ได้รับการสอนให้รู้แนวทางของพระยะโฮวา
ได้รับการสอนให้รู้แนวทางของพระยะโฮวา
“ขอทรงโปรดให้ข้าพเจ้ารู้แนวทางของพระองค์ ข้าพเจ้าจะได้รู้จักพระองค์.”—เอ็กโซโด 33:13, ล.ม.
1, 2. (ก) เหตุใดโมเซจึงลงมือจัดการดังที่ท่านทำเมื่อเห็นชาวอียิปต์คนหนึ่งทำร้ายชาวฮีบรู? (ข) เพื่อจะมีคุณสมบัติเหมาะสมที่พระยะโฮวาจะใช้ท่าน โมเซจำเป็นต้องเรียนรู้อะไร?
โมเซเจริญวัยในราชสำนักของฟาโรห์และได้รับการสอนความรู้อันเป็นที่ยกย่องของชนชั้นปกครองชาวอียิปต์. กระนั้น โมเซตระหนักว่าตนไม่ใช่ชาวอียิปต์. บิดามารดาของท่านเป็นชาวฮีบรู. เมื่ออายุได้ 40 ปี ท่านไปหาพี่น้องชาวอิสราเอลของตนเพื่อดูความเป็นไปของพวกเขา. เมื่อเห็นชาวอียิปต์ทำร้ายชาวฮีบรูคนหนึ่ง โมเซไม่นิ่งดูดาย. ท่านฆ่าชาวอียิปต์คนนั้นเสีย. โมเซเลือกอยู่ฝ่ายประชาชนของพระยะโฮวาและคิดว่าพระองค์กำลังใช้ท่านปลดปล่อยพี่น้องของตน. (กิจการ 7:21-25; เฮ็บราย 11:24, 25) เมื่อเหตุการณ์นั้นเป็นที่รู้ไปทั่ว ราชสำนักของอียิปต์ถือว่าโมเซกบฏ ท่านจึงต้องหนีเอาตัวรอด. (เอ็กโซโด 2:11-15) หากโมเซอยากให้พระยะโฮวาใช้ท่าน ท่านจำเป็นต้องรู้ถึงแนวทางต่าง ๆ ของพระองค์ดีขึ้น. โมเซพร้อมจะรับการสอนไหม?—บทเพลงสรรเสริญ 25:9.
2 โมเซใช้ชีวิตฐานะผู้ลี้ภัยในต่างแดนและเป็นคนเลี้ยงแกะตลอด 40 ปีต่อมา. แทนที่จะปล่อยให้ความขมขื่นเข้าครอบงำเพราะพี่น้องชาวฮีบรูดูเหมือนไม่ชื่นชอบท่าน โมเซยอมให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นกับท่านตามแต่ที่พระเจ้าจะทรงยอมให้เกิดขึ้น. แม้หลายปีผ่านไปโดยที่ดูเหมือนไม่มีอะไรแสดงให้เห็นว่าท่านได้รับการยอมรับ โมเซยอมให้พระองค์นวดปั้น. ท่านไม่ได้กล่าวจากความเห็นของตัวเองเลย เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าดลใจให้ท่านเขียนในเวลาต่อมาว่า “โมเซนั้นเป็นคนถ่อมจิตใจอ่อนยิ่งมากกว่าคนทั้งปวงที่อยู่บนแผ่นดิน.” (อาฤธโม 12:3) พระยะโฮวาทรงใช้ท่านในหลายทางที่โดดเด่น. ถ้าเราพยายามถ่อมตนเช่นเดียวกัน พระยะโฮวาก็จะอวยพรเรา.—ซะฟันยา 2:3.
ได้รับงานมอบหมาย
3, 4. (ก) พระยะโฮวามอบหมายงานอะไรแก่โมเซ? (ข) มีการจัดความช่วยเหลืออะไรให้แก่โมเซ?
3 วันหนึ่ง ทูตสวรรค์องค์หนึ่งซึ่งเป็นตัวแทนของพระยะโฮวาได้กล่าวต่อโมเซใกล้ภูเขาโฮเรบบนคาบสมุทรไซนาย. โมเซได้รับแจ้งว่า “แท้จริงเราได้เห็นความทุกข์ของพวกพลไพร่ของเราที่อยู่ประเทศอายฆุบโต; เราได้ยินเสียงร้องของเขาเพราะการกระทำของนายงานนั้น; เรารู้ถึงความทุกข์โศกของเขา. เราลงมาเพื่อจะได้ช่วยให้เขารอดจากชาติอายฆุบโต, และนำเขาออกจากประเทศนั้นไปยังแผ่นดินที่ดี, กว้างขวาง, บริบูรณ์ด้วยน้ำนมและน้ำผึ้ง.” (เอ็กโซโด 3:2, 7, 8) พระเจ้ามีงานให้โมเซทำในเรื่องนี้ แต่ท่านต้องทำตามแนวทางที่พระยะโฮวาทรงกำหนด.
4 ทูตสวรรค์ของพระยะโฮวาบอกต่อไปว่า “จงมาเถิด, เราจะใช้เจ้าไปเฝ้ากษัตริย์ฟาโร, เพื่อเจ้าจะได้พาชาติยิศราเอลพลไพร่ของเราออกจากประเทศอายฆุบโต.” โมเซรู้สึกลังเล. ท่านรู้สึกว่างานนี้เกินกำลังความสามารถของท่าน และท่านไม่สามารถทำงานนี้ได้โดยลำพังตัวท่านเอง. กระนั้น พระยะโฮวาให้ความมั่นใจโมเซว่า “เราจะอยู่กับเจ้า.” (เอ็กโซโด 3:10-12) พระยะโฮวาประทานฤทธิ์อำนาจแก่โมเซเพื่อกระทำหมายสำคัญเหนือธรรมชาติซึ่งจะใช้เป็นหลักฐานพิสูจน์ว่าพระเจ้าใช้ท่านมาจริง ๆ. อาโรนพี่ชายของโมเซจะไปกับท่านด้วยเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พูดแทน. พระยะโฮวาจะสอนทั้งสองถึงสิ่งที่จะพูดหรือทำ. (เอ็กโซโด 4:1-17) โมเซจะทำงานมอบหมายดังกล่าวอย่างซื่อสัตย์จนสำเร็จผลไหม?
5. เพราะเหตุใดเจตคติของชาวอิสราเอลจึงก่อให้เกิดข้อท้าทายแก่โมเซ?
5 ในตอนแรก เหล่าผู้เฒ่าผู้แก่ของอิสราเอลเชื่อโมเซเอ็กโซโด 4:29-31) อย่างไรก็ตาม ไม่นานจากนั้น “นายกองชาติยิศราเอล” ก็ติเตียนโมเซกับพี่ชายที่ได้ทำให้พวกเขา “เป็นที่เกลียดชัง” ของฟาโรห์และเหล่าข้าราชการของพระองค์. (เอ็กโซโด 5:19-21; 6:9) ตอนที่ชาวอิสราเอลออกจากอียิปต์ พวกเขาตื่นกลัวเมื่อเห็นรถม้าของอียิปต์ไล่ตามมา. เมื่อเห็นทะเลแดงขวางหน้าและมีรถรบตามมาข้างหลัง ชาวอิสราเอลรู้สึกว่าจนมุมและเริ่มโทษโมเซ. ถ้าเป็นคุณ คุณจะมีปฏิกิริยาอย่างไร? ตามการชี้นำของพระยะโฮวา โมเซเร่งเร้าประชาชนให้รื้อค่ายและเตรียมพร้อมออกเดินทาง ทั้ง ๆ ที่ชาวอิสราเอลไม่มีเรือ. แล้วพระเจ้าก็ทรงแยกน้ำในทะเลแดงออก และพื้นทะเลกลายเป็นผืนดินแห้งให้ชาวอิสราเอลข้ามผ่านไปได้.—เอ็กโซโด 14:1-22.
และอาโรน. (ประเด็นที่สำคัญยิ่งกว่าการช่วยให้รอด
6. พระยะโฮวาเน้นอะไรเมื่อมอบหมายงานแก่โมเซ?
6 คราวที่พระยะโฮวามอบหมายงานแก่โมเซ พระองค์ทรงเน้นความสำคัญของพระนามของพระองค์. การนับถือพระนามดังกล่าวและบุคคลที่พระนามนั้นหมายถึงเป็นเรื่องสำคัญ. เมื่อโมเซทูลถามถึงพระนามของพระองค์ พระยะโฮวาบอกท่านว่า “เราจะเป็นอย่างที่เราประสงค์จะเป็น.” นอกจากนี้ โมเซต้องบอกแก่ชาวอิสราเอลด้วยว่า “พระยะโฮวาพระเจ้าของบรรพบุรุษของพวกท่าน คือพระเจ้าของอับราฮาม พระเจ้าของยิศฮาค และพระเจ้าของยาโคบ ทรงใช้ข้าพเจ้ามาหาพวกท่าน.” พระยะโฮวาตรัสต่อว่า “นามนี้เป็นนามของเราตลอดไป และนามนี้จะเตือนใจผู้คนทุกยุคทุกสมัยให้ระลึกถึงเรา.” (เอ็กโซโด 3:13-15, ล.ม.) ยะโฮวายังคงเป็นพระนามของพระเจ้าที่ผู้รับใช้ของพระองค์ทั่วโลกรู้จัก.—ยะซายา 12:4, 5; 43:10-12.
7. พระเจ้ากระตุ้นโมเซให้ทำสิ่งใดทั้ง ๆ ที่ฟาโรห์แสดงตัวหยิ่งทะนง?
7 เมื่ออยู่ต่อหน้าฟาโรห์ โมเซกับอาโรนแจ้งข่าวสารในนามของพระยะโฮวา. แต่ฟาโรห์กล่าวอย่างยโสว่า “พระยะโฮวานั้นเป็นผู้ใดเล่า ที่เราจะต้องฟังคำของท่าน และปล่อยชนชาติยิศราเอลไป. เราไม่รู้จักพระยะโฮวา และยิ่งกว่านั้น เราจะไม่ปล่อยชนชาติยิศราเอลให้ไปเลย.” (เอ็กโซโด 5:1, 2) ฟาโรห์แสดงให้เห็นว่ามีใจแข็งกระด้างและกลิ้งกลอก ถึงกระนั้น พระยะโฮวาก็กระตุ้นโมเซไปแจ้งข่าวสารแก่ฟาโรห์ครั้งแล้วครั้งเล่า. (เอ็กโซโด 7:14-16, 20-23; 8:1, 2, 20) โมเซสังเกตเห็นได้ว่าฟาโรห์หงุดหงิดรำคาญ. จะมีประโยชน์อะไรไหมที่จะไปเผชิญหน้าฟาโรห์อีก? ชาวอิสราเอลปรารถนาอย่างยิ่งที่จะได้รับการปลดปล่อย. แต่ฟาโรห์บอกปัดคำขออย่างดื้อดึง. คุณจะทำอย่างไรถ้าคุณเป็นโมเซ?
8. วิธีที่พระยะโฮวาจัดการกับฟาโรห์นั้นส่งผลดีอะไรบ้าง และเรื่องนี้น่าจะมีผลกระทบเช่นไรต่อเรา?
8 โมเซแจ้งข่าวสารอีกอย่างหนึ่งโดยกล่าวว่า “ยะโฮวา พระเจ้าของชาติเฮ็บรายตรัสดังนี้ว่า, ‘จงปล่อยพลไพร่ของเราไปเพื่อให้ปรนนิบัติเรา.’ ” พระเจ้าตรัสด้วยว่า “น่าที่เราจะได้ยกหัตถ์ขึ้นประหารฟาโรและพลไพร่ด้วยโรคภัยให้ตายไปจากโลกเสียนานแล้ว; แต่เหตุที่เรายังให้ฟาโรดำรงชีวิตอยู่ก็เพื่อจะให้ฟาโรเห็นฤทธานุภาพของเรา, และเพื่อนามของเราจะได้ลือกระฉ่อน [“เลื่องลือ,” ล.ม.] ไปทั่วโลก.” (เอ็กโซโด 9:13-16) พระยะโฮวาประสงค์จะสำแดงฤทธานุภาพของพระองค์ให้ปรากฏโดยการสำเร็จโทษฟาโรห์ผู้มีใจแข็งกระด้าง เพื่อเป็นคำเตือนแก่บรรดาผู้ที่ขัดขืนพระองค์. นี่รวมถึงซาตานพญามาร ผู้ซึ่งต่อมาพระเยซูคริสต์เรียกว่า “ผู้ครองโลก.” (โยฮัน 14:30; โรม 9:17-24) เป็นดังที่บอกไว้ล่วงหน้า พระนามของพระยะโฮวาเลื่องลือไปทั่วโลก. ความอดกลั้นพระทัยของพระองค์ส่งผลเป็นการรักษาชีวิตชาวอิสราเอลและฝูงชนชาติอื่น ๆ อีกจำนวนมากที่ร่วม สมทบกับพวกเขาในการนมัสการพระองค์. (เอ็กโซโด 9:20, 21; 12:37, 38) ตั้งแต่นั้นมา การประกาศพระนามของพระยะโฮวาส่งผลดีต่อชีวิตของอีกหลายล้านคนที่รับเอาการนมัสการแท้.
รับมือกับประชาชนที่หัวดื้อ
9. ประชาชนที่อยู่ภายใต้การดูแลของโมเซแสดงความไม่นับถือพระยะโฮวาอย่างไร?
9 ชาวฮีบรูรู้จักพระนามของพระเจ้า. โมเซใช้พระนามดังกล่าวเมื่อพูดกับชาวฮีบรู แต่พวกเขาไม่ได้แสดงความนับถืออย่างเหมาะสมเสมอไปต่อเจ้าของพระนามนั้น. ไม่นานหลังจากพระยะโฮวาปลดปล่อยชาวอิสราเอลออกจากอียิปต์อย่างอัศจรรย์ เกิดอะไรขึ้นเมื่อพวกเขาหาแหล่งน้ำดื่มยังไม่พบ? พวกเขาบ่นต่อว่าโมเซ. ต่อมาก็บ่นในเรื่องอาหาร. โมเซเตือนว่าการบ่นของพวกเขาไม่ใช่เป็นการบ่นต่อว่าท่านกับอาโรนเท่านั้น แต่เป็นการบ่นต่อว่าพระยะโฮวา. (เอ็กโซโด 15:22-24; 16:2-12) ที่ภูเขาไซนาย พระยะโฮวาประทานพระบัญญัติแก่ชาติอิสราเอลพร้อมกับปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ. ถึงอย่างนั้น ประชาชนก็ไม่เชื่อฟังพระองค์ สร้างรูปลูกวัวทองคำขึ้นเพื่อนมัสการและอ้างว่าเป็นการจัด “เทศกาลเลี้ยงถวายพระยะโฮวา.”—เอ็กโซโด 32:1-9.
10. เหตุใดคริสเตียนผู้ดูแลในปัจจุบันจึงสนใจเป็นพิเศษต่อคำทูลขอของโมเซตามที่บันทึกในเอ็กโซโด 33:13?
10 โมเซจะรับมืออย่างไรดีกับประชาชนที่พระยะโฮวาเองพรรณนาว่าเป็นชนชาติหัวแข็งนั้น? โมเซทูลวิงวอนพระยะโฮวาดังนี้: “ขอทรงกรุณา ถ้าข้าพเจ้าเป็นที่โปรดปรานในสายพระเนตรของพระองค์ ขอทรงโปรดให้ข้าพเจ้ารู้แนวทางของพระองค์ ข้าพเจ้าจะได้รู้จักพระองค์ เพื่อข้าพเจ้าจะเป็นที่โปรดปรานในสายพระเนตรของพระองค์.” (เอ็กโซโด 33:13, ล.ม.) ในการดูแลพยานของพระยะโฮวาในปัจจุบัน คริสเตียนผู้ปกครองให้การเอาใจใส่ผู้ที่อยู่ภายใต้การดูแลซึ่งมีใจถ่อมกว่านั้นมากนัก. ถึงกระนั้น พวกเขาก็ทูลอธิษฐานคล้าย ๆ กันว่า “ข้าแต่พระยะโฮวา, ขอทรงโปรดให้ข้าพเจ้ารู้ทางของพระองค์, ขอทรงฝึกสอนข้าพเจ้าให้ดำเนินในพระมรคาของพระองค์.” (บทเพลงสรรเสริญ 25:4) ความรู้เกี่ยวกับแนวทางของพระยะโฮวาจะช่วยให้เหล่าผู้ดูแลสามารถจัดการกับเรื่องราวต่าง ๆ อย่างที่สอดคล้องกับพระคำของพระเจ้าและบุคลิกลักษณะของพระองค์.
สิ่งที่พระยะโฮวาคาดหมายจากประชาชนของพระองค์
11. พระยะโฮวาจัดเตรียมการชี้นำอะไรแก่โมเซ และทำไมเราจึงสนใจการจัดเตรียมการชี้นำเหล่านั้น?
11 พระยะโฮวาเปิดเผยสิ่งที่พระองค์คาดหมายจากประชาชนของพระองค์โดยทางวาจาที่ภูเขาไซนาย. หลังจากนั้นโมเซได้รับแผ่นศิลาสองแผ่นที่จารึกบัญญัติสิบประการเป็นลายลักษณ์อักษร. เมื่อโมเซลงมาจากภูเขาและเห็นชาวอิสราเอลกำลังนมัสการรูปลูกวัวทองคำ ท่านก็โกรธและโยนแผ่นศิลานั้นลงบนพื้นจนแตกเป็นชิ้น ๆ. พระยะโฮวาทรงจารึกบัญญัติสิบประการให้ใหม่บนแผ่นศิลาที่โมเซสกัดขึ้น. (เอ็กโซโด 32:19; 34:1) บัญญัติที่ให้ใหม่นี้ไม่ต่างจากที่ให้ครั้งแรก. โมเซต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติเหล่านี้. นอกจากนี้ พระยะโฮวายังช่วยให้โมเซเข้าใจยิ่งขึ้นว่าพระองค์เป็นบุคคลชนิดใด ซึ่งโดยวิธีนี้เป็นการแสดงให้โมเซเห็นว่าควรจะปฏิบัติเช่นไรฐานะตัวแทนของพระองค์. คริสเตียนไม่ได้อยู่ภายใต้พระบัญญัติของโมเซ แต่สิ่งที่พระยะโฮวาตรัสกับโมเซรวมเอาหลักการพื้นฐานหลายอย่างไว้ด้วยซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงและยังคงนำมาใช้ได้กับทุกคนที่นมัสการพระองค์. (โรม 6:14; 13:8-10) ขอให้เราพิจารณาหลักการเหล่านี้บางประการ.
12. การที่พระยะโฮวาเรียกร้องความเลื่อมใสโดยเฉพาะควรจะมีผลกระทบอย่างไรต่อชาวอิสราเอล?
12 ถวายความเลื่อมใสโดยเฉพาะแด่พระยะโฮวา. ชนชาติอิสราเอลอยู่ด้วยเมื่อพระยะโฮวาแถลงว่าพระองค์เรียกร้องความเลื่อมใสโดยเฉพาะ. (เอ็กโซโด 20:2-5) ชาวอิสราเอลได้เห็นหลักฐานท่วมท้นว่าพระยะโฮวาเป็นพระเจ้าเที่ยงแท้. (พระบัญญัติ 4:33-35) พระยะโฮวาทรงแถลงอย่างชัดเจนว่า ไม่ว่าชาติอื่น ๆ จะทำอย่างไร พระองค์จะไม่ยอมให้มีการบูชารูปเคารพหรือลัทธิผีปิศาจรูปแบบใด ๆ ในหมู่ประชาชนของพระองค์. ความเลื่อมใสต่อพระองค์ไม่ควรเป็นเพียงพิธีกรรมที่ไร้ความหมาย. พวกเขาต้องรักพระยะโฮวาอย่างสุดหัวใจ, สุดชีวิต, และสุดกำลังของตน. (พระบัญญัติ 6:5, 6) นี่จะเกี่ยวข้องกับคำพูด การกระทำ—ที่จริง ทุกแง่มุมในชีวิตของพวกเขา. (เลวีติโก 20:27; 24:15, 16; 26:1) พระเยซูทรงแสดงให้เห็นชัดเจนเช่นเดียวกันว่าพระยะโฮวาทรงเรียกร้องความเลื่อมใสโดยเฉพาะ.—มาระโก 12:28-30; ลูกา 4:8.
13. เหตุใดชนชาติอิสราเอลมีพันธะที่จะต้องเชื่อฟังพระเจ้าอย่างเคร่งครัด และอะไรควรกระตุ้นเราให้เชื่อฟังพระองค์? (ท่านผู้ประกาศ 12:13)
เอ็กโซโด 19:5-8, ล.ม.; พระบัญญัติ 5:27-33; 11:22, 23, ล.ม.
13 เชื่อฟังข้อบัญญัติของพระยะโฮวาอย่างเคร่งครัด. ชนชาติอิสราเอลจำเป็นต้องได้รับการเตือนใจว่าเมื่อพวกเขาเข้ามามีสัมพันธภาพกับพระยะโฮวาโดยทางสัญญาไมตรี พวกเขาได้สัญญาว่าจะเชื่อฟังพระองค์อย่างเคร่งครัด. พวกเขามีเสรีภาพไม่น้อยในเรื่องส่วนตัว แต่ในเรื่องข้อบัญญัติที่พระเจ้าประทานให้นี้ พวกเขาต้องเชื่อฟังอย่างเคร่งครัด. การทำอย่างนั้นจะเป็นการให้หลักฐานว่าพวกเขารักพระเจ้า และจะอำนวยประโยชน์ต่อพวกเขาไปจนถึงลูกหลาน เนื่องจากว่าข้อเรียกร้องของพระยะโฮวาเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาทั้งสิ้น.—14. พระเจ้าทรงเน้นโดยวิธีใดให้ชาวอิสราเอลเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะให้กิจกรรมฝ่ายวิญญาณมาเป็นอันดับแรก?
