เหตุผลที่เราไม่อาจอยู่โดยลำพังอย่างสิ้นเชิงได้
เหตุผลที่เราไม่อาจอยู่โดยลำพังอย่างสิ้นเชิงได้
“สองคนก็ดีกว่าคนเดียว . . . ถ้าคนหนึ่งล้มลง, อีกคนหนึ่งจะได้พยุงยกเพื่อนของตนให้ลุกขึ้น.”—กษัตริย์ซะโลโม
กษัตริย์ซะโลโมแห่งอิสราเอลโบราณทรงประกาศว่า “สองคนก็ดีกว่าคนเดียว, เพราะว่าเขาทั้งสองได้รับผลของงานดีกว่า. ด้วยว่าถ้าคนหนึ่งล้มลง, อีกคนหนึ่งจะได้พยุงยกเพื่อนของตนให้ลุกขึ้น; แต่วิบัติแก่ผู้นั้นที่อยู่ผู้เดียวเมื่อล้มลง, และไม่มีผู้อื่นพยุงยกตนให้ลุกขึ้น.” (ท่านผู้ประกาศ 4:9, 10) โดยกล่าวเช่นนั้น นักสังเกตการณ์ที่ชาญฉลาดเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ผู้นี้ได้เน้นความจำเป็นที่เราต้องมีเพื่อนและเน้นความสำคัญของการไม่แยกตัวอยู่โดดเดี่ยว. อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช่เป็นเพียงความคิดเห็นของมนุษย์. ถ้อยคำของซะโลโมเป็นผลมาจากสติปัญญาของพระเจ้าและการดลใจจากพระองค์.
การแยกตัวอยู่โดดเดี่ยวนับว่าไม่ฉลาด. คนเราจำเป็นต้องติดต่อเกี่ยวข้องกับคนอื่น. เราทุกคนจำเป็นต้องมีกำลังและความช่วยเหลือซึ่งเราจะได้จากคนอื่น. สุภาษิตในคัมภีร์ไบเบิลข้อหนึ่งกล่าวว่า “คนที่ปลีกตัวออกไปจากผู้อื่นจงใจจะทำตามตนเอง, และค้านคติแห่งปัญญาอันถูกต้องทั้งหลาย.” (สุภาษิต 18:1) ดังนั้น ไม่แปลกที่นักสังคมศาสตร์สนับสนุนคนเราให้เข้าร่วมกลุ่มและสนใจคนอื่น ๆ.
ในบรรดาข้อเสนอแนะสำหรับการฟื้นฟูชีวิตในชุมชน ศาสตราจารย์โรเบิร์ต พุตแนมกล่าวถึง “การเสริมพลังชักจูงของความเชื่อทางศาสนาให้เข้มแข็ง.” พยานพระยะโฮวานับว่าเด่นในเรื่องนี้ เนื่องจากพวกเขาได้รับการปกป้องในประชาคมที่เป็นดุจครอบครัวซึ่งมีอยู่ทั่วแผ่นดินโลก. สอดคล้องกับถ้อยคำของอัครสาวกเปโตร พวกเขา “มีความรักต่อสังคมพี่น้องทั้งสิ้น” ผู้ซึ่งมีความเคารพ “เกรงกลัวพระเจ้า.” (1 เปโตร 2:17, ล.ม.) พวกพยานฯ ยังหลีกเลี่ยงการแยกตัวอยู่โดดเดี่ยวและผลเสียหายจากการทำเช่นนั้น เพราะกิจกรรมในเชิงสร้างสรรค์หลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการนมัสการแท้ทำให้พวกเขามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเพื่อนบ้านให้เรียนรู้ความจริงที่พบในคัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระเจ้า.—2 ติโมเธียว 2:15.
ความรักและมิตรภาพได้เปลี่ยนชีวิตพวกเขา
พยานพระยะโฮวาประกอบกันเป็นชุมชนที่เป็นเอกภาพซึ่งสมาชิกทุกคนมีบทบาทสำคัญ. ตัวอย่างเช่น ขอพิจารณากรณีของมีเกล, ฟรอยลัน, และแอลมา รูท สมาชิกสามคนของครอบครัวเดียวกันในลาตินอเมริกา. พวกเขาเกิดมาพร้อมกับความผิดปกติของกระดูกซึ่งทำให้ร่างกายแคระแกร็น. ทั้งสามคนต้องนั่งเก้าอี้ล้อ. การคบหาสมาคมกับพวกพยานฯ มีผลอย่างไรต่อชีวิตของพวกเขา?
