“อย่ากลัวหรือครั่นคร้ามเลย”
“อย่ากลัวหรือครั่นคร้ามเลย”
“อย่ากลัวหรือครั่นคร้ามเลย . . . พระยะโฮวาจะทรงสถิตอยู่กับท่านทั้งหลาย.”—2 โครนิกา 20:17, ล.ม.
1. การก่อการร้ายส่งผลกระทบต่อผู้คนอย่างไร และเหตุใดการที่พวกเขารู้สึกหวาดกลัวจึงเป็นที่เข้าใจได้?
การก่อการร้าย! เพียงแค่เอ่ยถึงคำนี้ก็ทำให้รู้สึกหวาดกลัว ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยและไม่สามารถป้องกันตัวเองได้. คำนี้กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกสยดสยอง, เศร้าสลด, และโกรธแค้นระคนกัน. และคำนี้เป็นคำที่ให้ภาพสิ่งที่หลายคนหวั่นกลัวว่าจะก่อให้เกิดความทุกข์แก่มนุษยชาติต่อไปอีกหลายปีข้างหน้า. ข้อเท็จจริงที่ว่าบางประเทศได้ต่อสู้กับการก่อการร้ายหลายรูปแบบอยู่นานหลายสิบปีแต่ไม่ประสบความสำเร็จอย่างเต็มที่ก็ทำให้มีเหตุผลที่จะกลัวเช่นนั้น.
2. พยานพระยะโฮวารู้สึกอย่างไรต่อปัญหาการก่อการร้าย และนั่นนำไปสู่คำถามอะไร?
2 ถึงกระนั้น มีเหตุผลอย่างแท้จริงสำหรับความหวัง. พยานพระยะโฮวาซึ่งประกาศเผยแพร่อย่างขันแข็งใน 234 ดินแดนทั่วโลก มองอนาคตในแง่ดีอย่างที่ไม่เหมือนใคร. แทนที่จะหวั่นกลัวว่าการก่อการร้ายจะไม่มีวันถูกขจัดให้หมดไป พวกเขามั่นใจว่าการก่อการร้ายจะหมดสิ้นไป—และในไม่ช้านี้. เป็นเรื่องที่ตรงกับความเป็นจริงไหมที่จะมองอนาคตในแง่ดีเช่นเดียวกับที่พวกเขามอง? ใครจะสามารถขจัดภยันตรายนี้ให้หมดไปจากโลกได้สำเร็จ และสิ่งนี้จะเป็นไปได้อย่างไร? เนื่องจากเราทุกคนอาจได้รับผลกระทบจากความรุนแรงไม่แบบใดก็แบบหนึ่ง จึงเป็นการดีที่จะตรวจสอบเหตุผลสำหรับการมองในแง่ดีเช่นนั้น.
3. มีสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้เกิดความกลัว และมีการบอกล่วงหน้าไว้อย่างไรถึงสมัยของเรา?
2 ติโมเธียว 3:1-3, ล.ม.
3 ทุกวันนี้ ผู้คนกลัวและครั่นคร้ามเนื่องด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานา. ขอให้คิดถึงผู้คนมากมายที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อีกต่อไปเพราะแก่ชรา, ผู้คนที่ซูบผอมลงเนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มีทางรักษา, หรือครอบครัวที่กำลังต่อสู้ดิ้นรนทางเศรษฐกิจเพื่อจะมีเงินพอสำหรับซื้อสิ่งจำเป็นพื้นฐานของชีวิต. อันที่จริง ขอให้คิดถึงความไม่แน่นอนของชีวิตเองก็แล้วกัน! ความตายอย่างกะทันหันโดยอุบัติเหตุหรือภัยพิบัติอาจดูเหมือนจะเกิดขึ้นได้เสมอ พร้อมจะพรากทุกสิ่งที่เราถือว่ามีค่ายิ่งไปจากเรา. ความกลัวและความหวั่นวิตกเช่นนั้น ประกอบกับความขัดแย้งระหว่างบุคคลและความผิดหวังมากมาย ได้ทำให้สมัยของเราตรงกับที่อัครสาวกเปาโลพรรณนาไว้ที่ว่า “จงรู้ข้อนี้ คือในสมัยสุดท้ายจะเกิดวิกฤตกาลซึ่งยากที่จะรับมือได้. เพราะว่าคนจะรักตัวเอง, . . . ไม่มีความรักใคร่ตามธรรมชาติ, ไม่ยอมตกลงกัน, เป็นคนใส่ร้าย, ไม่มีการรู้จักบังคับตน, ดุร้าย, ไม่รักความดี.”—4. มีแง่ดีอะไรในภาพอันน่าหดหู่ที่ให้ไว้ใน 2 ติโมเธียว 3:1-3?
