เรียนรู้เคล็ดลับของการอยู่อย่างสันโดษ
เรียนรู้เคล็ดลับของการอยู่อย่างสันโดษ
ในจดหมายที่หนุนใจถึงคริสเตียนที่เมืองฟิลิปปี อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “ข้าพเจ้าเรียนรู้มาแล้วว่าจะอยู่อย่างสันโดษ ไม่ว่าข้าพเจ้าอยู่ในสภาพการณ์อย่างไร. . . . ในทุกสิ่งและในทุกสภาพการณ์ข้าพเจ้าได้เรียนรู้เคล็ดลับทั้งที่จะอิ่มและที่จะอด ทั้งที่จะมีบริบูรณ์และที่จะขาดแคลน.”—ฟิลิปปอย 4:11, 12, ล.ม.
อะไรคือเคล็ดลับของการอยู่อย่างสันโดษของเปาโล? เมื่อพิจารณาดูค่าครองชีพที่สูงและความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในสมัยของเรา คงจะเป็นประโยชน์แน่ ๆ ที่คริสเตียนแท้จะเรียนรู้วิธีเป็นคนสันโดษเพื่อจะจดจ่อในการรับใช้พระเจ้าได้ต่อไป.
ก่อนหน้านั้นในจดหมายของท่าน เปาโลได้พรรณนาถึงชีวิตการงานของท่านในอดีตที่ประสบผลสำเร็จ. ท่านกล่าวว่า “ถ้าผู้อื่นคิดเห็นว่าเขามีที่จะไว้ใจในเนื้อหนัง, ข้าพเจ้ายังมีมากกว่าเขา คือเมื่อข้าพเจ้าเกิดมาได้แปดวันก็ได้รับพิธีสุหนัต, ข้าพเจ้าเป็นวงศ์ยิศราเอล, อยู่ในตระกูลเบนยามิน, เป็นชาติเฮ็บรายเกิดจากชาวเฮ็บราย ถ้าว่าด้วยพระบัญญัติก็อยู่ในคณะฟาริซาย ถ้าว่าด้วยการร้อนรนก็ได้ข่มเหงคริสตจักร ถ้าว่าด้วยการชอบธรรมซึ่งมีอยู่ในพระบัญญัติ, ข้าพเจ้าก็ไม่มีที่ติได้.” (ฟิลิปปอย 3:4-6) นอกจากนี้ ในฐานะเป็นชาวยิวที่มีใจแรงกล้า เปาโลได้รับงานมอบหมายและการหนุนหลังจากพวกปุโรหิตใหญ่ในกรุงเยรูซาเลม. ทั้งหมดนี้ทำให้ท่านคาดหวังได้ในเรื่องอำนาจและเกียรติยศในระบบของยิว ทั้งด้านการเมือง, ศาสนา, และการเงินด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย.—กิจการ 26:10, 12.
อย่างไรก็ดี เมื่อเปาโลเข้ามาเป็นคริสเตียนผู้เผยแพร่ที่มีใจแรงกล้า สิ่งต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง. เพื่อเห็นแก่ข่าวดี ท่านเต็มใจสละงานอาชีพที่ประสบผลสำเร็จและทุกสิ่งที่ถือกันว่าสำคัญก่อนหน้านี้. (ฟิลิปปอย 3:7, 8) ตอนนี้ท่านจะหาเลี้ยงตัวเองอย่างไร? ท่านจะได้รับค่าจ้างฐานะเป็นผู้เผยแพร่ไหม? มีการเอาใจใส่ต่อความจำเป็นส่วนตัวของท่านโดยวิธีใด?
