การแทรกแซงของพระเจ้าเราจะคาดหมายได้ในรูปแบบใด?
การแทรกแซงของพระเจ้าเราจะคาดหมายได้ในรูปแบบใด?
ในศตวรรษที่แปดก่อนสากลศักราช ฮิศคียากษัตริย์พระชนมายุ 39 พรรษาแห่งอาณาจักรยูดาห์ทรงทราบว่าท่านประชวรด้วยโรคที่ทำให้ถึงสิ้นพระชนม์. เพราะข่าวที่ทำให้สิ้นหวังนี้ ฮิศคียาได้ทูลอ้อนวอนพระเจ้าในคำอธิษฐานเพื่อขอรักษาท่านให้หาย. พระเจ้าทรงตอบโดยทางผู้พยากรณ์ของพระองค์ว่า “เราได้ยินคำอธิษฐานของเจ้าแล้ว, เราได้เห็นน้ำตาของเจ้าแล้ว; เราจะต่อชนมายุให้เจ้ายืนยาวไปอีกสิบห้าปี.”—ยะซายา 38:1-5.
เหตุใดพระเจ้าทรงเข้าแทรกแซงในโอกาสนั้น? หลายศตวรรษก่อนหน้านั้น พระเจ้าได้ทรงสัญญากับกษัตริย์ดาวิดผู้ชอบธรรมว่า “ราชวงศ์ของเจ้าและอาณาจักรของเจ้าจะดำรงอยู่ต่อหน้าเจ้าอย่างมั่นคงเป็นนิตย์ และบัลลังก์ของเจ้าจะถูกสถาปนาไว้เป็นนิตย์.” พระเจ้าได้ทรงเปิดเผยด้วยว่าพระมาซีฮาจะ2 ซามูเอล 7:16, ฉบับแปลใหม่; บทเพลงสรรเสริญ 89:20, 26-29; ยะซายา 11:1) เมื่อฮิศคียาประชวร ท่านยังไม่มีโอรส. ดังนั้น ราชวงศ์ของดาวิดจึงตกอยู่ในอันตรายถึงคราจะสิ้นสุดลง. การแทรกแซงของพระเจ้าในกรณีของฮิศคียาก็เพื่อจุดประสงค์เฉพาะอย่างที่จะรักษาเชื้อสายที่นำไปถึงพระมาซีฮา.
ประสูติในเชื้อวงศ์ของดาวิด. (เพื่อจะปฏิบัติตามคำสัญญาของพระองค์ พระยะโฮวาได้รับการกระตุ้นให้เข้าแทรกแซงเพื่อช่วยประชาชนของพระองค์ในหลายโอกาสตลอดช่วงก่อนยุคคริสเตียน. โมเซได้ประกาศเกี่ยวกับการช่วยชาติอิสราเอลให้รอดพ้นจากการเป็นทาสในอียิปต์ว่า “เพราะพระยะโฮวาได้ทรงรักเจ้าทั้งหลาย, และเพราะพระองค์จะทรงรักษาคำปฏิญาณซึ่งพระองค์ได้ทรงปฏิญาณไว้กับปู่ย่าตายายของเจ้าทั้งหลาย, พระยะโฮวาจึงได้ทรงพาเจ้าออกมาด้วยพระหัตถ์อันทรงฤทธิ์.”—พระบัญญัติ 7:8.
ในศตวรรษแรก การแทรกแซงของพระเจ้าเป็นการส่งเสริมพระประสงค์ของพระองค์เช่นกัน. ตัวอย่างเช่น บนเส้นทางสู่เมืองดามัสกัส (ดาเมเซ็ก) ชาวยิวคนหนึ่งที่ชื่อเซาโลได้รับนิมิตอัศจรรย์ที่ยับยั้งเขามิให้ข่มเหงพวกสาวกของพระคริสต์. การเปลี่ยนศาสนาของชายผู้นี้ซึ่งได้มาเป็นอัครสาวกเปาโล มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ข่าวดีในท่ามกลางนานาชาติ.—กิจการ 9:1-16; โรม 11:13.
