ทรหดดุจทหารของพระคริสต์
เรื่องราวชีวิตจริง
ทรหดดุจทหารของพระคริสต์
เล่าโดยยูรี คัปโตลา
“ตอนนี้ฉันมั่นใจแล้วว่านายมีความเชื่อจริง ๆ!” ถ้อยคำดังกล่าวมาจากแหล่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ คือจากนายทหารโซเวียต และคำพูดนั้นให้กำลังใจผมทันเวลาในยามที่ต้องการอย่างยิ่ง. ผมอยู่ในระหว่างการพิจารณาตัดสินให้จำคุกเป็นเวลานานและได้วิงวอนด้วยใจแรงกล้าขอการค้ำจุนจากพระยะโฮวา. ผมกำลังเผชิญกับการต่อสู้อย่างทรหดและยาวนานซึ่งต้องมีความอดทนและมั่นคงแน่วแน่.
ผมเกิดวันที่ 19 ตุลาคม 1962 และเติบโตทางภาคตะวันตกของยูเครน. ปีเดียวกันนั้น พ่อผมชื่อยูรีเหมือนกันได้ติดต่อกับพยานพระยะโฮวา. ไม่นาน ท่านก็ได้เป็นคนแรกในหมู่บ้านที่ได้เข้ามาเป็นผู้นมัสการพระยะโฮวา. กิจกรรมที่พ่อทำไม่พ้นการเฝ้าสังเกตของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่คอยต่อต้านขัดขวางเหล่าพยานพระยะโฮวา.
อย่างไรก็ดี เพื่อนบ้านของเราส่วนใหญ่นับถือพ่อแม่ของผม ทั้งนี้ก็เพราะท่านมีคุณลักษณะแบบคริสเตียนและคำนึงถึงผู้อื่น. ทั้งพ่อและแม่ได้ใช้ทุกโอกาสปลูกฝังความรักต่อพระเจ้าไว้ในตัวผมและพี่สาวกับน้องสาวอีกสองคนให้รู้จักความรักของพระเจ้าตั้งแต่เยาว์วัย และด้วยเหตุนี้จึงช่วยผมเผชิญข้อท้าทายหลาย ๆ อย่างที่โรงเรียนได้. ข้อท้าทายอย่างหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกร้องเด็กนักเรียนแต่ละคนให้ติดเครื่องหมายแสดงตัวเป็นสมาชิกพรรคตุลาคม (ของรัสเซีย). เนื่องจากผมต้องการรักษาความเป็นกลางในฐานะคริสเตียน ผมไม่ยอมติดเครื่องหมายและจึงดูแตกต่างจากเด็กอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด.—โยฮัน 6:15; 17:16.
ต่อมา เมื่อผมเรียนชั้นประถมปีที่สาม มีคำสั่งให้นัก
เรียนทุกคนสมทบองค์กรยุวชนคอมมิวนิสต์ที่เรียกว่าผู้บุกเบิกรุ่นเยาว์. วันหนึ่ง นักเรียนในชั้นได้ออกไปประกอบพิธีเข้าเป็นสมาชิกที่สนามหน้าโรงเรียน. ผมกลัวมาก กริ่งเกรงว่าจะถูกเยาะเย้ยถูกตำหนิ. นักเรียนทุกคนเว้นแต่ผมได้นำเอาผ้าพันคอสีแดงผืนใหม่มาจากบ้าน และนักเรียนทั้งชั้นยืนเข้าแถวอยู่ตรงหน้าครูใหญ่, ครูประจำชั้น, และนักเรียนรุ่นพี่. ครั้นสมาชิกรุ่นอาวุโสได้รับคำสั่งให้ผูกผ้าพันคอแก่รุ่นยุวชน ผมก้มหน้าไม่กล้าสบตา หวังแต่เพียงว่าคงจะไม่มีใครสนใจ.ถูกส่งตัวเข้าคุกอันห่างไกล
เมื่ออายุ 18 ปี ผมถูกตัดสินจำคุกสามปีเพราะรักษาฐานะความเป็นกลางของคริสเตียน. (ยะซายา 2:4) ผมติดคุกปีแรกที่เมืองทรูโดโวเย ในแคว้นวินนิตสกายาของยูเครน. ขณะอยู่ที่นั่น ผมได้พบพยานพระยะโฮวาประมาณ 30 คน. เราถูกกำหนดให้ทำงานกลุ่มละสองคน แต่ละกลุ่มทำงานแยกจากกัน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่ต้องการให้พวกเราพบปะคบหากัน.
เดือนสิงหาคม 1982 ผมกับอีดวร์ดพยานฯ อีกคนหนึ่งถูกส่งไปยังเทือกเขาอูรัลทางเหนือของประเทศ โดยให้นั่งในตู้รถไฟที่คุมขังพร้อมกับนักโทษอื่น ๆ อีกกลุ่มหนึ่ง. เราต้องทนอากาศที่ร้อนจัดและเบียดเสียดกันในสภาพที่ย่ำแย่นานกว่าแปดวัน กระทั่งมาถึงคุกในเมืองโซลีคัมสค์ แคว้นเปียร์มสกายา. เขาแยกผมกับอีดวร์ดขังคนละห้อง. สองสัปดาห์ต่อมา เขาส่งผมให้ไปอยู่ทางเหนือที่หมู่บ้านวโยส์ ในภูมิภาคคราสโนวีเชอสกี.
พาหนะได้นำเราไปถึงที่นั่นตอนดึก และคืนนั้นมืดมาก. ถึงกระนั้น เจ้าหน้าที่สั่งพวกเราเอาเรือข้ามแม่น้ำไป. เรามองไม่เห็นเรือและแม่น้ำเลย! แต่เราก็คลำทางหากระทั่งเจอเรือเข้าโดยบังเอิญ และถึงแม้รู้สึกกลัวแต่พวกเราก็ข้ามไปได้. พอถึงอีกฝั่งหนึ่ง เราตรงไปยังที่ที่เราเห็นแสงสว่างบนเนินเขาซึ่งอยู่ไม่ไกล ที่นั่นเราพบเต็นท์สองสามหลัง. ที่นี่จะเป็นบ้านแห่งใหม่สำหรับพวกเรา. ผมได้อยู่ในเต็นท์หลังค่อนข้างใหญ่กับนักโทษอีกประมาณ 30 คน. ช่วงหน้าหนาว อุณหภูมิลบ 40 องศาเซลเซียส และความอบอุ่นภายในเต็นท์มีไม่พอ. งานหลักของนักโทษคือตัดโค่นต้นไม้ แต่ผมได้ทำงานสร้างกระท่อมให้นักโทษอยู่.
อาหารฝ่ายวิญญาณไปถึงถิ่นที่อยู่อันห่างไกลของเรา
ผมเป็นพยานพระยะโฮวาเพียงคนเดียวที่อยู่ที่นั่น กระนั้น พระยะโฮวาไม่ได้ทอดทิ้งผม. วันหนึ่งมีกล่องพัสดุจากแม่ส่งมาให้ ท่านยังอยู่ทางตะวันตกของยูเครน. เมื่อผู้คุมเปิดกล่อง สิ่งแรกที่เขาเห็นคือคัมภีร์ไบเบิลเล่มเล็ก ๆ. เขาหยิบขึ้นมาและเริ่มพลิกหน้าหนังสือดูไปเรื่อย ๆ. ผมพยายามนึกหาคำพูดที่จะไม่ให้เขายึดเอาสมบัติฝ่ายวิญญาณอันมีค่าไป. ทันใดนั้นเองผู้คุมก็ถามว่า “หนังสืออะไรนี่?” ก่อนผมคิดคำตอบได้ จเรทหารที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ ตอบว่า “อ๋อ พจนานุกรมนั่นเอง.” ผมนิ่งเงียบ. (ท่านผู้ประกาศ 3:7) จเรค้นดูจนทั่วแล้วก็ยื่นกล่องพร้อมกับคัมภีร์ไบเบิลล้ำค่าเล่มนั้นให้ผม. ผมดีใจอย่างที่สุด ผมสมนาคุณเขาด้วยการแบ่งลูกนัทจากกล่องให้เขาไปบ้าง. ตอนที่ได้รับกล่องของฝากนี้ ผมรู้ว่าพระยะโฮวาไม่ได้ลืมผม. พระองค์ทรงยื่นพระหัตถ์ช่วยเหลือผมอย่างเอื้ออารีและใฝ่พระทัยดูแลให้ได้รับสิ่งจำเป็นฝ่ายวิญญาณ.—เฮ็บราย 13:5.
