ผู้รับใช้ที่มีความสุขของพระยะโฮวา
ผู้รับใช้ที่มีความสุขของพระยะโฮวา
“ความสุขมีแก่ผู้ที่รู้สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของตน.”—มัดธาย 5:3, ล.ม.
1. ความสุขแท้คืออะไร และสะท้อนถึงอะไร?
ประชาชนของพระยะโฮวาถือว่าความสุขที่พวกเขามีอยู่นั้นมีค่ายิ่ง. ดาวิดผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญกล่าวว่า “ชนประเทศ [“ประชาชน,” ล.ม.] ที่นับถือพระยะโฮวาเป็นพระเจ้าของตนก็เป็นผาสุก.” (บทเพลงสรรเสริญ 144:15) ความสุขคือความรู้สึกที่เกิดจากความอิ่มเอิบใจ. ความสุขที่ลึกล้ำที่สุดนั้นเกิดจากการรู้ว่าเราเป็นที่พอพระทัยพระยะโฮวา. (สุภาษิต 10:22) ความสุขเช่นนั้นแสดงให้เห็นว่าเรามีสัมพันธภาพใกล้ชิดกับพระบิดาของเราผู้สถิตในสวรรค์และรู้ว่าเรากำลังทำตามพระทัยประสงค์ของพระองค์. (บทเพลงสรรเสริญ 112:1; 119:1, 2) น่าสนใจที่พระเยซูตรัสถึงเหตุผลเก้าประการที่จะทำให้เรามีความสุข. การพิจารณาเหตุผลสำหรับความสุขในบทความนี้และบทความถัดไปจะช่วยเราตระหนักว่าเราสามารถมีความสุขสักเพียงไรหากเรารับใช้พระยะโฮวา “พระเจ้าผู้ประกอบด้วยความสุข” ด้วยความซื่อสัตย์.—1 ติโมเธียว 1:11.
การสำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของเรา
2. ในโอกาสใดที่พระเยซูตรัสเกี่ยวกับความสุข และอะไรคือคำตรัสเริ่มต้นของพระองค์?
2 ในปี ส.ศ. 31 พระเยซูกล่าวคำบรรยายที่นับเป็นหนึ่งในคำบรรยายอันเลื่องชื่อที่สุดในประวัติศาสตร์. คำบรรยายนั้นถูกเรียกว่าคำเทศน์บนภูเขา เนื่องจากพระเยซูประทานคำเทศน์ดังกล่าวบนไหล่เขาที่มองลงไปเห็นทะเลแกลิลี. กิตติคุณที่เขียนโดยมัดธายกล่าวว่า “เมื่อพระเยซูทอดพระเนตรเห็นฝูงชนจึงเสด็จขึ้นไปบนภูเขา และเมื่อประทับนั่งแล้ว เหล่าสาวกก็มาเฝ้าพระองค์ และพระองค์เริ่มตรัสสอนพวกเขาว่า ‘ความสุขมีแก่ผู้ที่รู้สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของตน เพราะราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์เป็นมัดธาย 5:1-3, ล.ม.) เมื่อแปลตามตัวอักษร คำตรัสเริ่มต้นของพระเยซูอ่านว่า “ความสุขมีแก่ผู้ขัดสนในด้านวิญญาณ” หรือ “ความสุขมีแก่ขอทานเพื่อวิญญาณ.” (มัดธาย 5:1-3; ฉบับแปลคิงดอม อินเตอร์ลิเนียร์; เชิงอรรถ) คัมภีร์ไบเบิลภาษาไทยฉบับแปลเก่าอ่านว่า “บุคคลผู้ใดรู้สึกบกพร่องฝ่ายวิญญาณก็เป็นสุข.”
ของเขา.’ ” (3. การเป็นคนถ่อมใจช่วยให้เรามีความสุขได้อย่างไร?
3 ในคำเทศน์บนไหล่เขานั้น พระเยซูชี้ให้เห็นว่าคนเราจะมีความสุขมากกว่าหากเขาสำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณ. คริสเตียนที่ถ่อมใจ ผู้สำนึกว่าตนเป็นคนบาป ทูลขอพระยะโฮวาให้อภัยเขาโดยอาศัยเครื่องบูชาไถ่ของพระคริสต์. (1 โยฮัน 1:9) โดยวิธีนี้ พวกเขาจึงมีสันติสุขในใจและประสบความสุขแท้. “ความสุขย่อมมีแก่ผู้ซึ่งพระเจ้าได้ทรงโปรดยกการล่วงละเมิด, และได้ทรงกลบเกลื่อนความบาปของเขาไว้แล้ว.”—บทเพลงสรรเสริญ 32:1; 119:165.
4. (ก) เราจะแสดงความสำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของตัวเราเองและของคนอื่นในทางใดได้บ้าง? (ข) อะไรทำให้เรามีความสุขยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อเราสำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของเรา?
4 การสำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณกระตุ้นเราให้อ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวัน, รับประโยชน์เต็มที่จากอาหารฝ่ายวิญญาณที่ “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” แจกจ่ายให้ “ในเวลาอันเหมาะ,” และเข้าร่วมประชุมคริสเตียนเป็นประจำ. (มัดธาย 24:45, ล.ม.; บทเพลงสรรเสริญ 1:1, 2; 119:111; เฮ็บราย 10:25) ความรักต่อเพื่อนบ้านทำให้เราสำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของคนอื่น และกระตุ้นให้เรากระตือรือร้นในการประกาศและการสอนข่าวดีเรื่องราชอาณาจักร. (มาระโก 13:10; โรม 1:14-16) การแบ่งปันความจริงในคัมภีร์ไบเบิลแก่คนอื่นทำให้เรามีความสุข. (กิจการ 20:20, 35) เรายิ่งมีความสุขมากขึ้นเมื่อตรึกตรองถึงความหวังอันยอดเยี่ยมเรื่องราชอาณาจักรและพระพรต่าง ๆ ที่ราชอาณาจักรนั้นจะนำมาให้. ความหวังเรื่องราชอาณาจักรสำหรับคริสเตียนผู้ถูกเจิมซึ่งเป็น “แกะฝูงเล็ก” คือการได้รับอมตชีพในสวรรค์ฐานะผู้ร่วมปกครองในราชอาณาจักรของพระคริสต์. (ลูกา 12:32, ล.ม.; 1 โกรินโธ 15:50, 54) ความหวังสำหรับ “แกะอื่น” คือการได้รับชีวิตนิรันดร์บนแผ่นดินโลกที่เป็นอุทยานภายใต้การปกครองแห่งราชอาณาจักรดังกล่าว.—โยฮัน 10:16; บทเพลงสรรเสริญ 37:11; มัดธาย 25:34, 46.
ผู้โศกเศร้าจะเป็นสุขได้อย่างไร?
5. (ก) อะไรคือความหมายของคำว่า ‘บุคคลผู้โศกเศร้า’? (ข) คนที่โศกเศร้าเช่นนั้นได้รับการปลอบโยนอย่างไร?
5 เหตุผลสำหรับความสุขประการถัดมาที่พระเยซูตรัสถึงนั้นดูเหมือนจะขัดแย้งกัน. พระเยซูตรัสว่า “บุคคลผู้ใดโศกเศร้าก็เป็นสุข, เพราะว่าเขาจะได้รับความบรรเทาทุกข์นั้น.” (มัดธาย 5:4) คนเราจะโศกเศร้าและขณะเดียวกันก็มีความสุขได้อย่างไร? เพื่อจะเข้าใจความหมายของคำตรัสนี้ของพระเยซู เราต้องพิจารณาว่าพระเยซูกำลังกล่าวถึงความโศกเศร้าชนิดใด. สาวกยาโกโบอธิบายว่าการเป็นคนบาปควรเป็นเหตุให้เราโศกเศร้า. ท่านเขียนว่า “คนบาปทั้งหลาย, จงชำระมือของตนเสีย และคนสองใจ, จงกระทำใจของตนให้บริสุทธิ์. จงเป็นทุกข์โศกเศร้าและร้องไห้ จงให้การหัวเราะของตนกลับกลายเป็นการโศกเศร้า, และความยินดีของตนจงให้กลับกลายเป็นความเศร้าหมอง. ท่านทั้งหลายจงถ่อมใจลงจำเพาะพระเนตรพระเจ้า, และพระองค์จะทรงโปรดยกชูท่านขึ้น.” (ยาโกโบ 4:8-10) คนที่เศร้าโศกเสียใจจริง ๆ ต่อการที่ตนเป็นคนบาปได้รับความบรรเทาทุกข์หรือการปลอบโยน เมื่อเรียนรู้ว่าตนสามารถได้รับการอภัยบาป หากแสดงความเชื่อในเครื่องบูชาไถ่ของพระคริสต์และสำแดงการกลับใจอย่างแท้จริง ด้วยการทำตามพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวา. (โยฮัน 3:16; 2 โกรินโธ 7:9, 10) โดยวิธีนี้ พวกเขาจึงสามารถมีสัมพันธภาพอันล้ำค่ากับพระยะโฮวา และมีความหวังที่จะมีชีวิตตลอดไปเพื่อรับใช้และสรรเสริญพระองค์. นี่ทำให้พวกเขามีความสุขลึกล้ำในใจ.—โรม 4:7, 8.
6. บางคนโศกเศร้าในแง่ใด และพวกเขาได้รับการปลอบโยนอย่างไร?
6 คำตรัสของพระเยซูยังรวมไปถึงคนที่โศกเศร้าเนื่องยะซายา 61:1, 2 (ล.ม.) กับพระองค์เองที่กล่าวว่า “พระวิญญาณแห่งพระยะโฮวาเจ้าองค์บรมมหิศรอยู่บนข้าพเจ้า เพราะเหตุที่พระยะโฮวาได้เจิมข้าพเจ้าให้ประกาศข่าวดีแก่คนถ่อม. พระองค์ได้ทรงใช้ข้าพเจ้าให้สมานหัวใจที่ชอกช้ำ . . . ให้ปลอบโยนบรรดาผู้เศร้าโศก.” งานนี้มอบหมายแก่เหล่าคริสเตียนผู้ถูกเจิมที่ยังอยู่บนแผ่นดินโลกเช่นกัน ซึ่งทำงานนี้ด้วยความช่วยเหลือจาก “แกะอื่น” สหายของพวกเขา. คนเหล่านี้ทุกคนเข้าส่วนร่วมในงานทำเครื่องหมายโดยนัยที่หน้าผากของ “คนทั้งปวงที่ร้องครางเพราะความชั่วลามกทั้งปวงที่กระทำอยู่ในท่ามกลางเมืองนั้น [เยรูซาเลมที่ออกหาก ซึ่งเป็นภาพเล็งถึงคริสต์ศาสนจักร].” (ยะเอศเคล 9:4) คนเศร้าโศกเช่นนั้นได้รับการปลอบโยนจาก “ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักร.” (มัดธาย 24:14, ล.ม.) พวกเขามีความสุขเมื่อรู้ว่าในอีกไม่ช้าระบบชั่วของซาตานจะถูกแทนที่ด้วยโลกใหม่อันชอบธรรมของพระยะโฮวา.
จากเห็นสภาพการณ์ที่ชั่วลามกหรือน่ารังเกียจซึ่งแพร่หลายในโลก. พระเยซูใช้คำพยากรณ์ในบุคคลผู้ใดมีใจอ่อนสุภาพก็เป็นสุข
7. คำว่า “ใจอ่อนสุภาพ” ไม่ได้หมายความเช่นไร?
7 พระเยซูตรัสต่อไปในคำเทศน์บนภูเขาว่า “บุคคลผู้ใดมีใจอ่อนสุภาพก็เป็นสุข, เพราะว่าเขาจะได้รับความยืนยงในแผ่นดินโลกเป็นมฤดก.” (มัดธาย 5:5) บางคนคิดว่าใจอ่อนสุภาพบ่งชี้ถึงความอ่อนแอ แต่นั่นไม่เป็นความจริง. เมื่ออธิบายถึงความหมายของคำภาษากรีกที่มีการแปลว่า “ใจอ่อนสุภาพ” ผู้คงแก่เรียนด้านคัมภีร์ไบเบิลคนหนึ่งเขียนว่า “คุณลักษณะอันยอดเยี่ยมที่สุดของผู้มีใจอ่อนสุภาพก็คือเขา เป็นคนที่บังคับตนได้อย่างดียิ่ง. ใจอ่อนสุภาพไม่ใช่ความสุภาพอ่อนโยนที่เกิดจากจิตใจอ่อนไหว, เพราะถูกอารมณ์ชักนำ, หรือเนื่องจากไม่อยากหาเรื่องใส่ตัว. ใจอ่อนสุภาพเป็นความเข้มแข็งที่มีการควบคุม.” พระเยซูกล่าวถึงพระองค์เองว่า “ใจเราอ่อนสุภาพ.” (มัดธาย 11:29) กระนั้น พระเยซูไม่หวั่นเกรงเมื่อปกป้องหลักการอันชอบธรรม.—มัดธาย 21:12, 13; 23:13-33.
8. ความมีใจอ่อนสุภาพเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับอะไร และเหตุใดเราต้องมีคุณลักษณะนี้ในความสัมพันธ์ระหว่างเรากับคนอื่น?
8 ฉะนั้น ความมีใจอ่อนสุภาพจึงเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับการบังคับตน. ที่จริงแล้ว อัครสาวกเปาโลจัดความอ่อนสุภาพไว้ด้วยกันกับการรู้จักบังคับตนเมื่อท่านแจกแจงรายการ “ผลของพระวิญญาณ.” (ฆะลาเตีย 5:22, 23) การปลูกฝังความมีใจอ่อนสุภาพต้องพึ่งอาศัยความช่วยเหลือจากพระวิญญาณบริสุทธิ์. ใจอ่อนสุภาพเป็นคุณลักษณะแบบคริสเตียนที่ส่งเสริมสันติสุขกับคนที่อยู่นอกและในประชาคมคริสเตียน. เปาโลเขียนว่า “จงสวมใจเมตตา, ใจปรานี, ใจถ่อม, ใจอ่อนสุภาพ, ใจอดทนไว้นาน . . . จงผ่อนหนักผ่อนเบาซึ่งกันและกัน.”—โกโลซาย 3:12, 13.
9. (ก) เหตุใดใจอ่อนสุภาพไม่ได้มีแค่ในความสัมพันธ์ระหว่างเรากับคนอื่นเท่านั้น? (ข) บรรดาผู้มีใจอ่อนสุภาพ ‘ได้รับแผ่นดินโลกเป็นมรดก’ อย่างไร?
9 อย่างไรก็ตาม ใจอ่อนสุภาพไม่ใช่มีแค่ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น. โดยการเต็มใจอ่อนน้อมอยู่ใต้อำนาจการปกครองของพระยะโฮวา เราแสดงว่าเรามีใจอ่อนสุภาพ. ตัวอย่างอันยอดเยี่ยมในเรื่องนี้คือพระเยซูคริสต์ ผู้ซึ่งขณะอยู่บนแผ่นดินโลกได้แสดงความมีใจอ่อนสุภาพและอ่อนน้อมกระทำตามพระทัยประสงค์ของพระบิดาทุกประการ. (โยฮัน 5:19, 30) พระเยซูเป็นบุคคลแรกและสำคัญที่สุดผู้ได้รับแผ่นดินโลกเป็นมรดก เนื่องจากพระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองแผ่นดินโลก. (บทเพลงสรรเสริญ 2:6-8; ดานิเอล 7:13, 14) พระองค์ได้ส่วนในมรดกนี้ร่วมกับ “ทายาทร่วม” จำนวน 144,000 คน ที่ถูกเลือกจาก “ท่ามกลางมนุษย์” ให้ “ปกครองเป็นกษัตริย์เหนือแผ่นดินโลก.” (โรม 8:17, ล.ม.; วิวรณ์ 5:9, 10, ล.ม.; 14:1, 3, 4; ดานิเอล 7:27) พระคริสต์กับเหล่าผู้ร่วมปกครองของพระองค์จะปกครองชายหญิงเยี่ยงแกะจำนวนหลายล้านคนที่จะประสบความสำเร็จเป็นจริงที่น่ายินดีของคำพยากรณ์ในบทเพลงสรรเสริญที่ว่า “คนทั้งหลายที่มีใจถ่อมลง [ใจอ่อนสุภาพ] จะได้แผ่นดินเป็นมฤดก, และเขาจะชื่นชมยินดีด้วยความสงบสุขอันบริบูรณ์.”—บทเพลงสรรเสริญ 37:11; มัดธาย 25:33, 34, 46.
บุคคลผู้ใดหิวกระหายความชอบธรรมก็เป็นสุข
10. วิธีหนึ่งที่บุคคลผู้ “หิวกระหายความชอบธรรม” จะได้อิ่มบริบูรณ์คืออะไร?
10 เหตุผลสำหรับความสุขประการถัดมาที่พระเยซูกล่าวบนไหล่เขาในแกลิลีนั้นคือ “บุคคลผู้ใดหิวกระหายความชอบธรรมก็เป็นสุข, เพราะว่าเขาจะได้อิ่มบริบูรณ์.” (มัดธาย 5:6) สำหรับคริสเตียน พระยะโฮวาเป็นผู้กำหนดมาตรฐานความชอบธรรม. ฉะนั้น ผู้หิวกระหายความชอบธรรมจึงประหนึ่งกระหายการชี้นำจากพระเจ้า. คนเช่นนั้นสำนึกอย่างยิ่งว่าตนเป็นคนบาปและไม่สมบูรณ์ และปรารถนาอย่างยิ่งที่จะอยู่ในฐานะอันเป็นที่พอพระทัยพระยะโฮวา. พวกเขาช่างมีความสุขสักเพียงไรเมื่อเรียนรู้จากพระคำของพระเจ้าว่า หากกลับใจและแสวงหาการอภัยบาปโดยอาศัยเครื่องบูชาไถ่ของพระคริสต์แล้ว พวกเขาจะมีฐานะชอบธรรมจำเพาะพระเจ้า!—กิจการ 2:38; 10:43; 13:38, 39; โรม 5:19.
11, 12. (ก) คริสเตียนผู้ถูกเจิมได้ฐานะชอบธรรมอย่างไร? (ข) สหายของเหล่าผู้ถูกเจิมทำให้ความกระหายความชอบธรรมของตนได้รับการสนองโดยวิธีใด?
11 พระเยซูตรัสว่าคนเช่นนั้นจะมีความสุขเพราะ “จะได้อิ่มบริบูรณ์” หรือได้รับการสนองจนอิ่ม. (มัดธาย 5:6) บรรดาคริสเตียนผู้ถูกเจิมซึ่งถูกเรียกให้ “ปกครองเป็นกษัตริย์” ในสวรรค์ร่วมกับพระคริสต์นั้นได้รับการประกาศว่า “เป็นคนชอบธรรมเพื่อจะได้ชีวิต.” (โรม 5:1, 9, 16-18, ล.ม.) พระยะโฮวารับพวกเขาเป็นบุตรฝ่ายวิญญาณ. พวกเขากลายมาเป็นทายาทร่วมกับพระคริสต์ ที่ถูกเรียกเป็นกษัตริย์และปุโรหิตในรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์ของพระองค์.—โยฮัน 3:3; 1 เปโตร 2:9.
ยาโกโบ 2:22-25; วิวรณ์ 7:9, 10) พวกเขาถูกถือว่าเป็นผู้ชอบธรรมฐานะมิตรของพระยะโฮวาที่จะได้รับความรอดในคราว “ความทุกข์ลำบากครั้งใหญ่.” (วิวรณ์ 7:14, ล.ม.) ความกระหายความชอบธรรมของคนเหล่านี้จะได้รับการสนองยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อพวกเขากลายเป็นส่วนของแผ่นดินโลกใหม่ภายใต้ “ท้องฟ้าอากาศใหม่” ที่ซึ่ง “ความชอบธรรมจะดำรงอยู่.”—2 เปโตร 3:13; บทเพลงสรรเสริญ 37:29.
12 บรรดาสหายของเหล่าผู้ถูกเจิมยังไม่ได้รับการประกาศว่าเป็นคนชอบธรรมเพื่อจะได้ชีวิต. แต่พระยะโฮวานับพวกเขาเป็นคนชอบธรรมในระดับหนึ่งเนื่องจากพวกเขาได้แสดงความเชื่อในพระโลหิตที่หลั่งออกของพระคริสต์. (บุคคลผู้ใดมีใจเมตตาปรานีก็เป็นสุข
13, 14. ในทางใดบ้างที่เราควรแสดงความเมตตาออกมาในภาคปฏิบัติ และนั่นจะก่อผลดีแก่เราอย่างไร?
13 พระเยซูตรัสต่อไปในคำเทศน์บนภูเขาว่า “บุคคลผู้ใดมีใจเมตตาปรานีก็เป็นสุข, เพราะว่าเขาจะได้รับความเมตตาปรานีเหมือนกัน.” (มัดธาย 5:7) ในแง่กฎหมาย ความเมตตาเป็นที่เข้าใจกันว่าพาดพิงถึงการลดหย่อนผ่อนโทษที่กระทำโดยผู้พิพากษา เพื่อผู้กระทำผิดจะไม่ต้องรับโทษสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น. แต่ส่วนใหญ่ตามที่ใช้ในคัมภีร์ไบเบิล คำในภาษาเดิมที่ได้รับการแปลว่า “เมตตา” เกี่ยวข้องกับการแสดงความห่วงใยอย่างกรุณาหรือความสงสารที่ให้การช่วยเหลือแก่ผู้อยู่ในฐานะเสียเปรียบ. ฉะนั้น คนมีใจเมตตาคือผู้ที่สำแดงความเมตตาสงสารออกมาโดยการกระทำ. อุทาหรณ์ของพระเยซูเกี่ยวกับเพื่อนบ้านชาวซะมาเรียเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ที่ ‘ปฏิบัติด้วยความเมตตา’ ต่อคนที่ต้องการความช่วยเหลือ.—ลูกา 10:29-37, ล.ม.
14 เพื่อจะประสบความสุขจากการมีความเมตตา เราต้องแสดงความกรุณาด้วยการลงมือกระทำสิ่งที่จะเป็นประโยชน์แก่คนที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ. (ฆะลาเตีย 6:10) พระเยซูสงสารประชาชนที่พระองค์พบเห็น. “พระองค์ก็ทรงพระกรุณาแก่เขา, เพราะว่าเขาเป็นเหมือนฝูงแกะไม่มีผู้เลี้ยง พระองค์จึงสั่งสอนเขาเป็นหลายข้อหลายประการ.” (มาระโก 6:34) พระเยซูตระหนักว่าความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของมนุษย์มีความสำคัญยิ่งกว่าความจำเป็นอย่างอื่น. เราก็สามารถแสดงความเมตตาสงสารได้เช่นกันด้วยการแบ่งปันสิ่งที่คนอื่น ๆ จำเป็นต้องได้รับมากที่สุด นั่นคือ “ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักร.” (มัดธาย 24:14, ล.ม.) นอกจากนี้ เรายังสามารถเสนอความช่วยเหลือที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนคริสเตียนสูงวัย, หญิงม่าย, ลูกกำพร้า และ “หนุนน้ำใจผู้ที่ท้อใจ.” (1 เธซะโลนิเก 5:14; สุภาษิต 12:25; ยาโกโบ 1:27) การทำอย่างนั้นไม่เพียงแต่จะนำความสุขมาให้ แต่ยังทำให้เราได้รับความเมตตาจากพระยะโฮวาด้วย.—กิจการ 20:35; ยาโกโบ 2:13.
มีหัวใจบริสุทธิ์และสร้างสันติ
15. เราจะมีหัวใจบริสุทธิ์และสร้างสันติได้โดยวิธีใด?
15 พระเยซูกล่าวถึงความสุขประการที่หกและเจ็ดดังนี้: “บุคคลผู้ใดมีใจบริสุทธิ์ก็เป็นสุข, เพราะว่าเขาจะได้เห็นพระเจ้า. บุคคลผู้ใดระงับการแตกแยกกันก็เป็นสุข, เพราะว่าเขาจะได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้า.” (มัดธาย 5:8, 9) หัวใจที่บริสุทธิ์ไม่เพียงแต่สะอาดด้านศีลธรรมเท่านั้น แต่ยังปราศจากมลทินด้านวิญญาณและเป็นหนึ่งเดียวในการถวายความเลื่อมใสแด่พระยะโฮวา. (1 โครนิกา 28:9; บทเพลงสรรเสริญ 86:11, ล.ม.) ในภาษาเดิม คำที่ได้รับการแปลว่า “ระงับการแตกแยก” มีความหมายตามตัวอักษรว่า “ผู้สร้างสันติ.” คนที่สร้างสันติจะอยู่อย่างสงบสุขกับพี่น้องคริสเตียน และกับเพื่อนบ้านของเขาตราบเท่าที่เขาสามารถทำได้. (โรม 12:17-21) พวกเขา “แสวงหาสันติสุขและติดตามสันติสุข.”—1 เปโตร 3:11.
16, 17. (ก) เหตุใดผู้ถูกเจิมได้ชื่อว่าเป็น “บุตรของพระเจ้า” และพวกเขา “เห็นพระเจ้า” โดยทางใด? (ข) “แกะอื่น” “เห็นพระเจ้า” ในแง่ใด? (ค) เมื่อไรและโดยวิธีใดที่ “แกะอื่น” จะเป็น “บุตรของพระเจ้า” ในความหมายครบถ้วนสมบูรณ์?
โรม 8:14-17) เมื่อกลับเป็นขึ้นจากตายไปอยู่กับพระคริสต์ในสวรรค์แล้ว พวกเขารับใช้จำเพาะพระพักตร์พระยะโฮวาและได้เห็นพระองค์จริง ๆ.—1 โยฮัน 3:1, 2; วิวรณ์ 4:9-11.
16 คำสัญญาสำหรับผู้สร้างสันติที่มีหัวใจบริสุทธิ์คือ เขา “จะได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้า” และ “จะได้เห็นพระเจ้า.” คริสเตียนผู้ถูกเจิมบังเกิดฝ่ายวิญญาณและถูกรับเป็น “บุตร” ของพระยะโฮวาขณะที่ยังอยู่บนแผ่นดินโลกนี้. (17 ผู้สร้างสันติที่เป็น “แกะอื่น” รับใช้พระยะโฮวาภายใต้การดูแลของพระคริสต์เยซูผู้เลี้ยงแกะที่ดี ผู้กลายมาเป็น “พระบิดาองค์ถาวร” ของพวกเขา. (โยฮัน 10:14, 16; ยะซายา 9:6) คนที่ผ่านการทดสอบครั้งสุดท้ายหลังจากรัชสมัยพันปีของพระคริสต์สิ้นสุดลงจะถูกรับเป็นบุตรทางภาคแผ่นดินโลกของพระยะโฮวาและ “เข้าในสง่าราศีแห่งบุตรทั้งหลายของพระเจ้า.” (โรม 8:21; วิวรณ์ 20:7, 9) ระหว่างคอยท่าสิ่งนั้น พวกเขากล่าวถึงพระยะโฮวาว่าเป็นพระบิดาของเขา เนื่องจากได้อุทิศชีวิตแด่พระองค์และยอมรับว่าพระองค์เป็นผู้ประสาทชีวิตให้พวกเขา. (ยะซายา 64:8) เช่นเดียวกับโยบและโมเซในสมัยโบราณ พวกเขาสามารถ “เห็นพระเจ้า” ด้วยตาแห่งความเชื่อ. (โยบ 42:5; เฮ็บราย 11:27) ด้วย “ตาแห่งหัวใจ” และโดยทางความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับพระเจ้า พวกเขามองเห็นคุณลักษณะล้ำเลิศของพระยะโฮวาและพยายามเลียนแบบพระองค์โดยกระทำตามพระทัยประสงค์ของพระองค์.—เอเฟโซ 1:18, ล.ม.; โรม 1:19, 20; 3 โยฮัน 11.
18. ตามที่พระเยซูกล่าวเกี่ยวกับความสุขเจ็ดประการแรกนั้น ใครที่ประสบความสุขแท้ในทุกวันนี้?
18 เราได้เห็นแล้วว่าผู้สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณ, โศกเศร้า, มีใจอ่อนสุภาพ, หิวกระหายความชอบธรรม, มีใจเมตตาปรานี, มีหัวใจบริสุทธิ์, และสร้างสันติสุข ประสบความสุขแท้จากการรับใช้พระยะโฮวา. ถึงกระนั้น คนเช่นนั้นเผชิญการต่อต้านหรือแม้กระทั่งการข่มเหงอยู่ร่ำไป. สิ่งนี้ทำลายความสุขของพวกเขาไหม? จะมีการพิจารณาคำถามนี้ในบทความถัดไป.
เพื่อเป็นการทบทวน
• ความสุขอะไรมีแก่ผู้สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของตน?
• ผู้โศกเศร้าได้รับการปลอบโยนในทางใดบ้าง?
• โดยวิธีใดที่เราสำแดงใจอ่อนสุภาพ?
• เหตุใดเราควรมีความเมตตา, มีหัวใจบริสุทธิ์, และสร้างสันติ?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 10]
“ความสุขมีแก่ผู้ที่รู้สำนึกถึงความจำเป็นฝ่ายวิญญาณของตน”
[ภาพหน้า 10]
“บุคคลผู้ใดมีใจเมตตาปรานีก็เป็นสุข”
[ภาพหน้า 10]
“บุคคลผู้ใดหิวกระหายความชอบธรรมก็เป็นสุข”