การกลับเป็นขึ้นจากตาย—คำสอนที่มีผลกระทบต่อคุณ
การกลับเป็นขึ้นจากตาย—คำสอนที่มีผลกระทบต่อคุณ
“ข้าพเจ้ามีความหวังใจในพระเจ้า . . . ว่าคนทั้งปวงทั้งคนชอบธรรมและคนที่ไม่ชอบธรรม จะเป็นขึ้นมาจากความตาย.”—กิจการ 24:15.
1. การกลับเป็นขึ้นจากตายกลายเป็นประเด็นถกเถียงกันในศาลซันเฮดรินได้อย่างไร?
ในตอนสิ้นสุดการเดินทางเผยแพร่ในต่างแดนรอบที่สามของอัครสาวกเปาโลเมื่อปีสากลศักราช 56 นั้น ท่านอยู่ที่กรุงเยรูซาเลม. หลังจากถูกควบคุมตัวโดยทหารโรมัน ท่านได้รับโอกาสให้ไปแก้คดีในศาลซันเฮดริน ศาลสูงสุดของชาวยิว. (กิจการ 22:29, 30) เมื่อเปาโลสังเกตดูสมาชิกศาลนั้น ท่านเห็นว่าพวกหนึ่งเป็นฟาริซาย อีกพวกหนึ่งเป็นซาดูกาย. สองกลุ่มนี้แตกต่างกันในด้านหนึ่งที่สำคัญ. พวกซาดูกายไม่เชื่อเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย แต่พวกฟาริซายเชื่อ. เพื่อแสดงว่าท่านยืนอยู่จุดไหนในประเด็นนี้ เปาโลแถลงว่า “ดูก่อน ท่านพี่น้องทั้งหลาย, ข้าพเจ้าเป็นคนฟาริซายและเป็นบุตรของคนฟาริซาย ที่ข้าพเจ้าถูกพิพากษานั้นก็เพราะมีความหวังใจว่าคนทั้งหลายจะเป็นขึ้นมาจากความตาย.” โดยการกล่าวเช่นนั้น ที่ประชุมก็เกิดความวุ่นวาย!—กิจการ 23:6-9.
2. ทำไมเปาโลจึงพร้อมจะกล่าวปกป้องความเชื่อของท่านเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย?
2 ประมาณยี่สิบปีก่อนหน้านั้น ขณะเดินทางไปยังเมืองดามัสกัส (ดาเมเซ็ก) เปาโลได้เห็นนิมิตและได้ยินพระสุรเสียงของพระเยซู. เปาโลถึงกับถามพระเยซูว่า “พระองค์เจ้าข้า, ข้าพเจ้าจะต้องทำประการใด?” พระเยซูตอบว่า “จงลุกขึ้นเข้าไปในเมืองดาเมเซ็ก, และที่นั่นเขาจะบอกเจ้าให้รู้ถึงการทุกสิ่งซึ่งได้กำหนดไว้ให้เจ้ากระทำนั้น.” เมื่อไปถึงเมืองดามัสกัส อะนาเนีย สาวกคริสเตียนที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือ ได้มาหาเปาโลและชี้แจงแก่ท่านว่า “พระเจ้าแห่งบรรพบุรุษของเราได้ทรงเลือกท่านไว้, ประสงค์จะให้ท่านรู้จักน้ำพระทัยของพระองค์, ให้ท่านเห็นพระองค์ผู้ชอบธรรมนั้น [พระเยซูผู้ทรงคืนพระชนม์แล้ว], และให้ได้ยินพระสุรเสียงจากพระโอษฐ์ของพระองค์.” (กิจการ 22:6-16) ฉะนั้น จึงไม่น่าประหลาดใจที่เปาโลพร้อมจะกล่าวปกป้องความเชื่อของท่านเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย.—1 เปโตร 3:15.
ประกาศความหวังเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายอย่างเปิดเผย
3, 4. เปาโลพิสูจน์ให้เห็นอย่างไรว่าท่านเป็นผู้สนับสนุนเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายอย่างแข็งขัน และเราเรียนอะไรได้จากตัวอย่างของท่าน?