ประกาศเรื่อยไปมิได้ขาด
หลังจากนั้นไม่กี่เดือน ผมประหลาดใจเมื่อได้รับจดหมายจากพี่น้องคริสเตียนซึ่งถูกจำคุกห่างออกไปราว ๆ 400 กิโลเมตร. เขาขอร้องผมให้ช่วยสืบหาชายผู้สนใจคนหนึ่ง และอาจอยู่ในค่ายเดียวกันกับผม. การเขียนจดหมายไม่ใช้รหัสเช่นนั้นไม่สู้ฉลาดนัก เพราะจดหมายของเราต้องผ่านการตรวจ. ฉะนั้น ไม่แปลกที่เจ้าหน้าที่เรียกผมเข้าไปในห้องทำงานของเขาและเตือนผมอย่างหนักแน่นไม่ให้ประกาศ. แล้วเขาสั่งให้ผมเซ็นเอกสารที่ระบุว่าผมจะเลิกพูดเรื่องศาสนาของผมกับคนอื่น ๆ. ผมตอบกลับไปว่าผมไม่เข้าใจว่าทำไมควรเซ็นเอกสารนี้ เพราะใคร ๆ ก็รู้อยู่ว่าผมเป็นพยานกิจการ 4:20) เจ้าหน้าที่คนนี้รู้ตัวว่าเขาไม่สามารถจะข่มขู่ผม เขาจึงตัดสินใจกำจัดผม โดยจัดการย้ายให้ไปอยู่อีกค่ายหนึ่ง.
พระยะโฮวา. ผมบอกว่านักโทษคนอื่นอยากจะรู้สาเหตุที่ผมต้องติดคุก. ผมควรจะตอบพวกเขาอย่างไร? (เขาสั่งย้ายผมไปที่หมู่บ้านวายา ห่างออกไปประมาณ 200 กิโลเมตร. ที่นั่น เจ้าหน้าที่ให้ความนับถือจุดยืนฐานะคริสเตียนของผมและมอบงานให้ทำ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ราชการทหาร ทีแรกให้เป็นช่างไม้ ต่อมาเป็นช่างไฟฟ้า. แต่งานเหล่านี้ก็แฝงข้อท้าทายอยู่ในตัว. มีอยู่ครั้งหนึ่ง มีคำสั่งให้ผมเก็บอุปกรณ์เครื่องมือแล้วไปที่สโมสรประจำหมู่บ้าน. เมื่อผมไปถึง พวกทหารที่สโมสรพากันดีใจ. พวกเขามีปัญหาในการติดดวงไฟประดับเครื่องหมายประจำหน่วยต่าง ๆ ของทหารให้ทันใช้การได้. เขาต้องการให้ผมช่วยซ่อมแซมหลายอย่าง เนื่องจากอยู่ในช่วงเตรียมงานฉลองวันกองทัพแดงของคอมมิวนิสต์. หลังจากทูลอธิษฐานและใคร่ครวญเรื่องที่ควรจะทำในขั้นต่อไป ผมได้บอกพวกเขาว่าผมไม่สามารถทำงานแบบนั้น. ผมให้เครื่องมือกับพวกเขาและจากลาไป. ผมถูกรายงานตัวให้รองผู้บัญชาการทราบ และผมประหลาดใจที่เขารับฟังคำฟ้องกล่าวหาผมและตอบดังนี้: “ผมนับถือการกระทำอย่างนั้นของเขา. เขาเป็นคนมีหลักการ.”
การหนุนใจจากแหล่งที่ไม่น่าเป็นไปได้
ผมได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 1984 หลังการคุมขังครบสามปีพอดี. เมื่อกลับไปที่ยูเครน ผมต้องไปขึ้นทะเบียนที่กองทหารอาสาสมัครฐานะเป็นอดีตนักโทษ. พวกเจ้าหน้าที่บอกผมว่า ผมจะถูกพิจารณาคดีอีกหลังจากหกเดือนและคงจะดีกว่าหากผมจะไปจากที่นั่น. ฉะนั้น ผมจึงออกจากยูเครนและในที่สุดได้งานทำที่ลัตเวีย. ชั่วระยะหนึ่ง ผมสามารถออกประกาศและร่วมประชุมกับพยานฯ กลุ่มเล็ก ๆ ในริกาเมืองหลวงและรอบ ๆ เขตเมือง. อย่างไรก็ดี เพียงหนึ่งปีผ่านไป ผมถูกหมายเรียกเข้ารับราชการทหารอีก. ณ สำนักงานเกณฑ์ทหาร ผมได้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ว่าผมเคยปฏิเสธการเป็นทหารไปแล้ว. เขาตะคอกกลับว่า “จริง ๆ แล้ว นายรู้ไหมว่ากำลังทำอะไรอยู่? ดูซิว่านายจะพูดอะไรกับท่านผู้พัน!”