มีเกลออกความเห็นว่า “ผมได้ผ่านช่วงวิกฤติมาหลายครั้ง แต่เมื่อผมเริ่มคบหากับประชาชนของพระยะโฮวา ชีวิตผมได้เปลี่ยนไป. การแยกตัวอยู่โดดเดี่ยวเป็นอันตราย
มาก. การคบหาสมาคมกับเพื่อนร่วมความเชื่อ ณ การประชุมคริสเตียน อยู่ร่วมกับพวกเขาทุกสัปดาห์ ช่วยผมมากทีเดียวให้ประสบความอิ่มใจพอใจ.”แอลมา รูทกล่าวเสริมว่า “ดิฉันเคยประสบช่วงเวลาที่สลดหดหู่ใจอย่างรุนแรง; ดิฉันเคยรู้สึกเศร้าใจมาก ๆ. แต่เมื่อได้เรียนรู้เรื่องพระยะโฮวา ดิฉันรู้สึกว่าตัวเองสามารถมีสัมพันธภาพใกล้ชิดกับพระองค์ได้. นั่นเป็นสิ่งที่ล้ำค่ามากที่สุดในชีวิตสำหรับดิฉัน. ครอบครัวของดิฉันได้เกื้อหนุนเรามากมาย และนั่นทำให้เราเป็นเอกภาพมากขึ้น.”
คุณพ่อของมีเกลได้สอนมีเกลด้วยความรักให้อ่านออกเขียนได้. ครั้นแล้ว มีเกลได้ช่วยฟรอยลันกับแอลมา รูทให้อ่านออกเขียนได้เช่นกัน. นี่เป็นส่วนสำคัญสำหรับสภาพฝ่ายวิญญาณของพวกเขา. แอลมา รูทกล่าวว่า “การเรียนที่จะอ่านหนังสือออกเป็นประโยชน์แก่เรามาก เพราะต่อมาหลังจากนั้นเราสามารถได้รับการบำรุงเลี้ยงฝ่ายวิญญาณโดยการอ่านคัมภีร์ไบเบิลและสรรพหนังสือที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก.”
ปัจจุบัน มีเกลรับใช้ฐานะคริสเตียนผู้ปกครอง. ฟรอยลันอ่านคัมภีร์ไบเบิลจบไปแล้วเก้าครั้ง. แอลมา รูทได้ขยายงานรับใช้พระยะโฮวาออกไปโดยการเป็นผู้เผยแพร่ประเภทไพโอเนียร์ หรือผู้ประกาศราชอาณาจักรเต็มเวลา ตั้งแต่ปี 1996. เธอออกความเห็นว่า “ด้วยพระพรจากพระยะโฮวา ดิฉันได้บรรลุเป้านี้ ขณะที่ดิฉันได้รับการเกื้อหนุนจากพี่น้องหญิงที่รักของดิฉันซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยดิฉันในการประกาศเท่านั้น แต่ยังช่วยดิฉันให้สอน เพื่อดิฉันจะนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล 11 รายที่ตัวเองได้เริ่มไว้แล้ว.”
อีกตัวอย่างหนึ่งที่ดีคือเอมิเลียซึ่งได้ประสบอุบัติเหตุที่ทำให้เธอต้องใช้เก้าอี้ล้อเนื่องจากการบาดเจ็บที่ขาและกระดูกสันหลัง. พยานพระยะโฮวาในเม็กซิโกซิตีได้ศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับเธอ และเธอได้รับบัพติสมาในปี 1996. เอมิเลียกล่าวว่า “ก่อนรู้จักความจริง ดิฉันต้องการฆ่าตัวตาย; ดิฉันไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป. ดิฉันรู้สึกว่าตัวเองช่างไร้ค่าเหลือเกิน และร้องไห้ทั้งกลางวันและกลางคืน. แต่เมื่อได้คบหากับประชาชนของพระยะโฮวา ดิฉันรู้สึกถึงความรักของสังคมพี่น้อง. ความสนใจเป็นส่วนตัวที่พวกเขาแสดงต่อดิฉันทำให้มีกำลังใจ. ผู้ปกครองคนหนึ่งเป็นเหมือนพี่ชายหรือพ่อสำหรับดิฉัน. เขาและผู้ช่วยงานรับใช้บางคนพาดิฉันไปยังการประชุมและในงานเผยแพร่โดยที่ดิฉันนั่งเก้าอี้ล้อ.”
โฮเซซึ่งได้รับบัพติสมาเป็นพยานพระยะโฮวาในปี 1992 อยู่คนเดียว. เขาอายุ 70 ปี ปลดเกษียณในปี 1990. โฮเซเคยรู้สึกซึมเศร้า แต่หลังจากที่พยานฯ คนหนึ่งได้ประกาศเผยแพร่แก่เขาแล้ว เขาเริ่มเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนฟิลิปปอย 1:1; 1 เปโตร 5:2) เพื่อนร่วมความเชื่อดังกล่าวเป็น “ผู้ช่วยเสริมกำลัง” เขา. (โกโลซาย 4:11, ล.ม.) คนเหล่านี้พาเขาไปหาหมอ, มาเยี่ยมที่บ้าน, และได้ให้กำลังใจเขาระหว่างรับการผ่าตัดสี่ครั้ง. เขากล่าวว่า “พวกเขาแสดงความห่วงใยผม. พวกเขาเป็นครอบครัวของผมอย่างแท้จริง. ผมชอบความเป็นเพื่อนของพวกเขา.”
ทันที. เขาชอบสิ่งที่ได้ยินและเห็นที่นั่น. ตัวอย่างเช่น เขาได้สังเกตเห็นความเป็นมิตรของพวกพี่น้องและรู้สึกถึงความห่วงใยที่พี่น้องมีให้เขาเป็นส่วนตัว. ตอนนี้ผู้ปกครองและผู้ช่วยงานรับใช้ในประชาคมดูแลเอาใจใส่เขา. (การให้ทำให้มีความสุขแท้
เมื่อกษัตริย์ซะโลโมตรัสว่า “สองคนก็ดีกว่าคนเดียว” ท่านเพิ่งกล่าวถึงความไร้ประโยชน์ของการทุ่มเทพลังทั้งสิ้นของคนเราเพื่อได้มาซึ่งความมั่งคั่งทางวัตถุ. (ท่านผู้ประกาศ 4:7-9) นั่นแหละเป็นสิ่งที่หลายคนมุ่งติดตามด้วยใจจดจ่อในทุกวันนี้ ถึงแม้นี่หมายถึงการสละความสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกครอบครัว.
น้ำใจของความโลภและความเห็นแก่ตัวเช่นนั้นได้ชักนำให้หลายคนแยกตัวอยู่ต่างหากจากคนอื่น. การทำเช่นนี้ไม่ได้ก่อความสุขหรือความพอใจในชีวิต เพราะความข้องขัดใจและความสิ้นหวังเป็นเรื่องธรรมดาในท่ามกลางคนเหล่านั้นที่ยอมจำนนต่อน้ำใจดังกล่าว. ตรงกันข้าม เรื่องราวที่เพิ่งเล่าไปแสดงให้เห็นผลดีจากการคบหาสมาคมกับคนเหล่านั้นที่รับใช้พระยะโฮวาและผู้ซึ่งได้รับแรงจูงใจจากความรักที่มีต่อพระองค์และต่อเพื่อนบ้าน. การเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนเป็นประจำ, การเกื้อหนุนและความห่วงใยของเพื่อนคริสเตียน, และกิจการงานที่ทำด้วยใจแรงกล้าในงานเผยแพร่เป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยบุคคลเหล่านี้ให้เอาชนะความรู้สึกในแง่ลบที่เกี่ยวข้องกับการแยกตัวอยู่ต่างหากจากคนอื่น.—สุภาษิต 17:17; เฮ็บราย 10:24, 25.
เนื่องจากเราพึ่งพาอาศัยกันและกัน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่การทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อคนอื่นก่อให้เกิดความพอใจ. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ซึ่งงานของเขาเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นได้กล่าวว่า “คุณค่าของคน . . . น่าจะปรากฏให้เห็นในสิ่งที่เขาให้ ไม่ใช่ในสิ่งที่เขาสามารถรับได้.” คำพูดนี้สอดคล้องกับคำตรัสของพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราที่ว่า “การให้ทำให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ.” (กิจการ 20:35, ล.ม.) เพราะฉะนั้น ขณะที่การได้รับความรักเป็นสิ่งที่ดี การแสดงความรักต่อคนอื่นก็ส่งเสริมให้มีสุขภาพทางอารมณ์และทางกายดีด้วย.
