เพื่อจะได้รางวัล จงควบคุมตนเอง!
เพื่อจะได้รางวัล จงควบคุมตนเอง!
“ทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขันก็ควบคุมตนเองในทุกสิ่ง.”—1 โกรินโธ 9:25, ล.ม.
1. สอดคล้องกับเอเฟโซ 4:22-24 หลายล้านคนได้ให้คำมั่นอะไรไว้กับพระยะโฮวา?
ถ้าคุณรับบัพติสมาเป็นพยานพระยะโฮวา คุณได้ประกาศอย่างเปิดเผยว่าคุณตั้งใจจะเข้าร่วมการแข่งขันที่มีชีวิตนิรันดร์เป็นรางวัล. คุณให้คำมั่นว่าจะทำตามพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวา. ก่อนถึงขั้นอุทิศตัวแด่พระยะโฮวา หลายคนในพวกเราต้องทำการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ๆ เพื่อว่าการอุทิศตัวของเราจะมีความหมาย จะเป็นที่ยอมรับจากพระเจ้าอย่างแท้จริง. เราได้ทำตามที่อัครสาวกเปาโลแนะนำคริสเตียนว่า “[จง] ละทิ้งบุคลิกภาพเก่าซึ่งเป็นไปตามแนวทางการประพฤติเดิมของท่าน และซึ่งถูกทำให้เสื่อมเสียตามความปรารถนาอันหลอกลวงของตน . . . [จง] สวมบุคลิกภาพใหม่ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าในความชอบธรรมและความภักดีที่แท้จริง.” (เอเฟโซ 4:22-24, ล.ม.) พูดอีกอย่างหนึ่ง ก่อนที่จะทำการอุทิศตัวแด่พระเจ้า เราต้องละทิ้งแนวทางชีวิตแบบเก่าซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับ.
2, 3. หนึ่งโกรินโธ 6:9-12 แสดงอย่างไรว่ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่สองประเภทที่เราต้องทำเพื่อจะเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า?
2 ผู้ที่จะเข้ามาเป็นพยานพระยะโฮวาต้องละทิ้งลักษณะเฉพาะบางอย่างแห่งบุคลิกภาพเก่าที่พระคำของพระเจ้าตำหนิตรง ๆ. เปาโลยกบางอย่างขึ้นมากล่าวในจดหมายของท่านถึงชาวโครินท์ ดังนี้: “คนผิดประเวณี, หรือคนบูชารูปเคารพ, หรือคนเล่นชู้, หรือชายเก็บไว้เพื่อวัตถุประสงค์ผิดธรรมชาติ, หรือชายที่นอนกับชายด้วยกัน, หรือขโมย, หรือคนโลภ, หรือคนขี้เมา, หรือคนปากร้าย, หรือคนกรรโชกทรัพย์จะไม่ได้รับราชอาณาจักรของพระเจ้าเป็นมรดก.” จากนั้น ท่านแสดงให้เห็นว่าคริสเตียนในศตวรรษแรกได้ทำการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพที่จำเป็น โดยกล่าวต่อไปว่า “กระนั้นพวกท่านบางคนเคยเป็นอย่างนั้น.” ขอสังเกตพวกเขาเคยเป็นอย่างนั้น แต่ก็ได้ทำการเปลี่ยนแปลงแล้ว.—1 โกรินโธ 6:9-11, ล.ม.
3 เปาโลบ่งชี้ว่ายังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นอีกที่จำเป็น เนื่องจากท่านกล่าวต่อไปว่า “สิ่งสารพัดข้าพเจ้าทำ1 โกรินโธ 6:12, ล.ม.) ฉะนั้น หลายคนในทุกวันนี้ที่ปรารถนาจะเป็นพยานพระยะโฮวาจึงเห็นความจำเป็นที่จะปฏิเสธแม้แต่ในสิ่งที่ไม่มีข้อห้าม แต่ทว่าเป็นสิ่งที่ไม่อำนวยประโยชน์หรือแทบจะไม่มีคุณค่าอะไรที่ยั่งยืน. สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเรื่องที่กินเวลามากและทำให้พวกเขาเขวไปจากการติดตามสิ่งที่สำคัญกว่า.
ได้ไม่มีข้อห้าม; แต่ไม่ใช่ทุกสิ่งอำนวยประโยชน์.” (4. คริสเตียนที่ได้อุทิศตัวเห็นพ้องอะไรกับเปาโล?
4 การอุทิศตัวแด่พระเจ้าเป็นการทำด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่ด้วยความเสียดาย ราวกับว่าจะต้องเสียสละอะไรอย่างใหญ่หลวง. คริสเตียนที่ได้อุทิศตัวเห็นพ้องกับเปาโลซึ่งกล่าวหลังจากที่เข้ามาเป็นสาวกของพระคริสต์แล้วว่า “เนื่องด้วย [พระเยซู] ข้าพเจ้าได้ยอมสละสารพัดสิ่งและข้าพเจ้าถือว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเหมือนหยากเยื่อ เพื่อข้าพเจ้าจะได้พระคริสต์.” (ฟิลิปปอย 3:8, ล.ม.) เปาโลยินดีสละสารพัดสิ่งซึ่งมีค่าเพียงน้อยนิดเพื่อจะสามารถทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้า.
5. เปาโลไปถึงหลักชัยในการแข่งขันอะไร และเราจะทำอย่างเดียวกันนั้นได้อย่างไร?
5 เปาโลควบคุมตนเองในการวิ่งแข่งฝ่ายวิญญาณ จนในที่สุดท่านสามารถกล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้ทำการต่อสู้ที่ดี ข้าพเจ้าได้วิ่งจนสุดทาง ข้าพเจ้าได้รักษาความเชื่อไว้. ตั้งแต่นี้ไป มีมงกุฎแห่งความชอบธรรมเก็บไว้สำหรับข้าพเจ้า ซึ่งองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้พิพากษาองค์ชอบธรรมจะทรงประทานแก่ข้าพเจ้าเป็นรางวัลในวันนั้น ไม่เพียงแก่ข้าพเจ้าเท่านั้น แต่แก่ทุกคนที่รักการปรากฏของพระองค์ด้วย.” (2 ติโมเธียว 4:7, 8, ล.ม.) สักวันหนึ่ง เราจะสามารถกล่าวถ้อยคำอย่างเดียวกันนั้นได้ไหม? เราจะทำได้ ถ้าด้วยความเชื่อ เราควบคุมตนเองในการวิ่งแข่งของคริสเตียนโดยไม่ท้อถอยหรือเลิกราจนกว่าจะถึงหลักชัย.
ควบคุมตนเองให้ทำการดี
6. การควบคุมตนเองคืออะไร และเราต้องควบคุมตนเองในสองทางอะไรบ้าง?
6 ตามตัวอักษรแล้ว คำในภาษาฮีบรูและภาษากรีกที่มีการแปลว่า “การควบคุมตนเอง” ในคัมภีร์ไบเบิลหมายความว่า คนเรามีอำนาจเหนือตนเองหรือมีการควบคุมตนเอง. บ่อยครั้งคำนี้ถ่ายทอดแนวความคิดในเรื่องการยับยั้งตัวจากการทำชั่ว. แต่เห็นได้ชัดว่าการควบคุมตนเองก็นับว่าจำเป็นอยู่ในระดับหนึ่งหากเราจะทำการดี. แนวโน้มที่ติดตัวมาแต่กำเนิดของมนุษย์ไม่สมบูรณ์ก็คือที่จะกระทำผิด เราจึงมีการต่อสู้สองต่อ. (ท่านผู้ประกาศ 7:29; 8:11) ขณะที่ยับยั้งตัวเองจากการทำชั่ว เราก็ยังต้องควบคุมตัวเองให้ทำการดี. อันที่จริง การบังคับตนให้ทำดีเป็นวิธีดีที่สุดวิธีหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการทำชั่ว.
7. (ก) เช่นเดียวกับดาวิด เราควรทูลอธิษฐานขออะไร? (ข) การไตร่ตรองอะไรจะช่วยเราให้ควบคุมตนเองได้ดีขึ้น?