14 ให้สิ่งฝ่ายวิญญาณอยู่ในอันดับแรก. ชนชาติอิสราเอลต้องไม่เอาใจใส่ความจำเป็นด้านร่างกายจนไม่มีเวลาให้กับการเอาใจใส่กิจกรรมฝ่ายวิญญาณ. ชีวิตของชาวอิสราเอลต้องไม่เอาแต่ทุ่มเทกับการติดตามสิ่งต่าง ๆ ฝ่ายโลก. พระยะโฮวาทรงจัดวันหนึ่งในสัปดาห์ไว้ ตั้งเป็นวันบริสุทธิ์ซึ่งใช้สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้โดยเฉพาะ. (เอ็กโซโด 35:1-3; อาฤธโม 15:32-36) และแต่ละปี พวกเขาต้องจัดเวลาไว้ต่างหากอีกสำหรับการชุมนุมบริสุทธิ์ตามกำหนด. (เลวีติโก 23:4-44) การจัดเตรียมเหล่านั้นจะทำให้พวกเขามีโอกาสได้บอกเล่าถึงราชกิจอันทรงฤทธิ์ของพระยะโฮวา, ได้รับการเตือนใจถึงแนวทางของพระองค์, และได้แสดงความขอบพระคุณสำหรับคุณความดีทั้งสิ้นของพระองค์. เมื่อประชาชนเหล่านั้นแสดงความเลื่อมใสต่อพระยะโฮวา พวกเขาจะมีความยำเกรงและความรักต่อพระองค์มากยิ่งขึ้น และได้รับการช่วยเหลือให้ดำเนินในแนวทางของพระองค์. (พระบัญญัติ 10:12, 13) ในพระบัญชาเหล่านั้นมีหลักการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับใช้พระยะโฮวาสมัยปัจจุบัน.—เฮ็บราย 10:24, 25.
การเข้าใจคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระยะโฮวา
15. (ก) เพราะเหตุใดการเข้าใจคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระยะโฮวาจึงเป็นประโยชน์ต่อโมเซ? (ข) คำถามอะไรบ้างที่อาจช่วยเราใคร่ครวญคุณลักษณะแต่ละอย่างของพระยะโฮวา?
15 การเข้าใจคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระยะโฮวาจะช่วยโมเซในการปฏิบัติต่อประชาชนด้วย. เอ็กโซโด 34:5-7 กล่าวว่าพระเจ้าทรงเสด็จผ่านหน้าโมเซไป แล้วประกาศว่า “พระยะโฮวา ๆ พระเจ้าผู้ทรงเมตตากรุณา, ผู้ทรงอดพระทัยได้นาน [“ทรงพระพิโรธช้า,” ล.ม.], และบริบูรณ์ด้วยความดีและความจริง; ผู้ทรงเมตตาต่อมนุษย์ถึงหลายพันชั่วอายุคน, ผู้ทรงโปรดยกความชั่วการล่วงละเมิดและบาปของเขา; แต่ไม่ทรงเมตตาผู้เจตนาประพฤติชั่ว [“ไม่ทรงละเว้นการลงโทษเป็นอันขาด,” ล.ม.] และให้สืบเนื่องโทษจากบิดาถึงลูกหลานจนถึงสามสี่ชั่วอายุคน.” ขอใช้เวลาใคร่ครวญถ้อยคำเหล่านี้. ถามตัวเองว่า ‘คุณลักษณะแต่ละอย่างมีความหมายอย่างไร? พระยะโฮวาทรงแสดงคุณลักษณะแต่ละอย่างนั้นอย่างไร? คริสเตียนผู้ดูแลจะแสดงคุณลักษณะนี้ได้อย่างไร? คุณลักษณะนี้ควรจะส่งผลกระทบต่อการกระทำของเราแต่ละคนในทางใด?’ ให้เรามาพิจารณาเพียงบางตัวอย่าง.
16. เราจะเพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับความเมตตาของพระเจ้าได้โดยวิธีใด และทำไมการทำเช่นนั้นจึงสำคัญ?
* คุณจะเห็นว่า นอกจากยอมลดหย่อนผ่อนโทษในบางครั้งแล้ว ความเมตตาของพระยะโฮวายังรวมไปถึงความสงสารอันอ่อนละมุนอีกด้วย. ความเมตตากระตุ้นพระองค์ให้ลงมือปฏิบัติเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนของพระองค์. หลักฐานที่พิสูจน์ในเรื่องนี้คือพระเจ้าจัดเตรียมสิ่งจำเป็นทั้งทางด้านร่างกายและฝ่ายวิญญาณให้แก่ชาวอิสราเอลระหว่างที่พวกเขาเดินทางสู่แผ่นดินตามคำสัญญา. (พระบัญญัติ 1:30-33; 8:4) พระยะโฮวาทรงให้อภัยด้วยพระทัยเมตตาเมื่อพวกเขากระทำผิด. พระองค์แสดงความเมตตาต่อประชาชนของพระองค์ในสมัยโบราณ. ยิ่งกว่านั้นสักเท่าใดที่ผู้รับใช้ของพระองค์ในสมัยปัจจุบันจึงควรจะแสดงความเมตตาต่อกันและกัน!—มัดธาย 9:13; 18:21-35.
16 พระยะโฮวาเป็น “พระเจ้าผู้ทรงเมตตากรุณา.” ถ้าคุณมีหนังสืออ้างอิง การหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) ให้ลองอ่านดูคำอธิบายที่อยู่ภายใต้หัวข้อ “ความเมตตา.” หรืออาจค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยใช้ดัชนีสรรพหนังสือของว็อชเทาเวอร์ (ภาษาอังกฤษ) หรือห้องสมุดว็อชเทาเวอร์ (ภาษาอังกฤษ) ในแผ่นซีดี.17. ความเข้าใจเกี่ยวกับความกรุณาของพระยะโฮวาจะช่วยส่งเสริมการนมัสการแท้ได้อย่างไร?
17 ความเมตตาของพระยะโฮวาคู่กับความกรุณา. หากคุณมีพจนานุกรม ขอเปิดดูคำ “กรุณา” ว่าหมายถึงอะไร. แล้วเทียบความหมายนั้นกับข้อความในข้อคัมภีร์ต่าง ๆ ที่กล่าวว่าพระยะโฮวาทรงเป็นผู้ที่กรุณา. คัมภีร์ไบเบิลแสดงให้เห็นว่าการสำแดงความกรุณาของพระยะโฮวาเกี่ยวข้องกับการคำนึงถึงด้วยความรักต่อผู้ด้อยโอกาสท่ามกลางประชาชนของพระองค์. (เอ็กโซโด 22:26, 27) ในประเทศใดก็ตาม คนต่างด้าวรวมทั้งคนอื่น ๆ อาจอยู่ในสภาพอับจน. เมื่อทรงสอนประชาชนของพระองค์ไม่ให้เลือกหน้าลำเอียงและให้แสดงความกรุณาต่อคนเช่นนั้น พระยะโฮวาทรงเตือนใจให้ระลึกว่าพวกเขาก็เคยเป็นคนต่างด้าวในอียิปต์มาก่อน. (พระบัญญัติ 24:17-22) สำหรับพวกเราที่เป็นประชาชนของพระเจ้าในปัจจุบันล่ะ? การแสดงความกรุณาจะช่วยผูกพันเราไว้เป็นหนึ่งเดียวและดึงดูดคนอื่น ๆ เข้ามาสู่การนมัสการพระยะโฮวา.—กิจการ 10:34, 35; วิวรณ์ 7:9, 10.
18. เราเรียนรู้อะไรจากสิ่งที่พระยะโฮวาสอนชาวอิสราเอลให้หลีกเลี่ยงแนวทางความประพฤติของชนชาติอื่น ๆ?
18 อย่างไรก็ตาม ความเห็นอกเห็นใจคนต่างชาติไม่ควรเข้ามาแทนที่ความรักที่ชาวอิสราเอลมีต่อพระยะโฮวาและมาตรฐานศีลธรรมของพระองค์. ด้วยเหตุนี้ ชาวอิสราเอลจึงได้รับการสอนไม่ให้รับเอาแนวทางความประพฤติของชนชาติต่าง ๆ ที่อยู่ล้อมรอบ ไม่ให้รับเอากิจปฏิบัติทางศาสนาและรูปแบบชีวิตที่ผิดศีลธรรมของพวกเขา. (เอ็กโซโด 34:11-16; พระบัญญัติ 7:1-4) หลักการเดียวกันนี้ใช้ได้กับพวกเราในปัจจุบันด้วย. เราต้องเป็นคนบริสุทธิ์ เช่นเดียวกับพระยะโฮวาพระเจ้าของเราเป็นผู้บริสุทธิ์.—1 เปโตร 1:15, 16.
19. การเข้าใจทัศนะของพระยะโฮวาต่อการทำผิดจะช่วยป้องกันประชาชนของพระองค์ได้อย่างไร?
19 เพื่อให้โมเซเข้าใจแนวทางของพระองค์ พระยะโฮวาจึงแถลงอย่างชัดเจนว่า แม้พระองค์ไม่เห็นชอบกับการทำบาป แต่ก็ทรงพิโรธช้า. พระยะโฮวาให้ประชาชนของพระองค์มีเวลาพอจะเรียนรู้ข้อเรียกร้องต่าง ๆ ของพระองค์และปฏิบัติตาม. เมื่อมีการกลับใจ พระยะโฮวาทรงให้อภัย แต่ก็ไม่ละเว้นการลงโทษที่ควรได้รับเมื่อมีการทำผิดร้ายแรง. พระองค์ทรงเตือนโมเซว่าการกระทำของชาวอิสราเอล ไม่ว่าดีหรือไม่ดี จะส่งผลกระทบไปถึงลูกหลานของพวกเขา. การเข้าใจและหยั่งรู้ค่าแนวทางของพระยะโฮวาจะช่วยป้องกันประชาชนของพระเจ้าไม่ให้ตำหนิพระองค์สำหรับปัญหาที่พวกเขาเองได้ก่อขึ้น หรือป้องกันไม่ให้พวกเขาลงความเห็นว่าพระองค์ทรงเฉื่อยช้าในการจัดการ.
20. อะไรจะช่วยเราให้ปฏิบัติอย่างเหมาะสมต่อเพื่อนร่วมความเชื่อและผู้ที่เราพบในงานประกาศ? (บทเพลงสรรเสริญ 86:11)
20 ถ้าคุณปรารถนาจะเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับพระยะโฮวาและแนวทางของพระองค์ให้ลึกซึ้งขึ้น จงศึกษาค้นคว้าและคิดรำพึงต่อ ๆ ไปเมื่ออ่านคัมภีร์ไบเบิล. จงพิจารณาแง่มุมต่าง ๆ ที่หลากหลายแห่งบุคลิกลักษณะอันน่าดึงดูดใจของพระยะโฮวาอย่างถี่ถ้วน. จงไตร่ตรองพร้อมด้วยการอธิษฐานเพื่อพิจารณาดูว่าคุณจะเลียนแบบพระเจ้าและดำเนินชีวิตให้ประสานกับพระประสงค์ของพระองค์เต็มที่ยิ่งขึ้นได้อย่างไร. การทำเช่นนั้นจะช่วยคุณหลีกเลี่ยงหลุมพราง, ช่วยคุณให้ปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมความเชื่ออย่างเหมาะสม, และช่วยให้คนอื่น ๆ เข้ามารู้จักและรักพระเจ้าองค์ยอดเยี่ยมของเรา.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 16 จัดทำโดยพยานพระยะโฮวา.
คุณได้เรียนรู้อะไร?
• ทำไมความถ่อมตนจึงสำคัญสำหรับโมเซ และทำไมคุณลักษณะนี้จึงสำคัญสำหรับเรา?
• การเข้าเฝ้าฟาโรห์ครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อแจ้งคำตรัสของพระยะโฮวาก่อผลดีอะไร?
• อะไรคือหลักการสำคัญบางประการที่โมเซได้รับการสอนและที่นำมาใช้กับเราได้เช่นกัน?
• เราจะเพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระยะโฮวาได้โดยวิธีใด?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 21]
โมเซถ่ายทอดคำตรัสของพระยะโฮวาแก่ฟาโรห์อย่างซื่อสัตย์
[ภาพหน้า 23]
พระยะโฮวาเปิดเผยข้อเรียกร้องของพระองค์แก่โมเซ
[ภาพหน้า 24], 25
จงคิดรำพึงคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระยะโฮวา