‘การพบไข่มุกที่มีค่ามาก’
‘การพบไข่มุกที่มีค่ามาก’
“แผ่นดินสวรรค์ก็เป็นสิ่งที่ต้องชิงเอา, และผู้ที่มีใจร้อนรนก็เป็นผู้ที่ชิงเอาได้.”—มัดธาย 11:12.
1, 2. (ก) คุณลักษณะอะไรที่หาได้ยาก ซึ่งพระเยซูพรรณนาไว้ในอุปมาเรื่องหนึ่งของพระองค์เกี่ยวกับราชอาณาจักร? (ข) พระเยซูตรัสอะไรในอุปมาเรื่องไข่มุกล้ำค่านั้น?
มีบางสิ่งซึ่งคุณถือว่ามีค่ามากถึงขนาดที่จะยอมสละทุกอย่างที่คุณมีเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมาครอบครองไหม? แม้ว่าผู้คนพูดกันถึงการทุ่มเทตัวเพื่อบรรลุเป้าหมายบางอย่าง เช่น เงินทอง, ชื่อเสียง, อำนาจ, หรือฐานะตำแหน่ง แต่หาได้ยากที่ผู้คนจะพบสิ่งที่น่าปรารถนาอย่างยิ่งถึงขนาดที่เขาเต็มใจสละทุกอย่างเพื่อจะได้สิ่งนั้นมา. พระเยซูคริสต์กล่าวถึงคุณลักษณะที่หาได้ยากแต่ว่าน่าชมเชยนี้ในอุปมาที่กระตุ้นความคิดเรื่องหนึ่งในหลายเรื่องของพระองค์เกี่ยวกับราชอาณาจักรของพระเจ้า.
2 อุปมาดังกล่าว ซึ่งบ่อยครั้งเรียกกันว่าอุปมาเรื่องไข่มุกล้ำค่า เป็นหนึ่งในอุปมาที่พระเยซูเล่าให้สาวกของพระองค์ฟังเป็นการส่วนตัว. พระเยซูตรัสดังนี้: “ราชอาณาจักรสวรรค์เปรียบเหมือนพ่อค้าที่เดินทางค้าขายซึ่งเสาะหาไข่มุกคุณภาพเยี่ยม. เมื่อพบไข่มุกที่มีค่ามากเม็ดหนึ่ง เขาก็ไปขายทุกสิ่งที่เขามีทันทีแล้วไปซื้อไข่มุกเม็ดนั้น.” (มัดธาย 13:36, 45, 46, ล.ม.) พระเยซูประสงค์ให้ผู้ฟังของพระองค์เรียนรู้อะไรจากอุปมานี้? และเราสามารถได้รับประโยชน์อะไรจากคำตรัสของพระเยซู?
ไข่มุกล้ำค่า
3. เหตุใดไข่มุกคุณภาพเยี่ยมจึงมีค่ามากในสมัยโบราณ?
3 ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้วที่ไข่มุกถือว่ามีค่าใช้เป็นเครื่องประดับ. หนังสืออ้างอิงเล่มหนึ่งให้ข้อสังเกตว่า ตามคำกล่าวของพลินีผู้อาวุโส ผู้คงแก่เรียนชาวโรมัน ไข่มุกเป็น “สิ่งมีค่ามากอันดับต้น ๆ ในบรรดาสิ่งมีค่าทั้งปวง.” ต่างจากทองคำ, เงิน, หรืออัญมณีหลายชนิด ไข่มุกเป็นผลผลิตจากสิ่งมีชีวิต. เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าหอยทะเลบางชนิดสามารถเปลี่ยนวัตถุที่ทำให้มันระคายเคือง เช่น เศษหินเล็ก ๆ ไปเป็นมุกดาที่แวววาว โดยเคลือบวัตถุนั้นหลาย ๆ ชั้นด้วยสารคัดหลั่งที่เรียกกันว่ามุก. ในสมัยโบราณ ไข่มุกคุณภาพเยี่ยมที่สุดส่วนใหญ่เก็บได้จากทะเลแดง, อ่าวเปอร์เซีย, และมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งอยู่ไกลจากแผ่นดินอิสราเอล. แน่นอน นี่เป็นเหตุที่พระเยซูตรัสถึง “พ่อค้าที่เดินทางค้าขายซึ่งเสาะหาไข่มุกคุณภาพเยี่ยม.” เพื่อจะพบไข่มุกล้ำค่า ต้องบากบั่นพยายาม.
4. อะไรคือจุดสำคัญในอุปมาของพระเยซูเกี่ยวกับพ่อค้าที่เดินทางค้าขาย?
4 แม้ว่าไข่มุกคุณภาพเยี่ยมมีราคาสูงมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ดูเหมือนว่าราคาของมันไม่ใช่จุดสำคัญที่สุดในอุปมาของพระเยซู. ในอุปมานี้ พระเยซูไม่เพียงเปรียบราชอาณาจักรของพระเจ้ากับไข่มุกล้ำค่า แต่ยังนำความสนใจไปสู่
“พ่อค้าที่เดินทางค้าขายซึ่งเสาะหาไข่มุกคุณภาพเยี่ยม” และสิ่งที่เขาทำเมื่อพบไข่มุกนั้นแล้ว. ต่างจากเจ้าของร้านค้าทั่วไป พ่อค้าที่เดินทางไปหาไข่มุกอาจเรียกได้ว่าเป็นผู้ช่ำชองในด้านการค้า เป็นผู้ที่ตาแหลมหรือมีความสามารถรับรู้ที่จำเป็นเพื่อมองออกถึงความงามและรายละเอียดต่าง ๆ ที่แฝงอยู่ซึ่งทำให้ไข่มุกเม็ดหนึ่งมีความพิเศษ. เขาจะรู้ว่าเม็ดไหนเป็นของแท้เมื่อพินิจดูและจะไม่ถูกหลอกให้ซื้อสินค้าคุณภาพด้อยกว่าหรือที่ทำขึ้นเลียนแบบ.5, 6. (ก) มีอะไรที่น่าสังเกตเป็นพิเศษเกี่ยวกับพ่อค้าในอุปมาของพระเยซู? (ข) อุปมาเรื่องขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่เผยอะไรเกี่ยวกับพ่อค้าที่เดินทางค้าขาย?
5 มีสิ่งอื่นที่น่าสังเกตเกี่ยวกับพ่อค้าคนนี้. พ่อค้าโดยทั่วไปอาจประเมินราคาตลาดของไข่มุกนั้นดูก่อน เพื่อจะกำหนดได้ว่าควรจะซื้อมาในราคาเท่าไรเพื่อจะขายได้กำไร. นอกจากนี้ เขาอาจสำรวจว่าตลาดมีความต้องการไข่มุกนั้นไหมเพื่อจะสามารถขายออกได้อย่างรวดเร็ว. พูดอีกอย่างหนึ่ง เขาสนใจที่จะได้ผลกำไรคืนมาอย่างรวดเร็วจากการลงทุน ไม่ใช่เพราะว่าอยากเป็นเจ้าของไข่มุกนั้น. แต่ไม่เป็นอย่างนั้นกับพ่อค้าในอุปมาของพระเยซู. ความสนใจของเขาไม่ได้อยู่ที่ผลกำไรเป็นวัตถุเงินทอง. แท้จริงแล้ว เขาเต็มใจสละ “ทุกสิ่งที่เขามี” ซึ่งเป็นไปได้ว่าคือสมบัติทั้งหมดของเขา เพื่อจะได้สิ่งซึ่งเขาเสาะแสวงหา.