เปาโลทำงานเผยแพร่โดยไม่ได้รับค่าจ้าง. เพื่อจะไม่เป็นภาระแก่คนเหล่านั้นที่ท่านรับใช้ ท่านได้ทำกระโจมผ้าใบกับอะกุลาและปริศกิลาระหว่างอยู่ในเมืองโครินท์ และท่านได้ทำสิ่งอื่น ๆ ด้วยเพื่อเลี้ยงตัวเอง. (กิจการ 18:1-3; 1 เธซะโลนิเก 2:9; 2 เธซะโลนิเก 3:8-10) เปาโลได้เดินทางอย่างกว้างไกลในฐานะมิชชันนารีสามครั้ง และท่านยังเดินทางไปประชาคมต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการเยี่ยมอีกด้วย. เนื่องจากหมกมุ่นอยู่กับการรับใช้พระเจ้าอย่างเต็มที่ ท่านจึงมีสมบัติวัตถุน้อย. ตามปกติ พวกพี่น้องจัดหาสิ่งจำเป็นให้ท่าน. แต่บางครั้ง เนื่องจากสภาพการณ์ที่ยากลำบาก ท่านประสบการขาดแคลน. (2 โกรินโธ 11:27; ฟิลิปปอย 4:15-18) แม้จะเป็นเช่นนั้น เปาโลไม่เคยบ่นเรื่องสภาพของตนเอง และท่านไม่อยากได้สิ่งที่คนอื่นมี. ท่านเต็มใจ และยินดีทำงานหนักเพื่อประโยชน์ของเพื่อนคริสเตียน. ที่จริง เปาโลนั่นเองเป็นผู้ที่ยกคำตรัสของพระเยซูซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีขึ้นมากล่าวที่ว่า “การให้ทำให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ.” ช่างเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นอะไรเช่นนี้สำหรับเราทุกคน!—กิจการ 20:33-35, ล.ม.
ความหมายของสันโดษ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เปาโลมีความสุขและความพอใจก็คือการที่ท่านเป็นคนสันโดษ. แต่การเป็นคนสันโดษหมายความอย่างไร? กล่าวง่าย ๆ นั่นหมายถึงการอิ่มใจกับสิ่งจำเป็นพื้นฐาน. เกี่ยวกับเรื่องนี้ เปาโลได้บอกติโมเธียว เพื่อนร่วมเดินทางของท่านในงานรับใช้ว่า “แน่นอน ความเลื่อมใสพระเจ้าประกอบกับสันโดษเป็นทางที่ได้กำไรมาก. เพราะเราไม่ได้นำอะไรเข้ามาในโลกฉันใด เราไม่อาจนำอะไรออกไปจากโลกได้ฉันนั้น. ดังนั้น ถ้าเรามีเครื่องอุปโภคบริโภค เราจะอิ่มใจด้วยของเหล่านี้.”—1 ติโมเธียว 6:6-8, ล.ม.
สังเกตว่าเปาโลได้เชื่อมโยงสันโดษกับความเลื่อมใสพระเจ้า. ท่านยอมรับว่าความสุขแท้เกิดจากความเลื่อมใสพระเจ้า นั่นคือเกิดจากการจัดงานรับใช้พระเจ้าไว้ในอันดับแรก และไม่ใช่เกิดจากสมบัติวัตถุหรือความมั่งคั่ง. “เครื่องอุปโภคบริโภค” เป็นเพียงสิ่งที่ทำให้ท่านสามารถติดตามความเลื่อมใสพระเจ้าต่อ ๆ ไปเท่านั้น. ดังนั้น สำหรับเปาโลแล้ว เคล็ดลับของการอยู่อย่างสันโดษคือ พึ่งอาศัยพระยะโฮวา ไม่ว่าสภาพการณ์จะเป็นเช่นไรก็ตาม.
หลายคนในทุกวันนี้ประสบความกังวลและความทุกข์มากมายเนื่องจากเขาไม่รู้เคล็ดลับนั้นหรือมองข้ามไป. แทนที่จะปลูกฝังการอยู่อย่างสันโดษ พวกเขาเลือกที่จะไว้วางใจในเงินและสิ่งที่ซื้อได้ด้วยเงิน. อุตสาหกรรมโฆษณาและสื่อมวลชนทำให้ผู้คนรู้สึกว่าพวกเขาจะมีความสุขไม่ได้นอกเสียจากว่าเขาจะมีผลิตภัณฑ์และข้าวของเครื่องใช้รุ่นล่าสุดและราคาแพง—และได้ของเหล่านี้ทันที. ผลก็คือ หลายคนตกเป็นเหยื่อของการมุ่งหาเงินทองและติดตามสิ่งฝ่ายวัตถุ. 1 ติโมเธียว 6:9, 10, ล.ม.
