หนุ่มสาวทั้งหลาย—พระยะโฮวาจะไม่ทรงลืมการงานของพวกคุณ!
หนุ่มสาวทั้งหลาย—พระยะโฮวาจะไม่ทรงลืมการงานของพวกคุณ!
“พระเจ้าไม่ใช่อธรรมที่จะทรงลืมการงานของท่านและความรักที่ท่านได้สำแดงต่อพระนามของพระองค์, ในการที่ท่านได้ปรนนิบัติสิทธชนนั้น, และยังกำลังปรนนิบัติอยู่.”—เฮ็บราย 6:10.
1. พระธรรมเฮ็บรายและมาลาคีแสดงอย่างไรว่าพระยะโฮวาหยั่งรู้ค่างานรับใช้ของคุณ?
คุณเคยให้ความช่วยเหลืออะไรบางอย่างแก่เพื่อน แต่แล้วไม่ได้รับคำขอบคุณไหม? อาจทำให้เสียใจไม่น้อยถ้าการแสดงน้ำใจเอื้อเฟื้อถูกถือว่ามีค่าเพียงเล็กน้อย หรือแย่ไปกว่านั้นคือถูกลืมไปเลย. แต่ช่างต่างออกไปสักเพียงไรเมื่อเราถวายการรับใช้อย่างสุดหัวใจแด่พระยะโฮวา! คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “พระเจ้าไม่ใช่อธรรมที่จะทรงลืมการงานของท่านและความรักที่ท่านได้สำแดงต่อพระนามของพระองค์, ในการที่ท่านได้ปรนนิบัติสิทธชนนั้น, และยังกำลังปรนนิบัติอยู่.” (เฮ็บราย 6:10) ลองคิดดูสิว่าข้อนี้หมายความอย่างไร. ที่แท้แล้ว พระยะโฮวาจะถือว่าเป็นการอธรรม—เป็นบาป—ในส่วนของพระองค์ ถ้าพระองค์ทรงลืมสิ่งที่คุณได้ทำและสิ่งที่จะทำต่อไปในการรับใช้ พระองค์. ช่างเป็นพระเจ้าที่มีความหยั่งรู้ค่าอะไรอย่างนั้น!—มาลาคี 3:10.
2. อะไรทำให้การรับใช้พระยะโฮวาเป็นสิ่งที่พิเศษจริง ๆ?
2 คุณมีสิทธิพิเศษที่จะนมัสการและรับใช้พระเจ้าผู้มีความหยั่งรู้ค่าองค์นี้. เนื่องจากมีแค่ประมาณหกล้านคนที่เป็นเพื่อนร่วมความเชื่อของคุณ เมื่อเทียบกับประชากรทั่วโลกประมาณหกพันล้านคน สิทธิพิเศษของคุณจึงเป็นสิ่งที่น้อยคนจะมี. ยิ่งกว่านั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าคุณกำลังฟังและตอบรับข่าวสารเกี่ยวกับข่าวดีนั้นเป็นหลักฐานว่าพระยะโฮวาทรงสนพระทัยคุณเป็นส่วนตัว. ที่จริง พระเยซูตรัสว่า “ไม่มีผู้ใดจะมาถึงเราได้, เว้นไว้พระบิดาผู้ทรงใช้เรามาจะชักนำเขา.” (โยฮัน 6:44) ใช่แล้ว พระยะโฮวาช่วยผู้คนเป็นรายบุคคลให้รับประโยชน์จากเครื่องบูชาของพระคริสต์.
การหยั่งรู้ค่าสิทธิพิเศษอันยอดเยี่ยม
3. เหล่าบุตรชายโคราได้แสดงความหยั่งรู้ค่าต่อสิทธิพิเศษในการรับใช้พระยะโฮวาอย่างไร?
3 ดังที่ได้พิจารณาไปในบทความก่อน คุณอยู่ในฐานะที่ไม่มีใดเหมือนที่จะทำให้พระทัยของพระยะโฮวาปีติยินดี. (สุภาษิต 27:11) นั่นเป็นสิ่งที่คุณไม่ควรถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา. ในเพลงสรรเสริญที่มีขึ้นโดยการดลใจบทหนึ่งของเหล่าบุตรชายโครา พวกเขาได้แสดงความหยั่งรู้ค่าต่อสิทธิพิเศษในการรับใช้พระยะโฮวา ซึ่งเราอ่านดังนี้: “วันหนึ่งในลานพระนิเวศของพระองค์ดีกว่าหนึ่งพันวันในที่อื่น. ข้าพเจ้าเลือกยืนที่ธรณีประตูในพระนิเวศของพระเจ้าของข้าพเจ้า แทนที่จะเตร็ดเตร่ในเต็นท์แห่งความชั่วช้า.”—บทเพลงสรรเสริญ 84:10, ล.ม.
4. (ก) อะไรอาจทำให้บางคนมองว่าการนมัสการพระยะโฮวาเป็นการจำกัดเสรีภาพ? (ข) พระยะโฮวาแสดงให้เห็นอย่างไรว่าพระองค์ปรารถนาอย่างยิ่งที่จะสังเกตดูผู้รับใช้ของพระองค์และประทานบำเหน็จให้พวกเขา?
4 คุณมีความรู้สึกอย่างเดียวกันต่อสิทธิพิเศษที่คุณได้รับใช้พระบิดาฝ่ายสวรรค์ไหม? เป็นที่ยอมรับว่าบางครั้งการนมัสการพระยะโฮวาอาจดูเหมือนจำกัดเสรีภาพของคุณ. เป็นความจริงที่การดำเนินชีวิตตามหลักการในคัมภีร์ไบเบิลเรียกร้องการเสียสละตัวเองในระดับหนึ่ง. แต่ในที่สุดแล้ว ไม่ว่าอะไรก็ตามที่พระยะโฮวาขอจากคุณนั้นก็เพื่อประโยชน์ต่อตัวคุณเอง. (บทเพลงสรรเสริญ 1:1-3) นอกจากนี้ พระยะโฮวาเห็นความพยายามของคุณและสำแดงความหยั่งรู้ค่าต่อความซื่อสัตย์ของคุณ. อันที่จริง เปาโลเขียนว่าพระยะโฮวา “เป็นผู้ประทานบำเหน็จให้แก่คนเหล่านั้นที่แสวงหาพระองค์อย่างจริงใจ.” (เฮ็บราย 11:6, ล.ม.) พระยะโฮวามองหาโอกาสจะทำเช่นนั้น. ผู้พยากรณ์ที่ชอบธรรมคนหนึ่งในอิสราเอลโบราณกล่าวดังนี้: “ส่วนพระยะโฮวา พระเนตรของพระองค์กวาดมองไปทั่วแผ่นดินโลกเพื่อจะสำแดงฤทธิ์ของพระองค์เพื่อคนเหล่านั้นที่มีหัวใจเป็นหนึ่งเดียวต่อพระองค์.”—2 โครนิกา 16:9, ล.ม.
5. (ก) วิธีหนึ่งที่ดีเยี่ยมที่คุณจะแสดงว่าหัวใจของคุณเป็นหนึ่งเดียวต่อพระยะโฮวาคืออะไร? (ข) เหตุใดการพูดคุยกับคนอื่นในเรื่องความเชื่อของคุณจึงดูเหมือนว่ายาก?
5 วิธีหนึ่งที่ดีเยี่ยมที่คุณจะแสดงได้ว่าหัวใจของคุณเป็นหนึ่งเดียวต่อพระยะโฮวาคือการพูดคุยกับคนอื่นถึงเรื่องพระองค์. คุณเคยสบโอกาสที่จะพูดกับเพื่อนนักเรียนบางคนโยฮัน 15:20) อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องถูกหัวเราะเยาะและถูกปฏิเสธเสมอไป. ตรงกันข้าม หนุ่มสาวพยานฯ หลายคนได้พบบางคนที่เต็มใจฟังและกระทั่งได้รับความนับถือจากเพื่อน ๆ มากขึ้นด้วยเพราะได้ยึดมั่นกับความเชื่อของตน.