การแทรกแซงเป็นเรื่องปกติหรือ?
การแทรกแซงของพระเจ้าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำหรือว่าเป็นกรณียกเว้น? พระคัมภีร์แสดงอย่างชัดเจนว่าการแทรกแซงดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ. ถึงแม้พระเจ้าได้ช่วยชายหนุ่มฮีบรูสามคนให้รอดพ้นจากการถูกประหารชีวิตในเตาไฟและช่วยผู้พยากรณ์ดานิเอลจากบ่อสิงโต พระองค์ก็มิได้ดำเนินการเพื่อช่วยผู้พยากรณ์คนอื่น ๆ ให้รอดพ้นจากความ2 โครนิกา 24:20, 21; ดานิเอล 3:21-27; 6:16-22; เฮ็บราย 11:37) เปโตรได้รับการช่วยอย่างอัศจรรย์ให้ออกจากคุกที่เฮโรดอะฆะริปาที่ 1 ได้จำขังท่านไว้. กระนั้น กษัตริย์องค์เดียวกันนี้มีรับสั่งให้ประหารชีวิตอัครสาวกยาโกโบ และพระเจ้ามิได้เข้าแทรกแซงเพื่อยับยั้งอาชญากรรมครั้งนี้. (กิจการ 12:1-11) ถึงแม้พระเจ้าทรงประทานอำนาจให้พวกอัครสาวกที่จะรักษาคนป่วยและกระทั่งปลุกคนตาย พระองค์ก็ไม่ทรงยินยอมที่จะขจัด “เสี้ยนหนามในเนื้อหนัง” ที่รบกวนอัครสาวกเปาโล ซึ่งอาจเป็นความเจ็บป่วยทางกายก็ได้.—2 โกรินโธ 12:7-9; กิจการ 9:32-41; 1 โกรินโธ 12:28.
ตาย. (พระเจ้ามิได้เข้าแทรกแซงเพื่อยับยั้งคลื่นแห่งการข่มเหงที่เนโรจักรพรรดิโรมันได้กระทำต่อพวกสาวกของพระคริสต์. คริสเตียนถูกทรมาน, ถูกเผาทั้งเป็น, และถูกโยนให้สัตว์ร้าย. อย่างไรก็ตาม การต่อต้านเช่นนี้มิได้ทำให้คริสเตียนรุ่นแรกประหลาดใจ และแน่นอนไม่ได้ทำให้ความเชื่อของพวกเขาในเรื่องการดำรงอยู่ของพระเจ้าลดน้อยลง. เพราะพระเยซูได้ทรงเตือนเหล่าสาวกของพระองค์แล้วว่า พวกเขาจะถูกพาตัวมาอยู่ต่อหน้าศาลและพวกเขาควรพร้อมที่จะทนทุกข์และกระทั่งเสียชีวิตเพื่อความเชื่อ.—มัดธาย 10:17-22.
เช่นเดียวกับที่ทรงกระทำในอดีต ปัจจุบันพระเจ้าสามารถช่วยผู้รับใช้ของพระองค์ให้พ้นจากสถานการณ์อันตรายได้อย่างแน่นอน และคนเหล่านั้นที่รู้สึกว่าตนได้รับประโยชน์จากการปกป้องของพระองค์ก็ไม่ควรถูกวิจารณ์. อย่างไรก็ดี เป็นเรื่องยากที่จะพูดอย่างแน่ชัดลงไปว่าพระเจ้าทรงเข้าแทรกแซงจริงหรือไม่ในกรณีดังกล่าว. ผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระยะโฮวาหลายคนได้รับบาดเจ็บจากการระเบิดในเมืองตูลูส และคริสเตียนที่ซื่อสัตย์หลายพันคนเสียชีวิตในค่ายกักกันของนาซีและคอมมิวนิสต์ หรือตายเพราะสภาพการณ์ที่น่าเศร้าอย่างอื่น โดยที่พระเจ้ามิได้เข้าแทรกแซงเพื่อปกป้องเขา. เหตุใดพระเจ้ามิได้เข้าแทรกแซงอย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยบรรดาคนเหล่านั้นที่ได้รับความพอพระทัยจากพระองค์?—ดานิเอล 3:17, 18.
“วาระและเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดล่วงหน้า”
เมื่อมหันตภัยเกิดขึ้น ไม่ว่าใครก็อาจได้รับผลกระทบ และความซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าก็ไม่ได้เป็นตัวกำหนดเสมอไปว่าจะได้รับผลกระทบหรือไม่. ระหว่างการระเบิดในเมืองตูลูส ซึ่งอะแลงกับลีเลียนรอดชีวิตมาได้ มี 30 คนเสียชีวิตและบาดเจ็บอีกนับร้อยคน แม้ว่าไม่ใช่ความผิดของเขา. ในขอบเขตที่กว้างกว่า ผู้คนนับหมื่นตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรม, การขับรถด้วยความประมาท, หรือสงคราม และจะโทษพระเจ้าไม่ได้เนื่องจากเหตุร้ายที่พวกเขาประสบ. คัมภีร์ไบเบิลเตือนใจเราว่า “วาระและเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดล่วงหน้าย่อมบังเกิดแก่” ทุกคน.—ท่านผู้ประกาศ 9:11, ล.ม.
นอกจากนั้น มนุษย์ยังต้องประสบความเจ็บป่วย, ความชรา, และความตาย. แม้แต่บางคนที่เคยคิดว่าพระเจ้าทรงช่วยชีวิตเขาอย่างอัศจรรย์หรือทรงทำให้เขาหายป่วยโดยไม่คาดคิดก็ยังต้องตายในที่สุด. การกำจัดความเจ็บป่วยและความตาย รวมทั้ง ‘การเช็ดน้ำตาทุก ๆ หยด’ จากตาของมนุษย์ยังอยู่ในอนาคต.—วิวรณ์ 21:1-4.
เพื่อจะเป็นไปตามนั้น จำเป็นต้องมีการแทรกแซงที่มีผลกระทบกว้างไกลและทั่วถึงมากกว่าการแทรกแซงเป็นครั้งคราว. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงเหตุการณ์หนึ่งที่เรียกว่า “วันใหญ่ของพระยะโฮวา.” (ซะฟันยา 1:14, ล.ม.) ระหว่างการแทรกแซงในขอบเขตที่ใหญ่โตนี้ พระเจ้าจะทรงกำจัดความชั่วทั้งสิ้น. มนุษยชาติจะได้รับโอกาสให้มีชีวิตอยู่ตลอดไปในสภาพสมบูรณ์ ในสภาพที่ “สิ่งก่อนนั้นจะไม่ระลึกถึงอีก ทั้งจะไม่คำนึงถึงในหัวใจ.” (ยะซายา 65:17, ล.ม.) แม้แต่คนตายก็จะถูกปลุกให้มีชีวิตอีก โดยวิธีนี้จึงพลิกผันสิ่งที่เป็นโศกนาฏกรรมใหญ่ยิ่งที่สุดของมวลมนุษย์อย่างแน่นอน. (โยฮัน 5:28, 29) ในตอนนั้น ด้วยความรักและคุณความดีอันหาที่สุดมิได้ พระเจ้าจะทรงแก้ปัญหาของมนุษยชาติให้หมดไปอย่างสิ้นเชิง.
วิธีที่พระเจ้าทรงแทรกแซงในทุกวันนี้
อย่างไรก็ดี นี่มิได้หมายความว่าในระหว่างนี้พระเจ้าเพียงแต่สังเกตดูอย่างไม่แยแสขณะที่ผู้ซึ่งพระองค์ทรงสร้างมานั้นเจ็บปวดทรมาน. ในทุกวันนี้ พระเจ้าทรงเสนอโอกาสให้แก่มวลมนุษย์ที่จะมารู้จักพระองค์และพัฒนาสัมพันธภาพ1 ติโมเธียว 2:3, 4) พระเยซูทรงพรรณนาถึงขั้นตอนนี้ด้วยถ้อยคำดังนี้: “ไม่มีผู้ใดจะมาถึงเราได้, เว้นไว้พระบิดาผู้ทรงใช้เรามาจะชักนำเขา.” (โยฮัน 6:44) พระเจ้าทรงชักนำชนผู้สุจริตใจให้มาหาพระองค์โดยทางข่าวสารเรื่องราชอาณาจักรที่ผู้รับใช้ของพระองค์ประกาศไปทั่วโลก.