4 แม้ข้อพระคัมภีร์นี้ให้ภาพอันน่าหดหู่ก็ตาม แต่ก็ยังบ่งชี้ถึงความหวัง. ขอสังเกตว่าวิกฤตกาลดังกล่าวจะเกิดขึ้น “ในสมัยสุดท้าย” ของระบบชั่วปัจจุบันของซาตาน. นี่หมายความว่าการบรรเทาใกล้เข้ามาแล้ว และอีกไม่ช้าโลกชั่วนี้จะถูกแทนที่ด้วยการปกครองแห่งราชอาณาจักรที่สมบูรณ์พร้อมของพระเจ้า ซึ่งพระเยซูสอนสาวกให้อธิษฐานขอ. (มัดธาย 6:9, 10) ราชอาณาจักรดังกล่าวคือรัฐบาลฝ่ายสวรรค์ของพระเจ้า ซึ่ง “จะไม่มีวันทำลายเสียได้” แต่ “จะทำลายอาณาจักรอื่น ๆ ลงให้ย่อยยับและเผาผลาญเสียสิ้น, และอาณาจักรนี้จะดำรงอยู่เป็นนิจ” ตามที่ผู้พยากรณ์ดานิเอลกล่าว.—ดานิเอล 2:44.
ความเป็นกลางของคริสเตียนและระบบก่อการร้าย
5. เมื่อไม่นานมานี้ ชาติต่าง ๆ ได้ตอบโต้การคุกคามของการก่อการร้ายอย่างไร?
5 การก่อการร้ายทำให้ผู้คนมากมายเสียชีวิตในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา. ทั่วโลกตื่นตัวมากยิ่งขึ้นถึงอันตรายของการก่อการร้ายนี้ หลังจากเกิดการโจมตีที่นครนิวยอร์กและวอชิงตัน ดี. ซี. ในวันที่ 11 กันยายน 2001. เมื่อคำนึงถึงขนาดและขอบเขตที่มีไปทั่วโลกของการก่อการร้าย ชาติต่าง ๆ ทั่วโลกจึงไม่รีรอที่จะผนึกกำลังกันต่อต้าน. ตัวอย่างเช่น ตามที่สื่อรายงาน วันที่ 4 ธันวาคม 2001 “รัฐมนตรีต่างประเทศจาก 55 ชาติในภูมิภาคยุโรป, อเมริกาเหนือ, และเอเชียกลาง มีมติเป็นเอกฉันท์รับเอาแผน” ที่วางไว้เพื่อประสานความพยายามกัน. เจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่งของสหรัฐยกย่องการกระทำดังกล่าวว่าเป็นการเสริมให้มี “อานุภาพในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน” แก่ความพยายามในการต่อต้านการก่อการร้าย. โดยไม่ทันรู้ตัว หลายร้อยล้านคนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เดอะ นิวยอร์ก ไทมส์ แมกกาซีน เรียกว่าเป็น “การเริ่มต้นของการต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่.” ความพยายามดังกล่าวจะประสบความสำเร็จแค่ไหนยังจะต้องดูกันต่อไป. อย่างไรก็ตาม ผลที่ตามมาของสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเช่นนี้ได้ก่อให้เกิดความรู้สึกหวาดกลัวและความหวั่นวิตกแก่หลายคน ทว่าไม่เป็นอย่างนั้นกับผู้ที่วางใจพระยะโฮวา.
