“จงมีความรักใคร่อันอ่อนละมุนต่อกัน”
“จงมีความรักใคร่อันอ่อนละมุนต่อกัน”
“ด้วยความรักฉันพี่น้อง จงมีความรักใคร่อันอ่อนละมุนต่อกัน.”—โรม 12:10, ล.ม.
1, 2. มิชชันนารีคนหนึ่งในสมัยปัจจุบันและอัครสาวกเปาโลมีสัมพันธภาพแบบใดกับพี่น้องของเขา?
ตลอดเวลา 43 ปีที่รับใช้เป็นมิชชันนารีในประเทศแถบตะวันออกไกล ดอนเป็นที่รู้จักว่ามีความอบอุ่นต่อคนที่เขารับใช้. เมื่อเขาต่อสู้กับความเจ็บป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต บางคนที่เคยศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับเขาเดินทางนับพันกิโลเมตรมาอยู่ข้างเตียงเขาแล้วกล่าวว่า “คัมซาฮัมนีดา คัมซาฮัมนีดา!” แปลว่า “ขอบคุณ ขอบคุณ!” ในภาษาเกาหลี. ความรักใคร่อันอ่อนละมุนของดอนซาบซึ้งใจพวกเขา.
2 ตัวอย่างของดอนนี้ไม่ใช่กรณีเดียวที่เกิดขึ้น. ในศตวรรษแรก อัครสาวกเปาโลแสดงความรักใคร่อย่างสุดซึ้งต่อคนที่ท่านรับใช้. เปาโลเสียสละตัวเองเพื่อผู้อื่น. แม้ว่าท่านมีความเชื่อมั่นสูง แต่ท่านก็เป็นคนอ่อนโยนและห่วงใยผู้อื่นด้วย “เหมือนแม่ลูกอ่อนทะนุถนอมลูกของตน.” ท่านเขียนถึงประชาคมในเมืองเทสซาโลนีกาว่า “เนื่องจากมีความรักใคร่อันอ่อนละมุนต่อท่าน เราจึงยินดีจะให้ท่านทั้งหลายไม่เพียงแต่ข่าวดีของพระเจ้าเท่านั้น แต่ชีวิตของเราด้วย เพราะว่าท่านเป็นที่รักของเรา.” (1 เธซะโลนิเก 2:7, 8, ล.ม.) ต่อมา เมื่อเปาโลบอกพี่น้องของท่านในเมืองเอเฟโซส์ว่าพวกเขาจะไม่ได้เห็นหน้าท่านอีก “เขาทั้งหลายจึงร้องไห้มากมาย, และก้มหน้าลงที่คอของเปาโล, แล้วจุบ ท่าน.” (กิจการ 20:25, 37) เห็นได้ชัด สัมพันธภาพระหว่างเปาโลกับพี่น้องของท่านมีความลึกซึ้งมากกว่าเพียงการมีความเชื่ออย่างเดียวกัน. พวกเขามีความรักใคร่อันอ่อนละมุนต่อกัน.
ความรักใคร่อันอ่อนละมุนกับความรัก
3. คำว่าความรักใคร่กับความรักในคัมภีร์ไบเบิลมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?
3 ในพระคัมภีร์ ความรักใคร่อันอ่อนละมุน, ความเห็นอกเห็นใจ, และความเมตตาสงสารล้วนเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับคุณลักษณะคริสเตียนที่งดงามที่สุด นั่นคือความรัก. (1 เธซะโลนิเก 2:8; 2 เปโตร 1:7) เช่นเดียวกับเหลี่ยมต่าง ๆ ของเพชรที่งามจรัส คุณลักษณะเยี่ยงพระเจ้าเหล่านี้ล้วนเป็นแง่มุมต่าง ๆ ที่ประกอบกันได้อย่างสมดุล ก่อเกิดเป็นผลที่งดงาม. คุณลักษณะเหล่านี้ไม่เพียงนำคริสเตียนเข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้น แต่ยังนำเขาเข้าไปใกล้พระบิดาของพวกเขาผู้สถิตในสวรรค์มากขึ้นด้วย. ด้วยเหตุนี้ อัครสาวกเปาโลจึงกระตุ้นเพื่อนร่วมความเชื่อของท่านดังนี้: “ขอให้ความรักของพวกท่านมาจากใจจริง. . . . ด้วยความรักฉันพี่น้อง จงมีความรักใคร่อันอ่อนละมุนต่อกัน.”—โรม 12:9, 10, ล.ม.
