเขาอย่างเปิดใจ. บัดนี้คงเลยเที่ยงคืนมาแล้ว แต่เนื่องด้วยความรักที่มีต่อสหายสนิท พระเยซูยังคงสนทนากับพวกเขาต่อไป. ต่อมา ระหว่างการสนทนานั้น พระองค์ทรงเตือนพวกเขาให้ทราบถึงข้อเรียกร้องอีกประการหนึ่งที่พวกเขาต้องบรรลุเพื่อจะเป็นสาวกของพระองค์ต่อ ๆ ไป. พระองค์ตรัสว่า “พระบิดาของเราได้รับเกียรติด้วยสิ่งนี้ คือที่เจ้าทั้งหลายเกิดผลมากอยู่เสมอ และพิสูจน์ตัวว่าเป็นสาวกของเรา.” (โยฮัน 15:8, ล.ม.) พวกเราในปัจจุบันบรรลุข้อเรียกร้องในการเป็นสาวกข้อนี้ไหม? การ “เกิดผลมาก” หมายความเช่นไร? เพื่อจะได้คำตอบ ขอให้เราพิจารณาการสนทนาในค่ำคืนวันนั้น.
2. พระเยซูทรงยกอุทาหรณ์อะไรเกี่ยวกับผลในคืนก่อนการวายพระชนม์ของพระองค์?
2 คำแนะนำที่ให้เกิดผลเป็นส่วนหนึ่งของอุทาหรณ์ที่พระเยซูกล่าวแก่พวกอัครสาวก. พระองค์ตรัสว่า “เราเป็นเถาองุ่นแท้ และพระบิดาของเราเป็นผู้ดูแลรักษา. ทุกแขนงในเราที่ไม่เกิดผล พระองค์ก็ทรงตัดทิ้งเสีย และทุกแขนงที่เกิดผล พระองค์ทรงลิดให้สะอาด เพื่อจะให้เกิดผลมากขึ้น. เจ้าทั้งหลายสะอาดแล้วเนื่องด้วยถ้อยคำที่เราได้กล่าวแก่เจ้า. จงร่วมสามัคคีกับเราต่อไป และเราจะร่วมสามัคคีกันกับโยฮัน 15:1-10, ล.ม.
เจ้าทั้งหลาย. แขนงจะเกิดผลเองไม่ได้เว้นแต่จะติดสนิทอยู่กับเถาต่อไปฉันใด เจ้าทั้งหลายก็จะเกิดผลไม่ได้เว้นแต่เจ้าจะร่วมสามัคคีกับเราต่อไปฉันนั้น. เราเป็นเถาองุ่น เจ้าทั้งหลายเป็นแขนง. . . . พระบิดาของเราได้รับเกียรติด้วยสิ่งนี้ คือที่เจ้าทั้งหลายเกิดผลมากอยู่เสมอ และพิสูจน์ตัวว่าเป็นสาวกของเรา. พระบิดาได้ทรงรักเราและเรารักเจ้าทั้งหลายฉันใด จงตั้งมั่นอยู่ในความรักของเราต่อไปฉันนั้น. ถ้าเจ้าทั้งหลายปฏิบัติตามบัญญัติของเรา เจ้าก็จะตั้งมั่นอยู่ในความรักของเรา.”—3. เหล่าสาวกของพระเยซูต้องทำอะไรเพื่อพวกเขาจะเกิดผล?
3 ในอุทาหรณ์เปรียบเทียบนี้ พระยะโฮวาทรงเป็นผู้ดูแลรักษา, พระเยซูเป็นเถาองุ่น, และเหล่าอัครสาวกที่พระเยซูกำลังตรัสด้วยนั้นเป็นแขนง. ตราบใดที่พวกอัครสาวกพยายาม “ร่วมสามัคคี” กับพระเยซู พวกเขาจะเกิดผล. จากนั้น พระเยซูทรงอธิบายวิธีที่พวกอัครสาวกสามารถรักษาการร่วมสามัคคีที่สำคัญยิ่งนี้ไว้ได้ โดยกล่าวว่า “ถ้าเจ้าทั้งหลายปฏิบัติตามบัญญัติของเรา เจ้าก็จะตั้งมั่นอยู่ในความรักของเรา.” หลายปีต่อมา อัครสาวกโยฮันได้เขียนถ้อยคำที่คล้าย ๆ กันนี้ไปถึงเพื่อนคริสเตียนที่ว่า “ผู้ที่ปฏิบัติตามพระบัญชา [ของพระคริสต์] ก็ร่วมสามัคคีกับพระองค์.” * (1 โยฮัน 2:24; 3:24, ล.ม.) ดังนั้น ถ้าเหล่าสาวกของพระคริสต์รักษาพระบัญญัติของพระองค์ พวกเขาก็ร่วมสามัคคีกับพระองค์ และการร่วมสามัคคีนั้นก็จะทำให้พวกเขาเกิดผล. เราต้องเกิดผลแบบใด?
โอกาสที่จะเกิดผลมากขึ้น
4. เราสามารถเรียนอะไรจากข้อเท็จจริงที่ว่า แขนงใดที่ไม่เกิดผล พระยะโฮวาทรง “ตัดทิ้งเสีย”?
4 ในอุทาหรณ์เรื่องเถาองุ่นนั้น แขนงใดที่ไม่เกิดผล พระยะโฮวาทรง “ตัดทิ้งเสีย.” ข้อเท็จจริงนี้บอกอะไรแก่เรา? ข้อนี้ไม่ใช่แค่บอกเราว่าสาวกทุกคนต้องเกิดผล แต่ยังบอกด้วยว่าทุกคนสามารถเกิดผลได้ ไม่ว่าสภาพการณ์หรือข้อจำกัดของพวกเขาเป็นเช่นไร. ที่จริงแล้ว คงจะเป็นการขัดกับแนวทางแห่งความรักของพระยะโฮวาถ้าพระองค์จะ “ตัดทิ้งเสีย” หรือเพิกถอนเขาจากการเป็นสาวกของพระคริสต์เนื่องจากเขาไม่สามารถทำในสิ่งที่เกินความสามารถของเขา.—บทเพลงสรรเสริญ 103:14; โกโลซาย 3:23; 1 โยฮัน 5:3.
5. (ก) อุทาหรณ์ของพระเยซูบ่งชี้อย่างไรว่าเราสามารถทำความก้าวหน้าในการเกิดผลได้? (ข) เราจะพิจารณาผลสองชนิดอะไร?
5 อุทาหรณ์ของพระเยซูเรื่องเถาองุ่นยังแสดงด้วยว่าแม้สภาพการณ์ของเราจะทำให้มีข้อจำกัดอยู่บ้าง แต่เราต้องมองหาโอกาสที่จะทำความก้าวหน้าในกิจกรรมต่าง ๆ ของการเป็นสาวก. ขอให้สังเกตว่าพระเยซูกล่าวอย่างไรในเรื่องนี้: “ทุกแขนงในเราที่ไม่เกิดผล พระองค์ก็ทรงตัดทิ้งเสีย และทุกแขนงที่เกิดผล พระองค์ทรงลิดให้สะอาด เพื่อจะให้เกิดผลมากขึ้น.” (โยฮัน 15:2, ล.ม.) เมื่อใกล้จะจบอุทาหรณ์เรื่องนี้ พระเยซูทรงกระตุ้นเหล่าสาวกของพระองค์ให้เกิด “ผลมาก.” (ยน. 15ข้อ 8) นั่นบ่งชี้ถึงอะไร? ในฐานะสาวก เราไม่ควรกลายเป็นคนที่พอใจกับตัวเอง. (วิวรณ์ 3:14, 15, 19) แทนที่จะเป็นอย่างนั้น เราควรหาช่องทางที่จะทำความก้าวหน้าในการเกิดผล. เราควรพยายามจะเกิดผลชนิดใดให้เต็มที่ยิ่งขึ้น? มีอยู่สองชนิดคือ (1) “ผลแห่งพระวิญญาณ” และ (2) ผลแห่งราชอาณาจักร.—ฆะลาเตีย 5:22, 23, ล.ม.; มัดธาย 24:14.
ผลแห่งคุณลักษณะแบบคริสเตียน
6. พระเยซูคริสต์ทรงเน้นถึงความสำคัญของผลแห่งพระวิญญาณประการแรกนั้นอย่างไร?
6 “ผลแห่งพระวิญญาณ” ประการแรกคือความรัก. พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าก่อผลเป็นความรักในท่ามกลางคริสเตียน เนื่องจากพวกเขาเชื่อฟังบัญญัติที่พระเยซูทรงให้ไว้ไม่นานก่อนกล่าวอุทาหรณ์เรื่องเถาองุ่นที่เกิดผล. พระองค์บอกพวกอัครสาวกดังนี้: “เราให้บัญญัติใหม่ไว้แก่เจ้าทั้งหลาย, คือให้เจ้ารักซึ่งกันและกัน.” (โยฮัน 13:34) อันที่จริง ตลอดการสนทนาในคืนสุดท้ายของชีวิตพระองค์บนแผ่นดินโลก พระเยซูทรงกล่าวเตือนพวกอัครสาวกหลายต่อหลายครั้งถึงความจำเป็นที่พวกเขาจะแสดงคุณลักษณะแห่งความรักนี้.—โยฮัน 14:15, 21, 23, 24; 15:12, 13, 17.