6 ในสายตาของพ่อค้าส่วนมาก สิ่งที่ชายในอุปมาของพระเยซูทำลงไปนี้น่าจะเป็นการกระทำที่ไม่ฉลาด. นักธุรกิจที่ฉลาดสุขุมจะไม่คิดลงทุนทำธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงเช่นนั้น. แต่พ่อค้าในอุปมาของพระเยซูมีมาตรฐานในการตีค่าสิ่งต่าง ๆ ต่างออกไป. ผลตอบแทนที่เขาได้รับไม่ใช่ผลประโยชน์ใด ๆ ด้านการเงิน แต่เป็นความยินดีและความพึงพอใจที่ได้ครอบครองสิ่งที่เลอค่า. จุดสำคัญนี้เป็นที่กระจ่างชัดในอุปมาอีกเรื่องหนึ่งของพระเยซูที่คล้ายกัน. พระองค์ตรัสว่า “แผ่นดินสวรรค์เปรียบเหมือนขุมทรัพย์ซ่อนไว้ที่ทุ่งนา, เมื่อมีผู้ใดได้พบแล้วก็กลับซ่อนเสียอีก, และเพราะความยินดีจึงไปขายสรรพสิ่งซึ่งเขามีอยู่แล้วไปซื้อนานั้น.” (มัดธาย 13:44) ใช่แล้ว ความยินดีจากการพบและได้ครอบครองขุมทรัพย์นั้นเพียงพอแล้วที่จะกระตุ้นชายผู้นี้ให้ยอมสละทุกสิ่งที่เขามีอยู่. มีคนอย่างนั้นในทุกวันนี้ไหม? มีสิ่งมีค่าอันใดไหมที่ควรค่าแก่การยอมสละเช่นนั้น?
คนเหล่านั้นที่เห็นถึงความล้ำค่า
7. พระเยซูแสดงอย่างไรว่าพระองค์ทรงเห็นถึงความล้ำค่าของราชอาณาจักรอย่างยิ่ง?
7 ในการเล่าอุปมา พระเยซูกล่าวถึง “แผ่นดินสวรรค์.” ไม่มีข้อสงสัยว่าพระองค์เองเห็นถึงความล้ำค่าของราชอาณาจักร. เรื่องราวต่าง ๆ ในพระธรรมกิตติคุณเป็นพยานหลักฐานที่มีพลังถึงข้อเท็จจริงนี้. หลังจากรับบัพติสมาในปี ส.ศ. 29 พระเยซู “ตั้งต้นประกาศว่า ‘ท่านทั้งหลาย จงกลับใจเสียใหม่ เพราะราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์มาใกล้แล้ว.’ ” พระองค์สั่งสอนผู้คนมากมายในเรื่องราชอาณาจักรเป็นเวลาสามปีครึ่ง. พระองค์เดินทางไปทั่วทุกหนแห่งจากเหนือจรดใต้ “เสด็จไปตามเมืองและตามหมู่บ้าน ทรงเทศนาและประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า.”—มัดธาย 4:17, ล.ม.; ลูกา 8:1, ล.ม.
8. พระเยซูทำอะไรเพื่อแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ราชอาณาจักรจะทำ?
8 นอกจากนั้น โดยทำการอัศจรรย์หลายประการตลอดทั่วดินแดนนั้น ซึ่งรวมไปถึงการรักษาคนป่วย, การเลี้ยงอาหารผู้ที่หิวโหย, การควบคุมสภาพลมฟ้าอากาศ, แม้กระทั่งการปลุกคนตายให้มีชีวิตอีก พระเยซูทรงแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ราชอาณาจักรของพระเจ้าจะทำ. (มัดธาย 14:14-21; มาระโก 4:37-39; ลูกา 7:11-17) ในที่สุด พระองค์พิสูจน์ความภักดีต่อพระเจ้าและราชอาณาจักรนั้นด้วยการสละพระชนม์ชีพของพระองค์ สิ้นพระชนม์บนหลักทรมานเนื่องด้วยให้คำพยานเรื่องราชอาณาจักร. เช่นเดียวกับที่พ่อค้าเต็มใจสละทุกสิ่งที่เขามีเพื่อจะได้ “ไข่มุกที่มีค่ามาก” พระเยซูทรงดำเนินชีวิตและวายพระชนม์เพราะเห็นแก่ราชอาณาจักรนั้น.—โยฮัน 18:37.
