โลกกำลังมุ่งไปทางไหน?
โลกกำลังมุ่งไปทางไหน?
โลกที่เป็นเอกภาพ. ฟังดูดีเหลือเกิน. ใคร ๆ ก็ต้องการโลกแบบนั้นมิใช่หรือ? ถูกแล้ว มีการพูดกันมากเรื่องเอกภาพ. เหล่าผู้นำของโลกประชุมปรึกษากันครั้งแล้วครั้งเล่าในเรื่องเอกภาพ. ในเดือนสิงหาคม ปี 2000 ผู้นำทางศาสนามากกว่า 1,000 คนมายังตึกสหประชาชาติ ในนครนิวยอร์ก เพื่อร่วมประชุมสุดยอดเรื่องสันติภาพโลกแห่งสหัสวรรษ. พวกเขาอภิปรายเพื่อหาแนวทางแก้ไขความขัดแย้งในโลก. แต่การประชุมครั้งนั้นกลับสะท้อนให้เห็นความขัดแย้งที่คุกรุ่นอยู่ท่ามกลางชาติต่าง ๆ ในโลก. ดาโต๊ะคนหนึ่งจากเยรูซาเลมปฏิเสธจะเข้าร่วมประชุมเนื่องจากมีรับบีชาวยิวมาประชุมด้วย. ผู้นำศาสนาคนอื่น ๆ ขุ่นเคืองที่ดาไลลามะไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในสองวันแรกเนื่องจากผู้จัดการประชุมหวั่นเกรงว่าจะทำให้จีนไม่พอใจ.
ณ การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (เอเปก) ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศไทยเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2003 ได้มีการพูดคุยกันในหมู่ชาติที่อยู่แนวฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยของโลก. ชาติสมาชิก 21 ประเทศที่เข้าร่วมได้ให้คำมั่นว่าจะขจัดกลุ่มผู้ก่อการร้ายและเห็นพ้องในมาตราการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความมั่งคงปลอดภัยในโลก. อย่างไรก็ตาม ระหว่างการประชุมมีตัวแทนหลายคนบ่น
ไม่พอใจกับข้อสังเกตของนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง ซึ่งว่ากันว่าเป็นความเห็นที่กล่าวโจมตีชาวยิวด้วยความเกลียดชัง.ทำไมจึงไม่มีเอกภาพ?
แม้จะมีการพูดคุยกันมากมายเรื่องการทำให้โลกมีเอกภาพ แต่เราเห็นผลที่เกิดขึ้นจริงได้เพียงไม่กี่อย่าง. แม้หลายฝ่ายต่างพยายามอย่างจริงใจ แต่ทำไมมวลมนุษย์จึงไม่ได้เห็นโลกเป็นเอกภาพเสียทีทั้งที่เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 แล้ว?
คำตอบบางส่วนเห็นได้จากความเห็นของนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งที่มาร่วมประชุมเอเปกครั้งนี้. เขากล่าวว่า “มีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่าความภาคภูมิใจในชาติ.” ใช่แล้ว สังคมมนุษย์จมอยู่ในลัทธิชาตินิยม. แต่ละชาติ แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ต่างถูกกระตุ้นด้วยความปรารถนาที่จะปกครองตนเอง. อำนาจอธิปไตยของชาติบวกกับน้ำใจแข่งขันชิงดีและความโลภ รวมกันกลายเป็นสิ่งที่พร้อมจะสร้างปัญหา. ในหลายกรณี เมื่อผลประโยชน์ของชาติขัดกับผลประโยชน์ของทั้งโลก ผลประโยชน์ของชาติต้องมาก่อน.