6. (ก) เหตุใดในบางครั้ง บางคนจึงรู้สึกว่ายากที่จะยอมรับจุดยืนในเรื่องความเป็นกลางของคริสเตียนที่พยานพระยะโฮวายึดมั่น? (ข) พระเยซูทรงวางตัวอย่างอะไรสำหรับสาวกของพระองค์ในเรื่องกิจกรรมทางการเมือง?
6 พยานพระยะโฮวาเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องความเป็นกลางทางการเมือง. ขณะที่คนส่วนใหญ่อาจเต็มใจยอมรับจุดยืนของพยานพระยะโฮวาในยามสันติ แต่พวกเขาไม่พร้อมจะยอมรับจุดยืนดังกล่าวเมื่อเกิดเหตุการณ์พิเศษ. บ่อยครั้ง ความหวาดกลัวและความไม่แน่ใจถึงสิ่งที่จะเกิดโยฮัน 15:19, ล.ม.; 17:14-16, ล.ม.; 18:36; ยาโกโบ 4:4) นี่เรียกร้องให้พวกเขารักษาความเป็นกลางในเรื่องการเมืองหรือสังคม. พระเยซูเองทรงวางตัวอย่างที่เหมาะสม. เมื่อคำนึงถึงสติปัญญาอันสมบูรณ์พร้อมและความสามารถอันล้ำเลิศของพระองค์ พระองค์คงจะช่วยปรับปรุงสภาพสังคมในสมัยของพระองค์ได้แน่. กระนั้น พระองค์ปฏิเสธที่จะเข้ายุ่งเกี่ยวในทางการเมือง. ในตอนเริ่มต้นงานรับใช้ของพระองค์ พระองค์ปฏิเสธอย่างหนักแน่นต่อข้อเสนอของซาตานที่จะมอบอาณาจักรทั้งสิ้นในโลกให้พระองค์ปกครอง. ต่อมา ด้วยการกระทำอย่างเด็ดเดี่ยว พระองค์หลบเลี่ยงแผนการของประชาชนที่จะตั้งพระองค์ให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง.—มัดธาย 4:8-10; โยฮัน 6:14, 15.
ขึ้นเนื่องจากสงครามได้ปลุกเร้าความรู้สึกรักชาติอย่างรุนแรง. นี่อาจทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับบางคนที่จะเข้าใจว่าทำไมจึงมีคนที่ไม่เต็มใจร่วมสนับสนุนการรณรงค์แสดงความรักชาติอย่างที่คนอื่น ๆ เขาทำกัน. กระนั้นก็ตาม คริสเตียนแท้รู้ว่าพวกเขาต้องเชื่อฟังพระบัญชาของพระเยซูที่ว่าต้อง “ไม่เป็นส่วนของโลก.” (7, 8. (ก) การที่พยานพระยะโฮวาแสดงความเป็นกลางทางการเมืองไม่ได้หมายความเช่นไร และทำไมจึงเป็นอย่างนั้น? (ข) โดยวิธีใดที่ โรม 13:1, 2 ทำให้คริสเตียนไม่มีทางที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมที่ใช้ความรุนแรงเพื่อต่อต้านรัฐบาล?
