การสนทนาเรื่องฝ่ายวิญญาณเป็นการเสริมสร้าง
การสนทนาเรื่องฝ่ายวิญญาณเป็นการเสริมสร้าง
“อย่าให้คำหยาบช้าออกมาจากปากท่านทั้งหลายเลย แต่ให้เป็นคำกล่าวใด ๆ ที่ดีเพื่อเสริมสร้างตามความจำเป็น เพื่อจะเกิดคุณประโยชน์แก่คนที่ได้ยินได้ฟัง.”—เอเฟโซ 4:29, ล.ม.
1, 2. (ก) ความสามารถในการพูดของมนุษย์มีค่ามากสักเพียงไร? (ข) ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาปรารถนาใช้ความสามารถในการพูดของตนในทางใด?
“ความสามารถในการพูดของมนุษย์เป็นเรื่องลึกลับ, เป็นของประทานจากพระเจ้า, และน่าอัศจรรย์.” ลุดวิก เคอเลอร์ ผู้เรียบเรียงปทานุกรมเขียนไว้เช่นนั้น. เราอาจถือว่าของประทานจากพระเจ้าอันล้ำค่านี้เป็นสิ่งธรรมดา. (ยาโกโบ 1:17) แต่ขอพิจารณาว่าเป็นการสูญเสียสิ่งมีค่าไปสักเพียงไร เมื่อโรคเส้นเลือดสมองทำให้คนที่เรารักไม่สามารถพูดรู้เรื่องได้. โจน ซึ่งสามีของเธอเพิ่งป่วยเป็นโรคเส้นเลือดสมองเมื่อไม่นานมานี้ เล่าว่า “เรามีการสนทนาที่แสนวิเศษซึ่งทำให้เราทั้งสองใกล้ชิดกันมาก. ฉันเสียใจจริง ๆ ที่เราไม่สามารถสนทนากันได้อย่างนั้นอีกต่อไป!”
2 การสนทนาเชื่อมมิตรภาพ, แก้ไขความเข้าใจผิด, หนุนกำลังใจผู้ที่ท้อใจ, เสริมความเชื่อให้เข้มแข็ง, และทำให้ชีวิตมีความหมายขึ้น—แต่ก็ไม่ได้เป็นอย่างนี้โดยอัตโนมัติ. กษัตริย์ซะโลโมผู้ชาญฉลาดให้ข้อสังเกตว่า “คำพูดพล่อย ๆ ของคนบางจำพวกเหมือนการแทงของกระบี่; แต่ลิ้นของคนมีปัญญาย่อมรักษาแผลให้หาย.” (สุภาษิต 12:18) ฐานะผู้รับใช้ของพระยะโฮวา เราปรารถนาให้การสนทนาของเราเป็นการเยียวยาและเสริมสร้าง ไม่ใช่ทำให้เจ็บใจและรื้อทำลาย. นอกจากนี้ เราอยากใช้ความสามารถในการพูดของเราเพื่อสรรเสริญพระยะโฮวา ไม่ว่าในงานเผยแพร่หรือในการสนทนาส่วนตัว. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญร้องเพลงดังนี้: “ข้าพเจ้าทั้งหลายจะถวายคำสรรเสริญแด่พระเจ้าตลอดทั้งวัน และข้าพเจ้าทั้งหลายจะยกย่องพระนามของพระองค์จนถึงเวลาไม่กำหนด.”—บทเพลงสรรเสริญ 44:8, ล.ม.
3, 4. (ก) เราทุกคนเผชิญปัญหาอะไรในเรื่องการพูด? (ข) ทำไมการที่เราจะพูดอะไรนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ?