ในเรื่องความเชื่อของคุณไหม? ทีแรก การทำแบบนี้อาจดูน่าหวาดหวั่น และความคิดในเรื่องนี้อาจทำให้รู้สึกหวั่นกลัวอยู่บ้าง. คุณอาจมีคำถามว่า ‘แล้วถ้าพวกเขาหัวเราะเยาะฉัน หรือคิดว่าศาสนาของฉันประหลาดล่ะ?’ พระเยซูยอมรับว่าไม่ใช่ทุกคนจะฟังข่าวสารราชอาณาจักร. (“พระยะโฮวาจะช่วยคุณ”
6, 7. (ก) เด็กสาวอายุ 17 ปีคนหนึ่งสามารถให้คำพยานแก่เพื่อนนักเรียนได้อย่างไร? (ข) คุณได้เรียนรู้อะไรจากประสบการณ์ของเจนนิเฟอร์?
6 แต่คุณจะรวบรวมความกล้าเพื่อพูดเกี่ยวกับความเชื่อของคุณได้อย่างไร? จะดีไหมถ้าตั้งใจไว้เลยว่าหากมีคนถามเกี่ยวกับศาสนาของคุณ คุณก็จะบอกอย่างตรงไปตรงมา? ขอให้พิจารณาประสบการณ์ของเจนนิเฟอร์ เด็กสาววัย 17 ปี. เธอเล่าว่า “ตอนที่ดิฉันกำลังกินอาหารกลางวัน เพื่อน ๆ ที่นั่งร่วมโต๊ะกับดิฉันบังเอิญคุยกันเรื่องศาสนา และคนหนึ่งในนั้นถามดิฉันว่านับถือศาสนาอะไร.” เจนนิเฟอร์กังวลไหมในการให้คำตอบ? “กังวลสิ” เธอยอมรับ “เพราะดิฉันไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะมีปฏิกิริยาอย่างไร.” ถ้าอย่างนั้น เจนนิเฟอร์ทำอย่างไร? “ดิฉันบอกพวกเขาว่าดิฉันเป็นพยานพระยะโฮวา” เธอเล่าต่อ. “ทีแรก ดูเหมือนพวกเขาประหลาดใจ. เห็นได้ว่าพวกเขาคงมีความคิดว่าพยานพระยะโฮวาเป็นคนแปลก ๆ. นั่นนำไปสู่การถามคำถามหลายข้อ และดิฉันสามารถอธิบายแก้ไขความคิดผิด ๆ บางอย่างที่พวกเขามี. แม้แต่หลังจากวันนั้น บางคนก็ยังมาหาดิฉันเป็นครั้งคราวเพื่อถามคำถาม.”
7 เจนนิเฟอร์เสียใจไหมที่ได้ใช้โอกาสนั้นพูดเกี่ยวกับความเชื่อของเธอ? ไม่เลย! เธอบอกว่า “หลังจากช่วงพักกลางวันผ่านพ้นไปดิฉันรู้สึกดีมาก ๆ. ตอนนี้ พวกเพื่อน ๆ เหล่านั้นเข้าใจดีขึ้นว่า จริง ๆ แล้วพยานพระยะโฮวาเป็นใคร.” ข้อแนะนำของเจนนิเฟอร์นั้นง่าย ๆ คือ “ถ้าคุณรู้สึกว่ายากที่จะให้คำพยานกับเพื่อนนักเรียนหรือครู ให้อธิษฐานสั้น ๆ. พระยะโฮวาจะช่วยคุณ. คุณจะประสบความยินดีที่ได้ฉวยโอกาสให้คำพยาน.”—1 เปโตร 3:15.
8. (ก) คำอธิษฐานช่วยนะเฮมยาอย่างไรเมื่อท่านเผชิญสถานการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดล่วงหน้า? (ข) มีสถานการณ์อะไรบ้างที่โรงเรียนซึ่งอาจต้องอธิษฐานในใจสั้น ๆ ถึงพระยะโฮวา?
8 ขอสังเกตว่าเจนนิเฟอร์แนะนำให้ “อธิษฐานสั้น ๆ” ถึงพระยะโฮวาถ้าได้โอกาสที่จะให้คำพยานเกี่ยวกับความเชื่อของคุณ. นะเฮมยาพนักงานเชิญจอกเสวยของกษัตริย์อะระธาสัศธาแห่งเปอร์เซียก็ได้ทำอย่างเดียวกันนี้แหละเมื่อท่านเผชิญสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด. นะเฮมยาทุกข์ใจอย่างสังเกตเห็นได้ชัดเนื่องจากท่านได้รับแจ้งให้ทราบข่าวเกี่ยวกับสภาพอันน่าสลดของชาวยิวและได้รู้ว่ากำแพงและประตูกรุงเยรูซาเลมอยู่ในสภาพปรักหักพัง. กษัตริย์สังเกตว่านะเฮมยาดูเหมือนมีเรื่องกังวลใจ พระองค์จึงถามนะเฮมยาถึงสาเหตุ. ก่อนที่จะตอบ นะเฮมยาอธิษฐานขอการทรงนำ. หลังจากนั้น ท่านจึงมีความกล้าที่จะขออนุญาตกลับไปยังกรุงเยรูซาเลมและช่วยบูรณะเมืองที่พังทลาย. อะระธาสัศธาอนุญาตให้นะเฮมยาทำตามที่ขอ. (นะเฮมยา 2:1-8) คุณได้บทเรียนอะไร? ถ้าคุณรู้สึกประหวั่นเมื่อโอกาสสำหรับการให้คำพยานเรื่องความเชื่อของคุณมาถึง อย่าละทิ้งโอกาสที่จะอธิษฐานในใจในตอนนั้น. เปโตรเขียนว่า “[จง] มอบความกระวนกระวายทั้งสิ้นของท่านไว้กับ [พระยะโฮวา] เพราะว่าพระองค์ทรงใฝ่พระทัยในท่านทั้งหลาย.”—1 เปโตร 5:7, ล.ม.; บทเพลงสรรเสริญ 55:22.
‘เตรียมพร้อมที่จะตอบ’
9. เลอาวัย 13 ปีสามารถจำหน่ายหนังสือหนุ่มสาวถามจำนวน 23 เล่มได้โดยวิธีใด?
9 ขอพิจารณาอีกตัวอย่างหนึ่ง. เลอาวัย 13 ปี กำลังนั่งอ่านหนังสือคำถามที่หนุ่มสาวถาม—คำตอบที่ได้ผล *ระหว่างช่วงพักกลางวันที่โรงเรียน. เธอเล่าว่า “เพื่อนหลายคนมองหนู. ในไม่ช้าพวกเขาก็เข้ามายืนห้อมล้อมหนู และถามว่านั่นเป็นหนังสือเกี่ยวกับอะไร.” ตอนเลิกเรียน มีเพื่อนนักเรียนหญิงสี่คนมาหาเลอาเพื่อขอหนังสือหนุ่มสาวถาม คนละเล่ม. จากนั้นไม่นาน สี่คนนี้ก็ได้ให้คนอื่น ๆ ดูหนังสือนั้น ด้วย และแล้วคนเหล่านั้นที่ได้ดูก็อยากได้คนละเล่มเช่นกัน. ไม่กี่สัปดาห์ผ่านไป เลอาจำหน่ายหนังสือหนุ่มสาวถาม ได้ทั้งหมด 23 เล่มแก่เพื่อนร่วมชั้นและเพื่อน ๆ ของพวกเขา. ง่ายไหมสำหรับเลอาที่จะพูดออกมาในตอนแรกที่เพื่อน ๆ ถามเรื่องหนังสือที่เธอกำลังอ่าน? ไม่เลย! “ทีแรก หนูรู้สึกประหม่า” เธอยอมรับ. “แต่หนูได้อธิษฐาน และหนูรู้ว่าพระยะโฮวาทรงสถิตอยู่กับหนู.”
10, 11. เด็กหญิงชาวอิสราเอลสามารถช่วยแม่ทัพซีเรียให้เรียนรู้เกี่ยวกับพระยะโฮวาได้อย่างไร และเขาได้ทำการเปลี่ยนแปลงอะไรหลังจากนั้น?
10 ประสบการณ์ของเลอาอาจทำให้เรานึกถึงสถานการณ์คล้าย ๆ กันที่เด็กหญิงชาวอิสราเอลที่ถูกจับไปเป็นเชลยที่ซีเรียได้เผชิญ. นามานแม่ทัพของซีเรียเป็นโรคเรื้อน. ภรรยาของนามานคงเป็นฝ่ายเริ่มการสนทนาซึ่งกระตุ้นให้เด็กหญิงคนนี้พูดออกมาถึงความเชื่อของเธอ. เธอพูดว่า “ถ้านามานนายของข้าพเจ้าอยู่กับผู้พยากรณ์ที่กรุงซะมาเรียก็จะดีมาก! ด้วยผู้พยากรณ์อาจรักษาท่านให้หายจากโรคเรื้อน.”—2 กษัตริย์ 5:1-3.
11 ผลเนื่องจากความกล้าของเด็กหญิงคนนี้ นามานได้มารู้ว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นเลยทั่วพิภพเว้นแต่พระเจ้าของชาติยิศราเอล.” เขาถึงกับตั้งใจที่จะ “ไม่ถวายบูชาเพลิงหรือบูชาอื่น ๆ แก่เหล่าพระอื่นเลย, เว้นแต่พระยะโฮวา.” 2 กษัตริย์ 5:15, 17) พระยะโฮวาทรงอวยพรความกล้าหาญของเด็กหญิงคนนี้อย่างแน่นอน. พระองค์สามารถทำและจะทำอย่างเดียวกันนั้นสำหรับเยาวชนในทุกวันนี้. เลอาประสบความจริงข้อนี้. ในเวลาต่อมา เพื่อนร่วมห้องบางคนได้มาหาเธอและบอกว่าหนังสือหนุ่มสาวถาม ช่วยเปลี่ยนความประพฤติของพวกเขา. เลอากล่าวว่า “หนูดีใจเพราะรู้ว่าหนูกำลังช่วยคนอื่น ๆ เรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับพระยะโฮวาและกำลังช่วยพวกเขาให้เปลี่ยนวิถีชีวิตของตน.”
(12. คุณจะได้รับการเสริมความกล้าที่จะให้คำตอบในเรื่องความเชื่อของคุณได้โดยวิธีใด?
12 คุณจะมีประสบการณ์ในทำนองเดียวกับเจนนิเฟอร์และเลอาได้เช่นกัน. จงทำตามคำแนะนำของเปโตร ซึ่งเขียนว่าในฐานะคริสเตียน คุณควร ‘เตรียมพร้อมเสมอที่จะโต้ตอบต่อหน้าทุกคนซึ่งเรียกเหตุผลจากคุณสำหรับความหวังของคุณ แต่จงทำเช่นนี้พร้อมด้วยอารมณ์อ่อนโยนและความนับถือสุดซึ้ง.’ (1 เปโตร 3:15, ล.ม.) คุณจะทำอย่างนั้นได้โดยวิธีใด? โดยทำตามอย่างคริสเตียนในศตวรรษแรกที่อธิษฐานขอพระยะโฮวาให้ช่วยพวกเขาประกาศ “ด้วยใจกล้า.” (กิจการ 4:29) จากนั้น จงมีความกล้าที่จะพูดกับคนอื่น ๆ เรื่องความเชื่อของคุณ. คุณอาจประหลาดใจในผลที่ได้รับ. ยิ่งไปกว่านั้น คุณจะทำให้พระทัยของพระยะโฮวาปีติยินดี.
วีดิทัศน์และกิจกรรมพิเศษในชั้นเรียน
13. เยาวชนบางคนได้ใช้ประโยชน์จากโอกาสใดบ้างในการให้คำพยาน? (ดูกรอบหน้า 20 และ 21.)
13 เยาวชนหลายคนได้อธิบายความเชื่อของตนแก่เพื่อนนักเรียนหรือครูโดยใช้วีดิทัศน์. ในบางครั้ง กิจกรรมพิเศษในวิชาที่เรียนเปิดโอกาสเช่นกันที่จะนำคำสรรเสริญมาสู่พระยะโฮวา. เพื่อเป็นตัวอย่าง เด็กหนุ่มสองคนวัย 15 ปี ซึ่งเป็นพยานพระยะโฮวาทั้งคู่ ได้รับมอบหมายในวิชาประวัติศาสตร์โลกให้ทำรายงานในเรื่องศาสนาหนึ่งของโลก. ทั้งสองร่วมกันทำรายงานเรื่องพยานพระยะโฮวา โดยใช้หนังสือพยานพระยะโฮวา—ผู้ประกาศราชอาณาจักรของพระเจ้า (ภาษาอังกฤษ) เป็นแหล่งข้อมูลในการเขียน. * พวกเขา ยังต้องเสนอรายงานโดยพูดหน้าชั้นห้านาทีอีกด้วย. หลังจากนั้น ครูและพวกนักเรียนมีคำถามมากมายจนทั้งสองยืนอยู่ต่อหน้าชั้นอีก 20 นาที. ตลอดหลายสัปดาห์หลังจากนั้น เพื่อนร่วมชั้นยังคงถามคำถามเกี่ยวกับพยานพระยะโฮวา!
14, 15. (ก) ทำไมการกลัวมนุษย์เป็นบ่วงแร้ว? (ข) เหตุใดคุณน่าจะรู้สึกมั่นใจในการบอกคนอื่น ๆ เกี่ยวกับความเชื่อของคุณ?
14 ดังที่ประสบการณ์ก่อนหน้านี้แสดงให้เห็น การที่คุณบอกคนอื่น ๆ เกี่ยวกับความเชื่อของคุณในฐานะเป็นพยานพระยะโฮวาคนหนึ่งย่อมทำให้คุณประสบพระพรมากมาย. อย่าปล่อยให้ความกลัวมนุษย์มาทำให้คุณพลาดสิทธิพิเศษและความยินดีในการช่วยผู้อื่นให้มารู้จักพระยะโฮวา. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “การกลัวมนุษย์เป็นบ่วงแร้ว แต่ผู้ที่วางใจพระยะโฮวาจะได้รับการคุ้มครอง.”—สุภาษิต 29:25, ล.ม.
15 ขออย่าลืมว่า ในฐานะเยาวชนคริสเตียน คุณมีบางสิ่งที่คนรุ่นเดียวกับคุณขาดไปจริง ๆ นั่นคือแนวทางชีวิตที่ดีที่สุดในปัจจุบันและคำสัญญาเรื่องชีวิตนิรันดร์ในอนาคต. (1 ติโมเธียว 4:8) น่าสนใจ ในสหรัฐ ที่ซึ่งคุณอาจคิดว่าผู้คนทั่วไปไม่สนใจในศาสนา การสำรวจความเห็นของประชาชนครั้งหนึ่งเปิดเผยว่าเยาวชนอย่างน้อยครึ่งหนึ่งถือว่าศาสนาเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง และหนึ่งในสามกล่าวว่าความเชื่อทางศาสนา “มีอิทธิพลมากที่สุด” ต่อชีวิตของพวกเขา. สภาพการณ์คงจะคล้ายกันนี้ในหลายส่วนของโลก. ดังนั้น เป็นไปได้มากที่เพื่อน ๆ ของคุณที่โรงเรียนจะยินดีฟังสิ่งที่คุณพูดเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิล.
ขณะที่เป็นเยาวชน จงเข้าใกล้พระยะโฮวา
16. มีอะไรอื่นอีกที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยในการทำให้พระยะโฮวาพอพระทัย นอกเหนือจากการพูดคุยกับคนอื่น ๆ เกี่ยวกับพระองค์?
16 แน่นอน การทำให้พระทัยของพระยะโฮวาปีติยินดีเกี่ยวข้องไม่เพียงแค่พูดเกี่ยวกับพระองค์. คุณยังต้องประพฤติให้สอดคล้องกับมาตรฐานของพระองค์ด้วย. อัครสาวกโยฮันเขียนว่า “นี่แหละหมายถึงความรักต่อพระเจ้า คือที่เราปฏิบัติตามบัญญัติของพระองค์; และกระนั้นบัญญัติของพระองค์ไม่เป็นภาระหนัก.” (1 โยฮัน 5:3, ล.ม.) คุณจะพบข้อนี้เป็นความจริงเมื่อคุณเข้าใกล้พระยะโฮวา. คุณจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร?
17. คุณจะเข้าใกล้พระยะโฮวาได้อย่างไร?
17 จงใช้เวลาอ่านคัมภีร์ไบเบิลและสรรพหนังสือที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก. ยิ่งคุณเรียนรู้เกี่ยวกับพระยะโฮวามากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งง่ายสำหรับคุณมากขึ้นเท่านั้นที่จะเชื่อฟังพระองค์และพูดคุยกับคนอื่น ๆ เกี่ยวกับพระองค์. พระเยซูตรัสว่า “คนดีก็ย่อมเอาของดีออกจากคลังดีแห่งใจของตน, . . . เพราะว่าใจเต็มบริบูรณ์อย่างไรปากก็พูดออกอย่างนั้น.” (ลูกา 6:45) ฉะนั้น จงบรรจุหัวใจของคุณด้วยสิ่งที่ดี. ทำไมไม่ลองตั้งเป้าในเรื่องนี้ดูล่ะ? บางทีคุณอาจปรับปรุงเรื่องการเตรียมตัวสำหรับการประชุมประจำประชาคมของสัปดาห์ที่จะถึงนี้. จากนั้น อาจตั้งเป้าที่จะมีส่วนร่วมในการออกความเห็นสั้น ๆ แต่มาจากใจ. แน่ละ เป็นสิ่งสำคัญด้วยที่คุณจะนำสิ่งที่คุณเรียนรู้ไปใช้.—ฟิลิปปอย 4:9.
18. ถึงแม้คุณอาจประสบการต่อต้านอยู่บ้าง แต่คุณมั่นใจได้ในเรื่องใด?
18 พระพรที่มาจากการรับใช้พระยะโฮวานั้นยืนยาว และที่จริงแล้ว ยั่งยืนตลอดกาล. จริงอยู่ บางครั้งคุณอาจประสบการต่อต้านหรือการเยาะเย้ยอยู่บ้างเนื่องจากเป็นพยานพระยะโฮวา. แต่ขอให้คุณคิดถึงโมเซ. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ท่านมองเขม้นไปถึงการปูนบำเหน็จ.” (เฮ็บราย 11:24-26, ล.ม.) คุณมั่นใจได้เช่นกันว่าพระยะโฮวาจะประทานบำเหน็จให้แก่คุณสำหรับความพยายามของคุณในการเรียนรู้และพูดเกี่ยวกับพระองค์. ที่จริง พระองค์จะไม่ ‘ลืมการงานของคุณและความรักที่คุณได้สำแดงต่อพระนามของพระองค์.’—เฮ็บราย 6:10.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 9 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
^ วรรค 13 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
คุณจำได้ไหม?
• ทำไมคุณจึงมั่นใจได้ว่าพระยะโฮวาทรงหยั่งรู้ค่างานรับใช้ของคุณ?
• มีวิธีอะไรบ้างในการให้คำพยานที่โรงเรียนซึ่งบางคนใช้ได้ผลดี?
• คุณจะได้รับการเสริมความกล้าเพื่อให้คำพยานแก่เพื่อนร่วมชั้นได้โดยวิธีใด?
• คุณจะเข้าใกล้พระยะโฮวาได้อย่างไร?
[คำถาม]
[กรอบ/ภาพหน้า 20]
แม้แต่เด็ก ๆ ก็ยังสรรเสริญพระยะโฮวา!
แม้แต่เด็ก ๆ ก็ยังสามารถให้คำพยานที่โรงเรียน. ขอให้พิจารณาประสบการณ์ต่อไปนี้.