9. คุณลักษณะอะไรที่หาได้ยากซึ่งสังเกตเห็นได้ในท่ามกลางสาวกรุ่นแรก ๆ ของพระเยซู?
9 พระเยซูไม่เพียงทุ่มเทชีวิตของพระองค์เพื่อราชอาณาจักรเท่านั้น แต่ยังได้รวบรวมผู้ติดตามกลุ่มเล็ก ๆ ด้วย. คนเหล่านี้ก็เช่นกันที่เห็นถึงความล้ำค่าของราชอาณาจักรอย่างยิ่ง. หนึ่งในนั้นคืออันดะเรอา ซึ่งเดิมเป็นศิษย์ของโยฮันโยฮัน 1:35-49.
ผู้ให้รับบัพติสมา. หลังจากได้ยินคำพยานจากโยฮันว่าพระเยซูเป็น “พระเมษโปดกของพระเจ้า” อันดะเรอากับศิษย์อีกคนหนึ่งของโยฮัน ซึ่งคงเป็นบุตรคนหนึ่งของเซเบดายที่มีชื่อว่าโยฮันด้วย ก็ถูกดึงดูดเข้ามาหาพระเยซูในทันทีและเข้ามาเป็นผู้เชื่อถือ. แต่เรื่องราวไม่ได้จบลงแค่นั้น. โดยไม่รอช้า อันดะเรอาก็ไปหาซีโมนพี่ชายของตน และบอกว่า “เราพบมาซีฮาแล้ว.” ไม่นานหลังจากนั้น ซีโมน (ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อเกฟา หรือเปโตร) และฟิลิปกับนะธันเอลเพื่อนของเขาก็ยอมรับพระเยซูเป็นพระมาซีฮาเช่นกัน. อันที่จริง นะธันเอลได้รับการกระตุ้นใจจนถึงกับกล่าวแก่พระเยซูว่า “พระองค์เป็นพระบุตรของพระเจ้า, พระองค์เป็นกษัตริย์ของชาติยิศราเอล.”—ได้รับการกระตุ้นให้ลงมือกระทำ
10. สาวกของพระเยซูตอบสนองอย่างไรเมื่อพระองค์เสด็จมาหาและเชิญพวกเขาให้ติดตามพระองค์หลังจากช่วงระยะหนึ่งผ่านไปที่ได้พบกับพวกเขาครั้งแรก?
10 ความตื่นเต้นของอันดะเรอา, เปโตร, โยฮัน, และคนอื่น ๆ เมื่อพวกเขาพบพระมาซีฮานั้นอาจเทียบได้กับความตื่นเต้นของพ่อค้าเมื่อเขาพบไข่มุกล้ำค่า. พวกเขาจะทำอะไรต่อจากนั้น? พระธรรมกิตติคุณไม่ได้บอกอะไรเรามากนักว่าพวกเขาทำอะไรต่อหลังจากได้พบกับพระเยซูครั้งแรกนี้. ดูเหมือนว่าพวกเขาส่วนใหญ่กลับไปดำเนินชีวิตตามปกติ. อย่างไรก็ตาม ประมาณหกเดือนถึงหนึ่งปีต่อมา พระเยซูพบกับอันดะเรอา, เปโตร, โยฮัน, และยาโกโบพี่ชายของโยฮันอีกครั้ง ขณะพวกเขาทำธุรกิจประมงอยู่ริมฝั่งทะเลแกลิลี. * เมื่อเห็นพวกเขา พระเยซูก็ตรัสว่า “จงตามเรามาเถิด เราจะตั้งท่านให้เป็นผู้จับคน.” พวกเขาตอบสนองอย่างไร? เกี่ยวกับเปโตรกับอันดะเรอา บันทึกของมัดธายกล่าวว่า “เขาทั้งสองก็ละอวนทันทีติดตามพระองค์ไป.” เกี่ยวกับยาโกโบกับ โยฮันเราอ่านว่า “เขาทั้งสองก็ละเรือและบิดาของเขาทันทีตามพระองค์ไป.” บันทึกของลูกาเสริมว่าพวกเขา “สละทิ้งสิ่งสารพัตรตามพระองค์ไป.”—มัดธาย 4:18-22; ลูกา 5:1-11.