3 สาวกยาโกโบเตือนว่า “ลิ้นนั้น ไม่มีมนุษย์คนใดสามารถทำให้เชื่องได้.” ท่านเตือนให้เราระลึกว่า “เราทุกคนต่างก็พลาดพลั้งกันหลายครั้ง. ถ้าผู้ใดไม่พลาดพลั้งในวาจา ผู้นั้นก็เป็นคนสมบูรณ์ สามารถเหนี่ยวรั้งทั้งร่างกายของตนได้ด้วย.” (ยาโกโบ 3:2, 8, ล.ม.) ไม่มีใครในพวกเราเป็นคนสมบูรณ์. ฉะนั้น ถึงแม้เราตั้งใจอย่างดีที่สุด คำพูดของเราก็อาจไม่เสริมสร้างคนอื่น หรือถวายการสรรเสริญแด่พระผู้สร้างของเราเสมอไป. ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะระวังคำพูด. ยิ่งกว่านั้น พระเยซูตรัสว่า “คำที่ไม่เป็นสาระทุกคำซึ่งมนุษย์พูดนั้น เขาจะต้องให้การเกี่ยวด้วยคำเหล่านั้นในวันพิพากษา; เพราะโดยคำพูดของท่าน ท่านจะได้รับการประกาศว่าเป็นคนชอบธรรม และโดยคำพูดของท่าน ท่านจะต้องถูกตัดสินลงโทษ.” (มัดธาย 12:36, 37, ล.ม.) ถูกแล้ว พระเจ้าเที่ยงแท้ทรงถือว่าเราต้องรับผิดชอบต่อคำพูดของเรา.
4 วิธีป้องกันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งเพื่อไม่ให้พูดอย่างที่ก่อผลเสียหายคือ พัฒนานิสัยที่จะร่วมในการสนทนาเรื่องฝ่ายวิญญาณ. บทความนี้จะพิจารณาว่าเราจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร, เราจะสนทนาเรื่องแบบไหนได้บ้าง, และเราได้ผลประโยชน์อะไรจากการสนทนาที่เสริมสร้าง.
จงเอาใจใส่สิ่งที่อยู่ในหัวใจของเรา
5. หัวใจมีบทบาทสำคัญอย่างไรในการส่งเสริมให้มีการสนทนาที่เสริมสร้าง?
5 เพื่อจะสร้างนิสัยที่จะร่วมในการสนทนาที่เสริมสร้าง มัดธาย 12:34) โดยพื้นฐานแล้ว เราชอบพูดในเรื่องที่เราให้ความสำคัญ. ดังนั้น เราต้องถามตัวเองว่า ‘การสนทนาของฉันเผยอะไรเกี่ยวกับสภาพหัวใจของฉัน? เมื่อฉันอยู่กับครอบครัวหรือเพื่อนร่วมความเชื่อ การสนทนาของฉันรวมจุดอยู่ที่เรื่องฝ่ายวิญญาณ หรือว่าวนเวียนอยู่กับเรื่องกีฬา, เสื้อผ้า, ภาพยนตร์, อาหารการกิน, ของชิ้นใหม่ที่ซื้อมา, หรือเรื่องสัพเพเหระต่าง ๆ?’ ชีวิตและความคิดของเราอาจเริ่มหมกมุ่นอยู่กับเรื่องที่มีความสำคัญน้อยกว่าโดยไม่รู้ตัว. การปรับเปลี่ยนลำดับความสำคัญเสียใหม่จะช่วยปรับปรุงการสนทนาและพัฒนาชีวิตของเรา.—ฟิลิปปอย 1:10.
เราต้องตระหนักก่อนว่าคำพูดของเราเผยให้เห็นสิ่งที่อยู่ในหัวใจเรา. พระเยซูตรัสว่า “ใจเต็มบริบูรณ์ด้วยอะไรปากก็พูดอย่างนั้น.” (6. การคิดรำพึงมีบทบาทเช่นไรในการสนทนาของเรา?