เป็นส่วนตัวกับพระองค์ โดยไม่คำนึงถึงภูมิหลังด้านชาติพันธุ์หรือด้านสังคมของพวกเขา. (นอกจากนี้ พระเจ้าทรงก่อผลกระทบโดยตรงในชีวิตของคนเหล่านั้นที่เต็มใจให้พระองค์ชี้นำ. โดยทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ พระเจ้า “ทรงเปิดใจของเขา” ให้เข้าใจพระทัยประสงค์ของพระองค์และปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของพระองค์. (กิจการ 16:14) ใช่แล้ว โดยการให้โอกาสที่จะมารู้จักพระองค์, รู้จักพระคำ, และพระประสงค์ของพระองค์ พระเจ้าทรงให้ข้อพิสูจน์ถึงความสนพระทัยด้วยความรักที่มีต่อพวกเราแต่ละคน.—โยฮัน 17:3.
สุดท้าย พระเจ้าทรงช่วยผู้รับใช้ของพระองค์ในทุกวันนี้ ไม่ใช่โดยการช่วยพวกเขาให้รอดอย่างอัศจรรย์ แต่โดยประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์และ “กำลังที่มากกว่าปกติ” ให้พวกเขาเพื่อรับมือกับสถานการณ์ใด ๆ ก็ตามที่พวกเขาอาจเผชิญ. (2 โกรินโธ 4:7, ล.ม.) อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “ข้าพเจ้ามีกำลังสำหรับทุกสิ่งโดยพระองค์ [พระยะโฮวาพระเจ้า] ผู้ทรงประทานพลังให้ข้าพเจ้า.”—ฟิลิปปอย 4:13, ล.ม.
ดังนั้น เรามีเหตุผลทุกประการที่จะขอบพระคุณพระเจ้าในแต่ละวันสำหรับชีวิตและความหวังที่พระองค์ทรงเสนอให้เราในการมีชีวิตตลอดไปในโลกที่ปราศจากความทุกข์ทั้งมวล. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญได้ถามว่า “ข้าพเจ้าจะสนองพระเดชพระคุณแก่พระยะโฮวา ตอบแทนคุณที่ทรงประทานแก่ข้าพเจ้านั้นอย่างไรได้? ข้าพเจ้าจะหยิบจอกแห่งความรอด, และจะทูลออกพระนามของพระยะโฮวา.” (บทเพลงสรรเสริญ 116:12, 13) การอ่านวารสารนี้เป็นประจำจะช่วยคุณให้เข้าใจสิ่งที่พระเจ้าได้ทำมาแล้วในอดีต, สิ่งที่ทรงทำอยู่ในปัจจุบัน, และสิ่งที่จะทำในอนาคต ซึ่งจะนำความสุขมาให้คุณขณะนี้และให้ความหวังที่มั่นคงสำหรับอนาคต.—1 ติโมเธียว 4:8.
[คำโปรยหน้า 6]
“สิ่งก่อนนั้นจะไม่ระลึกถึงอีก ทั้งจะไม่คำนึงถึงในหัวใจ.”—ยะซายา 65:17, ล.ม.
[ภาพหน้า 5]
ในสมัยคัมภีร์ไบเบิล พระยะโฮวามิได้ขัดขวางการที่ซะคาระยาถูกหินขว้าง . . .
ทั้งมิได้ปกป้องคนบริสุทธิ์ไว้จากการถูกสังหารหมู่โดยเฮโรด
[ภาพหน้า 7]
เวลาใกล้เข้ามาแล้วที่ความทุกข์จะไม่มีอีกต่อไป; แม้แต่คนตายก็จะมีชีวิตอีก