จงฟังสิ่งซึ่งพระวิญญาณตรัส!
จงฟังสิ่งซึ่งพระวิญญาณตรัส!
“ใครมีหูก็ให้ฟังสิ่งซึ่งพระวิญญาณตรัสแก่ประชาคมทั้งหลายเถิด.”—วิวรณ์ 3:22, ล.ม.
1, 2. คำแนะนำอะไรที่มีการกล่าวซ้ำหลายครั้งในข่าวสารของพระเยซูถึงเจ็ดประชาคมที่กล่าวถึงในวิวรณ์?
ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาต้องเอาใจใส่คำตรัสของพระเยซูคริสต์ที่กล่าวโดยการทรงนำของพระวิญญาณแก่เจ็ดประชาคมที่กล่าวถึงในพระธรรมวิวรณ์. อันที่จริง ข่าวสารเหล่านี้ถึงแต่ละประชาคมมีข้อความต่อไปนี้: “ใครมีหูก็ให้ฟังสิ่งซึ่งพระวิญญาณตรัสแก่ประชาคมทั้งหลายเถิด”—วิวรณ์ 2:7, 11, 17, 29; 3:6, 13, 22, ล.ม.
2 เราได้พิจารณาข่าวสารของพระเยซูที่ส่งไปถึงทูตหรือผู้ดูแลที่เมืองเอเฟโซส, ซมือร์นา, และเปอร์กาโมส์ไปแล้ว. เราจะได้รับประโยชน์อย่างไรจากสิ่งที่พระองค์ตรัสโดยทางพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่อีกสี่ประชาคม?
ถึงทูตที่เมืองธุอาทิรา
3. เมืองธุอาทิราตั้งอยู่ที่ไหน และผลิตภัณฑ์อะไรของเมืองนี้ที่มีชื่อเสียงเป็นพิเศษ?
3 “พระบุตรของพระเจ้า” ให้ทั้งคำชมและคำว่ากล่าวแก่ประชาคมธุอาทิรา. (อ่านวิวรณ์ 2:18-29, ล.ม.) เมืองธุอาทิรา (ปัจจุบันคือเมืองอะคิซาร์) ถูกสร้างขึ้นริมแควสายหนึ่งของแม่น้ำเกดิซ (เฮอร์มัสในสมัยโบราณ) ทางตะวันตกของเอเชียน้อย. เมืองนี้มีชื่อเสียงในเรื่องงานฝีมือหลายประเภท. ช่างทำสีย้อมผ้าของเมืองนี้ใช้รากต้นแมดเดอร์เพื่อทำสีย้อมผ้าสีเลือดหมูหรือสีม่วงที่เลื่องชื่อ. ลุเดีย ซึ่งเข้ามาเป็นคริสเตียนช่วงที่เปาโลเยี่ยมเมืองฟิลิปปีในกรีซก็ “มาจากเมืองธุอาไตระ, เป็นคนขายผ้าสีม่วง.”—กิจการ 16:12-15.
4. ประชาคมที่เมืองธุอาทิราได้รับคำชมในเรื่องใด?
4 พระเยซูชมเชยประชาคมที่เมืองธุอาทิราในเรื่องการกระทำดี, ความรัก, ความเชื่อ, ความเพียรอดทน, และงานรับใช้. อันที่จริง ‘การกระทำของพวกเขาในตอนหลังมีมากกว่าในตอนก่อน.’ อย่างไรก็ตาม แม้เราจะมีประวัติที่ดี แต่เราต้องไม่หย่อนยานในเรื่องศีลธรรม.
5-7. (ก) “อีซาเบลหญิงคนนั้น” คือใคร และควรทำประการใดกับอิทธิพลชักจูงของนาง? (ข) ข่าวสารของพระคริสต์ไปถึงประชาคมธุอาทิราช่วยบรรดาสตรีผู้เลื่อมใสพระเจ้าให้ประพฤติตัวเช่นไร?
5 ประชาคมที่เมืองธุอาทิรากำลังยอมให้กับการบูชารูปเคารพ, คำสอนเท็จ, และการผิดศีลธรรมทางเพศ. ท่ามกลางพวกเขามี “อีซาเบลหญิงคนนั้น” ซึ่งอาจเป็นกลุ่มผู้หญิงที่มีลักษณะนิสัยต่าง ๆ คล้ายกับราชินีอีซาเบลผู้ชั่วร้ายแห่งอาณาจักรอิสราเอลสิบตระกูล. ผู้คงแก่เรียนบางคนให้ความเห็นว่า ‘พวกผู้พยากรณ์หญิง’ ของธุอาทิราพยายามชักจูงคริสเตียนให้บูชาเทพเจ้าและเทพธิดาหอการค้า รวมทั้งให้เข้าร่วมในเทศกาลเซ่นไหว้อาหารแก่รูปเคารพ. เราต้องไม่ยอมให้กับพวกผู้หญิงที่ตั้งตัวเองเป็นผู้พยากรณ์ซึ่งพยายามชักจูงคนอื่น ๆ ในประชาคมคริสเตียนสมัยปัจจุบัน!
