ผลประโยชน์ของการคืนดีกัน
ผลประโยชน์ของการคืนดีกัน
เอ็ดกำลังจะเสียชีวิต และบิลล์เกลียดชังเขา. ยี่สิบปีก่อนหน้านั้น เอ็ดได้ตัดสินใจซึ่งส่งผลให้บิลล์ตกงาน และนั่นทำให้ทั้งสองที่เคยเป็นเพื่อนสนิทหมางเมินกัน. ตอนนี้เอ็ดพยายามจะขอโทษเพื่อเขาจะได้นอนตายตาหลับ. ทว่าบิลล์ไม่ยอมฟังเขา.
เกือบ 30 ปีต่อมาขณะที่บิลล์ใกล้จะจบชีวิต เขาได้ชี้แจงเหตุผลที่ตนไม่ได้ให้อภัย. “เอ็ดไม่ควรทำแบบนั้นกับเพื่อนที่ดีที่สุดของเขา. ผมไม่อยากคืนดีกับเขาแม้ว่าเหตุการณ์ได้ผ่านมายี่สิบปี. . . . ผมอาจเป็นฝ่ายผิดก็ได้ แต่ผมก็รู้สึกอย่างนั้น.” *
ตามปกติการผิดใจกันระหว่างบุคคลไม่ได้ก่อผลที่น่าเศร้าเช่นนั้น แต่บ่อยครั้งทำให้คนเรารู้สึกเจ็บปวดหรือแค้นเคือง. ขอพิจารณาบางคนที่รู้สึกเหมือนเอ็ด. เพราะสำนึกว่าการตัดสินใจของตนก่อความเสียหาย คนเช่นนั้นอาจอยู่
ด้วยความรู้สึกผิดและเสียใจมากที่เสียเพื่อนไป. กระนั้น เขาก็รู้สึกเจ็บปวดเมื่อคิดถึงวิธีที่เพื่อนซึ่งตัวเองทำให้ขุ่นเคืองนั้นสลัดทิ้งมิตรภาพทิ้งไปเหมือนเป็นแค่ขยะ.อย่างไรก็ดี บางคนที่รู้สึกเหมือนบิลล์ ถือว่าตัวเองเป็นเหยื่อที่ไม่มีความผิดและอาจรู้สึกเจ็บแค้นและขุ่นเคืองเหลือเกิน. สำหรับเขาแล้ว คนที่เคยเป็นเพื่อนนั้นไม่ได้ทำไปโดยไม่รู้เรื่องอะไรและอาจตั้งใจก่อความเสียหาย. บ่อยครั้ง เมื่อมีความขัดแย้งกันระหว่างสองคน แต่ละฝ่ายต่างก็มั่นใจว่าตนเป็นฝ่ายถูกและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายผิด. ฉะนั้น จึงเป็นประหนึ่งว่าสองคนที่เคยเป็นเพื่อนกันกำลังทำสงครามกันอยู่.
เขาสู้กันต่อไปด้วยอาวุธที่ไม่ส่งเสียง—ฝ่ายหนึ่งหันหนีเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งเดินเข้ามา และเขาต่างเมินเฉยต่อกันเมื่อพบปะกันในกลุ่ม. เขาแอบชำเลืองมองดูกันห่าง ๆ หรือจ้องมองกันด้วยท่าทีเย็นชา ด้วยความเกลียดชัง. เมื่อพูดกัน ต่างฝ่ายต่างใช้คำพูดที่รุนแรงหรือดูถูกซึ่งเชือดเฉือนเหมือนคมมีด.
กระนั้น ขณะที่ดูเหมือนว่า พวกเขาขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง แต่ก็มีบางเรื่องที่คงจะเห็นพ้องต้องกัน. ทั้งสองอาจยอมรับว่ามีปัญหาร้ายแรงและการทำลายมิตรภาพกับเพื่อนสนิทเป็นเรื่องน่าเศร้า. แต่ละคนคงจะรู้สึกเจ็บปวดเหมือนมีแผลที่กลัดหนอง และทั้งคู่รู้ว่าควรทำอะไรบางอย่างเพื่อแก้ไขเรื่องนี้. แต่ใครจะจัดการขั้นแรกเพื่อทำให้ความสัมพันธ์ที่เสียหายกลับดีดังเดิมและคืนดีกัน? ต่างฝ่ายต่างก็ไม่เต็มใจทำเช่นนั้น.
