คุณกำลังจดจ้องอยู่ที่รางวัลไหม?
คุณกำลังจดจ้องอยู่ที่รางวัลไหม?
โรคนี้ลุกลามอย่างช้า ๆ. ในตอนแรก โรคนี้ทำให้การมองเห็นซึ่งอยู่รอบนอกสายตาของคนเราลดลง. หากไม่มีการรักษา โรคนี้อาจแผ่ลามไปยังส่วนกลางของสายตา. ในที่สุด โรคนี้อาจทำให้มองไม่เห็นอย่างสิ้นเชิง. โรคนี้คืออะไร? โรคต้อหิน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ตาบอดนั่นเอง.
เช่นเดียวกับที่เราอาจสูญเสียการมองเห็นตามตัวอักษรอย่างช้า ๆ และโดยไม่รู้ตัว เราอาจสูญเสียการมองเห็นรูปแบบหนึ่งที่มีค่ายิ่งกว่า นั่นคือการมองเห็นฝ่ายวิญญาณ. เพราะฉะนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่จะรักษาเรื่องต่าง ๆ ฝ่ายวิญญาณให้คมชัดในจุดรวมสายตาของเรา.
การจดจ้องอยู่ที่รางวัล
ในบรรดา “สิ่งที่มองไม่เห็น” ด้วยตาจริง ๆ ของเราก็คือรางวัลอันรุ่งโรจน์แห่งชีวิตนิรันดร์ ซึ่งพระยะโฮวาทรงเสนอให้ผู้ภักดีของพระองค์. (2 โกรินโธ 4:18, ล.ม.) แน่นอน เหตุผลสำคัญที่สุดที่คริสเตียนรับใช้พระเจ้าเป็นเพราะพวกเขารักพระองค์. (มัดธาย 22:37) ถึงกระนั้น พระยะโฮวาประสงค์ให้เราคอยท่ารางวัลอย่างกระตือรือร้น. พระองค์ประสงค์ให้เรายอมรับพระองค์ในฐานะพระบิดาผู้มีพระทัยกว้างซึ่งเป็น “ผู้ประทานบำเหน็จให้แก่ทุกคนที่ปลงใจแสวงหาพระองค์.” (เฮ็บราย 11:6) ด้วยเหตุนี้ คนที่รู้จักพระเจ้าอย่างแท้จริงและรักพระองค์ถือว่าพระพรต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงสัญญานั้นมีค่าและปรารถนาจะเห็นความสำเร็จเป็นจริงของพระพรเหล่านั้น.—โรม 8:19, 24, 25.
หลายคนที่อ่านวารสารนี้และวารสารตื่นเถิด! ซึ่งออกคู่กัน รู้สึกชื่นชมกับภาพวาดอุทยานบนแผ่นดินโลกในอนาคต. แน่นอน เราไม่รู้แน่ชัดว่าอุทยานบนแผ่นดินโลกจะมีสภาพเช่นไร และรูปภาพที่ตีพิมพ์ก็เป็นเพียงความคิดของนักศิลปะซึ่งอาศัยข้อความต่าง ๆ จากคัมภีร์ไบเบิล เช่น ยะซายา 11:6-9. กระนั้น สตรีคริสเตียนคนหนึ่งกล่าวว่า “เมื่อดิฉันเห็นรูปภาพอุทยานในอนาคตจากวารสารหอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! ดิฉันจะพินิจดูอย่างละเอียด เหมือนที่คนเราจะพินิจดูหนังสือท่องเที่ยว. ดิฉันพยายามนึกภาพตัวเองอยู่ที่นั่น เพราะนั่นเป็นที่ที่ดิฉันหวังจริง ๆ ว่าจะได้อยู่ตามเวลากำหนดของพระเจ้า.”
อัครสาวกเปาโลรู้สึกคล้ายกันนี้เกี่ยวกับการ “เรียกให้ขึ้นไป” ของท่าน. ท่านไม่ถือว่าท่านเองได้สิ่งนั้นไว้แล้ว เพราะท่านต้องพิสูจน์ตัวว่าซื่อสัตย์จนถึงที่สุด. แต่ท่าน “โน้มตัวไปหาสิ่งที่อยู่ข้างหน้า” เรื่อยไป. (ฟิลิปปอย 3:13, 14, ล.ม.) เช่นเดียวกัน พระเยซูทรงยอมทนต่อการสิ้นพระชนม์บนหลักทรมาน “เพราะเห็นแก่ความยินดีที่มีอยู่ตรงหน้านั้น.”—เฮ็บราย 12:2.
คุณเคยสงสัยไหมว่าคุณจะได้เข้าสู่โลกใหม่หรือไม่? นับว่าเป็นการดีอย่างแน่นอนที่จะไม่มั่นใจมากเกินไป เนื่องจากการได้รับรางวัลแห่งชีวิตของเรานั้นขึ้นอยู่กับการรักษาความซื่อสัตย์จนถึงที่สุด. (มัดธาย 24:13) อย่างไรก็ตาม หากเราพยายามทำทุกสิ่งเท่าที่ทำได้เพื่อบรรลุข้อเรียกร้องของพระเจ้า เรามีเหตุผลทุกประการที่จะมั่นใจในการได้รับรางวัล. ขอจำไว้ว่า พระยะโฮวา “ไม่ทรงประสงค์จะให้คนหนึ่งคนใดพินาศเลย, แต่ทรงปรารถนาจะให้คนทั้งปวงกลับใจเสียใหม่.” (2 เปโตร 3:9) หากเราวางใจพระยะโฮวา พระองค์จะช่วยเราให้บรรลุเป้าหมายของเรา. ที่จริง เป็นการขัดแย้งกับคุณลักษณะของพระองค์ที่จะหาเหตุเพื่อกีดกันคนที่พยายามอย่างจริงใจเพื่อทำให้พระองค์พอพระทัย.—บทเพลงสรรเสริญ 103:8-11; 130:3, 4; ยะเอศเคล 18:32.
การได้รู้ว่าพระยะโฮวาทรงรู้สึกอย่างไรต่อประชาชนของพระองค์ทำให้เรามีความหวัง ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญพอ ๆ กับความเชื่อ. (1 โกรินโธ 13:13) คำภาษากรีกที่ได้รับการแปลว่า “ความหวัง” ในคัมภีร์ไบเบิลมีความหมายเกี่ยวข้องกับ “ความคาดหวังในสิ่งดี” อย่างแรงกล้า. โดยมีความหวังดังกล่าวอยู่ในใจ อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “เราปรารถนาให้ท่านทั้งหลายต่างคนต่างสำแดงความอุสส่าห์เช่นเดียวกันจนถึงที่สุดปลาย. จึงจะได้ความหวังใจอย่างบริบูรณ์ เพื่อจะไม่ให้ท่านเป็นคนเงื่องหงอย, แต่ให้ตามเยี่ยงอย่างแห่งคนเหล่านั้นที่อาศัยความเชื่อและความเพียร จึงได้รับคำสัญญาเป็นมฤดก.” (เฮ็บราย 6:11, 12) ขอสังเกตว่า หากเรารับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์ต่อ ๆ ไป เราสามารถมั่นใจ ได้ว่าความหวังของเราจะเป็นจริง. ไม่เหมือนกับความหวังมากมายทางโลก ความหวังนี้ “มิได้กระทำให้เกิดความเสียใจเพราะไม่สมหวัง.” (โรม 5:5) ดังนั้น เราจะรักษาความหวังของเราให้สดใสและแจ่มชัดได้อย่างไร?
วิธีทำให้สายตาฝ่ายวิญญาณของเราแจ่มชัด
ตาทางกายของเราไม่สามารถจดจ้องสองสิ่งในเวลาเดียวกันได้. เป็นจริงเช่นเดียวกันนั้นกับตาฝ่ายวิญญาณของเรา. การจดจ้องอยู่ที่สิ่งต่าง ๆ ของระบบปัจจุบันจะทำให้โลกใหม่ตามคำสัญญาของพระเจ้าพร่ามัวไปในความคิดของเราเป็นแน่. ต่อมา ภาพที่พร่ามัวนี้อาจหมดความดึงดูดใจและมีแต่จะหายไปจากสายตา. ช่างจะเป็นเรื่องน่าเศร้าใจอะไรเช่นนี้! (ลูกา 21:34) เพราะฉะนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญสักเพียงไรที่เราจะรักษา ‘ตาให้ปกติ’—ตาซึ่งจดจ้องอยู่ที่ราชอาณาจักรของพระเจ้าและรางวัลแห่งชีวิตนิรันดร์!—มัดธาย 6:22.
การรักษาตาให้ปกตินั้นไม่ง่ายเสมอไป. เรามีปัญหาต่าง ๆ ในแต่ละวันที่ต้องเอาใจใส่ และสิ่งที่ทำให้เขว—กระทั่งการล่อใจต่าง ๆ—ก็อาจเกิดขึ้นในชีวิตของเรา. ภายใต้สภาพการณ์เหล่านี้ เราจะสามารถจดจ้องอยู่ที่ราชอาณาจักรและโลกใหม่ตามคำสัญญาของพระเจ้าโดยไม่ละเลยกิจกรรมที่จำเป็นอื่น ๆ ได้อย่างไร? ขอให้เราพิจารณาสามวิธี.
จงศึกษาพระคำของพระเจ้าทุกวัน. การอ่านคัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำและการศึกษาสรรพหนังสือต่าง ๆ ที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักช่วยรักษาความคิดของเราให้รวมจุดอยู่ที่เรื่องฝ่ายวิญญาณ. จริงอยู่ เราอาจศึกษาพระคำของพระเจ้ามาหลายปีแล้ว แต่เราจำต้องศึกษาต่อ ๆ ไป เช่นเดียวกับที่เราจำเป็นต้องรับประทานอาหารเรื่อยไปเพื่อค้ำจุนชีวิต. เราไม่เลิกรับประทานอาหารเพียงเพราะที่ผ่านมาเราได้รับประทานอาหารมามากแล้ว. ดังนั้น ไม่ว่าเราคุ้นเคยกับคัมภีร์ไบเบิลสักเพียงไร เราจำเป็นต้องรับเอาการบำรุงเลี้ยงฝ่ายวิญญาณอย่างต่อเนื่องเป็นประจำจากคัมภีร์ไบเบิล เพื่อรักษาความหวังของเราให้สดใสและความเชื่อรวมทั้งความรักของเราให้เข้มแข็ง.—บทเพลงสรรเสริญ 1:1-3.
จงคิดรำพึงในพระคำของพระเจ้าด้วยความขอบคุณ. เหตุใดการคิดรำพึงเป็นเรื่องสำคัญ? มีเหตุผลสองประการ. ประการแรก การคิดรำพึงทำให้เราบทเพลงสรรเสริญ 78:11-17) อะไรคือปัญหาของพวกเขา?
ซึมซับสิ่งที่เราได้อ่านและพัฒนาความขอบคุณอย่างลึกซึ้งต่อสิ่งนั้น. ประการที่สอง การคิดรำพึงป้องกันเราจากการลืมพระยะโฮวา, ราชกิจอันยอดเยี่ยมของพระองค์, และความหวังที่พระองค์ทรงตั้งไว้ต่อหน้าเรา. เพื่อเป็นตัวอย่าง ชาวอิสราเอลที่ออกจากอียิปต์พร้อมกับโมเซได้เห็นด้วยตาของตนเองถึงการสำแดงอำนาจอันน่าเกรงขามของพระยะโฮวา. พวกเขายังรู้สึกถึงการปกป้องด้วยความรักของพระองค์ขณะที่พระองค์ทรงนำพวกเขาไปยังสิ่งที่จะได้รับเป็นมรดก. กระนั้น ทันทีที่ชาวอิสราเอลมาถึงถิ่นทุรกันดารระหว่างการเดินทางไปยังแผ่นดินตามคำสัญญา พวกเขาเริ่มบ่น ซึ่งแสดงถึงการขาดความเชื่ออย่างร้ายแรง. (ประชาชนหันจากการจดจ้องไปที่พระยะโฮวาและความหวังอันยอดเยี่ยมที่พระองค์ทรงประทานให้ ไปยังความสะดวกสบายแบบรวดเร็วทันใจและความกังวลทางเนื้อหนัง. แม้ว่าพวกเขาเห็นหมายสำคัญอันอัศจรรย์ด้วยตัวเอง แต่ชาวอิสราเอลจำนวนมากได้กลายเป็นคนช่างบ่นที่ไร้ความเชื่อ. บทเพลงสรรเสริญ 106:13 กล่าวว่า “มิช้ามินานเขาได้ลืม พระราชกิจของ [พระยะโฮวา] เสีย.” การละเลยที่ให้อภัยไม่ได้ดังกล่าวทำให้คนชั่วอายุนั้นสูญเสียโอกาสที่จะเข้าในแผ่นดินตามคำสัญญา.
ดังนั้น เมื่ออ่านพระคัมภีร์หรือคู่มือศึกษาคัมภีร์ไบเบิล จงใช้เวลาคิดรำพึงในสิ่งที่คุณได้อ่าน. การใคร่ครวญดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญต่อสุขภาพและการเติบโตฝ่ายวิญญาณของคุณ. ยกตัวอย่าง เมื่ออ่านพระธรรมบทเพลงสรรเสริญ 106 ดังที่ยกมากล่าวข้างต้นในบางส่วน จงคิดรำพึงถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระยะโฮวา. จงสังเกตวิธีที่พระองค์ทรงอดทนและเมตตาต่อชาวอิสราเอล. จงสังเกตวิธีที่พระองค์ทรงทำทุกสิ่งที่ทำได้เพื่อช่วยพวกเขาให้เข้าสู่แผ่นดินตามคำสัญญา. จงสังเกตวิธีที่พวกเขากบฏต่อพระองค์อยู่เนือง ๆ. ขอนึกภาพความเจ็บปวดรวดร้าวของพระยะโฮวาขณะที่ประชาชนซึ่งขาดความหยั่งรู้ค่าอย่างไม่ไยดีทำให้พระองค์ต้องสำแดงความเมตตาและความอดทนถึงขีดสุด. นอกจากนี้ โดยคิดรำพึงในข้อ 30 และ 31 ซึ่งอธิบายถึงการยึดมั่นและความกล้าหาญเพื่อความชอบธรรมของฟีนะฮาศ เราได้รับการรับรองว่า พระยะโฮวาจะไม่ทรงลืมผู้ภักดีของพระองค์และจะประทานรางวัลอย่างอุดมให้พวกเขา.
จงใช้หลักการจากคัมภีร์ไบเบิลในชีวิตของคุณ. ขณะที่เราปฏิบัติตามหลักการจากคัมภีร์ไบเบิล เราเห็นด้วยตัวเองว่าคำแนะนำของพระยะโฮวาใช้การได้จริง. สุภาษิต 3:5, 6 กล่าวว่า “จงวางใจในพระยะโฮวาด้วยสุดใจของเจ้า, อย่าพึ่งในความเข้าใจของตนเอง: จงรับพระองค์ให้เข้าส่วนในทางทั้งหลายของเจ้า, และพระองค์จะชี้ทางเดินของเจ้าให้แจ่มแจ้ง.” ขอให้คิดถึงว่า แนวทางแห่งการผิดศีลธรรมของหลายคนส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ด้านจิตใจ, อารมณ์, และร่างกายอย่างไร. โดยปล่อยตัวกับความสนุกสนานชั่วประเดี๋ยว คนเช่นนั้นประสบกับความเศร้าเสียใจไปหลายปี หรือกระทั่งตลอดชีวิต. แตกต่างกันอย่างชัดเจน คนเหล่านั้นที่เดินบน “ทางแคบ” ได้ลิ้มรสชีวิตในระบบใหม่ล่วงหน้า และเรื่องนี้หนุนกำลังใจพวกเขาให้ดำเนินบนเส้นทางสู่ชีวิตต่อ ๆ ไป.—มัดธาย 7:13, 14; บทเพลงสรรเสริญ 34:8.
การใช้หลักการจากคัมภีร์ไบเบิลอาจเป็นเรื่องท้าทาย. บางครั้ง ทางแก้ปัญหาซึ่งไม่เป็นไปตามหลักพระคัมภีร์อาจดูเหมือนสัญญาจะให้การบรรเทาทันทีในสถานการณ์ที่ยากลำบาก. ตัวอย่างเช่น ช่วงเวลาที่มีความยุ่งยากด้านการเงิน อาจมีการล่อใจให้ลดความสำคัญของผลประโยชน์เรื่องราชอาณาจักรไปอยู่ในอันดับรอง. อย่างไรก็ตาม คนเหล่าท่านผู้ประกาศ 8:12) คริสเตียนอาจต้องทำงานล่วงเวลาในบางครั้ง แต่เขาจะไม่เป็นเหมือนเอซาว ผู้ซึ่งดูหมิ่นสิ่งฝ่ายวิญญาณ เพิกเฉยสิ่งเหล่านั้นราวกับว่าเป็นสิ่งไม่สำคัญ.—เยเนซิศ 25:34; เฮ็บราย 12:16.
นั้นที่สำแดงความเชื่อและรักษาการจดจ้องฝ่ายวิญญาณได้รับคำรับรองว่า ในที่สุด “ความสวัสดิมงคลจะมีแก่เขาทั้งหลายที่ยำเกรงพระเจ้า.” (พระเยซูทรงอธิบายอย่างชัดเจนถึงหน้าที่รับผิดชอบของเราในฐานะคริสเตียน. เราต้อง ‘แสวงหาราชอาณาจักรและความชอบธรรมของพระเจ้าก่อนเสมอไป.’ (มัดธาย 6:33, ล.ม.) หากเราทำเช่นนั้น พระยะโฮวาจะแสดงความรักฉันบิดาต่อเราโดยทำให้แน่ใจว่า เรามีสิ่งจำเป็นฝ่ายวัตถุ. แน่นอน พระองค์ไม่ทรงประสงค์ให้เราแบกภาระหนักเนื่องด้วยความกระวนกระวายในสิ่งต่าง ๆ ที่พระองค์ได้ตรัสว่าเราจะได้โดยการดูแลของพระองค์. ความกระวนกระวายมากเกินควรดังกล่าวอาจเป็นเหมือนโรคต้อหินฝ่ายวิญญาณ ซึ่งถ้าขาดการดูแลเอาใจใส่ โรคนี้จะค่อย ๆ ทำให้การมองเห็นของเราแคบลงจนมองเห็นแต่เพียงความกังวลเรื่องวัตถุและในที่สุดทำให้เราตาบอดฝ่ายวิญญาณ. หากเรายังคงอยู่ในสภาพเช่นนั้น วันของพระยะโฮวาจะมาถึงเรา “ดุจบ่วงแร้ว.” ช่างจะเป็นเรื่องน่าเศร้าใจเสียจริง ๆ!—ลูกา 21:34-36.
จงจดจ้องเหมือนยะโฮซูอะ
ขอให้เรารักษาความหวังเรื่องราชอาณาจักรอันรุ่งโรจน์ของเราให้แจ่มชัดเสมอ ให้หน้าที่รับผิดชอบอื่น ๆ อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม. โดยยึดมั่นต่อไปกับกิจวัตรในการศึกษา, การคิดรำพึง, และการใช้หลักการต่าง ๆ จากคัมภีร์ไบเบิล เราก็สามารถเชื่อมั่นในความหวังของเราเช่นเดียวกับยะโฮซูอะ. เมื่อนำชาติอิสราเอลเข้าสู่แผ่นดินตามคำสัญญา ท่านกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายก็รู้แน่ในใจว่า, ในสิ่งสารพัตรอันดีนั้น, ซึ่งยะโฮวาพระเจ้าของท่านทรงตรัสถึงท่านแล้วหาได้ขาดสักสิ่งเดียวไม่; สรรพสิ่งเหล่านั้นก็สำเร็จแก่ท่านแล้ว, ไม่ขาดเหลือสักสิ่งเดียว.”—ยะโฮซูอะ 23:14.
ขอให้ความหวังเรื่องราชอาณาจักรเสริมกำลังแก่คุณ และขอให้ความหวังนี้ทำให้คุณเบิกบานใจขณะที่สะท้อนให้เห็นความหวังนี้ในความคิด, ความรู้สึก, การตัดสินใจ, และกิจกรรมต่าง ๆ ของคุณ.—สุภาษิต 15:15; โรม 12:12.
[ภาพหน้า 21]
คุณเคยสงสัยไหมว่าคุณจะได้เข้าสู่โลกใหม่หรือไม่?
[ภาพหน้า 22]
การคิดรำพึงเป็นส่วนสำคัญของการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล
[ภาพหน้า 23]
จงจดจ้องอยู่ที่ผลประโยชน์เรื่องราชอาณาจักร