พระคริสต์ตรัสแก่ประชาคมต่าง ๆ
พระคริสต์ตรัสแก่ประชาคมต่าง ๆ
“เหล่านี้คือสิ่งที่ตรัสโดยพระองค์ผู้ทรงถือดวงดาวเจ็ดดวงนั้นไว้ในพระหัตถ์เบื้องขวา.”—วิวรณ์ 2:1, ล.ม.
1, 2. ทำไมเราควรสนใจสิ่งที่พระคริสต์ตรัสแก่เจ็ดประชาคมในเอเชียน้อย?
พระเยซูคริสต์ พระบุตรผู้ได้รับกำเนิดองค์เดียวของพระยะโฮวา เป็นประมุขของประชาคมคริสเตียน. เพื่อรักษาประชาคมแห่งสาวกผู้ถูกเจิมให้ปราศจากตำหนิ พระคริสต์แสดงบทบาทในฐานะประมุขด้วยการชมเชยและว่ากล่าวแก้ไขพวกเขา. (เอเฟโซ 5:21-27) มีตัวอย่างในเรื่องนี้ที่วิวรณ์บท 2 และ 3 ซึ่งเราพบข่าวสารอันทรงพลังและเปี่ยมด้วยความรักของพระเยซูที่ส่งไปถึงเจ็ดประชาคมในเอเชียน้อย.
2 ก่อนได้ยินถ้อยคำที่พระเยซูตรัสแก่ประชาคมทั้งเจ็ด อัครสาวกโยฮันได้รับนิมิตที่เกี่ยวกับ “วันขององค์พระผู้เป็นเจ้า.” (วิวรณ์ 1:10) “วัน” ดังกล่าวเริ่มต้นเมื่อราชอาณาจักรมาซีฮาได้รับการสถาปนาขึ้นในปี 1914. สิ่งที่พระคริสต์ตรัสแก่ประชาคมเหล่านั้นจึงสำคัญมากสำหรับสมัยสุดท้ายนี้. คำหนุนกำลังใจและคำแนะนำของพระองค์ช่วยเราให้รับมือกับสมัยอันวิกฤตินี้.—2 ติโมเธียว 3:1-5.
3. “ดาว,” “ทูต,” และ “คันประทีปทองคำ” ที่อัครสาวกโยฮันเห็น มีความหมายเป็นนัยถึงอะไร?
3 โยฮันเห็นพระเยซูคริสต์ผู้ทรงสง่าราศี “ถือดาวทั้งเจ็ดไว้ในหัตถ์เบื้องขวา” และ “ดำเนินอยู่ท่ามกลางคันประทีปทองคำทั้งเจ็ด” ซึ่งได้แก่ประชาคมต่าง ๆ. “ดาว” เหล่านั้นได้แก่ “ทูตของคริสตจักร [“ประชาคม,” ล.ม.] ทั้งเจ็ด.” (วิวรณ์ 1:20; 2:1) บางครั้ง ดาวเป็นสัญลักษณ์หมายถึงกายวิญญาณที่เป็นทูตสวรรค์ แต่พระคริสต์คงจะไม่ใช้มนุษย์บันทึกข่าวสารสำหรับกายวิญญาณ. ดังนั้น ตามเหตุผลแล้ว “ดาว” เหล่านี้จึงหมายถึงเหล่าผู้ดูแลหรือคณะผู้ปกครองที่ได้รับการเจิมด้วยพระวิญญาณ. คำว่า “ทูต” เกี่ยวข้องกับบทบาทของพวกเขาที่เป็นผู้ส่งข่าวสาร. เนื่องจากองค์การของพระเจ้าขยายใหญ่ขึ้น “คนต้นเรือนที่สัตย์ซื่อ” จึงได้แต่งตั้งชายที่มีคุณวุฒิจาก “แกะอื่น” ของพระเยซูให้เป็นผู้ดูแลด้วย.—ลูกา 12:42-44, ล.ม.; โยฮัน 10:16.
4. ผู้ปกครองได้ประโยชน์อย่างไรจากการเอาใจใส่สิ่งที่พระคริสต์ตรัสแก่ประชาคมต่าง ๆ?