สองพันปีมาแล้ว บางครั้งพวกอัครสาวกของพระเยซูคริสต์ตกเข้าสู่การโต้เถียงกันอย่างโกรธแค้น. (มาระโก 10:35-41; ลูกา 9:46; 22:24) หลังจากการโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อนครั้งหนึ่ง พระเยซูตรัสถามว่า “เมื่อมาตามทางนั้นท่านทั้งหลายได้โต้แย้งกันด้วยข้อความอันใด?” ไม่มีใครสักคนในพวกเขาตอบ ต่างก็นิ่งเงียบด้วยความละอาย. (มาระโก 9:33, 34) คำสอนของพระเยซูช่วยพวกเขาให้คืนดีกัน. คำแนะนำของพระองค์ และของสาวกบางคนของพระองค์ยังคงช่วยผู้คนให้ขจัดความขัดแย้งและสมานรอยร้าวของมิตรภาพ. ให้เรามาดูว่าเป็นไปได้อย่างไร.
จงพยายามคืนดีกัน
“ฉันไม่อยากเห็นหน้าคนนั้นอีก.” หากคุณพูดถึงบางคนทำนองนี้ คุณต้องลงมือปฏิบัติ ดังที่ข้อความจากคัมภีร์ไบเบิลต่อไปนี้แสดงให้เห็น.
พระเยซูทรงสอนว่า “เหตุฉะนั้นถ้าท่านนำเครื่องบูชามาถึงแท่นบูชาแล้วและระลึกขึ้นได้ว่าพี่น้องมีเหตุขัดเคืองข้อหนึ่งข้อใดกับท่าน จงวางเครื่องบูชาไว้ที่หน้าแท่นบูชากลับไปคืนดีกับพี่น้องผู้นั้นเสียก่อน.” (มัดธาย 5:23, 24, ฉบับแปลใหม่) พระองค์ยังตรัสด้วยว่า “หากว่าพี่น้องของท่านผู้หนึ่งทำผิดต่อท่าน จงไปแจ้งความผิดนั้นแก่เขาสองต่อสองเท่านั้น.” (มัดธาย 18:15) ไม่ว่าคุณได้ทำให้คนอื่นขุ่นเคืองหรือคนอื่นทำให้คุณขุ่นเคืองก็ตาม คำตรัสของพระเยซูเน้นความจำเป็นที่คุณ ต้องพูดเรื่องนั้นกับเขาทันที. คุณควรทำเช่นนี้ “ด้วยใจอ่อนสุภาพ.” (ฆะลาเตีย 6:1) เป้าหมายในการพูดคุยกันเช่นนั้นไม่ใช่เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของคุณไว้โดยหาข้อแก้ตัว หรือเพื่อบีบบังคับให้คู่กรณีของคุณขอโทษ แต่เพื่อคืนดีกัน. คำแนะนำนี้จากคัมภีร์ไบเบิลใช้ได้ไหม?
เออร์เนสต์เป็นหัวหน้างานในบริษัทใหญ่. * เป็นเวลาหลายปี งานที่ทำเรียกร้องให้เขาจัดการเรื่องที่ละเอียดอ่อนกับผู้คนทุกชนิดและให้รักษาความสัมพันธ์ฉันมิตรในการทำงานร่วมกับพวกเขา. เขาได้เห็นว่าความขัดแย้งส่วนตัวอาจเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ. เขากล่าวว่า “บางครั้งผมเคยมีความขัดแย้งกับคนอื่น. แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ผมนั่งลงกับคนนั้นแล้วพิจารณาปัญหากัน. ไปหาเขาโดยตรง. เผชิญหน้าเขาโดยมีเป้าหมายในการคืนดีกัน. ไม่มีสักครั้งเลยที่วิธีนี้ไม่ได้ผล.”