3 ต่อมา เปาโลไปปรากฏตัวต่อหน้าเฟลิกซ์ผู้สำเร็จราชการ. ในโอกาสนั้น เตอร์ตุโล “ทนายฝีปากดีคนหนึ่ง” ซึ่งพวกยิวตั้งเป็นตัวแทนฟ้องร้อง กล่าวหาเปาโลว่าเป็นผู้นำลัทธินอกรีตและยุยงให้เกิดความวุ่นวาย. เปาโลตอบโดยแถลงอย่างไม่ลังเลดังนี้: “ข้าพเจ้าขอรับต่อหน้าท่านอย่างหนึ่งว่า, ข้าพเจ้าปฏิบัติพระเจ้าแห่งบรรพบุรุษของข้าพเจ้าตามทางที่เขาเหมาว่าถือนอกรีตนั้นจริง.” แล้วท่านกล่าวต่อไปโดยเข้าสู่จุดสำคัญว่า “ข้าพเจ้ามีความหวังใจในพระเจ้าตามซึ่งเขาเอง [พวกยิว] มีความหวังใจด้วย, ว่าคนทั้งปวงทั้งคนชอบธรรมและคนที่ไม่ชอบธรรมจะเป็นขึ้นมาจากความตาย.”—กิจการ 23:23, 24; 24:1-8, 14, 15.
4 ราวสองปีต่อมา โประกิโอเฟศโต ผู้สำเร็จราชการต่อจากเฟลิกซ์ เชิญกษัตริย์เฮโรดอะฆะริปามาร่วมไต่สวนเปาโลกิจการ 24:27; 25:13-22; 26:8, 22, 23) เปาโลเป็นผู้สนับสนุนคำสอนเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายที่แข็งขันเสียจริง ๆ! เช่นเดียวกับเปาโล เราก็สามารถประกาศด้วยความมั่นใจเช่นกันว่าการกลับเป็นขึ้นจากตายมีจริง. แต่เราคาดหมายได้ว่าจะได้รับการตอบรับเช่นไร? ก็คงไม่ต่างจากที่เปาโลประสบ.
ที่ตกเป็นผู้ต้องหา. เฟศโตชี้แจงว่าฝ่ายโจทก์ได้คัดค้านคำยืนยันของเปาโลที่กล่าวว่า “เยซูซึ่งตายแล้ว . . . ยังเป็นอยู่.” ในการแก้คำกล่าวหา เปาโลถามว่า “เหตุไฉนท่านทั้งหลายจึงพากันถือว่าการซึ่งพระเจ้าจะทรงบันดาลให้คนทั้งหลายเป็นขึ้นมาจากตายเป็นการเชื่อไม่ได้?” แล้วท่านก็แถลงว่า “เป็นเพราะพระเจ้าได้ทรงโปรดช่วยข้าพเจ้า ๆ จึงมีชีวิตอยู่จนถึงทุกวันนี้, และอาจเป็นพยานได้ต่อหน้าผู้ใหญ่ผู้น้อย. ข้าพเจ้าไม่พูดเรื่องอื่นนอกจากเรื่องซึ่งบรรดาศาสดาพยากรณ์กับโมเซได้กล่าวไว้ว่าจะเกิดมีขึ้น, คือว่าพระคริสต์จะต้องทนทุกข์ทรมาน, และพระองค์นั้นจะเป็นผู้แรกที่จะทรงแสดงความสว่างแก่พลเมืองและชาวชนต่างชาติโดยการคืนพระชนม์นั้น.” (5, 6. (ก) การที่อัครสาวกกล่าวสนับสนุนเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายก่อให้เกิดปฏิกิริยาเช่นไร? (ข) ขณะที่เราให้คนอื่น ๆ ได้รู้ถึงความหวังของเราเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย อะไรนับว่าสำคัญ?