6 พระคริสต์ ‘กำลังจะโยนอีซาเบลหญิงคนนั้นลงบนเตียงคนไข้ และโยนคนเหล่านั้นที่เล่นชู้กับนางลงสู่ความทุกข์ลำบากใหญ่ เว้นแต่พวกเขาจะกลับใจจากการกระทำของนาง.’ พวกผู้ดูแลต้องไม่ยอมให้กับคำสอนและอิทธิพลชักจูงอันเลวทรามเช่นนั้น และไม่จำเป็นที่คริสเตียนต้องทำผิดประเวณีทางกายหรือทางฝ่ายวิญญาณ หรือเข้าร่วมในการบูชารูปเคารพ เพื่อจะรู้ว่า “สิ่งลึกซึ้งของซาตาน” นั้นชั่วช้าอย่างสิ้นเชิง. ถ้าเราเอาใจใส่คำเตือนของพระเยซู ‘เราจะยึดถือสิ่งที่เรามีอยู่ให้มั่น’ และบาปจะไม่มีอำนาจครอบงำเรา. เนื่องจากปฏิเสธการกระทำ, ความปรารถนา, และเป้าหมายที่ไม่คำนึงถึงพระเจ้า เหล่าผู้ถูกเจิมที่กลับเป็นขึ้นจากตายจึงได้รับ “อำนาจเหนือชาติต่าง ๆ” และจะร่วมกับพระคริสต์ในการทุบตีชาติต่าง ๆ ให้แตกเป็นเสี่ยง ๆ. ประชาคมต่าง ๆ ในสมัยปัจจุบันมีดาวที่มีความหมายเป็นนัย และเหล่าผู้ถูกเจิมจะได้รับ “ดาวรุ่ง” คือพระเยซูคริสต์ ผู้เป็นเจ้าบ่าว เมื่อพวกเขากลับเป็นขึ้นจากตายสู่ชีวิตทางภาคสวรรค์.—วิวรณ์ 22:16.
7 ประชาคมธุอาทิราได้รับคำเตือนไม่ให้ยอมทนต่ออิทธิพลชักจูงอันชั่วช้าของพวกผู้หญิงที่กำลังจะออกหาก. ข่าวสารของพระคริสต์ที่มีขึ้นโดยการดลใจจากพระวิญญาณถึงประชาคมนั้นช่วยบรรดาสตรีผู้เลื่อมใสพระเจ้าในปัจจุบันให้รักษาฐานะของตนตามที่พระเจ้ากำหนดไว้. พวกเธอไม่พยายามแสดงอำนาจเหนือผู้ชายและไม่ชักชวนพี่น้องชายให้เข้าสู่การผิดประเวณีไม่ว่าทางฝ่ายวิญญาณหรือทางกาย. (1 ติโมเธียว 2:12) แทนที่จะเป็นอย่างนั้น สตรีเหล่านี้วางตัวอย่างในเรื่องความประพฤติที่ดีและในงานรับใช้ซึ่งนำคำสรรเสริญมาสู่พระเจ้า. (บทเพลงสรรเสริญ 68:11; 1 เปโตร 3:1-6) ถ้าประชาคมรักษาสิ่งที่มีอยู่ให้มั่น อันได้แก่ คำสอนและความประพฤติอันบริสุทธิ์ อีกทั้งงานรับใช้ราชอาณาจักรอันมีค่า พระคริสต์จะเสด็จมาพร้อมกับบำเหน็จอันน่าพิศวง ไม่ใช่การพิพากษาลงโทษ.
ถึงทูตที่เมืองซาร์ดิส
8. (ก) เมืองซาร์ดิสตั้งอยู่ที่ไหน และอะไรคือข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับเมืองนี้? (ข) ทำไมประชาคมที่เมืองซาร์ดิสจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ?
8 ประชาคมที่เมืองซาร์ดิสจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือโดยด่วนเพราะประชาคมนี้ตายแล้วทางฝ่ายวิญญาณ. (อ่านวิวรณ์ 3:1-6.) เมืองซาร์ดิสที่รุ่งเรืองตั้งอยู่ห่างจากเมืองธุอาทิราไปทางใต้ประมาณ 50 กิโลเมตร. การพาณิชย์, ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่เพาะปลูก, การผลิตผ้าและพรมที่ทำจากขนแกะช่วยสร้างความมั่งคั่งให้แก่เมืองนี้ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 50,000 คน. ตามที่โยเซฟุสนักประวัติศาสตร์กล่าว เมืองซาร์ดิสมีชุมชนชาวยิวขนาดใหญ่ในช่วงศตวรรษแรกก่อน ส.ศ. ท่ามกลางซากปรักหักพังของเมืองนี้มีธรรมศาลาของชาวยิวและวิหารเทพธิดาอาร์เตมิสของชาวเอเฟโซส.
9. เราพึงทำประการใดหากกิจกรรมงานรับใช้ของเราเป็นแบบขอไปที?
9 พระคริสต์บอกทูตของประชาคมซาร์ดิสดังนี้: “เรารู้จักเฮ็บราย 10:24, 25) พระคริสต์เตือนประชาคมที่เมืองซาร์ดิสดังนี้: “ถ้าเจ้าไม่ระแวดระวัง, เราจะมาหาเจ้าเหมือนอย่างขโมย, และเจ้าจะไม่รู้เวลาที่เราจะมาหาเจ้านั้น.” แล้วในสมัยของเราล่ะ? อีกไม่ช้า เราก็จะต้องให้การเช่นกัน.
กิจการของพวกเจ้า, คือว่าเจ้ามีชื่อว่าเจ้าเป็นอยู่แต่ว่าตายเสียแล้ว.” จะว่าอย่างไรถ้าเราได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ฝ่ายวิญญาณ แต่แทบไม่ได้เอาใจใส่ต่อสิทธิพิเศษที่มีในฐานะคริสเตียน และกิจกรรมงานรับใช้ของเราเป็นแบบขอไปทีและ “จวนจะตาย” แล้วทางฝ่ายวิญญาณ? ในกรณีเช่นนี้ เราจำต้อง ‘ระลึกว่าเราได้รับและได้ยิน’ ข่าวสารราชอาณาจักรอย่างไร และควรจะเพิ่มความพยายามให้มากขึ้นในงานรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์. แน่นอน เราควรเริ่มมีส่วนร่วมในการประชุมต่าง ๆ ของคริสเตียนอย่างสุดหัวใจ. (10. แม้อยู่ในสถานการณ์ที่คล้ายกันกับประชาคมในซาร์ดิส คริสเตียนบางคนอาจเป็นเช่นไร?
10 แม้อยู่ในสถานการณ์ที่คล้ายกันกับประชาคมในซาร์ดิส ก็อาจมีบางคนที่ ‘ไม่ได้กระทำเสื้อผ้าของตัวให้เป็นมลทินไป, และสามารถเดินกับพระคริสต์นุ่งห่มผ้าขาว เพราะว่าเขาเป็นคนที่สมควรแล้ว.’ พวกเขารักษาเอกลักษณ์คริสเตียนอยู่เสมอ, รักษาตัวพ้นจากมลทิน, ปราศจากด่างพร้อยทางศีลธรรมและศาสนาของโลกนี้. (ยาโกโบ 1:27) ด้วยเหตุนั้น พระเยซู ‘จะไม่ลบชื่อพวกเขาจากสมุดทะเบียนประจำชีพ [“หนังสือแห่งชีวิต,” ล.ม.], แต่จะประกาศรับชื่อพวกเขาเฉพาะพระพักตร์พระบิดาของพระองค์, และต่อหน้าพวกทูต.’ เนื่องจากได้รับการประกาศว่าคู่ควรที่จะเดินไปกับพระคริสต์ ชนชั้นเจ้าสาวของพระองค์ซึ่งประกอบด้วยพวกผู้ถูกเจิมจะได้แต่งตัวด้วยผ้าลินินเนื้อละเอียด สะอาดสดใส ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ถึงการกระทำอันชอบธรรมของเหล่าผู้บริสุทธิ์ของพระเจ้า. (วิวรณ์ 19:8) สิทธิพิเศษแห่งงานรับใช้อันน่าพิศวงที่คอยท่าพวกเขาในสวรรค์กระตุ้นพวกเขาให้เอาชนะโลกนี้. มีพระพรอยู่เบื้องหน้าสำหรับผู้มีความหวังจะมีชีวิตตลอดไปบนแผ่นดินโลกด้วยเช่นเดียวกัน. ชื่อของพวกเขาถูกบันทึกในหนังสือแห่งชีวิตเช่นกัน.