แทนที่จะพบความสุขและความพอใจ พวกเขา “ตกเข้าสู่การล่อใจและบ่วงแร้วและความปรารถนาหลายอย่างแบบไร้สติและที่ก่อความเสียหาย ซึ่งทำให้คนตกเข้าสู่ความพินาศและความหายนะ.”—ผู้คนที่ได้เรียนรู้เคล็ดลับนั้น
เป็นไปได้จริง ๆ ไหมในทุกวันนี้ที่จะดำเนินชีวิตอย่างสันโดษและด้วยความเลื่อมใสพระเจ้าแล้วประสบความสุขและความพอใจ? ใช่ เป็นไปได้. ที่จริง ผู้คนนับล้านในทุกวันนี้ได้ทำเช่นนั้นทีเดียว. พวกเขาได้เรียนรู้เคล็ดลับในการมีความสุขกับสิ่งฝ่ายวัตถุใด ๆ ที่ตนมีอยู่. พวกเขาคือพยานพระยะโฮวา ผู้ซึ่งได้อุทิศตัวแด่พระเจ้า ทำตามพระทัยประสงค์ของพระองค์และสั่งสอนคนทุกแห่งหนถึงพระประสงค์ของพระองค์.
เพื่อเป็นตัวอย่าง ขอพิจารณาดูคนเหล่านั้นที่ได้อาสาสมัครเพื่อรับการอบรมแล้วถูกส่งไปเป็นมิชชันนารีในประเทศที่ไม่มัดธาย 24:14) บ่อยครั้ง สภาพการดำรงชีวิตในประเทศซึ่งเขาถูกส่งไปนั้นไม่เจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุเหมือนที่เขาเคยชินมา. ตัวอย่างเช่น เมื่อพวกมิชชันนารีมาถึงประเทศหนึ่งแถบเอเชียตอนต้นปี 1947 ผลกระทบจากสงครามยังคงปรากฏให้เห็น และมีบ้านไม่กี่หลังที่มีไฟฟ้าใช้. ในหลายประเทศ มิชชันนารีพบว่าต้องซักเสื้อผ้าทีละตัวบนกระดานซักผ้าหรือไม่ก็บนก้อนหินที่แม่น้ำ แทนที่จะใช้เครื่องซักผ้า. แต่พวกเขามาเพื่อสอนความจริงในคัมภีร์ไบเบิลแก่ประชาชน ดังนั้น พวกเขาปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ในท้องถิ่นและหมกมุ่นในงานรับใช้.
คุ้นเคยเพื่อจะประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า. (คนอื่นได้ทำงานรับใช้เต็มเวลาหรือไม่ก็ย้ายไปยังเขตที่ยังไม่มีการประกาศข่าวดี. อะดุลโฟได้ทำงานรับใช้เต็มเวลามากว่า 50 ปีในภูมิภาคต่าง ๆ ของเม็กซิโก. เขากล่าวว่า “เช่นเดียวกับอัครสาวกเปาโล ผมกับภรรยาได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม. ตัวอย่างเช่น ประชาคมหนึ่งที่เราไปเยี่ยมอยู่ไกลจากตัวเมืองหรือตลาด. ในการรับประทานอาหารแต่ละมื้อ พวกพี่น้องพอใจกับการรับประทานแค่ตอร์ติยาหนึ่งแผ่นทาน้ำมันหมูนิดหน่อยโรยเกลือพร้อมกับกาแฟหนึ่งถ้วย. อาหารที่พวกเขารับประทานมีแค่นั้น—ตอร์ติยาสามแผ่นต่อวัน. ดังนั้น เราเรียนรู้ที่จะมีความเป็นอยู่เหมือนกับพวกพี่น้อง. ผมชอบประสบการณ์มากมายแบบนี้ตลอดช่วงเวลา 54 ปีที่ผมรับใช้พระยะโฮวาเต็มเวลา.”
ฟลอเรนติโนจำได้ถึงวิธีที่เขากับครอบครัวต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ที่ลำบาก. เมื่อนึกถึงช่วงวัยเด็ก เขากล่าวว่า “คุณพ่อของผมเป็นพ่อค้าที่มั่งคั่ง. ท่านเป็นเจ้าของที่ดินมากมาย. ผมยังจำได้ถึงเคาน์เตอร์ที่ร้านขายของชำซึ่งเราเป็นเจ้าของ. มีลิ้นชักกว้างราว ๆ 50 เซนติเมตร และลึก 20 เซนติเมตร ลิ้นชักนั้นแบ่งเป็นสี่ช่อง. เป็นที่ที่เราใช้เก็บเงินสดที่ได้รับตลอดวัน. พอตกค่ำ มีเหรียญและธนบัตรล้นลิ้นชักเสมอ.