5 ขอพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นกับเปาโลก่อนหน้านั้น ขณะเยือนเอเธนส์ระหว่างการเดินทางเผยแพร่ในต่างแดนรอบที่สองของท่าน (ช่วงประมาณ ส.ศ. 49-52). ท่านหาเหตุผลกับพวกที่เชื่อว่ามีพระเจ้าหลายองค์ และกระตุ้นคนเหล่านั้นให้ใส่ใจพระประสงค์ของพระเจ้าที่จะพิพากษาโลกตามความชอบธรรมโดยบุรุษผู้หนึ่งที่พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งไว้. ผู้นี้ไม่ใช่ใครอื่นนอกจากพระเยซู. เปาโลอธิบายว่าพระเจ้าได้ให้หลักฐานยืนยันข้อนี้ด้วยการปลุกพระเยซูให้คืนพระชนม์. ปฏิกิริยาของผู้ฟังเป็นอย่างไร? เราอ่านว่า “ครั้นคนทั้งหลายได้ยินถึงเรื่องการซึ่งเป็นขึ้นมาจากความตายแล้ว, ลางคนก็เยาะเย้ย, แต่ลางคนว่า, ‘ข้าพเจ้าจะคอยฟังท่านกล่าวเรื่องนี้อีกต่อไป.’ ”—กิจการ 17:29-32.
6 ปฏิกิริยาดังกล่าวไม่ต่างกันนักกับสิ่งที่เปโตรและโยฮันประสบหลังเทศกาลเพนเทคอสต์ ปี ส.ศ. 33 ผ่านไปไม่นาน. อีกครั้งหนึ่งที่พวกซาดูกายมีส่วนสำคัญในการโต้เถียง. กิจการ 4:1-4 บอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นดังนี้: “เมื่อเปโตรกับโยฮันยังกล่าวแก่คนทั้งปวงอยู่, ปุโรหิตทั้งหลายกับนายทหารรักษาโบสถ์และจำพวกซาดูกายมาหาท่านทั้งสอง, ด้วยเขาเป็นทุกข์ร้อนใจเพราะท่านได้สั่งสอนประกาศแก่ชนทั้งหลายว่าบรรดาชนจะเป็นขึ้นมาจากความตายโดยพระเยซู.” อย่างไรก็ตาม คนอื่น ๆ ตอบรับในทางบวก. “คนเป็นอันมากที่ได้ฟังคำสอนนั้นก็เชื่อ จึงเพิ่มจำนวนขึ้นจนนับแต่ผู้ชายได้ประมาณห้าพันคน.” เราจึงคาดหมายได้ว่าปฏิกิริยาของผู้คนจะแตกต่างกันไปเมื่อเราพูดถึงความหวังเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย. เมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงนี้ จึงนับว่าสำคัญที่เราจะต้องเสริมความเชื่อของเราในคำสอนดังกล่าว.
ความเชื่อกับการกลับเป็นขึ้นจากตาย
7, 8. (ก) ตามที่กล่าวในจดหมายที่เขียนไปถึงประชาคมโครินท์ในศตวรรษแรก ความเชื่อจะเปล่าประโยชน์ได้อย่างไร? (ข) ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความหวังเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายนั้นทำให้ศาสนาคริสเตียนแท้ต่างจากศาสนาคริสเตียนเท็จอย่างไร?
7 ไม่ใช่ทุกคนที่เข้ามาเป็นคริสเตียนในศตวรรษแรกแห่งสากลศักราชรู้สึกง่ายที่จะยอมรับความหวังเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย. บางคนในจำพวกนั้นอยู่ในประชาคมที่เมืองโครินท์. เปาโลเขียนถึงพวกเขาว่า “ข้อความอันสำคัญที่สุดซึ่งข้าพเจ้ารับไว้แล้วนั้น ข้าพเจ้าได้ประกาศแก่ท่านทั้งหลาย, คือว่าพระคริสต์ได้วายพระชนม์เพราะความผิดของเราทั้งหลายตามคัมภีร์ที่เขียนไว้แล้วนั้น, และทรงถูกฝังไว้, แล้ววันที่สามพระองค์ทรงเป็นขึ้นมาใหม่ตามคัมภีร์ที่เขียนไว้แล้วนั้น.” จากนั้น เปาโลให้หลักฐานพิสูจน์ความจริงข้อนี้ โดยกล่าวว่าพระคริสต์ผู้คืนพระชนม์แล้วได้ “ปรากฏแก่พวกพี่น้องกว่าห้าร้อยคน” ซึ่งส่วนใหญ่ในพวกเขา รวมถึงเปาโลด้วย ยังคงมีชีวิตอยู่ในเวลานั้น. (1 โกรินโธ 15:3-8) ท่านหาเหตุผลต่อไปว่า “ถ้าเราประกาศว่าพระคริสต์ทรงถูกทำให้เป็นขึ้นมาจากความตายแล้ว ทำไมบางคนในพวกท่านจึงพูดว่าการเป็นขึ้นจากความตายไม่มี? ถ้าการเป็นขึ้นมาจากความตายไม่มี พระคริสต์ก็ไม่ทรงถูกทำให้เป็นขึ้นมา ถ้าพระคริสต์ไม่ทรงถูกทำให้เป็นขึ้นมา การประกาศของเรานั้นก็ไร้ประโยชน์ และความเชื่อ [ของเรา] ก็ไร้ประโยชน์ด้วย.”—1 โกรินโธ 15:12-14, ฉบับแปล 2002.