เขาพาผมขึ้นไปในห้องบนชั้นสองซึ่งนายทหารยศพันโทนั่งอยู่หลังโต๊ะยาว. เขาตั้งใจฟังขณะที่ผมได้ชี้แจงฐานะของผม ครั้นแล้วเขาพูดว่าผมยังมีโอกาสจะไตร่ตรองการตัดสินใจอีกครั้งหนึ่งก่อนเข้าพบคณะกรรมการเกณฑ์ทหาร. เมื่อเราออกมาข้างนอกห้องทำงานของพันโทคนนั้น เจ้าหน้าที่ซึ่งดุด่าผมตอนแรกยอมรับดังนี้: “ตอนนี้ฉันมั่นใจแล้วว่านายมีความเชื่อจริง ๆ!” เมื่อผมอยู่ต่อหน้าคณะกรรมการในกองทัพ ผมกล่าวซ้ำฐานะความเป็นกลางของผมอีก และเขาก็ได้ปล่อยผมไปก่อน.
ในช่วงนั้น ผมเช่าหอพักอยู่. เย็นวันหนึ่ง ผมได้ยินเสียงเคาะประตูเบา ๆ. พอผมเปิดประตูก็เห็นชายคนหนึ่งแต่งสูทและหิ้วกระเป๋าเอกสาร. เขากล่าวแนะนำตัวเองว่า “ผมมาจากหน่วยรักษาความมั่นคงและหน่วยสืบราชการลับ. ผมทราบว่าคุณประสบความยุ่งยากและจะถูกดำเนินคดีในศาล.” ผมตอบว่า “ใช่ครับ.” ชายผู้นั้นพูดต่อว่า “เราสามารถ
ช่วยคุณได้ถ้าคุณตัดสินใจจะร่วมมือกับพวกเรา.” ผมบอกเขาว่า “ไม่ ไม่มีทางเป็นไปได้ ผมจะต้องรักษาความซื่อสัตย์ภักดีต่อความเชื่อในฐานะเป็นคริสเตียน.” เขาเลิกพยายามที่จะโน้มน้าวผม แล้วลากลับ.กลับเข้าคุก และประกาศต่อไป
วันที่ 26 สิงหาคม 1986 ศาลเมืองริกาพิจารณาตัดสินให้ผมไปทำงานใช้แรงงานเป็นเวลาสี่ปี และถูกส่งตัวเข้าเรือนจำกลางแห่งเมืองริกา. ผมถูกขังในห้องใหญ่รวมกับนักโทษอื่นอีก 40 คน และผมได้พยายามที่จะประกาศแก่นักโทษทุกคนในห้องขังนั้น. บางคนอ้างว่าเขาเชื่อพระเจ้า บางคนเอาแต่หัวเราะ. ผมสังเกตเห็นว่ามีการแบ่งกันออกเป็นกลุ่ม ๆ และสองสัปดาห์ผ่านไป ผู้นำกลุ่มเหล่านี้บอกผมว่าจะปล่อยให้ผมประกาศไม่ได้ เนื่องจากผมไม่ทำตัวให้เข้ากับกฎหมู่ตามที่พวกเขาตั้งขึ้น. ผมอธิบายว่าผมถูกจำคุกก็เพราะเหตุนี้แหละ คือผมดำเนินชีวิตตามกฎเกณฑ์ที่แตกต่างจากคนอื่น.
ผมประกาศต่อไปอย่างสุขุมรอบคอบ และเมื่อพบคนที่สนใจสิ่งฝ่ายวิญญาณ ผมสามารถนำการศึกษาพระคัมภีร์ได้ถึงสี่ราย. ระหว่างที่มีการสนทนาไต่ถามกัน พวกเขาจะจดหลักคำสอนพื้นฐานของคัมภีร์ไบเบิลลงในสมุดบันทึก. หลังสองสามเดือนผ่านไป ผมถูกส่งตัวไปทำงานเป็นช่างไฟฟ้าอยู่ที่ค่ายในเมืองวัลมีเยรา ซึ่งการรักษาความปลอดภัยเป็นไปอย่างเข้มงวด. ที่นั่นผมสามารถนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับช่างไฟฟ้าคนหนึ่ง สี่ปีต่อมาเขาเข้ามาเป็นพยานพระยะโฮวา.
วันที่ 24 มีนาคม 1988 ผมถูกย้ายจากค่ายที่เข้มงวดมากในด้านการรักษาความปลอดภัยไปยังค่ายในท้องถิ่นใกล้เคียง. คราวนี้ถือเป็นพระพรจริง ๆ เนื่องจากเขาปล่อยให้ผมมีอิสระมากขึ้น. ผมได้รับมอบหมายทำงานด้านการก่อสร้างในหลายโครงการ และผมจ้องหาโอกาสอยู่เสมอที่จะประกาศ. บ่อยครั้ง ผมไปประกาศนอกค่ายกระทั่งค่ำมืด แต่ก็ไม่มีเรื่องยุ่งยากแต่อย่างใดเมื่อกลับถึงค่ายที่พัก.
พระยะโฮวาทรงอวยพรความบากบั่นของผม. มีพยานฯ เพียงไม่กี่คนในละแวกนั้น แต่ในเมืองที่ค่ายตั้งอยู่ มีพยานฯ เพียงคนเดียวเท่านั้น เธอเป็นผู้สูงอายุชื่อวิลมา ครูมินยา. ผมกับซิสเตอร์ครูมินยาเริ่มนำการศึกษาพระคัมภีร์หลายรายกับคนหนุ่มสาว. บางครั้งก็มีพี่น้องชายหญิงจากริกามาเพื่อมีส่วนร่วมงานประกาศและไพโอเนียร์ประจำบางคนเดินทางมาจากเลนินกราด (เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในปัจจุบัน). ด้วยการสงเคราะห์ของพระยะโฮวา พวกเราได้เริ่มการศึกษาพระคัมภีร์หลายราย และต่อมาผมสมัครทำงานรับใช้ประเภทไพโอเนียร์ ใช้เวลาออกประกาศ 90 ชั่วโมงต่อเดือน.
วันที่ 7 เมษายน 1990 เป็นวันนัดทบทวนคดีของผมในศาลประชาชนที่เมืองวัลมีเยรา. เมื่อเริ่มการพิจารณาคดี ผมจำหน้าอัยการได้. เขาคือชายหนุ่มคนที่ผมเคยสนทนาเรื่องพระคัมภีร์กับเขามาก่อน! เขาจำผมได้พร้อมกับยิ้มให้ แต่ไม่พูดอะไร. ผมยังจำคำพูดผู้พิพากษาในวันพิจารณาคดีในวันนั้นที่ว่า “ยูรี การที่คุณถูกจำคุกสี่ปีมาแล้วนั้นเป็นการตัดสินที่ไม่เป็นธรรม. เขาไม่น่าตัดสินให้คุณต้องโทษเลย.” โดยไม่คาดหมาย ผมได้รับอิสรภาพทันทีทันใด!
ทหารของพระคริสต์
เดือนมิถุนายน 1990 ผมต้องไปขึ้นทะเบียนทหารอีกครั้งหนึ่ง ณ สำนักงานเกณฑ์ทหารเพื่อจะได้สิทธิมีที่อยู่อาศัยในเมืองริกา. ผมเดินเข้าไปในห้องเดิมที่มีโต๊ะยาวตัวเดียวกันกับที่ตั้งอยู่เมื่อสี่ปีก่อนในคราวที่ผมตอบนายทหารยศพันโทไปว่าผมจะไม่ปฏิบัติราชการในกองทัพ. คราวนี้ เขาลุกขึ้นทักทายและจับมือผมแล้วพูดว่า “เป็นเรื่องน่าอับอายจริง ๆ ที่คุณต้องผ่านความยุ่งยากลำบากเหล่านี้. ผมเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น.”
ผมตอบเขาว่า “ผมเป็นทหารของพระคริสต์ ผมต้องทำหน้าที่ให้สำเร็จ. โดยการช่วยเหลือจากคัมภีร์ไบเบิล คุณ2 ติโมเธียว 2:3, 4) นายพันตอบว่า “ไม่นานมานี้ ผมซื้อพระคัมภีร์ไว้เล่มหนึ่ง และตอนนี้กำลังอ่านอยู่.” ผมมีหนังสือท่านจะมีชีวิตอยู่ได้ตลอดไปในอุทยานบนแผ่นดินโลก * ติดตัวไปด้วย. ผมเปิดให้เขาดูบทที่พูดถึงสัญลักษณ์สมัยสุดท้ายและชี้ให้เห็นคำพยากรณ์ในพระคัมภีร์ว่าเกี่ยวข้องอย่างไรกับสมัยของเรา. ด้วยความหยั่งรู้ค่าและรู้สึกขอบคุณ นายพันจับมือผมอีกครั้งหนึ่งและกล่าวอวยพรให้ผมประสบความสำเร็จในงานที่ทำ.