อะลิเซียมีเพื่อนซึ่งมาจากวัฒนธรรมที่หลากหลาย และ
เธอกล่าวดังนี้ “บางครั้ง ดิฉันพูดอะไรบางอย่าง แล้วรู้สึกว่าอาจทำให้บางคนขุ่นเคือง. ดิฉันไปขอโทษคนนั้น. อาจเป็นไปได้ที่ดิฉันขอโทษมากกว่าที่จำเป็น เนื่องจากถึงแม้ไม่ได้ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งขุ่นเคืองก็ตาม ดิฉันรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้ขอโทษ. เมื่อทำเช่นนั้นแล้วดิฉันรู้ว่าไม่มีการเข้าใจผิดใด ๆ.”การเอาชนะอุปสรรค
อย่างไรก็ดี บ่อยครั้งหนทางที่จะคืนดีเมื่อมีข้อพิพาทกันเป็นส่วนตัวมักมีอุปสรรคขัดขวาง. คุณเคยพูดไหมว่า “ทำไมฉันจะต้องเป็นฝ่ายที่ไปคืนดีก่อน? เขาเป็นผู้ก่อปัญหาขึ้นนี่.” หรือคุณเคยไปหาคนหนึ่งไหมเพื่อแก้ปัญหา แต่กลับได้ยินคนนั้นพูดว่า “ฉันไม่มีอะไร จะพูดกับคุณ”? บางคนตอบสนองแบบนั้นเนื่องจากความรู้สึกเจ็บปวดที่เขาได้รับ. สุภาษิต 18:19 (ล.ม.) กล่าวว่า “พี่น้องที่ถูกกระทำผิดก็แข็งยิ่งกว่าเมืองที่แข็งแรง; และมีการทะเลาะวิวาทซึ่งเป็นเช่นเดียวกันกับดาลแห่งป้อมปราการ.” ดังนั้น เราควรคำนึงถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่ง. หากเขาปฏิเสธคุณอย่างไม่มีเยื่อใย ก็ให้รอสักหน่อยแล้วพยายามอีก. ครั้นแล้ว “เมืองที่แข็งแรง” อาจเปิดออกและมีการเลื่อน “ดาล” ออกจากประตูซึ่งเปิดไปสู่การคืนดีกัน.
อุปสรรคอีกอย่างหนึ่งที่ขัดขวางการคืนดีกันอาจเกี่ยวข้องกับการที่คนเรากลัวว่าจะเสียศักดิ์ศรี. สำหรับบางคนแล้ว การขอโทษหรือแม้แต่การพูดกับคู่กรณีเป็นการเสียศักดิ์ศรี. การห่วงศักดิ์ศรีของตัวเองเป็นเรื่องที่เหมาะสม แต่การไม่ยอมคืนดีทำให้ศักดิ์ศรีของคนเราเพิ่มขึ้นหรือว่าลดลง? เป็นไปได้ไหมว่าการห่วงศักดิ์ศรีเช่นนี้ปิดซ่อนความหยิ่งไว้?
ยาโกโบผู้เขียนคัมภีร์ไบเบิลแสดงให้เห็นว่ามีความเกี่ยวพันกันระหว่างน้ำใจชอบโต้เถียงกับความหยิ่ง. หลังจากเปิดโปง “สงคราม” และ “การทะเลาะวิวาท” ที่มีอยู่ในท่ามกลางคริสเตียนบางคน ท่านกล่าวต่อไปว่า “พระเจ้าทรงต่อสู้ผู้ที่หยิ่งจองหอง แต่ทรงประทานพระคุณแก่คนที่ใจถ่อม.” (ยาโกโบ 4:1-3, 6, ฉบับแปลใหม่) ความหยิ่งจองหองขัดขวางการคืนดีกันอย่างไร?
