การทำให้พระยะโฮวาเป็นพระเจ้าของคุณ
การทำให้พระยะโฮวาเป็นพระเจ้าของคุณ
ในสมัยคัมภีร์ไบเบิล บางคนมีสัมพันธภาพอันใกล้ชิดกับพระยะโฮวาจนถึงกับกล่าวว่าพระองค์เป็นพระเจ้าของพวกเขา. ตัวอย่างเช่น ในพระคัมภีร์ พระยะโฮวาได้รับการพรรณนาว่าเป็น “พระเจ้าของอับราฮาม,” ‘พระเจ้าของดาวิด,’ และ ‘พระเจ้าของเอลียา.’—เยเนซิศ 31:42; 2 กษัตริย์ 2:14; 20:5.
พวกเขาแต่ละคนมีสัมพันธภาพอันใกล้ชิดกับพระเจ้าอย่างไร? เราเรียนอะไรได้จากพวกเขาเพื่อที่เราจะสร้างและรักษาสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นเป็นส่วนตัวกับพระผู้สร้าง?
อับราฮาม “เชื่อวางใจในพระยะโฮวา”
อับราฮามเป็นบุคคลแรกที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า มีความเชื่อในพระยะโฮวา. ความเชื่อเป็นคุณสมบัติประการสำคัญที่ทำให้ท่านได้รับความพอพระทัยจากพระเจ้า. ที่จริง อับราฮามได้รับความโปรดปรานจากพระยะโฮวาจนถึงขนาดที่ภายหลังพระผู้สร้างตรัสกับโมเซว่าพระองค์เป็น “พระเจ้าของอับราฮาม” อีกทั้งเป็นพระเจ้าของยิศฮาคและยาโคบ ลูกและหลานของอับราฮาม.—เยเนซิศ 15:6; เอ็กโซโด 3:6.
อับราฮามมีความเชื่อแบบนี้ได้อย่างไร? ประการแรก อับราฮามสร้างความเชื่อบนรากฐานที่มั่นคง. ท่านอาจได้รับการสอนถึงแนวทางของพระเจ้าจากเซม บุตรชายของโนฮา ซึ่งเป็นประจักษ์พยานที่เห็นการช่วยให้รอดจากพระเจ้า. เซมได้รู้เห็นเป็นพยานว่า พระยะโฮวา “ได้ทรงอุปถัมภ์โนฮาผู้เป็นคนประกาศความชอบธรรม กับคนอื่นอีกเจ็ดคน, ครั้งเมื่อพระองค์ได้ทรงบันดาลให้น้ำมาท่วมแผ่นดินโลกแห่งทุรชนทั้งปวง.” (2 เปโตร 2:5) อับราฮามอาจรู้จากเซมว่า เมื่อพระยะโฮวาสัญญาอะไรบางอย่าง คำสัญญานั้นจะสำเร็จเป็นจริงอย่างแน่นอน. ไม่ว่าจะอย่างไร เมื่ออับราฮามเองได้รับคำสัญญาจากพระเจ้า ท่านรู้สึกยินดีและดำเนินชีวิตโดยอาศัยความรู้อันแน่นอนที่ว่าคำสัญญานั้นจะสำเร็จเป็นจริง.
เนื่องจากมีรากฐานที่มั่นคง ความเชื่อของอับราฮามตอนนั้นจึงเข้มแข็งขึ้นโดยการกระทำของท่าน. อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “โดยความเชื่อ ครั้นพระเจ้าทรงเรียกแล้ว, อับราฮามก็ได้เชื่อฟังและออกไปถึงตำบลที่จะได้รับเป็นมฤดก และท่านได้ออกไปโดยหารู้ไม่ว่าจะไปทางไหน.” (เฮ็บราย 11:8) การกระทำที่แสดงการเชื่อฟังเช่นนั้นเสริมความเชื่อของอับราฮาม ซึ่งสาวกยาโกโบเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “ท่านทั้งหลายคงเห็นแล้วว่าความเชื่อได้รวมกันกับการประพฤติของท่าน, และความเชื่อนั้นก็ถึงที่สำเร็จโดยการประพฤติ.”—ยาโกโบ 2:22.
เฮ็บราย 11:17; 1 เปโตร 1:7, ล.ม.
นอกจากนี้ พระยะโฮวายอมให้ความเชื่อของอับราฮามถูกทดลองเพื่อทำให้ความเชื่อของท่านเข้มแข็งขึ้น. เปาโลกล่าวว่า “โดยความเชื่อเมื่ออับราฮามถูกลองใจก็ได้ถวายยิศฮาคเป็นเครื่องบูชา.” การทดลองเป็นการกลั่นกรองและเสริมความเชื่อให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ทำให้ความเชื่อ “ล้ำค่ากว่าทองคำ.”—แม้อับราฮามไม่ได้มีชีวิตอยู่จนเห็นคำสัญญาทุกประการของพระเจ้าสำเร็จเป็นจริง แต่ท่านก็รู้สึกยินดีที่เห็นคนอื่นติดตามแบบอย่างของท่าน. ซาราห์ภรรยาของท่านและสมาชิกในครอบครัวอีกสามคน คือ ยิศฮาค, ยาโคบ, และโยเซฟ ก็ได้รับการยกย่องในคัมภีร์ไบเบิลฐานะผู้มีความเชื่ออันโดดเด่น.—เฮ็บราย 11:11, 20-22.
ความเชื่อเช่นเดียวกับอับราฮามในสมัยปัจจุบัน
ความเชื่อเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับใครก็ตามที่ปรารถนาจะให้พระยะโฮวาเป็นพระเจ้าของตน. เปาโลเขียนว่า “ถ้าไม่มีความเชื่อแล้ว, จะเป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้าก็หามิได้.” (เฮ็บราย 11:6) ผู้รับใช้ของพระเจ้าในทุกวันนี้จะพัฒนาความเชื่อให้เข้มแข็งเหมือนอับราฮามได้อย่างไร?
เช่นเดียวกับอับราฮาม ความเชื่อของเราต้องมีรากฐานที่มั่นคง. วิธีที่ดีที่สุดคือ เราต้องศึกษาคัมภีร์ไบเบิลรวมทั้งหนังสือที่อาศัยพระคัมภีร์เป็นหลักเป็นประจำ. การอ่านคัมภีร์ไบเบิลและคิดรำพึงในสิ่งที่เราอ่านจะช่วยให้มั่นใจว่า คำสัญญาต่าง ๆ ของพระเจ้าจะเป็นจริง. แล้วความคาดหวังที่แน่นอนในคำสัญญาของพระเจ้าก็จะเป็นพื้นฐานที่กระตุ้นเราให้เปลี่ยนแปลงแนวทางชีวิต. การกระทำที่แสดงการเชื่อฟังจะเสริมความเชื่อของเราให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น สิ่งนี้รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในงานประกาศและการเข้าร่วมประชุมคริสเตียน.—มัดธาย 24:14; 28:19, 20; เฮ็บราย 10:24, 25.
ความเชื่อของเราจะถูกทดลองอย่างแน่นอน อาจเนื่องจากการต่อต้าน, ความเจ็บป่วยร้ายแรง, การเสียชีวิตของผู้เป็นที่รัก, หรือโดยสาเหตุอื่น ๆ. การรักษาความภักดีต่อพระยะโฮวาแม้เผชิญการทดลองทำให้ความเชื่อของเราเข้มแข็งยิ่งขึ้น และมีค่ายิ่งกว่าทองคำ. ไม่ว่าเราจะมีชีวิตอยู่จนเห็นคำสัญญาทั้งหมดของพระเจ้าสำเร็จเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม ความเชื่อจะทำให้เราเข้าใกล้พระยะโฮวายิ่งขึ้น. ยิ่งกว่านั้น ตัวอย่างของเราจะกระตุ้นคนอื่น ๆ ให้เลียนแบบความเชื่อของเรา. (เฮ็บราย 13:7) ราล์ฟซึ่งได้สังเกตและเลียนแบบความเชื่อของบิดามารดา เป็นกรณีตัวอย่างในเรื่องนี้. เขาอธิบายว่า:
“ตอนที่ผมยังอยู่บ้าน พ่อกับแม่สนับสนุนให้เราทั้งครอบครัวตื่นแต่เช้าเพื่อจะอ่านคัมภีร์ไบเบิลด้วยกัน. การทำเช่นนี้ช่วยให้เราอ่านคัมภีร์ไบเบิลได้จนจบเล่ม.” ราล์ฟยังคงอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุก ๆ เช้า และทำให้เขาเริ่มต้นแต่ละวันด้วยสิ่งที่ดี. ราล์ฟเคยไปประกาศกับพ่อของเขาทุกสัปดาห์. “นั่นเป็นโอกาสที่ผมได้เรียนรู้วิธีกลับเยี่ยมเยียนและนำการศึกษาพระคัมภีร์.” ทุกวันนี้ ราล์ฟรับใช้เป็นอาสาสมัครในสำนักงานสาขาของพยานพระยะโฮวาแห่งหนึ่งในยุโรป. นับว่าเป็นผลตอบแทนอันยอดเยี่ยมเสียจริง ๆ สำหรับความเชื่อของบิดามารดาของราล์ฟ!
คนที่พระยะโฮวาพอพระทัย
ดาวิดซึ่งเกิดหลังอับราฮามประมาณ 900 ปี เป็นบุคคลที่โดดเด่นท่ามกลางผู้รับใช้ของพระยะโฮวาตามที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์. ผู้พยากรณ์ซามูเอลกล่าวถึงดาวิดซึ่งเป็นผู้ที่พระยะโฮวาเลือกให้เป็นกษัตริย์ในอนาคตว่า “พระยะโฮวาทรงแสวงหาบุรุษผู้หนึ่งตามชอบพระทัยของพระองค์ได้แล้ว.” ดาวิดมีสัมพันธภาพอันใกล้ชิดกับพระยะโฮวา จนภายหลังผู้พยากรณ์ยะซายากล่าวกับกษัตริย์ฮีศคียาว่า “พระยะโฮวาพระเจ้าแห่งดาวิดต้นวงศ์ของเจ้า.”—1 ซามูเอล 13:14; 2 กษัตริย์ 20:5; ยะซายา 38:5.
2 ซามูเอล 6:2-10; 11:2-27; 24:1-9.
แม้ดาวิดเป็นผู้ที่พระยะโฮวาพอพระทัย แต่ก็มีบางคราวที่ท่านยอมให้ความปรารถนาส่วนตัวครอบงำท่าน. ท่านทำผิดร้ายแรงถึงสามครั้ง โดยให้มีการขนย้ายหีบสัญญาไมตรีไปยังกรุงเยรูซาเลมแบบไม่ถูกวิธี, ทำผิดศีลธรรมกับนางบัธเซบะและออกอุบายจนทำให้อูรียาสามีของนางเสียชีวิต, และนับจำนวนประชากรอิสราเอลและยูดาห์โดยที่พระยะโฮวาไม่ได้บัญชาท่าน. แต่ละครั้ง ดาวิดละเมิดกฎหมายของพระเจ้า.—อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการชี้แจงเกี่ยวกับบาปที่ท่านทำ ท่านยอมรับผิดชอบและไม่โยนความผิดให้ผู้อื่น. ท่านยอมรับว่าไม่ได้เตรียมการอย่างเหมาะสมเพื่อขนย้ายหีบสัญญาไมตรี และยังกล่าวว่า “เราทั้งหลายแสวงหา [พระยะโฮวา] ไม่ถูกต้องตามพระบัญญัติ.” เมื่อผู้พยากรณ์นาธานเปิดโปงการเล่นชู้ของดาวิด ท่านสารภาพโดยกล่าวว่า “เราทำผิดเฉพาะพระยะโฮวาแล้ว.” และเมื่อดาวิดตระหนักถึงความเขลาที่ได้นับจำนวนประชากร ท่านยอมรับว่า “ซึ่งข้าพเจ้าทำเช่นนี้เป็นความผิดใหญ่.” ดาวิดกลับใจจากบาปของท่านและยังคงใกล้ชิดกับพระยะโฮวา.—1 โครนิกา 15:13; 2 ซามูเอล 12:13; 24:10.
เมื่อเราทำผิด
ตัวอย่างของดาวิดให้การหนุนใจเมื่อเราพยายามจะทำให้พระยะโฮวาเป็นพระเจ้าของเรา. ถ้าคนที่พระยะโฮวาพอพระทัยยังพลาดร้ายแรงถึงขนาดนั้น เราก็ไม่ควรท้อใจถ้าบางครั้งเราพยายามทำดีที่สุดแล้วแต่ก็ยังพลาดหรือทำผิดร้ายแรงด้วยซ้ำ. (ท่านผู้ประกาศ 7:20) เราได้รับกำลังใจจากข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อดาวิดกลับใจท่านได้รับการให้อภัยบาป. เมื่อหลายปีมาแล้ว ประสบการณ์ที่คล้ายกันนี้เกิดขึ้นกับอูเว. *
อูเวเคยเป็นผู้ปกครองในประชาคมของพยานพระยะโฮวาแห่งหนึ่ง. ครั้งหนึ่ง เขายอมจำนนต่อความปรารถนาที่ไม่ดีและทำผิดศีลธรรม. ตอนแรก อูเวทำเหมือนกษัตริย์ดาวิดโดยพยายามเก็บเรื่องนั้นไว้เป็นความลับ และหวังว่าพระยะโฮวาจะไม่สนใจการกระทำผิดของเขา. ในที่สุด สติรู้สึกผิดชอบรบกวนอูเวอย่างมากจนเขาสารภาพกับเพื่อนผู้ปกครอง ครั้นแล้วจึงมีการจัดเตรียมเพื่อช่วยให้อูเวฟื้นตัวจากความเสียหายทางฝ่ายวิญญาณ.
อูเวกลับใจจากบาปของเขาและพยายามเข้าใกล้พระยะโฮวาและประชาคมต่อไป. เขาหยั่งรู้ค่าความช่วยเหลือที่ได้รับอย่างมาก จนหลายสัปดาห์ต่อมาเขาเขียนจดหมายถึงผู้ปกครองเพื่อแสดงความหยั่งรู้ค่าอย่างสุดซึ้งและขอบคุณสำหรับความช่วยเหลือ. เขาเขียนว่า “พวกคุณช่วยผมขจัดคำตำหนิที่ผมได้นำมาสู่พระนามของพระยะโฮวา.” อูเวสามารถรักษาสัมพันธภาพกับพระยะโฮวาเอาไว้ได้และในที่สุดเขาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รับใช้ในประชาคมเดิมอีกครั้ง.
“มนุษย์ที่มีความรู้สึกเช่นเราทั้งหลาย”
เอลียามีชีวิตอยู่หลังดาวิดประมาณหนึ่งศตวรรษ ท่านเป็นหนึ่งในผู้พยากรณ์คนสำคัญของอิสราเอล. เอลียาสนับสนุนการนมัสการแท้ในช่วงที่การทุจริตและการผิดศีลธรรมแพร่หลายไปทั่ว และท่านแสดงความเลื่อมใสในพระยะโฮวาโดยไม่หวั่นไหว. จึงไม่แปลกที่อะลีซา ซึ่งเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งจากเอลียาจะเรียกพระยะโฮวาว่า ‘พระเจ้าของเอลียา’!—2 กษัตริย์ 2:14.
กระนั้น เอลียาก็เป็นเพียงคนธรรมดา. ยาโกโบเขียนว่า “เอลียาเป็นมนุษย์ที่มีความรู้สึกเช่นเราทั้งหลาย.” (ยาโกโบ 5:17, ล.ม.) ตัวอย่างเช่น หลังจากเอลียาทำให้ผู้นมัสการพระบาละในอิสราเอลพ่ายแพ้อย่างเจ็บปวด ราชินีอีซาเบลขู่จะฆ่าท่าน. ท่านมีปฏิกิริยาอย่างไร? ท่านกลัวและหนีไปยังถิ่นทุรกันดาร. เอลียานั่งลงใต้ต้นระเห็มและคร่ำครวญว่า “พอแล้วพระองค์เจ้าข้า, ขอพระยะโฮวาทรงประหารชีวิตข้าพเจ้าเสียเดี๋ยวนี้เถิด; เพราะข้าพเจ้าไม่ดีกว่าปู่ย่าตายายของข้าพเจ้า.” เอลียาไม่ต้องการเป็นผู้พยากรณ์อีกต่อไป แต่ท่านอยากตาย.—1 กษัตริย์ 19:4.
อย่างไรก็ตาม พระยะโฮวาเข้าใจความรู้สึกของเอลียา. พระเจ้าเสริมกำลังท่านโดยรับรองว่าท่านไม่ได้โดดเดี่ยวเดียวดาย เนื่องจากยังมีคนอื่นอีกที่ภักดีต่อการนมัสการแท้. นอกจากนี้ พระยะโฮวายังทรงไว้ใจเอลียาและมอบหมายงานให้ท่านทำอีก.—1 กษัตริย์ 19:5-18.
การที่เอลียารู้สึกปั่นป่วนทางอารมณ์ไม่ได้หมายความว่าท่านสูญเสียความโปรดปรานจากพระเจ้า. ประมาณ มัดธาย 17:1-9) เห็นได้ชัดว่า พระยะโฮวาทรงถือว่าเอลียาเป็นผู้พยากรณ์ที่เป็นตัวอย่างที่ดี. แม้เอลียาจะเป็น “มนุษย์ที่มีความรู้สึกเช่นเราทั้งหลาย” แต่พระเจ้าทรงหยั่งรู้ค่างานหนักของท่านในการฟื้นฟูการนมัสการอันบริสุทธิ์และทำให้พระนามของพระองค์เป็นที่นับถือ.
1,000 ปีต่อมา เมื่อพระคริสต์เยซูจำแลงพระกายต่อหน้าเปโตร, ยาโกโบ, และโยฮัน พระยะโฮวาเลือกใครให้ปรากฏในนิมิตข้างกายพระเยซู? โมเซและเอลียานั่นเอง. (เมื่อเรารู้สึกปั่นป่วนทางอารมณ์
บางครั้ง ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาในทุกวันนี้รู้สึกท้อใจและวิตกกังวล. ช่างเป็นการปลอบโยนเสียจริง ๆ ที่รู้ว่าเอลียาก็เคยมีอารมณ์ความรู้สึกเดียวกันกับเรา! และเป็นเรื่องที่ให้กำลังใจจริง ๆ ที่พระยะโฮวาทรงเข้าใจความปั่นป่วนทางอารมณ์ของเรา เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงเข้าใจความรู้สึกของเอลียา.—บทเพลงสรรเสริญ 103:14.
ในด้านหนึ่ง เรารักพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ และปรารถนาจะทำงานที่พระยะโฮวามอบหมายให้คือการประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักร. แต่ในอีกด้านหนึ่ง เราอาจรู้สึกผิดหวังที่ผู้คนไม่ตอบรับงานประกาศของเรา หรือเราอาจรู้สึกกังวลเกี่ยวกับการข่มขู่ที่มาจากศัตรูของการนมัสการแท้. อย่างไรก็ตาม ในเมื่อพระยะโฮวาช่วยให้เอลียาทำงานรับใช้ต่อไปได้ พระองค์ก็จะช่วยผู้รับใช้ของพระองค์ในทุกวันนี้เช่นกัน. ขอพิจารณากรณีของเฮอร์เบิร์ตและเกอทรูดเป็นตัวอย่าง.
เฮอร์เบิร์ตและเกอทรูดรับบัพติสมาเป็นพยานพระยะโฮวาอยู่ที่เมืองไลพ์ซิก อดีตสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน ในปี 1952. ชีวิตในเวลานั้นยากลำบากสำหรับผู้รับใช้ของพระเจ้าเนื่องจากงานประกาศถูกสั่งห้าม. เฮอร์เบิร์ตรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการประกาศตามบ้าน?
“บางครั้งเรารู้สึกกังวลมาก. เมื่อเราไปประกาศตามบ้าน เราไม่รู้ว่าเจ้าหน้าที่จะโผล่มาจับเราเมื่อไร.” อะไรช่วยเฮอร์เบิร์ตและคนอื่น ๆ ให้เอาชนะความกลัว? “เราศึกษาส่วนตัวให้มาก ๆ. และพระยะโฮวาทรงเสริมกำลังเพื่อช่วยเราทำงานประกาศต่อไป.” เมื่อเฮอร์เบิร์ตไปประกาศ เขาได้รับประสบการณ์ที่เสริมกำลังใจ และกระทั่งทำให้เขาอดหัวเราะไม่ได้ด้วยซ้ำ.
เฮอร์เบิร์ตพบสตรีวัยกลางคนที่แสดงความสนใจคัมภีร์ไบเบิล. เมื่อเฮอร์เบิร์ตกลับไปเยี่ยมเธออีกไม่กี่วันต่อมา มีชายหนุ่มคนหนึ่งนั่งฟังการสนทนาอยู่ด้วย. เมื่อเวลาผ่านไป เฮอร์เบิร์ตเห็นบางสิ่งที่ทำให้เขารู้สึกตกใจ. บนเก้าอี้ที่อยู่มุมห้องมีหมวกของเจ้าหน้าที่ตำรวจวางอยู่. หมวกนั้นเป็นของชายหนุ่มคนดังกล่าวซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นตำรวจที่ตั้งใจจะจับกุมเฮอร์เบิร์ต.
ชายหนุ่มคนนั้นพูดเสียงดังว่า “คุณเป็นพยานพระยะโฮวานี่! ขอดูบัตรประชาชนหน่อยซิ.” เฮอร์เบิร์ตหยิบบัตรประชาชนให้เขาดู. ครั้นแล้ว สิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น. ผู้หญิงคนนั้นหันไปทางตำรวจและเตือนว่า “ถ้าเกิดอะไรขึ้นกับคนของพระเจ้าคนนี้ล่ะก็ คุณไม่ต้องมาที่บ้านนี้อีก.”
ชายหนุ่มชะงักอยู่ครู่หนึ่ง และก็คืนบัตรประชาชนให้เฮอร์เบิร์ตแล้วปล่อยเขาไป. ต่อมา เฮอร์เบิร์ตมารู้ว่า ตำรวจคนนั้นกำลังติดต่อกับลูกสาวของผู้หญิงคนนี้อยู่. เห็นได้ชัดว่า ชายหนุ่มคนดังกล่าวรู้สึกว่าการติดต่อฝากรักกับลูกสาวบ้านนี้คงจะดีกว่าการจับกุมนายเฮอร์เบิร์ต.
ให้พระยะโฮวาเป็นพระเจ้าของคุณ
เราเรียนอะไรได้จากเหตุการณ์เหล่านี้? เช่นเดียวกับอับราฮาม เราต้องมีความเชื่ออันหนักแน่นในคำสัญญาของพระเจ้า. เช่นเดียวกับดาวิด เราควรหันไปหาพระยะโฮวาโดยการกลับใจอย่างแท้จริงหากเราทำผิด. และเช่นเดียวกับเอลียา เราต้องหมายพึ่งพระยะโฮวาเพื่อเสริมกำลังในยามที่เราท้อใจ. โดยการทำเช่นนี้ เราจะให้พระยะโฮวาเป็นพระเจ้าของเราตั้งแต่ตอนนี้และตลอดไป เนื่องจากพระองค์เป็น “พระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่ ผู้ทรงเป็นผู้ช่วยให้รอดของคนทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งของคนซื่อสัตย์.”—1 ติโมเธียว 4:10, ล.ม.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 20 นามสมมุติ.
[ภาพหน้า 25]
การกระทำที่แสดงการเชื่อฟังส่งเสริมความเชื่อของอับราฮาม
[ภาพหน้า 26]
เช่นเดียวกับดาวิด เราควรกลับใจเมื่อเราทำบาป
[ภาพหน้า 28]
พระยะโฮวาเข้าใจความรู้สึกของเอลียา พระองค์เข้าใจความรู้สึกของเราเช่นกัน