6 การคิดรำพึงอย่างมีความหมายเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะปรับปรุงคุณภาพการสนทนาของเรา. ถ้าเราเพียรพยายามอย่างจริงจังในการคิดรำพึงเรื่องฝ่ายวิญญาณ เราจะพบว่าการสนทนาเรื่องฝ่ายวิญญาณจะออกมาเอง. กษัตริย์ดาวิดเห็นความเกี่ยวข้องกันนี้. ท่านร้องเพลงว่า “ข้าแต่พระเจ้า . . . ขอให้ถ้อยคำจากปากของข้าพระองค์และการรำพึงภาวนาในจิตใจเป็นที่โปรดปรานในสายพระเนตรของพระองค์เถิด.” (บทเพลงสรรเสริญ 19:14, ฉบับแปลใหม่) และอาซาฟผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญกล่าวว่า “ข้าพเจ้าจะใคร่ครวญดูบรรดากิจการของพระองค์ด้วย, และจะรำพึงถึงกิจการที่พระองค์ได้ทรงกระทำนั้น.” (บทเพลงสรรเสริญ 77:12) คำพูดที่น่าสรรเสริญย่อมพรั่งพรูออกมาจากหัวใจและจิตใจที่จดจ่ออยู่กับความจริงแห่งพระคำของพระเจ้า. ยิระมะยาไม่อาจยับยั้งตัวเองไม่ให้พูดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่พระยะโฮวาได้สอนท่าน. (ยิระมะยา 20:9) เราก็จะเป็นอย่างนั้นด้วยหากเราไตร่ตรองเรื่องฝ่ายวิญญาณเป็นประจำ.—1 ติโมเธียว 4:15.
7, 8. เรื่องอะไรที่เหมาะกับการสนทนาที่เสริมสร้าง?
7 การมีกิจวัตรฝ่ายวิญญาณที่ดีทำให้เรามีเรื่องมากมายเพื่อการสนทนาที่เสริมสร้าง. (ฟิลิปปอย 3:16) การประชุมใหญ่, การประชุมของประชาคม, สิ่งพิมพ์เล่มล่าสุด, และข้อพระคัมภีร์ประจำวันพร้อมคำอธิบายที่พิมพ์ไว้ ล้วนทำให้เรามีอัญมณีฝ่ายวิญญาณที่จะสามารถแบ่งปันแก่ผู้อื่น. (มัดธาย 13:52) และประสบการณ์ของเราจากงานรับใช้ฝ่ายคริสเตียนให้การกระตุ้นหนุนใจฝ่ายวิญญาณสักเพียงไร!
8 กษัตริย์ซะโลโมตื่นตาตื่นใจกับบรรดาต้นไม้, สัตว์ป่า, นก, และปลานานาพันธุ์ที่ท่านสังเกตเห็นในอิสราเอล. (1 กษัตริย์ 4:33) ท่านมีความสุขในการสนทนาเรื่องราชกิจทรงสร้างของพระเจ้า. เราทำได้อย่างเดียวกัน. ผู้รับใช้พระยะโฮวาเพลิดเพลินกับการพูดคุยเรื่องต่าง ๆ ที่หลากหลาย แต่เรื่องฝ่ายวิญญาณเป็นหัวข้อสนทนาที่ให้ความเพลิดเพลินเสมอแก่ผู้ที่สนใจสิ่งฝ่ายวิญญาณ.—1 โกรินโธ 2:13.
“จงใคร่ครวญสิ่งเหล่านี้ต่อ ๆ ไป”
9. เปาโลให้คำแนะนำอะไรแก่ชาวฟิลิปปี?
9 ไม่ว่าเราจะพูดคุยเรื่องอะไร การสนทนาของเราจะเสริมสร้างผู้อื่นเสมอ ถ้าการสนทนานั้นเป็นไปตามคำแนะนำที่อัครสาวกเปาโลให้กับประชาคมฟิลิปปี. ท่านเขียนว่า “สิ่งใดที่จริง, สิ่งใดที่น่าเอาใจใส่อย่างจริงจัง, สิ่งใดที่ชอบธรรม, สิ่งใดที่บริสุทธิ์, สิ่งใดที่น่ารัก, สิ่งใดที่กล่าวถึงในทางดี, มีคุณความดีประการใดและมีสิ่งน่าสรรเสริญประการใด ก็จงใคร่ครวญสิ่งเหล่านี้ต่อ ๆ ไป.” (ฟิลิปปอย 4:8, ล.ม.) สิ่งต่าง ๆ ที่เปาโลกล่าวถึงนั้นมีความสำคัญจนท่านกล่าวว่า “จงใคร่ครวญ สิ่งเหล่านี้ ต่อ ๆ ไป.” เราควรบรรจุจิตใจและหัวใจของเราด้วยสิ่งเหล่านี้. ดังนั้น ให้เรามาพิจารณากันว่าการเอาใจใส่แต่ละอย่างในแปดสิ่งที่เปาโลกล่าวถึงจะช่วยเราในเรื่องการสนทนาได้อย่างไร.
10. การสนทนาของเราจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่จริงได้อย่างไร?
10 สิ่งที่จริง ไม่ได้หมายถึงเพียงแต่ข้อมูลที่ถูกต้องและไม่ผิดพลาด. คำนี้พาดพิงถึงสิ่งที่ซื่อตรงและเชื่อถือได้ เช่น ความจริงแห่งพระคำของพระเจ้า. เพราะฉะนั้น เมื่อเราพูดคุยกับคนอื่นในเรื่องความจริงจากคัมภีร์ไบเบิลที่ประทับใจเรา, คำบรรยายที่หนุนใจ, หรือคำแนะนำจากพระคัมภีร์ที่เป็นประโยชน์แก่เรา เรากำลังใคร่ครวญสิ่งที่จริง. ในอีกด้านหนึ่ง เราปฏิเสธ “สิ่งที่เรียกกันผิด ๆ ว่า ‘ความรู้’” ซึ่งเพียงแต่ดูเหมือนว่าจริง. (1 ติโมเธียว 6:20, ล.ม.) นอกจากนี้ เราหลีกเลี่ยงการบอกต่อเรื่องซุบซิบหรือประสบการณ์น่าสงสัยที่ไม่อาจตรวจสอบความจริงได้.
11. มีสิ่งที่น่าเอาใจใส่อย่างจริงจังอะไรที่สามารถรวมอยู่ในการสนทนาของเราได้?
11 สิ่งที่น่าเอาใจใส่อย่างจริงจัง คือเรื่องต่าง ๆ ที่น่านับถือกิจการ 14:27; 2 ติโมเธียว 3:1-5.
และสำคัญ ไม่ใช่เรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง. นี่รวมถึงเรื่องสำคัญที่เกี่ยวกับงานรับใช้ฝ่ายคริสเตียน, สมัยวิกฤติที่เรามีชีวิตอยู่, และความจำเป็นที่เราจะต้องรักษาความประพฤติที่ดี. เมื่อเราพูดคุยเรื่องที่น่าเอาใจใส่อย่างจริงจังเช่นนั้น เราเสริมความตั้งใจของเราที่จะตื่นตัวฝ่ายวิญญาณอยู่เสมอ, รักษาความซื่อสัตย์มั่นคง, และทำงานประกาศข่าวดีต่อ ๆ ไป. อันที่จริง ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจในงานรับใช้ของเรา และเหตุการณ์ในปัจจุบันที่เตือนให้ระลึกว่าเรากำลังมีชีวิตในสมัยสุดท้าย ล้วนเป็นเรื่องที่เราสามารถนำมาใช้เพื่อการสนทนาที่กระตุ้นหนุนใจ.—12. เราพึงหลีกเลี่ยงอะไร เมื่อคำนึงถึงคำแนะนำของเปาโลที่ให้ใคร่ครวญสิ่งที่ชอบธรรมและบริสุทธิ์?
12 คำว่าชอบธรรม หมายถึงถูกต้องในสายพระเนตรของพระเจ้าหรือบรรลุมาตรฐานของพระองค์. คำว่าบริสุทธิ์ ถ่ายทอดแนวความคิดเรื่องความบริสุทธิ์ในความคิดและการกระทำ. คำพูดให้ร้าย, เรื่องตลกโลนลามก, หรือคำพูดสองแง่สองง่ามไม่ควรให้มีอยู่ในการสนทนาของเรา. (เอเฟโซ 5:3; โกโลซาย 3:8) ไม่ว่าในที่ทำงานหรือที่โรงเรียน คริสเตียนที่ฉลาดจะถอนตัว หากการสนทนากันเริ่มส่อไปในทำนองนั้น.
13. จงยกตัวอย่างการสนทนาซึ่งรวมจุดอยู่กับสิ่งที่น่ารักและที่กล่าวถึงในทางดี.
13 เมื่อเปาโลแนะนำให้ใคร่ครวญสิ่งที่น่ารัก ท่านหมายถึงเรื่องที่ยังความเพลิดเพลิน, น่าพอใจ, หรือเร้าให้เกิดความรัก ไม่ใช่เรื่องที่กระตุ้นความเกลียดชัง, ความขมขื่น, หรือความขัดแย้ง. สิ่งที่กล่าวถึงในทางดี เกี่ยวข้องกับกิตติศัพท์หรือรายงานในทางดี. รายงานที่ดีเหล่านั้นคงจะรวมถึงเรื่องราวชีวิตของพี่น้องที่ซื่อสัตย์ ซึ่งพิมพ์ลงในวารสารหอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! เป็นประจำ. ดีไหมที่จะเล่าเรื่องที่คุณประทับใจให้คนอื่นฟังหลังจากที่ได้อ่านบทความที่เสริมสร้างความเชื่อเหล่านั้นแล้ว? นอกจากนี้ การได้ยินเรื่องการบรรลุผลฝ่ายวิญญาณของคนอื่น ๆ ก็เป็นการหนุนใจสักเพียงไร! การสนทนาที่ว่ามานี้ย่อมจะเสริมสร้างความรักและเอกภาพในประชาคม.
14. (ก) การสำแดงคุณความดีเรียกร้องให้เราทำอะไร? (ข) คำพูดของเราจะรวมเอาสิ่งน่าสรรเสริญไว้ได้อย่างไร?
14 เปาโลกล่าวถึง “สิ่งใดที่ . . . มีคุณความดี.” คุณความดี หมายถึงคุณงามความดีและความเป็นเลิศด้านศีลธรรม. เราต้องคอยระวังให้คำพูดของเราได้รับการชี้นำจากหลักการในพระคัมภีร์และไม่หันเหไปจากสิ่งที่ชอบธรรม, บริสุทธิ์, และที่มีคุณความดี. น่าสรรเสริญ หมายถึง “สมควรได้รับคำยกย่องชมเชย.” ถ้าคุณได้ฟังคำบรรยายดี ๆ หรือเห็นตัวอย่างแห่งความซื่อสัตย์ในประชาคม จงพูดเรื่องนั้น—ทั้งกับตัวเขาและคนอื่น ๆ. อัครสาวกเปาโลกล่าวชมคุณลักษณะที่ดีของเพื่อนผู้นมัสการอยู่บ่อย ๆ. (โรม 16:12; ฟิลิปปอย 2:19-22; ฟิเลโมน 4-7) และแน่นอน พระหัตถกิจของพระผู้สร้างของเราสมควรได้รับการสรรเสริญอย่างแท้จริง. ในประเด็นนี้ เรามีเรื่องมากมายที่จะพูดเพื่อเสริมสร้างกันขึ้น.—สุภาษิต 6:6-8; 20:12; 26:2.
จงร่วมการสนทนาที่เสริมสร้าง
15. พระบัญชาอะไรจากพระคัมภีร์ที่เรียกร้องให้บิดามารดามีการสนทนาที่เสริมสร้างกับบุตรของตน?
15 พระบัญญัติ 6:6, 7 กล่าวดังนี้: “ถ้อยคำเหล่านี้, ซึ่งเราสั่งไว้แก่เจ้าทั้งหลายในวันนี้, ก็ให้ตั้งอยู่ในใจของเจ้าทั้งหลาย; และจงอุตส่าห์สั่งสอนบุตรทั้งหลายของเจ้าด้วยถ้อยคำเหล่านี้, และเมื่อเจ้าทั้งหลายจะนั่งอยู่ในเรือน หรือเดินในหนทาง, หรือนอนลง, และตื่นขึ้น.” เห็นได้ชัดว่าพระบัญชาข้อนี้เรียกร้องให้บิดามารดามีการสนทนาในเรื่องฝ่ายวิญญาณที่เสริมสร้างกับบุตรของตน.
16, 17. บิดามารดาคริสเตียนเรียนรู้อะไรได้จากตัวอย่างของพระยะโฮวาและอับราฮาม?
16 เราอาจนึกภาพการสนทนาที่พระเยซูคงมีกับพระบิดาฝ่ายสวรรค์ของพระองค์เป็นเวลานาน เมื่อทั้งสองพระองค์พิจารณากันถึงงานมอบหมายทางแผ่นดินโลกของพระเยซู. พระเยซูบอกเหล่าสาวกดังนี้: “พระบิดาผู้ทรงใช้เรามานั่นแหละที่ทรงบัญชาเราว่าจะบอกอะไรหรือจะพูดอะไร.” (โยฮัน 12:49, ล.ม.; พระบัญญัติ 18:18) อับราฮามปฐมบรรพบุรุษคงต้องพูดคุยกับยิศฮาคบุตรชายเป็นเวลาหลายชั่วโมงว่า พระยะโฮวาได้อวยพรพวกเขาและบรรพบุรุษของเขาอย่างไร. การสนทนาเหล่านั้นย่อมช่วยทั้งพระเยซูและยิศฮาคให้พร้อมยอมทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าด้วยความถ่อมใจ.—เยเนซิศ 22:7-9; มัดธาย 26:39.
17 บุตรของเราต้องการการสนทนาที่เสริมสร้างเช่นกัน. บิดามารดาต้องหาเวลาจากตารางเวลาที่แน่นมากของตน
เพื่อพูดคุยกับบุตร. ถ้าทำได้ จัดให้มีการรับประทานอาหารพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัวอย่างน้อยวันละหนึ่งมื้อดีไหม? ทั้งระหว่างและหลังรับประทานอาหาร มีโอกาสที่จะพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เสริมสร้างกัน ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์มากต่อสุขภาพฝ่ายวิญญาณของครอบครัว.18. จงเล่าประสบการณ์ที่แสดงถึงผลประโยชน์ของการติดต่อสนทนาที่ดีระหว่างบิดามารดากับบุตร.
18 อะเลฮานโดร ไพโอเนียร์ที่มีอายุ 20 เศษ ๆ จำได้ถึงข้อสงสัยที่เขาเคยมีตอนอายุ 14. เขาเล่าว่า “เนื่องจากอิทธิพลของเพื่อนนักเรียนและครู ผมสงสัยเรื่องการดำรงอยู่ของพระเจ้าและความน่าเชื่อถือของคัมภีร์ไบเบิล. พ่อกับแม่ใช้เวลาหลายชั่วโมงหาเหตุผลกับผมอย่างใจเย็น. การพูดคุยกันเรื่องดังกล่าวนอกจากจะช่วยผมเอาชนะข้อสงสัยในช่วงยุ่งยากนั้นแล้ว ยังช่วยผมให้ทำการตัดสินใจที่ถูกต้องในชีวิต.” แล้วตอนนี้ล่ะ เป็นอย่างไร? อะเลฮานโดรเล่าต่อไปว่า “ผมยังคงอยู่กับพ่อแม่. แต่เนื่องจากทั้งพ่อกับผมต่างยุ่งมากจนหาเวลาคุยกันตามลำพังได้ลำบาก. เราสองคนเลยรับประทานอาหารด้วยกันเป็นประจำสัปดาห์ละครั้งในที่ทำงานของพ่อ. ผมถือว่าการสนทนาเหล่านี้มีค่ามากจริง ๆ.”
19. ทำไมเราทุกคนจึงจำเป็นต้องมีการสนทนาเรื่องฝ่ายวิญญาณ?
19 เราถือว่าโอกาสที่ได้สนทนากันเรื่องฝ่ายวิญญาณอย่างเสริมสร้างกับเพื่อนร่วมความเชื่อมีค่ามากเช่นกันมิใช่หรือ? เรามีโอกาสเช่นนั้น ณ การประชุม, ระหว่างงานเผยแพร่, ในการพบปะสังสรรค์, และขณะเดินทาง. เปาโลตั้งตาคอยที่จะได้พบปะสนทนากับคริสเตียนในกรุงโรม. ท่านเขียนถึงพวกเขาว่า “ข้าพเจ้าปรารถนาจะเห็นหน้าท่านทั้งหลาย . . . เพื่อข้าพเจ้ากับท่านทั้งหลายจะได้หนุนใจซึ่งกันและกันโดยความเชื่อของเราทั้งสองฝ่าย.” (โรม 1:11, 12) โยฮันเนส ซึ่งเป็นคริสเตียนผู้ปกครอง ให้ข้อสังเกตว่า “การสนทนาเรื่องฝ่ายวิญญาณกับเพื่อนคริสเตียนสนองความจำเป็นที่สำคัญยิ่งของเรา. การสนทนาเหล่านั้นทำให้เราสุขใจและคลายเครียดจากภาระหน้าที่ประจำวัน. บ่อยครั้ง ผมขอให้ผู้สูงอายุเล่าเกี่ยวกับชีวิตของพวกเขา และที่ว่าอะไรได้ช่วยพวกเขาให้รักษาความซื่อสัตย์. ผมพูดคุยกับหลายคนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และแต่ละคนต่างแบ่งปันความรู้และสติปัญญาที่ช่วยเสริมสร้างชีวิตผม.”
20. เราจะทำอะไรได้ถ้าสนทนากับคนขี้อาย?
20 แต่จะว่าอย่างไรถ้าดูเหมือนบางคนไม่ตอบสนองเมื่อคุณนำเรื่องฝ่ายวิญญาณขึ้นมาสนทนา? อย่าท้อถอย. คุณอาจหาโอกาสอื่น ๆ ในภายหลัง. ซะโลโมกล่าวว่า “คำพูดที่เหมาะกับกาลเทศะเปรียบเหมือนผลแอปเปิลทำด้วยทองคำใส่ไว้ในกระเช้าเงิน.” (สุภาษิต 25:11) จงแสดงความเข้าใจต่อคนที่ขี้อาย. “ความมุ่งหมายในใจคนลึกเหมือนน้ำลึก; แต่คนที่มีความเข้าใจจะยกขึ้นมาได้.” * (สุภาษิต 20:5) สำคัญที่สุด อย่าให้ท่าทีของคนอื่นยับยั้งคุณไม่ให้พูดสิ่งที่ประทับใจคุณ.
การสนทนาเรื่องฝ่ายวิญญาณนำผลประโยชน์มาให้
21, 22. เราได้รับผลประโยชน์อะไรบ้างจากการร่วมสนทนาเรื่องฝ่ายวิญญาณ?
21 เปาโลแนะนำดังนี้: “อย่าให้คำหยาบช้าออกมาจากปากท่านทั้งหลายเลย แต่ให้เป็นคำกล่าวใด ๆ ที่ดีเพื่อเสริมสร้างตามความจำเป็น เพื่อจะเกิดคุณประโยชน์แก่คนที่ได้ยินได้ฟัง.” (เอเฟโซ 4:29, ล.ม.; โรม 10:10) การควบคุมให้การสนทนาไปในทิศทางที่ถูกต้องอาจต้องใช้ความพยายาม แต่ผลประโยชน์มีมากมาย. การสนทนากันเรื่องฝ่ายวิญญาณทำให้เราสามารถแบ่งปันความเชื่อแก่คนอื่นและเสริมสร้างภราดรภาพของพวกเรา.
22 ฉะนั้น ขอให้เราใช้ของประทานในการพูดเพื่อเสริมบทเพลงสรรเสริญ 139:4; สุภาษิต 27:11) เมื่อการสนทนาของเราเป็นเรื่องฝ่ายวิญญาณ เรามั่นใจได้ว่าพระยะโฮวาจะไม่ทรงลืมเรา. เมื่อกล่าวถึงบรรดาผู้รับใช้พระยะโฮวาในสมัยของเรา คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ในครั้งนั้นคนทั้งหลายที่ได้กลัวเกรงพระยะโฮวาก็ได้พลอยพูดเช่นนั้นด้วย, และพระยะโฮวาได้ทรงสดับ; แล้วจึงมีหนังสือบันทึกความจำ, มีนามคนทั้งหลายที่ได้ยำเกรงพระยะโฮวา, และที่ได้ระลึกถึงพระนามของพระองค์นั้นบันทึกลงต่อพักตร์พระองค์.” (มาลาคี 3:16; 4:5) ถูกแล้ว เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่การสนทนาของเราจะเป็นอย่างที่ให้การเสริมสร้างฝ่ายวิญญาณ!
สร้างคนอื่น ๆ และเพื่อสรรเสริญพระเจ้า. การสนทนาเช่นนั้นจะนำความพึงพอใจมาสู่เราและให้การหนุนใจแก่คนอื่น. ยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด การสนทนาเหล่านั้นจะทำให้พระทัยพระยะโฮวาปีติยินดี เนื่องจากพระองค์สนพระทัยการสนทนาของเรา และพระองค์ชื่นชมยินดีเมื่อเราใช้ลิ้นของเราในทางที่ถูกต้อง. ([เชิงอรรถ]
^ วรรค 20 บ่อน้ำบางแห่งในอิสราเอลลึกมาก. ที่เมืองกิบโอน นักโบราณคดีค้นพบบ่อน้ำที่ลึกราว 25 เมตร. บ่อน้ำนี้มีขั้นบันไดให้คนลงไปตักน้ำจากก้นบ่อได้.
คุณจะตอบอย่างไร?
• การสนทนาของเราเผยให้เห็นอะไรเกี่ยวกับตัวเรา?
• เราจะพูดเรื่องอะไรได้บ้างที่เสริมสร้าง?
• การสนทนามีบทบาทสำคัญอะไรในวงครอบครัวและในประชาคมคริสเตียน?
• การสนทนาที่เสริมสร้างนำผลประโยชน์อะไรมาให้?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 12]
การสนทนาที่เสริมสร้างรวมจุดอยู่ที่ . . .
“สิ่งใดที่จริง”
“สิ่งใดที่น่าเอาใจใส่อย่างจริงจัง”
“มีสิ่งน่าสรรเสริญประการใด”
“สิ่งใดที่กล่าวถึงในทางดี”
[ที่มาของภาพ]
Video cover, Stalin: U.S. Army photo; Creator book cover, Eagle Nebula: J. Hester and P. Scowen (AZ State Univ.), NASA
[ภาพหน้า 13]
ช่วงรับประทานอาหารเป็นโอกาสดีเยี่ยมที่จะสนทนาเรื่องฝ่ายวิญญาณ