บุตรของเรา—มรดกอันล้ำค่า
บุตรของเรา—มรดกอันล้ำค่า
“จงดูเถิด การมีบุตรชายหญิงย่อมเป็นของประทาน [“มรดก,” ล.ม.] มาแต่พระยะโฮวา และการตั้งครรภ์นั้นคือรางวัลของพระองค์.”—บทเพลงสรรเสริญ 127:3.
1. ทารกคนแรกกำเนิดมาอย่างไร?
ขอพิจารณาเหตุการณ์อัศจรรย์ที่พระยะโฮวาพระเจ้าทรงทำให้เป็นไปได้จากวิธีที่พระองค์สร้างมนุษย์ชายและหญิงคู่แรก. ทั้งอาดามกับฮาวาซึ่งเป็นบิดาและมารดามีส่วนร่วมกันก่อกำเนิดเซลล์หนึ่งซึ่งเจริญเติบโตในครรภ์ของฮาวาเป็นอีกบุคคลหนึ่งที่มีอวัยวะต่าง ๆ เจริญครบถ้วน เป็นทารกคนแรกของมนุษย์. (เยเนซิศ 4:1) จนถึงทุกวันนี้ การตั้งครรภ์และการที่เด็กคนหนึ่งถือกำเนิดมายังคงทำให้มนุษย์เรารู้สึกพิศวง และหลายคนพรรณนาว่าเป็นการอัศจรรย์อย่างแท้จริง.
2. ทำไมคุณจึงกล่าวได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในครรภ์ของหญิงมีครรภ์นั้นน่าอัศจรรย์?
2 ภายในเวลาประมาณ 270 วัน เซลล์แรกที่ก่อกำเนิดขึ้นในตัวมารดา อันเป็นผลจากการมีเพศสัมพันธ์กับบิดา เจริญเติบโตเป็นทารกที่ประกอบด้วยเซลล์ต่าง ๆ นับล้านล้านเซลล์. เซลล์แรกนั้นบรรจุชุดคำสั่งที่จำเป็นเพื่อจะสร้างเซลล์ชนิดต่าง ๆ มากกว่า 200 ชนิด. ตามคำสั่งที่น่าพิศวงเหล่านั้น ซึ่งมนุษย์ก็ยังเข้าใจไม่เต็มที่ เซลล์ที่มีมากมายหลากหลายชนิดอย่างน่าทึ่งเหล่านี้จะพัฒนาขึ้นตามลำดับและจัดตัวในรูปแบบที่เหมาะเจาะพอดีเพื่อประกอบกันขึ้นเป็นอีกบุคคลหนึ่งที่มีชีวิต!
3. ทำไมหลายคนที่มีเหตุมีผลจึงเห็นพ้องกันว่าควรยกย่องให้เกียรติพระเจ้าสำหรับการเกิดมาของชีวิตมนุษย์คนใหม่?
3 คุณคิดว่าใครเป็นผู้ก่อกำเนิดทารกนั้นจริง ๆ? พระองค์ผู้เป็นบ่อเกิดของชีวิตนั่นเอง. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญในคัมภีร์ไบเบิลได้ร้องเพลงว่า “จงรู้ว่าพระยะโฮวาเป็นพระเจ้า. พระองค์นั้นแหละที่ทรงสร้างเรา ไม่ใช่เราสร้างตัวเอง.” (บทเพลงสรรเสริญ 100:3, ล.ม.) บิดามารดาทั้งหลาย คุณทราบดีว่าไม่ใช่เพราะความสามารถพิเศษใด ๆ ของคุณเองที่คุณได้ให้กำเนิดลูกน้อยแสนน่ารักนั้น. เฉพาะแต่พระเจ้าผู้ทรงมีพระปัญญาอเนกอนันต์เท่านั้น ที่จะสามารถก่อกำเนิดชีวิตมนุษย์คนใหม่อย่างอัศจรรย์. ตลอดหลายพันปีที่ผ่านมา หลายคนที่มีเหตุมีผลได้ยกย่องให้เกียรติพระผู้สร้างองค์ยิ่งใหญ่ว่าเป็นผู้ทรงก่อกำเนิดทารกในครรภ์ของมารดา. คุณทำอย่างนั้นด้วยไหม?—บทเพลงสรรเสริญ 139:13-16.
4. ข้อบกพร่องอะไรของมนุษย์ที่พระยะโฮวาไม่เคยมี?
4 แต่พระยะโฮวาเป็นพระผู้สร้างที่ไร้ความรู้สึก ผู้ซึ่งเพียงแต่ตั้งกระบวนการทางชีววิทยาที่ทำให้ชายและหญิงสามารถให้กำเนิดบุตรแค่นั้นไหม? มนุษย์บางคนไร้ความรู้สึก แต่พระยะโฮวาไม่เป็นเช่นนั้นเลย. (บทเพลงสรรเสริญ 78:38-40) คัมภีร์ไบเบิลกล่าวไว้ที่บทเพลงสรรเสริญ 127:3 ว่า “จงดูเถิด การมีบุตรชายหญิงย่อมเป็นของประทาน [“มรดก,” ล.ม.] มาแต่พระยะโฮวา และการตั้งครรภ์นั้นคือรางวัลของพระองค์.” ตอนนี้ให้เรามาพิจารณากันว่ามรดกคืออะไร และมรดกเป็นหลักฐานถึงอะไร.
มรดกกับรางวัล
5. เพราะอะไรบุตรจึงเป็นมรดก?
5 มรดกเป็นเหมือนของขวัญหรือของประทาน. บ่อยครั้ง บิดามารดาบากบั่นทำงานเพื่อละมรดกไว้ให้บุตรของตน. มรดกนั้นอาจเป็นเงิน, ทรัพย์สิน, หรืออาจเป็นสมบัติล้ำค่าบางอย่าง. ไม่ว่าจะเป็นอะไร มรดกเป็นหลักฐานถึงความรักของบิดามารดา. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่าพระเจ้าได้ประทานบุตรเป็นมรดกแก่บิดามารดา. บุตรเป็นของประทานด้วยความรักจากพระองค์. ถ้าคุณเป็นบิดามารดา คุณจะพูดได้ไหมว่าการกระทำของคุณให้หลักฐานว่า คุณถือว่าลูกน้อยเป็นของประทานที่พระผู้สร้างแห่งเอกภพได้มอบไว้ให้คุณเป็นผู้เลี้ยงดู?
6. อะไรเป็นพระประสงค์ที่พระเจ้าให้มนุษย์สามารถกำเนิดบุตร?
เยเนซิศ 1:27, 28; ยะซายา 45:18) พระยะโฮวาไม่ได้สร้างมนุษย์แต่ละคนเป็นราย ๆ ไป เหมือนที่พระองค์ทรงสร้างเหล่าทูตสวรรค์จำนวนมหาศาล. (บทเพลงสรรเสริญ 104:4; วิวรณ์ 4:11) แทนที่จะทำอย่างนั้น พระเจ้าทรงเลือกที่จะสร้างมนุษย์ให้มีความสามารถกำเนิดบุตรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับบิดามารดาในหลาย ๆ ด้าน. ช่างเป็นสิทธิพิเศษที่น่าอัศจรรย์สำหรับบิดามารดาที่สามารถให้กำเนิดบุคคลใหม่และเลี้ยงดูทารกนั้น! ฐานะบิดามารดา คุณขอบคุณพระยะโฮวาไหมที่ทำให้คุณมีโอกาสได้ชื่นชมกับมรดกที่มีค่ายิ่งนี้?
6 พระประสงค์ของพระยะโฮวาที่มอบของประทานนี้คือเพื่อให้แผ่นดินโลกมีลูกหลานของอาดามและฮาวาอาศัยอยู่. (เรียนรู้จากตัวอย่างของพระเยซู
7. ต่างจากที่บิดามารดาบางคนทำ พระเยซูสนพระทัยและคำนึงถึงความรู้สึก “พงศ์พันธุ์ [หรือ “เหล่าบุตร”] ของมนุษย์” อย่างไร?
7 น่าเศร้า ไม่ใช่บิดามารดาทุกคนถือว่าบุตรของตนเป็นรางวัล. หลายคนไม่ค่อยคำนึงถึงความรู้สึกของบุตรเท่าไรนัก. บิดามารดาแบบนั้นไม่ได้เลียนแบบเจตคติของพระยะโฮวาและพระบุตรของพระองค์. (บทเพลงสรรเสริญ 27:10; ยะซายา 49:15) ตรงกันข้าม ขอให้พิจารณาความสนพระทัยที่พระเยซูมีต่อเด็ก ๆ. แม้แต่ก่อนที่พระเยซูจะเสด็จมายังแผ่นดินโลกฐานะมนุษย์—ตอนที่เป็นกายวิญญาณทรงฤทธิ์อยู่ในสวรรค์—คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ความชื่นชมยินดีของ [พระองค์] คลุกคลีอยู่กับพงศ์พันธุ์ของมนุษย์.” (สุภาษิต 8:31) พระองค์ทรงรักมนุษย์มากถึงขนาดที่ทรงเต็มพระทัยประทานชีวิตของพระองค์เป็นค่าไถ่เพื่อให้เรามีโอกาสได้รับชีวิตนิรันดร์.—มัดธาย 20:28; โยฮัน 10:18.
8. พระเยซูวางตัวอย่างที่ดีแก่บิดามารดาอย่างไร?
8 ขณะอยู่บนแผ่นดินโลก พระเยซูทรงวางตัวอย่างที่ดีเป็นพิเศษสำหรับบิดามารดา. ขอพิจารณาว่าพระองค์ได้ทำอะไร. พระองค์ทรงใช้เวลากับเด็ก ๆ แม้แต่เมื่อพระองค์ทรงมีธุระยุ่งและอยู่ในภาวะตึงเครียด. พระองค์เฝ้าดูเด็ก ๆ เล่นกันกลางตลาดและทรงใช้สิ่งที่เห็นนั้นในการสอนของพระองค์. (มัดธาย 11:16, 17) ระหว่างการเดินทางไปกรุงเยรูซาเลมครั้งสุดท้าย พระเยซูทรงทราบว่าพระองค์จะประสบความทุกข์ทรมานและถูกประหารที่นั่น. ฉะนั้น เมื่อประชาชนพาเด็กเล็ก ๆ มาหาพระองค์ พวกสาวกของพระเยซูจึงพยายามจะกันเด็กออกไป บางทีด้วยความพยายามจะป้องกันมิให้พระองค์เครียดมากขึ้น. แต่พระเยซูทรงตำหนิสาวกของพระองค์. พระองค์แสดง “ความชื่นชมยินดี” ที่ได้คลุกคลีอยู่กับเด็ก ๆ โดยตรัสว่า “จงยอมให้เด็กเล็ก ๆ เข้ามาหาเรา, อย่าห้ามเขาเลย.”—มาระโก 10:13, 14.
9. ทำไมการกระทำของเราอาจสำคัญยิ่งกว่าคำพูด?
9 เราสามารถเรียนจากตัวอย่างของพระเยซูได้. เมื่อเด็ก ๆ มาหาเรา เรามีปฏิกิริยาอย่างไร แม้เมื่อเรามีธุระยุ่ง? เรามีปฏิกิริยาเหมือนพระเยซูไหม? สิ่งที่เด็ก ๆ ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากบิดามารดาก็คือสิ่งที่พระเยซูเต็มพระทัยให้พวกเขา ซึ่งก็ได้แก่เวลาและความสนใจ. เป็นความจริงที่ว่าคำพูดอย่างเช่น “พ่อรักลูก” หรือ “แม่รักลูก” นับว่าสำคัญ. กระนั้น การกระทำก็ดังกว่าคำพูด. ความรักของคุณจะปรากฏชัดไม่เพียงโดยสิ่งที่คุณพูด แต่ปรากฏชัดยิ่งกว่านั้นอีกโดยสิ่งที่คุณทำ. ความรักแสดงออกโดยการที่คุณให้เวลา, การเอาใจใส่, และความสนใจแก่ลูก ๆ. อย่างไรก็ตาม การทำสิ่งที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดอาจไม่ก่อผลที่มองเห็นได้ อย่างน้อยก็ไม่เร็วอย่างที่คุณอาจคาดหวัง. ความอดทนนับว่าจำเป็น. เราสามารถเรียนรู้ที่จะอดทนได้หากเราเลียนแบบวิธีที่พระเยซูปฏิบัติกับสาวกของพระองค์.
ความอดทนและความรักใคร่ของพระเยซู
10. พระเยซูทรงสอนบทเรียนเรื่องความถ่อมใจแก่สาวกโดยวิธีใด และเกิดผลอย่างที่หวังในทันทีไหม?
10 พระเยซูทรงทราบว่าพวกสาวกยังคงทะเลาะกันเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่. วันหนึ่ง หลังจากพระเยซูกับพวกมาระโก 9:33-37) การสอนครั้งนั้นก่อผลอย่างที่หวังไว้ไหม? ไม่ได้เกิดผลในทันที. ประมาณหกเดือนต่อมา ยาโกโบกับโยฮันให้มารดาของเขาทูลขอตำแหน่งสำคัญในราชอาณาจักรจากพระเยซู. อีกครั้งหนึ่งที่พระเยซูทรงแก้ไขความคิดของพวกเขาอย่างอดทน.—มัดธาย 20:20-28.
สาวกมาถึงเมืองเคเปอร์นาอุม (กัปเรนาอูม) พระองค์ทรงถามพวกเขาว่า “ ‘เมื่อมาตามทางนั้นท่านทั้งหลายได้โต้แย้งกันด้วยข้อความอันใด?’ เหล่าสาวกก็นิ่งอยู่, เพราะเมื่อมาตามทางนั้นเขาได้เถียงกันว่า คนไหนจะเป็นใหญ่.” แทนที่จะดุว่าสาวกอย่างแรง พระเยซูทรงอดทนและยกเด็กเป็นตัวอย่างเพื่อสอนพวกเขาเรื่องความถ่อมใจ. (11. (ก) งานอะไรตามธรรมเนียมซึ่งเหล่าอัครสาวกของพระเยซูไม่ได้ทำหลังจากมาถึงห้องชั้นบนกับพระเยซูแล้ว? (ข) พระเยซูทรงทำอะไร และความพยายามของพระองค์สำเร็จผลไหมในตอนนั้น?
11 ไม่นานก็ถึงเทศกาลปัศคาปี ส.ศ. 33 และพระเยซูทรงร่วมชุมนุมกับเหล่าอัครสาวกเป็นการส่วนตัวเพื่อฉลองปัศคากัน. เมื่อมาถึงห้องชั้นบน ไม่มีใครในหมู่อัครสาวก 12 คนที่ริเริ่มทำหน้าที่ตามธรรมเนียมในการล้างเท้าที่เปื้อนฝุ่นให้คนอื่น ๆ ซึ่งเป็นงานต่ำต้อยที่ปกติแล้วเป็นหน้าที่ของคนรับใช้หรือผู้หญิงในครัวเรือน. (1 ซามูเอล 25:41; 1 ติโมเธียว 5:10) พระเยซูคงต้องเศร้าพระทัยสักเพียงไรที่เห็นว่าสาวกของพระองค์ยังคงแสดงให้เห็นความมักใหญ่ใฝ่สูงกันอยู่! ดังนั้น พระเยซูจึงล้างเท้าให้พวกเขาแต่ละคน แล้ววิงวอนให้พวกเขาทำตามตัวอย่างของพระองค์ในการรับใช้คนอื่น ๆ. (โยฮัน 13:4-17) พวกเขาทำตามไหม? คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่าต่อมาในคืนนั้นเอง “มีการเถียงกันในพวกเขาว่าใครจะนับว่าเป็นใหญ่.”—ลูกา 22:24.
12. บิดามารดาอาจเลียนแบบพระเยซูอย่างไรในการพยายามสั่งสอนบุตรของตน?
12 เมื่อลูกไม่ทำตามคำแนะนำของคุณ บิดามารดาเข้าใจไหมว่าพระเยซูคงต้องรู้สึกเช่นไร? อย่าลืมว่าพระเยซูไม่เลิกล้มความพยายามที่จะช่วยเหล่าอัครสาวกของพระองค์ แม้ว่าพวกเขาจะช้าในการแก้ไขข้อบกพร่องของตน. ในที่สุดความอดทนของพระองค์ก็เกิดผลที่ดี. (1 โยฮัน 3:14, 18) บิดามารดาทั้งหลาย คุณควรเลียนแบบความรักและความอดทนของพระเยซู และอย่าเลิกล้มความพยายามที่จะสั่งสอนบุตรของคุณ.
13. เหตุใดพ่อแม่ไม่ควรบอกปัดอย่างแข็งกร้าวเมื่อลูกถามคำถาม?
13 เด็ก ๆ ต้องรู้สึกว่าพ่อแม่รักและสนใจในตัวเขา. พระเยซูอยากทราบว่าสาวกคิดอะไรอยู่ พระองค์จึงสนอกสนใจฟังเมื่อพวกเขามีคำถาม. พระองค์ทรงถามความคิดเห็นของพวกเขาในบางเรื่อง. (มัดธาย 17:25-27) ใช่แล้ว การสอนที่ดีรวมถึงการตั้งใจฟังและการให้ความสนใจอย่างแท้จริง. พ่อแม่ควรต้านทานแนวโน้มใด ๆ ที่จะผลักไสลูกที่ช่างถาม โดยใช้เสียงดุ ๆ ว่า “ไปให้พ้น ๆ! ไม่เห็นหรือว่าฉันกำลังยุ่งอยู่?” หากพ่อแม่มีธุระยุ่งอยู่จริง ๆ ก็ควรบอกลูกว่าจะคุยกันทีหลัง. แล้วพ่อแม่ก็ต้องทำตามที่ตกลงกับลูกไว้. โดยวิธีนี้ ลูกจะรู้สึกว่าพ่อแม่สนใจตัวเขาจริง ๆ และก็ง่ายขึ้นที่เขาจะเผยความคิดในใจกับพ่อแม่.
14. บิดามารดาสามารถเรียนอะไรได้จากพระเยซูในการแสดงความรักใคร่ต่อบุตร?
14 เหมาะไหมที่บิดามารดาจะแสดงความรักใคร่ต่อบุตรโดยโอบกอดพวกเขา? อีกครั้งหนึ่งที่บิดามารดาเรียนได้จากพระเยซู. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่าพระองค์ “ทรงอุ้มเด็กเล็ก ๆ เหล่านั้น วางพระหัตถ์บนเขาและทรงอวยพรให้.” (มาระโก 10:16) คุณคิดว่าเด็กเหล่านั้นจะรู้สึกอย่างไร? พวกเขาคงรู้สึกอบอุ่นใจและอยากอยู่ใกล้ชิดกับพระเยซูแน่ ๆ! หาก มีความรักใคร่อย่างแท้จริงระหว่างพวกคุณที่เป็นบิดามารดากับบุตรของคุณ ก็ง่ายขึ้นที่บุตรจะตอบรับความพยายามของคุณในการอบรมสั่งสอนพวกเขา.
ประเด็นที่ว่าควรให้เวลาแค่ไหน
15, 16. อะไรคือแนวคิดซึ่งเป็นที่นิยมกันในเรื่องการเลี้ยงดูบุตร และดูเหมือนว่าแนวคิดดังกล่าวเกิดจากอะไร?
15 บางคนสงสัยว่าบุตรต้องการเวลาและการเอาใจใส่ด้วยความรักจากบิดามารดาอย่างมากจริง ๆ หรือไม่. แนวคิดหนึ่งเรื่องการเลี้ยงดูบุตรที่มีการส่งเสริมอย่างแยบยลคือแนวคิดที่เรียกกันว่าเวลาที่มีคุณภาพ. ผู้ส่งเสริมแนวคิดนี้อ้างว่า เด็กไม่ต้องการเวลามากจากบิดามารดา ตราบใดที่เวลาซึ่งให้กับเด็กนั้นมีความหมาย, ผ่านการคิดอย่างรอบคอบ, และเตรียมการล่วงหน้า. แนวคิดเรื่องเวลาที่มีคุณภาพนั้นเหมาะสมและเกิดจากการคำนึงถึงสวัสดิภาพของเด็กไหม?
16 นักเขียนคนหนึ่งซึ่งได้สนทนากับเด็กหลายคนกล่าวว่าสิ่งที่เด็ก ๆ “ต้องการมากที่สุดจากบิดามารดาคือ เวลาที่มากขึ้น” และ “การเอาใจใส่อย่างเต็มที่.” ที่น่าสังเกตคือ อาจารย์แพทย์คนหนึ่งให้ข้อสังเกตว่า “คำดังกล่าว [เวลาที่มีคุณภาพ] เกิดจากการที่พ่อแม่รู้สึกว่าตนให้เวลาลูกไม่พอ. ผู้คนหาข้ออ้างเพื่อจะใช้เวลากับลูก ๆ ของตนน้อยลง.” บิดามารดาควรใช้เวลากับบุตรมากแค่ไหน?
17. บุตรจำเป็นต้องได้อะไรจากบิดามารดา?
17 คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้กล่าวไว้. อย่างไรก็ตาม บิดามารดาชาวอิสราเอลได้รับการสนับสนุนให้พูดกับบุตรเมื่อพวกเขานั่งอยู่ในเรือน, ขณะเดินในหนทาง, นอนลง, และตื่นขึ้น. (พระบัญญัติ 6:7) เห็นได้ชัด นี่หมายความว่าบิดามารดาจะต้องมีเวลาสนทนากับบุตรเพื่อสอนพวกเขาอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดในแต่ละวัน.
18. พระเยซูฉวยโอกาสต่าง ๆ อย่างไรเพื่อสั่งสอนสาวก และบิดามารดาเรียนอะไรได้จากเรื่องนี้?
18 พระเยซูสั่งสอนสาวกของพระองค์อย่างบังเกิดผลระหว่างรับประทานอาหาร, ขณะเดินทาง, และแม้กระทั่งในยามพักผ่อนกับพวกเขา. โดยวิธีนี้ พระองค์ฉวยทุกโอกาสเพื่อสอนพวกเขา. (มาระโก 6:31, 32; ลูกา 8:1; 22:14) ในทำนองเดียวกัน บิดามารดาคริสเตียนควรจะตื่นตัวที่จะใช้ทุกโอกาสเพื่อริเริ่มและรักษาการสื่อความที่ดีกับบุตรไว้ และเพื่อสั่งสอนพวกเขาในทางของพระยะโฮวา.
สอนอะไรและโดยวิธีใด?
19. (ก) อะไรเป็นสิ่งจำเป็นด้วยนอกเหนือจากการใช้เวลากับบุตร? (ข) บิดามารดาต้องสอนอะไรแก่บุตรเป็นประการสำคัญ?
19 เพียงการใช้เวลาอยู่กับบุตรหรือแม้กระทั่งสอนเขา ก็ใช่ว่าจะเพียงพอที่จะเลี้ยงดูเขาได้อย่างประสบความสำเร็จ. สิ่งที่สำคัญด้วยก็คือสอนอะไร. ขอสังเกตว่าคัมภีร์ไบเบิลเน้นอย่างไรถึงสิ่งที่ควรสอน: “ถ้อยคำเหล่านี้, ซึ่งเราสั่งไว้แก่เจ้าทั้งหลายในวันนี้ . . . จงอุตส่าห์สั่งสอนบุตรทั้งหลายของเจ้าด้วยถ้อยคำเหล่านี้.” “ถ้อยคำเหล่านี้” ที่บุตรต้องได้รับการสอนคืออะไร? ปรากฏชัดว่าคือถ้อยคำที่เพิ่งกล่าวไปในข้อก่อนหน้านี้ที่ว่า “เจ้าจงรักพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้าด้วยสุดใจ, สุดจิตต์ของเจ้า, และด้วยสิ้นสุดกำลังของเจ้า.” พระบัญญัติ 6:5-7) พระเยซูตรัสว่าข้อนี้เป็นข้อสำคัญที่สุดในพระบัญญัติทั้งสิ้นของพระเจ้า. (มาระโก 12:28-30) บิดามารดาจำเป็นต้องสอนบุตรเกี่ยวกับพระยะโฮวาเป็นประการสำคัญ และอธิบายเหตุผลที่พระองค์ผู้เดียวคู่ควรจะได้รับความรักและความเลื่อมใสอย่างสุดชีวิตจิตใจจากเรา.
(20. บิดามารดาสมัยก่อนได้รับพระบัญชาจากพระเจ้าให้สอนอะไรแก่บุตร?
20 แต่ “ถ้อยคำเหล่านี้” ที่บิดามารดาได้รับการกระตุ้นให้สอนบุตรของตนนั้นไม่ใช่มีแค่ให้รักพระเจ้าสุดชีวิตจิตใจ. คุณจะสังเกตว่าในบทก่อนของพระธรรมพระบัญญัติ โมเซกล่าวซ้ำกฎหมายที่พระเจ้าทรงจารึกบนแผ่นศิลา ซึ่งก็คือ บัญญัติสิบประการ. กฎหมายหรือบัญญัติเหล่านี้ รวมถึงข้อห้ามไม่ให้พูดโกหก, ลักขโมย, ฆ่าคน, และเล่นชู้. (พระบัญญัติ 5:11-22) ฉะนั้น บิดามารดาในสมัยนั้นจึงได้รับการเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องถ่ายทอดค่านิยมทางศีลธรรมแก่บุตรของตน. บิดามารดาคริสเตียนในสมัยนี้ต้องให้คำแนะนำสั่งสอนที่คล้ายกันนั้นแก่บุตร หากเขาอยากจะช่วยบุตรให้มีอนาคตที่มั่นคงและมีความสุข.
21. พระบัญชาที่ให้ “พร่ำสอน” ถ้อยคำของพระเจ้าแก่บุตรหมายความว่าอย่างไร?
21 ขอสังเกตว่าบิดามารดาได้รับพระบัญชาให้สอน “ถ้อยคำเหล่านี้” หรือพระบัญญัติแก่บุตรโดยวิธีใด: “จงอุตส่าห์สั่งสอน [“พร่ำสอน,” ล.ม.] บุตรทั้งหลายของเจ้าด้วยถ้อยคำเหล่านี้.” คำว่า “พร่ำสอน” หมายความว่า “สอนและเน้นความสำคัญโดยกล่าวซ้ำบ่อย ๆ, กระตุ้นให้ทำ, ทำให้ฝังแน่นในจิตใจ.” ดังนั้น ที่แท้แล้ว ในที่นี้พระเจ้ากำลังบัญชาให้บิดามารดากำหนดตารางเวลาสำหรับการสอนคัมภีร์ไบเบิลอย่างที่มีการวางแผนล่วงหน้าด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อประทับเรื่องฝ่ายวิญญาณลงในจิตใจของบุตรโดยเฉพาะ.
22. บิดามารดาชาวอิสราเอลได้รับพระบัญชาให้ทำอะไรเพื่อสอนบุตรของตน และนั่นหมายความว่าอย่างไร?
22 กำหนดเวลาการสอนที่มีการวางแผนล่วงหน้านั้นเรียกร้องความมุ่งมั่นพยายามจากบิดามารดา. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “[จง] เอาถ้อยคำเหล่านี้พันไว้ที่มือของเจ้าเป็นของสำคัญ, และจารึกไว้ที่หว่างคิ้วของเจ้าทั้งหลาย. จงเขียนถ้อยคำเหล่านี้ไว้ที่เสาเรือนของเจ้า, และที่ประตูเมืองทั้งหลายของเจ้า.” (พระบัญญัติ 6:8, 9) นี่ไม่ได้หมายความว่า บิดามารดาต้องเขียนข้อกฎหมายของพระเจ้าที่เสาเรือนและที่ประตู หรือผูกสำเนาข้อกฎหมายนั้นไว้รอบข้อมือหรือผูกติดไว้ที่หว่างคิ้วของบุตรจริง ๆ. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น จุดสำคัญของคำสั่งข้อนี้คือ บิดามารดาควรเตือนใจบุตรให้ระลึกถึงคำสอนของพระเจ้าอยู่เสมอ. การสอนบุตรควรทำเป็นประจำสม่ำเสมอจนประหนึ่งว่าคำสอนของพระเจ้าอยู่ต่อหน้าบุตรตลอดเวลาทีเดียว.
23. จะมีการพิจารณาเรื่องใดในบทเรียนของสัปดาห์หน้า?
23 อะไรเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นพิเศษที่บิดามารดาต้องสอนบุตร? ทำไมจึงเป็นเรื่องสำคัญมากในปัจจุบันที่บุตรต้องได้รับการสอนและฝึกฝนให้รู้วิธีปกป้องตัวเอง? ตอนนี้มีอะไรเป็นเครื่องมือที่จะช่วยบิดามารดาสอนบุตรอย่างมีประสิทธิภาพ? จะมีการพิจารณาคำถามเหล่านี้และคำถามอื่น ๆ ที่บิดามารดาหลายคนเป็นห่วงในบทความถัดไป.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เหตุใดบิดามารดาจึงควรถือว่าบุตรมีค่ามาก?
• บิดามารดาและคนอื่น ๆ สามารถเรียนรู้อะไรได้จากตัวอย่างของพระเยซู?
• บิดามารดาควรให้เวลาแก่บุตรมากแค่ไหน?
• บุตรควรได้รับการสอนอะไร และควรสอนเขาโดยวิธีใด?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 10]
บิดามารดาเรียนอะไรได้จากวิธีที่พระเยซูสอน?
[ภาพหน้า 11]
บิดามารดาชาวอิสราเอลสอนบุตรเมื่อไรและโดยวิธีใด?
[ภาพหน้า 12]
บิดามารดาควรเตือนใจบุตรให้ระลึกถึงคำสอนของพระเจ้าอยู่เสมอ