11. เราควรทำประการใดหากเรากำลังเซื่องซึมฝ่ายวิญญาณ?
11 ไม่มีใครในพวกเราอยากตกอยู่ในสภาพฝ่ายวิญญาณที่น่าเศร้าเหมือนประชาคมที่เมืองซาร์ดิส. แต่จะว่าอย่างไรถ้าเราสังเกตเห็นว่าเรากำลังเซื่องซึมฝ่ายวิญญาณ? เราควรจัดการทันทีเพื่อประโยชน์ของตัวเอง. สมมุติว่าเรากำลังถูกดึงเข้าไปสู่แนวทางที่ขาดความเลื่อมใสในพระเจ้า หรือไม่ค่อยได้เข้าร่วมการประชุมหรือทำงานรับใช้น้อยลง. ขอให้เราแสวงหาความช่วยเหลือจากพระยะโฮวาด้วยการอธิษฐานอย่างจริงจัง. (ฟิลิปปอย 4:6, 7, 13) การอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวันรวมทั้งการศึกษาพระคัมภีร์และสรรพหนังสือที่มาจาก “คนต้นเรือนสัตย์ซื่อ” จะช่วยเราให้ตื่นตัวฝ่ายวิญญาณอยู่เสมอ. (ลูกา 12:42-44) แล้วเราจะเป็นเหมือนคนเหล่านั้นในซาร์ดิสที่ได้รับความพอพระทัยจากพระคริสต์ และเราจะเป็นที่หนุนกำลังใจแก่เพื่อนร่วมความเชื่อ.
ถึงทูตที่เมืองฟีลาเดลเฟีย
12. คุณจะพรรณนาสภาพการณ์ทางศาสนาในเมืองฟีลาเดลเฟียโบราณอย่างไร?
12 พระเยซูชมเชยประชาคมฟีลาเดลเฟีย. (อ่านวิวรณ์ 3:7-13.) เมืองฟีลาเดลเฟีย (ปัจจุบันคือเมืองอาเลเชเฮียร์) เป็นศูนย์กลางการผลิตเหล้าองุ่นที่เจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคแถบตะวันตกของเอเชียน้อย. อันที่จริง เทพเจ้าองค์สำคัญที่สุดในเมืองนี้คือไดโอนิซุส ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่น. ดูเหมือนว่าชาวยิวในเมืองฟีลาเดลเฟียไม่ประสบความสำเร็จในการพยายามชักจูงคริสเตียนชาวยิวที่นั่นให้ถือรักษาหรือกลับไปสู่กิจปฏิบัติบางอย่างตามพระบัญญัติของโมเซ.
13. พระคริสต์ทรงใช้ “ลูกกุญแจของกษัตริย์ดาวิด” อย่างไร?
13 พระคริสต์มี “ลูกกุญแจของกษัตริย์ดาวิด” และโดยวิธีนี้ พระองค์จึงได้รับมอบให้เอาใจใส่ดูแลผลประโยชน์ทั้งสิ้นแห่งราชอาณาจักรและบริหารครอบครัวแห่งความเชื่อ. (ยะซายา 22:22; ลูกา 1:32) พระเยซูใช้ลูกกุญแจดังกล่าวเพื่อเปิดโอกาสและให้สิทธิพิเศษต่าง ๆ แห่งราชอาณาจักรแก่คริสเตียนในเมืองฟีลาเดลเฟียโบราณและที่อื่น ๆ. ตั้งแต่ปี 1919 เป็นต้นมา พระองค์ได้ตั้ง “ประตูใหญ่” ที่นำไปสู่งานประกาศราชอาณาจักรไว้ตรงหน้า “คนต้นเรือนสัตย์ซื่อ” ซึ่งไม่มีผู้ต่อต้านคนใดจะปิดได้. (1 โกรินโธ 16:9, ล.ม.; โกโลซาย 4:2-4) แน่ละ ประตูไปสู่สิทธิพิเศษต่าง ๆ แห่งราชอาณาจักรไม่ได้เปิดไว้แก่คนเหล่านั้นที่เป็นของ “สภาของซาตาน” เนื่องจากพวกเขาไม่ใช่อิสราเอลฝ่ายวิญญาณ.
14. (ก) พระเยซูทรงสัญญาอะไรกับประชาคมที่เมืองฟีลาเดลเฟีย? (ข) เราจะป้องกันตัวไม่ให้ล้มพลาดระหว่าง “ชั่วโมงแห่งการทดสอบ” ได้อย่างไร?