ความหยิ่งทำให้ผู้คนเข้าใจผิด คิดว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น. คนที่หยิ่งจองหองรู้สึกว่าเขามีอำนาจที่จะตัดสินว่า เพื่อนมนุษย์เป็นคนดีหรือไม่ดี. ในทางใด? เมื่อเกิดความขัดแย้งกัน เขามักมองดูผู้ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นคนที่แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว ไม่มีหวังที่จะทำให้ดีขึ้นได้. ความหยิ่งกระตุ้นให้บางคนคิดว่าคนเหล่านั้นที่ต่างกับเขาเป็นคนไม่สมควรได้รับการเอาใจใส่ ฉะนั้น ไม่สมควรได้รับการขอโทษอย่างจริงใจ. ดังนั้น คนที่ได้รับการกระตุ้นจากความหยิ่งของตัวเองมักปล่อยให้ความขัดแย้งมีอยู่ต่อไปแทนที่จะขจัดออกไปอย่างเหมาะสม.
คล้ายกับเครื่องกีดขวางที่ทำให้การจราจรบนทางหลวงหยุดชะงัก บ่อยครั้งความหยิ่งทำให้ขั้นตอนที่นำไปสู่การคืนดีกันหยุดชะงัก. ดังนั้น หากคุณพบว่าตัวเองต้านทานความพยายามที่จะคืนดีกับใครบางคน คุณอาจกำลังต่อสู้กับความหยิ่งอยู่. คุณจะเอาชนะความหยิ่งได้อย่างไร? โดยการพัฒนาสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความหยิ่ง ซึ่งก็ได้แก่ความถ่อมใจนั่นเอง.
จงทำสิ่งตรงกันข้าม
คัมภีร์ไบเบิลแนะนำให้มีความถ่อมใจ. “บำเหน็จแห่งการถ่อมใจลงและความยำเกรงพระยะโฮวาก็เป็นทางนำมาถึงทรัพย์สมบัติและเกียรติศักดิ์และชีวิต.” (สุภาษิต 22:4) ที่บทเพลงสรรเสริญ 138:6 เราอ่านเกี่ยวกับทัศนะที่พระเจ้ามีต่อคนถ่อมใจและคนหยิ่งว่า “แม้ว่าพระยะโฮวาผู้เป็นใหญ่ยิ่ง, พระองค์ยังทรงระลึกถึงคนต่ำต้อย [“ถ่อมใจ,” ล.ม.]; แต่คนจองหองนั้นพระองค์ทรงรู้จักแต่เผิน ๆ.”
หลายคนถือว่าความถ่อมใจเท่ากับเป็นการเสื่อมเสียเกียรติ. ผู้ปกครองของโลกดูเหมือนว่ารู้สึกแบบนี้. ถึงแม้คนทั้งประเทศยอมต่อความประสงค์ของเขาก็ตาม ผู้นำทางการเมืองไม่กล้าที่จะยอมรับความผิดพลาดของตนอย่างถ่อมใจ. การได้ยินผู้ปกครองบ้านเมืองพูดว่า “ผมเสียใจ” เป็นเรื่องน่าสนใจพอที่จะเป็นข่าวได้. เมื่ออดีตเจ้าหน้าที่รัฐบาลคนหนึ่งได้ขออภัยความผิดพลาดของเขาไม่นานมานี้เนื่องด้วยภัยพิบัติที่ทำให้ถึงตาย คำพูดของเขาได้มาเป็นพาดหัวข่าว.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 นิยามคำ “ถ่อม” ไว้ว่า “ทำให้ต่ำลง.” มีการนิยามคำ “ถ่อมตัว” ว่า “แสดงฐานะหรือความรู้ความสามารถต่ำกว่าที่เป็นจริง.” ดังนั้น การเป็นคนถ่อมบอกให้รู้ทัศนะที่คนเรามีต่อตัวเอง ไม่ใช่ความคิดเห็นที่คนอื่นมีต่อเขา. การยอมรับความผิดพลาดของตัวเองอย่างถ่อมใจและขออภัยอย่างจริงใจไม่สุภาษิต 18:12.
ได้ทำให้คนเราเสื่อมเสียเกียรติ; แทนที่จะเป็นเช่นนั้น กลับทำให้เขามีชื่อเสียงดีขึ้น. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ความจองหองในใจมนุษย์มีมาก่อนความพินาศ, และใจอ่อนสุภาพมาก่อนเกียรติศักดิ์.”—เกี่ยวกับนักการเมืองที่ไม่ยอมขออภัยในความผิดพลาดของตน อาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยคนหนึ่งกล่าวว่า “น่าเสียดายที่พวกเขาดูเหมือนจะคิดว่าการยอมรับผิดเช่นนั้นเป็นเครื่องหมายแสดงความอ่อนแอ. คนที่อ่อนแอและหวั่นไหวแทบจะไม่พูดคำว่า ‘ขอโทษ’ เลย. คนที่ใจกว้างและกล้าหาญนั่นเองที่ไม่ได้ถูกลดความสำคัญลงโดยพูดว่า ‘ผมทำผิดไปแล้ว.’ ” เป็นจริงเช่นกันกับคนเหล่านั้นที่ไม่มีอำนาจทางการเมือง. หากคุณทุ่มเทความพยายามที่จะเอาความถ่อมมาแทนที่ความหยิ่งแล้ว คุณก็มีโอกาสมากขึ้นทีเดียวที่จะคืนดีกับคนที่มีข้อพิพาทส่วนตัวกับคุณ. ขอสังเกตว่าครอบครัวหนึ่งได้ประสบความจริงข้อนี้อย่างไร.
ความเข้าใจผิดทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างจูลีกับวิลเลียม น้องชายของเธอ. วิลเลียมโกรธจูลีกับโจเซฟสามีของเธอจนถึงกับเลิกการติดต่อสัมพันธ์ทุกอย่างกับคนทั้งสอง. เขาถึงกับคืนของขวัญทั้งหมดที่จูลีกับโจเซฟได้ให้เขามาตลอดหลายปี. ขณะที่หลายเดือนผ่านไป ความเจ็บแค้นเข้ามาแทนที่ความใกล้ชิดสนิทสนมซึ่งเคยมีอยู่ระหว่างพี่น้องคู่นี้.
อย่างไรก็ดี โจเซฟตัดสินใจนำหลักการที่มัดธาย 5:23, 24 มาใช้. เขาพยายามเข้าไปหาน้องภรรยาด้วยน้ำใจอ่อนโยนและส่งจดหมายส่วนตัวขอโทษที่ได้ทำให้เขาขุ่นเคือง. โจเซฟได้สนับสนุนภรรยาที่จะให้อภัยน้องชายของเธอด้วย. ในที่สุด วิลเลียมได้เห็นว่าจูลีและโจเซฟปรารถนาอย่างจริงใจที่จะคืนดีกับเขา ท่าทีของเขาอ่อนลง. วิลเลียมและภรรยามาพบจูลีและโจเซฟ; พวกเขาทุกคนต่างขอโทษกัน, สวมกอดกัน, และทำให้มิตรภาพกลับดีดังเดิม.
หากคุณปรารถนาจะขจัดความขัดแย้งส่วนตัวกับใครบางคนแล้ว จงนำคำสอนของคัมภีร์ไบเบิลมาใช้ด้วยความอดทนและพยายามจะคืนดีกับคนนั้น. พระยะโฮวาจะทรงช่วยคุณ. สิ่งที่พระเจ้าตรัสแก่ชาติอิสราเอลโบราณจะปรากฏว่าเป็นจริงในกรณีของคุณที่ว่า “โอ้ถ้าเจ้าได้เชื่อฟังคำสั่งของเราแล้ว, ความเจริญ [“สันติสุข,” ล.ม.] ของเจ้าก็จะเป็นดังแม่น้ำไหล.”—ยะซายา 48:18.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 3 อาศัยหนังสือเดอะ เมอร์โรว์ บอยส์—กลุ่มผู้บุกเบิกชั้นแนวหน้าของกิจการสื่อสารมวลชนออกอากาศ (ภาษาอังกฤษ) โดยสแตนลีย์ คลาวด์และลิน โอลสัน.
^ วรรค 12 นามสมมุติ.
[ภาพหน้า 7]
บ่อยครั้งการขอโทษทำให้ความสัมพันธ์ฉันมิตรกลับดีดังเดิม