8 ใช่แล้ว คำสอนเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายเป็นคำสอนพื้นฐานที่สำคัญมากถึงขนาดที่ความเชื่อของคริสเตียนจะเปล่าประโยชน์หากการกลับเป็นขึ้นจากตายเชื่อถือไม่ได้เยเนซิศ 3:4; ยะเอศเคล 18:4) ด้วยเหตุนี้ เปาโลจึงจัดคำสอนเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายรวมอยู่ใน “หลักคำสอนพื้นฐาน” ของศาสนาคริสเตียน. ขอให้เราตั้งใจมุ่งมั่นที่จะ “รุดหน้าสู่ความอาวุโส.” เปาโลกระตุ้นเตือนว่า “และเราจะรุดหน้าสู่ความอาวุโส ถ้าพระเจ้าทรงอนุญาต.”—เฮ็บราย 6:1-3, ล.ม.
ว่าเป็นเรื่องจริง. อันที่จริง ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายนั้นทำให้ศาสนาคริสเตียนแท้ต่างจากศาสนาคริสเตียนเท็จ. (ความหวังเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย
9, 10. คำว่า “การกลับเป็นขึ้นจากตาย” ในคัมภีร์ไบเบิลมีความหมายเช่นไร?
9 เพื่อเสริมความเชื่อของเราในเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายให้มากยิ่งขึ้น ขอเรามาพิจารณาคำถามบางอย่างกัน เช่น การกลับเป็นขึ้นจากตายที่กล่าวถึงในคัมภีร์ไบเบิลหมายถึงอะไร? คำสอนเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายเน้นความรักของพระยะโฮวาอย่างไร? คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้จะทำให้เราเข้าใกล้พระเจ้ามากขึ้น และขณะเดียวกันจะช่วยเราในการสอนคนอื่น ๆ เกี่ยวกับความหวังนี้.—2 ติโมเธียว 2:2; ยาโกโบ 4:8.
10 “การกลับเป็นขึ้นจากตาย” เป็นคำแปลของคำภาษากรีกที่มีความหมายตามตัวอักษรว่า “ลุกขึ้นอีก.” คำดังกล่าวเกี่ยวข้องกับอะไร? ตามความหมายในคัมภีร์ไบเบิล ความหวังเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายคือความเชื่อมั่นว่าคนที่ตายไปแล้วจะกลับมามีชีวิตได้อีก. นอกจากนี้ คัมภีร์ไบเบิลยังบอกให้ทราบว่าคนเราจะกลับเป็นขึ้นจากตายในรูปของมนุษย์หรือกายวิญญาณก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเขามีความหวังจะอยู่บนแผ่นดินโลกหรือในสวรรค์. เรารู้สึกทึ่งจริง ๆ ในความรัก, พระปัญญา, และฤทธิ์อำนาจของพระยะโฮวาที่ทรงสำแดงผ่านทางความหวังอันน่าพิศวงเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายนี้.
11. ผู้รับใช้ที่ถูกเจิมของพระเจ้ามีความหวังเช่นไรในเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย?
11 การกลับเป็นขึ้นจากตายของพระเยซูและพี่น้องผู้ถูกเจิมของพระองค์ทำให้พวกเขามีสภาพเป็นกายวิญญาณที่เหมาะกับการรับใช้ในสวรรค์. (1 โกรินโธ 15:35-38, 42-53) พระเยซูกับเหล่าผู้ถูกเจิมจะร่วมปกครองเป็นกษัตริย์ในราชอาณาจักรมาซีฮาซึ่งจะเปลี่ยนสภาพแผ่นดินโลกเป็นอุทยาน. ภายใต้การดูแลของพระเยซูมหาปุโรหิต เหล่าผู้ถูกเจิมประกอบกันขึ้นเป็นคณะปุโรหิตหลวง. พวกเขาจะนำผลประโยชน์จากเครื่องบูชาไถ่ของพระคริสต์มาใช้กับมนุษยชาติในโลกใหม่ที่ชอบธรรม. (เฮ็บราย 7:25, 26; 9:24; 1 เปโตร 2:9; วิวรณ์ 22:1, 2) ในระหว่างนี้ ชนผู้ถูกเจิมที่ยังเหลืออยู่บนแผ่นดินโลกปรารถนาจะดำเนินชีวิตเป็นที่พอพระทัยพระเจ้าต่อ ๆ ไป. เมื่อพวกเขาตาย พวกเขาจะได้รับ “ผล” โดยการเป็นขึ้นจากตายสู่ชีวิตในสวรรค์ฐานะกายวิญญาณอมตะ. (2 โกรินโธ 5:1-3, 6-8, 10, ล.ม.; 1 โกรินโธ 15:51, 52; วิวรณ์ 14:13) เปาโลเขียนว่า “ถ้าเราร่วมสนิทกับพระองค์แล้วโดยได้ตายเหมือนอย่างพระองค์, เราคงจะร่วมสนิทกับพระองค์โดยได้เป็นขึ้นมาเหมือนอย่างพระองค์ได้ทรงเป็นขึ้นมาจากความตายนั้นด้วย.” (โรม 6:5) แต่จะว่าอย่างไรสำหรับผู้ที่จะเป็นขึ้นจากตายสู่ชีวิตบนแผ่นดินโลกอีกครั้งฐานะมนุษย์? ความหวังเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายจะทำให้พวกเขาเข้าใกล้พระเจ้ามากขึ้นได้อย่างไร? เราเรียนรู้เรื่องนี้ได้มากจากตัวอย่างของอับราฮาม.
การกลับเป็นขึ้นจากตายและการเป็นมิตรกับพระยะโฮวา
12, 13. อะไรเป็นพื้นฐานแน่นหนาที่ทำให้อับราฮามมีความเชื่อในเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย?
12 อับราฮาม ผู้ถูกเรียกว่า “มิตรของพระเจ้า” เป็นบุรุษที่มีความเชื่ออย่างโดดเด่น. (ยาโกโบ 2:23) เปาโลเอ่ยถึง ความเชื่อของอับราฮามสามครั้งในรายชื่อชายหญิงผู้ซื่อสัตย์ที่มีบันทึกไว้ในพระธรรมเฮ็บรายบท 11. (เฮ็บราย 11:8, 9, 17) ในครั้งที่สามนั้นเปาโลนำความสนใจไปที่ความเชื่อซึ่งอับราฮามแสดงออกในคราวที่ท่านเตรียมการอย่างเชื่อฟังเพื่อจะถวายยิศฮาคบุตรชายเป็นเครื่องบูชา. อับราฮามเชื่อมั่นในคำสัญญาเรื่องพงศ์พันธุ์ที่พระยะโฮวารับรองไว้ว่าจะผ่านทางยิศฮาค. แม้ยิศฮาคจะเสียชีวิตไปเป็นเครื่องบูชา แต่อับราฮามก็ “เชื่อว่าพระเจ้าทรงฤทธิ์อาจบันดาลให้ยิศฮาคนั้นเป็นขึ้นมาจากตายได้.”
