จงสำแดง “ความอ่อนโยนในทุกทางต่อคนทั้งปวง”
จงสำแดง “ความอ่อนโยนในทุกทางต่อคนทั้งปวง”
“จงเตือนพวกเขาต่อ ๆ ไป . . . ให้มีเหตุผล, สำแดงความอ่อนโยนในทุกทางต่อคนทั้งปวง.”—ติโต 3:1, 2, ล.ม.
1. เหตุใดจึงไม่ง่ายเสมอไปที่จะแสดงความอ่อนโยน?
“จงเป็นผู้เลียนแบบข้าพเจ้า เหมือนข้าพเจ้าเป็นผู้เลียนแบบพระคริสต์” อัครสาวกเปาโลเขียนไว้เช่นนั้น. (1 โกรินโธ 11:1, ล.ม.) ผู้รับใช้ของพระเจ้าในปัจจุบันทุกคนพยายามอย่างยิ่งที่จะเชื่อฟังคำกระตุ้นเตือนนั้น. เป็นความจริงที่ว่าการทำเช่นนั้นไม่ง่าย เนื่องจากเรามีความปรารถนาและอุปนิสัยอันเห็นแก่ตัวที่ตกทอดมาจากบิดามารดาคู่แรก ซึ่งไม่เป็นไปตามอย่างที่พระคริสต์ทรงสำแดง. (โรม 3:23; 7:21-25) ถึงกระนั้น ในเรื่องการแสดงความอ่อนโยน เราทุกคนสามารถทำได้สำเร็จหากบากบั่นพยายาม. แต่อาศัยเพียงความมุ่งมั่นของเราอย่างเดียวไม่พอ. มีอะไรอีกที่จำเป็น?
2. เราจะสำแดง “ความอ่อนโยนในทุกทางต่อคนทั้งปวง” ได้อย่างไร?
2 ความอ่อนโยนแบบพระเจ้าเป็นผลประการหนึ่งของพระวิญญาณบริสุทธิ์. ยิ่งเรายอมให้พลังปฏิบัติการของติโต 3:2, ล.ม.) ขอให้เราพิจารณาว่าจะทำอย่างไรเพื่อเลียนแบบอย่างพระเยซูและทำให้คนที่ติดต่อสัมพันธ์กับเรา “ได้ความสดชื่น.”—มัดธาย 11:29, ล.ม.; ฆะลาเตีย 5:22, 23.
พระเจ้าชี้นำเรามากเท่าไร ผลของพลังปฏิบัติการนั้นก็ยิ่งจะปรากฏชัดในตัวเรามากขึ้นเท่านั้น. โดยการทำอย่างนี้ และเฉพาะเมื่อทำอย่างนี้เท่านั้น เราจึงจะสามารถสำแดง “ความอ่อนโยนในทุกทาง” ต่อทุกคน. (ในครอบครัว
3. สภาพการณ์เช่นไรในครอบครัวซึ่งสะท้อนวิญญาณของโลก?
3 ขอบเขตหนึ่งที่ความอ่อนโยนเป็นสิ่งสำคัญคือในวงครอบครัว. องค์การอนามัยโลกประเมินว่าความรุนแรงในครอบครัวก่ออันตรายด้านสุขภาพแก่สตรีมากกว่าอุบัติเหตุจราจรและโรคมาลาเรียรวมกัน. ตัวอย่างเช่น ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ประมาณหนึ่งในสี่ของอาชญากรรมรุนแรงเท่าที่มีการรายงานทั้งหมดเกิดขึ้นในบ้าน. บ่อยครั้ง ตำรวจเจอะเจอคนที่ระบายอารมณ์ของตนด้วย “การตวาด และคำพูดหยาบหยาม.” ที่แย่ยิ่งกว่านั้น คู่สมรสบางคู่ได้ปล่อยให้ “ความขมขื่นอย่างมุ่งร้าย” ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างเขาทั้งสอง. พฤติกรรมทั้งหมดนี้เป็นผลสะท้อนอันน่าเศร้าจาก “วิญญาณของโลก” และไม่ควรให้เกิดขึ้นในครอบครัวคริสเตียน.—เอเฟโซ 4:31, ล.ม.; 1 โกรินโธ 2:12.
4. ความอ่อนโยนอาจส่งผลเช่นไรต่อครอบครัว?
4 เพื่อจะสกัดกั้นแนวโน้มอย่างโลก เราต้องมีพระวิญญาณของพระเจ้า. “พระวิญญาณของพระยะโฮวาอยู่ที่ใด เสรีภาพก็อยู่ที่นั่น.” (2 โกรินโธ 3:17, ล.ม.) ความรัก, ความกรุณา, การรู้จักบังคับตน, และความอดกลั้นไว้นานช่วยเสริมความเป็นเอกภาพระหว่างสามีและภรรยาที่เป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์. (เอเฟโซ 5:33) การมีใจอ่อนโยนทำให้บ้านมีบรรยากาศที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น ซึ่งต่างจากการโต้เถียงและการทะเลาะวิวาทที่ทำให้หลายครอบครัวพังทลาย. สิ่งที่คนเราพูดนับว่าสำคัญ แต่วิธีพูดต่างหากที่ ถ่ายทอดความรู้สึกและเจตคติที่แฝงอยู่เบื้องหลังคำพูดนั้นออกมา. การแสดงความห่วงใยและความกังวลด้วยความอ่อนโยนจะช่วยลดความตึงเครียด. กษัตริย์ซะโลโมผู้ชาญฉลาดเขียนดังนี้: “คำตอบอ่อนหวาน [“อ่อนโยน,” ล.ม.] กระทำให้ความโกรธผ่านพ้นไป; แต่คำขมเผ็ดร้อนกระทำให้โทโสพลุ่งขึ้น.”—สุภาษิต 15:1.
5. ความอ่อนโยนช่วยได้อย่างไรในครอบครัวที่มีความเชื่อทางศาสนาต่างกัน?
5 ความอ่อนโยนสำคัญเป็นพิเศษในครอบครัวที่มีความเชื่อทางศาสนาต่างกัน. ความอ่อนโยนควบคู่ไปกับการกระทำที่แสดงความกรุณาสามารถชักจูงคนที่มีแนวโน้มไม่เห็นด้วยนั้นให้มาหาพระยะโฮวา. เปโตรแนะนำภรรยาคริสเตียนดังนี้: “จงยอมอยู่ใต้อำนาจสามีของท่าน เพื่อว่า ถ้าคนใดไม่เชื่อฟังพระคำ แม้นไม่เอ่ยปาก เขาก็อาจถูกโน้มน้าวโดยการประพฤติของภรรยา เนื่องจากได้เห็นประจักษ์ถึงการประพฤติอันบริสุทธิ์ของท่านทั้งหลายพร้อมกับความนับถืออันสุดซึ้ง. และอย่าให้การประดับกายของท่านเป็นอย่างภายนอก คือถักผมและสวมใส่เครื่องประดับทองคำหรือสวมใส่เสื้อผ้าชั้นนอก แต่ให้เป็นบุคคลที่ซ่อนเร้นไว้แห่งหัวใจ ด้วยเครื่องแต่งกายที่เปื่อยเน่าไม่ได้แห่งน้ำใจสงบเสงี่ยมและอ่อนโยน ซึ่งมีค่ามากในสายพระเนตรของพระเจ้า.”—1 เปโตร 3:1-4, ล.ม.
6. การแสดงความอ่อนโยนจะช่วยเสริมความผูกพันระหว่างบิดามารดากับบุตรให้แน่นแฟ้นได้อย่างไร?
6 ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตรอาจตึงเครียดได้ โดยเฉพาะถ้าครอบครัวนั้นขาดความรักต่อพระยะโฮวา. แต่ในครอบครัวคริสเตียนทุกครอบครัว จำเป็นต้องสำแดงความอ่อนโยน. เปาโลแนะนำผู้เป็นบิดาดังนี้: “อย่ายั่วบุตรของท่านให้ขัดเคืองใจ แต่จงอบรมเลี้ยงดูเขาต่อไปด้วยการตีสอนและการปรับความคิดจิตใจตามหลักการของพระยะโฮวา.” (เอเฟโซ 6:4, ล.ม.) ถ้าความอ่อนโยนแผ่ซ่านในครอบครัว ความผูกพันอันใกล้ชิดระหว่างบิดามารดากับบุตรจะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น. ดีน บุตรคนหนึ่งจากทั้งหมดห้าคน เล่าความหลังเกี่ยวกับบิดาของเขาดังนี้: “คุณพ่อเป็นคนอ่อนโยน. ผมนึกไม่ออกเลยว่าเคยเถียงกับท่าน แม้แต่เมื่อผมยังเป็นวัยรุ่น. คุณพ่ออ่อนโยนมากเสมอ แม้เมื่อท่านไม่พอใจ. บางครั้ง ท่านกักบริเวณให้ผมอยู่แต่ในห้องเพื่อลงโทษหรือจำกัดสิทธิไม่ให้ผมทำบางอย่างที่ผมชอบ แต่เราก็ไม่เคยเถียงกัน. ท่านไม่ได้เป็นเพียงพ่อของเรา แต่เป็นเพื่อนของเราด้วย และเราไม่อยากทำให้ท่านผิดหวัง.” ความอ่อนโยนช่วยเสริมความผูกพันระหว่างบิดามารดากับบุตรให้แน่นแฟ้นอย่างแท้จริง.
ในงานเผยแพร่ของเรา
7, 8. เหตุใดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะสำแดงความอ่อนโยนในงานเผยแพร่?
7 อีกขอบเขตหนึ่งที่ความอ่อนโยนมีความสำคัญคือในงานเผยแพร่ตามบ้าน. ขณะที่เราแบ่งปันข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรแก่คนอื่น เราพบคนที่มีนิสัยใจคอแตกต่างกัน. บางคนยินดีรับฟังข่าวสารแห่งความหวังที่เรานำไปให้. แต่บางคนอาจไม่พอใจ ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป. ในตอนนี้แหละที่คุณลักษณะแห่งความอ่อนโยนจะช่วยได้มากเพื่อทำงานมอบหมายของเราให้สำเร็จในการเป็นพยานจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก.—กิจการ 1:8; 2 ติโมเธียว 4:5.
8 อัครสาวกเปโตรเขียนดังนี้: “จงจัดให้พระคริสต์เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้บริสุทธิ์ในหัวใจของท่านทั้งหลาย เตรียมพร้อมเสมอที่จะโต้ตอบต่อหน้าทุกคนซึ่งเรียกเหตุผลจากท่านสำหรับความหวังของท่าน แต่จงทำเช่นนี้พร้อมด้วยอารมณ์อ่อนโยนและความนับถือสุดซึ้ง.” (1 เปโตร 3:15, ล.ม.) เนื่องจากเรายึดเอาพระคริสต์เป็นแบบอย่าง เราจึงระมัดระวังที่จะสำแดงทั้งความอ่อนโยนและความนับถือเมื่อให้คำพยานกับคนที่พูดจาไม่สุภาพ. บ่อยครั้ง แนวทางความประพฤติแบบนี้ก่อผลที่น่าทึ่ง.
9, 10. จงเล่าประสบการณ์ที่แสดงถึงความสำคัญของความอ่อนโยนในงานเผยแพร่.
9 ตอนที่ภรรยาของคีทเปิดประตูเมื่อได้ยินเสียงเคาะประตูอพาร์ตเมนต์ของพวกเขา คีทอยู่ข้างใน. พอรู้ว่าคนที่มาเยือนเป็นพยานพระยะโฮวา ภรรยาของคีทกล่าวหาพยานฯ อย่างเกรี้ยวกราดว่าพวกพยานฯ โหดร้ายต่อเด็ก ๆ. พี่น้องชายคนนั้นยังคงรักษาอารมณ์ที่สงบ และตอบอย่างสุภาพว่า “ผมเสียใจด้วยครับที่คุณรู้สึกอย่างนั้น. แต่ขอผมชี้ให้คุณเห็นถึงสิ่งที่พยานพระยะโฮวาเชื่อได้ไหมครับ?” คีทซึ่งได้ฟังการสนทนาโดยตลอด บัดนี้ออกมาที่ประตูเพื่อยุติการมาเยือนของพี่น้องชายคนนั้น.
10 ภายหลัง สามีภรรยาคู่นี้รู้สึกเสียใจที่ปฏิบัติต่อผู้มาเยือนอย่างไม่สุภาพเช่นนั้น. ท่าทีอ่อนสุภาพของชายผู้มาเยือนประทับใจพวกเขา. ที่ยังความประหลาดใจแก่คีทกับภรรยาก็คือ พี่น้องชายกลับมาเยี่ยมเขาอีกในสัปดาห์ต่อมา และคราวนี้ทั้งสองยอมให้เขาอธิบายเหตุผลจากพระคัมภีร์ที่สนับสนุนความเชื่อของเขา. ทั้งสองกล่าวในภายหลังว่า “ต่อจากนั้นเป็นเวลากว่าสองปีที่เราฟังมากขึ้นในสิ่งที่พยานฯ คนอื่น ๆ พูด.” ทั้งสองตอบรับการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล และในที่สุดได้รับบัพติสมาเป็นสัญลักษณ์ถึงการอุทิศตัวแด่พระยะโฮวา. ช่างเป็นผลตอบแทนที่ดีสักเพียงไรสำหรับพยานฯ คนนั้นที่ไปเยี่ยมคีทและภรรยาในครั้งแรก! หลายปีต่อมา พยานฯ คนนั้นได้พบสามีภรรยาคู่นี้ และได้รู้ว่าตอนนี้ทั้งสองเป็นพี่น้องชายหญิงฝ่ายวิญญาณของเขา. ความอ่อนโยนส่งผลดีจริง ๆ.
11. ความอ่อนโยนอาจปูทางไว้สำหรับบางคนที่จะรับเอาความจริงฝ่ายคริสเตียนอย่างไร?
11 ประสบการณ์ของฮาโรลด์เมื่อเป็นทหารทำให้เขารู้สึกขมขื่นและสงสัยการดำรงอยู่ของพระเจ้า. ปัญหาของเขาถูกโถมทับด้วยการประสบอุบัติเหตุเนื่องจากคนขับรถเมาสุรา ทำให้ฮาโรลด์พิการตลอดชีวิต. เมื่อพยานพระยะโฮวาไปเจอฮาโรลด์เมื่อเยี่ยมตามบ้าน เขาขอว่าอย่ามาหาเขาอีก. แต่วันหนึ่ง พยานฯ คนหนึ่งชื่อบิลล์ตั้งใจไปเยี่ยมผู้สนใจคนหนึ่งที่อยู่ถัดจากบ้านของฮาโรลด์ไปเพียงสองบ้าน. ด้วยความผิดพลาด บิลล์ไปเคาะประตูบ้านของฮาโรลด์. เมื่อฮาโรลด์ซึ่งพยุงตัวด้วยไม้เท้าทั้งสองข้างมาเปิดประตู บิลล์รีบขอโทษและอธิบายว่าเขาตั้งใจเยี่ยมบ้านอีกหลังที่อยู่ข้าง ๆ. ฮาโรลด์มีปฏิกิริยาอย่างไร? โดยที่บิลล์ก็ไม่รู้มาก่อน ฮาโรลด์เคยดูรายงานข่าวทางโทรทัศน์เกี่ยวกับพยานพระยะโฮวาที่ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างหอประชุมใหม่โดยใช้เวลาน้อยมาก. เขาประทับใจที่เห็นผู้คนมากมายทำงานด้วยกันอย่างเป็นเอกภาพ และเขาได้เปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อพยานฯ. เนื่องจากประทับใจในคำขอโทษอย่างสุภาพและท่าทีอันอ่อนโยนน่าดึงดูดใจของบิลล์ ฮาโรลด์ตกลงยอมรับการมาเยี่ยมของพยานฯ. เขาได้ศึกษาคัมภีร์ไบเบิล, ทำความก้าวหน้า, และกลายมาเป็นผู้รับใช้ที่รับบัพติสมาของพระยะโฮวา.
ในประชาคม
12. สมาชิกของประชาคมคริสเตียนควรต้านทานอุปนิสัยอะไรที่เป็นแบบโลก?
12 ขอบเขตที่สามที่ความอ่อนโยนมีความสำคัญคือในประชาคมคริสเตียน. ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในสังคมปัจจุบัน. การโต้เถียงและการทะเลาะกันเป็นเรื่องปกติธรรมดาท่ามกลางผู้คนที่มีทัศนคติต่อชีวิตตามอย่างโลก. บางครั้งบางคราว อุปนิสัยอย่างโลกเช่นนั้นค่อย ๆ ซึมเข้ามาในประชาคมคริสเตียนและทำให้เกิดการโต้เถียงและการปะทะคารมกัน. พี่น้องที่มีหน้าที่รับผิดชอบเศร้าใจเมื่อต้องจัดการกับสถานการณ์เหล่านี้. ถึงกระนั้น ความรักที่มีต่อพระยะโฮวาและพี่น้องของตนกระตุ้นให้พวกเขาพยายามจะช่วยผู้กระทำผิดให้ตั้งตัวใหม่.—ฆะลาเตีย 5:25, 26.
13, 14. อาจเกิดผลเช่นไรในการ “สั่งสอนคนที่มีแนวโน้มไม่เห็นด้วยนั้นด้วยใจอ่อนโยน”?
2 ติโมเธียว 2:20, 21, 24, 25, ล.ม.) โปรดสังเกตว่าเปาโลเชื่อมโยงความสุภาพและการเหนี่ยวรั้งตัวเข้ากับใจอ่อนโยน.
13 ในศตวรรษแรก เปาโลกับติโมเธียวเพื่อนร่วมงานของท่านประสบปัญหายุ่งยากกับบางคนในประชาคม. เปาโลเตือนติโมเธียวให้ระวังพี่น้องที่เป็นเหมือนภาชนะเพื่อ “วัตถุประสงค์ที่ไม่มีเกียรติ.” เปาโลหาเหตุผลดังนี้: “ทาสขององค์พระผู้เป็นเจ้าไม่จำเป็นต้องต่อสู้ แต่จำเป็นต้องสุภาพต่อคนทั้งปวง มีคุณวุฒิที่จะสอน เหนี่ยวรั้งตัวไว้ภายใต้สภาพการณ์ที่ไม่ดี, สั่งสอนคนที่มีแนวโน้มไม่เห็นด้วยนั้นด้วยใจอ่อนโยน.” เมื่อเรารักษาอารมณ์อ่อนโยนไว้แม้จะถูกยั่วยุให้โกรธ บ่อยครั้ง คนที่ต่อต้านคัดค้านถูกกระตุ้นใจให้ประเมินคำตำหนิวิจารณ์ของตนเสียใหม่. ผลเป็นอย่างที่เปาโลเขียนในข้อต่อมา คือพระยะโฮวาอาจ “ให้เขากลับใจซึ่งนำไปสู่ความรู้ถ่องแท้เรื่องความจริง.” (14 เปาโลทำอย่างที่ท่านสอน. เมื่อจัดการกับ “พวกอัครสาวกสุดวิเศษ” ในประชาคมโครินท์ ท่านกระตุ้นพี่น้องที่นั่นดังนี้: “บัดนี้ ข้าพเจ้า เปาโล วิงวอนพวกท่านโดยอาศัยความอ่อนโยนและพระกรุณาของพระคริสต์ แม้ข้าพเจ้าดูต่ำต้อยท่ามกลางพวกท่าน แต่เมื่อไม่อยู่ ข้าพเจ้าก็กล้าเขียนถึงพวกท่าน.” (2 โกรินโธ 10:1; 11:5, ล.ม.) เปาโลเลียนแบบพระคริสต์อย่างแท้จริง. สังเกตว่าท่านวิงวอนพี่น้องเหล่านี้ “โดยอาศัยความอ่อนโยน” ของพระคริสต์. โดยวิธีนี้ ท่านหลีกเลี่ยงการสั่งหรือการใช้อำนาจบังคับ. คำกระตุ้นเตือนของท่านคงเป็นที่ดึงดูดใจสำหรับคนเหล่านั้นในประชาคมที่มีหัวใจตอบรับ. ท่านทำให้ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดผ่อนคลายลงและช่วยสร้างสันติและเอกภาพในประชาคม. นี่เป็นแนวทางที่เราทุกคนพยายามเลียนแบบได้มิใช่หรือ? โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาผู้ปกครองจำเป็นต้องเลียนแบบการกระทำของพระคริสต์และเปาโล.
15. เหตุใดจึงสำคัญที่จะมีความอ่อนโยนเมื่อให้คำแนะนำ?
15 แน่นอน ความรับผิดชอบในการช่วยผู้อื่นไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเมื่อสันติสุขและเอกภาพของประชาคมถูกคุกคาม. ก่อนจะเกิดความสัมพันธ์ที่ตึงเครียด พี่น้องต้องได้รับการชี้นำด้วยความรัก. เปาโลกระตุ้นดังนี้: “พี่น้องทั้งหลาย ถ้าแม้นผู้ใดก้าวพลาดไปประการใดก่อนที่เขารู้ตัว ท่านทั้งหลายผู้มีคุณวุฒิฝ่ายวิญญาณจงพยายามปรับคนเช่นนั้นให้เข้าที่.” แต่จะทำโดยวิธีใด? เปาโลกล่าวว่า “ด้วยน้ำใจอ่อนโยน ขณะที่ท่านแต่ละคนเฝ้าระวังตนเอง เกรงว่าท่านอาจถูกล่อใจด้วย.” (ฆะลาเตีย 6:1, ล.ม.) การรักษา “น้ำใจอ่อนโยน” ไม่ง่ายเสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคริสเตียนทุกคน รวมทั้งบรรดาผู้ชายที่ได้รับการแต่งตั้ง ต่างได้รับผลกระทบจากแนวโน้มที่ผิดบาป. ถึงกระนั้น ความอ่อนโยนของผู้ให้คำแนะนำจะช่วยให้ผู้กระทำผิดรับการปรับให้เข้าที่ได้ง่ายขึ้น.
16, 17. อะไรอาจช่วยขจัดความไม่เต็มใจที่จะทำตามคำแนะนำ?
16 คำเดิมในภาษากรีกที่ได้รับการแปลว่า ‘ปรับให้เข้าที่’ ยังใช้พรรณนาการดึงกระดูกที่หักให้กลับเข้าที่ด้วย ซึ่งเป็นกระบวนการที่ก่อความเจ็บปวด. หมอที่ให้กำลังใจซึ่งเป็นผู้ดึงกระดูกกลับเข้าที่นั้นจะพูดถึงผลประโยชน์ของกรรมวิธีดังกล่าว. ท่าทีที่สงบใจเย็นของหมอทำให้รู้สึกสบายใจ. คำสุภาษิต 25:15.
พูดไม่กี่คำก่อนลงมือกระทำช่วยคลายความวิตกกังวลที่มีอย่างมากมาย. เช่นเดียวกัน การปรับให้เข้าที่ฝ่ายวิญญาณอาจก่อความเจ็บปวด. แต่ความอ่อนโยนจะช่วยให้ยอมรับสิ่งนั้นได้ง่ายขึ้น โดยวิธีนี้จึงฟื้นฟูสัมพันธภาพที่น่ายินดีและปูทางไว้สำหรับผู้ทำผิดที่จะปรับเปลี่ยนแนวทางของตน. แม้ว่ามีการต่อต้านคำแนะนำในตอนแรก แต่ความอ่อนโยนในส่วนของผู้ให้คำแนะนำอาจขจัดความไม่เต็มใจที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำตามหลักพระคัมภีร์ที่เป็นประโยชน์.—17 เมื่อช่วยปรับคนอื่นให้เข้าที่ เป็นไปได้เสมอที่คำแนะนำอาจถูกตีความว่าเป็นการตำหนิติเตียน. นักเขียนคนหนึ่งให้ความเห็นดังนี้: “การว่ากล่าวคนอื่นเป็นโอกาสที่เสี่ยงต่อการแสดงอำนาจของตนเกินควรมากกว่าโอกาสใด ๆ และด้วยเหตุนี้จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีความอ่อนโยน ขณะที่ว่ากล่าวนั้น.” การปลูกฝังความอ่อนโยนที่เกิดจากความถ่อมใจจะช่วยคริสเตียนผู้ให้คำแนะนำหลีกเลี่ยงการแสดงอำนาจเกินควร.
“ต่อคนทั้งปวง”
18, 19. (ก) เหตุใดคริสเตียนจึงอาจพบว่ายากที่จะแสดงความอ่อนโยนเมื่อติดต่อเกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจฝ่ายโลก? (ข) อะไรจะช่วยให้คริสเตียนแสดงความอ่อนโยนต่อผู้มีอำนาจ และอาจส่งผลประการใด?
18 อีกขอบเขตหนึ่งที่หลายคนพบว่ายากที่จะสำแดงความอ่อนโยนคือเมื่อเกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจฝ่ายโลก. เป็นที่ยอมรับว่า การกระทำของผู้มีอำนาจบางคนแสดงถึงความเข้มงวดและการขาดความเห็นอกเห็นใจ. (ท่านผู้ประกาศ 4:1; 8:9) อย่างไรก็ตาม ความรักที่เรามีต่อพระยะโฮวาจะช่วยให้เรายอมรับอำนาจสูงสุดของพระองค์และยอมอยู่ใต้อำนาจรัฐบาลต่าง ๆ อย่างมีขอบเขตตามที่พวกเขาควรจะได้รับ. (โรม 13:1, 4; 1 ติโมเธียว 2:1, 2) แม้แต่เมื่อผู้มีตำแหน่งสูงพยายามวางข้อจำกัดไม่ให้เรานมัสการพระยะโฮวาอย่างเปิดเผย เราก็ยินดีเสาะหาวิธีอื่น ๆ ที่ยังสามารถทำได้เพื่อถวายเครื่องบูชาแห่งคำสรรเสริญแด่พระองค์.—เฮ็บราย 13:15.
19 เราจะไม่หันไปใช้ความก้าวร้าวเพื่อตอบโต้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพการณ์ใด ๆ. เราพยายามแสดงความมีเหตุผลในขณะเดียวกันก็จะไม่อะลุ่มอล่วยหลักการอันชอบธรรม. โดยวิธีนี้ พี่น้องของเราสามารถทำงานรับใช้ของตนอย่างบรรลุผลสำเร็จใน 234 ดินแดนตลอดทั่วโลก. เราเชื่อฟังคำแนะนำของเปาโลที่ “ให้ยอมอยู่ใต้อำนาจและเชื่อฟังรัฐบาลและผู้มีอำนาจที่เป็นผู้ปกครอง, ให้พร้อมสำหรับการงานที่ดีทุกอย่าง,ไม่ให้พูดใส่ร้ายคนหนึ่งคนใด, ไม่ให้เป็นคนชอบวิวาท, ให้มีเหตุผล, สำแดงแต่ความอ่อนโยนในทุกทางต่อคนทั้งปวง.”—ติโต 3:1, 2, ล.ม.
20. มีบำเหน็จอะไรสำหรับผู้ซึ่งสำแดงความอ่อนโยน?
20 ทุกคนที่สำแดงความอ่อนโยนจะได้รับบำเหน็จอันอุดม. พระเยซูกล่าวว่า “ความสุขมีแก่คนอ่อนโยน เพราะว่าเขาจะได้รับแผ่นดินโลกเป็นมรดก.” (มัดธาย 5:5, ล.ม.) สำหรับพี่น้องของพระคริสต์ที่ได้รับการเจิมด้วยพระวิญญาณ การรักษาความอ่อนโยนไว้จะรับประกันว่าพวกเขาจะมีความสุขและจะได้รับสิทธิพิเศษปกครองเหนืออาณาเขตทางแผ่นดินโลกของราชอาณาจักรอย่างแน่นอน. ส่วน “ชนฝูงใหญ่” แห่ง “แกะอื่น” พวกเขาจะแสดงความอ่อนโยนเรื่อยไปและคอยท่าชีวิตในอุทยานบนแผ่นดินโลก. (วิวรณ์ 7:9, ล.ม.; โยฮัน 10:16; บทเพลงสรรเสริญ 37:11) ช่างเป็นความหวังอันน่าพิศวงในอนาคตอย่างแท้จริง! ด้วยเหตุนั้น อย่าให้เราเพิกเฉยคำเตือนที่เปาโลให้กับคริสเตียนในเอเฟโซสที่ว่า “ฉะนั้น ข้าพเจ้า ผู้ถูกจำจองเนื่องด้วยองค์พระผู้เป็นเจ้า ขอวิงวอนท่านทั้งหลายให้ดำเนินอย่างคู่ควรกับการทรงเรียกซึ่งท่านทั้งหลายได้รับ ด้วยความถ่อมใจและความอ่อนโยนอย่างยิ่ง.”—เอเฟโซ 4:1, 2, ล.ม.
การทบทวน
• มีพระพรอะไรบ้างจากการสำแดงความอ่อนโยน
• ในครอบครัว?
• ในงานเผยแพร่?
• ในประชาคม?
• มีบำเหน็จอะไรที่สัญญาไว้สำหรับผู้มีใจอ่อนโยน?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 21]
ความอ่อนโยนมีความสำคัญเป็นพิเศษในครอบครัวที่มีความเชื่อทางศาสนาต่างกัน
[ภาพหน้า 21]
ความอ่อนโยนเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แน่นแฟ้น
[ภาพหน้า 23]
โต้ตอบด้วยความอ่อนโยนและความนับถือสุดซึ้ง
[ภาพหน้า 24]
ความอ่อนโยนของผู้ให้คำแนะนำอาจช่วยผู้กระทำผิดได้