11. อะไรคงเป็นเหตุผลที่พวกสาวกตอบรับคำเชิญของพระเยซูในทันที?
11 การตอบรับคำเชิญทันทีของพวกสาวกเป็นการตัดสินใจอย่างหุนหันเกินไปไหม? ไม่เลย! แม้ว่าพวกเขากลับไปทำธุรกิจประมงของครอบครัวหลังจากได้พบกับพระเยซูครั้งแรกก็ตาม แต่ไม่มีข้อสงสัยว่าสิ่งที่พวกเขาได้เห็นและได้ยินในครั้งนั้นยังคงตราตรึงอยู่ในใจของพวกเขา. เวลาที่ผ่านไปเกือบปีคงทำให้พวกเขามีเวลามากมายที่จะไตร่ตรองเหตุการณ์ดังกล่าว. บัดนี้ เป็นเวลาที่ต้องตัดสินใจ. พวกเขาจะเป็นเหมือนพ่อค้าที่เดินทางค้าขายไหมที่หัวใจของเขาได้รับการกระตุ้นจากการพบไข่มุกล้ำค่านั้นถึงขนาดที่ ดังที่พระเยซูกล่าว “เขาก็ไป” และลงมือทำสิ่งที่จำเป็น “ทันที” เพื่อจะซื้อไข่มุกนั้นมา? ใช่แล้ว. สิ่งที่พวกเขาได้เห็นและได้ยินกระตุ้นหัวใจพวกเขา. พวกเขาตระหนักว่าบัดนี้เป็นเวลาที่ต้องลงมือกระทำ. ด้วยเหตุนี้ ดังที่เรื่องราวในกิตติคุณบอกเรา โดยไม่รีรอพวกเขาสละทุกสิ่งและติดตามพระเยซูไป.
12, 13. (ก) หลายคนที่ได้ฟังพระเยซูแสดงท่าทีอย่างไร? (ข) พระเยซูกล่าวอย่างไรเกี่ยวกับสาวกผู้ซื่อสัตย์ และคำตรัสของพระองค์บ่งชี้ถึงอะไร?
12 สาวกผู้ซื่อสัตย์เหล่านี้ช่างต่างกันสักเพียงไรกับบางคนที่พระธรรมกิตติคุณกล่าวถึงในภายหลัง! มีหลายคนที่ได้รับการรักษาโรคหรือการเลี้ยงอาหารจากพระเยซู แต่แล้วก็ดำเนินชีวิตของตนต่อไปตามปกติ. (ลูกา 17:17, 18; โยฮัน 6:26) บางคนถึงกับขอตัวด้วยซ้ำเมื่อพระเยซูเชิญพวกเขาให้ติดตามพระองค์. (ลูกา 9:59-62) สาวกผู้ซื่อสัตย์ของพระเยซูต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งต่อมาพระองค์ตรัสเกี่ยวกับพวกเขาว่า “ตั้งแต่โยฮันบัพติศโตมาถึงทุกวันนี้, แผ่นดินสวรรค์ก็เป็นสิ่งที่ต้องชิงเอา, และผู้ที่มีใจร้อนรนก็เป็นผู้ที่ชิงเอาได้.”—มัดธาย 11:12.
13 คำ “ชิงเอา” หรือ “มีใจร้อนรน” บ่งนัยถึงอะไร? พจนานุกรมอธิบายศัพท์พันธสัญญาเดิมและใหม่ของไวน์ กล่าวเกี่ยวกับคำกริยาภาษากรีกอันเป็นที่มาของคำเหล่านี้ว่า “คำกริยานี้บ่งชี้ถึงความพากเพียรอย่างหนัก.” และเกี่ยวกับข้อคัมภีร์นี้ ไฮน์ริค ไมเออร์ ผู้คงแก่เรียนด้านคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “สำนวนดังกล่าวพรรณนาถึงการมุ่งมั่นพยายามและการบากบั่นฝ่าฟันเพื่อจะได้ราชอาณาจักรมาซีฮาที่ใกล้เข้ามานั้น . . . ความสนใจในเรื่องราชอาณาจักรนั้นมีอย่างแรงกล้าและร้อนรนอย่างยิ่ง (ไม่ได้คอยท่าอยู่เฉย ๆ อีกต่อไปแล้ว).” เช่นเดียวกับพ่อค้าที่เดินทางค้าขายนั้น คนกลุ่มเล็ก ๆ นี้มองออกในทันทีว่าอะไรล้ำค่าอย่างแท้จริง และพวกเขาเต็มใจสละสิ่งสารพัดที่พวกเขามีอยู่เพราะเห็นแก่ราชอาณาจักร.—มัดธาย 19:27, 28; ฟิลิปปอย 3:8.
คนอื่น ๆ ร่วมในการแสวงหานั้น
14. พระเยซูเตรียมเหล่าอัครสาวกอย่างไรบ้างสำหรับงานประกาศเรื่องราชอาณาจักร และผลเป็นเช่นไร?
14 ขณะที่พระเยซูทำงานรับใช้ของพระองค์ต่อ ๆ ไป พระองค์ทรงฝึกอบรมและช่วยคนอื่น ๆ บากบั่นเพื่อจะได้ราชอาณาจักร. ทีแรกพระองค์ทรงเลือกเอา 12 คนจากสาวกทั้งหมด และตั้งพวกเขาเป็นอัครสาวก ซึ่งเดิมในภาษากรีกมีความหมายว่าผู้ที่ถูกส่งออกไป. พระเยซูให้คำแนะนำอย่างละเอียดแก่คนเหล่านี้ว่าจะทำงานรับใช้อย่างไรรวมทั้งเตือนล่วงหน้าถึงข้อท้าทายและความลำบากที่รออยู่เบื้องหน้าด้วย. (มัดธาย 10:1-42; ลูกา 6:12-16) ช่วงราว ๆ สองปีต่อจากนั้น เหล่าอัครสาวกทำงานประกาศร่วมกับพระเยซูไปตลอดทั่วดินแดนนั้น และมีสัมพันธภาพใกล้ชิดกับพระองค์. พวกเขาได้ยินคำตรัส, เห็นการอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ, และเห็นแบบอย่างของพระองค์. (มัดธาย 13:16, 17) ไม่มีข้อสงสัยว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนประทับใจพวกเขาอย่างยิ่ง ถึงขนาดที่พวกเขาแสวงหาราชอาณาจักรด้วยใจแรงกล้าและสิ้นสุดหัวใจ เช่นเดียวกับพ่อค้าที่เดินทางค้าขายนั้น.
15. พระเยซูตรัสว่าแท้จริงอะไรเป็นเหตุให้พวกสาวกมีความยินดี?
15 นอกจากอัครสาวก 12 คนนี้ พระเยซู “ทรงตั้งสาวกอื่นอีกเจ็ดสิบคนไว้ และใช้เขาออกไปทีละสองคน ๆ ให้ล่วงหน้าพระองค์ไปก่อน, ให้เข้าไปทุกเมืองและทุกตำบลที่พระองค์ลูกา 10:1-12) เมื่อเจ็ดสิบคนนั้นกลับมา พวกเขาเปี่ยมล้นด้วยความยินดีและทูลรายงานพระเยซูว่า “พระองค์เจ้าข้า, ถึงผีทั้งหลายก็ได้อยู่ใต้บังคับของพวกข้าพเจ้าโดยพระนามของพระองค์.” แต่พวกเขาคงประหลาดใจเมื่อพระเยซูเผยว่าพวกเขาจะประสบความยินดียิ่งกว่านี้อีกด้วยเหตุที่พวกเขามีใจแรงกล้าเพื่อราชอาณาจักร. พระองค์ตรัสแก่พวกเขาว่า “อย่ายินดีในสิ่งนี้, คือที่พวกผีอยู่ใต้บังคับของพวกท่าน. แต่จงชื่นชมเพราะนามของท่านจดไว้ในสวรรค์.”—ลูกา 10:17, 20.
จะเสด็จไปนั้น.” พระองค์บอกพวกเขาเช่นกันถึงการทดลองและความลำบากที่จะประสบในวันข้างหน้า และสั่งพวกเขาให้บอกประชาชนว่า “แผ่นดิน [ราชอาณาจักร] ของพระเจ้ามาใกล้ท่านทั้งหลายแล้ว.” (16, 17. (ก) พระเยซูบอกอะไรแก่อัครสาวกที่ซื่อสัตย์ของพระองค์ในคืนสุดท้ายที่พระองค์อยู่กับพวกเขา? (ข) คำตรัสของพระเยซูก่อความยินดีและให้คำรับรองอะไรแก่พวกอัครสาวก?
16 ท้ายที่สุด ในคืนสุดท้ายที่พระเยซูอยู่กับอัครสาวก วันที่ 14 เดือนไนซาน ปี ส.ศ. 33 พระองค์ทรงตั้งสิ่งซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันว่า “อาหารมื้อเย็นขององค์พระผู้เป็นเจ้า” และบัญชาพวกเขาให้ระลึกถึงเหตุการณ์นี้. ในคืนวันนั้น พระเยซูบอกอัครสาวก 11 คนที่เหลืออยู่ว่า “เจ้าทั้งหลายเป็นผู้ที่ได้ติดสนิทกับเราในเวลาที่เราถูกทดลอง และเราทำสัญญาเรื่องราชอาณาจักรกับเจ้าทั้งหลาย เช่นเดียวกับที่พระบิดาของเราได้ทำสัญญากับเรา เพื่อเจ้าทั้งหลายจะกินและดื่มที่โต๊ะของเราในราชอาณาจักรของเรา และนั่งบนบัลลังก์เพื่อจะพิพากษาอิสราเอลสิบสองตระกูล.”—ลูกา 22:19, 20, 28-30, ล.ม.
17 หัวใจของพวกอัครสาวกคงต้องเปี่ยมล้นด้วยความยินดีและอิ่มอกอิ่มใจสักเพียงไรเมื่อได้ยินพระเยซูตรัสเช่นนั้น! พวกเขาได้รับการเสนอให้มีสิทธิพิเศษและเกียรติอันสูงสุดเท่าที่มนุษย์คนใด ๆ จะมีได้. (มัดธาย 7:13, 14; 1 เปโตร 2:9) เช่นเดียวกับพ่อค้าที่เดินทางค้าขายนั้น พวกเขาได้สละหลายสิ่งเพื่อติดตามพระเยซูในการแสวงหาราชอาณาจักร. บัดนี้ พวกเขาได้รับคำรับรองว่าการเสียสละที่พวกเขาได้ทำมาจนถึงบัดนี้จะไม่สูญเปล่าอย่างแน่นอน.
18. นอกจากอัครสาวก 11 คนแล้ว ในที่สุดจะมีใครอีกที่ได้รับพระพรแห่งราชอาณาจักรด้วย?
18 อัครสาวกที่อยู่กับพระเยซูในคืนวันนั้นไม่ใช่กลุ่มเดียวที่จะได้รับพระพรแห่งราชอาณาจักร. เป็นพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวาที่จะให้มีมนุษย์จำนวน 144,000 คนถูกนำเข้าสู่สัญญาเรื่องราชอาณาจักรเพื่อเป็นผู้ร่วมปกครองกับพระเยซูคริสต์ในราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์อันรุ่งโรจน์. นอกจากนั้น อัครสาวกโยฮันเห็นในนิมิต “ชนฝูงใหญ่ ซึ่งไม่มีใครนับจำนวนได้ . . . ยืนอยู่ต่อหน้าราชบัลลังก์และต่อพระพักตร์พระเมษโปดก . . . ร้องเสียงดังไม่หยุดว่า ‘ความรอดนั้นเราได้เนื่องมาจากพระเจ้าของเราผู้ประทับบนราชบัลลังก์และเนื่องมาจากพระเมษโปดก.’ ” คนเหล่านี้ก็คือราษฎร *—วิวรณ์ 7:9, 10, ล.ม.; 14:1, 4.