7 เห็นได้ชัด การควบคุมตนเองเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งหากเราตั้งใจจะทำให้การอุทิศตัวแด่พระเจ้าสำเร็จ. เราต้องทูลอธิษฐานเช่นเดียวกับดาวิดที่ว่า “ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงสร้างใจสะอาดภายในข้าพระองค์ และฟื้นน้ำใจที่หนักแน่นบทเพลงสรรเสริญ 51:10, ฉบับแปลใหม่) เราอาจไตร่ตรองถึงผลประโยชน์จากการหลีกเลี่ยงสิ่งใด ๆ ที่ผิดศีลธรรมหรือที่ก่อผลเสียต่อร่างกาย. คิดถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการไม่หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น เช่น ปัญหาร้ายแรงด้านสุขภาพ, ความสัมพันธ์ที่ไม่มีความสุข, หรือแม้กระทั่งการตายก่อนวัยอันควร. ในอีกด้านหนึ่ง ให้คิดถึงผลประโยชน์มากมายจากการยึดมั่นอยู่ในทางแห่งชีวิตที่พระยะโฮวาทรงวางไว้. แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนึงถึงความเป็นจริง เราต้องไม่ลืมว่าหัวใจของเราทรยศ. (ยิระมะยา 17:9, ล.ม.) เราต้องยืนหยัดต้านทานความพยายามของหัวใจเราที่จะลดความสำคัญของการยึดมั่นกับมาตรฐานของพระยะโฮวา.
ขึ้นใหม่ภายในข้าพระองค์.” (8. ประสบการณ์สอนความจริงเรื่องอะไรแก่เรา? จงยกตัวอย่าง.
8 พวกเราส่วนใหญ่รู้จากประสบการณ์ว่า บ่อยครั้งที่ความไม่เต็มใจของเนื้อหนังพยายามจะดับไฟแห่งความเต็มใจของเรา. ขอให้พิจารณาเรื่องการประกาศราชอาณาจักรเป็นตัวอย่าง. พระยะโฮวาทรงปีติยินดีที่มนุษย์เต็มใจเข้าร่วมในงานที่ให้ชีวิตนี้. (บทเพลงสรรเสริญ 110:3; มัดธาย 24:14) สำหรับพวกเราส่วนใหญ่แล้ว การเรียนรู้ที่จะประกาศต่อสาธารณชนไม่ใช่เรื่องง่าย. สิ่งนี้เรียกร้อง—และอาจยังคงเรียกร้อง—ให้เราบังคับตัวเอง หรือ “ทุบตี” ร่างกายและ “จูงมันเยี่ยงทาส” แทนที่จะปล่อยให้มันโน้มนำเราให้ประพฤติในทางที่ฝืนตัวเองน้อยที่สุด.—1 โกรินโธ 9:16, 27, ล.ม.; 1 เธซะโลนิเก 2:2.
“ในทุกสิ่ง”?
9, 10. การ “ควบคุมตนเองในทุกสิ่ง” หมายรวมไปถึงอะไร?
9 คำแนะนำจากคัมภีร์ไบเบิลที่ให้ “ควบคุมตนเองในทุกสิ่ง” บ่งชี้ว่าการควบคุมตนเองไม่ได้จำกัดอยู่แค่การควบคุมอารมณ์ของเราและการไม่ประพฤติผิดศีลธรรม. เราอาจรู้สึกว่าควบคุมตัวเองในเรื่องเหล่านี้ได้อยู่แล้ว และถ้าเป็นอย่างนั้น เราก็รู้สึกขอบพระคุณอย่างแท้จริง. ถึงกระนั้น จะว่าอย่างไรเกี่ยวกับแง่มุมอื่นในชีวิตที่ความจำเป็นต้องควบคุมตนเองอาจเห็นได้ไม่ชัดเจน? เพื่อเป็นตัวอย่าง สมมุติว่าเราอาศัยอยู่ในประเทศที่ค่อนข้างมั่งคั่งซึ่งมีมาตรฐานการครองชีพสูง. เป็นการสุขุมมิใช่หรือที่จะเรียนรู้ที่จะบอกว่า ‘ไม่’ สำหรับการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น? บิดามารดาควรสอนบุตรไม่ให้ซื้ออะไรก็ตามที่พวกเขาเห็น เพียงเพราะสิ่งนั้นหาซื้อได้, น่าดึงดูดใจ, หรือมีเงินพอจะซื้อ. แน่นอน เพื่อการสอนเช่นนั้นจะบังเกิดผล บิดามารดาต้องวางตัวอย่างที่เหมาะสม.—ลูกา 10:38-42.
