คุณเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นไหม?
คุณเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นไหม?
ทุกคนคงเคยพบเห็นคนที่หน้าตาดีกว่าเรา, ดูเหมือนว่ามีผู้คนนิยมชมชอบมากกว่า, ปฏิภาณไหวพริบดีกว่า, หรือเรียนหนังสือเก่งกว่า. บางคนอาจมีสุขภาพแข็งแรงกว่าหรือได้ทำงานที่น่าพอใจมากกว่า, ประสบความสำเร็จสูงกว่า, หรือดูเหมือนว่าเขามีเพื่อนมากกว่าเรา. พวกเขาอาจมีทรัพย์สินเงินทองมากกว่า, มีรถที่ใหม่กว่า, หรืออาจดูมีความสุขมากกว่าเรา. เมื่อกล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น เราเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นไหม? จะหลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบไม่ได้เลยหรือ? ทำไมคริสเตียนอาจต้องการหลีกเลี่ยงการกระทำเช่นนั้น? และเราจะอิ่มใจพอใจได้อย่างไรโดยไม่เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น?
ทำไมและเมื่อไรที่เราอาจจะเปรียบเทียบ
แนวคิดหนึ่งที่คนเราอาจเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นก็เพราะการทำเช่นนั้นช่วยคงไว้ซึ่งความนับถือตัวเอง หรือเพิ่มความนับถือตัวเองให้มากขึ้น. บ่อยครั้งผู้คนรู้สึกพอใจเมื่อรู้ว่าตนประสบความสำเร็จเหมือนคนรุ่นเดียวกัน. แนวคิดอีกอย่างหนึ่งคือการเปรียบเทียบเป็นความพยายามที่จะลดความไม่มั่นใจในตัวเอง เพื่อจะรู้และเข้าใจว่าเราสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้แค่ไหนและขีดจำกัดของเราคืออะไร. เราสังเกตสิ่งที่คนอื่นได้บรรลุความสำเร็จ. ถ้าพวกเขาเหมือนเราในแง่มุมหลาย ๆ ด้าน และได้บรรลุเป้าหมายบางอย่าง เราอาจรู้สึกว่าเราสามารถจะบรรลุเป้าหมายคล้าย ๆ กันได้เช่นกัน.
บ่อยครั้งทีเดียว การเปรียบเทียบมักเกิดขึ้นระหว่างผู้คนที่มีลักษณะคล้ายกัน—เพศเดียวกัน, อายุไล่เลี่ยกัน, สถานะทางสังคมพอ ๆ กันและรู้จักกัน. เราคงไม่คิดจะเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับใครบางคนหากมองเห็นว่ามีความแตกต่างกันอย่างเด่นชัด. พูดอีกอย่างหนึ่ง เด็กหญิงวัยรุ่นโดยทั่ว ๆ ไปคงจะเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อนนักเรียนมากกว่าที่จะเปรียบกับนางแบบเดินแฟชั่นชั้นแนวหน้า และนางแบบก็คงจะไม่เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับเด็กวัยรุ่น.
เราจัดให้การเปรียบเทียบอยู่ในขอบเขตใด? ทรัพย์สินใด ๆ หรือคุณสมบัติซึ่งถือว่ามีค่าในชุมชน อาทิ เชาวน์ปัญญา, ความสวยงาม, ความมั่งคั่ง, เสื้อผ้า อาจเป็นพื้นฐานของการเปรียบเทียบได้. อย่างไรก็ดี เรามักจะทำการเปรียบเทียบสิ่งต่าง ๆ ที่เราสนใจ. ตัวอย่างเช่น เราคงไม่อิจฉาคนที่เรารู้จักซึ่งได้สะสมดวงตราไปรษณียากร นอกเสียจากว่าเราเองสนใจการสะสมดวงตราไปรษณียากรเป็นพิเศษ.
การเปรียบเทียบกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาหลายรูปแบบ นับจากความอิ่มใจพอใจจนถึงภาวะซึมเศร้า ตั้งแต่การยกย่อง
ชมเชยและความปรารถนาจะเลียนแบบไปจนถึงความหงุดหงิดหรือความเป็นปรปักษ์กัน. อารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้บางอย่างก่อความเสียหาย และไปด้วยกันไม่ได้กับคุณลักษณะของคริสเตียน.การเปรียบเทียบเพื่อแข่งขันชิงดี
หลายคนที่พยายามเป็น “ฝ่ายชนะ” ในการเปรียบเทียบแสดงออกซึ่งน้ำใจแข่งขันชิงดี. พวกเขาต้องการเป็นคนที่เหนือกว่าคนอื่น และคงไม่พอใจจนกว่าเขาจะรู้สึกว่าตนเหนือกว่า. ไม่ใช่เรื่องน่ายินดีที่จะอยู่กับคนประเภทนี้. การเป็นเพื่อนกับพวกเขาทำให้อิดโรย เกิดความตึงเครียดในสัมพันธภาพ. คนประเภทดังกล่าวไม่เพียงแค่ขาดความถ่อม แต่โดยปกติแล้วเขาไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของพระคัมภีร์ที่ให้รักเพื่อนมนุษย์ ด้วยเหตุที่ทัศนคติของเขาอาจปลุกเร้าผู้อื่นได้ง่ายให้รู้สึกว่าต่ำต้อยด้อยค่า.—มัดธาย 18:1-5; โยฮัน 13:34, 35.
การทำให้ผู้อื่นรู้สึกว่าตัวเขานั้น “ด้อยค่า” เท่ากับเป็นการทำร้ายเขา. ดังที่นักเขียนคนหนึ่งกล่าว “ความล้มเหลวทั้งมวลของเรายิ่งสร้างความเจ็บปวดมากขึ้นเมื่อปรากฏว่าผู้คนสภาพเดียวกันกับเราได้ครอบครองสมบัติที่เราต้องการ.” ดังนั้น น้ำใจแข่งขันชิงดีกระตุ้นให้เกิดความอิจฉา, ความขุ่นเคือง, และความไม่พอใจต่อบางคน เนื่องจากทรัพย์สมบัติ, ความเจริญเฟื่องฟู, สถานภาพ, ชื่อเสียง, ความได้เปรียบของเขา, และอะไรอื่น ๆ อีก. น้ำใจเช่นนี้ทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น เป็นวัฏจักรอันเลวร้าย. พระคัมภีร์ตำหนิการ “ยั่วยุให้มีการแข่งขันชิงดีกัน.”—ฆะลาเตีย 5:26, ล.ม.
คนที่อิจฉาผู้อื่นพยายามรักษาความนับถือตัวเองที่ได้พ่ายแพ้แก่คู่แข่งโดยพยายามทำให้ดูเหมือนว่าความสำเร็จของคนอื่นไม่ดีเท่าที่ผู้คนคิด. ปฏิกิริยาเช่นนั้นอาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถ้าไม่ระวังและไม่ยับยั้งไว้อาจนำไปสู่การทำผิดอย่างประสงค์ร้าย. จงพิจารณาสองเรื่องในคัมภีร์ไบเบิลซึ่งมีความอิจฉาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย.
ในช่วงที่ยิศฮาคอาศัยอยู่ท่ามกลางชาวฟิลิสติน ท่านเจริญมั่งคั่ง “มีฝูงแกะฝูงวัวและทาสเป็นอันมาก: ชาวฟะลิศตีมก็อิจฉาท่าน.” พวกเขาได้เอาดินถมบ่อน้ำที่อับราฮามบิดาของท่านขุดไว้ และบรรดาเจ้าเมืองของเขาได้บอกยิศฮาคให้ออกไปจากพื้นที่นั้น. (เยเนซิศ 26:1-3, 12-16) ความอิจฉาทำให้พวกเขาหาเรื่องกลั่นแกล้งและทำลาย. พวกเขาไม่อาจทนดูความเจริญเฟื่องฟูของยิศฮาคได้อีกต่อไป.
หลายร้อยปีต่อมา ดาวิดโดดเด่นในสมรภูมิ. บรรดาสตรีแห่งอิสราเอลร้องเพลงสดุดีวีรกรรมของท่านว่า “ซาอูลได้ฆ่าคนนับตั้งพัน แต่ส่วนดาวิดฆ่าคนนับตั้งหมื่น.” ถึงแม้ซาอูลได้รับการยกย่องระดับหนึ่ง แต่ท่านถือการเปรียบเทียบเช่นนั้นเป็นการดูหมิ่น ในหัวใจของท่านจึงคุกรุ่นด้วยความริษยา. ตั้งแต่นั้นมา ท่านคอยแต่จะเก็บความขุ่นเคืองไว้. ในไม่ช้าท่านก็พยายามสังหารดาวิดเป็นครั้งแรก และอีกหลายครั้งในเวลาต่อมา. ความอิจฉาช่างก่อให้เกิดความชั่วร้ายเสียจริง ๆ!—1 ซามูเอล 18:6-11.
ฉะนั้น ถ้าการเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นจะปลุกเร้าให้เกิดความรู้สึกคล้ายความอิจฉาหรือการแข่งขันกัน ทั้งในเรื่องของความสามารถหรือข้อได้เปรียบ ก็จงระวัง! ความรู้สึกต่าง ๆ เหล่านี้ก่อความเสียหาย ไม่ลงรอยกันกับพระดำริของพระเจ้า. แต่ก่อนจะตรวจสอบดูว่าจะต้านทานเจตคติดังกล่าวได้อย่างไร ขอให้เราพิจารณาสิ่งอื่นอีกซึ่งก่อให้เกิดการเปรียบเทียบ.
การประเมินค่าตัวเองและความอิ่มใจ
‘ฉันเป็นคนเฉลียวฉลาด, น่าดึงดูดใจ, มีความสามารถ, สุขภาพแข็งแรง, สามารถสร้างความน่านับถือ, น่ารักไหม? และมีคุณลักษณะเหล่านี้มากน้อยขนาดไหน?’ เราแทบไม่เคยยืนส่องกระจกแล้วถามเรื่องต่าง ๆ ทำนองนี้. กระนั้น ตามที่นักเขียนคนหนึ่งพูด “ถือได้ว่า คำถามเหล่านี้ผุดขึ้นมาในความคิดของเราบ่อย ๆ และก่อให้เกิดคำตอบในใจซึ่งให้ความพอใจอยู่บ้าง.” คนที่ไม่แน่ใจว่าตนจะสามารถบรรลุความสำเร็จก็อาจสะท้อนลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าวโดยปราศจากแรงกระตุ้นที่จะแข่งขันหรือรู้สึกอิจฉา. เขาเพียงแต่
ประเมินค่าตัวเอง. การทำเช่นนั้นก็ใช่ว่าผิดเสียทีเดียว. อย่างไรก็ตาม แนวทางที่ถูกต้องที่พึงกระทำคือ ไม่เปรียบเทียบตัวเรากับคนอื่น.เรามีความสามารถต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง. จะมีผู้คนที่ดูเหมือนทำดีกว่าเราเสมอ. ด้วยเหตุนี้ แทนที่จะเฝ้าสังเกตดูด้วยใจอิจฉา เราควรวัดการกระทำของเราโดยอาศัยมาตรฐานชอบธรรมของพระเจ้า ซึ่งเป็นมาตรฐานที่แน่นอนว่าอะไรดีอะไรถูกต้อง. พระยะโฮวาทรงสนพระทัยพวกเราเป็นรายบุคคล. พระองค์ไม่ประสงค์จะเปรียบเทียบเรากับคนหนึ่งคนใด. อัครสาวกเปาโลแนะนำเราว่า “ให้แต่ละคนพิสูจน์ดูว่างานของเขาเองเป็นอย่างไร และครั้นแล้วเขาจะมีเหตุที่จะปีติยินดีเกี่ยวกับตัวเขาเองเท่านั้น และไม่ใช่โดยเปรียบเทียบกับคนอื่น.”—ฆะลาเตีย 6:4, ล.ม.
ต้านทานการอิจฉา
ด้วยเหตุที่มนุษย์ทุกคนไม่สมบูรณ์ อาจจะต้องบากบั่นแข็งขันและใช้เวลานานที่จะต้านทานความอิจฉา. การรู้ว่าพระคัมภีร์บอกเราว่า “ในการให้เกียรติกัน จงนำหน้า” เป็นเรื่องหนึ่ง แต่ที่จะทำดังกล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่ง. เปาโลตระหนักถึงความโน้มเอียงของตัวเองในการบาป. ที่จะต่อสู้ความโน้มเอียงนั้น ท่านต้อง “ทุบตีร่างกาย [ของท่าน] และจูงมันเยี่ยงทาส.” (โรม 12:10, ล.ม.; 1 โกรินโธ 9:27, ล.ม.) สำหรับพวกเรา นั่นอาจหมายถึงการต้านทานแนวคิดเชิงแข่งขันชิงดี แล้วใส่ความคิดในแง่ก่อร่างสร้างกันไว้แทนที่. จำเป็นที่เราต้องอธิษฐาน ทูลขอพระยะโฮวาช่วยเรา “อย่าคิดถึงตัวเองเกินกว่าที่จำเป็นจะคิดนั้น.”—โรม 12:3, ล.ม.
การศึกษาพระคัมภีร์และการคิดรำพึงช่วยได้เช่นกัน. ตัวอย่างเช่น ให้คิดถึงอุทยานในอนาคตที่พระเจ้าทรงสัญญา. สมัยนั้น ทุกคนจะมีความสงบสุข, สุขภาพสมบูรณ์, อาหารอุดม, มีบ้านอยู่สุขสบาย, และมีงานที่น่าพอใจ. (บทเพลงสรรเสริญ 46:8, 9; 72:7, 8, 16; ยะซายา 65:21-23) จะมีใครหรืออยากแข่งขันชิงดีกัน? ไม่มีเลย. ไม่มีเหตุผลจะทำเช่นนั้น. จริงอยู่ พระยะโฮวาไม่ได้บอกรายละเอียดทุกอย่างว่าชีวิตตอนนั้นจะเป็นอย่างไร แต่เราก็พอคาดหมายได้ว่าทุกคนจะสามารถทำสิ่งที่เขาชอบ และเพิ่มทักษะด้านต่าง ๆ ที่เขาสนใจ. คนหนึ่งอาจศึกษาดาราศาสตร์ อีกคนหนึ่งออกแบบลายผ้าที่งามวิจิตร. ทำไมจะมัวอิจฉากันและกันเล่า? การงานของเพื่อนพ้องของเราจะกระตุ้นเราให้บรรลุผลสำเร็จยิ่ง ๆ ขึ้นไป ไม่ใช่สาเหตุก่อความขัดเคือง. ความคิดแบบนั้นจะไม่มีอีกเลย.
หากนั่นคือชีวิตที่เราปรารถนา ไม่ควรหรือที่เราจะเพาะทัศนะอย่างเดียวกันนั้นเสียแต่ตอนนี้? เราเพลิดเพลินอยู่แล้วในอุทยานฝ่ายวิญญาณ เราปลอดปัญหาหลายอย่างของโลกรอบตัวเรา. เนื่องจากจะไม่มีน้ำใจแข่งขันชิงดีในโลกใหม่ของพระเจ้า จริง ๆ แล้ว นับว่ามีเหตุผลจะหลีกเลี่ยงน้ำใจอย่างนั้นเสียแต่บัดนี้.
ทีนี้ ผิดไหมที่จะเปรียบเทียบตัวเรากับคนอื่น? หรือมีโอกาสไหนบ้างที่ถือได้ว่าเหมาะสม?
การเปรียบเทียบที่เหมาะสม
หลายครั้ง การเปรียบเทียบก่อความรู้สึกขมขื่นหรือทำให้รู้สึกหดหู่ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างนั้นเสมอไป. เกี่ยวกับเรื่องนี้ ขอสังเกตคำแนะนำของอัครสาวกเปาโลที่ว่า “ให้ตามเยี่ยงอย่างแห่งคนเหล่านั้นที่อาศัยความเชื่อและความเพียร จึงได้รับคำสัญญาเป็นมฤดก.” (เฮ็บราย 6:12) การพยายามจะปลูกฝังคุณลักษณะต่าง ๆ เยี่ยงบรรดาผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระยะโฮวาในคราวโบราณจะก่อผลดีอย่างอุดม. จริงอยู่ การทำเช่นนั้นอาจหมายถึงการเปรียบเทียบอยู่บ้าง. แต่นั่นจะช่วยเรามองเห็นตัวอย่างต่าง ๆ ที่เราอาจเอาอย่างและขอบข่ายที่เราจำเป็นต้องปรับปรุง.
1 ซามูเอล 19:1-4) ไม่เหมือนพระราชบิดาผู้ซึ่งมองดาวิดเสมือนคู่แข่ง โยนาธานสำนึกว่าพระยะโฮวาทรงจัดการเรื่องราวต่าง ๆ และจึงได้ยอมทำตามพระทัยประสงค์ของพระองค์ ท่านไม่เปรียบเทียบตัวเองกับดาวิด โดยการถามว่า “ทำไมเลือกดาวิด ไม่เลือกข้าพเจ้า?”
ขอพิจารณาโยนาธาน. ในแง่หนึ่งท่านมีเหตุผลอันควรที่จะอิจฉา. เนื่องจากเป็นราชบุตรหัวปีของกษัตริย์ซาอูลแห่งอิสราเอล โยนาธานอาจหมายมั่นจะครองราชย์เป็นกษัตริย์ แต่พระยะโฮวาได้ทรงสรรดาวิด บุรุษอายุน้อยกว่าราว ๆ 30 ปี. แทนการเก็บความขุ่นเคือง โยนาธานโดดเด่นในการแสดงมิตรภาพอย่างไม่เห็นแก่ตัว และให้การเกื้อหนุนดาวิดฐานะผู้ที่พระยะโฮวาทรงแต่งตั้งไว้ให้เป็นกษัตริย์. โยนาธานเป็นผู้ที่ฝักใฝ่ฝ่ายวิญญาณอย่างแท้จริง. (ท่ามกลางเพื่อนคริสเตียน เราไม่ควรจะรู้สึกว่าถูกคุกคาม ประหนึ่งว่าคนอื่นพยายามจะทำเกินหน้าหรือชิงตำแหน่งของเราไป. การแข่งขันชิงดีเป็นการไม่สมควร. สิ่งบ่งบอกลักษณะนิสัยคริสเตียนที่มีวุฒิภาวะได้แก่ ความร่วมมือกัน, ความสามัคคี, และความรัก ไม่ใช่การแข่งขันชิงดี. ฟรานเชสโก อัลเบโรนี นักสังคมวิทยาพูดว่า “ความรักขจัดความอิจฉา. ถ้าเรารักใครสักคน เราต้องการให้เขาได้สิ่งดี ๆ และเรามีความสุขเมื่อเขาประสบความสำเร็จและปีติยินดี.” ดังนั้น ถ้าใครบางคนในประชาคมคริสเตียนถูกเลือกให้ทำหน้าที่มอบหมายใด ๆ การกระทำที่แสดงความรักก็คงจะเป็นความพอใจยินดีกับสิทธิพิเศษนั้น. นั่นแหละคือแนวทางการกระทำของโยนาธาน. เช่นเดียวกับท่าน เราจะได้รับพระพรเป็นบำเหน็จถ้าเราเกื้อหนุนผู้รับใช้เหล่านั้นที่ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบด้วยความซื่อสัตย์ในองค์การของพระยะโฮวา.
ตัวอย่างที่ดีเยี่ยมของเพื่อนคริสเตียนอาจสมควรได้รับคำชมเชย. การเปรียบเทียบที่สุขุมกับคนเหล่านั้นจะส่งเสริมเราให้เอาอย่างความเชื่อของพวกเขาในทางที่เป็นประโยชน์. (เฮ็บราย 13:7) แต่ถ้าเราไม่ระมัดระวัง การเอาอย่างอาจจะกลายเป็นการแข่งขัน. ถ้าเรารู้สึกว่าเราไม่เก่งไม่ดีพอจะเทียบกับคนที่เราชื่นชม และเราพยายามทำลายชื่อเสียงของเขาหรือวิพากษ์วิจารณ์เขา เราก็ไม่ได้เอาอย่างคนเหล่านั้น แต่อิจฉาเขาต่างหาก.
มนุษย์ไม่สมบูรณ์ไม่มีสักคนเป็นแบบอย่างอันเลิศ. ด้วยเหตุนี้ มีคำกล่าวในพระคัมภีร์ว่า “จงประพฤติอย่างพระเจ้า, เหมือนเป็นบุตรที่รัก.” อีกข้อหนึ่งบอกว่า “พระคริสต์ได้ทรงรับทนทุกข์ทรมานเพื่อท่านทั้งหลาย ให้เป็นแบบอย่างแก่ท่าน, เพื่อท่านจะได้ตามรอยพระบาทของพระองค์.” (เอเฟโซ 5:1, 2; 1 เปโตร 2:21) คุณลักษณะของพระยะโฮวาและพระเยซู ซึ่งได้แก่ ความรัก, ความอบอุ่น, ความร่วมรู้สึก, และความถ่อม ควรถือเอาเป็นคุณลักษณะที่เราพยายามเลียนแบบ. เราควรใช้เวลาเปรียบเทียบตัวเรากับคุณลักษณะ, วัตถุประสงค์, และวิธีที่พระองค์ทั้งสองทรงจัดการกับเรื่องต่าง ๆ. การเปรียบเทียบเช่นนี้จะทำให้ชีวิตของเราดีขึ้น, ทำให้เรามีทิศทางที่แน่นอน, มีความมั่นคง, และปลอดภัย อีกทั้งสามารถช่วยเราบรรลุคุณสมบัติอันดีงามเยี่ยงชายหญิงคริสเตียนผู้มีวุฒิภาวะ. (เอเฟโซ 4:13) หากเราจดจ่อทำดีที่สุดด้วยการเลียนแบบอย่างที่สมบูรณ์พร้อมของพระองค์ทั้งสอง แน่นอน เราจะลดการเอนเอียงไปในทางที่จะเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน.
[ภาพหน้า 28, 29]
กษัตริย์ซาอูลอิจฉาดาวิด
[ภาพหน้า 31]
โยนาธานไม่เคยมองดาวิดผู้อ่อนวัยกว่าเสมือนคู่แข่ง