ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

จงปลูกฝังน้ำใจในการให้

จงปลูกฝังน้ำใจในการให้

จง​ปลูกฝัง​น้ำใจ​ใน​การ​ให้

ไม่​มี​ใคร​เกิด​มา​พร้อม​กับ​น้ำใจ​เอื้อเฟื้อ. แนว​โน้ม​ตาม​ธรรมชาติ​ของ​ทารก​คือ​ที่​จะ​ได้​รับ​ตาม​ความ​ต้องการ​และ​ความ​จำเป็น​ของ​ตัว​เอง โดย​ไม่​คำนึง​ถึง​ผล​ประโยชน์​ของ​ใคร แม้​แต่​ผู้​เอา​ใจ​ใส่​ดู​แล​ทารก​นั้น​ด้วย​ซ้ำ. แต่​ใน​ที่​สุด เด็ก​ก็​เรียน​รู้​ว่า​ไม่​ใช่​เขา​คน​เดียว​ที่​มี​ความ​ต้องการ. เขา​ต้อง​คำนึง​ถึง​ความ​ต้องการ​ของ​คน​อื่น และ​ต้อง​เรียน​รู้​ไม่​เพียง​ที่​จะ​ได้​รับ​เท่า​นั้น แต่​ต้อง​เรียน​ที่​จะ​ให้​และ​แบ่ง​ปัน​ด้วย. น้ำใจ​ใน​การ​ให้​จำเป็น​ต้อง​ได้​รับ​การ​ปลูกฝัง.

ใช่​ว่า​ทุก​คน​ที่​ให้—แม้​จะ​ให้​อย่าง​มาก​มาย—มี​น้ำใจ​ใน​การ​ให้. บาง​คน​อาจ​บริจาค​ให้​การ​กุศล​เพื่อ​จะ​ส่ง​เสริม​ผล​ประโยชน์​ของ​ตน​เอง. คน​อื่น​อาจ​บริจาค​เพื่อ​จะ​ได้​รับ​คำ​ยกย่อง​สรรเสริญ​จาก​คน​อื่น. อย่าง​ไร​ก็​ดี การ​ให้​ที่​คริสเตียน​แท้​ทำ​นั้น​ต่าง​ออก​ไป. ถ้า​เช่น​นั้น อะไร​เป็น​ลักษณะ​พิเศษ​ของ​การ​ให้​ที่​ได้​รับ​การ​สนับสนุน​ใน​พระ​คำ​ของ​พระเจ้า? การ​พิจารณา​สั้น ๆ เกี่ยว​กับ​การ​ให้​ที่​คริสเตียน​ใน​ศตวรรษ​แรก​ทำ​นั้น​จะ​ตอบ​คำ​ถาม​ดัง​กล่าว.

ตัว​อย่าง​ของ​การ​ให้​แบบ​คริสเตียน

การ​ให้​แบบ​คริสเตียน​ตาม​ที่​พรรณนา​ไว้​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล โดย​ทั่ว​ไป​แล้ว​คือ “การ​แบ่ง​ปัน​สิ่ง​ต่าง ๆ แก่​คน​อื่น ๆ” ซึ่ง​มี​ความ​จำเป็น​อย่าง​แท้​จริง. (เฮ็บราย 13:16, ล.ม.; โรม 15:26) การ​ให้​ไม่​ควร​เป็น​ไป​โดย​ถูก​บีบ​บังคับ. อัครสาวก​เปาโล​เขียน​ว่า “ให้​แต่​ละ​คน​ทำ​อย่าง​ที่​เขา​ได้​มุ่ง​หมาย​ไว้​ใน​หัวใจ มิ​ใช่​ด้วย​ฝืน​ใจ​หรือ​ถูก​บังคับ ด้วย​ว่า​พระเจ้า​ทรง​รัก​ผู้​ที่​ให้​ด้วย​ใจ​ยินดี.” (2 โกรินโธ 9:7, ล.ม.) การ​ให้​ต้อง​ไม่​ทำ​ไป​โดย​มี​จุด​มุ่ง​หมาย​ใน​การ​ดึงดูด​ความ​สนใจ​ของ​คน​อื่น​ด้วย. อะนาเนีย​กับ​สัปไฟเร​ได้​เสแสร้ง​เช่น​นั้น​และ​ได้​รับ​ผล​ตอบ​แทน​ที่​ร้ายแรง.—กิจการ 5:1-10.

ความ​จำเป็น​ใน​การ​ให้​ปรากฏ​ชัด เมื่อ​ชาว​ยิว​และ​ผู้​ที่​เปลี่ยน​มา​ถือ​ศาสนา​ยิว​จำนวน​มาก​จาก​สถาน​ที่​ห่าง​ไกล​ได้​มา​ชุมนุม​กัน​ใน​กรุง​เยรูซาเลม เพื่อ​ฉลอง​เทศกาล​เพนเทคอสต์​ใน​ปี ส.ศ. 33. ณ ที่​นั่น​เหล่า​สาวก​ของ​พระ​เยซู “ประกอบ​ด้วย​พระ​วิญญาณ​บริสุทธิ์, จึง​ตั้ง​ต้น​พูด​ภาษา​ต่าง ๆ.” ฝูง​ชน​จำนวน​มาก​ได้​รวม​ตัว​กัน​รอบ​พวก​เขา​และ​ได้​ฟัง​คำ​บรรยาย​ของ​เปโตร​ที่​เร้า​ใจ​เกี่ยว​กับ​พระ​เยซู​คริสต์. ภาย​หลัง ประชาชน​ได้​เห็น​วิธี​ที่​เปโตร​และ​โยฮัน​รักษา​ชาย​ง่อย​คน​หนึ่ง​ที่​ประตู​พระ​วิหาร​ให้​หาย​เป็น​ปกติ และ​พวก​เขา​ได้​ยิน​เปโตร​พูด​อีก​ครั้ง​หนึ่ง​เกี่ยว​กับ​พระ​เยซู​และ​ความ​จำเป็น​ใน​เรื่อง​การ​กลับ​ใจ. หลาย​พัน​คน​ได้​กลับ​ใจ​และ​รับ​บัพติสมา​ฐานะ​เป็น​สาวก​ของ​พระ​คริสต์.—กิจการ​บท 2 และ 3.

คน​ที่​เปลี่ยน​ความ​เชื่อ​ใหม่​ต้องการ​อยู่​ต่อ​ไป​ใน​กรุง​เยรูซาเลม​และ​ได้​รับ​การ​สั่ง​สอน​มาก​ขึ้น​จาก​พวก​อัครสาวก​ของ​พระ​เยซู. แต่​เหล่า​อัครสาวก​จะ​เอา​ใจ​ใส่​ความ​จำเป็น​ของ​อาคันตุกะ​ทั้ง​หมด​นั้น​ได้​อย่าง​ไร? เรื่อง​ราว​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​บอก​เรา​ว่า “ผู้​หนึ่ง​ผู้​ใด​มี​ไร่​นา​บ้าน​เรือน​ก็​ได้​ขาย​เสีย, และ​ได้​นำ​เงิน​ค่า​สิ่ง​ของ​ที่​ขาย​ไป​นั้น​มา​วาง​ไว้​ที่​เท้า​ของ​อัครสาวก ๆ จึง​แจก​จ่าย​ให้​ทุก​คน​ตาม​ที่​ต้องการ.” (กิจการ 4:33-35) ประชาคม​เยรูซาเลม​ที่​ตั้ง​ขึ้น​ใหม่​มี​น้ำใจ​ใน​การ​ให้​อย่าง​แท้​จริง!

ต่อ​มา ประชาคม​อื่น​ได้​แสดง​น้ำใจ​ใน​การ​ให้​อย่าง​เดียว​กัน. ตัว​อย่าง​เช่น คริสเตียน​ชาว​มาซิโดเนีย ถึง​แม้​ตัว​เอง​ยาก​จน ก็​ยัง​ได้​บริจาค​เกิน​ความ​สามารถ​ของ​พวก​เขา​เสีย​อีก​เพื่อ​พี่​น้อง​ที่​ขัดสน​ใน​ยูเดีย. (โรม 15:26; 2 โกรินโธ 8:1-7) ประชาคม​ฟิลิปปี​นับ​ว่า​เด่น​ใน​การ​สนับสนุน​งาน​รับใช้​ของ​เปาโล. (ฟิลิปปอย 4:15, 16) ประชาคม​เยรูซาเลม​เอง​ก็​ได้​แจก​จ่าย​อาหาร​ทุก​วัน​ให้​แก่​แม่​ม่าย​ที่​ขัดสน และ​พวก​อัครสาวก​ได้​แต่ง​ตั้ง​ผู้​ชาย​ที่​มี​คุณวุฒิ​เจ็ด​คน​ให้​ดู​แล​เพื่อ​จะ​ไม่​มี​การ​มอง​ข้าม​แม่​ม่าย​ที่​สม​ควร​ได้​รับ​ความ​ช่วยเหลือ.—กิจการ 6:1-6.

ประชาคม​คริสเตียน​รุ่น​แรก​ตอบ​สนอง​อย่าง​รวด​เร็ว​แม้​แต่​เมื่อ​มี​การ​คาด​หมาย​ว่า​จะ​เกิด​ช่วง​เวลา​ที่​ยาก​ลำบาก. ตัว​อย่าง​เช่น เมื่อ​ผู้​พยากรณ์​อะฆะโบ​ได้​บอก​ล่วง​หน้า​ถึง​การ​กันดาร​อาหาร​ครั้ง​ใหญ่​ที่​จะ​เกิด​ขึ้น พวก​สาวก​ใน​ประชาคม​อันทิโอก​ใน​ซีเรีย “ทุก​คน​จึง​ตั้งใจ​ว่า​จะ​เรี่ยไร​กัน​ตาม​มาก​และ​น้อย​ฝาก​ไป​ช่วย​บรรเทา​ทุกข์​พวก​พี่​น้อง​ที่​อยู่​ใน​มณฑล​ยูดาย.” (กิจการ 11:28, 29) พวก​เขา​ได้​แสดง​น้ำใจ​ที่​ดี​อะไร​เช่น​นี้​เมื่อ​รู้​ล่วง​หน้า​ถึง​ความ​จำเป็น​ของ​คน​อื่น!

อะไร​กระตุ้น​คริสเตียน​รุ่น​แรก​ให้​เอื้อเฟื้อ​เผื่อแผ่​และ​แสดง​ความ​รัก​ถึง​เพียง​นั้น? ที่​จริง คน​เรา​จะ​ได้​มา​ซึ่ง​น้ำใจ​ใน​การ​ให้​โดย​วิธี​ใด? เรา​สามารถ​เรียน​ได้​มาก​มาย​จาก​การ​พิจารณา​ตัว​อย่าง​ของ​กษัตริย์​ดาวิด​อย่าง​สั้น ๆ.

การ​สนับสนุน​อย่าง​เอื้อเฟื้อ​ของ​ดาวิด​ต่อ​การ​นมัสการ​แท้

เป็น​เวลา​เกือบ 500 ปี หีบ​สัญญา​ไมตรี—หีบ​ศักดิ์สิทธิ์​ซึ่ง​เป็น​เครื่องหมาย​แสดง​ถึง​การ​ประทับ​ของ​พระ​ยะโฮวา—ไม่​มี​สถาน​ที่​ตั้ง​ถาวร. หีบ​นี้​ถูก​เก็บ​ไว้​ใน​เต็นท์ หรือ​พลับพลา​ซึ่ง​มี​การ​เคลื่อน​ย้าย​จาก​ที่​หนึ่ง​ไป​ยัง​อีก​ที่​หนึ่ง​ระหว่าง​ช่วง​ที่​ชาติ​อิสราเอล​เร่ร่อน​อยู่​ใน​ถิ่น​ทุรกันดาร​และ​จาก​นั้น​ก็​เข้า​สู่​แผ่นดิน​ตาม​คำ​สัญญา. กษัตริย์​ดาวิด​ปรารถนา​อย่าง​ยิ่ง​ที่​จะ​นำ​หีบ​นั้น​ออก​จาก​เต็นท์ แล้ว​สร้าง​ราชนิเวศ​ที่​เหมาะ​สม​สำหรับ​พระ​ยะโฮวา​ซึ่ง​จะ​ใช้​เก็บ​หีบ​ศักดิ์สิทธิ์​นั้น​ไว้. ดาวิด​กล่าว​แก่​ผู้​พยากรณ์​นาธาน​ว่า “ดู​เถิด, เรา​อยู่​มณเฑียร​ที่​ทำ​ด้วย​ไม้​สน, แต่​หีบ​สัญญา​ไมตรี [ของ​พระ​ยะโฮวา] อยู่​ใต้​ม่าน.”—1 โครนิกา 17:1.

แต่​ดาวิด​เป็น​นัก​รบ. ดัง​นั้น พระ​ยะโฮวา​ทรง​บัญชา​ว่า ซะโลโม​ราชบุตร​ของ​ท่าน​นั่น​เอง​จะ​สร้าง​พระ​วิหาร​เพื่อ​เก็บ​รักษา​หีบ​สัญญา​ไมตรี​ระหว่าง​รัชสมัย​ที่​มี​สันติ​สุข. (1 โครนิกา 22:7-10) อย่าง​ไร​ก็​ดี เรื่อง​นี้​มิ​ได้​ยับยั้ง​น้ำใจ​ใน​การ​ให้​ของ​ดาวิด. โดย​จัด​ระเบียบ​หน่วย​ทำ​งาน​เฉพาะ​กิจ​ที่​ใหญ่​โต ท่าน​ได้​เริ่ม​จัด​เตรียม​วัสดุ​ต่าง ๆ ซึ่ง​จะ​ใช้​ใน​การ​ก่อ​สร้าง​พระวิหาร. ท่าน​ได้​แจ้ง​แก่​ซะโลโม​ภาย​หลัง​ว่า “เรา​ได้​จัด​เตรียม​ของ​ไว้​สำหรับ​พระ​วิหาร​ของ​พระ​ยะโฮวา, มี​ทองคำ​หนัก​แสน​ตะลันต์, เงิน​หนัก​ล้าน​ตะลันต์; กับ​ทองเหลือง​และ​เหล็ก (เหลือ) ที่​จะ​ชั่ง​ได้; เพราะ​มี​บริบูรณ์: ไม้​และ​หิน​เรา​ก็​ได้​จัด​เตรียม​ไว้​พร้อม​แล้ว.” (1 โครนิกา 22:14) โดย​ไม่​จุ​ใจ​แค่​นั้น จาก​ทรัพย์​สิน​ส่วน​ตัว​จำนวน​มหาศาล ดาวิด​ได้​บริจาค​ทองคำ​และ​เงิน​ซึ่ง​มี​มูลค่า​ใน​ปัจจุบัน​ประมาณ 50,000,000,000 บาท. นอก​จาก​นี้ พวก​เจ้านาย​ได้​บริจาค​อย่าง​ไม่​อั้น​ด้วย​เช่น​กัน. (1 โครนิกา 29:3-9) แน่นอน ดาวิด​ได้​แสดง​น้ำใจ​ใน​การ​ให้​อย่าง​เหลือ​ล้น!

อะไร​กระตุ้น​ดาวิด​ให้​บริจาค​อย่าง​เหลือ​ล้น​เช่น​นั้น? ท่าน​สำนึก​ว่า​ทุก​สิ่ง​ที่​ท่าน​ได้​รับ​และ​บรรลุ​ผล​สำเร็จ​นั้น​เป็น​ผล​มา​จาก​พระ​พร​ของ​พระ​ยะโฮวา. ท่าน​ยอม​รับ​ใน​คำ​อธิษฐาน​ว่า “ข้า​แต่​พระ​ยะโฮวา​พระเจ้า​ของ​ข้าพเจ้า​ทั้ง​หลาย, ทรัพย์​สิ่ง​ของ​ทั้ง​ปวง​ที่​ข้าพเจ้า​ได้​จัด​เตรียม​ไว้​จะ​สร้าง​พระ​วิหาร​ถวาย​แก่​พระ​นาม​อัน​บริสุทธิ์​ของ​พระองค์, สิ่ง​ของ​ทั้ง​ปวง​นี้​ย่อม​เป็น​มา​จาก​พระ​หัตถ์​ของ​พระองค์, และ​เป็น​ของ​พระองค์​ทั้ง​สิ้น. โอ้​พระเจ้า​ข้า, ข้าพเจ้า​ทราบ​แล้ว​ว่า, พระองค์​ทรง​ลอง​ใจ​มนุษย์, และ​มี​พระทัย​อภิรมย์​ใน​การ​สัตย์​ซื่อ, ฝ่าย​ข้าพเจ้า​นี้, ได้​ยอม​นำ​บรรดา​สิ่ง​ของ​นั้น​มา​ถวาย​ด้วย​ใจ​อัน​ซื่อ​ตรง: บัด​นี้​ข้าพเจ้า​มี​ความ​ยินดี, เพราะ​ได้​เห็น​พวก​พลไพร่ของ​พระองค์​ที่​ประชุม​กัน​ที่​นี่, นำ​สิ่ง​ของ​มา​ถวาย​พระองค์​ด้วย​ความ​ศรัทธา.” (1 โครนิกา 29:16, 17) ดาวิด​ถือ​ว่า​สัมพันธภาพ​ของ​ท่าน​กับ​พระ​ยะโฮวา​มี​ค่า. ท่าน​ยอม​รับ​ความ​จำเป็น​ที่​จะ​รับใช้​พระเจ้า “ด้วย​หัวใจ​ครบ​ถ้วน และ​ด้วย​จิตวิญญาณ​ชื่น​บาน” และ​ท่าน​ประสบ​ความ​ยินดี​ใน​การ​ทำ​เช่น​นั้น. (1 โครนิกา 28:9, ล.ม.) คุณลักษณะ​อย่าง​เดียว​กัน​นี้​ยัง​ได้​กระตุ้น​คริสเตียน​รุ่น​แรก​ให้​แสดง​น้ำใจ​ใน​การ​ให้​ด้วย.

พระ​ยะโฮวา—ผู้​ให้​องค์​ใหญ่​ยิ่ง​ที่​สุด

พระ​ยะโฮวา​ทรง​เป็น​ตัว​อย่าง​ที่​ดี​ที่​สุด​ใน​การ​ให้. พระองค์​ทรง​รัก​และ​ใฝ่​พระทัย​จน​ถึง​กับ “พระองค์​ทรง​บันดาล​ให้​ดวง​อาทิตย์​ขึ้น​ส่อง​สว่าง​แก่​คน​ดี​และ​คน​ชั่ว และ​ให้​ฝน​ตก​แก่​คน​ชอบธรรม​และ​คน​อธรรม.” (มัดธาย 5:45) พระองค์​ทรง​ประทาน “ชีวิต​และ​ลม​หายใจ​และ​สิ่ง​สารพัตร” แก่​มวล​มนุษยชาติ. (กิจการ 17:25) ที่​จริง ดัง​ที่​สาวก​ยาโกโบ​ชี้​แจง “ของ​ประทาน​อัน​ดี​ทุก​อย่าง และ​ของ​ประทาน​อัน​เลิศ​ทุก​อย่าง​ย่อม​มา​แต่​เบื้อง​บน, และ​ลง​มา​จาก​พระ​บิดา​ผู้​ทรง​บันดาล​ให้​มี​ดวง​สว่าง.”—ยาโกโบ 1:17.

ของ​ประทาน​อัน​ใหญ่​ยิ่ง​ที่​สุด​ของ​พระ​ยะโฮวา​สำหรับ​เรา​คือ​การ​ที่​พระองค์​ทรง​ส่ง “พระ​บุตร​ผู้​ได้​รับ​กำเนิด​องค์​เดียว​ของ​พระองค์ เพื่อ​ทุก​คน​ที่​สำแดง​ความ​เชื่อ​ใน​พระองค์​นั้น​จะ​ไม่​ถูก​ทำลาย​แต่​มี​ชีวิต​นิรันดร์.” (โยฮัน 3:16, ล.ม.) ไม่​มี​ใครจะ​อ้าง​ได้​ว่า​คู่​ควร​กับ​ของ​ประทาน​ดัง​กล่าว “เหตุ​ว่า​คน​ทั้ง​ปวง​ได้​ทำ​ผิด​ทุก​คน, และ​ขาด​การ​ถวาย​เกียรติยศ​แก่​พระเจ้า.” (โรม 3:23, 24; 1 โยฮัน 4:9, 10) ค่า​ไถ่​ของ​พระ​คริสต์​เป็น​พื้น​ฐาน​และ​ร่อง​ทาง​สำหรับ “ของ​ประทาน​อัน​สุด​จะ​พรรณนา​ได้​ที่​ทรง​ให้​เปล่า ๆ” ของ​พระเจ้า นั่น​คือ “พระ​กรุณา​อัน​ไม่​พึง​ได้​รับ​ของ​พระเจ้า​ซึ่ง​หา​ที่​เปรียบ​มิ​ได้.” (2 โกรินโธ 9:14, 15, ล.ม.) เพราะ​รู้สึก​ขอบคุณ​สำหรับ​ของ​ประทาน​จาก​พระเจ้า เปาโล​จึง​ทำ​ให้ “การ​ให้​คำ​พยาน​อย่าง​ถี่ถ้วน​ถึง​ข่าว​ดี​เกี่ยว​กับ​พระ​กรุณา​อัน​ไม่​พึง​ได้​รับ​ของ​พระเจ้า” เป็น​งาน​หลัก​ใน​ชีวิต​ท่าน. (กิจการ 20:24, ล.ม.) ท่าน​ตระหนัก​ว่า​พระทัย​ประสงค์​ของ​พระเจ้า​คือ​ให้ “คน​ทุก​ชนิด​ได้​ความ​รอด​และ​บรรลุ​ความ​รู้​ถ่องแท้​เรื่อง​ความ​จริง.”—1 ติโมเธียว 2:4, ล.ม.

ใน​ปัจจุบัน มี​การ​ทำ​ให้​งาน​นี้​บรรลุ​ผล​สำเร็จ​โดย​งาน​ประกาศ​และ​สั่ง​สอน​อย่าง​ใหญ่​โต​ซึ่ง​ขณะ​นี้​ได้​แผ่​ขยาย​ไป​ถึง 234 ดินแดน​ทั่ว​แผ่นดิน​โลก. พระ​เยซู​ทรง​บอก​ล่วง​หน้า​ถึง​การ​แผ่​ขยาย​นี้​เมื่อ​ตรัส​ว่า “ข่าว​ดี​เรื่อง​ราชอาณาจักร​นี้​จะ​ได้​รับ​การ​ประกาศ​ทั่ว​ทั้ง​แผ่นดิน​โลก​ที่​มี​คน​อาศัย​อยู่ เพื่อ​ให้​คำ​พยาน​แก่​ทุก​ชาติ; และ​ครั้น​แล้ว​อวสาน​จะ​มา​ถึง.” (มัดธาย 24:14, ล.ม.) ใช่​แล้ว “ข่าว​ดี​จะ​ต้อง​ได้​รับ​การ​ประกาศ​ใน​ประเทศ​ทั้ง​ปวง​ก่อน.” (มาระโก 13:10, ล.ม.) ปี​ที่​แล้ว​ผู้​ประกาศ​ข่าว​ดี​มาก​กว่า​หก​ล้าน​คน​ได้​อุทิศ​เวลา 1,202,381,302 ชั่วโมง​ให้​แก่​งาน​นี้​และ​นำ​การ​ศึกษา​คัมภีร์​ไบเบิล​มาก​กว่า 5,300,000 ราย. เนื่อง​จาก​เกี่ยว​ข้อง​กับ​ชีวิต​ของ​หลาย​คน งาน​สั่ง​สอน​นี้​จึง​สำคัญ​อย่าง​ยิ่ง.—โรม 10:13-15; 1 โกรินโธ 1:21.

สรรพหนังสือ​จำนวน​นับ​ล้าน​ได้​รับ​การ​จัด​พิมพ์​ใน​แต่​ละ​ปี มี​คัมภีร์​ไบเบิล, หนังสือ, และ​จุลสาร เพื่อ​ช่วย​คน​เหล่า​นั้น​ที่​หิว​กระหาย​ความ​จริง​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล. นอก​จาก​นี้ มี​การ​ผลิต​วารสาร​หอสังเกตการณ์ และ​ตื่นเถิด! มาก​กว่า​หนึ่ง​พัน​ล้าน​เล่ม. ขณะ​ที่​ผู้​คน​ตอบรับ​ข่าว​ดี ได้​มี​การ​ก่อ​สร้าง​หอ​ประชุม​ราชอาณาจักร​และ​หอ​ประชุม​สำหรับ​การ​ประชุม​ใหญ่​ของ​พยาน​พระ​ยะโฮวา​มาก​ขึ้น​เรื่อย ๆ ซึ่ง​ใช้​เป็น​ศูนย์กลาง​ของ​การ​สั่ง​สอน​คัมภีร์​ไบเบิล. มี​การ​จัด​การ​ประชุม​หมวด​และ​การ​ประชุม​พิเศษ​วัน​เดียว รวม​ทั้ง​การ​ประชุม​ภาค​ใน​แต่​ละ​ปี. การ​อบรม​มิชชันนารี, ผู้​ดู​แล​เดิน​ทาง, ผู้​ปกครอง, และ​ผู้​ช่วย​งาน​รับใช้ เป็น​ขั้น​ตอน​ที่​ดำเนิน​อย่าง​ต่อ​เนื่อง​ด้วย. เรา​ขอบพระคุณ​พระ​ยะโฮวา​สำหรับ​การ​จัด​เตรียม​เหล่า​นี้​ทั้ง​หมด​ที่​ได้​รับ​ผ่าน​ทาง “ทาส​สัตย์​ซื่อ​และ​สุขุม.” (มัดธาย 24:45-47, ล.ม.) เรา​ปรารถนา​สัก​เพียง​ไร​ที่​จะ​แสดง​ความ​ขอบพระคุณ​ต่อ​พระองค์!

การ​แสดง​ความ​ขอบพระคุณ​ต่อ​พระ​ยะโฮวา

เช่น​เดียว​กับ​การ​ก่อ​สร้าง​พระ​วิหาร​และ​การ​สนอง​ความ​จำเป็น​ของ​ประชาคม​คริสเตียน​รุ่น​แรก การ​สนับสนุน​ด้าน​การ​เงิน​สำหรับ​การ​จัด​เตรียม​ทั้ง​หมด​นี้​มา​จาก​การ​บริจาค​ด้วย​ใจ​สมัคร​ทั้ง​นั้น. อย่าง​ไร​ก็​ดี ต้อง​จำ​ไว้​ว่า ไม่​มี​ใคร​สามารถ​ทำ​ให้​พระ​ยะโฮวา ผู้​ทรง​เป็น​เจ้าของ​สรรพสิ่ง มั่งคั่ง​ขึ้น. (1 โครนิกา 29:14; ฮาฆี 2:8) ดัง​นั้น​แล้ว การ​บริจาค​เป็น​หลักฐาน​แสดง​ความ​รัก​ของ​เรา​ต่อ​พระ​ยะโฮวา​และ​แสดง​ถึง​ความ​ปรารถนา​ของ​เรา​ที่​จะ​ส่ง​เสริม​การ​นมัสการ​แท้. เปาโล​กล่าว​ว่า การ​แสดง​ความ​เอื้อเฟื้อ​เผื่อแผ่​เช่น​นี้​ทำ​ให้​เกิด “การ​ขอบพระคุณ​พระเจ้า.” (2 โกรินโธ 9:8-13, ฉบับ​แปล​ใหม่) พระ​ยะโฮวา​ทรง​สนับสนุน​การ​ให้​ดัง​กล่าว​เพราะ​นั่น​แสดง​ว่า​เรา​มี​น้ำใจ​ที่​ถูก​ต้อง​และ​หัวใจ​ที่​รัก​พระองค์. คน​เหล่า​นั้น​ที่​เอื้อเฟื้อ​เผื่อแผ่​และ​พึ่ง​อาศัย​พระ​ยะโฮวา​จะ​ได้​รับ​พระ​พร​จาก​พระองค์​และ​จะ​เจริญ​รุ่งเรือง​ทาง​ฝ่าย​วิญญาณ. (พระ​บัญญัติ 11:13-15; สุภาษิต 3:9, 10; 11:25) พระ​เยซู​ทรง​รับรอง​กับ​เรา​ว่า​จะ​ยัง​ผล​ด้วย​ความ​สุข โดย​ตรัส​ว่า “การ​ให้​ทำ​ให้​มี​ความ​สุข​ยิ่ง​กว่า​การ​รับ.”—กิจการ 20:35, ล.ม.

คริสเตียน​ซึ่ง​มี​น้ำใจ​ใน​การ​ให้​ไม่​เพียง​แต่​คอย​จน​กระทั่ง​ถึง​คราว​จำเป็น. แทน​ที่​จะ​เป็น​เช่น​นั้น พวก​เขา​มอง​หา​โอกาส​ที่​จะ “ทำ​การ​ดี​ต่อ​คน​ทั้ง​ปวง แต่​โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​ต่อ​ผู้​ที่​สัมพันธ์​กับ [เขา] ใน​ความ​เชื่อ.” (ฆะลาเตีย 6:10, ล.ม.) โดย​สนับสนุน​ความ​เอื้อเฟื้อ​เผื่อแผ่​แบบ​พระเจ้า เปาโล​เขียน​ว่า “อย่า​ลืม​การ​ทำ​ดี​และ​การ​แบ่ง​ปัน​สิ่ง​ต่าง ๆ แก่​คน​อื่น ๆ ด้วย​ว่า​พระเจ้า​ทรง​ชอบ​พระทัย​ด้วย​เครื่อง​บูชา​เช่น​นั้น.” (เฮ็บราย 13:16, ล.ม.) การ​ใช้​ทรัพยากร​ของ​เรา เช่น เวลา, กำลัง, เงิน​ทอง เพื่อ​ช่วย​คน​อื่น​และ​เพื่อ​ส่ง​เสริม​การ​นมัสการ​อัน​บริสุทธิ์​เป็น​สิ่ง​ที่​ทำ​ให้​พระ​ยะโฮวา​พระเจ้า​พอ​พระทัย​อย่าง​ยิ่ง. พระองค์​ทรง​รัก​น้ำใจ​ใน​การ​ให้​อย่าง​แท้​จริง.

[กรอบ/ภาพ​หน้า 28, 29]

วิธี​ต่าง ๆ ที่​บาง​คน​เลือก​ใช้​ใน​การ​ให้

การ​บริจาค​สำหรับ​งาน​ทั่ว​โลก

หลาย​คน​กัน​เงิน​หรือ​จัด​งบประมาณ​ไว้​จำนวน​หนึ่ง​ซึ่ง​เขา​จะ​ใส่​ใน​กล่อง​บริจาค​ที่​ติด​ป้าย​ว่า “เงิน​บริจาค​สำหรับ​งาน​ประกาศ​ข่าว​ดี​ทั่ว​โลก—มัดธาย 24:14.”

แต่​ละ​เดือน ประชาคม​ต่าง ๆ จะ​ส่ง​เงิน​เหล่า​นั้น​ไป​ยัง​สำนักงาน​ของ​พยาน​พระ​ยะโฮวา​ที่​ดู​แล​ประเทศ​นั้น ๆ. เงิน​บริจาค​โดย​สมัคร​ใจ​อาจ​ส่ง​ตรง​ถึง Watch Tower Bible and Tract Society of Pennsylvania, c/o Office of the Secretary and Treasurer, 25 Columbia Heights, Brooklyn, New York 11201-2483 หรือ​ถึง​สำนักงาน​สาขา​ซึ่ง​ดำเนิน​งาน​ใน​ประเทศ​ของ​คุณ. เช็ค​ควร​สั่ง​จ่าย​ใน​นาม “Watch Tower.” อาจ​บริจาค​อัญมณี​หรือ​ของ​มี​ค่า​อื่น ๆ ได้​ด้วย. ควร​แนบ​จดหมาย​สั้น ๆ ไป​กับ​ของ​บริจาค โดย​ระบุ​ว่า​เป็น​ของ​ที่​ยก​ให้​โดย​ไม่​มี​เงื่อนไข.

การ​บริจาค​แบบ​มี​เงื่อนไข

อาจ​บริจาค​เงิน​โดย​มี​ข้อ​ตก​ลง​พิเศษ​ว่า​จะ​คืน​เงิน​ให้​ผู้​บริจาค​หาก​ผู้​บริจาค​ร้อง​ขอ. สำหรับ​ข้อมูล​เพิ่ม​เติม โปรด​ติด​ต่อ​สำนักงาน​เลขาธิการ​และ​เหรัญญิก​ตาม​ที่​อยู่​ข้าง​ต้น.

การ​ให้​แบบ​เตรียม​การ

นอก​จาก​เงิน​ที่​ยก​ให้​โดย​ไม่​มี​เงื่อนไข​และ​การ​บริจาค​เงิน​แบบ​มี​เงื่อนไข​แล้ว ยัง​มี​วิธี​การ​ให้​แบบ​อื่น​อีก​เพื่อ​ประโยชน์​แก่​งาน​ราชอาณาจักร​ทั่ว​โลก. วิธี​ให้​เหล่า​นี้​รวม​ถึง:

เงิน​ประกัน: อาจ​ระบุ​ชื่อ​สมาคม​ว็อชเทาเวอร์ [ใน​ประเทศ​ไทย: มูลนิธิ​ส่ง​เสริม​การ​ศึกษา​พระ​คัมภีร์] ให้​เป็น​ผู้​รับ​ประโยชน์​จาก​กรมธรรม์​ประกัน​ชีวิต หรือ​เงิน​บำเหน็จ​บำนาญ.

บัญชี​เงิน​ฝาก: บัญชี​เงิน​ฝาก, ใบ​รับ​เงิน​ฝาก​ที่​เปลี่ยน​มือ​ได้, หรือ​บัญชี​เงิน​บำนาญ​ส่วน​บุคคล​อาจ​มอบ​ไว้​ใน​ความ​ดู​แล​ของ​สมาคม​ว็อชเทาเวอร์ หรือ​ให้​สมาคม​ฯ เบิก​ได้​เมื่อ​เจ้าของ​บัญชี​สิ้น​ชีวิต โดย​เป็น​ไป​ตาม​ข้อ​กำหนด​ของ​ธนาคาร​ท้องถิ่น.

หุ้น​และ​พันธบัตร: อาจ​บริจาค​หุ้น​และ​พันธบัตร​แก่​สมาคม​ว็อชเทาเวอร์​ด้วย​การ​ยก​ให้​โดย​ไม่​มี​เงื่อนไข.

อสังหาริมทรัพย์: อาจ​บริจาค​อสังหาริมทรัพย์​ที่​สามารถ​ขาย​ได้ ไม่​ว่า​ด้วย​การ​ยก​ให้​โดย​ไม่​มี​เงื่อนไข หรือ​โดย​การ​สงวน​สิทธิ์​ไว้​สำหรับ​ผู้​บริจาค​ซึ่ง​จะ​อาศัย​ใน​บ้าน​หรือ​ที่​ดิน​นั้น​จน​สิ้น​ชีวิต​ใน​กรณี​ที่​ทรัพย์​สิน​นั้นเป็น​ที่​พัก​อาศัย. ควร​ติด​ต่อ​กับ​สำนักงาน​สาขา​ใน​ประเทศ​ของ​คุณ​ก่อน​จะ​ทำ​การ​โอน​อสังหาริมทรัพย์​ใด ๆ.

เงิน​ราย​ปี​ที่​เป็น​ของ​ขวัญ: เป็น​การ​จัด​เตรียม​ที่​คน​หนึ่ง​โอน​เงิน​หรือ​หลักทรัพย์​ให้​แก่​สมาคม​ว็อชเทาเวอร์. ส่วน​ผู้​บริจาค หรือ​คน​ที่​ผู้​บริจาค​ได้​ระบุ​ชื่อ​ไว้ ได้​รับ​เงิน​ราย​ปี​ตาม​ที่​กำหนด​ไว้​เพื่อ​เลี้ยง​ชีพ. ผู้​บริจาค​ได้​รับ​การ​หัก​ภาษี​เงิน​ได้​ใน​ปี​ที่​มี​การ​กำหนด​เงิน​ราย​ปี​นั้น.

พินัยกรรม: อาจ​ยก​ทรัพย์​สิน​หรือ​เงิน​ให้​แก่​สมาคม​ว็อชเทาเวอร์ [หรือ​มูลนิธิ​ฯ] ด้วย​การ​ทำ​พินัยกรรม​อย่าง​ถูก​ต้อง​ตาม​กฎหมาย หรือ​อาจ​ระบุ​ชื่อ​สมาคม​ว็อชเทาเวอร์ [หรือ​มูลนิธิ​ฯ] เป็น​ผู้​รับ​ประโยชน์​ตาม​ข้อ​ตก​ลง​ว่า​ด้วย​กรรมสิทธิ์​ใน​ทรัพย์​สิน. กรรมสิทธิ์​ใน​ทรัพย์​สิน​อัน​เป็น​ประโยชน์​ต่อ​องค์การ​ศาสนา​อาจ​มี​ข้อ​ดี​ตรง​ที่​ได้​รับ​การ​ยก​เว้น​ภาษี.

ตาม​ความหมาย​ของ​สำนวน​ที่​ว่า “การ​ให้​แบบ​เตรียม​การ” ผู้​บริจาค​ตาม​วิธี​เหล่า​นี้​คง​ต้อง​วาง​แผน​อยู่​บ้าง. เพื่อ​ช่วย​ผู้​ซึ่ง​ประสงค์​จะ​สนับสนุน​งาน​ทั่ว​โลก​ของ​พยาน​พระ​ยะโฮวา​โดย​การ​ให้​แบบ​เตรียม​การ​บาง​ประเภท​นั้น จึง​มี​การ​จัด​เตรียม​จุลสาร​เป็น​ภาษา​อังกฤษ​และ​ภาษา​สเปน​ชื่อ การ​ให้​แบบ​เตรียม​การ​เพื่อ​งาน​ราชอาณาจักร​ทั่ว​โลก. จุลสาร​นี้​จัด​ทำ​ขึ้น​เพื่อ​ตอบ​คำ​ถาม​หลาย​ข้อ​ที่​ได้​รับ​เกี่ยว​กับ​การ​บริจาค​และ​พินัยกรรม. จุลสาร​นี้​ยัง​มี​ข้อมูล​เพิ่ม​เติม​ที่​เป็น​ประโยชน์​ใน​การ​วาง​แผน​เกี่ยว​ด้วย​อสังหาริมทรัพย์, การ​เงิน, และ​ภาษี​อีก​ด้วย. จุลสาร​นี้​ชี้​แจง​ให้​แต่​ละ​บุคคล​ทราบ​ถึง​วิธี​ต่าง ๆ ที่​อาจ​บริจาค​ได้​ไม่​ว่า​ใน​เวลา​นี้​หรือ​จะ​ทำ​พินัยกรรม​ยก​ทรัพย์​สิน​ให้​เมื่อ​ตน​เสีย​ชีวิต. หลัง​จาก​อ่าน​จุลสาร​นี้​แล้ว​และ​ปรึกษา​กับ​ที่​ปรึกษา​ทาง​กฎหมาย​หรือ​ภาษี​ของ​ตน​และ​กับ​แผนก​การ​ให้​แบบ​เตรียม​การ หลาย​คน​จึง​สามารถ​สนับสนุน​พยาน​พระ​ยะโฮวา​ทั่ว​โลก และ​ขณะ​เดียว​กัน​ก็​ได้​รับ​ประโยชน์​สูง​สุด​ใน​เรื่อง​การ​เสีย​ภาษี​สืบ​เนื่อง​จาก​การ​บริจาค​นั้น. จะ​รับ​จุลสาร​นี้​ได้​โดย​เขียน​ไป​ขอ​โดย​ตรง​จาก​แผนก​การ​ให้​แบบ​เตรียม​การ.

เพื่อ​ได้​ข้อมูล​เพิ่ม​เติม คุณ​อาจ​จะ​เขียน​หรือ​โทรศัพท์​ถึง​แผนก​การ​ให้​แบบ​เตรียม​การ​ตาม​ที่​อยู่​ข้าง​ล่าง​นี้ หรือ​ติด​ต่อ​สำนักงาน​ของ​พยาน​พระ​ยะโฮวา​ซึ่ง​ดำเนิน​งาน​ใน​ประเทศ​ของ​คุณ.

แผนก​การ​ให้​แบบ​เตรียม​การ

Watch Tower Bible and Tract Society of Pennsylvania

100 Watchtower Drive,

Patterson, New York 12563-9204

Telephone: (845) 306-0707. มูลนิธิ​ส่ง​เสริม​การ​ศึกษา​พระ​คัมภีร์ ตู้ ป​ณ. 7 คลอง​จั่น กรุงเทพ​ฯ 10240 โทรศัพท์: 0-2375-2200

[ภาพ​หน้า 26]

อะไร​ได้​กระตุ้น​ให้​คริสเตียน​รุ่น​แรก​เป็น​คน​เอื้อเฟื้อ​เผื่อแผ่?