มีความรู้มากเกินไปสำหรับเราไหม?
มีความรู้มากเกินไปสำหรับเราไหม?
มิชชันนารีสามีภรรยาคู่หนึ่งกำลังนั่งมองดวงจันทร์สีเงินอยู่บนหาดทรายแห่งหนึ่งในแอฟริกาตะวันตก. สามีพูดขึ้นมาว่า “มนุษย์รู้เรื่องของดวงจันทร์มากแค่ไหน และมีอีกมากแค่ไหนที่มนุษย์ยังไม่รู้?”
ภรรยาตอบว่า “สมมุติว่าเรามองดูโลกได้เหมือนที่เรากำลังมองดูดวงจันทร์ลอยอยู่นี้มนุษย์รู้อะไรเกี่ยวกับโลกแล้วบ้าง และมีอีกมากแค่ไหนที่เราจะรู้ได้? แล้วคิดดูซิ! ไม่ใช่แต่โลกเท่านั้นที่กำลังโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่ระบบสุริยะของเราทั้งระบบก็กำลังเคลื่อนที่ด้วย. นี่หมายความว่า เราอาจจะไม่มีทางได้กลับมาอยู่ ณ จุดนี้ของเอกภพอีกเลย. ที่จริง เรารู้ว่าเราอยู่ ณ จุดไหนในอวกาศก็ต่อเมื่อเราเทียบตำแหน่งที่เราอยู่กับตำแหน่งของดาวต่าง ๆ ที่เราคุ้นเคยเท่านั้น. เรารู้อะไรมากมายเกี่ยวกับบางสิ่งแต่ก็พูดได้ว่าเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจุดที่เราอยู่นี้คือที่ไหน!”
ความคิดเหล่านี้สะท้อนความจริงพื้นฐานบางอย่าง. ดูเหมือนว่ามีสิ่งต่าง ๆ ให้เรียนรู้มากมายเหลือเกิน. แน่ละ เราทุกคนเรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน. แต่ไม่ว่าเราจะเรียนรู้มากแค่ไหน ดูเหมือนว่าเราก็ยังรู้ได้ไม่เร็วอย่างที่ใจต้องการ.
ถูกแล้ว นอกจากความสามารถในการรับข้อมูลใหม่ ๆ จะเพิ่มขึ้นแล้ว ความสามารถในการเก็บข้อมูลก็เพิ่มขึ้นมากด้วย. เทคโนโลยีทำให้มนุษย์สะสมความรู้ได้มหาศาล. ฮาร์ดดิสก์ในคอมพิวเตอร์สมัยนี้มีความสามารถเก็บข้อมูลได้มากมายทำให้ต้องคิดหาคำศัพท์ใหม่ ๆ ทางคณิตศาสตร์มาใช้เรียกความสามารถเหล่านั้น. ซีดีรอมธรรมดาสามารถเก็บข้อมูลได้มหาศาล ความจุของมันตามที่เรียกกันคือ 680 เมกะไบต์หรือมากกว่านั้น. ดีวีดีมาตราฐานมีความจุมากกว่าเกือบเจ็ดเท่า และในอนาคตจะจุข้อมูลได้มากกว่านั้นด้วยซ้ำ.
วิธีสื่อสารข้อมูลของมนุษย์ในสมัยนี้แทบจะเกินความเข้าใจของเราอยู่แล้ว. เครื่องพิมพ์โรตารีที่หมุนด้วยความเร็วสูงอย่างไม่น่าเชื่อได้ผลิตหนังสือพิมพ์, นิตยสาร, และหนังสือต่าง ๆ ออกมา. สำหรับคนที่ใช้อินเทอร์เน็ต เพียงแค่ใช้เมาส์คลิกเข้าไปก็จะได้ข้อมูลปริมาณนับไม่ถ้วนออกมา. ด้วยวิธีเหล่านี้และวิธีอื่น ๆ อีกมากมาย ข้อมูลจึงแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็วจนคนเราเรียนรู้ไม่ทัน. บางครั้ง มีการเปรียบเทียบข้อมูลปริมาณมหาศาลนี้กับทะเล เป็นเหมือนทะเลกว้างใหญ่ที่เราต้องเรียนที่จะว่ายน้ำในนั้นให้ได้ แต่อย่าพยายามกลืนน้ำทั้งหมดเข้าไป. เนื่องจากข้อมูลในทุกวันนี้มีปริมาณมหาศาล เราจึงต้องรู้จักเลือก.
กิจการ 19:35, 36) แม้เรื่องนี้จะเป็นที่รู้กันทั่วไป และหลายคนอาจถึงกับบอกว่านี่เป็นเรื่องจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้ แต่ก็ไม่เป็นความจริงที่ว่ารูปศิลานั้นได้ตกลงมาจากฟ้า. ดังนั้น จึงมีเหตุผลสมควรที่คัมภีร์ไบเบิลบริสุทธิ์จะเตือนคริสเตียนให้ระวังสิ่งที่ “เรียกผิดไปว่าเป็นความรู้.”—1 ติโมเธียว 6:20.
เหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เราต้องรู้จักเลือกคือ ข้อมูลที่มีอยู่มากมายไม่เป็นประโยชน์เสมอไป. ที่จริง ข้อมูลเหล่านั้นบางอย่างไม่ใช่ข้อมูลที่ดีและไม่ควรเสียเวลาเรียนรู้ด้วยซ้ำ. จงจำไว้ว่าความรู้ก็คือข้อมูลต่าง ๆ ทั้งที่ดีและไม่ดี ทั้งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์. และที่สร้างความสับสนให้มากกว่านั้นคือ สิ่งซึ่งหลายคนถือว่าเป็นข้อเท็จจริงกลับไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง. บ่อยเพียงไรที่แม้แต่คำกล่าวของเหล่าผู้รู้ที่ได้รับการยกย่องกลับกลายเป็นข้อผิดพลาดและไม่เป็นความจริง! เพื่อเป็นตัวอย่าง ขอให้คิดถึงนายอำเภอเมืองเอเฟโซส์โบราณ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นผู้ที่ประชาชนถือว่ามีความรู้. เขาได้อ้างว่า “มีผู้ใดบ้างซึ่งไม่ทราบว่าชาวเมืองเอเฟโซนี้เป็นผู้รักษาโบสถ์ของนางพระอะระเตมีที่เป็นใหญ่, และเป็นผู้รักษารูปศิลาซึ่งตกลงมาจากฟ้า?” (เหตุผลที่มีน้ำหนักอย่างหนึ่งที่เราต้องเป็นคนรู้จักเลือกในเรื่องความรู้คือ ช่วงชีวิตของคนเรานั้นสั้นเหลือเกิน. ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไร ไม่ต้องสงสัยว่าคงมีความรู้มากมายหลายสาขาที่คุณอยากศึกษา แต่คุณคงรู้ดีว่า ชีวิตที่คุณมีอยู่นั้นสั้นเกินกว่าที่จะทำเช่นนั้นได้.
ปัญหาพื้นฐานนี้จะมีทางเปลี่ยนแปลงแก้ไขไหม? มีความรู้สาขาใดไหมที่สามารถยืดชีวิตคนเราให้อยู่ได้นาน ๆ หรือถึงกับทำให้มีชีวิตยืนยาวตลอดไปได้? ขณะนี้มีความรู้แบบนั้นแล้วหรือยัง? ถ้ามี ทุกคนจะได้รับความรู้นี้ไหม? จะมีวันไหมที่ความรู้ทุกอย่างจะเป็นอย่างที่เราคาดหมาย คือเป็นความจริง? มิชชันนารีสามีภรรยาที่กล่าวถึงในตอนต้นได้พบคำตอบที่น่าพอใจสำหรับคำถามเหล่านี้แล้ว และคุณเองจะพบได้เช่นกัน. โปรดอ่านบทความถัดไปซึ่งจะทำให้คุณมองเห็นความหวังที่จะรับความรู้ได้ตลอดไป.