ผู้ดูแลเดินทางคนหนึ่งซึ่งได้เยี่ยมประชาคมต่าง ๆ เป็นเวลาหลายปีเพื่อให้การช่วยเหลือฝ่ายวิญญาณและเป็นผู้ที่ได้ช่วยในการสร้างสถานที่ประชุมสำหรับคริสเตียนซึ่งมีทุนทรัพย์น้อยได้แสดงความรู้สึกออกมาทำนองนี้: “ความยินดีที่ได้รับใช้พี่น้องของผมและเห็นใบหน้าพวกเขาเปี่ยมด้วยความหยั่งรู้คุณค่ากระตุ้นผมให้หาโอกาสที่จะช่วยเหลือต่อไป. ผมมีประสบการณ์แล้วว่าการแสดงความสนใจเป็นส่วนตัวต่อคนอื่นเป็นปัจจัยสำคัญนำไปสู่ความสุข. และผมรู้ว่าในฐานะเป็นผู้ปกครอง เราควรเป็น ‘เหมือนที่หลบซ่อนให้พ้นลม . . . เหมือนสายธารในประเทศที่แล้งน้ำ เหมือนร่มเงาแห่งหินผาใหญ่ในแดนกันดาร.’”—ยะซายา 32:2, ล.ม.
น่าชื่นชมสักเพียงไรที่อยู่ร่วมกันเป็นเอกภาพ!
แน่นอน มีผลประโยชน์มากมายและความสุขแท้ในการช่วยเหลือคนอื่นและแสวงหามิตรภาพกับคนเหล่านั้นที่รับใช้พระยะโฮวา. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญได้เปล่งเสียงร้องว่า “ดูเถิด! นับว่าดีและน่าชื่นชมสักเพียงไรที่พวกพี่น้องอยู่บทเพลงสรรเสริญ 133:1, ล.ม.) เอกภาพของครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญในการเกื้อหนุนกันและกัน ดังที่กรณีของมีเกล, ฟรอยลัน, และแอลมา รูทแสดงให้เห็นนั้น. และนับว่าเป็นพระพรอะไรเช่นนี้ที่จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการนมัสการแท้! หลังจากให้คำแนะนำแก่สามีและภรรยาที่เป็นคริสเตียนแล้ว อัครสาวกเปโตรเขียนว่า “ในที่สุด ท่านทั้งหลายทุกคน จงมีความคิดจิตใจอย่างเดียวกัน, แสดงความเห็นอกเห็นใจ, มีความรักใคร่ฉันพี่น้อง, ความเมตตาสงสารอันอ่อนละมุน, จิตใจถ่อม.”—1 เปโตร 3:8, ล.ม.
ร่วมกันเป็นเอกภาพ!” (มิตรภาพแท้ก่อผลประโยชน์มากมาย ทั้งทางด้านอารมณ์และด้านวิญญาณ. เมื่อกล่าวต่อเพื่อนร่วมความเชื่อ อัครสาวกเปาโลกระตุ้นเตือนว่า “[จง] พูดปลอบโยนจิตวิญญาณที่หดหู่ใจ เกื้อหนุนคนที่อ่อนแอ อดกลั้นไว้นานต่อคนทั้งปวง. . . . จงมุ่งทำสิ่งดีต่อกันและต่อคนอื่นทุกคนเสมอ.”—1 เธซะโลนิเก 5:14, 15, ล.ม.
เพราะฉะนั้น จงมองหาวิธีที่ใช้ได้จริงในการทำดีต่อคนอื่น. “ให้ . . . ทำการดีต่อคนทั้งปวง แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ที่สัมพันธ์กับ [คุณ] ในความเชื่อ” เพราะการทำเช่นนี้จะทำให้ชีวิตคุณมีความหมายแท้มากขึ้นและจะส่งเสริมความอิ่มใจพอใจ. (ฆะลาเตีย 6:9, 10, ล.ม.) ยาโกโบสาวกของพระเยซูเขียนว่า “ถ้าพี่น้องชายหญิงใด ๆ ไม่มีเสื้อผ้าและขัดสนอาหารประจำวัน, และในพวกท่านมีคนใดว่าแก่เขาว่า, ‘เชิญให้ไปเป็นสุขเถิด ขอให้อบอุ่นและอิ่มเถิด’ และท่านไม่ได้ให้อะไร ๆ ที่เขาต้องการสำหรับตัวนั้น, จะเป็นประโยชน์อะไร?” (ยาโกโบ 2:15, 16) คำตอบสำหรับคำถามนั้นเห็นได้ชัด. เราต้อง “คอยดูด้วยความสนใจเป็นส่วนตัวไม่เพียงเรื่องของเราเองเท่านั้น แต่สนใจเป็นส่วนตัวในเรื่องของคนอื่น ๆ ด้วย.”—ฟิลิปปอย 2:4, ล.ม.
นอกจากการช่วยคนอื่นทางด้านวัตถุเมื่อมีความจำเป็นพิเศษหรือเมื่อเกิดภัยพิบัติบางอย่างแล้ว พยานพระยะโฮวาหมกมุ่นในการอำนวยประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ในวิธีที่สำคัญยิ่ง คือโดยการประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า. (มัดธาย 24:14) การที่พยานฯ มากกว่า 6,000,000 คนมีส่วนร่วมในการประกาศข่าวสารเกี่ยวกับความหวังและการปลอบโยนนี้เป็นหลักฐานแสดงว่าพวกเขามีความสนใจด้วยความรักอย่างจริงใจต่อคนอื่น. แต่การให้ความช่วยเหลือจากพระคัมภีร์บริสุทธิ์ยังช่วยสนองความจำเป็นของมนุษย์อีกด้านหนึ่งด้วย. ความจำเป็นนั้นคืออะไร?
การสนองความจำเป็นที่สำคัญยิ่ง
เพื่อประสบความสุขแท้ เราต้องมีสัมพันธภาพที่เหมาะสมกับพระเจ้า. มีการกล่าวไว้ว่า “ความเป็นจริงที่ว่า ตลอดทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่ตอนเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน มนุษย์ทุกแห่งหนรู้สึกถึงแรงกระตุ้นที่จะร้องเรียกสิ่งที่เขาเชื่อว่าสูงกว่าและมีอำนาจมากกว่าตนเอง แสดงว่าศาสนามีติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิดและควรยอมรับว่ามีหลักเกณฑ์. . . . เราควรยอมรับด้วยความเกรงขาม, ความประหลาดใจ, และความเคารพที่เห็นมนุษย์ทุกหนทุกแห่งแสวงหา และมีความเชื่อในผู้ใหญ่ยิ่งสูงสุด.”—มนุษย์ไม่ได้อยู่โดยลำพัง (ภาษาอังกฤษ) โดย เอ. เครสซี มอร์ริสัน.
พระเยซูคริสต์ตรัสว่า “ความสุขมีแก่ผู้ที่รู้สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของตน.” (มัดธาย 5:3, ล.ม.) ผู้คนไม่อาจจะดำเนินชีวิตอย่างราบรื่นเมื่อแยกตัวอยู่โดดเดี่ยวจากคนอื่นเป็นเวลานาน. แต่การที่เราแยกตัวจากพระผู้สร้างของเราเป็นเรื่องร้ายแรงมากยิ่งกว่านั้นอีก. (วิวรณ์ 4:11) การได้มาซึ่ง “ความรู้ของพระเจ้า” แล้วนำไปใช้ควรเป็นส่วนสำคัญในชีวิตเรา. (สุภาษิต 2:1-5) ที่จริง เราควรตั้งใจที่จะสนองความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของเรา เพราะเราไม่อาจอยู่โดยลำพังและแยกต่างหากจากพระเจ้าได้. ชีวิตที่มีความสุขและให้ผลตอบแทนอย่างแท้จริงขึ้นอยู่กับการมีสัมพันธภาพที่ดีกับพระยะโฮวา “ผู้สูงสุดเหนือแผ่นดินโลกทั้งสิ้น.”—บทเพลงสรรเสริญ 83:18, ฉบับแปลใหม่.
[ภาพหน้า 5]
มีเกล: “ผมได้ผ่านช่วงวิกฤติมาหลายครั้ง แต่เมื่อผมเริ่มคบหากับประชาชนของพระยะโฮวา ชีวิตผมได้เปลี่ยนไป”
[ภาพหน้า 5]
แอลมา รูท: “เมื่อได้เรียนรู้เรื่องพระยะโฮวา ดิฉันรู้สึกว่าตัวเองสามารถมีสัมพันธภาพใกล้ชิดกับพระองค์ได้”
[ภาพหน้า 6]
เอมิเลีย: “ก่อนรู้จักความจริง . . . ดิฉันรู้สึกว่าตัวเองช่างไร้ค่าเหลือเกิน”
[ภาพหน้า 7]
การคบหาสมาคมกับผู้นมัสการแท้ช่วยสนองความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของเรา