คุณรู้จักความสุขที่เกิดจากการให้ไหม?
คุณรู้จักความสุขที่เกิดจากการให้ไหม?
พี่น้องหญิงคริสเตียนที่ซื่อสัตย์คนหนึ่งใช้เวลาเกือบ 50 ปีทำงานรับใช้ฝ่ายคริสเตียนอย่างแข็งขัน. แม้ผลกระทบจากวัยชราทำให้ร่างกายอ่อนแอลง แต่เธอก็ตั้งใจแน่วแน่ที่จะไปเยี่ยมชมหอประชุมที่สร้างขึ้นใหม่. โดยอาศัยพี่น้องชายคริสเตียนคนหนึ่งช่วยพยุง เธอเข้าไปในหอประชุมและเดินช้า ๆ แต่ตรงดิ่งไปยังเป้าหมาย ซึ่งก็คือกล่องบริจาค. เธอใส่เงินจำนวนพอประมาณลงในกล่อง ซึ่งเป็นเงินที่เธอเก็บไว้เพื่อจุดประสงค์นี้โดยเฉพาะ. แม้ไม่สามารถออกแรงช่วยก่อสร้างหอประชุม แต่เธอก็อยากจะช่วย.
สตรีคริสเตียนคนนี้อาจเตือนให้คุณนึกถึงสตรีที่ซื่อสัตย์อีกคนหนึ่ง นั่นคือ “หญิงม่ายคนหนึ่งเป็นคนจน” ซึ่งพระเยซูสังเกตเห็นขณะนางใส่เงินสองสตางค์เล็ก ๆ ในตู้เก็บเงินถวายในพระวิหาร. เราไม่รู้สภาพการณ์ของนาง แต่การมีชีวิตอยู่ในตอนนั้นโดยไม่มีสามีอาจทำให้หญิงคนนี้ตกอยู่ในฐานะลำบากทางการเงิน. พระเยซูรู้สึกเห็นใจนางอย่างแน่นอน เนื่องจากทรงเข้าใจสภาพของนางจริง ๆ. โดยการยกเรื่องของนางขึ้นมาเป็นตัวอย่างแก่เหล่าสาวก พระองค์ให้ข้อสังเกตว่า การให้อันน้อยนิดของนางเป็นการให้ “เงินที่มีอยู่สำหรับเลี้ยงชีวิตของตน . . . จนหมด.”—มาระโก 12:41-44.
เหตุใดสตรีที่ขัดสนอย่างหญิงม่ายยากจนคนนั้นจึงเสียสละขนาดนี้? เห็นได้ชัดว่า เป็นเพราะนางมีความเลื่อมใสอย่างแท้จริงต่อพระยะโฮวาพระเจ้า ซึ่งการนมัสการรวมจุดอยู่ที่พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม. แม้ทำได้ไม่มาก แต่นางก็อยากส่งเสริมการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์. และนางคงต้องรู้สึกมีความยินดีอย่างแท้จริงในการให้ไม่ว่าสามารถทำได้ขนาดไหนก็ตาม.
การให้เพื่อสนับสนุนการงานของพระยะโฮวา
การบริจาควัตถุเงินทองเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการนมัสการแท้เสมอมา และเป็นแหล่งแห่งความชื่นชมยินดีอย่างมาก. (1 โครนิกา 29:9) ในสมัยอิสราเอลโบราณ การบริจาคไม่ได้ทำเพียงเพื่อตกแต่งพระวิหาร แต่เพื่อดูแลการปฏิบัติงานประจำวันในทุกแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับการนมัสการพระยะโฮวาด้วย. พระบัญญัติระบุว่า เหล่าบุตรของอิสราเอลต้องบริจาคหนึ่งในสิบของผลผลิตเพื่อสนับสนุนพวกเลวีที่ทำงานรับใช้ในพระวิหาร. แต่พวกเลวีก็ต้องถวายพระยะโฮวาหนึ่งในสิบของผลผลิตที่พวกเขาได้รับเช่นกัน.—อาฤธโม 18:21-29.
ฆะลาเตีย 5:1) นอกจากนี้ คริสเตียนในสมัยศตวรรษแรกตระหนักว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่ได้บริจาคเพื่อบรรเทาทุกข์พี่น้องที่ขาดแคลน. (กิจการ 2:45, 46) อัครสาวกเปาโลเตือนคริสเตียนว่า เช่นเดียวกับที่พระเจ้าได้ทรงประทานสิ่งดีต่าง ๆ ให้พวกเขาอย่างใจกว้าง ดังนั้น พวกเขาก็ควรแสดงความใจกว้างต่อผู้อื่นด้วย. ท่านเขียนว่า “ท่านจงกำชับคนเหล่านั้นที่มั่งมีฝ่ายโลกอย่าให้มีใจถือมานะทิฏฐิ, อย่าให้ความหวังของเขาอิงอยู่กับทรัพย์อนิจจัง, แต่ให้หวังในพระเจ้าผู้ทรงประทานสิ่งสารพัตรให้แก่เราอย่างบริบูรณ์เพื่อจะให้เราใช้ด้วยความปีติยินดี ท่านจงกำชับเขาให้กระทำการดี, ให้ร่ำรวยในการดีนั้น, ให้มีใจพร้อมที่จะให้ทาน, ให้มีใจกว้างขวาง, และสะสมไว้เป็นรากอันดีสำหรับตัวของตนเผื่อเวลาข้างหน้า, เพื่อเขาจะได้ยึดเอาชีวิตซึ่งเป็นชีวิตจริง ๆ นั้น.” (1 ติโมเธียว 6:17-19; 2 โกรินโธ 9:11) ที่จริง เปาโลสามารถยืนยันถ้อยคำของพระเยซูได้จากประสบการณ์ส่วนตัวของท่าน นั่นคือถ้อยคำที่ว่า “การให้เป็นเหตุให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ.”—กิจการ 20:35.
แม้คริสเตียนไม่มีพันธะที่จะทำตามข้อเรียกร้องของสัญญาไมตรีแห่งพระบัญญัติ แต่หลักการที่ว่า ผู้รับใช้พระเจ้าบริจาคสิ่งฝ่ายวัตถุเพื่อสนับสนุนการนมัสการแท้ก็ไม่เปลี่ยนแปลง. (การให้ของคริสเตียนในทุกวันนี้
ทุกวันนี้ ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาใช้ทรัพย์ของตนเพื่อช่วยเหลือคนอื่นให้สนับสนุนการงานของพระเจ้าต่อ ๆ ไป. แม้แต่คนที่มีเงินทองไม่มากก็ยังบริจาคสิ่งที่เขาสามารถให้ได้. “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” รู้สึกถึงหน้าที่รับผิดชอบต่อพระยะโฮวาที่จะใช้เงินบริจาคอย่างดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้. (มัดธาย 24:45, ล.ม.) เงินทุนถูกใช้เพื่อการดำเนินงานในสาขา, งานแปลและการผลิตคัมภีร์ไบเบิลและสรรพหนังสือที่อธิบายคัมภีร์ไบเบิล, จัดเตรียมการประชุมใหญ่ของคริสเตียน, ฝึกอบรมและส่งผู้ดูแลเดินทางและมิชชันนารี, จัดเตรียมการบรรเทาทุกข์, และสำหรับใช้ในวัตถุประสงค์ที่จำเป็นอื่น ๆ อีกหลายอย่าง. ขอให้เรามุ่งความสนใจไปยังวัตถุประสงค์ดังกล่าวประการหนึ่ง นั่นคือเพื่อจัดให้มีสถานนมัสการ.
พยานพระยะโฮวาพบปะกันหลายครั้งในหนึ่งสัปดาห์ที่หอประชุมราชอาณาจักรเพื่อรับประโยชน์จากการอบรมทางฝ่ายวิญญาณและการคบหาที่เป็นประโยชน์. อย่างไรก็ตาม ในหลายดินแดน สภาพทางเศรษฐกิจทำให้พยานฯ ในบางท้องถิ่นไม่มีทุนพอที่จะสร้างหอประชุมราชอาณาจักรโดยไม่พึ่งความช่วยเหลือทางการเงินก่อนในตอนแรก. ด้วยเหตุนี้ ในปี 1999 พยานพระยะโฮวาจึงเริ่มโครงการใช้
เงินทุนจากประเทศที่ร่ำรวยกว่าเพื่อช่วยสร้างหอประชุมในประเทศที่ยากจนกว่า. นอกจากนี้ อาสาสมัครนับพันคนได้อุทิศเวลาและทักษะของตนทำงานในเขตที่มักจะอยู่ห่างไกลในประเทศเหล่านี้. ในช่วงการก่อสร้าง พยานฯ ในท้องถิ่นเรียนรู้ทักษะการสร้างและการซ่อมบำรุง และเงินกองทุนหอประชุมราชอาณาจักรก็ทำให้สามารถซื้อเครื่องมือและวัสดุที่จำเป็นได้. พยานฯ ที่ใช้หอประชุมใหม่เหล่านี้ในปัจจุบันรู้สึกหยั่งรู้ค่าอย่างสุดซึ้งที่เพื่อนร่วมความเชื่อของพวกเขาได้อุทิศเวลาและเงินทอง. พยานฯ ในท้องถิ่นยังบริจาคทุกเดือนเพื่อบำรุงรักษาหอประชุมหลังใหม่และช่วยใช้คืนค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ด้วยวิธีนี้ จึงเป็นการช่วยก่อสร้างหอประชุมราชอาณาจักรให้เพิ่มมากขึ้น.มีการสร้างหอประชุมราชอาณาจักรโดยใช้วัสดุและวิธีการของท้องถิ่นนั้น ๆ. แม้หอประชุมเหล่านี้ไม่วิจิตรบรรจง แต่ก็น่าดึงดูดใจ, ใช้การได้จริง, และสะดวกสบาย. เมื่อโครงการก่อสร้างเริ่มต้นในปี 1999 มีประเทศที่มีทุนจำกัดประมาณ 40 ประเทศรวมอยู่ในโครงการ. และนับแต่นั้นมา โครงการก่อสร้างได้ขยายออกไปทั่วโลก 116 ดินแดน เกี่ยวข้องกับประชาคมของพยานพระยะโฮวาทั่วโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด. ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา มีหอประชุมราชอาณาจักรมากกว่า 9,000 แห่งที่สร้างเสร็จโดยอาศัยการจัดเตรียมนี้ เฉลี่ยแล้วมีการสร้างหอประชุมใหม่มากกว่า 5 แห่งทุกวัน! กระนั้น ใน 116 ดินแดนนี้ก็ยังคงมีความต้องการหอประชุมราชอาณาจักรใหม่อีก 14,500 แห่ง. ด้วยการอวยพระพรจากพระยะโฮวาและโดยทางความตั้งใจและความมีใจกว้างของพยานฯ ตลอดทั่วโลก จึงมีความหวังว่า เราจะมีเงินทุนเพียงพอที่จะสามารถสนองความจำเป็นในเรื่องนี้ได้.—บทเพลงสรรเสริญ 127:1.
หอประชุมราชอาณาจักรส่งเสริมความก้าวหน้า
ความพยายามอย่างหนักนี้มีผลกระทบอย่างไรต่อพยานฯ และงานประกาศราชอาณาจักรในท้องถิ่น? ในหลายพื้นที่ ผู้เข้าร่วมประชุมมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่งหลังจากหอประชุมราชอาณาจักรใหม่สร้างขึ้น. ตัวอย่างที่เห็นได้ทั่วไปพบในรายงานจากบุรุนดี: “ทันทีที่หอประชุมราชอาณาจักรสร้างเสร็จ คนก็เต็มหอประชุม. ตัวอย่างเช่น หอประชุมหนึ่งสร้างขึ้นสำหรับประชาคมที่มีผู้เข้าร่วมประชุมโดยเฉลี่ย 100 คน. หอประชุมใหม่นั่งได้สบาย ๆ 150 ที่นั่ง. เมื่อสร้างเสร็จ มีผู้เข้าร่วมประชุม 250 คน.”
เหตุใดจึงมีการเพิ่มจำนวนเช่นนี้? เหตุผลหนึ่งคือ กลุ่มผู้ประกาศซึ่งไม่มีสถานที่ประชุมอย่างเป็นทางการแต่ต้องประชุมกันใต้ต้นไม้หรือที่ทุ่งนา บางครั้งถูกมองด้วยความ
สงสัย. ในดินแดนหนึ่ง ความรุนแรงระหว่างชาติพันธุ์เกี่ยวข้องกับศาสนากลุ่มเล็ก ๆ เช่นนั้น และกฎหมายเรียกร้องให้การประชุมทางศาสนาทุกอย่างต้องจัดขึ้นในอาคารสำหรับนมัสการ.การมีหอประชุมราชอาณาจักรเป็นของตนเองยังช่วยให้พยานพระยะโฮวาแสดงให้ชุมชนเห็นว่า พวกเขาไม่ใช่สาวกของนักเทศน์คนใดคนหนึ่ง. สำนักงานสาขาของพยานพระยะโฮวาในซิมบับเวรายงานว่า “ในอดีต พี่น้องในเขตนี้ประชุมกันในบ้านส่วนตัว และผู้คนในท้องถิ่นเรียกประชาคมด้วยชื่อเจ้าของบ้านที่เขาไปประชุม. พวกเขาเรียกพี่น้องว่าสังกัดอยู่ในคริสตจักรของคนนั้นหรือคนนี้. ขณะนี้ ทุกสิ่งเปลี่ยนไป เมื่อผู้คนเห็นป้ายที่ชัดเจน โดยเรียกหอประชุมแต่ละแห่งว่า ‘หอประชุมราชอาณาจักรของพยานพระยะโฮวา.’ ”
ผู้ให้ด้วยใจยินดี
อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “พระเจ้าทรงรักคนนั้นที่ให้ด้วยใจยินดี.” (2 โกรินโธ 9:7) แน่นอนว่า การบริจาคจำนวนมากเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง. แต่เงินกองทุนส่วนใหญ่ที่ บริจาคเพื่องานของพยานพระยะโฮวามาจากกล่องบริจาคในหอประชุมราชอาณาจักร. ไม่ว่าจะบริจาคมากหรือน้อย ทุกการบริจาคล้วนสำคัญทั้งสิ้นและจะไม่ถูกมองข้าม. เมื่อระลึกถึงว่า พระเยซูยืนอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นหญิงม่ายยากจนบริจาคเงินสองเหรียญเล็ก ๆ. ทูตสวรรค์และพระยะโฮวาก็มองเห็นนางเช่นกัน. เราไม่รู้ชื่อของหญิงม่ายด้วยซ้ำ แต่พระยะโฮวาทรงดูแลให้การกระทำอันไม่เห็นแก่ตัวของนางถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์ไบเบิลตลอดไป.
นอกจากจะใช้สร้างหอประชุมราชอาณาจักรแล้ว การบริจาคของเรายังสนับสนุนการงานแห่งราชอาณาจักรทุกด้านที่สำคัญ. การให้ความร่วมมือในวิธีนี้ทำให้เรามีเหตุผลที่จะชื่นชมยินดีและยังเป็น “เหตุให้ขอบพระคุณ . . . พระเจ้าเป็นอันมาก.” (2 โกรินโธ 9:12) พี่น้องคริสเตียนของเราในเบนินรายงานว่า “มีคำอธิษฐานขอบพระคุณพระยะโฮวาทุกวันสำหรับความช่วยเหลือด้านการเงินที่ได้รับจากภราดรภาพนานาชาติ.” ในขณะเดียวกัน เราทุกคนที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนด้านการเงินแก่งานราชอาณาจักรจะประสบกับความสุขที่เกิดจากการให้ของคริสเตียน!
[กรอบ/ภาพหน้า 22, 23]
วิธีต่าง ๆ ที่บางคนเลือกใช้ในการให้
การบริจาคสำหรับงานทั่วโลก
หลายคนกันเงินหรือจัดงบประมาณไว้จำนวนหนึ่งซึ่งเขาจะใส่ในกล่องบริจาคที่ติดป้ายว่า “เงินบริจาคสำหรับงานประกาศข่าวดีทั่วโลก—มัดธาย 24:14.”
แต่ละเดือน ประชาคมต่าง ๆ จะส่งเงินเหล่านั้นไปยังสำนักงานของพยานพระยะโฮวาที่ดูแลประเทศนั้น ๆ. เงินบริจาคโดยสมัครใจอาจส่งตรงถึง Watch Tower Bible and Tract Society of Pennsylvania, c/o Office of the Secretary and Treasurer, 25 Columbia Heights, Brooklyn, New York 11201-2483 หรือถึงสำนักงานสาขาซึ่งดำเนินงานในประเทศของคุณ. เช็คควรสั่งจ่ายในนาม “Watch Tower.” อาจบริจาคอัญมณีหรือของมีค่าอื่น ๆ ได้ด้วย. ควรแนบจดหมายสั้น ๆ ไปกับของบริจาค โดยระบุว่าเป็นของที่ยกให้โดยไม่มีเงื่อนไข.
การบริจาคแบบมีเงื่อนไข
อาจมอบเงินให้ว็อชเทาเวอร์ใช้ประโยชน์. อย่างไรก็ตาม สามารถร้องขอเงินคืนได้. สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อสำนักงานเลขาธิการและเหรัญญิกตามที่อยู่ข้างต้น.
การให้แบบเตรียมการ
นอกจากเงินที่ยกให้โดยไม่มีเงื่อนไขแล้ว ยังมีวิธีการให้แบบอื่นอีกเพื่อประโยชน์แก่งานราชอาณาจักรทั่วโลก. วิธีให้เหล่านี้รวมถึง:
เงินประกัน: อาจระบุชื่อว็อชเทาเวอร์ [ในประเทศไทย: มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาพระคัมภีร์] ให้เป็นผู้รับประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันชีวิต หรือเงินบำเหน็จบำนาญ.
บัญชีเงินฝาก: บัญชีเงินฝาก, ใบรับเงินฝากที่เปลี่ยนมือได้, หรือบัญชีเงินบำนาญส่วนบุคคลอาจมอบไว้ในความดูแลของว็อชเทาเวอร์ หรือให้ว็อชเทาเวอร์เบิกได้เมื่อเจ้าของบัญชีสิ้นชีวิต โดยเป็นไปตามข้อกำหนดของธนาคารท้องถิ่น.
หุ้นและพันธบัตร: อาจบริจาคหุ้นและพันธบัตรแก่ว็อชเทาเวอร์ด้วยการยกให้โดยไม่มีเงื่อนไข.
อสังหาริมทรัพย์: อาจบริจาคอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถขายได้ ไม่ว่าด้วยการยกให้โดยไม่มีเงื่อนไข หรือโดยการสงวนสิทธิ์ไว้สำหรับผู้บริจาคซึ่งจะอาศัยในบ้านหรือที่ดินนั้นจนสิ้นชีวิตในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นเป็นที่พักอาศัย. ควรติดต่อกับสำนักงานสาขาในประเทศของคุณก่อนจะทำการโอนอสังหาริมทรัพย์ใด ๆ.
เงินรายปีที่เป็นของขวัญ: เป็นการจัดเตรียมที่คนหนึ่งโอนเงินหรือหลักทรัพย์ให้แก่ว็อชเทาเวอร์. ส่วนผู้บริจาค หรือคนที่ผู้บริจาคได้ระบุชื่อไว้ ได้รับเงินรายปีตามที่กำหนดไว้เพื่อเลี้ยงชีพ. ผู้บริจาคได้รับการหักภาษีเงินได้ในปีที่มีการกำหนดเงินรายปีนั้น.
พินัยกรรม: อาจยกทรัพย์สินหรือเงินให้แก่ว็อชเทาเวอร์ [หรือมูลนิธิฯ] ด้วยการทำพินัยกรรมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรืออาจระบุชื่อว็อชเทาเวอร์ [หรือมูลนิธิฯ] เป็นผู้รับประโยชน์ตามข้อตกลงว่าด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอันเป็นประโยชน์ต่อองค์การศาสนาอาจมีข้อดีตรงที่ได้รับการยกเว้นภาษี.
ตามความหมายของสำนวนที่ว่า “การให้แบบเตรียมการ” ผู้บริจาคตามวิธีเหล่านี้คงต้องวางแผนอยู่บ้าง. เพื่อช่วยผู้ซึ่งประสงค์จะสนับสนุนงานทั่วโลกของพยานพระยะโฮวาโดยการให้แบบเตรียมการบางประเภทนั้น จึงมีการจัดเตรียมจุลสารเป็นภาษาอังกฤษและภาษาสเปนชื่อ การให้แบบเตรียมการเพื่องานราชอาณาจักรทั่วโลก. จุลสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีต่าง ๆ ที่อาจทำได้ในการบริจาคไม่ว่าในเวลานี้หรือจะทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เมื่อตนเสียชีวิต. หลังจากอ่านจุลสารนี้และปรึกษากับที่ปรึกษาทางกฎหมายหรือภาษีของตนแล้ว หลายคนจึงสามารถสนับสนุนพยานพระยะโฮวาทั่วโลก และขณะเดียวกันก็ได้รับประโยชน์สูงสุดในเรื่องการเสียภาษีสืบเนื่องจากการบริจาคนั้น. จะรับจุลสารนี้ได้โดยเขียนไปขอโดยตรงจากแผนกการให้แบบเตรียมการ.
เพื่อได้ข้อมูลเพิ่มเติม คุณอาจจะเขียนหรือโทรศัพท์ถึงแผนกการให้แบบเตรียมการตามที่อยู่ข้างล่างนี้ หรือติดต่อสำนักงานของพยานพระยะโฮวาซึ่งดำเนินงานในประเทศของคุณ.
แผนกการให้แบบเตรียมการ
Watch Tower Bible and Tract Society of Pennsylvania
100 Watchtower Drive,
Patterson, New York 12563-9204 Telephone: (845) 306-0707
มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาพระคัมภีร์ ตู้ ปณ. 7 คลองจั่น กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์: 0-2375-2200
[ภาพหน้า 20, 21]
สถานที่ประชุมของพยานพระยะโฮวาหลังเก่าและใหม่
แซมเบีย
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง