คำแนะนำที่ฉลาดสุขุมสำหรับคู่สมรส
คำแนะนำที่ฉลาดสุขุมสำหรับคู่สมรส
“ฝ่ายภรรยา จงยอมฟังสามีของตน, เหมือนยอมฟังองค์พระผู้เป็นเจ้า. ฝ่ายสามีจงรักภรรยาของตน.”—เอเฟโซ 5:22, 25.
1. ทัศนะที่ถูกต้องเรื่องการสมรสคืออย่างไร?
พระเยซูตรัสว่า การสมรสเป็นการผูกพันชายหญิงเข้าด้วยกันเป็น “เนื้ออันเดียวกัน” โดยพระเจ้า. (มัดธาย 19:5, 6) ชีวิตสมรสเกี่ยวข้องกับคนสองคนซึ่งมีบุคลิกภาพต่างกันเรียนรู้ที่จะพัฒนาความสนใจร่วมกันและร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมายที่มีร่วมกัน. การสมรสเป็นพันธะผูกมัดตลอดชีวิต ไม่ใช่ข้อตกลงชั่วคราว ซึ่งจะยกเลิกได้ง่าย ๆ. ในหลายประเทศ การหย่าร้างกันทำได้ไม่ยาก แต่สำหรับคริสเตียน พวกเขาถือว่าสายสัมพันธ์แห่งการสมรสนั้นศักดิ์สิทธิ์. เขาสิ้นสุดสายสมรสเฉพาะเมื่อมีเหตุที่ร้ายแรงจริง ๆ เท่านั้น.—มัดธาย 19:9.
2. (ก) ความช่วยเหลืออะไรที่มีไว้พร้อมสำหรับคู่สมรส? (ข) เหตุใดการพยายามทำให้ชีวิตสมรสประสบความสำเร็จจึงเป็นเรื่องสำคัญ?
2 ผู้ให้คำแนะนำเรื่องชีวิตสมรสคนหนึ่งกล่าวว่า “ชีวิตสมรสที่ประสบความสำเร็จคือกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องขณะที่ชีวิตสมรสมีเรื่องใหม่ ๆ เกิดขึ้น, จัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, และนำทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีมาใช้ในแต่ละช่วงของชีวิต.” สำหรับคู่สมรสคริสเตียน ทรัพยากรดังกล่าวรวมถึงคำแนะนำที่สุขุมจากคัมภีร์ไบเบิล, ความช่วยเหลือจากเพื่อนคริสเตียน, และสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับพระยะโฮวาโดยการอธิษฐาน. ชีวิตสมรสที่ประสบความสำเร็จย่อมผ่านพ้นอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้ และก่อความสุขกับความอิ่มใจพอใจแก่สามีภรรยาตลอดชีวิตสมรส. ที่สำคัญที่สุด ชีวิตสมรสที่ประสบความสำเร็จนำพระเกียรติมาสู่พระยะโฮวาพระเจ้า ผู้ริเริ่มการสมรส.—เยเนซิศ 2:18, 21-24; 1 โกรินโธ 10:31; เอเฟโซ 3:15; 1 เธซะโลนิเก 5:17.
เลียนแบบพระเยซูและประชาคมคริสเตียน
3. (ก) จุดสำคัญของคำแนะนำที่เปาโลให้แก่คู่สมรสคืออะไร? (ข) พระเยซูวางแบบอย่างอันยอดเยี่ยมอะไรแก่เรา?
3 ราวสองพันปีมาแล้ว อัครสาวกเปาโลให้คำแนะนำที่เอเฟโซ 5:24, 25, ล.ม.) นับว่าเป็นการเปรียบเทียบที่เหมาะเจาะเสียจริง ๆ! ภรรยาคริสเตียนที่ยอมอยู่ใต้อำนาจสามีเสมอด้วยความถ่อมใจจะเลียนแบบประชาคมในการยอมรับและทำตามหลักการเรื่องความเป็นประมุข. สามีคริสเตียนซึ่งรักภรรยาของตนเสมอ ไม่ว่าอยู่ในยามที่เอื้ออำนวยหรือลำบากก็ตาม แสดงให้เห็นว่าพวกเขาทำตามแบบอย่างของพระคริสต์อย่างใกล้ชิดในการแสดงความรักและเอาพระทัยใส่ประชาคม.
สุขุมแก่คู่สมรสคริสเตียนเมื่อเขียนว่า “ประชาคมอยู่ใต้อำนาจพระคริสต์ฉันใด ก็จงให้ภรรยาอยู่ใต้อำนาจสามีของตนในทุกสิ่งเหมือนกันฉันนั้น. สามีทั้งหลาย จงรักภรรยาของตนต่อ ๆ ไปเช่นเดียวกับพระคริสต์ได้ทรงรักประชาคมและได้สละพระองค์เองเพื่อประชาคม.” (4. สามีจะทำตามแบบอย่างของพระเยซูได้ในทางใด?
4 สามีคริสเตียนเป็นประมุขของครอบครัว แต่พวกเขาก็มีประมุขด้วย คือพระเยซู. (1 โกรินโธ 11:3) ฉะนั้น พระเยซูเอาพระทัยใส่ประชาคมของพระองค์ฉันใด สามีก็ควรเอาใจใส่ครอบครัวของตนด้วยความรักทั้งในด้านร่างกายและฝ่ายวิญญาณฉันนั้น แม้ว่าต้องเป็นฝ่ายเสียสละก็ตาม. พวกเขาจัดให้สวัสดิภาพของครอบครัวมาก่อนความปรารถนาและความชอบของเขาเอง. พระเยซูตรัสว่า “สิ่งสารพัตรซึ่งท่านปรารถนาให้มนุษย์ทำแก่ท่าน, จงกระทำอย่างนั้นแก่เขาเหมือนกัน.” (มัดธาย 7:12) หลักการนี้นำมาใช้ได้เป็นพิเศษในชีวิตสมรส. เปาโลแสดงให้เห็นเรื่องนี้เมื่อท่านกล่าวว่า “สามีควรจะรักภรรยาของตนเหมือนรักกายของตนเอง. . . . ไม่มีผู้ที่เกลียดชังเนื้อหนังของตนเอง, แต่ย่อมเลี้ยงบำรุงไว้.” (เอเฟโซ 5:28, 29) สามีควรเลี้ยงดูและเอาใจใส่ดูแลภรรยาของตนอย่างเดียวกันกับที่เขาเลี้ยงบำรุงตัวเขาเอง.
5. ภรรยาจะเลียนแบบประชาคมคริสเตียนได้ในทางใด?
5 ภรรยาผู้เลื่อมใสพระเจ้าถือเอาประชาคมคริสเตียนเป็นแบบอย่าง. เมื่อพระเยซูอยู่บนแผ่นดินโลก สาวกของพระองค์ยินดีเลิกงานอาชีพของพวกเขาแล้วติดตามพระองค์ไป. หลังจากสิ้นพระชนม์ พวกเขายังคงอยู่ใต้อำนาจพระองค์ และหลังจากที่ผ่านไปราว 2,000 ปี ประชาคมคริสเตียนแท้ก็ยังอยู่ใต้อำนาจพระเยซูและติดตามการเป็นผู้นำของพระองค์ในทุกสิ่ง. ในทำนองเดียวกัน ภรรยาคริสเตียนไม่ดูถูกสามี หรือพยายามลดความสำคัญของการจัดเตรียมตามหลักพระคัมภีร์ว่าด้วยความเป็นประมุขในสายสมรส. แทนที่จะทำอย่างนั้น พวกเธอสนับสนุนและยอมอยู่ใต้อำนาจสามี ให้ความร่วมมือกับเขา และโดยการทำอย่างนี้ จึงเป็นการหนุนใจสามี. เมื่อทั้งสามีและภรรยาประพฤติต่อกันในวิธีที่แสดงความรักเช่นนี้ ชีวิตสมรสของทั้งสองจะประสบความสำเร็จ และทั้งคู่จะมีความสุขที่ได้อยู่ด้วยกัน.
อยู่กับนางต่อ ๆ ไป
6. เปโตรให้คำแนะนำอะไรแก่สามี และทำไมคำแนะนำดังกล่าวนับว่าสำคัญ?
6 อัครสาวกเปโตรให้คำแนะนำแก่คู่สมรสเช่นกัน และถ้อยคำของท่านที่ให้แก่สามีนั้นตรงไปตรงมาเป็นพิเศษ. ท่านกล่าวว่า “จงอยู่กินกับภรรยา [“อยู่กับนางต่อ ๆ ไป,” ล.ม.] โดยใช้ความรู้ จงให้เกียรติยศแก่ภรรยาเหมือนหนึ่งเป็นภาชนะที่อ่อนแอกว่า, และเหมือนเป็นคู่รับมฤดกพระคุณแห่งชีวิตด้วยกัน เพื่อจะได้ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดขัดขวางคำ1 เปโตร 3:7) ความสำคัญของคำแนะนำของเปโตรเห็นได้จากเนื้อความในส่วนท้ายของข้อคัมภีร์นี้. หากสามีไม่ให้เกียรติภรรยา สัมพันธภาพระหว่างเขากับพระยะโฮวาจะได้รับผลกระทบ. คำอธิษฐานของเขาจะถูกขัดขวาง.
อธิษฐานของท่าน.” (7. สามีควรให้เกียรติภรรยาโดยวิธีใด?
7 ดังนั้นแล้ว สามีจะให้เกียรติภรรยาของตนโดยวิธีใด? การให้เกียรติภรรยาหมายถึงการปฏิบัติต่อเธออย่างอ่อนโยน อย่างที่นับถือและคำนึงถึงศักดิ์ศรี. การปฏิบัติต่อภรรยาด้วยความอ่อนโยนเช่นนั้นดูเหมือนเป็นเรื่องแปลกสำหรับหลายคน. ผู้คงแก่เรียนชาวกรีกคนหนึ่งเขียนว่า “ภายใต้กฎหมายโรมัน ผู้หญิงไม่มีสิทธิอะไร. ตามกฎหมายนั้น ผู้หญิงมีสิทธิเท่ากับเด็ก. . . . เธออยู่ใต้อำนาจและการควบคุมของสามีอย่างสิ้นเชิง.” ช่างแตกต่างจากคำสอนของคริสเตียนเสียจริง ๆ! สามีคริสเตียนให้เกียรติภรรยาของเขา. วิธีที่เขาปฏิบัติต่อภรรยาถูกควบคุมด้วยหลักการคริสเตียน ไม่ใช่ด้วยความต้องการชั่วแล่นของเขาเอง. นอกจากนี้ สามีคำนึงถึงภรรยา “โดยใช้ความรู้” คำนึงว่าเธอเป็นภาชนะที่อ่อนแอกว่า.
“ภาชนะที่อ่อนแอกว่า”—ในทางใด?
8, 9. ผู้หญิงกับผู้ชายเสมอภาคกันในทางใดบ้าง?
8 เมื่อกล่าวว่าผู้หญิงเป็น “ภาชนะที่อ่อนแอกว่า” เปโตรไม่ได้หมายความว่าผู้หญิงด้อยกว่าในด้านเชาวน์ปัญญาหรือในด้านฝ่ายวิญญาณ. จริงอยู่ ชายคริสเตียนหลายคนมีสิทธิพิเศษในประชาคมซึ่งผู้หญิงไม่คาดหมายว่าจะได้รับ และในครอบครัวผู้หญิงต้องอยู่ใต้อำนาจสามี. (1 โกรินโธ 14:35; 1 ติโมเธียว 2:12) กระนั้น ทุกคนทั้งชายและหญิงต้องมีความเชื่อ, ความเพียรอดทน, และมาตรฐานสูงส่งด้านศีลธรรมที่เหมือนกัน. และตามที่เปโตรกล่าว ทั้งสามีและภรรยาเป็น “คู่รับมฤดกพระคุณแห่งชีวิตด้วยกัน.” ในเรื่องความรอด ทั้งคู่มีฐานะเท่าเทียมกันจำเพาะพระยะโฮวาพระเจ้า. (ฆะลาเตีย 3:28) เปโตรเขียนข้อความนี้ถึงคริสเตียนผู้ถูกเจิมในศตวรรษแรก. ฉะนั้น ถ้อยคำของท่านจึงเตือนสามีคริสเตียนทั้งหลายให้ระลึกว่า ในฐานะที่เขาเป็น “ทายาทด้วยกันกับพระคริสต์” พวกเขากับภรรยามีความหวังฝ่าย สวรรค์เหมือนกัน. (โรม 8:17) สักวันหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายจะปฏิบัติหน้าที่เป็นปุโรหิตและกษัตริย์ในราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์ของพระเจ้า!—วิวรณ์ 5:10.
9 ภรรยาที่เป็นคริสเตียนผู้ถูกเจิมมีฐานะไม่ด้อยกว่าสามีที่เป็นคริสเตียนผู้ถูกเจิมอย่างแน่นอน. และโดยหลักการแล้วก็เป็นอย่างนั้นด้วยกับผู้มีความหวังทางแผ่นดินโลก. ทั้งชายและหญิงที่เป็น “ชนฝูงใหญ่” ล้วนชำระล้างเสื้อยาวของตนและทำให้ขาวด้วยพระโลหิตของพระเมษโปดก. ทั้งชายและหญิงร่วมกันร้องสรรเสริญพระยะโฮวา “ทั้งวันทั้งคืน” ตลอดทั่วโลก. (วิวรณ์ 7:9, 10, 14, 15, ล.ม.) ทั้งชายและหญิงคอยท่าที่จะได้รับ “เสรีภาพอันรุ่งโรจน์แห่งบุตรทั้งหลายของพระเจ้า” เมื่อพวกเขาจะเพลิดเพลินกับ “ชีวิตซึ่งเป็นชีวิตจริง ๆ.” (โรม 8:21, ล.ม.; 1 ติโมเธียว 6:19) ไม่ว่าจะเป็นผู้ถูกเจิมหรือเป็นแกะอื่น คริสเตียนทุกคนต่างรับใช้พระยะโฮวาร่วมกันเป็น “ฝูงเดียว” ภายใต้การดูแลของ “ผู้เลี้ยงผู้เดียว.” (โยฮัน 10:16) ช่างเป็นเหตุผลที่หนักแน่นจริง ๆ ที่สามีและภรรยาคริสเตียนจะให้เกียรติอย่างสมควรแก่กันและกัน!
10. ผู้หญิงเป็น “ภาชนะที่อ่อนแอกว่า” ในความหมายใด?
10 ถ้าอย่างนั้น ในทางใดที่ผู้หญิงเป็น “ภาชนะที่อ่อนแอกว่า”? เปโตรอาจพาดพิงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าโดยทั่วไปแล้วผู้หญิงมีรูปร่างเล็กกว่าและมีพละกำลังน้อยกว่าผู้ชาย. นอกจากนี้ ในสภาพมนุษย์ไม่สมบูรณ์ สิทธิพิเศษอันแสนวิเศษที่ได้ให้กำเนิดบุตรก่อผลกระทบต่อสุขภาพของผู้หญิงด้วย. ผู้หญิงในวัยที่ให้กำเนิดบุตรได้อาจรู้สึกไม่ค่อยสบายตัวนักในช่วงหนึ่งของแต่ละเดือน. พวกเธอจำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่ดูแลและการคำนึงถึงเป็นพิเศษเมื่อรู้สึกไม่สบายเช่นนั้น หรืออ่อนเพลียเมื่อตั้งครรภ์และคลอดบุตร. สามีผู้ให้เกียรติภรรยาของตนและสำนึกว่าเธอต้องการการเกื้อหนุนจะมีส่วนอย่างมากในการทำให้ชีวิตคู่ประสบความสำเร็จ.
ในครอบครัวที่สามีภรรยาถือศาสนาต่างกัน
11. ชีวิตสมรสจะประสบความสำเร็จได้ในแง่ใด แม้ว่าสามีกับภรรยาถือศาสนาต่างกัน?
11 แล้วจะว่าอย่างไรถ้าหากคู่สมรสมีความเชื่อต่างกันทางศาสนาเนื่องจากฝ่ายหนึ่งได้ยอมรับความเชื่อแบบคริสเตียนหลังจากที่ได้สมรสกันไปแล้วระยะหนึ่ง และอีกฝ่ายหนึ่งยังคงถือศาสนาเดิมอยู่? ชีวิตสมรสแบบนี้จะประสบความสำเร็จได้ไหม? ชีวิตสมรสเช่นนั้นของหลาย ๆ คู่ประสบความสำเร็จ. สามีภรรยาที่มีความเชื่อต่างกันทางศาสนายังคงสามารถมีชีวิตสมรสที่ประสบความสำเร็จและยืนยาวซึ่งนำความสุขมาให้คนทั้งสองได้. นอกจากนี้ ในสายพระเนตรของพระยะโฮวาแล้ว ความเป็นสามีภรรยาหาได้สิ้นสุดลงไม่ ทั้งสองยังคงเป็น “เนื้ออันเดียวกัน.” ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายที่เป็นคริสเตียนจึงได้รับคำแนะนำให้อยู่ต่อไปกับฝ่ายที่ไม่เป็นคริสเตียนหากว่าเขาเต็มใจจะอยู่ด้วย. หากมีลูก ลูก ๆ ก็จะได้รับประโยชน์จากความซื่อสัตย์ของพ่อหรือแม่ฝ่ายที่เป็นคริสเตียน.—1 โกรินโธ 7:12-14.
12, 13. โดยการทำตามคำแนะนำของเปโตร ภรรยาคริสเตียนจะช่วยสามีที่ไม่ได้เป็นผู้เชื่อถือได้อย่างไร?
12 เปโตรให้คำแนะนำอย่างอ่อนโยนแก่สตรีคริสเตียนที่อยู่ในครอบครัวที่ถือศาสนาต่างกัน. สามีคริสเตียนที่อยู่ในสภาพการณ์เดียวกันก็สามารถนำหลักการในคำแนะนำของท่านมาใช้ได้เช่นเดียวกัน. เปโตรเขียนว่า “ฝ่ายท่านทั้งหลายที่เป็นภรรยา จงยอมฟังคำสามีของตนเช่นเดียวกัน, เพื่อว่าถ้าสามีคนใดไม่เชื่อฟังพระคำของพระเจ้า, กิริยาการประพฤติของภรรยาก็จะได้เป็นที่ชักนำเขามานอกจากพระคำของพระเจ้านั้น, คือเมื่อเขาได้เห็นการประพฤติของภรรยาซึ่งปราศจากราคีและมีใจยำเกรงด้วย.”—13 หากภรรยาสามารถอธิบายเรื่องความเชื่อของเธอแก่สามีอย่างผ่อนหนักผ่อนเบาได้ ก็นับว่าดีทีเดียว. แต่จะว่าอย่างไรหากสามีไม่อยากฟัง? นั่นเป็นสิทธิของเขา. กระนั้น ก็ใช่ว่าจะหมดหวังเสียทีเดียว เนื่องจากความประพฤติแบบคริสเตียนก็ให้คำพยานที่ทรงพลังด้วยเช่นเดียวกัน. สามีหลายคนซึ่งตอนแรกไม่สนใจฟังหรือแม้กระทั่งต่อต้านความเชื่อของภรรยาได้กลายมาเป็นผู้ “มีความโน้มเอียงอย่างถูกต้องเพื่อชีวิตนิรันดร์” หลังจากได้เห็นความประพฤติที่ดีของภรรยา. (กิจการ 13:48, ล.ม.) แม้สามีไม่ยอมรับความเชื่อแบบคริสเตียนก็ตาม แต่เขาอาจยังคงประทับใจความประพฤติของภรรยา ซึ่งจะส่งผลดีต่อสายสมรส. สามีคนหนึ่งซึ่งมีภรรยาเป็นพยานพระยะโฮวายอมรับว่าตัวเขาเองไม่สามารถจะบรรลุมาตรฐานสูงของพยานพระยะโฮวาได้. กระนั้น เขากล่าวว่าเขาเป็น “สามีที่มีความสุขเพราะมีภรรยาที่น่ารัก” และเขายกย่องภรรยากับเพื่อนพยานฯ ของเธออย่างจริงใจในจดหมายที่ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง.
14. สามีจะช่วยภรรยาที่ไม่ได้เป็นผู้เชื่อถือได้อย่างไร?
14 สามีคริสเตียนซึ่งใช้หลักการในคำกล่าวของเปโตรก็ชักนำภรรยาโดยการประพฤติของตนเช่นกัน. ภรรยาที่ไม่ได้เป็นผู้เชื่อถือได้เห็นว่าสามีของตนกลายมาเป็นคนที่สำนึกถึงความรับผิดชอบ, เลิกผลาญเงินไปกับบุหรี่, การดื่มจัด, และการพนัน, อีกทั้งไม่พูดจาหยาบคายอีกต่อไป. บางคนในพวกเธอได้มารู้จักคุ้นเคยกับสมาชิกคนอื่น ๆ ในประชาคมคริสเตียน. พวกเธอประทับใจสังคมพี่น้องที่รักใคร่กัน และสิ่งที่ได้เห็นในหมู่พี่น้องชักนำพวกเธอมาหาพระยะโฮวา.—โยฮัน 13:34, 35.
“เป็นอย่างที่ซ่อนไว้ในใจ”
15, 16. ความประพฤติแบบใดของภรรยาคริสเตียนที่อาจชักนำสามีที่ไม่ได้เป็นผู้เชื่อถือ?
15 ความประพฤติแบบใดที่อาจชักนำสามีได้? แท้จริง นั่นก็คือความประพฤติที่มีประจำอยู่ในตัวตามธรรมชาติซึ่งสตรีคริสเตียนปลูกฝัง. เปโตรกล่าวว่า “การประดับกายของภรรยานั้นอย่าให้เป็นอย่างภายนอก, คือถักผมเกล้ามวย, และใส่ปักเครื่องทองคำ, และนุ่งห่มเสื้อผ้าสวยงาม แต่จงให้เป็นอย่างที่ซ่อนไว้ในใจ, เป็นเครื่องประดับซึ่งไม่รู้เปื่อยไป, คือจิตต์ใจอ่อนสุภาพและสงบเสงี่ยม, ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่ามากจำเพาะพระเนตรพระเจ้า. ด้วยว่าพวกผู้หญิงบริสุทธิ์ครั้งโบราณนั้นที่ได้ไว้ใจในพระเจ้าก็ย่อมได้แต่งกายและน้อมฟังสามีของตนเองอย่างนี้แหละ เช่นอย่างนางซาราได้น้อมฟังอับราฮาม เรียกท่านว่านาย. ถ้าท่านทั้งหลายได้ประพฤติดีและไม่มีความสะดุ้งกลัวประการใด, ท่านก็เป็นบุตรีของนางนั้น.”—1 เปโตร 3:3-6.
16 เปโตรแนะนำสตรีคริสเตียนไม่ให้พึ่งอาศัยรูปลักษณ์ภายนอก. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เธอควรให้สามีมองเห็นว่าคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลมีผลกระทบบุคคลที่เธอเป็นอยู่ภายใน. ให้เขาเห็นว่าเธอมีบุคลิกลักษณะใหม่ในภาคปฏิบัติ. บางทีสามีอาจเปรียบเทียบกับบุคลิกลักษณะเก่าที่เธอเคยมี. (เอเฟโซ 4:22-24) เขาจะเห็นว่า “จิตต์ใจอ่อนสุภาพและสงบเสงี่ยม” ของภรรยาเป็นที่น่าชื่นใจและดึงดูดใจอย่างแน่นอน. น้ำใจเช่นนั้นไม่เพียงแต่เป็นที่พอใจสามีเท่านั้น แต่ยัง “เป็นสิ่งที่มีค่ามากจำเพาะพระเนตรพระเจ้า.”—โกโลซาย 3:12.
17. ซาราเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ภรรยาคริสเตียนอย่างไร?
17 เปโตรกล่าวถึงซาราว่าเป็นแบบอย่าง และนางเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ภรรยาคริสเตียนทุกคนไม่ว่าสามีจะเป็นผู้เชื่อถือหรือไม่ก็ตาม. ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าซารามองว่าอับราฮามเป็นประมุขของนาง. แม้แต่พูดในใจ นางก็เรียกสามีว่า “นาย.” (เยเนซิศ 18:12) แต่เรื่องนี้ไม่ได้ทำให้นางด้อย ศักดิ์ศรีลง. เป็นที่ประจักษ์ชัดว่านางเป็นสตรีที่เข้มแข็งฝ่ายวิญญาณซึ่งมีความเชื่อมั่นคงในพระยะโฮวา. ที่จริงแล้ว นางเป็นหนึ่งใน “เมฆใหญ่แห่งพยาน” ซึ่งแบบอย่างความเชื่อของคนเหล่านี้ควรกระตุ้นเราให้ “วิ่งด้วยความเพียรอดทนในการวิ่งแข่งซึ่งอยู่ต่อหน้าเรา.” (เฮ็บราย 11:11; 12:1, ล.ม.) ไม่ได้เป็นการลดเกียรติภรรยาคริสเตียนเลยที่จะเป็นอย่างนางซารา.
18. ควรคำนึงถึงหลักการอะไรบ้างเมื่ออยู่ในครอบครัวที่มีความเชื่อต่างกัน?
18 ในครอบครัวที่สามีภรรยาถือศาสนาต่างกัน สามีก็ยังคงเป็นประมุข. หากสามีเป็นผู้มีความเชื่อ เขาจะคำนึงถึงความเชื่อของภรรยาขณะที่จะไม่อะลุ่มอล่วยความเชื่อของตน. หากภรรยาเป็นผู้เชื่อถือ เธอก็จะไม่อะลุ่มอล่วยความเชื่อของเธอเช่นกัน. (กิจการ 5:29) กระนั้น เธอจะไม่ท้าทายอำนาจความเป็นประมุขของสามี. เธอจะเคารพบทบาทของสามีและยอมอยู่ใต้ “อำนาจของสามี.”—โรม 7:2, ล.ม.
คำชี้แนะที่ฉลาดสุขุมจากคัมภีร์ไบเบิล
19. ความกดดันอะไรบ้างที่ก่อความตึงเครียดในสายสมรส แต่จะต้านทานความกดดันเหล่านั้นได้อย่างไร?