4. อะไรคือความหมายของคำว่า “ความรักใคร่อันอ่อนละมุน”?
4 คำภาษากรีกที่เปาโลใช้สำหรับ “ความรักใคร่อันอ่อนละมุน” มีสองส่วนประกอบกัน ส่วนหนึ่งหมายถึงความผูกพันอย่างที่เพื่อนมีต่อกัน อีกส่วนหนึ่งหมายถึงความรักใคร่ภายในครอบครัว. ตามที่ผู้คงแก่เรียนคนหนึ่งอธิบาย นี่หมายความว่าคริสเตียน “ต้องถูกระบุตัวด้วยความผูกพันที่เป็นลักษณะเฉพาะของครอบครัวที่มีความรักต่อกัน ที่สนิทสนมกลมเกลียวกัน และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน.” นั่นเป็นความรู้สึกที่คุณมีต่อพี่น้องคริสเตียนของคุณไหม? บรรยากาศอันอบอุ่น หรือความรู้สึกเหมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ควรแผ่ซ่านภายในประชาคมคริสเตียน. (ฆะลาเตีย 6:10) ด้วยเหตุนี้ พันธสัญญาใหม่ในภาษาอังกฤษสมัยปัจจุบัน โดย เจ. บี. ฟิลลิปส์ จึงแปลโรม 12:10 ว่า “จงให้เรามีความรักใคร่อันอบอุ่นต่อกันอย่างแท้จริงเหมือนที่พี่น้องมีต่อกัน.” และคำแปลในเดอะ เจรูซาเลม ไบเบิล อ่านว่า “จงรักกันและกันอย่างที่พี่น้องควรรักกัน.” ถูกแล้ว ความรักท่ามกลางคริสเตียนไม่ควรเป็นเพียงสิ่งที่ควรสำแดงต่อกันหรือเป็นพันธะหน้าที่เท่านั้น. ด้วย “ความรักฉันพี่น้องจากใจจริง” เราควร “รักกันและกันอย่างแรงกล้าจากหัวใจ.”—1 เปโตร 1:22, ล.ม.
“รับคำสอนจากพระเจ้า . . . ให้รักซึ่งกันและกัน”
5, 6. (ก) พระยะโฮวาใช้การประชุมนานาชาติอย่างไรเพื่อสอนประชาชนของพระองค์ในเรื่องความรักใคร่แบบคริสเตียน? (ข) ความผูกพันระหว่างพี่น้องจะแน่นแฟ้นขึ้นได้อย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป?
5 แม้ว่าในโลกนี้ “ความรักของคนเป็นอันมาก” จะเยือกเย็นลง แต่พระยะโฮวากำลังสอนประชาชนของพระองค์ในสมัยปัจจุบัน “ให้รักซึ่งกันและกัน.” (มัดธาย 24:12; 1 เธซะโลนิเก 4:9) การประชุมนานาชาติของพยานพระยะโฮวาเป็นโอกาสอันโดดเด่นที่ให้การสอนดังกล่าว. ในการประชุมใหญ่เหล่านี้ พยานฯ ที่เป็นเจ้าภาพได้พบปะกับพี่น้องจากแดนไกล และหลายคนให้ตัวแทนจากต่างประเทศที่มาร่วมประชุมเข้าพักในบ้านของตน. ณ การประชุมนานาชาติแห่งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ บางคนมาจากประเทศที่ผู้คนไม่นิยมแสดงความรู้สึกของตนออกมา. คริสเตียนคนหนึ่งที่ช่วยดูแลเรื่องที่พักเล่าว่า “ในตอนแรกเมื่อตัวแทนเหล่านี้ มาถึง พวกเขาประหม่าและขวยเขิน. แต่เพียงหกวันต่อมาเมื่อกล่าวคำอำลา พวกเขากับพี่น้องในประเทศเจ้าภาพสวมกอดกันและร้องไห้. ทั้งสองฝ่ายชื่นชมกับบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยความรักแบบคริสเตียนที่พวกเขาจะไม่มีวันลืม.” การแสดงน้ำใจต้อนรับพี่น้องของเรา ไม่ว่าพวกเขาจะมีภูมิหลังอย่างไร ทำให้ผู้มาเยือนและเจ้าภาพมีโอกาสได้แสดงคุณลักษณะที่ดีออกมาอย่างเต็มที่.—โรม 12:13.
6 ขณะที่ประสบการณ์จากการประชุมใหญ่เหล่านี้น่าตื่นเต้น แต่สัมพันธภาพระหว่างคริสเตียนจะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเมื่อพวกเขาทำงานรับใช้พระยะโฮวาร่วมกันระยะหนึ่ง. เมื่อเรารู้จักพี่น้องของเราเป็นอย่างดี เราจะชื่นชมคุณลักษณะที่ชวนให้รักใคร่ของเขามากยิ่งขึ้น เช่น การพูดความจริง, ความน่าไว้วางใจ, ความภักดี, ความกรุณา, ความเอื้อเฟื้อ, การคำนึงถึงผู้อื่น, ความเห็นอกเห็นใจ, และความไม่เห็นแก่ตัว. (บทเพลงสรรเสริญ 15:3-5; สุภาษิต 19:22) มาร์กซึ่งรับใช้เป็นมิชชันนารีในแอฟริกาตะวันออกกล่าวว่า “การรับใช้เคียงบ่าเคียงไหล่กับพี่น้องของเราสร้างความผูกพันที่เหนียวแน่น.”
7. เราต้องทำอะไรเพื่อจะชื่นชมกับความรักใคร่แบบคริสเตียนในประชาคม?
7 เพื่อจะสร้างความผูกพันเช่นนั้นในประชาคมและรักษาไว้ได้ สมาชิกของประชาคมต้องเข้ามาใกล้ชิดกัน. โดยการเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนเป็นประจำ เราเสริมความผูกพันที่เรามีต่อพี่น้องของเราให้แน่นแฟ้นขึ้น. โดยการอยู่ ณ การประชุม, พูดคุยกับพี่น้องก่อนและหลังการประชุม, เข้าส่วนร่วมระหว่างการประชุม เราชูใจและเร้าใจกัน “ให้บังเกิดใจรักซึ่งกันและกัน และกระทำการดี.” (เฮ็บราย 10:24, 25) ผู้ปกครองคนหนึ่งในสหรัฐเล่าว่า “ผมมีความสุขเมื่อนึกถึงตอนที่ผมเป็นเด็ก ครอบครัวของเราจะออกจากหอประชุมเป็นกลุ่มท้าย ๆ เสมอ เพื่อจะได้ชื่นชมกับการสนทนาแบบฉันมิตรและเสริมสร้างกันให้นานที่สุดเท่าที่เป็นไปได้.”
คุณจำเป็นต้อง “ตีแผ่ใจ” ไหม?
8. (ก) เปาโลหมายความอย่างไรเมื่อท่านกระตุ้นคริสเตียนในโครินท์ให้ “ตีแผ่ใจ”? (ข) เราจะทำอะไรได้เพื่อส่งเสริมความรักใคร่ภายในประชาคม?
8 เพื่อจะแสดงความรักใคร่เช่นนั้นอย่างเต็มที่ เราอาจต้อง “ตีแผ่ใจ” ของเรา. อัครสาวกเปาโลเขียนถึงประชาคมในโครินท์ว่า “หัวใจเราเปิดกว้างแล้ว ท่านไม่คับที่ภายในเรา.” เปาโลกระตุ้นพวกเขาให้ “ตีแผ่ใจ” เช่นกัน. (2 โกรินโธ 6:11-13, ล.ม.) คุณจะ “ตีแผ่” ความรักใคร่ของคุณด้วยได้ไหม? คุณไม่จำเป็นต้องคอยให้คนอื่นเป็นฝ่ายเริ่มก่อน. ในจดหมายถึงคริสเตียนในกรุงโรม เปาโลเชื่อมโยงความจำเป็นที่จะมีความรักใคร่อันอ่อนละมุนเข้ากับคำแนะนำที่ว่า “ในการให้เกียรติกัน จงนำหน้า.” (โรม 12:10, ล.ม.) เพื่อให้เกียรติคนอื่น คุณสามารถเป็นฝ่ายริเริ่มทักทายพวกเขา ณ การประชุม. นอกจากนั้น คุณอาจชวนเขาไปด้วยในงานเผยแพร่ หรือเตรียมตัวสำหรับการประชุมด้วยกัน. การทำเช่นนั้นช่วยให้ความรักใคร่อันอ่อนละมุนมีมากขึ้น.
9. บางคนได้ทำอะไรเพื่อจะสนิทกับเพื่อนคริสเตียนมากขึ้น? (รวมถึงตัวอย่างในท้องถิ่น.)
9 แต่ละครอบครัวและแต่ละคนในประชาคม “ตีแผ่ใจ” ได้โดยการไปมาหาสู่กัน อาจรับประทานอาหารง่าย ๆ ด้วยกัน และร่วมทำกิจกรรมที่ดีงามด้วยกัน. (ลูกา 10:42; 14:12-14) ฮากอปจัดปิกนิกกลุ่มเล็ก ๆ เป็นครั้งคราว. เขาเล่าว่า “มีคนทุกวัยเข้าร่วม รวมถึงบิดามารดาไร้คู่. ทุกคนกลับบ้านด้วยความทรงจำที่เปี่ยมสุข และพวกเขารู้สึกใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น.” ฐานะคริสเตียน เราควรพยายามเป็นไม่ใช่แค่เพื่อนร่วมความเชื่อเท่านั้น แต่เป็นเพื่อนแท้ของกันและกันด้วย.—3 โยฮัน 14.
10. เราจะทำอะไรได้เมื่อเรามีปัญหากันกับพี่น้อง?
10 อย่างไรก็ตาม บางครั้งความไม่สมบูรณ์ก็อาจขัดขวางการพัฒนามิตรภาพและความรักใคร่. เราจะทำอะไรได้? ก่อนอื่น เราสามารถอธิษฐานขอให้เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับพี่น้องของเรา. พระเจ้าประสงค์ให้ผู้รับใช้ของพระองค์เข้ากันได้ดี และพระองค์จะทรงตอบคำอธิษฐานที่ทูล1 โยฮัน 4:20, 21; 5:14, 15) เราควรประพฤติสอดคล้องกับคำทูลอธิษฐานของเราด้วย. ริก ผู้ดูแลเดินทางคนหนึ่งในแอฟริกาตะวันออก เล่าเกี่ยวกับพี่น้องคนหนึ่งที่เป็นคนค่อนข้างก้าวร้าว ซึ่งทำให้ยากที่จะเข้ากันได้กับเขา. ริกอธิบายว่า “แทนที่จะหลีกห่างจากพี่น้องคนนั้น ผมตั้งใจจะรู้จักเขาให้ดีขึ้น จึงทำให้รู้ว่าพ่อของเขาเป็นคนที่เข้มงวดมาก. พอผมได้มาเข้าใจว่าเขาพยายามอย่างหนักที่จะเอาชนะบุคลิกภาพที่เป็นผลจากการเลี้ยงดูนี้ และเขาก้าวหน้าในเรื่องนี้ไปมากแล้ว ผมก็รู้สึกชื่นชมในตัวเขา และเรากลายเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน.”—1 เปโตร 4:8.
ขอจากใจจริงเช่นนั้น. (เปิดเผยความรู้สึกของคุณ!
11. (ก) อะไรเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาความรักใคร่ในประชาคม? (ข) เหตุใดการห่างเหินจากคนอื่นอาจก่อความเสียหายฝ่ายวิญญาณได้?
11 ในทุกวันนี้ มีหลายคนที่ในชีวิตไม่เคยสร้างมิตรภาพที่ใกล้ชิดสนิทสนมกับใคร ๆ เลย. ช่างน่าเศร้าจริง ๆ! แต่นี่ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในประชาคมคริสเตียน และไม่ควรจะเกิดขึ้นด้วย. ความรักฉันพี่น้องที่แท้จริงไม่ใช่แค่การสนทนากันอย่างสุภาพและการแสดงมารยาทที่ดี อีกทั้งไม่ใช่การแสดงอารมณ์ความรู้สึกอย่างมากมายต่อกัน. สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือ เราควรพร้อมจะเปิดใจของเรา เหมือนกับที่เปาโลเปิดใจอย่างเต็มที่ต่อพี่น้องในเมืองโครินท์ และเราแสดงให้เพื่อนร่วมความเชื่อเห็นว่าเราห่วงใยสวัสดิภาพของเขาจริง ๆ. แม้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่โดยธรรมชาติจะเป็นคนชอบพบปะผู้คนหรือชอบพูดคุย แต่การเป็นคนเก็บตัวมากเกินไปก็อาจก่อผลเสียได้. คัมภีร์ไบเบิลเตือนว่า “คนที่ปลีกตัวออกไปจากผู้อื่นจงใจจะทำตามตนเอง, และค้านคติแห่งปัญญาอันถูกต้องทั้งหลาย.”—สุภาษิต 18:1.
12. เหตุใดการสนทนาที่ดีจำเป็นต่อการสร้างสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดภายในประชาคม?
12 การสนทนาแบบไม่มีอะไรปิดบังเป็นพื้นฐานของมิตรภาพแท้. (โยฮัน 15:15) เราทุกคนจำเป็นต้องมีเพื่อนที่เราสามารถเผยความรู้สึกนึกคิดในส่วนลึกได้. นอกจากนี้ ยิ่งเรารู้จักกันดีมากเท่าใด เราก็ยิ่งง่ายที่จะสนองความจำเป็นของกันและกันมากเท่านั้น. เมื่อเราแต่ละคนแสดงความห่วงใยสวัสดิภาพของกันและกันด้วยวิธีนี้ เราช่วยให้ความรักใคร่อันอ่อนละมุนพัฒนาขึ้น และเราจะประสบความเป็นจริงแห่งคำตรัสของพระเยซูที่ว่า “การให้เป็นเหตุให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ.”—กิจการ 20:35; ฟิลิปปอย 2:1-4.
13. เราจะทำอะไรได้เพื่อแสดงว่าเรามีความรักใคร่แท้ต่อพี่น้องของเรา?
13 เพื่อให้ความรักใคร่ของเราก่อผลสูงสุด เราต้องแสดงออกมา. (สุภาษิต 27:5) เมื่อความรักใคร่ของเรามาจากใจจริง สีหน้าแววตาของเราคงจะเผยให้เห็น และนั่นอาจกระตุ้นหัวใจคนอื่นให้ตอบสนอง. สุภาษิตในคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ความสว่างแห่งดวงตาย่อมทำให้ใจโสมนัส.” (สุภาษิต 15:30) การกระทำที่คิดอย่างรอบคอบก็ช่วยส่งเสริมความ รักใคร่อันอ่อนละมุนเช่นกัน. แม้ว่าไม่มีใครซื้อความรักใคร่แท้ได้ แต่ของขวัญที่ให้จากใจก็อาจมีความหมายมาก. การ์ด, จดหมาย, และ “คำพูดที่เหมาะกับกาลเทศะ” ล้วนสามารถบ่งบอกถึงความรักใคร่จากใจจริง. (สุภาษิต 25:11; 27:9) เมื่อเราได้สร้างมิตรภาพกับคนอื่นแล้ว เราต้องทะนุถนอมไว้ด้วยการแสดงความรักใคร่อย่างใจกว้างต่อ ๆ ไป. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่จำเป็น เราย่อมปรารถนาจะช่วยเหลือเพื่อนของเรา. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “มิตรแท้ย่อมรักอยู่ทุกเวลา และเป็นพี่น้องซึ่งเกิดมาเพื่อยามที่มีความทุกข์ยาก.”—สุภาษิต 17:17, ล.ม.
14. เราจะทำอะไรได้หากมีบางคนดูเหมือนไม่ตอบสนองการแสดงความรักใคร่ของเรา?
14 ตามความเป็นจริง เราไม่อาจคาดหมายได้ว่าจะสนิทกับทุกคนในประชาคม. เป็นธรรมดาที่จะมีใครบางคนที่เรารู้สึกสนิทมากกว่าคนอื่น. ฉะนั้น ถ้าหากมีใครที่ดูเหมือนไม่สนิทกับคุณอย่างที่อยากให้เป็น ก็อย่าด่วนสรุปว่ามีอะไรผิดไปในตัวคุณหรือตัวเขา. และอย่าพยายามรุกเร้าเขาให้มาสนิทกับคุณให้ได้. หากคุณเพียงแต่แสดงความเป็นมิตรกับบุคคลนั้นเท่าที่เขาเปิดโอกาสให้ คุณก็ได้เปิดประตูไว้แล้วสำหรับการสร้างมิตรภาพที่ใกล้ชิดต่อกันมากขึ้นในอนาคต.
“เราชอบใจท่านมาก”
15. การให้หรือไม่ให้การชมเชยก่อผลเช่นไรต่อคนอื่น?
15 พระเยซูคงรู้สึกเบิกบานพระทัยสักเพียงไรเมื่อได้ยินพระสุรเสียงจากฟ้าในคราวที่พระองค์รับบัพติสมาว่า “เราชอบใจท่านมาก”! (มาระโก 1:11) คำตรัสที่แสดงถึงความพอพระทัยนี้คงเสริมความมั่นใจแก่พระเยซูว่า พระองค์เป็นที่รักใคร่ของพระบิดา. (โยฮัน 5:20) น่าเศร้า บางคนไม่เคยได้ยินการชมเชยเช่นนั้นจากคนที่เขารักและเคารพเลย. แอนน์ให้ความเห็นว่า “มีเด็กหลายคนเหมือนหนูที่ไม่มีใครในครอบครัวเป็นคริสเตียน เมื่ออยู่ที่บ้านเราได้ยินแต่คำตำหนิติเตียน ซึ่งทำให้เราเสียใจมาก.” แต่พอเยาวชนเหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนของประชาคม พวกเขารู้สึกถึงความอบอุ่นจากครอบครัวฝ่ายวิญญาณที่คอยห่วงใยและให้การเกื้อหนุน ซึ่งก็ได้แก่พ่อแม่พี่น้องในความเชื่อ.—มาระโก 10:29, 30; ฆะลาเตีย 6:10.
16. เหตุใดการแสดงเจตคติแบบที่ตำหนิวิจารณ์คนอื่นจึงไม่ก่อประโยชน์?
16 ในบางวัฒนธรรม พ่อแม่, ผู้ใหญ่, ครูบาอาจารย์ ไม่ค่อยแสดงความชื่นชมเด็ก ๆ อย่างสุดหัวใจเท่าไรนัก โดยคิดว่าการให้คำชมเชยอย่างนั้นอาจทำให้เด็กเหลิงหรือหลงตัวเอง. ความคิดเช่นนั้นอาจมีอยู่ในครอบครัวและประชาคมคริสเตียนด้วยซ้ำ. เมื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับส่วนมอบหมายที่ทำบนเวทีหรือความพยายามในเรื่องอื่น ๆ คนที่เป็นผู้ใหญ่อาจพูดว่า “เธอทำได้ดี แต่เธอทำให้ดีกว่านี้ได้!” หรือในวิธีอื่นอีกที่ผู้ใหญ่อาจกระทั่งแสดงออกมาว่าเด็ก ๆ ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ. ด้วยการทำเช่นนั้น หลายคนเชื่อว่าตนกำลังกระตุ้นให้เด็ก ๆ ดึงเอาศักยภาพของเขาออกมาเต็มที่. แต่บ่อยครั้งที่วิธีนี้ก่อผลในทางตรงข้าม เนื่องจากเด็กอาจท้อถอย หรือรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถจะทำได้ดีพอ.
17. ทำไมเราควรหาโอกาสที่จะชมเชยผู้อื่น?
17 อย่างไรก็ตาม ไม่ควรกล่าวคำชมเพียงเพื่อเป็นวิธีกรุยทางไปสู่การให้คำแนะนำ. การให้คำชมเชยจากใจจริงส่งเสริมความรักใคร่อันอ่อนละมุนภายในครอบครัวและประชาคม และโดยวิธีนี้เป็นการกระตุ้นให้เยาวชนแสวงหาเอเฟโซ 4:24, ล.ม.
คำแนะนำจากพี่น้องที่มีประสบการณ์. ดังนั้น แทนที่จะให้วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดว่าเราควรปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไร ขอให้เรา “สวมบุคลิกภาพใหม่ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าในความชอบธรรมและความภักดีที่แท้จริง.” จงชมเชยเหมือนอย่างที่พระยะโฮวาทรงทำ.—18. (ก) เยาวชนควรมองคำแนะนำที่ได้รับจากผู้ใหญ่อย่างไร? (ข) ทำไมผู้ใหญ่คิดอย่างรอบคอบว่าจะให้คำแนะนำอย่างไร?
18 ในอีกด้านหนึ่ง เยาวชนไม่ควรคิดว่าถ้าผู้ใหญ่ให้คำแนะนำแก้ไข นั่นแสดงว่าเขาไม่ชอบคุณ. (ท่านผู้ประกาศ 7:9) ตรงกันข้ามเลย! ที่พวกเขาทำเช่นนั้นก็คงเพราะได้รับการกระตุ้นจากความห่วงใยและความรักใคร่ที่มีต่อคุณอย่างลึกซึ้ง. ไม่อย่างนั้นแล้ว พวกเขาจะใช้ความพยายามเพื่อพูดกับคุณในเรื่องนั้นทำไมกัน? เนื่องจากตระหนักว่าคำพูดสามารถก่อผลกระทบ ผู้ใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครองในประชาคม บ่อยครั้งจึงใช้เวลามากในการคิดและอธิษฐานก่อนจะให้คำแนะนำใด ๆ เนื่องจากพวกเขาต้องการให้เกิดผลแต่ในทางที่ดี.—1 เปโตร 5:5.
“พระยะโฮวาทรงเปี่ยมไปด้วยความรักใคร่อันอ่อนละมุน”
19. ทำไมผู้ที่ประสบความผิดหวังจึงสามารถหมายพึ่งการเกื้อหนุนจากพระยะโฮวา?
19 การไม่ได้รับการตอบสนองที่ดีอาจทำให้บางคนรู้สึกว่าการแสดงความรักใคร่อันอ่อนละมุนคงมีแต่จะทำให้ผิดหวังอีก. พวกเขาจำต้องไม่หวั่นกลัวและมีความเชื่อมั่นหนักแน่นเพื่อว่าจะเปิดใจของตนต่อผู้อื่นอีกครั้ง. แต่พวกเขาไม่ควรลืมว่าพระยะโฮวา “มิทรงอยู่ห่างไกลจากเราทุกคน.” พระองค์ทรงเชิญเราให้เข้าใกล้พระองค์. (กิจการ 17:27; ยาโกโบ 4:8) นอกจากนี้ พระองค์ทรงเข้าใจความรู้สึกของเราที่กลัวว่าจะถูกทำให้ช้ำใจ และทรงสัญญาว่าจะเกื้อหนุนและช่วยเหลือเรา. ดาวิดผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญให้คำรับรองว่า “พระยะโฮวาทรงอยู่ใกล้คนที่หัวใจสลาย; และคนที่จิตใจชอกช้ำพระองค์ทรงช่วยให้รอด.”—บทเพลงสรรเสริญ 34:18, ล.ม.
20, 21. (ก) เราทราบได้อย่างไรว่าเราสามารถมีสัมพันธภาพใกล้ชิดกับพระยะโฮวา? (ข) อะไรเป็นข้อเรียกร้องสำหรับการมีสัมพันธภาพใกล้ชิดกับพระยะโฮวา?
20 มิตรภาพใกล้ชิดกับพระยะโฮวาเป็นสายสัมพันธ์อันสำคัญที่สุดที่เราจะพัฒนาได้. แต่การมีความผูกพันแบบนั้นจะเป็นไปได้จริง ๆ หรือ? ใช่แล้ว. คัมภีร์ไบเบิลบอกให้ทราบเกี่ยวกับชายหญิงผู้ชอบธรรมที่รู้สึกผูกพันใกล้ชิดกันมากกับพระบิดาของเราผู้สถิตในสวรรค์. คำพรรณนาที่แสดงความรู้สึกอบอุ่นของพวกเขามีบันทึกไว้เพื่อให้เรามั่นใจว่า เราก็สามารถเข้าใกล้พระยะโฮวาได้เช่นกัน.—บทเพลงสรรเสริญ 23, 34, 139; โยฮัน 16:27; โรม 15:4.
21 ข้อเรียกร้องของพระยะโฮวาสำหรับการมีสัมพันธภาพใกล้ชิดกับพระองค์นั้นทุกคนสามารถทำตามได้. ดาวิดถามว่า “ข้าแต่พระยะโฮวา, ผู้ใดจะพักอยู่ในพลับพลาของพระองค์?” และท่านตอบว่า “คือคนที่ประพฤติเที่ยงตรง, ที่กระทำการยุติธรรม, และพูดแต่คำจริงจากใจของตน.” (บทเพลงสรรเสริญ 15:1, 2; 25:14) เมื่อเราเห็นว่าการรับใช้พระเจ้าก่อผลดีแก่เรา ทำให้เราได้รับการชี้นำและการปกป้องจากพระองค์ เราก็จะได้มารู้ว่า “พระยะโฮวาทรงเปี่ยมไปด้วยความรักใคร่อันอ่อนละมุน.”—ยาโกโบ 5:11, ล.ม.
22. พระยะโฮวาปรารถนาให้ประชาชนของพระองค์มีสัมพันธภาพแบบใด?
22 การที่พระยะโฮวาปรารถนาจะมีสัมพันธภาพเป็นส่วนตัวกับมนุษย์ไม่สมบูรณ์นั้นช่างเป็นพระพรสำหรับเราเสียจริง ๆ! ด้วยเหตุนี้ เราควรจะแสดงความรักใคร่อันอ่อนละมุนต่อกันมิใช่หรือ? ด้วยความช่วยเหลือจากพระยะโฮวา เราแต่ละคนสามารถให้และรับความรักใคร่อันอ่อนละมุนที่เป็นลักษณะเฉพาะของสังคมพี่น้องคริสเตียนของเรา. ภายใต้ราชอาณาจักรของพระเจ้า ทุกคนบนแผ่นดินโลกจะรู้สึกถึงความรักใคร่เช่นนี้ไปตลอดกาล.
คุณอธิบายได้ไหม?
• บรรยากาศในประชาคมคริสเตียนควรเป็นแบบใด?
• เราแต่ละคนจะทำอะไรได้เพื่อส่งเสริมความรักใคร่อันอ่อนละมุนในประชาคม?
• คำชมเชยจากใจจริงส่งเสริมความรักใคร่แบบคริสเตียนอย่างไร?
• ความรักใคร่อันอ่อนละมุนของพระยะโฮวาเกื้อหนุนและค้ำจุนเราอย่างไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 15]
การแสดงความรักท่ามกลางคริสเตียนไม่ใช่เป็นเพียงพันธะหน้าที่
[ภาพหน้า 16, 17]
คุณจะ “ตีแผ่” ความรักใคร่ของคุณได้ไหม?
[ภาพหน้า 18]
คุณวิจารณ์หรือให้กำลังใจ?