“ครั้นแล้ว โดยไม่คาดคิดมาก่อน เราประสบความพลิกผันด้านการเงินและจากชีวิตที่มั่งคั่งกลายเป็นคนยากจน. เราสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างยกเว้นบ้านของเรา. นอกจากนี้ พี่ชายของผมคนหนึ่งประสบอุบัติเหตุและท้ายที่สุดเป็นอัมพาตส่วนล่างของร่างกาย. สิ่งต่าง ๆ ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป. ผมทำงานขายผลไม้และเนื้อสัตว์อยู่ระยะหนึ่ง. ผมยังรับเก็บฝ้าย, องุ่น, และหญ้าอัลฟัลฟา, และรับจ้างทดน้ำเข้าทุ่งนา. บางคนเรียกผมว่าช่างจิปาถะ. คุณแม่มักปลอบโยนพวกเราโดยบอกว่า เรามีความจริง ซึ่งเป็นทรัพย์ฝ่ายวิญญาณที่น้อยคนเท่านั้นมี. ดังนั้น ผมได้เรียนรู้ที่จะมีบริบูรณ์ อีกทั้งเรียนรู้ที่จะมีเพียงน้อยนิดหรือไม่มีเลย. ตอนนี้ที่ผมได้รับใช้พระยะโฮวาเต็มเวลามาประมาณ 25 ปีแล้ว ผมพูดได้ว่ามีความยินดีเสมอที่รู้ว่าตัวเองได้เลือกแนวทางชีวิตที่ดีที่สุด นั่นคือการรับใช้พระยะโฮวาเต็มเวลา.”
คัมภีร์ไบเบิลบอกเราอย่างหนักแน่นว่า “ความนิยมของโลกนี้ก็ล่วงไป [“ฉากของโลกนี้กำลังเปลี่ยนไป,” ล.ม.].” เพราะเหตุนี้ พระคัมภีร์กระตุ้นเราด้วยว่า “ผู้ที่ยินดีให้ได้เป็นเหมือนมิได้ยินดี และผู้ที่ซื้อก็ให้ได้เป็นเหมือนผู้ไม่มีอะไรเลย และคนที่ใช้ของในโลกนี้ให้เป็นเหมือนมิได้ใช้อย่างเต็มที่เลย.”—1 โกรินโธ 7:29-31.
ฉะนั้น บัดนี้ถึงเวลาที่จะตรวจสอบดูแนวทางชีวิตของคุณ. หากคุณอยู่ในสภาพที่มีทรัพย์จำกัด จงระวังเพื่อจะไม่รู้สึกขุ่นเคืองใจ หรือถึงกับเต็มไปด้วยความขมขื่นและอิจฉา. ในอีกด้านหนึ่ง ไม่ว่าคุณจะมีทรัพย์สมบัติวัตถุใด ๆ ก็ตาม คงจะเป็นการฉลาดสุขุมที่จะจัดให้ทรัพย์นั้นอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในชีวิต เพื่อจะไม่ให้ทรัพย์นั้นกลายเป็นนายเหนือคุณ. ดังที่อัครสาวกเปาโลได้เตือนสติ คุณควรฝากความหวังไว้ “ไม่ใช่กับทรัพย์ที่ไม่แน่นอน แต่กับพระเจ้า ผู้ทรงจัดสิ่งสารพัดให้เราอย่างบริบูรณ์เพื่อความชื่นชมยินดีของเรา.” หากคุณทำเช่นนั้น คุณก็จะพูดได้เช่นกันว่า คุณได้เรียนรู้เคล็ดลับของการอยู่อย่างสันโดษ.—1 ติโมเธียว 6:17-19, ล.ม.
[ภาพหน้า 9]
เปาโลทำงานด้วยมือของท่านเองเพื่อจะไม่เป็นภาระแก่คนอื่น
[ภาพหน้า 10]
หลายพันคนประสบความสุขในชีวิตที่มี “ความเลื่อมใสพระเจ้าประกอบกับสันโดษ”