ก็เช่นกันสามารถชื่นชมสิ่งต่าง ๆ ที่พระคริสต์ตรัสสัญญาไว้กับสาวกของพระองค์ นั่นคือ ชีวิตที่มีความสุขและอนาคตยั่งยืน.” (ถึงตอนนั้น ทุ่งนาในลัตเวียเหลืองได้เวลาเก็บเกี่ยวแล้ว. (โยฮัน 4:35) ปี 1991 ผมเริ่มปฏิบัติงานฐานะผู้ปกครองในประชาคม. ทั่วประเทศมีผู้ปกครองที่รับการแต่งตั้งเพียงสองคน! หนึ่งปีถัดมา ประชาคมหนึ่งเดียวในลัตเวียได้แยกเป็นสองประชาคม ประชาคมหนึ่งใช้ภาษาลัตเวีย และอีกประชาคมหนึ่งใช้ภาษารัสเซีย. ผมมีสิทธิพิเศษรับใช้ร่วมกับประชาคมภาษารัสเซีย. การเจริญเติบโตเร็วมาก ปีต่อมาประชาคมของเราจึงได้แยกเป็นสามประชาคม! เมื่อผมมองย้อนกลับ เห็นได้ชัดว่าพระยะโฮวาได้ทรงชี้นำแกะของพระองค์เข้ามายังองค์การของพระองค์.
ปี 1998 ผมได้รับแต่งตั้งให้รับใช้ฐานะไพโอเนียร์พิเศษในเมืองเยลกาวา ห่างจากริกาไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 40 กิโลเมตร. ปีเดียวกันนั้น ผมเป็นคนหนึ่งในกลุ่มแรกจากลัตเวียที่ได้รับเชิญเข้าโรงเรียนฝึกอบรมเพื่องานรับใช้ซึ่งดำเนินการสอนเป็นภาษารัสเซีย ที่ซอลเน็คนอเยใกล้นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก รัสเซีย. ขณะอยู่ในโรงเรียน ผมได้มาตระหนักว่าสำคัญเพียงใดที่พึงมีทัศนะที่แสดงความรักต่อประชาชนเพื่อจะประสบความสำเร็จในงานรับใช้. สิ่งหนึ่งที่ประทับใจผมเป็นพิเศษ มากยิ่งกว่าสิ่งที่มีการสอนที่โรงเรียนคือความรักและความเอาใจใส่จากครอบครัวเบเธลและผู้สอน.
เหตุการณ์สำคัญสุดยอดอีกอย่างหนึ่งในชีวิตของผมเกิดขึ้นในปี 2001 เมื่อผมแต่งงานกับคารีนา สตรีคริสเตียนที่น่ารัก. คารีนาได้สมทบกับผมทำงานรับใช้เต็มเวลาประเภทไพโอเนียร์พิเศษ และทุก ๆ วันผมมีกำลังใจเมื่อเห็นภรรยากลับบ้านอย่างมีความสุขภายหลังออกประกาศในเขตงาน. จริงทีเดียว การรับใช้พระยะโฮวาเป็นความชื่นชมยินดีอันใหญ่หลวง. ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ร้ายกาจรุนแรงในช่วงระบอบคอมมิวนิสต์ได้สอนผมให้วางใจพระยะโฮวาเต็มที่. ไม่มีการเสียสละใดจะมากเกินไปสำหรับผู้ที่ปรารถนาจะคงไว้ซึ่งมิตรภาพกับพระยะโฮวาและสนับสนุนพระบรมเดชานุภาพของพระองค์. การช่วยเหลือผู้คนเรียนรู้จักพระยะโฮวาทำให้ชีวิตผมมีจุดมุ่งหมาย. ผมถือเป็นเกียรติอันน่าพิศวงที่จะรับใช้พระยะโฮวา “ในฐานะทหารที่ดีของพระคริสต์.”—2 ติโมเธียว 2:3, ล.ม.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 29 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา แต่เวลานี้งดพิมพ์แล้ว.
[ภาพหน้า 11]
ผมถูกตัดสินให้ทำงานใช้แรงงานสี่ปีและต้องโทษจำคุกที่เรือนจำกลางริกา
[ภาพหน้า 12]
กับคารีนาในงานเผยแพร่