4 “ดาว” อยู่ในพระหัตถ์เบื้องขวาของพระเยซู—อยู่ในอำนาจ, การควบคุม, ความโปรดปราน, และการปกป้องดูแลของพระองค์. ดังนั้น ดาวเหล่านั้นต้องรับผิดชอบต่อพระองค์. โดยเอาใจใส่คำตรัสของพระองค์ที่กล่าวแก่แต่ละประชาคมในเจ็ดประชาคมนั้น ผู้ปกครองสมัยปัจจุบันจะเห็นวิธีที่จะจัดการกับสถานการณ์ที่คล้ายกันนั้น. แน่นอน คริสเตียนทุกคนต้องฟังพระบุตรของพระเจ้า. (มาระโก 9:7) ดังนั้นแล้ว มีอะไรบ้างที่เราสามารถเรียนรู้ได้โดยการเอาใจใส่เมื่อพระคริสต์ตรัสแก่ประชาคมต่าง ๆ?
ถึงทูตที่เมืองเอเฟโซส
5. เอเฟโซสเป็นเมืองแบบไหน?
5 พระเยซูทั้งชมเชยและว่ากล่าวประชาคมที่เมืองเอเฟโซส. (อ่านวิวรณ์ 2:1-7.) วิหารขนาดใหญ่ของเทพธิดาอาร์เตมิสตั้งอยู่ในเมืองนี้ที่เป็นศูนย์กลางทางศาสนาและการค้า อันมั่งคั่งทางชายฝั่งตะวันตกของเอเชียน้อย. ถึงแม้เมืองเอเฟโซสเต็มไปด้วยการผิดศีลธรรม, ศาสนาเท็จ, และการทำเวทมนตร์คาถา แต่พระเจ้าทรงอวยพรงานรับใช้ของอัครสาวกเปาโลและคนอื่น ๆ ในเมืองนี้.—กิจการบท 19.
6. คริสเตียนที่ภักดีในปัจจุบันเป็นเหมือนคริสเตียนในเมืองเอเฟโซสโบราณอย่างไร?
6 พระคริสต์ชมเชยประชาคมที่เมืองเอเฟโซสโดยกล่าวว่า “เรารู้จักกิจการของเจ้ากับทั้งการเหน็ดเหนื่อยและความเพียรของเจ้า, และซึ่งเจ้าทนต่อทุรชนเหล่านั้นไม่ได้ เจ้าได้ลองใจคนเหล่านั้นที่อวดว่าเขาเป็นอัครสาวกแต่หาได้เป็นอัครสาวกไม่, และเจ้าได้สังเกตว่าเขาเป็นคนปลอม.” ในปัจจุบัน ประชาคมแห่งสาวกแท้ของพระเยซูมีประวัติที่คล้ายกันนั้นในเรื่องการกระทำดี, งานหนัก, และความอดทน. พวกเขาไม่ยอมทนให้กับพี่น้องปลอมที่อยากให้คนอื่นถือว่าเขาเป็นอัครสาวก. (2 โกรินโธ 11:13, 26) เช่นเดียวกับชาวเอเฟโซส คริสเตียนที่ภักดีในปัจจุบัน “ทนต่อทุรชนเหล่านั้นไม่ได้.” ดังนั้น เพื่อธำรงไว้ซึ่งความสะอาดบริสุทธิ์แห่งการนมัสการพระยะโฮวาและเพื่อปกป้องประชาคม พวกเขาจึงไม่คบหาสมาคมกับผู้ออกหากที่ไม่กลับใจ.—ฆะลาเตีย 2:4, 5; 2 โยฮัน 8-11.
7, 8. มีปัญหาอะไรที่น่าเป็นห่วงในประชาคมที่เมืองเอเฟโซส และเราอาจจัดการกับสถานการณ์คล้าย ๆ กันนั้นได้อย่างไร?
7 ถึงกระนั้น คริสเตียนในเมืองเอเฟโซสมีปัญหาที่น่าเป็นห่วง. พระเยซูตรัสว่า “เรามีข้อที่จะต่อว่าเจ้าบ้าง, ด้วยว่าเจ้าสลัดความรักดั้งเดิมของเจ้า.” สมาชิกของประชาคมนั้นจำต้องฟื้นฟูความรักที่เคยมีต่อพระยะโฮวาในตอนแรกขึ้นมาใหม่. (มาระโก 12:28-30; เอเฟโซ 2:4; 5:1, 2) เราทุกคนต้องระวังไม่ให้สูญเสียความรักที่เคยมีต่อพระเจ้าในตอนแรก. (3 โยฮัน 3) แต่ถ้าสิ่งต่าง ๆ อย่างเช่น การปรารถนาความมั่งคั่งด้านวัตถุหรือการติดตามความสนุกสนานเพลิดเพลิน กำลังกลายเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิตของเราล่ะ? (1 ติโมเธียว 4:8; 6:9, 10) ถ้าอย่างนั้น เราควรอธิษฐานอย่างแรงกล้าขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าที่จะแทนที่แนวโน้มเช่นนั้นในตัวเราด้วยความรักที่ไม่สั่นคลอนต่อพระยะโฮวาและด้วยความสำนึกบุญคุณต่อสิ่งสารพัดที่พระองค์และพระบุตรได้ทรงกระทำเพื่อเรา.—1 โยฮัน 4:10, 16.
8 พระคริสต์กระตุ้นเตือนชาวเอเฟโซสดังนี้: “จงระลึกถึงสิ่งที่เจ้าพลาดแล้วนั้น, และกลับใจเสียใหม่ประพฤติตามอย่างเดิม.” จะเกิดอะไรขึ้นถ้าพวกเขาไม่ทำอย่างนี้? พระเยซูตรัสว่า “มิฉะนั้นเราจะรีบมาหาเจ้า และจะยกคันประทีปของเจ้าออกจากที่.” ถ้าแกะทุกตัวสูญเสียความรักที่เคยมีในตอนแรก “คันประทีป” หรือประชาคม ก็จะไม่มีอยู่ต่อไป. ดังนั้น ในฐานะคริสเตียนที่มีใจแรงกล้า ขอเราบากบั่นอย่างแข็งขันเพื่อให้ประชาคมส่องแสงสว่างฝ่ายวิญญาณอยู่เสมอ.—มัดธาย 5:14-16.
9. เราควรมีทัศนะเช่นไรต่อการแบ่งแยกนิกาย?
9 สิ่งที่น่าชมเชยก็คือชาวเอเฟโซสเกลียดชัง “การประพฤติของพวกนิโกลายตัน.” นอกจากที่กล่าวในวิวรณ์แล้ว เราไม่รู้อะไรแน่ชัดเกี่ยวกับต้นกำเนิด, คำสอน, และกิจปฏิบัติของนิกายนี้. อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพระเยซูตำหนิการติดตามมนุษย์ เราจึงต้องเกลียดชังการแบ่งแยกนิกายเสมอ เหมือนอย่างที่คริสเตียนในเมืองเอเฟโซสได้ทำ.—มัดธาย 23:10.
10. ผู้ที่เอาใจใส่สิ่งที่พระวิญญาณตรัสจะได้รับอะไร?
10 พระคริสต์ตรัสว่า “ผู้ใดมีหูฟังได้ก็ให้ฟังข้อความซึ่งพระวิญญาณได้ตรัสไว้แก่คริสตจักรทั้งหลาย.” เมื่ออยู่บนแผ่นดินโลก พระเยซูตรัสโดยเดชพระวิญญาณของพระเจ้า. (ยะซายา 61:1; ลูกา 4:16-21) ด้วยเหตุนั้น ในสมัยนี้เราควรใส่ใจฟังสิ่งที่พระเจ้าตรัสผ่านพระเยซูโดยทางพระวิญญาณบริสุทธิ์. ภายใต้การนำของพระวิญญาณ พระเยซูทรงสัญญาดังนี้: “ผู้ใดมีชัยชนะ, เราจะให้ผู้นั้นกินผลไม้จากต้นไม้แห่งชีวิตที่อยู่ในอุทยานของพระเจ้า.” สำหรับผู้ถูกเจิมซึ่งเอาใจใส่สิ่งที่พระวิญญาณตรัส นี่หมายถึงอมตชีพใน “อุทยานของพระเจ้า” ที่อยู่ในสวรรค์ กล่าวคือ ณ ที่ประทับของพระยะโฮวาทีเดียว. “ชนฝูงใหญ่” ซึ่งก็ฟังสิ่งที่พระวิญญาณตรัสเช่นเดียวกันจะได้ชื่นชมกับอุทยานบนแผ่นดินโลก ซึ่งที่นั่นพวกเขาจะดื่มน้ำจาก “แม่น้ำที่มีน้ำแห่งชีวิต” และจะได้รับการเยียวยารักษาด้วย “ใบของต้นไม้” บนสองฝั่งแม่น้ำนั้น.—วิวรณ์ 7:9; 22:1, 2, ล.ม.; ลูกา 23:43, ล.ม.
11. เราอาจสามารถส่งเสริมให้เกิดความรักต่อพระยะโฮวาได้อย่างไร?
11 ชาวเอเฟโซสได้สูญเสียความรักที่เคยมีในตอนแรก แต่ถ้าสถานการณ์คล้าย ๆ กันนั้นกำลังเกิดขึ้นในประชาคมทุกวันนี้ล่ะ? ให้เราแต่ละคนส่งเสริมให้เกิดความรักที่มีต่อพระยะโฮวาด้วยการพูดถึงแนวทางแห่งความรักของพระองค์. เราสามารถแสดงการสำนึกบุญคุณต่อความรักของโยฮัน 3:16; โรม 5:8) เมื่อเหมาะสม เราสามารถเอ่ยถึงความรักของพระเจ้าเมื่อออกความเห็นและเมื่อมีส่วนในการประชุมระเบียบวาระต่าง ๆ. เราสามารถแสดงความรักที่เราเองมีต่อพระยะโฮวาโดยการสรรเสริญพระนามของพระองค์ในงานรับใช้ของคริสเตียน. (บทเพลงสรรเสริญ 145:10-13) ที่จริงแล้ว คำพูดและการกระทำของเราอาจช่วยได้มากในการฟื้นฟูหรือเสริมความรักที่ประชาคมเคยมีในตอนแรกให้มั่นคงยิ่งขึ้น.
พระเจ้าที่ทรงสำแดงโดยการจัดเตรียมค่าไถ่ผ่านทางพระบุตรที่รักของพระองค์. (ถึงทูตที่เมืองซมือร์นา
12. ประวัติศาสตร์เผยให้ทราบอะไรเกี่ยวกับเมืองซมือร์นาและกิจปฏิบัติทางศาสนาในเมืองนั้น?
12 ประชาคมในเมืองซมือร์นาได้รับคำชมเชยจากพระคริสต์ ผู้ทรงเป็น “เบื้องต้นและเบื้องปลาย, ผู้ถึงความตายแล้วและยังคืนชีพมาอีก” โดยการฟื้นคืนพระชนม์. (อ่านวิวรณ์ 2:8-11.) เมืองซมือร์นา (ปัจจุบันคือเมืองอิซเมียร์ในตุรกี) ตั้งอยู่ริมชายฝั่งตะวันตกของเอเชียน้อย. เมืองนี้ถูกสร้างขึ้นโดยชาวกรีก แต่ถูกทำลายโดยชาวลิเดียในราวปี 580 ก่อน ส.ศ. ผู้สืบตำแหน่งต่อจากอะเล็กซานเดอร์มหาราชสร้างเมืองซมือร์นาขึ้นใหม่ในที่ใหม่. เมืองนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นเอเชียของโรมและเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่งซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องศิลปะอาคารสาธารณะที่ประณีตงดงาม. วิหารของทิเบริอุส ซีซาร์ทำให้เมืองนี้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งหนึ่งของการบูชาจักรพรรดิ. ผู้นมัสการต้องเผาเครื่องหอมหยิบมือหนึ่งและกล่าวว่า “ซีซาร์เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า.” คริสเตียนไม่อาจทำเช่นนั้นได้ เนื่องจากสำหรับพวกเขาแล้ว “พระเยซูเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า.” ด้วยเหตุนั้น พวกเขาจึงได้รับความทุกข์ลำบาก.—โรม 10:9.
13. แม้ยากจนด้านวัตถุ คริสเตียนในเมืองซมือร์นาร่ำรวยในความหมายใด?
13 นอกจากความทุกข์ลำบากแล้ว คริสเตียนในเมืองซมือร์นาต้องทนกับความยากจน ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่ถูกจำกัดสิทธิทางเศรษฐกิจเพราะพวกเขาไม่เข้าร่วมในการบูชาจักรพรรดิ. ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาในสมัยปัจจุบันก็ไม่พ้นจากความยากลำบากที่คล้ายกันนั้น. (วิวรณ์ 13:16, 17) แม้ว่าจะยากจนด้านวัตถุ แต่คนเหล่านั้นที่เป็นเหมือนคริสเตียนในเมืองซมือร์นาเป็นคนร่ำรวยฝ่ายวิญญาณ และนี่แหละเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างแท้จริง!—สุภาษิต 10:22; 3 โยฮัน 2.
14, 15. พวกผู้ถูกเจิมได้รับการชูใจอะไรจากวิวรณ์ 2:10?
14 ชาวยิวส่วนใหญ่ในเมืองซมือร์นาเป็น “สภาของซาตาน” เนื่องจากพวกเขายึดมั่นขนบธรรมเนียมที่ไม่เป็นไปตามหลักพระคัมภีร์, ปฏิเสธพระบุตรของพระเจ้า, และดูหมิ่นเหล่าสาวกของพระเยซูที่ได้รับกำเนิดด้วยพระวิญญาณ. (โรม 2:28, 29) แต่เหล่าผู้ถูกเจิมจะได้รับการชูใจสักเพียงไรจากคำตรัสถัดไปของพระคริสต์! พระองค์ตรัสว่า “อย่ากลัวต่อเหตุการณ์เหล่านั้นซึ่งเจ้าจะต้องทนเอา นี่แน่ะมารจะเอาพวกเจ้าบางคนใส่คุกไว้เพื่อจะได้ลองดูใจเจ้า และเจ้าทั้งหลายจะได้รับทุกข์ลำบากถึงสิบวัน. แต่เจ้าจงเป็นผู้สัตย์ซื่อตราบเท่าวันตาย, และเราจะให้เจ้ามีมงกุฎแห่งชีวิต.”—วิวรณ์ 2:10.
15 พระเยซูไม่กลัวการตายเพื่อเชิดชูพระบรมเดชานุภาพของพระยะโฮวา. (ฟิลิปปอย 2:5-8) แม้ว่าในเวลานี้ซาตานกำลังทำสงครามกับชนที่เหลือผู้ถูกเจิม พวกเขาไม่กลัวสิ่งใด ๆ ที่ต้องประสบในฐานะกลุ่มชน ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ลำบาก, การถูกขังคุก, หรือความตายอย่างทารุณ. (วิวรณ์ 12:17) พวกเขาจะเป็นผู้มีชัยเหนือโลก. และแทนที่จะได้รับมาลัยดอกไม้ที่จะเหี่ยวแห้งไปซึ่งสวมเป็นมงกุฎให้ กับผู้มีชัยชนะในการแข่งขันกีฬาของพวกนอกรีต พระคริสต์สัญญาว่าพวกผู้ถูกเจิมที่ถูกปลุกขึ้นจากตายจะได้รับ “มงกุฎแห่งชีวิต” คืออมตชีพในสวรรค์. ช่างเป็นของประทานที่ล้ำค่าเสียจริง ๆ!
16. ถ้าเราสมทบกับประชาคมที่อยู่ในสภาพคล้าย ๆ กับประชาคมที่เมืองซมือร์นาโบราณ เราควรมุ่งความสนใจไปที่ประเด็นใด?
16 จะว่าอย่างไรถ้าเรา ไม่ว่าจะมีความหวังทางภาคสวรรค์หรือบนแผ่นดินโลก กำลังสมทบกับประชาคมที่อยู่ในสภาพคล้าย ๆ กับประชาคมที่เมืองซมือร์นาโบราณ? ก็ให้เราช่วยเพื่อนร่วมความเชื่อมุ่งความสนใจไปที่เหตุผลหลักที่พระเจ้ายอมให้มีการข่มเหง นั่นคือประเด็นเรื่องสากลบรมเดชานุภาพ. พยานพระยะโฮวาทุกคนที่รักษาความซื่อสัตย์มั่นคงให้ข้อพิสูจน์ว่าซาตานเป็นตัวมุสา และแสดงให้เห็นว่าแม้แต่มนุษย์ที่ประสบการข่มเหงก็สามารถเป็นผู้สนับสนุนอย่างซื่อสัตย์มั่นคงในประเด็นเรื่องสิทธิของพระเจ้าที่จะปกครองเป็นองค์บรมมหิศรแห่งเอกภพ. (สุภาษิต 27:11) ขอให้เราหนุนใจคริสเตียนคนอื่น ๆ ให้อดทนการข่มเหง และผลก็คือ เราจะมีสิทธิพิเศษต่อ ๆ ไปในการ “ปฏิบัติ [พระยะโฮวา] ปราศจากความกลัว ด้วยใจสัตย์ซื่อและด้วยความชอบธรรมจำเพาะพระพักตร์พระองค์ตลอดชีวิตของเรา”—กระทั่งตลอดไป.—ลูกา 1:68, 69, 74, 75.