10 การเรียนรู้ว่าบางสิ่งถึงจะไม่มีก็อยู่ได้ช่วยให้เรามีใจเข้มแข็ง. นอกจากนี้ ยังทำให้เราหยั่งรู้ค่ามากขึ้นต่อสิ่งฝ่ายวัตถุที่เรามี และทำให้เราเห็นอกเห็นใจมากขึ้นต่อผู้ที่ต้องอยู่อย่างที่ขาดบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งไม่ใช่เป็นเพราะเขาเลือกเอง แต่เพราะความจำเป็น. อันที่จริง แนวทางชีวิตที่เรียบง่ายขัดกับทัศนะอันเป็นที่นิยมกันทั่วไปที่ว่า “ให้ของขวัญสำหรับตัวคุณเอง” หรือ “คุณคู่ควรกับสิ่งที่ดีที่สุด.” โลกแห่งการโฆษณาปลุกเร้าความปรารถนาของผู้คนให้ตอบสนองความต้องการของตนในทันที แต่การโฆษณาเหล่านั้นทำไปก็เพื่อหวังประโยชน์ทางการค้า. สภาพการณ์อย่างนี้อาจเหนี่ยวรั้งความพยายามของเราที่จะควบคุมตนเอง. เมื่อไม่นานมานี้ วารสารฉบับหนึ่งจากประเทศหนึ่งที่มั่งคั่งในยุโรปให้ความเห็นว่า “ถ้าการควบคุมความอยากอันไม่พึงประสงค์ให้อยู่ใต้บังคับเรียกร้องให้มีการต่อสู้ภายในสำหรับคนที่อยู่ในสภาพยากจนข้นแค้นอย่างแสนสาหัสแล้ว จะจริงยิ่งกว่านั้นสักเท่าไรสำหรับผู้คนที่อยู่ในประเทศที่บริบูรณ์ด้วยน้ำนมและน้ำผึ้งในสังคมที่มั่งคั่งในปัจจุบัน!”
11. เหตุใดการเรียนรู้ว่าบางสิ่งถึงจะไม่มีก็อยู่ได้จึงเป็นประโยชน์ แต่อะไรทำให้การทำเช่นนี้เป็นเรื่องยาก?
11 หากเรายากที่จะแยกแยะระหว่างสิ่งที่เราต้องการกับสิ่งที่เราจำเป็นต้องมีจริง ๆ ก็อาจเป็นประโยชน์ที่จะทำอะไรบางอย่างเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะไม่ทำอะไรอย่างที่ไม่คิดถึงผลที่จะตามมา. ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากแก้แนวโน้มในการใช้จ่ายอย่างที่ไม่รู้จักควบคุม เราอาจตั้งปณิธานว่าจะไม่ซื้อสินค้าโดยใช้เงินเชื่อ หรือจะพกเงินไปจำนวนจำกัดเมื่อซื้อของ. ขอระลึกถึงคำกล่าวของเปาโลที่ว่า “ความเลื่อมใสพระเจ้าประกอบกับสันโดษเป็นทางที่ได้กำไรมาก.” ท่านชักเหตุผลดังนี้: “เราไม่ได้นำอะไรเข้ามาในโลกฉันใด เราไม่อาจนำอะไรออกไปจากโลกได้ฉันนั้น. ดังนั้น ถ้าเรามีเครื่องอุปโภคบริโภค เราจะอิ่มใจด้วยของเหล่านี้.” (1 ติโมเธียว 6:6-8, ล.ม.) เราอิ่มใจไหม? การเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย โดยปราศจากภาระที่ไม่จำเป็นอันเนื่องมาจากการทำตามใจตัวเอง—ไม่ว่ารูปแบบใด—เรียกร้องความตั้งใจมุ่ง มั่นและการควบคุมตนเอง. กระนั้น นั่นเป็นบทเรียนที่ควรค่าแก่การเรียนรู้.
12, 13. (ก) การประชุมคริสเตียนเกี่ยวข้องกับการรู้จักควบคุมตนเองในทางใดบ้าง? (ข) ในขอบเขตใดอีกที่เราจำเป็นต้องปลูกฝังการควบคุมตนเอง?
12 การเข้าร่วมประชุมคริสเตียนประจำประชาคมและการประชุมใหญ่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตนเองในด้านหนึ่งโดยเฉพาะด้วย. อย่างเช่น เราจำเป็นต้องควบคุมตนเองเพื่อจะไม่ใจลอยระหว่างการประชุม. (สุภาษิต 1:5) เราอาจต้องควบคุมตนเองเพื่อจะไม่รบกวนคนอื่น ๆ ด้วยการกระซิบกระซาบกับคนที่นั่งใกล้ ๆ แทนที่เราจะตั้งใจฟังผู้บรรยายอย่างเต็มที่. การปรับตารางเวลาของเราเพื่อจะไปถึงการประชุมให้ทันเวลาก็อาจต้องรู้จักควบคุมตนเอง. นอกจากนั้น อาจต้องมีการควบคุมตนเองเพื่อจัดเวลาไว้สำหรับการเตรียมตัวเข้าร่วมการประชุม และมีส่วนร่วมในการประชุมเหล่านั้น.
13 การควบคุมตนเองในเรื่องเล็กน้อยเสริมความสามารถของเราในการควบคุมตนเองในเรื่องที่ใหญ่กว่า. (ลูกา 16:10) ฉะนั้น นับว่าฉลาดสุขุมอย่างยิ่งที่จะใช้วินัยกับตนเองเพื่อจะอ่านพระคำของพระเจ้าและสรรพหนังสือที่อธิบายคัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำ ศึกษาสิ่งเหล่านี้และคิดรำพึงในสิ่งที่เราได้เรียนรู้! เป็นการฉลาดสุขุมอย่างแท้จริงที่จะใช้วินัยกับตนเองในเรื่องงานอาชีพ, มิตรภาพ, เจตคติ, และนิสัยส่วนตัวต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะ หรือที่จะปฏิเสธกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจแย่งเวลาอันมีค่าในการรับใช้พระเจ้าไปจากเรา! การมีงานมากในการรับใช้พระยะโฮวาย่อมเป็นการป้องกันเราอย่างดีจากสิ่งที่อาจดึงเราให้ลอยห่างไปจากอุทยานฝ่ายวิญญาณแห่งประชาคมของพระยะโฮวาทั่วโลก.
จงเป็นผู้ใหญ่เต็มที่โดยการควบคุมตนเอง
14. (ก) เด็ก ๆ ควรเรียนรู้การควบคุมตนเองโดยวิธีใด? (ข) เด็กที่เรียนรู้เรื่องดังกล่าวในช่วงต้นของชีวิตจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง?
14 ทารกเกิดใหม่ย่อมไม่รู้จักควบคุมตนเอง. จุลสารฉบับหนึ่งที่เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมเด็กอธิบายว่า “การควบคุมตนเองไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติหรือทันทีทันใด. ทารกและเด็กเล็ก ๆ จำเป็นต้องได้รับการชี้แนะและความช่วยเหลือจากบิดามารดาในการเริ่มต้นกระบวนการเรียนรู้เพื่อจะรู้จักควบคุมตนเอง. . . . เมื่อบิดามารดาให้การชี้นำในกระบวนการนั้น การรู้จักควบคุมตนเองจะมีมากขึ้นตลอดช่วงวัยเรียน.” การศึกษาครั้งหนึ่งในกลุ่มเด็กวัยสี่ขวบเผยว่า เด็กที่รู้จักควบคุมตนเองในระดับหนึ่งนั้น “โดยทั่วไปแล้วเติบโตขึ้นเป็นวัยรุ่นที่ปรับตัวได้ดีกว่า, เป็นที่ชื่นชอบ, กล้าคิดกล้าทำ, มีความมั่นใจ, และเป็นที่ไว้วางใจมากกว่า.” ผู้ที่ไม่ได้เรียนรู้การควบคุมตนเอง “มีแนวโน้มที่จะว้าเหว่, ฉุนเฉียว, และหัวรั้นมากกว่า. พวกเขายอมพ่ายแพ้ต่อความกดดันและหลบเลี่ยงที่จะเผชิญการท้าทาย.” เห็นได้ชัด เพื่อจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ เด็กต้องเรียนรู้การควบคุมตนเอง.
15. การไม่รู้จักควบคุมตนเองบ่งชี้ถึงอะไร ซึ่งตรงกันข้ามกับเป้าหมายอะไรที่คัมภีร์ไบเบิลกำหนดไว้?
1 โกรินโธ 14:20, ล.ม.) เป้าหมายของเราคือเพื่อจะ “บรรลุถึงความเป็นหนึ่งเดียวในความเชื่อและในความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับพระบุตรของพระเจ้า เป็นผู้ใหญ่เต็มที่ โตถึงขนาดความบริบูรณ์ของพระคริสต์.” เพราะเหตุใด? “เพื่อเราจะไม่เป็นเด็กอีกต่อไป ถูกซัดไปซัดมาเหมือนโดนคลื่นและถูกพาไปทางโน้นบ้างทางนี้บ้างโดยลมแห่งคำสอนทุกอย่างที่อาศัยเล่ห์กลของมนุษย์ โดยใช้ความฉลาดแกมโกงในการคิดหาเรื่องเท็จ.” (เอเฟโซ 4:13, 14, ล.ม.) เห็นได้ชัด การเรียนรู้ที่จะควบคุมตนเองสำคัญยิ่งต่อสภาพฝ่ายวิญญาณของเรา.
15 เช่นเดียวกัน หากเราจะเป็นคริสเตียนที่เป็นผู้ใหญ่เต็มที่ เราต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมตนเอง. การขาดคุณลักษณะนี้บ่งชี้ว่าเรายังเป็นทารกฝ่ายวิญญาณ. คัมภีร์ไบเบิลเตือนเราให้ “เป็นผู้ซึ่งเติบโตเต็มที่ด้านความสามารถในการเข้าใจ.” (การพัฒนาการควบคุมตนเอง
16. พระยะโฮวาทรงจัดเตรียมความช่วยเหลืออย่างไร?
16 เพื่อจะพัฒนาการควบคุมตนเอง เราจำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือจากพระเจ้า และความช่วยเหลือดังกล่าวก็มีอยู่พร้อมสำหรับเรา. พระคำของพระเจ้า ซึ่งเปรียบเหมือนกระจกอันสมบูรณ์ สะท้อนให้เราเห็นว่ามีจุดใดบ้างที่เราต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และมีคำแนะนำว่าเราจะทำเช่นนั้นโดยวิธีใด. (ยาโกโบ 1:22-25) สังคมพี่น้องที่เปี่ยมด้วยความรักพร้อมจะให้ความช่วยเหลือเช่นกัน. คริสเตียนผู้ปกครองแสดงความเข้าใจเมื่อให้การช่วยเหลือเป็นส่วนตัว. พระยะโฮวาทรงประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้อย่างไม่จำกัดเมื่อเราทูลอธิษฐานขอ. (ลูกา 11:13; โรม 8:26) ฉะนั้น ขอให้เราใช้ประโยชน์จากการจัดเตรียมเหล่านี้ด้วยความยินดี. ข้อเสนอแนะในหน้า 21 อาจช่วยได้.
17. เราได้รับการหนุนใจอะไรจากสุภาษิต 24:16?
17 ช่างอุ่นใจสักเพียงไรที่รู้ว่าพระยะโฮวาเห็นค่าความพยายามของเราในการพยายามทำให้พระองค์พอพระทัย! นี่ควรจะกระตุ้นเราให้พยายามต่อ ๆ ไปเพื่อจะรู้จักควบคุมตนเองได้ดีขึ้น. ไม่ว่าเราอาจพลาดพลั้งไปสักกี่ครั้ง เราต้องไม่เลิกล้มความพยายามของเรา. “คนชอบธรรมอาจล้มถึงเจ็ดครั้ง และเขาจะลุกขึ้นเป็นแน่.” (สุภาษิต 24:16, ล.ม.) แต่ละครั้งที่เราประสบความสำเร็จในการทำให้พระยะโฮวาพอพระทัย เรามีเหตุผลที่จะชื่นชมตัวเอง. และเราแน่ใจเช่นกันว่าพระยะโฮวาทรงชื่นชมในตัวเรา. พยานฯ คนหนึ่งเล่าว่าก่อนเขาอุทิศชีวิตแด่พระยะโฮวา ทุกครั้งที่เขาประสบความสำเร็จในการอดบุหรี่ได้ครบหนึ่งสัปดาห์ เขาจะให้รางวัลตัวเองด้วยการซื้อของที่เป็นประโยชน์ด้วยเงินที่เก็บได้จากการควบคุมตนเองไม่ให้ซื้อบุหรี่.
18. (ก) การบากบั่นเพื่อจะรู้จักควบคุมตนเองเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง? (ข) พระยะโฮวาทรงให้คำรับรองอะไร?
18 สำคัญที่สุด เราควรจำไว้ว่าการควบคุมตนเองเกี่ยวข้องกับความคิดและความรู้สึก. เราทราบเรื่องนี้จากคำตรัสของพระเยซูที่ว่า “ผู้ใดแลดูผู้หญิงด้วยใจกำหนัดในหญิงนั้น, ผู้นั้นได้ล่วงประเวณีในใจกับหญิงนั้นแล้ว.” (มัดธาย 5:28; ยาโกโบ 1:14, 15) คนที่ได้เรียนรู้ที่จะควบคุมความคิดและความรู้สึกพบว่าง่ายกว่าที่จะควบคุมทั้งตัวของเขา. ฉะนั้น ขอให้เราเสริมความตั้งใจให้มากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ใช่แค่การทำผิด แต่รวมถึงการไม่คิดในเรื่องนั้น. ถ้าความคิดที่ผิด ๆ ผุดขึ้นมา จงสลัดความคิดนั้นออกไปทันที. เราสามารถหนีพ้นการล่อใจได้ด้วยการมองเขม้นไปที่พระเยซูขณะอธิษฐาน. (1 ติโมเธียว 6:11; 2 ติโมเธียว 2:22; เฮ็บราย 4:15, 16) ขณะที่เราทำอย่างสุดกำลังความสามารถ เราจะทำตามคำแนะนำในบทเพลงสรรเสริญ 55:22 (ล.ม.) ที่ว่า “จงมอบภาระของท่านไว้กับพระยะโฮวา และพระองค์เองจะทรงค้ำจุนท่าน. ไม่มีวันที่พระองค์จะทรงยอมให้คนชอบธรรมกะปลกกะเปลี้ยเลย.”
คุณจำได้ไหม?
• เราต้องควบคุมตนเองในสองทางอะไรบ้าง?
• การ “ควบคุมตนเองในทุกสิ่ง” หมายความเช่นไร?
• ข้อแนะที่ทำตามได้จริงเพื่อพัฒนาการควบคุมตนเองข้อใดบ้างที่คุณสนใจเป็นพิเศษระหว่างการศึกษาของเรา?
• การควบคุมตนเองเริ่มต้นที่ไหน?
[คำถาม]
[กรอบ/ภาพหน้า 21]
วิธีพัฒนาการรู้จักควบคุมตนเอง
• ปลูกฝังคุณลักษณะนี้แม้แต่ในเรื่องเล็กน้อย
• ไตร่ตรองถึงผลประโยชน์ของการรู้จักควบคุมตนเองในปัจจุบันและอนาคต
• ทดแทนสิ่งที่พระเจ้าห้ามด้วยสิ่งที่พระเจ้าสนับสนุนให้ทำ
• สลัดความคิดที่ไม่เหมาะสมออกไปทันที
• บรรจุจิตใจด้วยความคิดที่เสริมสร้างฝ่ายวิญญาณ
• รับความช่วยเหลือที่เพื่อนคริสเตียนอาวุโสสามารถเสนอให้
• หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะนำไปสู่การทำผิด
• ทูลอธิษฐานขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าในยามที่ถูกล่อใจ
[ภาพหน้า 19]
การควบคุมตนเองกระตุ้นเราให้ทำการดี