7 ไม่ควรเข้าใจผิดว่าการที่พยานพระยะโฮวายึดฐานะความเป็นกลางนั้นหมายความว่าพวกเขาเห็นชอบหรือยอมให้กับการกระทำที่รุนแรง. สำหรับพวกเขาแล้ว การทำอย่างนั้นคงจะขัดกันกับคำอ้างที่ว่าพวกเขาเป็นผู้รับใช้ “พระเจ้าแห่งความรักและความสันติสุข.” (2 โกรินโธ 13:11) พวกเขาได้เรียนรู้ว่าพระยะโฮวาทรงรู้สึกเช่นไรต่อความรุนแรง. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญเขียนว่า “พระยะโฮวาเองทรงตรวจสอบคนชอบธรรมและคนอธรรมด้วย และคนใดที่ชอบความรุนแรงนั้นพระองค์ทรงเกลียดชังอย่างแน่นอน.” (บทเพลงสรรเสริญ 11:5, ล.ม.) พวกเขายังตระหนักถึงสิ่งที่พระเยซูตรัสแก่อัครสาวกเปโตรด้วยที่ว่า “จงเอาดาบใส่ฝักเสีย ด้วยว่าบรรดาผู้ถือดาบจะต้องพินาศเพราะดาบ.”—มัดธาย 26:52.
8 แม้ประวัติศาสตร์แสดงอย่างชัดเจนว่า คริสเตียนปลอมใช้ “ดาบ” อยู่เนือง ๆ แต่ไม่เป็นเช่นนั้นกับพยานพระยะโฮวา. พยานพระยะโฮวาไม่เข้าส่วนร่วมในกิจกรรมใด ๆ ดังกล่าว. พวกเขาเชื่อฟังคำสั่งที่โรม 13:1, 2 (ล.ม.) อย่างซื่อสัตย์ที่ว่า “จงให้ทุกคนยอมอยู่ใต้อำนาจที่สูงกว่า [ผู้ปกครองบ้านเมือง] ด้วยว่าไม่มีอำนาจใด ๆ เว้นไว้โดยพระเจ้า; อำนาจต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่นั้นตั้งอยู่ในตำแหน่งสูงต่ำโดยพระเจ้า. เหตุฉะนั้น ผู้ซึ่งต่อต้านอำนาจนั้นตั้งตัวต่อต้านการจัดเตรียมของพระเจ้า; ผู้ที่ได้ตั้งตัวต่อต้านการจัดเตรียมนั้นจะได้รับการพิพากษาสำหรับตน.”
9. พยานพระยะโฮวาต่อต้านการก่อการร้ายในสองทางใดบ้าง?
9 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการก่อการร้ายเป็นการกระทำที่ชั่วร้ายอย่างมาก ไม่ควรหรือที่พยานพระยะโฮวาจะทำอะไรสักอย่างเพื่อช่วยต่อต้านการก่อการร้าย? ใช่แล้ว พวกเขาควรทำและกำลังทำอยู่. ประการแรก พวกเขาเองไม่เข้าร่วมกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย. ประการที่สอง พวกเขาสอนหลักการคริสเตียนแก่ผู้คน ซึ่งเมื่อนำไปใช้จะทำให้คนเหล่านั้นยุติความรุนแรงทุกรูปแบบ. * ปีที่ผ่านมา พยานฯ ใช้เวลา 1,202,381,302 ชั่วโมงเพื่อช่วยผู้คนให้เรียนรู้แนวทางชีวิตแบบคริสเตียน. นี่ไม่ใช่การเสียเวลาเปล่า เนื่องจากผลของการทำเช่นนั้น ทำให้มี 265,469 คนรับบัพติสมาเป็นพยานของพระยะโฮวา ซึ่งเป็นการแสดงต่อสาธารณชนว่าพวกเขาปฏิเสธความรุนแรงอย่างสิ้นเชิง.
10. อะไรคือความหวังในการกวาดล้างความรุนแรงให้หมดไปจากโลกทุกวันนี้?
10 นอกจากนี้ พยานพระยะโฮวายอมรับว่าลำพังความสามารถของพวกเขาไม่อาจกำจัดความชั่วให้หมดไปจากโลกได้. นั่นเป็นเหตุที่พวกเขาฝากความไว้วางใจอย่างเต็มเปี่ยมในผู้ที่ทำได้ คือพระยะโฮวาพระเจ้า. (บทเพลงสรรเสริญ 83:18) แม้พยายามด้วยความจริงใจ มนุษย์ไม่สามารถทำให้ความรุนแรงหมดสิ้นไปได้. ผู้เขียนคัมภีร์ไบเบิลซึ่งได้รับการดลใจเตือนพวกเราล่วงหน้าถึงสมัยของเราซึ่งเป็น “สมัยสุดท้าย” ดังนี้: “คนชั่วและเจ้าเล่ห์จะกำเริบชั่วร้ายมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้อื่นหลงผิดและตนเองถูกทำให้หลงผิด.” (2 ติโมเธียว 3:1, 13, ล.ม.) เมื่อมองจากจุดนี้ มนุษย์จึงแทบไม่มีความหวังอะไรที่จะชนะความชั่ว. ในทางตรงกันข้าม เราสามารถไว้วางใจพระยะโฮวาได้ว่า พระองค์จะกำจัดความรุนแรงให้ หมดไปอย่างสิ้นเชิงและถาวร.—บทเพลงสรรเสริญ 37:1, 2, 9-11; สุภาษิต 24:19, 20; ยะซายา 60:18.
ไม่หวั่นกลัวแม้กำลังจะเผชิญการโจมตี
11. พระยะโฮวาได้ทรงดำเนินการอะไรไปแล้วเพื่อขจัดความรุนแรง?
11 เนื่องจากพระเจ้าแห่งสันติสุขทรงเกลียดชังความรุนแรง เราจึงเข้าใจได้ว่าทำไมพระองค์ได้เริ่มดำเนินการเพื่อกำจัดที่ต้นเหตุของความรุนแรง กล่าวคือซาตานพญามาร. อันที่จริง พระองค์ทำให้ซาตานพ่ายแพ้ไปแล้วอย่างน่าอับอายโดยพระหัตถ์ของอัครทูตสวรรค์มิคาเอล—พระเยซูคริสต์ กษัตริย์ที่เพิ่งขึ้นครองราชย์ของพระเจ้า. คัมภีร์ไบเบิลพรรณนาเหตุการณ์นั้นดังนี้: “ได้เกิดสงครามขึ้นในสวรรค์: มิคาเอลกับเหล่าทูตสวรรค์ของพระองค์ได้สู้รบกับพญานาค และพญานาคกับเหล่าทูตสวรรค์ของมันก็สู้รบ แต่มันไม่ชนะ ทั้งไม่มีที่สำหรับพวกมันอีกต่อไปในสวรรค์. แล้วพญานาคใหญ่ก็ถูกเหวี่ยงลง งูตัวแรกเดิมนั้น ผู้ถูกเรียกว่าพญามารและซาตาน ผู้ชักนำแผ่นดินโลกทั้งสิ้นที่มีคนอาศัยอยู่ให้หลง; มันถูกเหวี่ยงลงที่แผ่นดินโลก และเหล่าทูตสวรรค์ของมันก็ถูกเหวี่ยงลงพร้อมกับมัน.”—วิวรณ์ 12:7-9, ล.ม.
12, 13. (ก) มีความสำคัญอะไรเกี่ยวกับปี 1914? (ข) คำพยากรณ์ของยะเอศเคลบอกล่วงหน้าถึงเรื่องอะไรแก่ผู้สนับสนุนราชอาณาจักรของพระเจ้า?
12 การคำนวณเวลาตามคัมภีร์ไบเบิลและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลกชี้ตรงกันว่าปี 1914 เป็นปีที่เกิดสงครามดังกล่าวในสวรรค์. ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สภาพการณ์ในโลกแย่ลงเรื่อย ๆ. วิวรณ์ 12:12 อธิบายถึงสาเหตุ โดยกล่าวว่า “เพราะเหตุนั้นแหละสวรรค์ทั้งหลายกับทั้งผู้ที่อยู่ในสวรรค์นั้นจงชื่นชมยินดีเถิด. วิบัติจะมีแก่แผ่นดินโลกและทะเล เพราะว่ามารลงมาถึงเจ้ามีความโกรธยิ่งนัก ด้วยมันรู้ว่าเวลาของมันมีน้อย.”
13 ดังที่คาดหมายได้ พญามารจะมุ่งระบายความโกรธแค้นไปยังผู้นมัสการที่ถูกเจิมของพระเจ้าและ “แกะอื่น” สหายของพวกเขาเป็นหลัก. (โยฮัน 10:16; วิวรณ์ 12:17) ในอีกไม่ช้า การเป็นปฏิปักษ์ดังกล่าวจะดำเนินไปถึงจุดสุดยอดเมื่อพญามารเปิดฉากการโจมตีอย่างรุนแรงต่อทุกคนซึ่งสนับสนุนราชอาณาจักรที่ได้รับการสถาปนาแล้วของพระเจ้าและผู้ที่วางใจราชอาณาจักรนั้น. การโจมตีอย่างสุดกำลังครั้งนี้มีการกล่าวไว้ในยะเอศเคลบท 38 (ฉบับแปลใหม่) ว่าเป็นการโจมตีจาก “โกกแห่งแผ่นดินมาโกก.”
14. ที่ผ่านมา พยานพระยะโฮวาได้รับการปกป้องเช่นไร แต่จะเป็นอย่างนั้นเสมอไปไหม?
14 ตั้งแต่ซาตานถูกขับออกจากสวรรค์ บางครั้งประชาชนของพระเจ้าได้รับการปกป้องจากการโจมตีของมันด้วยความช่วยเหลือจากองค์ประกอบทางการเมืองบางส่วน ดังพรรณนาไว้เป็นภาษาที่เป็นนัยที่วิวรณ์ 12:15, 16. แต่ระหว่างการโจมตีครั้งสุดท้ายของซาตาน คัมภีร์ไบเบิลบ่งชี้ว่าจะไม่มีองค์การใดของมนุษย์เข้ามาปกป้องคนเหล่านั้นที่วางใจพระยะโฮวา. นี่ควรทำให้คริสเตียนกลัวหรือครั่นคร้ามไหม? ไม่เลย!
15, 16. (ก) คำรับรองที่พระยะโฮวาให้แก่ประชาชนของพระองค์ในสมัยยะโฮซาฟาดให้เหตุผลอะไรแก่คริสเตียนในทุกวันนี้ที่จะมองอนาคตในแง่ดี? (ข) แบบอย่างอะไรที่ยะโฮซาฟาดและประชาชนได้วางไว้สำหรับผู้รับใช้ของพระเจ้าในปัจจุบัน?
15 พระเจ้าจะหนุนหลังประชาชนของพระองค์อย่างแน่นอน เช่นเดียวกับที่พระองค์ให้การช่วยเหลือชนชาติที่พระองค์ทรงใช้เป็นแบบอย่างในสมัยของกษัตริย์ยะโฮซาฟาด. เราอ่านดังนี้: “ข้าแต่กษัตริย์ยะโฮซาฟาดกับชาวยูดา, และชาวกรุงยะรูซาเลมทั้งปวง, จงฟังเถิด, พระยะโฮวาทรงตรัสแก่ท่านทั้งหลายดังนี้ว่า, ‘อย่ากลัว, อย่าตกใจเพราะเหตุหมู่2 โครนิกา 20:15-17.
คนคณะใหญ่นั้น; เพราะการสู้รบครั้งนี้มิใช่พนักงานของพวกท่าน, แต่เป็นกิจธุระของพระเจ้า. . . . ในการนี้ท่านทั้งหลายไม่ต้องสู้รบ: แต่จงยืนนิ่งอยู่กับที่, แล้วท่านทั้งหลายคงจะได้เห็นความสงเคราะห์ช่วยเหลือของพระยะโฮวา, ซึ่งทรงสถิตอยู่ด้วย [“จงเข้าประจำที่ จงยืนนิ่งและมองดูการช่วยให้รอดจากพระยะโฮวาเพื่อท่านทั้งหลาย,” ล.ม.], โอ้พวกยูดาและชาวกรุงยะรูซาเลมเอ๋ย: อย่ากลัว, อย่าตกใจเลย; พรุ่งนี้จงพากันออกไปสู้พวกนั้นเถิด: เพราะพระยะโฮวาจะทรงสถิตอยู่ด้วย.’”—16 ประชาชนในยูดาห์ได้รับคำรับรองว่าพวกเขาจะไม่ต้องสู้รบ. ในทำนองเดียวกัน เมื่อประชาชนของพระเจ้าถูกโจมตีจากโกกแห่งมาโกก พวกเขาจะไม่จับอาวุธเพื่อป้องกันตัวเอง. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พวกเขาจะ “ยืนนิ่งและมองดูการช่วยให้รอดจากพระยะโฮวา” เพื่อพวกเขา. แน่นอน การยืนนิ่งไม่ได้บ่งชี้ว่าอยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไรเลย เช่นเดียวกับที่ประชาชนของพระเจ้าในสมัยยะโฮซาฟาดก็ไม่ได้นิ่งเฉยไม่ทำอะไร. เราอ่านว่า “ยะโฮซาฟาดได้ก้มพระเศียรหมอบลงถึงดิน; ทั้งบรรดาพวกยูดาและชาวกรุงยะรูซาเลมได้กระทำดังนั้นต่อพระพักตร์พระยะโฮวาไหว้นมัสการพระองค์. . . . ครั้นทรงปรึกษากันแล้ว, [ยะโฮซาฟาด] ได้จัดพวกถวายเพลงแก่พระยะโฮวา, ให้ยกยอสรรเสริญด้วยความรจนาบริสุทธิ์, เมื่อกำลังออกไปหน้ากระบวนศึกนั้นให้ร้องเพลงว่า, ขอบพระเดชพระคุณพระยะโฮวา; เพราะความเมตตาของพระองค์ดำรงอยู่เป็นนิตย์.” (2 โครนิกา 20:18-21) ถูกแล้ว แม้แต่ขณะเผชิญการโจมตีจากข้าศึก ประชาชนยังคงแข็งขันในการสรรเสริญพระยะโฮวา. การทำเช่นนี้วางแบบอย่างไว้ให้พยานพระยะโฮวาทำตามเมื่อโกกเปิดฉากโจมตีพวกเขา.
17, 18. (ก) พยานพระยะโฮวาในทุกวันนี้มีเจตคติที่ไม่หวั่นกลัวเช่นไรต่อการโจมตีของโกก? (ข) ไม่นานมานี้มีการให้ข้อเตือนใจอะไรแก่หนุ่มสาวคริสเตียน?
17 พยานพระยะโฮวาจะสนับสนุนราชอาณาจักรของพระเจ้าเรื่อยไปจนถึงเวลานั้น และแม้กระทั่งหลังจากที่โกกเริ่มการโจมตีแล้ว. พวกเขาจะแสวงหาการสนับสนุนและการคุ้มครองต่อ ๆ ไปด้วยการสมทบกับประชาคมมากกว่า 94,600 ประชาคมตลอดทั่วโลก. (ยะซายา 26:20) บัดนี้เป็นโอกาสเหมาะจริง ๆ ที่จะสรรเสริญพระยะโฮวาด้วยความกล้าหาญ! แน่นอน การมีชีวิตอยู่พร้อมด้วยการคาดหมายว่าจะถูกโจมตีจากโกกในอีกไม่ช้าไม่ทำให้พวกเขาถอยกลับด้วยความหวั่นกลัว. ตรงกันข้าม นั่นกระตุ้นพวกเขาให้ถวายเครื่องบูชาแห่งคำสรรเสริญมากขึ้นเท่าที่พวกเขาสามารถทำได้.—บทเพลงสรรเสริญ 146:2.
18 เจตคติที่ไม่หวั่นกลัวดังกล่าวมีการแสดงออกเป็นอย่างดีในพยานฯ หนุ่มสาวหลายพันคนตลอดทั่วโลกที่ได้เริ่มงานรับใช้เต็มเวลา. เพื่อเน้นว่าการเลือกแนวทางชีวิตบทเพลงสรรเสริญ 119:14, 24, 99, 119, 129, 146, ล.ม.
เช่นนั้นเป็นสิ่งที่ดีกว่า จึงมีการออกแผ่นพับหนุ่มสาวทั้งหลาย—คุณจะใช้ชีวิตของคุณอย่างไร? ในการประชุมภาคปี 2002. คริสเตียนไม่ว่าเยาว์วัยหรือสูงอายุต่างรู้สึกขอบคุณที่ได้รับข้อเตือนใจเช่นนี้ที่มาทันเวลา.—19, 20. (ก) ทำไมคริสเตียนจึงไม่มีเหตุผลที่จะกลัวหรือครั่นคร้าม? (ข) เราจะได้ประโยชน์อะไรจากบทความศึกษาถัดไป?
19 ไม่ว่าสภาพการณ์ของโลกจะเป็นเช่นไร คริสเตียนไม่จำเป็นต้องกลัวหรือครั่นคร้าม. พวกเขารู้ว่าในอีกไม่ช้าราชอาณาจักรของพระยะโฮวาจะกวาดล้างความรุนแรงทุกรูปแบบให้หมดไปอย่างถาวร. พวกเขายังได้รับการชูใจด้วยที่รู้ว่าผู้คนจำนวนมากที่เสียชีวิตไปเพราะความรุนแรงจะกลับมามีชีวิตอีกโดยการกลับเป็นขึ้นจากตาย. การกลับเป็นขึ้นจากตายจะทำให้บางคนมีโอกาสได้เรียนรู้จักพระยะโฮวาเป็นครั้งแรก และจะทำให้ผู้คนอีกส่วนหนึ่งสามารถรับใช้พระองค์ตามแนวทางที่พวกเขาได้อุทิศตัวต่อ ๆ ไป.—กิจการ 24:15.
20 ในฐานะคริสเตียนแท้ เราเข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องรักษาความเป็นกลางของคริสเตียน และเรามุ่งมั่นที่จะทำเช่นนั้น. เราต้องการยึดมั่นอยู่กับความหวังอันน่าพิศวงที่จะสามารถ “ยืนนิ่งและมองดูการช่วยให้รอดจากพระยะโฮวา.” บทความถัดไปจะเสริมความเชื่อของเราให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นโดยทำให้เราตื่นตัวต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันที่ให้ความเข้าใจกระจ่างมากขึ้นเป็นขั้น ๆ เกี่ยวกับความสำเร็จเป็นจริงของคำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิล.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 9 สำหรับตัวอย่างของคนที่เลิกแนวทางชีวิตที่ใช้ความรุนแรงเพื่อจะเป็นพยานฯ โปรดดูตื่นเถิด! (ภาษาอังกฤษ) 22 มีนาคม 1990 หน้า 21, ตื่นเถิด! 8 สิงหาคม 1991 หน้า 20, และหอสังเกตการณ์ 1 มกราคม 1996 หน้า 5, 1 สิงหาคม 1998 หน้า 5.
คุณอธิบายได้ไหม?
• เหตุใดผู้คนจำนวนมากในทุกวันนี้จึงมองอนาคตในแง่ร้ายเหลือเกิน?
• ทำไมพยานพระยะโฮวาจึงมองอนาคตในแง่ดี?
• พระยะโฮวาได้ทรงดำเนินการอะไรไปแล้วในส่วนที่เกี่ยวกับต้นเหตุของความรุนแรงทั้งมวล?
• ทำไมจึงไม่มีเหตุผลที่เราจะกลัวการโจมตีของโกก?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 13]
พระเยซูทรงวางตัวอย่างที่เหมาะสมในเรื่องความเป็นกลางของคริสเตียน
[ภาพหน้า 16]
พยานฯ หนุ่มสาวหลายพันคนได้เริ่มงานรับใช้เต็มเวลาด้วยความปีติยินดี
[ที่มาของภาพหน้า 12]
UN PHOTO 186226/M. Grafman