ถึงทูตที่เมืองเปอร์กาโมส์
17, 18. เมืองเปอร์กาโมส์เป็นศูนย์กลางของการนมัสการชนิดใด และอาจเกิดอะไรขึ้นหากปฏิเสธที่จะเข้าร่วมในการบูชารูปเคารพเช่นนั้น?
17 ประชาคมที่เมืองเปอร์กาโมส์ได้รับทั้งคำชมเชยและคำว่ากล่าวแก้ไข. (อ่านวิวรณ์ 2:12-17.) เมืองเปอร์กาโมส์ตั้งอยู่ทางเหนือของเมืองซมือร์นาประมาณ 80 กิโลเมตร และเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยศาสนานอกรีต. ดูเหมือนว่าพวกโหราจารย์ชาวแคลเดียได้หนีจากบาบิโลนมาอยู่ที่นี่. ฝูงชนที่ป่วยพากันมายังวิหารอันเลื่องชื่อของเมืองเปอร์กาโมส์ คือวิหารของเทพเจ้าแอสคลีปิอุส พระเท็จแห่งการแพทย์. เมืองเปอร์กาโมส์ซึ่งมีวิหารที่อุทิศให้แก่การนมัสการซีซาร์เอากุสตุสถูกเรียกว่าเป็น “ศูนย์กลางแห่งการบูชาจักรพรรดิที่สำคัญที่สุดในช่วงต้นของจักรวรรดิ.”—สารานุกรมบริแทนนิกา (ภาษาอังกฤษ) ปี 1959 เล่ม 17 หน้า 507.
18 เมืองเปอร์กาโมส์มีแท่นบูชาที่อุทิศให้แก่เทพเจ้าเซอุส. เมืองนี้ยังเป็นศูนย์กลางอีกแห่งหนึ่งของการบูชามนุษย์ซึ่งเกิดจากการปลุกเร้าของพญามาร. ไม่น่าประหลาดใจที่ประชาคมซึ่งอยู่ที่นั่นถูกกล่าวถึงว่าอยู่ในที่ซึ่งเป็น “ที่นั่ง [“บัลลังก์,” ล.ม.] ของซาตาน”! การปฏิเสธที่จะบูชาจักรพรรดิอาจยังผลเป็นความตายสำหรับผู้สนับสนุนพระบรมเดชานุภาพของพระยะโฮวา. โลกยังคงอยู่ในอำนาจของพญามาร และในปัจจุบันสัญลักษณ์ประจำชาติได้รับการเคารพบูชา. (1 โยฮัน 5:19) ตั้งแต่ศตวรรษแรกจนถึงสมัยปัจจุบัน มีคริสเตียนผู้ซื่อสัตย์หลายคนได้พลีชีพเพื่อความเชื่อเช่นเดียวกับคนที่พระคริสต์เรียกว่า “อันติปาผู้เป็นพยานสัตย์ซื่อของเราต้องถูกฆ่าเสียท่ามกลางพวกเจ้า.” พระยะโฮวาพระเจ้าและพระเยซูคริสต์จะระลึกถึงผู้รับใช้ที่ภักดีดังกล่าวอย่างแน่นอน.—1 โยฮัน 5:21.
19. บีละอามได้ทำอะไร และคริสเตียนทุกคนต้องระวังป้องกันอะไร?
19 พระคริสต์ยังตรัสถึง “คำสอนของบีละอาม” ด้วย. ด้วยความโลภสิ่งฝ่ายวัตถุ ผู้พยากรณ์เท็จบีละอามพยายามแช่งชาวอิสราเอล. เมื่อพระเจ้ากลับคำแช่งของเขาให้เป็นคำอวยพร บีละอามดำเนินการร่วมกับกษัตริย์บาลาคแห่งโมอาบ และล่อชาวอิสราเอลจำนวนมากให้เข้าสู่การอาฤธโม 22:1–25:15; 2 เปโตร 2:15, 16; ยูดา 11) อันที่จริง คริสเตียนทุกคนต้องระวังป้องกันไม่ให้การบูชารูปเคารพและการทำผิดศีลธรรมทางเพศแทรกซึมเข้ามาในประชาคม.—ยูดา 3, 4.
บูชารูปเคารพและการทำผิดศีลธรรมทางเพศ. คริสเตียนผู้ปกครองต้องหนักแน่นเพื่อความชอบธรรมเหมือนอย่างฟีนะฮาศ ผู้ซึ่งลงมือขัดขวางการดำเนินงานของบีละอาม. (20. ถ้าคริสเตียนคนใดเริ่มรับเอาทัศนะของพวกออกหาก เขาควรทำประการใด?
20 ประชาคมที่เมืองเปอร์กาโมส์ตกอยู่ในอันตรายอย่างยิ่งเนื่องจากปล่อยให้มี “บางคนที่ถือคำสอนของพวกนิโกลายตัน” อยู่ท่ามกลางพวกเขา. พระคริสต์บอกประชาคมนั้นดังนี้: “จงกลับใจเสียใหม่ ถ้ามิเช่นนั้นเราจะรีบมาหาเจ้า และจะสู้กับเขาเหล่านั้นด้วยอาวุธปากของเรา.” พวกแบ่งแยกนิกายต้องการจะสร้างความเสียหายฝ่ายวิญญาณแก่คริสเตียน และคนเหล่านั้นที่เจตนาจะส่งเสริมให้เกิดความแตกแยกกับการแบ่งแยกนิกายจะไม่ได้รับราชอาณาจักรของพระเจ้าเป็นมรดก. (โรม 16:17, 18; 1 โกรินโธ 1:10; ฆะลาเตีย 5:19-21) ถ้าคริสเตียนคนใดเริ่มรับเอาทัศนะของพวกออกหากและต้องการแพร่ทัศนะนั้น เขาควรรับเอาคำเตือนของพระคริสต์! เพื่อจะรอดพ้นจากความหายนะ เขาควรกลับใจและแสวงหาความช่วยเหลือฝ่ายวิญญาณจากผู้ปกครองในประชาคม. (ยาโกโบ 5:13-18) การลงมือทันทีนับว่าสำคัญ เนื่องจากพระเยซูจะมาโดยเร็วเพื่อสำเร็จโทษตามการพิพากษา.
21, 22. ใครกิน “มานาที่ซ่อนอยู่” และการทำเช่นนั้นเป็นสัญลักษณ์เล็งถึงอะไร?
21 คริสเตียนผู้ถูกเจิมที่ซื่อสัตย์และสหายผู้ภักดีของพวกเขาไม่จำเป็นต้องกลัวการพิพากษาที่จะมาถึง. มีพระพรคอยท่าทุกคนที่เอาใจใส่คำแนะนำของพระเยซูที่ประทานโดยการชี้นำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้า. เพื่อเป็นตัวอย่าง ผู้ถูกเจิมที่มีชัยเหนือโลกจะได้รับคำเชิญให้กิน “มานาที่ซ่อนอยู่” และจะได้รับ “หินขาว [“หินกลมเล็กสีขาว,” ล.ม.]” ที่เขียน “ชื่อใหม่” ไว้.
22 พระเจ้าประทานมานาเพื่อค้ำจุนชีวิตชาวอิสราเอลระหว่างการเดินทาง 40 ปีผ่านถิ่นทุรกันดาร. มานาจำนวนหนึ่งถูกเก็บไว้ในโถทองคำภายในหีบคำสัญญาไมตรี และด้วยเหตุนั้น มานาจึงถูกเก็บซ่อนไว้ในห้องบริสุทธิ์ที่สุดของพลับพลา ซึ่งเป็นห้องที่มีแสงประหลาดส่องอยู่อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการประทับของพระยะโฮวา. (เอ็กโซโด 16:14, 15, 23, 26, 33; 26:34; เฮ็บราย 9:3, 4) ไม่มีใครได้รับอนุญาตให้กินมานาที่ซ่อนอยู่นั้น. แต่ในการกลับเป็นขึ้นจากตาย เหล่าสาวกผู้ถูกเจิมของพระเยซูจะสวมสภาพอมตะ ซึ่งการกิน “มานาที่ซ่อนอยู่” เป็นสัญลักษณ์เล็งถึง.—1 โกรินโธ 15:53-57.
23. “หินกลมเล็กสีขาว” และ “ชื่อใหม่” มีความหมายเกี่ยวข้องกับอะไร?
23 ในศาลโรมัน หินกลมเล็กสีดำหมายถึงตัดสินว่ามีโทษ ในขณะที่หินกลมเล็กสีขาวหมายถึงตัดสินให้พ้นผิด. การที่พระเยซูให้ “หินกลมเล็กสีขาว” แก่คริสเตียนผู้ถูกเจิมที่มีชัยชนะแสดงว่าพระองค์ถือว่าพวกเขาสุจริต, บริสุทธิ์, และสะอาด. เนื่องจากชาวโรมันยังใช้ก้อนหินกลมเป็นเหมือนบัตรผ่านเข้าสู่งานวาระสำคัญ ๆ ด้วย ดังนั้น “หินกลมเล็กสีขาว” จึงอาจบ่งชี้ถึงการที่ผู้ถูกเจิมถูกรับเข้าสู่ตำแหน่งในสวรรค์ ณ การอภิเษกสมรสของพระเมษโปดก. (วิวรณ์ 19:7-9) “ชื่อใหม่” ดูเหมือนว่าหมายถึงสิทธิพิเศษในการได้ร่วมเป็นรัชทายาทกับพระเยซูในราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์. ทั้งหมดนี้ช่างเป็นการหนุนกำลังใจสักเพียงไรแก่บรรดาผู้ถูกเจิมและสหายที่ร่วมรับใช้พระยะโฮวาด้วยกันกับพวกเขาซึ่งมีความหวังจะมีชีวิตบนแผ่นดินโลกที่เป็นอุทยาน!
24. เราควรมีทัศนะเช่นไรต่อการออกหาก?
24 นับว่าสุขุมที่จะไม่ลืมว่าพวกผู้ออกหากทำให้ประชาคมโยฮัน 8:32, 44; 3 โยฮัน 4) เนื่องจากผู้สอนเท็จหรือคนที่เอนเอียงไปในทางออกหากสามารถสร้างความเสียหายแก่ทั้งประชาคม เราจึงต้องยืนหยัดต้านทานการออกหาก อย่ายอมให้การโน้มน้าวอันเลวทรามมาขัดขวางเราไว้ไม่ให้เชื่อฟังความจริง.—ฆะลาเตีย 5:7-12; 2 โยฮัน 8-11.
เปอร์กาโมส์ตกอยู่ในอันตราย. ถ้าสถานการณ์คล้าย ๆ กันนั้นคุกคามสวัสดิภาพฝ่ายวิญญาณของประชาคมที่เราสมทบด้วย ขอให้เราปฏิเสธการออกหากอย่างสิ้นเชิงและดำเนินอยู่ในความจริงต่อ ๆ ไป. (25. บทความถัดไปจะพิจารณาข่าวสารที่พระคริสต์ส่งไปถึงประชาคมอะไรบ้าง?
25 คำชมเชยและคำแนะนำที่พระเยซูคริสต์ผู้ทรงสง่าราศีให้แก่สามประชาคมในเอเชียน้อยจากทั้งหมดเจ็ดประชาคมซึ่งเราได้พิจารณามานั้นช่างเป็นถ้อยคำที่กระตุ้นความคิดจริง ๆ! อย่างไรก็ตาม ตามที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ชี้นำ พระองค์ยังมีอีกหลายสิ่งที่จะกล่าวแก่อีกสี่ประชาคมที่เหลือ. ข่าวสารที่ส่งไปถึงธุอาทิรา, ซาร์ดิส, ฟีลาเดลเฟีย, ลาโอดิเคียจะมีการพิจารณาในบทความถัดไป.
คุณจะตอบอย่างไร?
• ทำไมเราควรเอาใจใส่สิ่งที่พระคริสต์ตรัสแก่ประชาคมต่าง ๆ?
• เราอาจช่วยฟื้นฟูความรักที่ประชาคมเคยมีในตอนแรกขึ้นมาใหม่ได้อย่างไร?
• เหตุใดจึงอาจกล่าวได้ว่าคริสเตียนที่ยากจนด้านวัตถุที่เมืองซมือร์นาโบราณนั้นแท้จริงแล้วพวกเขาร่ำรวย?
• เมื่อคำนึงถึงสภาพการณ์ในประชาคมที่เมืองเปอร์กาโมส์ เราควรมีทัศนะเช่นไรต่อแง่คิดที่ออกหาก?
[คำถาม]
[แผนที่หน้า 10]
(รายละเอียดดูจากวารสาร)
กรีซ
เอเชียน้อย
เอเฟโซส
ซมือร์นา
เปอร์กาโมส์
ธุอาทิรา
ซาร์ดิส
ฟีลาเดลเฟีย
ลาโอดิเคีย
[ภาพหน้า 12]
“ชนฝูงใหญ่” จะมีชีวิตอยู่ในอุทยานบนแผ่นดินโลก
[ภาพหน้า 13]
คริสเตียนที่ถูกข่มเหงมีชัยเหนือโลก