13 ผลสุดท้าย เมื่อทรงเห็นว่าอับราฮามมีความเชื่อเข้มแข็ง พระยะโฮวาทรงจัดเตรียมสัตว์ตัวหนึ่งไว้สำหรับถวายเป็นเครื่องบูชาแทน. กระนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นกับยิศฮาคก็เปรียบเหมือนกับการกลับเป็นขึ้นจากตาย ดังที่เปาโลอธิบายไว้ว่า “ท่าน [อับราฮาม] ได้รับบุตรนั้นกลับคืนมาอีกประหนึ่งว่าบุตรนั้นเป็นขึ้นมาจากตาย.” (เฮ็บราย 11:19) นอกจากนี้ อับราฮามมีพื้นฐานแน่นหนาอยู่แล้วที่จะเชื่อเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย. ก็พระยะโฮวามิใช่หรือที่ได้ทำให้อับราฮามกับซาราห์ภรรยาของท่านซึ่งต่างก็ชรามากแล้วสามารถให้กำเนิดบุตรชายได้ คือยิศฮาค?—เยเนซิศ 18:10-14; 21:1-3; โรม 4:19-21.
14. (ก) ตามที่กล่าวในเฮ็บราย 11:9, 10 อับราฮามคอยท่าอะไร? (ข) เพื่ออับราฮามจะได้รับพระพรแห่งราชอาณาจักรในโลกใหม่ จะต้องเกิดอะไรขึ้นกับท่าน? (ค) เราจะได้รับพระพรแห่งราชอาณาจักรโดยวิธีใด?
14 เปาโลพรรณนาอับราฮามว่าเป็นคนต่างด้าวและผู้อาศัยในกระโจม ซึ่งคอยท่า “เมืองที่มีราก, ซึ่งพระเจ้าเป็นนายช่างและเป็นผู้ทรงสร้างขึ้น.” (เฮ็บราย 11:9, 10) นี่ไม่ใช่เมืองจริง ๆ อย่างกรุงเยรูซาเลม อันเป็นที่ตั้งพระวิหารของพระเจ้า. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เมืองนี้เป็นเมืองในความหมายเป็นนัย หมายถึงราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์ของพระเจ้าที่ประกอบด้วยพระคริสต์เยซูกับผู้ร่วมปกครอง 144,000 คน. มีการกล่าวถึงชน 144,000 คน ที่ได้รับสง่าราศีในสวรรค์ด้วยว่าเป็น “เมืองบริสุทธิ์,” “ยะรูซาเลมใหม่,” “เจ้าสาว” ของพระคริสต์. (วิวรณ์ 21:2) ในปี ส.ศ. 1914 พระยะโฮวาทรงตั้งพระเยซูขึ้นเป็นกษัตริย์มาซีฮาแห่งราชอาณาจักรฝ่ายสวรรค์ และให้พระองค์ครองราชย์ท่ามกลางเหล่าศัตรูของพระองค์. (บทเพลงสรรเสริญ 110:1, 2; วิวรณ์ 11:15) เพื่อที่อับราฮาม “มิตรของพระเจ้า” จะได้รับพระพรแห่งราชอาณาจักร ท่านต้องมีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง. เช่นเดียวกัน เพื่อเราจะได้รับพระพรแห่งราชอาณาจักร เราต้องมีชีวิตอยู่ในโลกใหม่ของพระเจ้า ไม่ว่าในฐานะชนฝูงใหญ่ที่รอดชีวิตผ่านอาร์มาเก็ดดอน หรือในฐานะผู้กลับเป็นขึ้นจากตาย. (วิวรณ์ 7:9, 14, ล.ม.) แต่อะไรคือพื้นฐานสำหรับความหวังเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย?
ความรักของพระเจ้า—พื้นฐานสำหรับความหวังเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย
15, 16. (ก) คำพยากรณ์แรกในคัมภีร์ไบเบิลวางพื้นฐานไว้สำหรับความหวังของเราเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายอย่างไร? (ข) ความเชื่อเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายนำเราเข้าใกล้พระยะโฮวามากขึ้นได้อย่างไร?