19 มีหลายสิ่งในทุกวันนี้ที่สามารถก่อความตึงเครียดในสายสมรส. ผู้ชายบางคนไม่รับผิดชอบครอบครัว. ผู้หญิงบางคนไม่ยอมรับฐานะประมุขของสามี. ในบางครอบครัว สามีหรือภรรยาปฏิบัติต่อคู่ของตนอย่างเกรี้ยวกราด. สำหรับคริสเตียน ความบีบคั้นทางเศรษฐกิจ, ความไม่สมบูรณ์ของมนุษย์, และน้ำใจของโลกที่เสื่อมด้านศีลธรรมและมีค่านิยมที่บิดเบือนอาจทดสอบความซื่อสัตย์ภักดี. ถึงกระนั้น คริสเตียนชายหญิงที่ปฏิบัติตามหลักการในคัมภีร์ไบเบิล ไม่ว่าสภาพการณ์ของตนเป็นเช่นไร ได้รับพระพรจากพระยะโฮวา. แม้แต่เมื่อมีเพียงฝ่ายเดียวในคู่สมรสนำหลักการในคัมภีร์ไบเบิลมาใช้ สถานการณ์ก็จะดีกว่าที่ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ใช้หลักการในคัมภีร์ไบเบิลเลย. นอกจากนี้ พระยะโฮวาทรงรักและค้ำจุนผู้รับใช้ของพระองค์ที่รักษาความซื่อสัตย์ต่อคำปฏิญาณการสมรสไว้ แม้เมื่ออยู่ในสภาพการณ์ที่ยุ่งยาก. พระองค์จะไม่ลืมการที่พวกเขารักษาความซื่อสัตย์ภักดี.—บทเพลงสรรเสริญ 18:25; เฮ็บราย 6:10; 1 เปโตร 3:12.
20. เปโตรให้คำแนะนำอะไรแก่คริสเตียนทุกคน?
20 หลังจากให้คำแนะนำชายหญิงที่สมรสแล้ว อัครสาวกเปโตรกล่าวปิดท้ายด้วยถ้อยคำที่ชูใจ. ท่านกล่าวว่า “ในที่สุด [“สุดท้ายนี้,” ล.ม.] ท่านทั้งหลายจงเป็นใจเดียวกัน, มีใจเมตตาซึ่งกันและกัน, จงรักใคร่กันดุจดังพี่น้อง จงมีใจเอ็นดูและมีใจอ่อนสุภาพ อย่ากระทำการร้ายตอบแทนการร้าย, อย่าด่าตอบแทนคำด่า, แต่จงอวยพรแก่เขาต่างหาก ด้วยว่าได้ทรงเรียกท่านเพราะเหตุนั้น, เพื่อท่านจะได้รับพระพรเป็นมฤดก.” (1 เปโตร 3:8, 9) นับว่าเป็นคำแนะนำที่สุขุมจริง ๆ สำหรับคริสเตียนทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคู่สมรส!
คุณจำได้ไหม?
• สามีคริสเตียนเลียนแบบพระเยซูอย่างไร?
• ภรรยาคริสเตียนเลียนแบบประชาคมคริสเตียนอย่างไร?
• สามีจะให้เกียรติภรรยาของตนได้ในทางใด?
• อะไรคือแนวทางดีที่สุดสำหรับภรรยาคริสเตียนซึ่งมีสามีที่ไม่ใช่ผู้เชื่อถือ?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 16]
สามีคริสเตียนรักและเอาใจใส่ภรรยา
ภรรยาคริสเตียนนับถือและให้เกียรติสามี
[ภาพหน้า 17]
ต่างจากกฎหมายโรมันตามคำสอนของคริสเตียนสามีต้องให้เกียรติภรรยาของตน
[ภาพหน้า 18]
ทั้งชายและหญิงที่เป็น “ชนฝูงใหญ่” ต่างคอยท่าชีวิตนิรันดร์ในอุทยาน
[ภาพหน้า 20]
ซาราถือว่าอับราฮามเป็นนายของนาง