ทางแผ่นดินโลกของราชอาณาจักร.19, 20. (ก) มีการเปิดโอกาสอะไรแก่ชนทุกชาติ? (ข) จะมีการพิจารณาคำถามอะไรในบทความถัดไป?
19 ไม่นานก่อนพระเยซูจะเสด็จสู่สวรรค์ พระองค์บัญชาสาวกผู้ซื่อสัตย์ของพระองค์ดังนี้: “จงไปทำให้คนจากทุกชาติเป็นสาวก ให้เขารับบัพติสมาในนามแห่งพระบิดาและพระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์ สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้. และนี่แน่ะ! เราอยู่กับพวกเจ้าเสมอจนกระทั่งช่วงอวสานแห่งระบบ.” (มัดธาย 28:19, 20, ล.ม.) ดังนั้น ประชาชนจากทุกชาติจะเข้ามาเป็นสาวกของพระเยซูคริสต์. คนเหล่านี้ก็เช่นกัน ปรารถนาจะได้ราชอาณาจักร—ไม่ว่าจะเป็นบำเหน็จในสวรรค์หรือบนแผ่นดินโลก—เช่นเดียวกับที่พ่อค้าที่เดินทางค้าขายปรารถนาจะได้ไข่มุกคุณภาพเยี่ยมนั้น.
20 คำตรัสของพระเยซูบ่งชี้ว่างานทำให้คนเป็นสาวกจะดำเนินไปจนกระทั่ง “ช่วงอวสานแห่งระบบ.” ฉะนั้น ในสมัยของเรานี้ ยังมีคนอย่างพ่อค้าที่เดินทางค้าขายนั้นไหม ผู้ซึ่งเต็มใจสละสิ่งสารพัดของตนเพื่อแสวงหาราชอาณาจักรของพระเจ้า? บทความถัดไปจะพิจารณาคำถามนี้.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 10 หลังจากพบกันครั้งแรกนั้น โยฮันบุตรเซเบดายอาจติดตามพระเยซูไปและเห็นด้วยตัวเองถึงสิ่งต่าง ๆ ที่พระองค์ทำ จึงทำให้ท่านสามารถบันทึกเหตุการณ์เหล่านั้นได้อย่างเห็นภาพชัดในพระธรรมกิตติคุณของท่าน. (โยฮัน บท 2-5) กระนั้น โยฮันได้กลับไปทำธุรกิจประมงของครอบครัวช่วงหนึ่งก่อนที่พระเยซูทรงเชิญเขาให้ติดตามพระองค์.
^ วรรค 18 สำหรับรายละเอียด โปรดดูหนังสือความรู้ซึ่งนำไปสู่ชีวิตนิรันดร์ บท 10 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
คุณอธิบายได้ไหม?
• อะไรคือจุดสำคัญในอุปมาเกี่ยวกับพ่อค้าที่เดินทางค้าขาย?
• พระเยซูแสดงอย่างไรว่าพระองค์ทรงเห็นถึงความล้ำค่าของราชอาณาจักรอย่างยิ่ง?
• อะไรเป็นเหตุที่อันดะเรอา, เปโตร, โยฮัน, และคนอื่น ๆ ตอบรับคำเชิญของพระเยซูในทันที?
• ชนทุกชาติมีโอกาสอันน่าพิศวงอะไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 10]
‘พวกเขาสละทิ้งสิ่งสารพัตรตามพระเยซูไป’
[ภาพหน้า 12]
ก่อนเสด็จสู่สวรรค์ พระเยซูบัญชาสาวกของพระองค์ให้ทำคนเป็นสาวก