15 สัมพันธภาพใกล้ชิดกับพระบิดาฝ่ายสวรรค์องค์เปี่ยมด้วยความรัก, ความเชื่อที่แรงกล้าเหมือนอย่างอับราฮาม, และการเชื่อฟังพระบัญชาของพระเจ้า ทำให้เราได้รับการประกาศว่าชอบธรรมและพระยะโฮวาทรงถือว่าเราเป็นมิตรของพระองค์. สิ่งนี้เปิดทางไว้ให้เราได้รับประโยชน์จากการปกครองของราชอาณาจักร. ที่จริง คำพยากรณ์แรกสุดที่บันทึกไว้ในพระคำของพระเจ้าที่เยเนซิศ 3:15 วางพื้นฐานไว้สำหรับความหวังเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายและการมีมิตรภาพกับพระเจ้า. คำพยากรณ์นั้นบอกล่วงหน้าไม่เพียงแต่การบดขยี้หัวของซาตาน แต่มีการบอกในทางตรงข้ามด้วยว่า พงศ์พันธุ์ของผู้หญิงของพระเจ้าจะถูกทำให้ส้น เท้าฟกช้ำ. การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูบนหลักเป็นการทำให้ส้นเท้าของพระองค์ฟกช้ำในความหมายเป็นนัย. การที่พระองค์คืนพระชนม์ในวันที่สามเป็นการสมานแผลนั้น และปูทางไว้สำหรับการจัดการอย่างเด็ดขาดกับ “ผู้ที่มีวิธีทำให้เกิดความตาย คือพญามาร.”—เฮ็บราย 2:14, ล.ม.
16 เปาโลเตือนใจเราว่า “พระเจ้าได้ทรงสำแดงความรักของพระองค์แก่เราทั้งหลาย คือขณะเมื่อเราทั้งหลายยังเป็นคนบาป พระคริสต์ได้ทรงยอมตายแทนเรา.” (โรม 5:8) ความหยั่งรู้ค่าที่เรามีต่อพระกรุณาอันไม่พึงได้รับนี้นำเราเข้าใกล้พระเยซูและพระบิดาของเราผู้สถิตในสวรรค์องค์เปี่ยมด้วยความรักมากขึ้นอย่างแท้จริง.—2 โกรินโธ 5:14, 15.
17. (ก) โยบพรรณนาถึงความหวังเรื่องใด? (ข) โยบ 14:15 เปิดเผยอะไรเกี่ยวกับพระยะโฮวา และนั่นทำให้คุณรู้สึกเช่นไร?
17 โยบ บุรุษผู้ซื่อสัตย์ในยุคก่อนคริสเตียน ก็คอยท่าการกลับเป็นขึ้นจากตายเช่นกัน. โยบทุกข์ทรมานมากกับสิ่งที่ซาตานทำแก่ท่าน. ต่างจากบรรดาสหายจอมปลอมของท่านซึ่งไม่เคยกล่าวถึงการกลับเป็นขึ้นจากตาย โยบได้รับการชูใจจากความหวังดังกล่าวและถามขึ้นมาว่า “ถ้ามนุษย์ตายแล้ว เขาจะมีชีวิตอีกหรือ?” ในการตอบคำถามนี้ โยบได้ประกาศว่า “ข้าพระองค์จะคอยอยู่ตลอดวันประจำการของข้าพระองค์ จนกว่าการปลดปล่อยของข้าพระองค์จะมาถึง.” เมื่อพูดกับพระยะโฮวาพระเจ้าของท่าน โยบแสดงความเชื่อมั่นว่า “พระองค์จะทรงเรียก และข้าพระองค์จะทูลตอบพระองค์.” โยบกล่าวถึงความรู้สึกของพระผู้สร้างของเราผู้เปี่ยมด้วยความรักว่า “พระองค์จะทรงอาลัยอาวรณ์พระหัตถกิจของพระองค์.” (โยบ 14:14, 15, ฉบับแปลใหม่) ใช่แล้ว พระยะโฮวาทรงคอยท่าด้วยใจจดจ่อถึงวันนั้น เมื่อเหล่าผู้ซื่อสัตย์จะกลับมามีชีวิตอีกโดยการกลับเป็นขึ้นจากตาย. นี่ทำให้เราเข้าใกล้พระองค์มากขึ้นสักเพียงไร เมื่อใคร่ครวญถึงความรักและพระกรุณาอันไม่พึงได้รับที่ทรงสำแดงต่อเราทั้ง ๆ ที่เราไม่สมบูรณ์!—โรม 5:21; ยาโกโบ 4:8.
18, 19. (ก) ดานิเอลมีความหวังเช่นไรในการจะได้กลับมามีชีวิตอีก? (ข) เราจะพิจารณาเรื่องใดในบทความถัดไป?
18 ผู้พยากรณ์ดานิเอล ซึ่งทูตสวรรค์ของพระเจ้ากล่าวถึงท่านว่าเป็น “คนที่ทรงโปรดปรานยิ่งนัก” ได้รับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์เป็นเวลายาวนาน. (ดานิเอล 10:11, 19) ท่านรักษาความซื่อสัตย์มั่นคงต่อพระยะโฮวาตลอดตั้งแต่เป็นเชลยในปี 617 ก่อนสากลศักราช จวบจนกระทั่งสิ้นชีวิต ไม่นานหลังจากได้รับนิมิตในปีที่สามแห่งรัชกาลไซรัสกษัตริย์เปอร์เซียในปี 536 ก่อน ส.ศ. (ดานิเอล 1:1; 10:1) ในปีที่สามแห่งรัชกาลไซรัส ดานิเอลได้รับนิมิตเกี่ยวกับลำดับสืบต่อกันของมหาอำนาจโลกที่จะจบสิ้นลงในความทุกข์ลำบากครั้งใหญ่ที่จะมีมา. (ดานิเอล 11:1–12:13) เนื่องจากไม่เข้าใจนิมิตนั้นเต็มที่ ดานิเอลจึงถามทูตสวรรค์ ที่มาส่งข่าวสารนั้นว่า “นายเจ้าข้า ปั้นปลายของสิ่งเหล่านี้จะเป็นเช่นไร?” ทูตสวรรค์ตอบโดยนำความสนใจของท่านไปสู่ “เวลาอวสาน” ซึ่งในสมัยนั้น “คนที่มีความหยั่งเห็นเข้าใจจะเข้าใจ.” ส่วนดานิเอลเอง ท่านมีความหวังเช่นไร? ทูตสวรรค์แจ้งว่า “ท่านจะพักผ่อน แต่ท่านจะลุกขึ้นเพื่อจะได้ส่วนของท่านเมื่อสิ้นสุดวันเหล่านั้น.” (ดานิเอล 12:8-10, 13, ล.ม.) ดานิเอลจะกลับมามีชีวิตอีก “เมื่อคนชอบธรรมเป็นขึ้นมาจากตาย” ระหว่างรัชสมัยพันปีของพระคริสต์.—ลูกา 14:14.
19 เราอยู่ในช่วงปลายของเวลาอวสาน และอยู่ใกล้จุดเริ่มต้นแห่งรัชสมัยพันปีของพระคริสต์ยิ่งกว่าตอนแรกที่เราเข้ามาเป็นผู้เชื่อถือ. ฉะนั้น เราต้องถามตัวเองว่า ‘ฉันจะได้อยู่ในโลกใหม่กับอับราฮาม, โยบ, ดานิเอล, และชายหญิงผู้ซื่อสัตย์คนอื่น ๆ ไหม?’ เราจะได้อยู่ที่นั่นแน่นอน หากเราติดสนิทกับพระยะโฮวาและเชื่อฟังพระบัญชาของพระองค์. ในบทความถัดไป เราจะพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหวังเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายเพื่อจะระบุได้ว่าใครจะถูกปลุกให้เป็นขึ้นจากตาย.
คุณจำได้ไหม?
• เปาโลได้รับการตอบรับเช่นไรเมื่อท่านประกาศความหวังของท่านเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย?
• ทำไมความหวังเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายทำให้ศาสนาคริสเตียนแท้ต่างจากศาสนาคริสเตียนเท็จ?
• เรารู้ได้อย่างไรว่าอับราฮาม, โยบ, และดานิเอล มีความเชื่อในเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 8]
เปาโลประกาศความหวังเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตายด้วยความเชื่อมั่นต่อหน้าเฟลิกซ์ผู้สำเร็จราชการ
[ภาพหน้า 10]
เพราะเหตุใดอับราฮามจึงมีความเชื่อในเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย?
[ภาพหน้า 12]
โยบได้รับการชูใจจากความหวังเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย
[ภาพหน้า 12]
ดานิเอลจะกลับมามีชีวิตอีกในคราวที่คนชอบธรรมกลับเป็นขึ้นจากตาย