14 พระเยซูทรงให้คำสัญญานี้แก่คริสเตียนในเมืองฟีลาเดลเฟียโบราณ: “เพราะเหตุเจ้าได้ประพฤติตามคำของเราอันจะสำเร็จได้ด้วยความเพียร, เราจะรักษาเจ้าในเวลาทดลองใจ [“ชั่วโมงแห่งการทดสอบ,” ล.ม.] นั้น, ซึ่งจะบังเกิดมี
ทั่วทั้งโลก.” การประกาศต้องอาศัยความเพียรอดทนอย่างที่พระเยซูทรงสำแดง. พระองค์ไม่เคยยอมให้กับศัตรู แต่กระทำตามพระทัยประสงค์ของพระบิดาเรื่อยไป. ด้วยเหตุนั้น พระคริสต์จึงได้รับการปลุกให้คืนพระชนม์สู่อมตชีพในสวรรค์. หากเรายึดมั่นต่อการตัดสินใจของเราที่จะนมัสการพระยะโฮวาและสนับสนุนราชอาณาจักรด้วยการประกาศข่าวดี เราจะได้รับการป้องกันไม่ให้ล้มพลาดในช่วงเวลาแห่งการทดสอบสมัยปัจจุบัน ซึ่งเป็น “ชั่วโมงแห่งการทดสอบ.” เราจะ ‘ถือสิ่งซึ่งเรามี’ ซึ่งได้รับจากพระคริสต์ ‘ไว้ให้มั่น’ โดยพยายามเพิ่มพูนผลประโยชน์แห่งราชอาณาจักร. ผลของการทำอย่างนี้คือมงกุฎอันล้ำค่าในสวรรค์สำหรับผู้ถูกเจิม และชีวิตนิรันดร์บนแผ่นดินโลกสำหรับสหายผู้ภักดีของพวกเขา.15. มีข้อเรียกร้องอะไรสำหรับผู้ที่จะเป็น “เสาในพระวิหารแห่งพระเจ้า”?
15 พระคริสต์กล่าวต่อไปว่า “ถ้าผู้ใดมีชัยชนะ, เราจะกระทำให้ผู้นั้นเป็นเสาในพระวิหารแห่งพระเจ้าของเรา, . . . และเราจะจารึกพระนามพระเจ้าของเราไว้ที่ผู้นั้น, กับชื่อเมืองของพระเจ้าของเรา คือกรุงยะรูซาเลมใหม่ที่ลอยลงมาจากสวรรค์จากพระเจ้าของเรา, และเราจะจารึกนามใหม่ของเราไว้ที่ผู้นั้นด้วย.” เหล่าผู้ดูแลที่เป็นผู้ถูกเจิมต้องสนับสนุนค้ำชูการนมัสการแท้. พวกเขาต้องรักษาคุณสมบัติในการที่จะได้เป็นสมาชิกของ “ยะรูซาเลมใหม่” ด้วยการประกาศราชอาณาจักรของพระเจ้าและธำรงไว้ซึ่งความสะอาดฝ่ายวิญญาณ. การทำเช่นนี้นับว่าจำเป็นหากพวกเขาต้องการจะเป็น
เสาในพระวิหารฝ่ายสวรรค์อันสง่างาม และหากพวกเขาต้องการจะมีชื่อเมืองของพระเจ้าอยู่กับพวกเขาในฐานะเป็นพลเมืองฝ่ายสวรรค์ของเมืองนั้น และร่วมใช้พระนามของพระคริสต์ในฐานะเป็นเจ้าสาวของพระองค์. และแน่นอน พวกเขาต้องมีหูที่ “ฟังข้อความซึ่งพระวิญญาณตรัสไว้แก่คริสตจักรทั้งหลาย.”ถึงทูตที่เมืองลาโอดิเคีย
16. อะไรคือข้อเท็จจริงบางอย่างเกี่ยวกับเมืองลาโอดิเคีย?
16 พระคริสต์ทรงว่ากล่าวประชาคมที่เมืองลาโอดิเคียซึ่งพึงพอใจกับสภาพของตนเอง. (อ่านวิวรณ์ 3:14-22.) ลาโอดิเคียอยู่ห่างจากเมืองเอเฟโซสไปทางตะวันออกประมาณ 150 กิโลเมตร ตั้งอยู่ตรงชุมทางของเส้นทางการค้าสำคัญ ๆ ในแถบลุ่มน้ำลือคูสอันอุดมสมบูรณ์ เป็นเมืองที่ผลิตสินค้าที่เจริญมั่งคั่งและเป็นศูนย์กลางการธนาคาร. เสื้อผ้าที่ผลิตจากขนแกะสีดำเป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อของภูมิภาคนี้. เนื่องจากลาโอดิเคียเป็นที่ตั้งของโรงเรียนแพทย์ที่มีชื่อเสียง จึงอาจเป็นแหล่งผลิตยารักษาตาที่รู้จักกันว่าผงฟรีเกีย. แอสคลีปิอุส เทพเจ้าแห่งการแพทย์เป็นหนึ่งในเทพเจ้าองค์สำคัญของเมืองนี้. ดูเหมือนว่าเมืองลาโอดิเคียมีชาวยิวอาศัยอยู่จำนวนมาก ซึ่งบางคนในพวกเขาคงมีฐานะที่มั่งคั่งทีเดียว.
17. เหตุใดคริสเตียนชาวเมืองลาโอดิเคียจึงถูกว่ากล่าว?
17 เมื่อกล่าวแก่ประชาคมที่เมืองลาโอดิเคียผ่านทาง “ทูต” ของประชาคม พระเยซูทรงตรัสอย่างผู้ทรงอำนาจในฐานะ “ผู้สัตย์ซื่อและเป็นพยานสัตย์จริงและเป็นต้นเหตุสิ่งสารพัตรซึ่งพระเจ้าทรงสร้างไว้ [“เบื้องต้นแห่งการทรงสร้างโดยพระเจ้า,” ล.ม.].” (โกโลซาย 1:13-16) คริสเตียนที่เมืองลาโอดิเคียถูกว่ากล่าวเพราะพวกเขา “ไม่เย็นหรือไม่ร้อน” ในแง่ฝ่ายวิญญาณ. เนื่องจากพวกเขาเป็นแต่เพียงอุ่น ๆ พระคริสต์จึงจะสำรอกพวกเขาออกจากพระโอษฐ์ของพระองค์. คำเปรียบนี้ของพระองค์คงเข้าใจได้ไม่ยากสำหรับพวกเขา. เมืองฮิราโปลีที่อยู่ใกล้ ๆ มีน้ำพุร้อน และเมืองโกโลซายมีน้ำเย็น. อย่างไรก็ตาม เนื่องจากน้ำถูกส่งผ่านท่อมายังเมืองลาโอดิเคียเป็นระยะทางไกลพอควร น้ำจึงค่อนข้างอุ่นแล้วเมื่อไหลมาถึงตัวเมือง. ช่วงหนึ่งของท่อส่งน้ำเป็นสะพานลำเลียงน้ำขนาดใหญ่. พอใกล้จะถึงเมืองลาโอดิเคีย น้ำจะถูกส่งผ่านท่อซึ่งสร้างโดยใช้ก้อนหินขนาดใหญ่ที่เจาะรูตรงกลางแล้วนำมาเชื่อมต่อกัน.
18, 19. คริสเตียนในสมัยปัจจุบันที่เป็นเหมือนคนเหล่านั้นในลาโอดิเคียอาจได้รับความช่วยเหลือโดยวิธีใด?
18 บางคนในทุกวันนี้ที่เป็นเหมือนชาวเมืองลาโอดิเคียไม่เป็นทั้งน้ำร้อนที่ทำให้กระปรี้กระเปร่าหรือน้ำเย็นที่ทำให้สดชื่น. เช่นเดียวกับน้ำอุ่น พวกเขาจะถูกบ้วนทิ้ง! พระเยซูไม่ต้องการให้พวกเขาเป็นกระบอกเสียงของพระองค์ เป็น “ราชทูตทำหน้าที่แทนพระคริสต์” ที่ถูกเจิม. (2 โกรินโธ 5:20, ล.ม.) พวกเขาจะสูญเสียสิทธิพิเศษในการเป็นผู้ประกาศราชอาณาจักร เว้นเสียแต่ว่าพวกเขาจะกลับใจ. ชาวลาโอดิเคียเสาะแสวงหาความร่ำรวยฝ่ายโลก และ ‘ไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นคนแร้นแค้นเข็ญใจ, ขัดสน, ตาบอด, และเปลือยกายอยู่.’ ใครก็ตามในทุกวันนี้ที่เป็นเหมือนพวกเขาจำเป็นต้องซื้อสิ่งต่อไปนี้จากพระคริสต์ คือ ‘ทองคำที่หลอมให้บริสุทธิ์แล้ว’ แห่งความเชื่อที่ผ่านการทดสอบ, “เสื้อผ้าขาว” แห่งความชอบธรรม, และ “น้ำมันทาตา” ที่ช่วยให้การมองเห็นฝ่ายวิญญาณดีขึ้น เพื่อจะขจัดสภาพที่ยากจน, ตาบอด, และเปลือยกายฝ่ายวิญญาณ. คริสเตียนผู้ดูแลยินดีที่จะช่วยคนเหล่านี้ให้สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณเพื่อว่าพวกเขาจะ “ร่ำรวยในความเชื่อ.” (ยาโกโบ 2:5, ล.ม.; มัดธาย 5:3) ยิ่งกว่านั้น ผู้ดูแลจำเป็นต้องช่วยพวกเขาให้เอา “น้ำมันทาตา” ฝ่ายวิญญาณไปใช้ นั่นคือ ช่วยพวกเขาให้ยอมรับและปฏิบัติตามคำสอน, คำแนะนำ, ตัวอย่าง, และเจตคติของพระเยซู. การทำเช่นนี้เป็นยารักษาที่ต่อต้าน “ความปรารถนาของเนื้อหนัง, ความปรารถนาของตา, และการอวดอ้างปัจจัยการดำรงชีวิตของตน.”—1 โยฮัน 2:15-17, ล.ม.
19 พระเยซูทรงว่ากล่าวและตีสอนทุกคนที่พระองค์ทรงรักใคร่. ผู้ดูแลที่อยู่ในความควบคุมของพระองค์ต้องทำอย่างเดียวกันด้วยความอ่อนโยน. (กิจการ 20:28, 29, ล.ม.) ชาวลาโอดิเคียจำเป็นต้อง “กะตือรือร้นและกลับใจเสียใหม่” และปรับเปลี่ยนความคิดและแนวทางชีวิตของพวกเขา. มีบางคนในพวกเรากลายเป็นคนที่เริ่มเคยชินกับรูปแบบชีวิตที่ลดงานรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์แด่พระเจ้าลงให้อยู่ในอันดับที่ไม่สำคัญในชีวิตไหม? ถ้าเป็นอย่างนั้น ขอให้เรา ‘ซื้อน้ำมันทาตาจากพระเยซู’ เพื่อจะเห็นถึงความสำคัญของการแสวงหาราชอาณาจักรก่อนอย่างกระตือรือร้น.—มัดธาย 6:33.
20, 21. ใครบ้างในทุกวันนี้ที่กำลังตอบสนองอย่างเหมาะสมต่อ ‘การเคาะประตู’ ของพระเยซู และพวกเขามีความหวังเช่นไร?
20 พระเยซูคริสต์ตรัสว่า “นี่แน่ะ, เรายืนริมประตูเคาะลูกา 5:29-39; 7:36-50; 14:1-24) ในปัจจุบัน พระองค์ทรงเคาะประตูประชาคมที่มีลักษณะอย่างชาวลาโอดิเคีย. สมาชิกของประชาคมนั้นจะเปิดประตู, ฟื้นฟูความรักใคร่ที่เคยมีต่อพระองค์, ต้อนรับพระองค์ให้เข้ามาอยู่ท่ามกลางพวกเขา, และให้พระองค์สอนพวกเขาไหม? ถ้าใช่ พระคริสต์จะร่วมรับประทานอาหารกับพวกเขาเพื่อประโยชน์ฝ่ายวิญญาณอย่างใหญ่หลวงของพวกเขา.
อยู่. ถ้าผู้ใดจะฟังเสียงเราและเปิดประตู, เราจะเข้าไปหาผู้นั้น, และจะรับประทานอาหารกับเขา, และเขาจะรับประทานอาหารกับเรา.” บ่อยครั้ง พระเยซูประทานคำสั่งสอนทางฝ่ายวิญญาณระหว่างเสวยพระกระยาหาร. (21 ในความหมายเป็นนัย “แกะอื่น” ในทุกวันนี้กำลังเปิดประตูให้พระเยซูเข้ามา และการทำอย่างนั้นจะนำพวกเขาไปถึงชีวิตนิรันดร์. (โยฮัน 10:16; มัดธาย 25:34-40, 46) พระคริสต์จะให้ผู้ถูกเจิมที่มีชัยชนะได้สิทธิพิเศษ ‘นั่งลงกับพระองค์ที่พระที่นั่งของพระองค์ เหมือน [ที่] พระองค์มีชัยชนะและนั่งลงกับพระบิดาของพระองค์ที่พระที่นั่งของพระบิดา.’ ถูกแล้ว พระเยซูทรงสัญญาว่าจะประทานบำเหน็จอันสูงค่าแก่ผู้ถูกเจิมที่มีชัยชนะด้วยการให้นั่งบัลลังก์กับพระองค์ ณ เบื้องขวาพระหัตถ์ของพระบิดาของพระองค์ในสวรรค์. และแกะอื่นที่มีชัยชนะก็คอยท่าที่จะได้อยู่ในสถานที่อันยอดเยี่ยมบนแผ่นดินโลกภายใต้การปกครองแห่งราชอาณาจักร.
บทเรียนสำหรับเราทุกคน
22, 23. (ก) คริสเตียนทุกคนจะได้ประโยชน์จากคำตรัสของพระเยซูที่ประทานแก่ประชาคมทั้งเจ็ดได้โดยวิธีใด? (ข) อะไรควรเป็นความตั้งใจแน่วแน่ของเรา?
22 ไม่ต้องสงสัยว่าคริสเตียนทุกคนสามารถได้รับประโยชน์อย่างมากจากคำตรัสของพระเยซูที่ไปถึงเจ็ดประชาคมในเอเชียน้อย. ตัวอย่างเช่น เมื่อสังเกตเห็นว่าพระคริสต์ให้คำชมที่เหมาะสม คริสเตียนผู้ปกครองที่มีความรักจึงปรารถนาจะชมเชยพี่น้องเป็นรายบุคคลหรือประชาคมที่ก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณ. เมื่อเพื่อนร่วมความเชื่ออ่อนแอ ผู้ปกครองจะช่วยพวกเขาให้ใช้วิธีการแก้ไขจากพระคัมภีร์. เราทุกคนจะได้ประโยชน์เรื่อยไปจากคำแนะนำหลากหลายแง่มุมซึ่งพระคริสต์ประทานแก่ประชาคมทั้งเจ็ด ตราบใดที่เรานำคำแนะนำเหล่านั้นไปใช้โดยไม่ชักช้าพร้อมด้วยการอธิษฐานอย่างจริงจัง. *
23 สมัยสุดท้ายนี้ไม่มีเวลาอีกแล้วสำหรับการพึงพอใจกับสภาพของตนเอง, การนิยมวัตถุ, หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทำให้เราถวายการรับใช้แด่พระเจ้าแค่พอเป็นพิธี. ด้วยเหตุนั้น ขอให้ทุกประชาคมส่องสว่างอย่างเจิดจ้าต่อ ๆ ไปดุจคันประทีปที่พระเยซูรักษาให้อยู่ในตำแหน่งเดิมของมัน. ในฐานะคริสเตียนที่ซื่อสัตย์ ขอให้เราตั้งใจแน่วแน่อยู่เสมอที่จะเอาใจใส่ขณะที่พระคริสต์ตรัสและฟังสิ่งซึ่งพระวิญญาณตรัส. แล้วเราจะได้รับความยินดีไม่รู้สิ้นสุดในฐานะผู้ถือความสว่างเพื่อถวายเกียรติแด่พระยะโฮวา.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 22 มีการพิจารณาวิวรณ์ 2:1–3:22 ในหนังสือพระธรรมวิวรณ์—ใกล้จะถึงจุดสุดยอด! บทที่ 7-13 ด้วย ซึ่งจัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
คุณจะตอบอย่างไร?
• “อีซาเบลหญิงคนนั้น” คือใคร และทำไมบรรดาสตรีผู้เลื่อมใสพระเจ้าจึงไม่เลียนแบบเธอ?
• เกิดสภาพการณ์อะไรขึ้นในประชาคมที่เมืองซาร์ดิส และเราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อจะไม่เป็นเหมือนคริสเตียนหลายคนซึ่งอยู่ที่นั่น?
• พระเยซูทรงสัญญาอะไรบ้างกับประชาคมฟีลาเดลเฟีย และคำสัญญาเหล่านั้นนำมาใช้กับปัจจุบันได้อย่างไร?
• ทำไมคริสเตียนชาวเมืองลาโอดิเคียจึงถูกว่ากล่าว แต่มีความหวังอะไรที่ให้ไว้สำหรับคริสเตียนที่กระตือรือร้น?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 16]
เราต้องหลีกเลี่ยงแนวทางอันชั่วช้าของ “อีซาเบลหญิงคนนั้น”
[ภาพหน้า 18]
พระเยซูได้ตั้ง “ประตูใหญ่” ที่นำไปสู่สิทธิพิเศษต่าง ๆ แห่งราชอาณาจักรไว้ตรงหน้าเหล่าสาวกของพระองค์
[ภาพหน้า 20]
คุณต้อนรับพระเยซูและฟังพระองค์ตรัสไหม?