ถ้อยคำของผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญได้พรรณนาถึงลัทธิชาตินิยมไว้อย่างเหมาะเจาะว่า เป็น “โรคร้ายที่ทำให้เกิดความทุกข์.” (บทเพลงสรรเสริญ 91:3, ล.ม.) ลัทธิชาตินิยมกลายเป็นเหมือนโรคระบาดในสังคมมนุษย์และนำไปสู่ความทุกข์ระทมที่ไม่อาจพรรณนาได้. ลัทธิชาตินิยมที่ก่อผลเป็นความเกลียดชังต่อชนชาติอื่นมีอยู่เรื่อยมาหลายศตวรรษ. ทุกวันนี้ ลัทธิชาตินิยมยังคงโหมกระพือเปลวเพลิงแห่งความแตกแยก และผู้ปกครองที่เป็นมนุษย์ต่างก็ไม่อาจหยุดยั้งมันได้.
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนตระหนักว่าลัทธิชาตินิยมและการสนใจแต่เรื่องของตนเองคือต้นตอของปัญหาต่าง ๆ ในโลก. ตัวอย่างเช่น นายอู ถั่น อดีตเลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติได้ให้ข้อสังเกตว่า “ปัญหามากมายที่เราเผชิญอยู่ทุกวันนี้สืบเนื่องมาจากหรือเป็นผลจากทัศนะแบบผิด ๆ . . . หนึ่งในทัศนะที่ว่านี้ก็คือ การมีความคิดแคบ ๆ แบบชาตินิยม คือคิดว่า ‘จะถูกหรือผิดก็ประเทศของฉัน.’ ” แต่ชาติต่าง ๆ ทุกวันนี้ยังคงหมกมุ่นสนใจแต่เรื่องของตัวเองและเรียกร้องอำนาจอธิปไตยของตนมากขึ้นเรื่อย ๆ. ชาติที่ได้เปรียบก็ไม่ยอมสูญเสียอำนาจอธิปไตยของตนแม้เพียงเล็กน้อย. ตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์อินเตอร์แนชันแนล เฮรัลด์ ทริบูน ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับสหภาพยุโรปไว้ดังนี้: “การชิงดีชิงเด่นและการไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันยังคงเป็นรูปแบบพื้นฐานของการเมืองในยุโรป. สำหรับชาติสมาชิกส่วนใหญ่ในสหภาพยุโรป ยังคงเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้หากประเทศเพื่อนสมาชิกจะมีอิทธิพลมากกว่าหรือนำหน้าพวกเขา.”
ท่านผู้ประกาศ 8:9, ล.ม.) การที่มนุษย์ทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคลต่างได้แบ่งโลกออกเป็นชาติต่าง ๆ ที่มีอาณาเขตปกครองตนเอง ทำให้พวกเขาประสบกับความเป็นจริงของหลักการในคัมภีร์ไบเบิลที่ว่า “คนที่ปลีกตัวออกไปจากผู้อื่นจงใจจะทำตามตนเอง, และค้านคติแห่งปัญญาอันถูกต้องทั้งหลาย.”—สุภาษิต 18:1.
คัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระเจ้า พรรณนาไว้อย่างถูกต้องเกี่ยวกับผลของการปกครองทุกอย่างของมนุษย์ โดยกล่าวว่า “มนุษย์ใช้อำนาจเหนือมนุษย์อย่างที่ก่อผลเสียหายแก่เขา.” (พระผู้สร้างของเรา ผู้ทรงทราบว่าอะไรดีที่สุดสำหรับเรา ไม่เคยมีพระประสงค์ให้มนุษย์ตั้งรัฐบาลขึ้นมาปกครองตนเอง. การที่มนุษย์ทำเช่นนั้นจึงเป็นการเพิกเฉยต่อพระประสงค์ของพระเจ้าและต่อความจริงที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของพระองค์. บทเพลงสรรเสริญ 95:3-5 กล่าวว่า “พระยะโฮวาเป็นพระเจ้าใหญ่ยิ่ง, เป็นพระบรมมหากษัตริย์เหนือพระทั้งปวง. ที่ลับลึกแห่งแผ่นดินโลกอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์: ยอดภูเขาทั้งปวงก็เป็นของพระองค์ด้วย. มหาสมุทรก็เป็นของพระองค์, และพระองค์ได้ทรงสร้างไว้; และพระหัตถ์ของพระองค์ได้ทรงสร้างแผ่นดินแห้ง.” พระเจ้าคือผู้มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะปกครองและมนุษย์ทุกคนควรถือว่าพระองค์เป็นผู้ปกครองของตน. เมื่อชาติต่าง ๆ หาทางปกครองตัวเอง พวกเขาก็กำลังทำสิ่งที่ขัดกับพระประสงค์ของพระองค์.—บทเพลงสรรเสริญ 2:2.
