การกลับเป็นขึ้นจากตายความคาดหวังที่น่ายินดี
การกลับเป็นขึ้นจากตายความคาดหวังที่น่ายินดี
ความเชื่อเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายแพร่หลายไปทั่ว. คัมภีร์อัลกุรอานมีบทหนึ่งที่พูดถึงเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายโดยเฉพาะ. ส่วนหนึ่งของซูเราะห์ที่ 75 กล่าวว่า “ข้าขอสาบานต่อวันกิยามะฮ . . . มนุษย์คิดหรือ ว่าเราจะไม่รวบรวมกระดูกของเขากระนั้นหรือ? . . . เขาถามว่า ‘เมื่อใดเล่าวันแห่งการฟื้นคืนชีพ (จะเกิดขึ้น)?’ พระองค์ (องค์เดียวกัน) จะไม่สามารถที่จะให้คนตายมีชีวิตขึ้นมาอีกกระนั้นหรือ?”—ซูเราะห์ 75:1-6, 40.
สารานุกรมบริแทนนิกาฉบับใหม่ กล่าวว่า “ศาสนาโซโรอัสเตอร์มีความเชื่อเรื่องชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือความชั่วร้าย, การกลับเป็นขึ้นจากตาย, การพิพากษาครั้งสุดท้าย, และการฟื้นฟูโลกที่ถูกชำระแล้วให้มีความชอบธรรม.”
สารานุกรมจูไดกา นิยามการกลับเป็นขึ้นจากตายว่าเป็น “ความเชื่อที่ว่า ในที่สุดแล้วคนตายจะกลับฟื้นคืนชีพในร่างของตนเองและอาศัยอยู่บนโลกอีกครั้ง.” แหล่งอ้างอิงเดียวกันยังให้ความเห็นอีกว่า ศาสนายิวรับเอาความเชื่อเรื่องมนุษย์มีจิตวิญญาณอมตะด้วย ซึ่งความเชื่อดังกล่าวทำให้เกิดความสับสนงุนงง. หนังสือนี้ยอมรับว่า “โดยพื้นฐานแล้ว ความเชื่อเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายและเรื่องจิตวิญญาณอมตะขัดแย้งกันเองอย่างสิ้นเชิง.”
ศาสนาฮินดูสอนว่า มนุษย์กลับมาเกิดใหม่อีกหลายครั้ง. ถ้าเรื่องนี้เป็นความจริง มนุษย์ต้องมีจิตวิญญาณที่ดำรงอยู่ต่อไปหลังจากตายแล้ว. ภควัทคีตะ หนังสือศักดิ์สิทธิ์ของฮินดูกล่าวว่า “วิญญาณที่แผ่ซ่านไปทุกอณูของร่างกายเป็นสิ่งที่ไม่มีวันเสื่อมสลาย. ไม่มีผู้ใดอาจทำลายจิตวิญญาณที่ไม่รู้เปื่อยเน่า.”
คำสอนของศาสนาพุทธต่างจากฮินดูเนื่องจากไม่เชื่อเรื่องการดำรงอยู่ของจิตวิญญาณอมตะ. แต่ในทุกวันนี้ ชาวพุทธหลายคนในดินแดนตะวันออกไกลมีความเชื่อในเรื่องการโยกย้ายจิตวิญญาณอมตะ. *
ความสับสนเกี่ยวกับคำสอนเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย
งานศพที่จัดขึ้นในคริสต์ศาสนจักรมักจะกล่าวถึงวิญญาณที่ดำรงอยู่หลังจากตายและการกลับเป็นขึ้นจากตาย. ตัวอย่างเช่น นักเทศน์นักบวชนิกายแองกลิกันมักจะท่องบทสวดที่ว่า “เนื่องจากเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าองค์ทรงฤทธานุภาพทุกประการ ผู้ทรงมีพระเมตตาอันเหลือล้นในการรับเอาจิตวิญญาณของผู้เป็นที่รักของเราซึ่งอยู่ที่นี่ไป ดังนั้น เราจึงฝังร่างของเขาไว้ใต้ผืนดิน ให้ดินกลับสู่ดิน, ขี้เถ้ากลับสู่ขี้เถ้า, ผงธุลีกลับสู่ผงธุลี โดยมีความแน่ใจและหวังใจในเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายสู่ชีวิตชั่วนิรันดร์ โดยทางพระเยซูคริสต์เจ้าของเรา.”—เดอะ บุ๊ก ออฟ คอมมัน เพรเยอร์.
ถ้อยคำนี้อาจทำให้บางคนสงสัยว่าคัมภีร์ไบเบิลสอนเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายหรือสอนเรื่องจิตวิญญาณอมตะกันแน่. อย่างไรก็ตาม ขอให้สังเกตความเห็นของ
ออสคาร์ คุลล์มันน์ ศาสตราจารย์ชาวฝรั่งเศสฝ่ายโปรเตสแตนต์ ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ ความเป็นอมตะของจิตวิญญาณ หรือการปลุกคนตายให้เป็นขึ้นมา? (ภาษาฝรั่งเศส) ดังนี้: “มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงระหว่างความเชื่อของคริสเตียนในเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย กับความเชื่อของชาวกรีกที่ว่าจิตวิญญาณเป็นอมตะ. . . . ถึงแม้ในเวลาต่อมาศาสนาคริสเตียนได้รวมความเชื่อทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน และในปัจจุบันคริสเตียนทั่วไปก็ทำให้ความเชื่อดังกล่าวสับสนปนเปกันไปหมด แต่ข้าพเจ้ารู้สึกว่า ไม่มีเหตุผลที่จะปิดบังเรื่องที่ข้าพเจ้าและผู้คงแก่เรียนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นความจริง. . . . นั่นคือความเชื่อเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายซึ่งครอบคลุมแนวคิดทุกเรื่องของพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่. . . . คนที่ตายไปแล้วจะได้รับการปลุกให้กลับมามีชีวิตอีกโดยการทรงสร้างครั้งใหม่ของพระเจ้า.”ไม่แปลกเลยที่ผู้คนทั่วไปรู้สึกสับสนเกี่ยวกับความตายและการกลับเป็นขึ้นจากตาย. เพื่อจะได้รับความกระจ่าง เราต้องหมายพึ่งคัมภีร์ไบเบิลซึ่งเป็นหนังสือที่เปิดเผยความจริงโดยพระยะโฮวา พระผู้สร้างมนุษย์. คัมภีร์ไบเบิลมีบันทึกเรื่องราวการกลับเป็นขึ้นจากตายหลายเรื่อง. ให้เราพิจารณาสี่เรื่องและใคร่ครวญดูว่าเรื่องราวเหล่านี้เผยให้เห็นอะไร.
“ผู้หญิงได้รับพวกของตนที่ตายไปโดยการกลับเป็นขึ้นจากตาย”
ในจดหมายที่อัครสาวกเปาโลเขียนถึงชาวยิวซึ่งเข้ามาเป็นคริสเตียน ท่านกล่าวว่าสตรีที่มีความเชื่อ “ได้รับพวกของตนที่ตายไปโดยการกลับเป็นขึ้นจากตาย.” (เฮ็บราย 11:35, ล.ม.) หนึ่งในสตรีเหล่านั้นอาศัยอยู่ในเมืองซาเรฟาท (ซาเร็บตา) ซึ่งเป็นเมืองของชาวฟินิเซียที่อยู่ใกล้กับเมืองซีโดนบนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน. เธอเป็นหญิงม่ายที่แสดงความเอื้ออารีโดยต้อนรับเอลียาซึ่งเป็นผู้พยากรณ์ของพระเจ้า และเลี้ยงอาหารเขาแม้ในช่วงที่กันดารอาหารที่สุด. แต่น่าเศร้า ลูกชายของเธอป่วยหนักและเสียชีวิต. เอลียาจึงอุ้มเด็กคนนี้ขึ้นมาที่ห้องชั้นบนที่ท่านพักอยู่ทันที และอ้อนวอนขอพระยะโฮวาช่วยเขาให้มีชีวิตอีกครั้ง. แล้วการอัศจรรย์ก็เกิดขึ้น เด็กชายกลับ “มีชีวิตฟื้นขึ้น.” เอลียาพาเด็กชายมาหาแม่ของเขาและกล่าวว่า “จงดูเถิด, บุตรของท่านมีชีวิตเป็นขึ้นแล้ว.” หญิงม่ายมีปฏิกิริยาอย่างไร? เธอกล่าวด้วยความปลื้มปีติว่า “เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้ารู้แล้วว่าท่านเป็นคนแห่งพระเจ้า, และคำตรัสแห่งพระยะโฮวาโดยปากท่านก็เป็นความจริง.”—1 กษัตริย์ 17:22-24.
จากเมืองซาเรฟาทลงมาทางใต้เกือบ 100 กิโลเมตร สามีภรรยาที่มีน้ำใจโอบอ้อมอารีคู่หนึ่งได้ต้อนรับผู้พยากรณ์อะลีซาซึ่งเป็นผู้สืบตำแหน่งต่อจากเอลียา. ผู้เป็นภรรยามีชื่อเสียงดีในเมืองชูเนม ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเธอเอง. เธอและสามีจัดให้อะลีซาพักอยู่ที่ห้องชั้นบน. เมื่อหญิงคนนี้ให้กำเนิดบุตรชาย ความทุกข์เนื่องจากไม่มีบุตรก็กลับกลายเป็นความปลาบปลื้มยินดี. เมื่อเด็กน้อยเติบโตขึ้น เขามักจะช่วยบิดากับคนงานเก็บเกี่ยวพืชผลในทุ่งนา. แล้ววันหนึ่ง เรื่องเศร้าก็เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน. เด็กชายบ่นว่าปวดศีรษะมาก. คนงานที่อยู่ในทุ่งนาจึงรีบพากลับบ้าน. เมื่อไปถึง มารดาได้อุ้มบุตรชายไว้บนตัก แต่แล้วเด็กก็ค่อย ๆ หมดลมหายใจ. มารดาที่กำลังสิ้นหวังตัดสินใจไปขอความช่วยเหลือจากอะลีซา. นางกับคนใช้เดินทางไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือยังภูเขาคารเมล ซึ่งเป็นที่ที่อะลีซาอาศัยอยู่.
ผู้พยากรณ์ทำตามคำขอของนางโดยส่งคนใช้ของท่านคือเฆฮะซีล่วงหน้าไปก่อน แล้วเฆฮะซีก็พบว่าเด็กชายนั้น2 กษัตริย์ 4:32-37 กล่าวว่า “เมื่ออะลีซาเข้าไปในตึก, ก็เห็นศพของเด็กนั้น, วางไว้บนที่นอนของท่าน. ท่านก็เข้าไปในห้อง, ปิดประตูอยู่กับศพเด็กนั้นสองต่อสองเท่านั้น, อ้อนวอนพระยะโฮวา. เอาปากและตากับมือประทับตรงกัน: แล้วเนื้อของเด็กนั้นก็อุ่นขึ้น. ท่านเดินกลับไปกลับมาในตึกนั้นครู่หนึ่ง; แล้วก็กลับขึ้นไปนอนทับเด็กนั้นอีก: เด็กนั้นจามเจ็ดครั้ง, แล้วก็ลืมตาขึ้น. ท่านจึงสั่งเฆฮะซีว่า, จงเรียกนางชาวซุเนมมา. เมื่อนางนั้นเข้ามา, ท่านจึงว่า, จงอุ้มบุตรขึ้นเถิด. นางก็เข้าไปกราบ, ซบหน้าลงถึงดินที่เท้าท่าน, แล้วก็อุ้มบุตรออกไป.”
เสียชีวิตจริง ๆ. อะลีซาและมารดาของเด็กเดินทางตามมาทีหลัง แต่เกิดอะไรขึ้นเมื่อพวกเขามาถึงเมืองชูเนมในที่สุด? เรื่องราวที่หญิงชาวชูเนมรู้สึกแบบเดียวกับหญิงม่ายแห่งเมืองซาเรฟาท พวกนางรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นผลจากอำนาจของพระเจ้า. ทั้งสองรู้สึกยินดีอย่างยิ่งเมื่อพระเจ้าช่วยให้บุตรผู้เป็นที่รักกลับมีชีวิตอีก.
การกลับเป็นขึ้นจากตายในช่วงที่พระเยซูทำงานรับใช้
ประมาณ 900 ปีต่อมา มีการกลับเป็นขึ้นจากตายนอกหมู่บ้านนาอินค่อนไปทางเหนือของเมืองชูเนม. พระเยซูคริสต์และสาวกเจอขบวนแห่ศพเมื่อเดินทางจากเมืองเคเปอร์นาอุม (กัปเรนาอูม) มาเกือบจะถึงประตูเมืองนาอิน พระเยซูสังเกตเห็นหญิงม่ายที่เพิ่งสูญเสียลูกชายเพียงคนเดียวของเธอ. พระเยซูบอกให้เธอหยุดร้องไห้. นายแพทย์ลูกาพรรณนาสิ่งที่เกิดขึ้นต่อจากนั้นว่า “แล้ว [พระเยซู] เสด็จเข้าไปใกล้ถูกต้องโลง คนหามศพนั้นก็หยุดยืนอยู่. พระองค์จึงตรัสว่า, ‘ชายหนุ่มเอ๋ย, เราสั่งเจ้าให้ลุกขึ้นเถิด.’ คนที่ตายนั้นก็ลุกขึ้นนั่งพูด. พระองค์จึงทรงมอบชายหนุ่มให้แก่มารดาของเขา.” (ลูกา 7:14, 15) คนที่เห็นการอัศจรรย์นี้ต่างก็สรรเสริญพระเจ้า. ข่าวเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายแพร่สะพัดไปถึงยูเดียที่อยู่ทางใต้และละแวกใกล้เคียง. น่าสนใจ สาวกของโยฮันผู้ให้บัพติสมาได้ยินข่าวนั้นและเล่าให้โยฮันฟัง. โยฮันจึงส่งคนของท่านออกไปหาพระเยซูและให้ถามว่าพระองค์เป็นมาซีฮาที่ผู้คนรอคอยหรือไม่. พระเยซูตอบพวกเขาว่า “จงกลับไปแจ้งแก่โยฮันซึ่งท่านได้เห็นและได้ยิน คือว่าคนตาบอดก็เห็นได้, คนง่อยก็เดินได้, คนโรคเรื้อนก็หายสะอาด, คนหูหนวกก็ยินได้, คนตายแล้วก็เป็นขึ้นมา, และข่าวประเสริฐก็ประกาศแก่คนอนาถา.”—ลูกา 7:22.
การอัศจรรย์ของพระเยซูในการปลุกคนให้เป็นขึ้นจากตายซึ่งเป็นที่เลื่องลือที่สุด คือการปลุกลาซะโรสหายสนิทของพระองค์ให้เป็นขึ้นจากตาย. ในคราวนั้น ลาซะโรตายไปโยฮัน 11:39) กระนั้น แม้ร่างของลาซะโรจะเสื่อมสภาพไปบ้าง แต่นั่นก็ไม่ใช่อุปสรรคขวางกั้นการกลับเป็นขึ้นจากตาย. ตามคำสั่งของพระเยซู “ผู้ตายนั้นจึงออกมาทั้งผ้าพันมือและเท้า, และมีผ้าปิดหน้าอยู่ด้วย.” การกระทำของเหล่าศัตรูของพระเยซูในเวลาต่อมาพิสูจน์ว่าเป็นลาซะโรจริง ๆ ที่กลับมามีชีวิตอีกครั้ง.—โยฮัน 11:43, 44; 12:1, 9-11.
หลายวันแล้วกว่าพระเยซูจะเสด็จมาถึงบ้านของเขา. ในที่สุดเมื่อพระเยซูมาถึงเบทานี ลาซะโรตายไปแล้วสี่วัน. เมื่อพระเยซูสั่งให้ขยับหินที่ปิดทางเข้าอุโมงค์ฝังศพ มาธากล่าวทักท้วงว่า “พระองค์เจ้าข้า, ป่านนี้ศพมีกลิ่นเหม็น, เพราะว่าตายสี่วันแล้ว.” (เรื่องราวการกลับเป็นขึ้นจากตายทั้งสี่เรื่องนี้ทำให้เราเห็นอะไร? แต่ละคนที่กลับมามีชีวิตอีกครั้งก็เป็นคนเดิม. ผู้คนและแม้แต่ญาติที่ใกล้ชิดที่สุดก็จำบุคคลที่เป็นขึ้นจากตายได้. คนที่กลับเป็นขึ้นมาไม่ได้เล่าว่าเกิดอะไรขึ้นระหว่างช่วงสั้น ๆ ที่เขาตายไป. ไม่มีใครบอกว่าเดินทางไปอีกโลกหนึ่ง. ทุกคนที่กลับมามีชีวิตอีกครั้งดูเหมือนว่ามีสุขภาพดี. พวกเขารู้สึกเหมือนกับว่าหลับไปงีบหนึ่งแล้วตื่นขึ้นมา แม้แต่พระเยซูเองก็บอกเป็นนัยอย่างนั้น. (โยฮัน 11:11) กระนั้น หลังจากมีชีวิตต่อไปอีกระยะหนึ่ง พวกเขาแต่ละคนก็ต้องตายอีก.
ได้อยู่กับผู้เป็นที่รักอีก—ความหวังที่น่ายินดี
ไม่นานหลังการเสียชีวิตอันน่าเศร้าสลดของโอเวนที่กล่าวถึงในบทความก่อน พ่อของเขาไปที่บ้านของเพื่อนบ้านแล้วพบใบปลิวโฆษณาคำบรรยายสาธารณะของพยานพระยะโฮวาวางอยู่บนโต๊ะ. เขาสนใจหัวเรื่องของคำบรรยายที่ว่า “คนตายแล้วไปไหน?” นั่นเป็นคำถามที่ค้างคาใจเขาอยู่แล้ว. เขาร่วมฟังคำบรรยายและได้รับคำปลอบโยนอย่างแท้จริงจากคัมภีร์ไบเบิล. เขาเรียนรู้ว่าคนตายไม่ทนทุกข์. แทนที่จะต้องทรมานในไฟนรกหรือกลายเป็นทูตสวรรค์ในสวรรค์ คนที่เสียชีวิต รวมทั้งโอเวน นอนรออยู่ในหลุมฝังศพจนกว่าจะถึงเวลาที่จะได้รับการปลุกให้เป็นขึ้นจากตาย.—ท่านผู้ประกาศ 9:5, 10; ยะเอศเคล 18:4.
มีเรื่องเศร้าเช่นนี้เกิดขึ้นกับครอบครัวของคุณไหม? เช่นเดียวกับพ่อของเด็กน้อยโอเวน คุณสงสัยไหมว่าตอนนี้คนที่คุณรักซึ่งเสียชีวิตไปอยู่ที่ไหนและเป็นไปได้ไหมที่จะพบเขาอีกครั้ง? ถ้าเป็นอย่างนั้น เราขอเชิญคุณให้พิจารณาเรื่องราวเกี่ยวกับการกลับเป็นขึ้นจากตายที่อยู่ในคัมภีร์ไบเบิลเพิ่มเติม. บางทีคุณอาจสงสัยว่า ‘การกลับเป็นขึ้นจากตายจะเกิดขึ้นเมื่อไร? ใครจะมีโอกาสกลับเป็นขึ้นจากตาย?’ โปรดอ่านบทความต่อ ๆ ไปเพื่อจะพิจารณาเกี่ยวกับคำถามเหล่านี้และคำถามอื่น ๆ.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 6 ดูหนังสือมนุษย์แสวงหาพระเจ้า (ภาษาอังกฤษ) หน้า 150-154 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
[ภาพหน้า 5]
เอลียาอ้อนวอนขอพระยะโฮวาช่วยเด็กชายคนนี้ให้มีชีวิตอีก
[ภาพหน้า 5]
พระยะโฮวาใช้อะลีซาปลุกบุตรชายของหญิงชาวชูเนมให้เป็นขึ้นจากตาย
[ภาพหน้า 6]
พระเยซูปลุกบุตรชายของหญิงม่ายชาวนาอินให้เป็นขึ้นจากตาย
[ภาพหน้า 7]
การกลับเป็นขึ้นจากตายจะทำให้บรรดาญาติพี่น้องได้กลับมาอยู่กับคนที่เขารักอีก