ความอ่อนโยน—คุณลักษณะแบบคริสเตียนที่สำคัญยิ่ง
ความอ่อนโยน—คุณลักษณะแบบคริสเตียนที่สำคัญยิ่ง
“จงสวมตัวท่านด้วย . . . ความอ่อนโยน.”—โกโลซาย 3:12, ล.ม.
1. อะไรทำให้ความอ่อนโยนเป็นคุณลักษณะอันน่าทึ่ง?
หากใครคนหนึ่งมีความอ่อนโยน เราสบายใจเมื่ออยู่กับเขา. กระนั้น กษัตริย์ซะโลโมผู้ชาญฉลาดให้ข้อสังเกตว่า “ลิ้นที่อ่อนโยนทำให้กระดูกหักได้.” (สุภาษิต 25:15, ล.ม.) ความอ่อนโยนเป็นคุณลักษณะอันน่าทึ่งที่รวมเอาทั้งความอ่อนละมุนกับความแข็งแกร่งไว้ด้วยกัน.
2, 3. ความอ่อนโยนกับพระวิญญาณบริสุทธิ์สัมพันธ์กันอย่างไร และเราจะพิจารณาอะไรในบทความนี้?
2 อัครสาวกเปาโลรวมเอาความอ่อนโยนไว้ในรายการ “ผลแห่งพระวิญญาณ” ซึ่งพบที่ฆะลาเตีย 5:22, 23 (ล.ม.). คำภาษากรีกในกท. 5 ข้อ 23 ที่มีการแปลว่า “ความอ่อนโยน” ในฉบับแปลโลกใหม่ นั้น บ่อยครั้งได้รับการแปลในคัมภีร์ไบเบิลฉบับอื่น ๆ ว่า “ความอ่อนสุภาพ,” “ความถ่อม,” หรือ “ความสุภาพ.” ความเป็นจริงก็คือในภาษาส่วนใหญ่ เป็นเรื่องยากที่จะหาคำที่มีความหมายตรงกับคำภาษากรีกคำนี้ทุกประการ เนื่องจากคำนี้ในภาษาเดิมไม่ได้พรรณนาถึงความอ่อนสุภาพหรือความอ่อนน้อมที่ปรากฏให้เห็นภายนอก แต่เป็นความอ่อนโยนและความเมตตากรุณาที่อยู่ภายใน; ไม่ใช่ลักษณะพฤติกรรมของผู้คน แต่เป็นสภาพของจิตใจและหัวใจ.
3 เพื่อจะช่วยให้เราเข้าใจความหมายและคุณค่าของความอ่อนโยนเต็มที่ยิ่งขึ้น ขอให้เราพิจารณาสี่ตัวอย่างจากคัมภีร์ไบเบิล. (โรม 15:4) เมื่อเราพิจารณาตัวอย่างเหล่านั้น เราจะเรียนรู้ไม่เพียงแค่ว่าความอ่อนโยนคืออะไร แต่ยังเรียนรู้ด้วยว่าจะได้คุณลักษณะดังกล่าวมาโดยวิธีใดและจะสำแดงคุณลักษณะนั้นอย่างไรในการติดต่อสัมพันธ์ทั้งสิ้นของเรา.
“มีค่ามากในสายพระเนตรของพระเจ้า”
4. เราทราบได้อย่างไรว่าพระยะโฮวาทรงถือว่าความอ่อนโยนมีค่า?
4 เนื่องจากความอ่อนโยนเป็นผลอย่างหนึ่งของพระวิญญาณของพระเจ้า จึงเป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่ความอ่อนโยนจะเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับบุคลิกภาพอันน่าพิศวงของพระเจ้า. อัครสาวกเปโตรเขียนว่า “น้ำใจสงบเสงี่ยมและอ่อนโยน . . . มีค่ามากในสายพระเนตรของพระเจ้า.” (1 เปโตร 3:4, ล.ม.) จริงทีเดียว ความอ่อนโยนเป็นคุณลักษณะอย่างหนึ่งที่พระยะโฮวาทรงสำแดง ซึ่งพระองค์ทรงถือว่ามีค่ามาก. แน่นอน ความจริงข้อนี้เพียงอย่างเดียวก็เป็นเหตุผลที่เพียงพอแล้วที่ผู้รับใช้ของพระเจ้าทุกคนจะปลูกฝังความอ่อนโยน. แต่พระเจ้าองค์ทรงฤทธานุภาพทุกประการ ผู้ทรงอำนาจสูงสุดในเอกภพ ทรงสำแดงความอ่อนโยนอย่างไร?
5. เนื่องด้วยความอ่อนโยนของพระยะโฮวา เราจึงมีความหวังอะไรสำหรับอนาคต?
5 เมื่ออาดามกับฮาวามนุษย์คู่แรกไม่เชื่อฟังพระบัญชาที่ชัดเจนของพระเจ้าที่ห้ามกินผลจากต้นไม้ที่ให้รู้ความดีและชั่ว ทั้งสองจงใจไม่เชื่อฟัง. (เยเนซิศ 2:16, 17) การไม่เชื่อฟังโดยเจตนาครั้งนั้นทำให้ทั้งสองและลูกหลานของพวกเขาในอนาคตได้รับความบาป, ความตาย, และเหินห่างจากพระเจ้า. (โรม 5:12) ถึงแม้ว่าพระยะโฮวามีเหตุผลโดยชอบธรรมที่จะตัดสินอย่างนี้ แต่พระองค์ก็ไม่ได้ตัดขาดครอบครัวมนุษย์อย่างไร้ความปรานีโดยถือว่าพวกเขาหมดหนทางแก้ไขและช่วยอะไรไม่ได้อีกแล้ว. (บทเพลงสรรเสริญ 130:3) ตรงกันข้าม เนื่องด้วยพระเมตตากรุณาและความเต็มพระทัยของพระองค์ที่จะไม่เรียกร้องจากพวกเขาอย่างเข้มงวด ซึ่งเป็นการแสดงความอ่อนโยน พระยะโฮวาจึงจัดเตรียมทางให้มนุษยชาติที่ผิดบาปสามารถเข้ามาหาพระองค์ได้และเป็นที่โปรดปราน. ใช่แล้ว โดยการประทานพระเยซูคริสต์พระบุตรของพระองค์เป็นเครื่องบูชาไถ่ พระยะโฮวาทำให้เราสามารถเข้าไปถึงราชบัลลังก์อันสูงส่งของพระองค์โดยไม่ต้องหวั่นกลัว.—โรม 6:23; เฮ็บราย 4:14-16; 1 โยฮัน 4:9, 10, 18.
6. ความอ่อนโยนของพระเจ้าปรากฏชัดอย่างไรในการปฏิบัติกับคายิน?
เยเนซิศ 4:3-7, ล.ม.) พระยะโฮวาทรงเป็นแบบอย่างที่ดีเลิศจริง ๆ ในเรื่องความอ่อนโยน.—เอ็กโซโด 34:6.
6 นานก่อนพระเยซูจะเข้ามาในโลก พระยะโฮวาทรงสำแดงความอ่อนโยนในคราวที่คายินและเฮเบลบุตรชายของอาดามถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้า. เนื่องจากเห็นสภาพหัวใจของพวกเขา พระยะโฮวาทรงปฏิเสธของถวายของคายิน แต่ ‘ทอดพระเนตรด้วยความโปรดปราน’ เฮเบลและของถวายของเขา. การที่พระเจ้าทรงโปรดเฮเบลผู้ซื่อสัตย์กับเครื่องบูชาของเขาทำให้คายินแสดงท่าทีไม่พอใจ. บันทึกในคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “คายินจึงเดือดดาลมาก และมีสีหน้าบึ้งตึง.” พระยะโฮวาทรงตอบรับอย่างไร? พระองค์ขุ่นเคืองท่าทีที่ไม่ดีของคายินไหม? เปล่าเลย. พระองค์ทรงถามคายินอย่างนุ่มนวลว่าทำไมเขาถึงโกรธเคืองขนาดนั้น. พระยะโฮวาถึงกับบอกสิ่งที่คายินสามารถทำได้เพื่อจะมี “ความปลาบปลื้มยินดี.” (ความอ่อนโยนดึงดูดใจและทำให้สดชื่น
7, 8. (ก) เราจะเข้าใจความอ่อนโยนของพระยะโฮวาได้โดยวิธีใด? (ข) ถ้อยคำในมัดธาย 11:27-29 เปิดเผยอะไรเกี่ยวกับพระยะโฮวาและพระเยซู?
7 วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่จะเข้าใจคุณลักษณะอันหาที่เปรียบไม่ได้ของพระยะโฮวาคือการศึกษาชีวิตและงานรับใช้ของพระเยซูคริสต์. (โยฮัน 1:18; 14:6-9) ขณะอยู่ในแคว้นแกลิลี ในปีที่สองของการรณรงค์ประกาศ พระเยซูทรงสำแดงอิทธิฤทธิ์หลายอย่างในเมืองโคราซิน, เบธซายะดา, เคเปอร์นาอุม (กัปเรนาอูม), และพื้นที่ใกล้เคียง. ถึงกระนั้น ประชาชนส่วนใหญ่เย่อหยิ่งไม่สนใจ และปฏิเสธที่จะเชื่อ. พระเยซูรู้สึกเช่นไร? ขณะที่พระองค์ทรงเตือนพวกเขาอย่างหนักแน่นถึงผลของการขาดความเชื่อ พระองค์ก็รู้สึกสงสารที่เห็นสภาพฝ่ายวิญญาณอันน่าเศร้าใจของอัมฮาอาเร็ตส์ หรือสามัญชนผู้ต่ำต้อยซึ่งอยู่ท่ามกลางพวกเขา.—มัดธาย 9:35, 36; 11:20-24.
8 การกระทำต่อมาของพระเยซูแสดงว่าพระองค์ “รู้จักพระบิดาอย่างถ่องแท้” และทรงเลียนแบบพระบิดา. พระเยซูทรงให้คำเชิญอันอบอุ่นต่อไปนี้แผ่ไปถึงสามัญชน: “บรรดาผู้ที่ทำงานหนักและมีภาระมาก จงมาหาเรา และเราจะทำให้เจ้าทั้งหลายสดชื่น. จงรับแอกของเราไว้บนเจ้าทั้งหลายและเรียนจากเรา เพราะเรามีจิตใจอ่อนโยนและหัวใจถ่อม และเจ้าจะได้ความสดชื่นสำหรับจิตวิญญาณของเจ้า.” ถ้อยคำเหล่านั้นช่างชูใจและให้ความสดชื่นแก่บรรดาคนที่ถูกกดขี่สักเพียงไร! ถ้อยคำของพระองค์ชูใจและให้ความสดชื่นแม้แต่สำหรับพวกเราในทุกวันนี้. ถ้าเราสวมตัวด้วยความอ่อนโยนอย่างที่จริงใจ เราก็จะอยู่ท่ามกลางคนเหล่านั้น ‘ที่พระบุตรทรงประสงค์จะเปิดเผยแก่เขา’ เรื่องพระบิดาของพระองค์.—มัดธาย 11:27-29, ล.ม.
9. คุณลักษณะอะไรที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับความอ่อนโยน และพระเยซูทรงวางตัวอย่างที่ดีอย่างไรในเรื่องนี้?
9 คุณลักษณะที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับความอ่อนโยนคือความถ่อมใจ หรือการมี “หัวใจถ่อม.” ในทางตรงกันข้าม ความเย่อหยิ่งนำไปสู่การยกตัวเองและบ่อยครั้งนำไปสู่การปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไม่กรุณาและขาดความเห็นอกเห็นใจ. (สุภาษิต 16:18, 19) พระเยซูทรงสำแดงความถ่อมใจตลอดช่วงเวลาที่พระองค์รับใช้ทางแผ่นดินโลก. แม้แต่เมื่อพระองค์ทรงลูกลาเข้ากรุงเยรูซาเลมหกวันก่อนการสิ้นพระชนม์ของพระองค์และได้รับการยกย่องเป็นกษัตริย์ของชาวยิว พระองค์ก็ทรงต่างออกไปอย่างมากจากบรรดาผู้ปกครองของโลก. พระองค์ทำให้สำเร็จตามคำพยากรณ์ของซะคาระยาที่กล่าวถึงพระมาซีฮาว่า “นี่แน่ะ กษัตริย์ของท่านทรงแม่ลากับลูกของมัน เสด็จมาหาท่านโดยพระทัยอ่อนสุภาพ.” (มัดธาย 21:5; ซะคาระยา 9:9) ดานิเอลผู้พยากรณ์ที่ซื่อสัตย์ได้เห็นนิมิตที่พระยะโฮวาทรงมอบอำนาจการปกครองให้แก่พระบุตรของพระองค์. ถึงกระนั้น ในคำพยากรณ์ข้อหนึ่งก่อนหน้านั้น ท่านพรรณนาพระเยซูว่าเป็น “คนต่ำต้อยที่สุด.” ความอ่อนโยนกับความถ่อมใจเป็นคุณลักษณะที่สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจริง ๆ.—ดานิเอล 4:17; 7:13, 14.
10. เหตุใดความอ่อนโยนของคริสเตียนไม่ได้แสดงถึงความอ่อนแอ?
10 คุณลักษณะแห่งความอ่อนโยนอันน่าชื่นใจที่พระยะโฮวาและพระเยซูทรงสำแดงช่วยดึงดูดเราให้เข้าใกล้พระองค์ทั้งสอง. (ยาโกโบ 4:8) แน่ละ ความอ่อนโยนไม่ได้แสดงถึงความอ่อนแอ. ไม่ใช่อย่างนั้นเลย! พระยะโฮวา พระเจ้าองค์ทรงฤทธานุภาพทุกประการ ทรงสำแดงถึงพลังงานอันล้นเหลือและกำลังของพระองค์. พระองค์ทรงมีพระพิโรธอันร้อนแรงต่อความอธรรม. (ยะซายา 30:27; 40:26) เช่นเดียวกัน พระเยซูทรงมุ่งมั่นไม่ยอมอะลุ่มอล่วย แม้ตกอยู่ภายใต้การโจมตีของซาตานพญามาร. พระองค์ไม่ยอมให้กับกิจปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมของพวกผู้นำศาสนาในสมัยของพระองค์. (มัดธาย 4:1-11; 21:12, 13; โยฮัน 2:13-17) ถึงกระนั้น พระองค์สำแดงความอ่อนโยนเสมอเมื่อจัดการกับข้อผิดพลาดของเหล่าสาวกและทรงทนกับข้ออ่อนแอของพวกเขา. (มัดธาย 20:20-28) ผู้คงแก่เรียนทางคัมภีร์ไบเบิลคนหนึ่งพรรณนาความอ่อนโยนได้อย่างเหมาะเจาะว่าดังนี้: “เบื้องหลังความอ่อนโยนคือความแข็งแกร่งดุจเหล็กกล้า.” ขอให้เราสำแดงคุณลักษณะแบบพระคริสต์นี้ อันได้แก่ความอ่อนโยน.
ถ่อมใจมากยิ่งกว่าคนทั้งปวงในสมัยของท่าน
11, 12. เมื่อคำนึงถึงการอบรมเลี้ยงดูที่โมเซได้รับ อะไรทำให้ความอ่อนโยนของท่านโดดเด่น?
11 ตัวอย่างที่สามที่เราจะพิจารณาคือตัวอย่างของโมเซ. คัมภีร์ไบเบิลพรรณนาว่าท่านเป็น “คนถ่อมจิตใจอ่อนยิ่ง [“อ่อนโยน,” เชิงอรรถ, ล.ม.] มากกว่าคนทั้งปวงที่อยู่บนแผ่นดิน.” (อาฤธโม 12:3) คำพรรณนานี้เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า. ความอ่อนโยนอันโดดเด่นของโมเซทำให้ท่านตอบรับการชี้นำจากพระยะโฮวา.
12 การอบรมเลี้ยงดูที่โมเซได้รับในวัยเยาว์นั้นผิดไปจากธรรมดา. พระยะโฮวาทรงคอยดูแลบุตรชายคนนี้ของบิดามารดาชาวฮีบรูผู้ซื่อสัตย์ให้ได้รับการพิทักษ์ชีวิตผ่านพ้นช่วงแห่งการทรยศและฆาตกรรม. ในช่วงต้นของชีวิต โมเซได้รับการเลี้ยงดูจากมารดาของท่าน ผู้ซึ่งสอนท่านเป็นอย่างดีกิจการ 7:22) ความเชื่อของโมเซเป็นที่ปรากฏแจ้งในคราวที่ท่านสังเกตเห็นความอยุติธรรมหลายอย่างซึ่งพวกผู้คุมทาสของฟาโรห์ได้กระทำแก่พี่น้องของท่าน. เนื่องจากได้ฆ่าชาวอียิปต์คนหนึ่งที่ท่านเห็นว่ากำลังตีชาวฮีบรู โมเซจึงต้องหนีออกจากอียิปต์ไปยังแผ่นดินมีเดียน.—เอ็กโซโด 1:15, 16; 2:1-15; เฮ็บราย 11:24, 25.
ในเรื่องพระยะโฮวา พระเจ้าองค์เที่ยงแท้. ต่อมา โมเซถูกนำตัวออกจากบ้านไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่างออกไปมาก. ซะเตฟาโน คริสเตียนในยุคแรกผู้พลีชีพเพื่อความเชื่อเล่าว่า “โมเซ . . . ได้เรียนรู้ชำนาญในวิชชาการทุกอย่างของชาวอายฆุปโต มีความเฉียบแหลมมากในทางพูดและกิจการต่าง ๆ.” (13. การอาศัยอยู่ในมีเดียน 40 ปีส่งผลเช่นไรต่อโมเซ?
13 ในวัย 40 ปี โมเซต้องพึ่งพาตัวเองขณะอยู่ในถิ่นทุรกันดาร. ที่มีเดียน ท่านได้พบบุตรสาวเจ็ดคนของรูเอลและช่วยหญิงเหล่านั้นตักน้ำให้ฝูงสัตว์ขนาดใหญ่ของบิดาของพวกเธอ. เมื่อกลับถึงบ้าน หญิงสาวเหล่านั้นเล่าให้รูเอลฟังด้วยความยินดีว่า “ชายชาติอายฆุบโตคนหนึ่ง” ได้ช่วยพวกเธอพ้นจากการราวีของพวกคนเลี้ยงแกะ. โมเซได้อาศัยอยู่กับครอบครัวนั้นตามคำเชิญของรูเอล. การตกอยู่ในสภาพที่ยากลำบากไม่ได้ทำให้ท่านรู้สึกขมขื่นหรือกีดขวางท่านไว้ไม่ให้เรียนรู้ที่จะปรับรูปแบบชีวิตให้เข้ากับสภาพการณ์ใหม่ ๆ. ความปรารถนาของท่านที่จะทำตามพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวาไม่สั่นคลอนไป. ตลอด 40 ปีที่ยาวนาน อันเป็นช่วงเวลาที่โมเซเลี้ยงแกะของรูเอล, สมรสกับซิพโพรา, และเลี้ยงดูบุตร ท่านได้พัฒนาและขัดเกลาคุณลักษณะที่กลายมาเป็นบุคลิกภาพเฉพาะตัวของท่าน. ถูกแล้ว โดยการทนเอาสภาพการณ์ที่ยากลำบาก โมเซเรียนรู้ความอ่อนโยน.—เอ็กโซโด 2:16-22; กิจการ 7:29, 30.
14. จงพรรณนาเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่โมเซเป็นผู้นำชาติอิสราเอลซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอ่อนโยนของท่าน.
14 หลังจากพระยะโฮวาแต่งตั้งโมเซให้เป็นผู้นำชาติอิสราเอลแล้ว ท่านก็ยังคงสำแดงคุณลักษณะในเรื่องความอ่อนโยน. ชายหนุ่มคนหนึ่งมารายงานโมเซว่าเอลดาดและเมดาดกำลังแสดงตัวเป็นผู้พยากรณ์อยู่ในค่าย ทั้ง ๆ ที่ทั้งสองไม่ได้อยู่ท่ามกลางผู้เฒ่าผู้แก่ 70 คนที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยของโมเซในคราวที่พระยะโฮวาเทพระวิญญาณของพระองค์ลงบนพวกเขา. ยะโฮซูอะกล่าวอย่างหนักแน่นว่า “โมเซนายข้าพเจ้าเจ้าข้า จงห้ามปรามเขาเสีย.” โมเซตอบอย่างนุ่มนวลว่า “เจ้าเป็นใจเจ็บร้อนเพราะเราหรือ? ข้าจะใคร่ให้คนทั้งปวงของยะโฮวานั้นเป็นคนทำนาย [“ผู้พยากรณ์,” อาฤธโม 11:26-29) ความอ่อนโยนช่วยบรรเทาสภาพการณ์ที่ตึงเครียดนั้น.
ล.ม.], แลจะใคร่ให้พระองค์ประทานวิญญาณของพระองค์ให้แก่เขาทั้งหลาย.” (15. แม้ว่าโมเซเป็นคนไม่สมบูรณ์ ทำไมท่านจึงเป็นตัวอย่างที่เราพึงติดตาม?
15 มีอยู่คราวหนึ่งที่ดูเหมือนโมเซพลาดไม่ได้แสดงความอ่อนโยน. ที่เมรีบาห์ใกล้กับคาเดช ท่านไม่ได้ถวายพระเกียรติแด่พระยะโฮวา ผู้ทรงกระทำการอัศจรรย์. (อาฤธโม 20:1, 9-13) แม้ว่าโมเซเป็นคนไม่สมบูรณ์ ความเชื่อที่มั่นคงของท่านได้ค้ำจุนท่านตลอดชีวิต และความอ่อนโยนอันโดดเด่นของท่านยังคงประทับใจเราจวบจนทุกวันนี้.—เฮ็บราย 11:23-28.
ความหยาบช้ากับความอ่อนโยน
16, 17. การเตือนสติอะไรที่เราได้จากเรื่องราวของนาบาลกับอะบีฆายิล?
16 อีกตัวอย่างหนึ่งที่เตือนสติเราอยู่ในสมัยของดาวิด ไม่นานหลังจากการเสียชีวิตของซามูเอลผู้พยากรณ์ของพระเจ้า. ตัวอย่างที่ว่านี้เป็นเรื่องราวของคู่สามีภรรยา คือนาบาลกับอะบีฆายิล ภรรยาของเขา. มีความแตกต่างกันเสียจริง ๆ ระหว่างสองคนนี้! ขณะที่อะบีฆายิล “มีความรอบคอบ” สามีของนาง “เป็นคนสามานย์ [“หยาบช้า,” ล.ม.] และประพฤติตัวเลวทราม.” นาบาลปฏิเสธอย่างหยาบคายต่อคำขออาหารจากคนของดาวิด ซึ่งคอยช่วยปกป้องดูแลแกะฝูงใหญ่ของนาบาลไว้จากพวกขโมย. ด้วยความแค้นเคืองอย่างสมเหตุผล ดาวิดกับคนของท่านจำนวนหนึ่งคาดดาบของตนและออกเดินทางไปประจันหน้ากับนาบาล.—1 ซามูเอล 25:2-13, ฉบับแปลใหม่.
17 เมื่ออะบีฆายิลได้ยินถึงสิ่งที่เกิดขึ้น นางรีบเตรียมขนมปัง, เหล้าองุ่น, เนื้อ, ก้อนลูกองุ่นและมะเดื่อเทศแห้ง แล้วออกไปพบดาวิด. “เจ้านายของดิฉันเจ้าข้า ความผิดนั้นอยู่ที่ดิฉันแต่ผู้เดียว” นางวิงวอน. “ขอให้ผู้รับใช้ของท่านได้พูดให้ท่านฟัง ขอท่านได้โปรดฟังเสียงผู้รับใช้ของท่าน.” คำอ้อนวอนอย่างอ่อนน้อมของอะบีฆายิลทำให้หัวใจของดาวิดอ่อนลง. หลังจากได้ฟังคำอธิบายจากอะบีฆายิล ดาวิดกล่าวว่า “สาธุการแด่พระยะโฮวาพระเจ้าของพวกยิศราเอลที่ทรงโปรดให้เจ้ามาพบเราวันนี้. ขอบคุณสติปัญญาของเจ้าและขอบคุณซึ่งเจ้าได้หน่วงเหนี่ยวเราไว้วันนี้ให้พ้นจากบาปฆ่าคน.” (1 ซามูเอล 25:18, 24, ฉบับแปลใหม่, 32, 33) ผลในที่สุด ความหยาบช้าของนาบาลนำเขาไปถึงความตาย. คุณลักษณะที่ดีเยี่ยมของอะบีฆายิลทำให้นางประสบความยินดีจากการได้เป็นภรรยาของดาวิดในที่สุด. ความอ่อนโยนของนางเป็นแบบอย่างแก่ผู้รับใช้พระยะโฮวาทุกคนในปัจจุบัน.—1 ซามูเอล 25:36-42.
จงมุ่งติดตามความอ่อนโยน
18, 19. (ก) เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรที่เห็นได้ชัดเมื่อเราสวมตัวด้วยความอ่อนโยน? (ข) อะไรจะช่วยให้เราตรวจสอบตัวเองอย่างได้ผล?
18 ดังนั้น ความอ่อนโยนจึงเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นอย่างยิ่ง. นี่ไม่ใช่แค่อากัปกิริยาอ่อนสุภาพ แต่เป็นลักษณะนิสัยที่ดึงดูดใจซึ่งทำให้ผู้อื่นสดชื่น. อาจเป็นได้ที่ในอดีตเราเคยพูดจาหยาบคายหรือประพฤติอย่างที่ขาดความกรุณา. อย่างไรก็ตาม พอเราได้เรียนรู้ความจริงจากคัมภีร์ไบเบิล เราทำการเปลี่ยนแปลงและกลายเป็นคนที่น่าคบมากขึ้น. เปาโลกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงนี้เมื่อท่านกระตุ้นเพื่อนคริสเตียนว่า “จงสวมตัวท่านด้วยความเมตตารักใคร่อันอ่อนละมุน, ความกรุณา, จิตใจอ่อนน้อม, ความอ่อนโยน, และความอดกลั้นไว้นาน.” (โกโลซาย 3:12, ล.ม.) คัมภีร์ไบเบิลเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงนี้ว่าเหมือนกับการเปลี่ยนแปลงจากสัตว์ป่าดุร้าย เช่น สุนัขป่า, เสือดาว, สิงโต, หมี, และงูเห่า ไปเป็นสัตว์เลี้ยงที่เชื่อง เช่น ลูกแกะ, ลูกแพะ, ลูกโค, และโคตัวเมีย. (ยะซายา 11:6-9; 65:25) การเปลี่ยนบุคลิกภาพเช่นนั้นเด่นชัดเสียจนคนที่สังเกตเห็นรู้สึกประหลาดใจ. อย่างไรก็ตาม เราถือว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลมาจากการดำเนินงานของพระวิญญาณของพระเจ้า เนื่องจากความอ่อนโยนเป็นผลอย่างหนึ่งของพระวิญญาณที่โดดเด่นจริง ๆ.
19 นี่หมายความว่าเมื่อเราทำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นและอุทิศตัวแด่พระยะโฮวาแล้ว เราไม่จำเป็นต้องพยายามเป็นคนอ่อนโยนอีกต่อไปไหม? ไม่ใช่อย่างแน่นอน. แม้แต่เสื้อผ้าใหม่ก็ยังต้องได้รับการเอาใจใส่ดูแลเป็นประจำ เพื่อให้ดูสะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ. การเพ่งมองเข้าไปในพระคำของพระเจ้าและคิดใคร่ครวญถึงตัวอย่างต่าง ๆ ในพระคำนั้น จะช่วยให้เรามองตัวเองในมุมมองใหม่และตรงกับที่เป็นจริง. พระคำที่มีขึ้นโดยการดลใจของพระเจ้าซึ่งเปรียบเหมือนกระจกนั้นเปิดเผยอะไรเกี่ยวกับตัวคุณ?—20. เราจะแสดงความอ่อนโยนอย่างบรรลุผลสำเร็จได้อย่างไร?
20 โดยธรรมชาติ คนเรามีนิสัยใจคอต่างกัน. ผู้รับใช้พระเจ้าบางคนอาจพบว่าเขาสำแดงความอ่อนโยนได้ง่ายกว่าคนอื่น ๆ. แต่ไม่ว่าจะอย่างไร คริสเตียนทุกคนต้องปลูกฝังผลแห่งพระวิญญาณของพระเจ้าซึ่งมีความอ่อนโยนรวมอยู่ด้วย. เปาโลกระตุ้นเตือนติโมเธียวด้วยความรักดังนี้: “จงติดตามความชอบธรรม, ความเลื่อมใสในพระเจ้า, ความเชื่อ, ความรัก, ความเพียรอดทน, มีใจอ่อนโยน.” (1 ติโมเธียว 6:11, ล.ม.) คำว่า “จงติดตาม” บ่งชี้ว่าต้องใช้ความพยายาม. ผู้แปลคัมภีร์ไบเบิลคนหนึ่งแปลคำกระตุ้นเตือนนี้ว่า ‘จงตั้งใจมุ่งมั่น.’ (พันธสัญญาใหม่ฉบับภาษาอังกฤษสมัยปัจจุบัน โดย เจ. บี. ฟิลลิปส์) ถ้าคุณพยายามคิดใคร่ครวญถึงตัวอย่างที่ดีจากพระคำของพระเจ้า ตัวอย่างเหล่านั้นจะตราตรึงอยู่ในใจของคุณ เหมือนกับฝังอยู่ภายในตัวคุณทีเดียว. ตัวอย่างเหล่านั้นจะหล่อหลอมและชี้นำคุณ.—ยาโกโบ 1:21.
21. (ก) เหตุใดเราควรมุ่งติดตามความอ่อนโยน? (ข) จะมีการพิจารณาอะไรในบทความถัดไป?
21 วิธีที่เราประพฤติตนต่อคนอื่นจะบ่งบอกว่าเราแสดงความอ่อนโยนมากน้อยเพียงไร. สาวกยาโกโบถามว่า “ใครบ้างในพวกท่านมีปัญญาและความเข้าใจ? จงให้ผู้นั้นสำแดงการกระทำโดยการประพฤติที่ดีของเขาด้วยใจอ่อนโยนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสติปัญญา.” (ยาโกโบ 3:13, ล.ม.) เราจะสำแดงคุณลักษณะแบบคริสเตียนนี้ในครอบครัว, ในงานเผยแพร่ของคริสเตียน, และในประชาคมได้อย่างไร? บทความถัดไปจะให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์.
การทบทวน
• คุณได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับความอ่อนโยนจากตัวอย่างของ
• พระยะโฮวา?
• พระเยซู?
• โมเซ?
• อะบีฆายิล?
• เหตุใดเราต้องมุ่งติดตามความอ่อนโยน?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 16]
ทำไมพระยะโฮวาทอดพระเนตรของถวายของเฮเบลด้วยความโปรดปราน?
[ภาพหน้า 17]
พระเยซูแสดงให้เห็นว่าความอ่อนโยนกับความถ่อมใจเป็นคุณลักษณะที่สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
[ภาพหน้า 18]
โมเซเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องความอ่อนโยน