จำต้องมีอะไร?
ทางเดียวที่จะทำให้โลกมีเอกภาพก็คือต้องมีอำนาจปกครองเดียวที่ปกครองเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง. หลายคนที่คิดจริงจังเกี่ยวกับเรื่องนี้ตระหนักว่าเราจำต้องมีอำนาจปกครองเช่นนั้น. อย่างไรก็ตาม พวกเขามักมองไปผิดแหล่ง. ตัวอย่างเช่น ผู้ให้ความคิดเห็นหลายคนรวมทั้งพวกผู้นำศาสนาได้กระตุ้นประชาชนให้หวังพึ่งสหประชาชาติในฐานะองค์การที่จะทำให้โลกมีเอกภาพ. อย่างไรก็ตาม องค์การต่าง ๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะมีอุดมการณ์ดีเลิศเพียงใด ก็ไม่เคย แก้ปัญหาระหว่างมนุษยชาติได้เลย. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น องค์การเหล่านั้นเป็นเพียงสิ่งสะท้อนให้เห็นการขาดเอกภาพที่มีอยู่ท่ามกลางชาติต่าง ๆ มากมาย.
คัมภีร์ไบเบิลเตือนไม่ให้หวังพึ่งสถาบันต่าง ๆ ของมนุษย์เพื่อแก้ปัญหา โดยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายอย่าวางใจในพวกเจ้านาย, หรือในเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ช่วยให้รอดไม่ได้.” (บทเพลงสรรเสริญ 146:3) นี่ทำให้เราหมดหวังจะเห็นโลกที่เป็นเอกภาพอย่างนั้นไหม? ไม่ใช่เช่นนั้นแน่. ยังมีอีกทางหนึ่ง.
ผู้คนมากมายไม่รู้ว่าพระเจ้าได้ทรงตั้งรัฐบาลหนึ่งขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นรัฐบาลที่สามารถทำให้โลกเป็นเอกภาพได้. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวเกี่ยวกับพระยะโฮวาพระเจ้าว่า “ฝ่ายเราได้ตั้งกษัตริย์ของเราไว้ที่ซีโอนภูเขาบริสุทธิ์ของเรา. ท่านจงขอแต่เราและเราจะมอบชนต่างประเทศให้เป็นมฤดกทั้งชนที่สุดปลายแผ่นดินโลกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของท่าน.” (บทเพลงสรรเสริญ 2:6, 8) ขอให้สังเกตว่าข้อคัมภีร์นี้กล่าวถึงพระยะโฮวาพระเจ้าว่าได้ทรง ‘ตั้งกษัตริย์ของพระองค์ไว้’ ซึ่งก็คือผู้ที่พระองค์กล่าวถึงว่าเป็น “บุตรของเรา” ในข้อ 7. ท่านผู้นี้ไม่ใช่ใครนอกจากพระเยซูคริสต์ บุตรกายวิญญาณองค์เอกของพระเจ้า ผู้ได้รับอำนาจเหนือชาติทั้งปวง.
โลกที่เป็นเอกภาพจะเกิดขึ้นได้อย่างไร?
คนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการปกครองซึ่งพระเจ้าได้ทรงตั้งขึ้นในสวรรค์. ชาติต่าง ๆ ยังคงยึดติดอยู่กับอำนาจอธิปไตยที่พวกเขาคิดเอาเองว่าเป็นของตน. แต่พระเจ้าจะไม่ทรงทนกับคนที่ไม่ยอมรับอำนาจการปกครองของพระองค์และรัฐบาลที่พระองค์ได้ทรงตั้งขึ้น. บทเพลงสรรเสริญ 2:9 กล่าวถึงคนที่ไม่ยอมรับการจัดเตรียมดังกล่าวของพระเจ้าดังนี้: “ท่าน [พระบุตรเยซูคริสต์] จะไปทำลายชนเหล่านั้นด้วยกระบองเหล็ก; จะตีเขาให้แตกแหลกไปดุจภาชนะของช่างหม้อ.” ไม่ว่าพวกเขาจะตระหนักหรือไม่ก็ตาม ชาติต่าง ๆ กำลังทำสิ่งที่จะทำให้พวกเขาปะทะกับพระเจ้า. พระธรรมเล่มสุดท้ายของคัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึง “กษัตริย์ทั้งปวงทั่วพิภพ” ซึ่งมาชุมนุมกัน “สำหรับการสงครามในวันใหญ่ของพระเจ้าผู้ทรงฤทธิ์.” (วิวรณ์ 16:14) ชาติทั้งปวงกับแนวทางที่แตกแยกของพวกเขาจะถูกกำจัดออกไป เป็นการเตรียมการเพื่อรัฐบาลของพระเจ้าจะทำงานได้โดยปราศจากอุปสรรค.
ในฐานะผู้มีอำนาจสูงสุดแห่งเอกภพ พระยะโฮวาพระเจ้าจะทรงให้พระบุตรของพระองค์ใช้อำนาจอย่างฉลาดสุขุมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จำเป็นและทำให้โลกเป็นเอกภาพ. รัฐบาลของพระเจ้าจะทำให้เกิดเอกภาพแท้และจะทำให้ทุกคนที่รักความชอบธรรมได้รับพร. คุณอาจลองใช้เวลาสองสามนาทีอ่านบทเพลงสรรเสริญบท 72 ในคัมภีร์ไบเบิลของคุณ. คำพยากรณ์ในบทนั้นให้ภาพล่วงหน้าเกี่ยวกับสิ่งที่พระบุตรของพระเจ้าจะทำเพื่อมนุษยชาติเมื่อพระองค์เริ่มปกครอง. ประชาชนจะได้เห็นโลกที่เป็นเอกภาพอย่างแท้จริง และปัญหาทุกอย่างของพวกเขาจะหมดไป ทั้งการกดขี่, ความรุนแรง, ความยากจน, และอื่น ๆ.
ในโลกทุกวันนี้ที่แตกแยก หลายคนคิดว่าความหวังเช่นนั้นไม่ตรงกับสภาพจริง. แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิด. คำสัญญาของพระเจ้าไม่เคยล้มเหลว และจะไม่มีวันเป็นเช่นนั้น. (ยะซายา 55:10, 11) คุณอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี ๆ เหล่านี้ไหม? คุณมีโอกาสจะได้เห็น. ที่จริง มีคนกลุ่มหนึ่งกำลังเตรียมพร้อมสำหรับเวลานั้นแล้ว. พวกเขามาจากทุกชาติ แต่แทนที่จะต่อสู้ พวกเขากลับยอมตัวอยู่ใต้อำนาจการปกครองของพระเจ้าอย่างเป็นเอกภาพ. (ยะซายา 2:2-4) คนเหล่านี้เป็นใคร? พวกเขาเป็นที่รู้จักในชื่อพยานพระยะโฮวา. คุณอาจลองตอบรับคำเชิญไปยังสถานที่ประชุมของพวกเขา. แล้วคุณคงจะชอบการคบหาสมาคมที่ทำให้สดชื่นกับกลุ่มคนที่สามารถช่วยคุณให้ยอมตัวอยู่ใต้อำนาจการปกครองของพระเจ้าและชื่นชมกับเอกภาพซึ่งไม่มีวันสิ้นสุด.
[ภาพหน้า 7]
คนจากทุกชาติกำลังเตรียมพร้อมเพื่อจะอยู่ในโลกที่เป็นเอกภาพ
[ที่มาของภาพหน้า 4]
Saeed Khan/AFP/Getty Images
[ที่มาของภาพหน้า 5]
Woman grieving: Igor Dutina/AFP/Getty Images; protesters: Said Khatib/AFP/Getty Images; armored cars: Joseph Barrak/AFP/Getty Images