7. อัครสาวกเปโตรแสดงอย่างไรว่าการเกิดผลเกี่ยวข้องกับการสำแดงคุณลักษณะแบบพระคริสต์?
7 เปโตร ซึ่งอยู่ที่นั่นในคืนนั้น ได้เข้าใจว่าความรักแบบพระคริสต์และคุณลักษณะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยต้องปรากฏชัดในท่ามกลางเหล่าสาวกแท้ของพระคริสต์. หลาย2 เปโตร 1:5-8, ล.ม.) ไม่ว่าสภาพการณ์ของเราเป็นเช่นไร เราทุกคนสามารถสำแดงผลแห่งพระวิญญาณได้. ดังนั้น ให้เราพยายามแสดงความรัก, ความกรุณา, ความอ่อนโยน, และคุณลักษณะอื่น ๆ แบบเดียวกับที่พระคริสต์ทรงสำแดงอย่างเต็มที่ยิ่งขึ้น เนื่องด้วย “การเช่นนั้นไม่มีพระบัญญัติห้าม” หรือข้อจำกัดเลย. (ฆะลาเตีย 5:23) ใช่แล้ว ให้เราเกิด “ผลมากขึ้น.”
ปีต่อมา เปโตรได้กระตุ้นคริสเตียนให้พัฒนาคุณลักษณะต่าง ๆ อย่างเช่น การรู้จักบังคับตน, ความรักใคร่ฉันพี่น้อง, และความรัก. ท่านกล่าวเสริมว่าการทำเช่นนั้นจะป้องกันเราไว้ “จากการอยู่เฉย ๆ หรือไม่เกิดผล.” (การเกิดผลแห่งราชอาณาจักร
8. (ก) มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรระหว่างผลแห่งพระวิญญาณกับผลแห่งราชอาณาจักร? (ข) มีคำถามอะไรที่สมควรได้รับการพิจารณา?
8 ผลไม้ฉ่ำสีสวยสดเพิ่มความสวยงามให้แก่ต้นไม้. อย่างไรก็ตาม คุณค่าของผลไม้เหล่านั้นไม่ใช่เพื่อประดับต้นไม้เท่านั้น. ผลไม้ยังเป็นส่วนสำคัญในการแพร่ขยายพันธุ์ต้นไม้โดยใช้เมล็ดของมัน. ในทำนองเดียวกัน ผลแห่งพระวิญญาณมีค่าไม่เพียงแค่ประดับบุคลิกภาพแบบคริสเตียนในตัวเรา. คุณลักษณะต่าง ๆ เช่น ความรักและความเชื่อยังกระตุ้นเราให้แพร่กระจายเมล็ดแห่งข่าวสารราชอาณาจักรที่พบในพระคำของพระเจ้าออกไป. โปรดสังเกตว่าอัครสาวกเปาโลเน้นอย่างไรถึงความเกี่ยวข้องกันที่สำคัญยิ่งนี้. ท่านกล่าวว่า “เราก็เชื่อ [ผลประการหนึ่งของพระวิญญาณ] เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราจึงพูด.” (2 โกรินโธ 4:13, ฉบับแปลใหม่) เปาโลอธิบายเพิ่มเติมว่า โดยวิธีนี้ เรา “ถวายคำสรรเสริญพระเจ้าเป็นเครื่องบูชาเสมอโดยพระองค์นั้น, คือผลแห่งริมฝีปาก”—ผลชนิดที่สองที่เราต้องสำแดง. (เฮ็บราย 13:15) มีทางเป็นไปได้ไหมในชีวิตของเราที่จะเกิดผลมากขึ้น หรือจริง ๆ แล้วคือที่จะเกิด “ผลมาก” ในฐานะผู้ประกาศราชอาณาจักรของพระเจ้า?
9. การเกิดผลมีความหมายอย่างเดียวกันกับการทำให้คนเป็นสาวกไหม? จงอธิบาย.
9 เพื่อจะตอบคำถามดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง เราต้องเข้าใจก่อนว่าผลแห่งราชอาณาจักรรวมไปถึงอะไรบ้าง. จะเป็นการถูกต้องไหมที่จะลงความเห็นว่าการเกิดผลหมายถึงการทำให้คนเป็นสาวก? (มัดธาย 28:19) ผลที่เราก่อให้เกิดขึ้นนั้นประการสำคัญหมายถึงคนที่เราได้ช่วยเข้ามาเป็นผู้นมัสการพระยะโฮวาที่รับบัพติสมาแล้วไหม? ไม่เลย. เพราะถ้าเป็นอย่างนั้น ก็คงจะทำให้เหล่าพยานฯ ผู้เป็นที่รักยิ่งของเราซึ่งได้ประกาศข่าวสารราชอาณาจักรอย่างซื่อสัตย์เป็นเวลาหลายปีในเขตประกาศที่มีการตอบรับน้อยนั้นท้อใจอย่างมาก. อันที่จริง ถ้าผลแห่งราชอาณาจักรที่เราก่อให้เกิดนั้นหมายถึงแค่เพียงสาวกใหม่ พยานฯ ที่ทำงานหนักเหล่านั้นก็คงเป็นเหมือนแขนงที่ไม่เกิดผลในอุทาหรณ์ของพระเยซู! แน่ล่ะ นั่นไม่เป็นความจริง. ถ้าอย่างนั้น ผลแห่งราชอาณาจักรในงานรับใช้ของเราจะหมายถึงอะไรเป็นประการสำคัญ?
เกิดผลโดยการแพร่กระจายเมล็ดแห่งราชอาณาจักร
10. อุทาหรณ์ของพระเยซูเรื่องผู้หว่านพืชและดินชนิดต่าง ๆ แสดงอย่างไรว่าผลแห่งราชอาณาจักรหมายถึงอะไรและไม่หมายถึงอะไร?
10 อุทาหรณ์ของพระเยซูเรื่องผู้หว่านพืชและดินชนิดต่าง ๆ จะให้คำตอบ ซึ่งเป็นคำตอบที่ให้การหนุนใจแก่คนลูกา 8:8) ผลที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไร? เมื่อต้นข้าวงอกขึ้นและเจริญเต็มที่แล้ว ต้นข้าวนั้นเกิดผล ไม่ใช่เป็นข้าวต้นใหม่ แต่เป็นเมล็ดข้าว. คล้ายกัน ผลที่คริสเตียนก่อขึ้น ใช่ว่าจะต้องเป็นสาวกใหม่ หากแต่เป็นเมล็ดแห่งราชอาณาจักรเมล็ดใหม่.
เหล่านั้นที่ให้คำพยานในเขตประกาศที่มีการตอบรับน้อย. พระเยซูตรัสว่าเมล็ดที่หว่านนั้นได้แก่ข่าวสารราชอาณาจักรที่พบในพระคำของพระเจ้าและดินหมายถึงหัวใจโดยนัยของมนุษย์. บางเมล็ด “ตกที่ดินดี, จึงงอกขึ้นเกิดผล.” (11. อาจกล่าวได้ว่าผลแห่งราชอาณาจักรคืออะไร?
11 ดังนั้น ในกรณีนี้ ผลจึงไม่ได้หมายถึงทั้งสาวกใหม่หรือคุณลักษณะที่ดีแบบคริสเตียน. เนื่องจากเมล็ดที่หว่านคือถ้อยคำเรื่องราชอาณาจักร ผลก็ต้องเกี่ยวข้องกับการเพิ่มทวีปริมาณของเมล็ดนั้น. การเกิดผลในที่นี้จึงเกี่ยวข้องกับการทำให้ผู้คนรู้ข่าวสารราชอาณาจักร. (มัดธาย 24:14) เป็นไปได้ไหมที่เราจะเกิดผลแห่งราชอาณาจักรดังกล่าว ซึ่งก็คือการประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักร ไม่ว่าสภาพการณ์ของเราจะเป็นเช่นไร? ใช่แล้ว เป็นไปได้! ในอุทาหรณ์เรื่องเดียวกันนี้ พระเยซูทรงอธิบายว่าทำไมจึงเป็นไปได้.
การถวายสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อถวายเกียรติแด่พระเจ้า
12. คริสเตียนทุกคนจะเกิดผลแห่งราชอาณาจักรได้ไหม? จงอธิบาย.
12 พระเยซูตรัสว่า “พืชซึ่งหว่านตกที่ดินดีนั้น . . . เกิดผลร้อยเท่าบ้าง, หกสิบเท่าบ้าง, สามสิบเท่าบ้าง.” (มัดธาย 13:23) เมล็ดพันธุ์ที่หว่านลงในนาอาจเกิดผลที่ต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม. คล้ายกัน สิ่งที่เราทำได้ในการประกาศข่าวดีอาจต่างกันขึ้นกับสภาพการณ์ของเรา และพระเยซูก็ทรงแสดงว่าพระองค์ยอมรับในเรื่องนี้. บางคนอาจมีโอกาส มากกว่า ส่วนคนอื่นอาจมีกำลังวังชาและสุขภาพที่แข็งแรงกว่า. ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่เราสามารถทำได้อาจมากหรือน้อยกว่าคนอื่น แต่ตราบใดที่นั่นเป็นสิ่งที่เราทำอย่างดีที่สุด พระยะโฮวาทรงพอพระทัย. (ฆะลาเตีย 6:4) แม้เราจะเข้าร่วมในงานประกาศได้อย่างจำกัดเนื่องจากอายุที่มากขึ้นหรือความเจ็บป่วยที่ทำให้อ่อนกำลัง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพระยะโฮวา พระบิดาผู้ทรงเปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา จะถือว่าเราเป็นผู้ที่ “เกิดผลมากอยู่เสมอ.” เพราะเหตุใด? เพราะเราเอา ‘ทั้งหมดที่เรามี’ มาถวายแด่พระองค์ นั่นคือการรับใช้อย่างสิ้นสุดจิตวิญญาณของเรา. *—มาระโก 12:43, 44, ล.ม.; ลูกา 10:27.
13. (ก) อะไรคือเหตุผลสำคัญที่สุดที่เราจะเกิดผลแห่งราชอาณาจักร “ต่อไป”? (ข) อะไรจะช่วยเราให้เกิดผลต่อไปในเขตประกาศที่มีการตอบรับไม่มาก? (ดูกรอบหน้า 21.)
13 ไม่ว่าเราสามารถเกิดผลแห่งราชอาณาจักรได้แค่ไหนก็ตาม เราจะได้รับการกระตุ้นให้ “เกิดผลต่อไป” เมื่อระลึกอยู่เสมอถึงเหตุผลที่เราทำงานนั้น. (โยฮัน 15:16, ล.ม.) พระเยซูกล่าวถึงเหตุผลสำคัญที่สุด ดังนี้: “พระบิดาของเราได้รับเกียรติด้วยสิ่งนี้ คือที่เจ้าทั้งหลายเกิดผลมากอยู่เสมอ.” (โยฮัน 15:8, ล.ม.) ถูกแล้ว กิจกรรมการประกาศของเราเป็นการทำให้พระนามของพระยะโฮวาเป็นที่นับถืออันบริสุทธิ์ในท่ามกลางมนุษยชาติทั้งสิ้น. (บทเพลงสรรเสริญ 109:30) ออนเนอร์ พยานฯ ที่ซื่อสัตย์คนหนึ่งซึ่งมีอายุราว 75 ปี กล่าวว่า “แม้แต่ในเขตที่มีการตอบรับไม่มาก แต่ก็ยังเป็นสิทธิพิเศษที่ได้เป็นตัวแทนขององค์สูงสุด.” เมื่อเคลาดิโอ ซึ่งเป็นพยานฯ ที่มีใจแรงกล้ามาตั้งแต่ปี 1974 ถูกถามว่าทำไมเขายังคงประกาศอยู่ต่อไป แม้มีไม่กี่คนตอบรับในเขตประกาศของเขา เขายกโยฮัน 4:34 ขึ้นมาซึ่งเป็นคำตรัสของพระเยซูที่ว่า “อาหารของเราคือที่จะกระทำตามพระทัยของพระองค์ผู้ทรงใช้เรามา, และให้การของพระองค์สำเร็จ.” เคลาดิโอกล่าวต่อไปว่า “เช่นเดียวกับพระเยซู ผมไม่ต้องการแค่ได้เริ่มต้นงานของผมในฐานะผู้ประกาศราชอาณาจักร แต่ต้องการทำให้สำเร็จด้วย.” (โยฮัน 17:4) พยานพระยะโฮวาตลอดทั่วโลกต่างเห็นพ้องกับเขา.—ดูกรอบ “วิธีที่จะ ‘เกิดผลด้วยความเพียร’” หน้า 21.
ทั้งประกาศและสอน
14. (ก) งานรับใช้ที่โยฮันผู้ให้รับบัพติสมาและพระเยซูทำมีวัตถุประสงค์สองประการอะไรที่สำคัญ? (ข) คุณจะกล่าวเช่นไรเกี่ยวกับงานรับใช้ที่คริสเตียนทำในทุกวันนี้?
14 ผู้ประกาศราชอาณาจักรคนแรกที่มีการกล่าวถึงในพระธรรมกิตติคุณคือโยฮันผู้ให้รับบัพติสมา. (มัดธาย 3:1, 2; ลูกา 3:18) ท่านมีวัตถุประสงค์หลักที่จะ “ให้คำพยาน” และท่านทำเช่นนั้นด้วยความเชื่อที่มาจากหัวใจและด้วยความหวังที่ว่า “ผู้คนทุกชนิดจะได้เชื่อ.” (โยฮัน 1:6, 7, ล.ม.) อันที่จริง บางคนที่โยฮันได้ประกาศให้ฟังนั้นเข้ามาเป็นสาวกของพระคริสต์. (โยฮัน 1:35-37) ดังนั้น โยฮันจึงเป็นทั้งผู้ประกาศและผู้ที่ทำให้คนเป็นสาวก. พระเยซูก็เช่นกัน เป็นทั้งผู้ประกาศและผู้สอน. (มัดธาย 4:23; 11:1) จึงไม่แปลกที่พระเยซูทรงบัญชาเหล่าสาวกไม่เพียงแค่ให้ประกาศข่าวสารราชอาณาจักรเท่านั้น แต่ให้ช่วยผู้คนที่รับเอาข่าวสารนั้นเข้ามาเป็นสาวกของพระองค์ด้วย. (มัดธาย 28:19, 20) งานของเราในทุกวันนี้จึงรวมทั้งการประกาศและการสอน.
15. การตอบรับของผู้คนต่องานประกาศที่ทำในศตวรรษแรกและในทุกวันนี้มีความคล้ายคลึงกันอย่างไร?
15 เกี่ยวกับคนเหล่านั้นที่ได้ยินเปาโลประกาศและสอนในสมัยศตวรรษแรก “บางคนก็เชื่อสิ่งที่ท่านกล่าว; บางคนก็ไม่เชื่อ.” (กิจการ 28:24, ล.ม.) ในทุกวันนี้ ปฏิกิริยาของผู้คนก็เป็นเช่นเดียวกันนั้น. น่าเสียดาย เมล็ดแห่งข่าวสารราชอาณาจักรส่วนใหญ่ตกลงบนดินที่ไม่ตอบรับ. ถึงกระนั้น ก็ยังมีบางเมล็ดที่ตกบนดินดี, งอกราก, และเจริญขึ้น ดังที่พระเยซูบอกไว้ล่วงหน้า. อันที่จริง ตลอดทั่วโลก มีกว่า 5,000 คนโดยเฉลี่ยในแต่ละสัปดาห์เข้ามาเป็นสาวกแท้ของพระคริสต์! สาวกใหม่เหล่านี้ ‘เชื่อสิ่งที่กล่าว’ แม้ว่าคนอื่น ๆ ส่วนใหญ่ไม่เชื่อ. อะไรได้ช่วยให้หัวใจของคนเหล่านี้ตอบรับข่าวสารราชอาณาจักร? บ่อยครั้ง การที่พยานฯ ให้ความสนใจเป็นส่วนตัว ซึ่งเปรียบเหมือนการรดน้ำแก่เมล็ดที่ได้หว่านไปนั้น ช่วยได้มากทีเดียว. (1 โกรินโธ 3:6) ขอให้เราพิจารณาสักสองตัวอย่างจากหลาย ๆ ตัวอย่าง.
การให้ความสนใจเป็นส่วนตัวก่อผลดี
16, 17. ทำไมจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะแสดงความสนใจเป็นส่วนตัวต่อคนเหล่านั้นที่เราพบในการประกาศ?
16 คารอลีน พยานฯ วัยสาวคนหนึ่งในเบลเยียมได้ประกาศกับหญิงสูงอายุคนหนึ่งซึ่งไม่ได้แสดงความสนใจในข่าวสารราชอาณาจักร. เนื่องจากเห็นมือของเธอมีผ้าพันแผลอยู่ คารอลีนกับเพื่อนผู้ประกาศที่ไปด้วยกันจึงเสนอความช่วยเหลือ แต่หญิงคนนั้นปฏิเสธ. สองวันต่อมา พี่น้องหญิงสองคนนี้กลับไปที่บ้านผู้หญิงคนนั้นอีกเพื่อถามว่าเธอเป็นอย่างไรบ้าง. คารอลีนเล่าว่า “การทำเช่นนี้ก่อผลดีทีเดียว เธอประหลาดใจที่เห็นว่าเราสนใจเธอเป็นส่วนตัวจริง ๆ เธอจึงเชิญเราเข้าไปในบ้าน และได้มีการเริ่มการศึกษาพระคัมภีร์.”
17 แซนดี พยานฯ คนหนึ่งในสหรัฐ แสดงความสนใจเป็นส่วนตัวต่อคนที่เธอประกาศให้ฟังเช่นกัน. เธอค้นดูประกาศในหน้าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นว่ามีทารกเกิดใหม่ที่ไหนบ้าง จากนั้นก็ไปเยี่ยมพ่อแม่ของทารกใหม่นั้นพร้อมกับหนังสือที่ชื่อหนังสือของฉันเกี่ยวด้วยเรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล. * เนื่องจากตามปกติ แม่ของเด็กจะอยู่บ้านและชอบอวดลูกน้อยของเธอกับคนที่มาเยี่ยม บ่อยครั้งจึงนำไปสู่การสนทนากัน. “ฉันพูดคุยกับพ่อแม่เหล่านั้นเกี่ยวกับความสำคัญของการสร้างสายสัมพันธ์กับลูกน้อยโดยทางการอ่าน” แซนดีอธิบาย. “จากนั้น ฉันก็กล่าวถึงข้อท้าทายต่าง ๆ ในการเลี้ยงดูลูกในสังคมปัจจุบัน.” ไม่นานมานี้ ผลจากการเยี่ยมอย่างนั้นรายหนึ่ง มีแม่คนหนึ่งพร้อมกับลูกหกคนเข้ามาเป็นผู้รับใช้พระยะโฮวา. การใช้ความคิดริเริ่มและแสดงความสนใจเป็นส่วนตัวอาจนำไปสู่ผลที่น่ายินดีคล้าย ๆ กันนั้นในงานรับใช้ของเรา.
18. (ก) เหตุใดข้อเรียกร้องที่ให้ “เกิดผลมาก” จึงเป็นเรื่องที่เราทุกคนสามารถทำได้? (ข) คุณตั้งใจจะบรรลุข้อเรียกร้องสำคัญสามประการอะไรสำหรับการเป็นสาวกตามที่กล่าวไว้ในกิตติคุณของโยฮัน?
18 ช่างเป็นเรื่องที่ให้กำลังใจสักเพียงไรที่รู้ว่าเราทุกคนสามารถบรรลุข้อเรียกร้องที่ให้ “เกิดผลมากอยู่เสมอ”! ไม่ว่าเราอยู่ในวัยเยาว์หรือสูงอายุ, มีสุขภาพดีหรือไม่ดี, ประกาศในเขตที่มีการตอบรับหรือไม่ตอบรับ, เราทุกคนสามารถเกิดผลมากได้. โดยการทำเช่นไร? โดยที่เราสำแดงผลแห่งพระวิญญาณอย่างเต็มที่และแพร่กระจายข่าวสารราชอาณาจักรของพระเจ้าอย่างสุดความสามารถของเรา. ในขณะเดียวกัน เราพยายามจะ ‘ตั้งมั่นคงอยู่ในคำของพระเยซู’ และ “รักซึ่งกันและกัน.” ถูกแล้ว เมื่อเราบรรลุข้อเรียกร้องที่สำคัญสามประการนี้สำหรับการเป็นสาวกตามที่กล่าวไว้ในกิตติคุณของโยฮัน นั่นพิสูจน์ว่าเรา “เป็นสาวกแท้ของ [พระคริสต์].”—โยฮัน 8:31, ล.ม.; 13:35.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 3 แม้แขนงของเถาองุ่นในอุทาหรณ์หมายถึงพวกอัครสาวกของพระเยซูและคริสเตียนคนอื่น ๆ ที่จะได้รับราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์ของพระเจ้าเป็นมรดก แต่อุทาหรณ์นี้บรรจุความจริงที่สาวกของพระคริสต์ทุกคนในทุกวันนี้จะได้รับประโยชน์ด้วย.—โยฮัน 3:16; 10:16.
^ วรรค 12 คนที่ต้องอยู่แต่ในบ้านเนื่องจากสูงอายุหรือเจ็บป่วยก็ยังอาจให้คำพยานโดยทางจดหมาย หรือโดยทางโทรศัพท์ ถ้าสามารถทำได้ หรือบางทีเขาอาจแบ่งปันข่าวดีแก่ผู้ที่มาเยี่ยม.
^ วรรค 17 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
คำถามทบทวน
• เราต้องเกิดผลชนิดใดให้เต็มที่ยิ่งขึ้น?
• เหตุใดการ “เกิดผลมาก” จึงเป็นเป้าหมายที่เราทุกคนสามารถบรรลุได้?
• เราได้พิจารณาข้อเรียกร้องที่สำคัญสามประการอะไรสำหรับการเป็นสาวกตามที่กล่าวไว้ในกิตติคุณของโยฮัน?
[คำถาม]
[กรอบ/ภาพหน้า 21]
วิธีที่จะ “เกิดผลด้วยความเพียร”
อะไรช่วยคุณให้ประกาศข่าวสารเรื่องราชอาณาจักรต่อ ๆ ไปอย่างซื่อสัตย์ในเขตที่มีการตอบรับไม่มาก? ต่อไปนี้เป็นบางคำตอบที่เป็นประโยชน์สำหรับคำถามนี้.
“การรู้ว่าพระเยซูทรงหนุนหลังเราอย่างเต็มที่ช่วยให้เรามองในแง่ดีและไม่ย่อท้อ ไม่ว่าผู้คนในเขตประกาศจะมีปฏิกิริยาอย่างไร.”—แฮร์รี อายุ 72 ปี รับบัพติสมาปี 1946.
“ข้อพระคัมภีร์ที่ 2 โกรินโธ 2:17 (ล.ม.) ให้กำลังใจผมเสมอ. ข้อนั้นบอกว่าเราทำงานรับใช้ ‘ในสายพระเนตรพระเจ้า ร่วมกับพระคริสต์.’ เมื่อผมอยู่ในงานรับใช้ ผมชื่นชมยินดีที่ได้ทำงานด้วยกันกับเพื่อนที่ดีที่สุดของผม.”—เคลาดิโอ อายุ 43 ปี รับบัพติสมาปี 1974.
“ว่ากันตามตรง โดยส่วนตัวแล้ว งานประกาศเป็นสิ่งที่ผมต้องใช้ความพยายามอย่างมาก. ถึงกระนั้น ผมก็ประสบว่าถ้อยคำที่เพลงสรรเสริญ 18:29 เป็นความจริงที่ว่า ‘โดยพระเจ้าของข้าพเจ้านี้ ข้าพเจ้าสามารถกระโดดข้ามกำแพงได้.’”—เกราร์ด อายุ 79 ปี รับบัพติสมาปี 1955.
“ถ้าฉันได้อ่านข้อคัมภีร์สักข้อหนึ่งในงานรับใช้ ฉันก็มีความสุขที่ได้ทำให้ใครบางคนตรวจสอบหัวใจของเขาโดยคัมภีร์ไบเบิล.”—อิเลอนอร์ อายุ 26 ปี รับบัพติสมาปี 1989.
“ผมพยายามจะเข้าพบผู้คนด้วยวิธีต่าง ๆ กันเสมอ. มีมากมายหลายวิธีจนผมไม่สามารถจะใช้ได้หมดทุกวิธีในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ของผม.”—เพาล์ อายุ 79 ปี รับบัพติสมาปี 1940.
“ผมไม่หัวเสียกับปฏิกิริยาที่ไม่ตอบรับของผู้คน. ผมพยายามเข้าพบอย่างที่เป็นมิตร คุยกับเขาและฟังความเห็นของเขา.”—แดเนียล อายุ 75 ปี รับบัพติสมาปี 1946.
“ผู้รับบัพติสมาใหม่หลายคนมาบอกฉันว่างานประกาศของฉันมีส่วนช่วยพวกเขาให้เข้ามาเป็นพยานฯ. โดยที่ฉันไม่รู้ ภายหลัง มีบางคนเริ่มการศึกษาพระคัมภีร์กับพวกเขาและช่วยพวกเขาให้ก้าวหน้า. การที่รู้ว่างานรับใช้ของเราทำกันเป็นทีมทำให้ฉันมีความยินดี.”—โจน อายุ 66 ปี รับบัพติสมาปี 1954.
ส่วนคุณล่ะ อะไรช่วยคุณให้ “เกิดผลด้วยความเพียร”?—ลูกา 8:15.
[ภาพหน้า 20]
โดยการสำแดงผล แห่งพระวิญญาณและ โดยการประกาศข่าวสารราชอาณาจักร เราจึงเกิดผลมาก
[ภาพหน้า 23]
พระเยซูหมายความเช่นไรเมื่อพระองค์บอกพวกอัครสาวกว่า ‘จงเกิดผลมากอยู่เสมอ’?