อัมเบอร์วัยสิบขวบเป็นนักเรียนของชั้นประถมปีที่ห้าซึ่งกำลังอ่านหนังสือเรื่องการกวาดล้างชาวยิวโดยพวกนาซีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง. อัมเบอร์ตัดสินใจนำวีดิทัศน์เรื่องสามเหลี่ยมสีม่วง (ภาษาอังกฤษ) ไปให้ครูของเธอ. ครูประหลาดใจที่รู้ว่าพยานพระยะโฮวาก็ถูกข่มเหงภายใต้ระบอบของนาซีเช่นกันและได้ให้นักเรียนทั้งชั้นชมวีดิทัศน์เรื่องนั้นพร้อมกัน.
ตอนที่อายุแปดขวบ อะเล็กซาเขียนจดหมายถึงชั้นเรียนของเธออธิบายว่าทำไมเธอไม่สามารถเข้าร่วมการฉลองคริสต์มาสกับพวกเขา. ครูของอะเล็กซาประทับใจมากจึงให้เธออ่านจดหมายให้เพื่อนนักเรียนในชั้นของเธอฟังและยังอ่านให้อีกสองชั้นฟังด้วย! เธอกล่าวในตอนจบว่า “ฉันถูกสอนให้นับถือความเชื่อของคนอื่นที่ต่างออกไปจากฉัน และฉันขอขอบคุณเพื่อน ๆ ที่นับถือการตัดสินใจของฉันที่ไม่ร่วมฉลองคริสต์มาส.”
หลังจากเปิดเรียนชั้นประถมปีที่หนึ่งไม่นาน เอริกนำหนังสือที่ชื่อหนังสือของฉันเกี่ยวด้วยเรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล ไปที่โรงเรียนและขออนุญาตครูให้เพื่อนทั้งชั้นดูหนังสือนั้น. ครูของเขาบอกว่า “ครูมีความคิดที่ดีกว่านั้น ทำไมเธอไม่อ่านเรื่องหนึ่งให้เพื่อนในชั้นฟังล่ะ?” เอริกทำตามที่ครูเสนอแนะ และจากนั้น เขาถามทุกคนว่าใครอยากได้หนังสือนี้ให้ยกมือขึ้น. มีสิบแปดคนยกมือ ซึ่งรวมทั้งครูด้วย! ตอนนี้เอริกรู้สึกว่าเขามีเขตสำหรับให้คำพยานของเขาเอง.
วิตนีย์วัยเก้าขวบหยั่งรู้ค่าจุลสารพยานพระยะโฮวาและการศึกษา. * “ตามปกติแล้วแม่ของหนูให้จุลสารนี้แก่คุณครูของหนูเป็นประจำทุกปี” เธอเล่า “แต่ปีนี้ หนูเป็นคนให้เอง. เพราะจุลสารนี้เอง ครูจึงเสนอชื่อหนูรับรางวัล ‘นักเรียนดีเด่นประจำสัปดาห์.’”
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 56 วีดิทัศน์และสิ่งพิมพ์ที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้ผลิตโดยพยานพระยะโฮวา.
[กรอบ/ภาพหน้า 21]
สถานการณ์ต่าง ๆ ที่บางคนใช้เพื่อบอกความเชื่อของตนแก่คนอื่น
เมื่อได้รับมอบหมายให้ทำรายงาน บางคนได้เลือกหัวข้อที่จะเปิดโอกาสให้คำพยาน
เยาวชนหลายคนเอาวีดิทัศน์หรือสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวกับหัวเรื่องที่มีการพิจารณาในชั้นเรียนไปเสนอให้ครู
เยาวชนบางคนอ่านคัมภีร์ไบเบิลหรือสรรพหนังสือที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลระหว่างช่วงพัก ซึ่งเพื่อนบางคนได้เข้ามาหาและถามคำถาม
[ภาพหน้า 18]
ผู้มีประสบการณ์สามารถช่วยฝึกเยาวชนให้รับใช้พระยะโฮวา