คุณมีสติรู้สึกผิดชอบที่ได้รับการฝึกอย่างดีไหม?
คุณมีสติรู้สึกผิดชอบที่ได้รับการฝึกอย่างดีไหม?
คุณเคยพูดไหมว่า “ในใจฉันรู้ว่ามันไม่ถูก” หรือ “ฉันทำอย่างที่คุณขอไม่ได้. มีบางอย่างในตัวฉันบอกว่ามันผิด”? นั่นเป็น “เสียง” ของสติรู้สึกผิดชอบ ซึ่งเป็นความสำนึกหรือการรับรู้ภายในว่าอะไรถูกอะไรผิด และสิ่งนี้จะกล่าวหาหรือไม่ก็แก้ตัวให้คนเรา. ใช่แล้ว สติรู้สึกผิดชอบเป็นสิ่งที่ติดตัวเรามาแต่กำเนิด.
แม้จะอยู่ในสภาพที่เหินห่างจากพระเจ้า แต่โดยทั่วไปมนุษย์ก็ยังมีความสามารถที่จะแยกแยะว่าอะไรถูกอะไรผิด. ที่เป็นเช่นนี้เพราะมนุษย์ถูกสร้างตามแบบของพระเจ้า เขาจึงสะท้อนสติปัญญาและความชอบธรรมซึ่งเป็นคุณลักษณะของพระเจ้าได้ในระดับหนึ่ง. (เยเนซิศ 1:26, 27) เกี่ยวกับเรื่องนี้ อัครสาวกเปาโลได้รับการดลใจให้เขียนว่า “เมื่อพวกต่างประเทศซึ่งไม่มีพระบัญญัติก็ได้ประพฤติตามพระบัญญัติโดยธรรมชาติ คนเหล่านั้นแม้ไม่มีพระบัญญัติก็เป็นบัญญัติแก่ตัวเอง. เขาเหล่านั้นเป็นผู้ซึ่งสำแดงการที่กฎหมายเขียนไว้ในหัวใจของเขา ขณะที่สติรู้สึกผิดชอบของเขาเป็นพยานด้วยกันกับเขา และโดยความคิดทั้งหลายของเขาเอง เขาก็ได้รับการกล่าวหา หรือการแก้ตัว.” *—โรม 2:14, 15, ล.ม.
ลักษณะทางศีลธรรมดังกล่าวซึ่งสืบทอดมาจากอาดามมนุษย์คนแรก ทำหน้าที่เสมือน “กฎหมาย” หรือกฎความประพฤติในตัวมนุษย์ทุกเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ เป็นความสามารถที่จะตรวจสอบและตัดสินตนเอง. (โรม 9:1) อาดามและฮาวาแสดงให้เห็นว่าพวกเขามีความสามารถนี้ เพราะทันทีที่ได้ละเมิดกฎหมายของพระเจ้า พวกเขาหลบไปซ่อนตัว. (เยเนซิศ 3:7, 8) อีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นวิธีการทำงานของสติรู้สึกผิดชอบคือ ปฏิกิริยาของกษัตริย์ดาวิดเมื่อท่านรู้ตัวว่าได้ทำผิดที่สั่งให้นับจำนวนประชากร. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “แล้วพระทัยของดาวิดก็โทมนัส.”—2 ซามูเอล 24:1-10, ฉบับแปลใหม่.
การที่เราสามารถมองย้อนกลับไปและวินิจฉัยการประพฤติทางด้านศีลธรรมของตนเองอาจก่อผลเป็นการกลับใจอย่างที่พระเจ้าพอพระทัย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก. ดาวิดเขียนว่า “ครั้นข้าพเจ้านิ่งอยู่, กะดูกก็เหี่ยวแห้งไปโดยข้าพเจ้าครางอยู่ตลอดวัน. บาปของข้าพเจ้า ๆ ทูลรับสารภาพต่อพระองค์, และไม่ได้ปิดบังซ่อนการอสัตย์อธรรมของข้าพเจ้าไว้: ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า, การล่วงละเมิดนั้นข้าพเจ้าจะรับสารภาพต่อพระยะโฮวา; และพระองค์ได้ทรงโปรดยกความอสัตย์อธรรมของข้าพเจ้าเสีย.” (บทเพลงสรรเสริญ 32:3, 5) ดังนั้น สติรู้สึกผิดชอบที่ทำงานสามารถนำคนบาปกลับมาหาพระเจ้าได้ โดยช่วยเขาให้สำนึกถึงความจำเป็นที่จะต้องได้รับการอภัยโทษจากพระเจ้าและติดตามแนวทางของพระองค์.—บทเพลงสรรเสริญ 51:1-4, 9, 13-15.
นอกจากนี้ สติรู้สึกผิดชอบยังคอยช่วยเตือนหรือชี้แนะเมื่อเราต้องเลือกหรือตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องทางศีลธรรม. แง่มุมดังกล่าวของสติรู้สึกผิดชอบคงได้ช่วยโยเซฟให้ตระหนักก่อนที่จะทำอะไรลงไปว่าการเล่นชู้นั้นผิดและเป็นการชั่ว คือเป็นบาปต่อพระเจ้า. ในเวลาต่อมาจึงมีกฎหมายเยเนซิศ 39:1-9; เอ็กโซโด 20:14) เห็นได้ชัดว่า เราจะได้ประโยชน์มากทีเดียวถ้าสติรู้สึกผิดชอบของเราได้รับการฝึกให้ชี้แนะเราแทนที่จะเพียงตัดสินเรา. สติรู้สึกผิดชอบของคุณเป็นแบบนั้นไหม?
ห้ามเล่นชู้อย่างเฉพาะเจาะจงรวมอยู่ในพระบัญญัติสิบประการที่พระเจ้าประทานให้แก่ชาวอิสราเอล. (การฝึกสติรู้สึกผิดชอบให้ตัดสินใจอย่างถูกต้อง
แม้เราจะมีสติรู้สึกผิดชอบติดตัวมาแต่กำเนิด แต่น่าเสียดายที่สติรู้สึกผิดชอบนั้นบกพร่อง. แม้ว่าพระเจ้าทรงเตรียมการให้มนุษยชาติได้เริ่มต้นอย่างสมบูรณ์ แต่ “คนทั้งปวงได้ทำผิดทุกคน, และขาดการถวายเกียรติยศแก่พระเจ้า.” (โรม 3:23) เนื่องจากเรากลายเป็นคนบาปและไม่สมบูรณ์ สติรู้สึกผิดชอบของเราจึงอาจบิดเบือนและทำงานได้ไม่เต็มที่อย่างที่พระยะโฮวาทรงประสงค์แต่แรก. (โรม 7:18-23) นอกจากนั้น ปัจจัยภายนอกก็อาจมีผลกระทบต่อสติรู้สึกผิดชอบของเรา เช่น การอบรมเลี้ยงดูที่เราได้รับหรือธรรมเนียมประเพณี, ความเชื่อ, และสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น. แน่นอนว่า ศีลธรรมที่เสื่อมทรามและมาตรฐานของโลกที่ตกต่ำลงเรื่อย ๆ ไม่สามารถใช้เป็นมาตรฐานสำหรับสติรู้สึกผิดชอบที่ดีได้.
ดังนั้น คริสเตียนต้องมีมาตรฐานต่าง ๆ ที่มั่นคงและชอบธรรมซึ่งมีอยู่ในคัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระเจ้าคอยช่วยอีกแรงหนึ่ง. มาตรฐานเหล่านั้นสามารถชี้นำสติรู้สึกผิดชอบของเราให้ประเมินเรื่องต่าง ๆ อย่างถูกต้องและจัดการเรื่องเหล่านั้นให้เรียบร้อย. (2 ติโมเธียว 3:16, ล.ม.) เมื่อสติรู้สึกผิดชอบของเราได้รับการฝึกสอนตามมาตรฐานของพระเจ้า สติรู้สึกผิดชอบก็จะเป็นเครื่องมือป้องกันภัยทางศีลธรรมที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยเราให้ “สังเกตได้ว่าไหนดีไหนชั่ว.” (เฮ็บราย 5:14) หากไม่มีมาตรฐานของพระเจ้า สติรู้สึกผิดชอบของเราอาจไม่เตือนเราเมื่อเราหลงไปในทางชั่ว. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “มีทางหนึ่งซึ่งดูเหมือนบางคนเห็นว่าเป็นทางถูก; แต่ปลายทางนั้นเป็นทางแห่งความตาย.”—สุภาษิต 16:25; 17:20.
ในบางเรื่องของชีวิต พระคำของพระเจ้าให้คำแนะนำและการชี้แนะที่ชัดเจน และเราจะได้ประโยชน์หากทำตามคำชี้แนะเหล่านั้น. ในอีกด้านหนึ่ง มีหลายเรื่องที่คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้ให้คำแนะนำอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น การเลือกงานอาชีพ, เรื่องสุขภาพ, นันทนาการ, เสื้อผ้าและการแต่งกาย, และอื่น ๆ. ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะรู้ว่าควรทำอย่างไรและตัดสินใจอย่างถูกต้องในแต่ละกรณี. ฉะนั้น เราจึงควรมีเจตคติเหมือนดาวิด ซึ่งได้อธิษฐานว่า “ข้าแต่พระยะโฮวา, ขอทรงโปรดให้ข้าพเจ้ารู้ทางของพระองค์, ขอทรงฝึกสอนข้าพเจ้าให้ดำเนินในพระมรคาของพระองค์. ขอทรงแนะนำสอนข้าพเจ้าตามความสัตย์จริงของพระองค์; เพราะพระองค์เป็นพระเจ้าแห่งความรอดของข้าพเจ้า.” (บทเพลงสรรเสริญ 25:4, 5) ยิ่งเราเข้าใจทัศนะและวิถีทางของพระเจ้ามากเท่าไร ความสามารถของเราที่จะประเมินสถานการณ์อย่างถูกต้องและตัดสินใจด้วยสติรู้สึกผิดชอบที่สะอาดก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น.
โกโลซาย 3:18, 20); ซื่อสัตย์ในทุกสิ่ง (เฮ็บราย 13:18); เกลียดสิ่งที่ชั่ว (บทเพลงสรรเสริญ 97:10); แสวงหาสันติสุข (โรม 14:19); เชื่อฟังผู้มีอำนาจที่ถูกตั้งไว้ (มัดธาย 22:21; โรม 13:1-7); ความเลื่อมใสโดยเฉพาะแด่พระเจ้า (มัดธาย 4:10); ไม่เป็นส่วนของโลก (โยฮัน 17:14); หลีกเลี่ยงการคบหาสมาคมที่ไม่ดี (1 โกรินโธ 15:33); การแต่งกายที่สุภาพ (1 ติโมเธียว 2:9, 10); และไม่ทำให้คนอื่นสะดุด (ฟิลิปปอย 1:10, ล.ม.). การระบุได้ว่าหลักการในคัมภีร์ไบเบิลข้อไหนเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราเผชิญอยู่สามารถทำให้เรามีสติรู้สึกผิดชอบที่เข้มแข็งขึ้นและตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง.
ดังนั้น เมื่อเราเกิดความสงสัยหรือต้องตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก่อนอื่นเราควรคิดถึงหลักการในคัมภีร์ไบเบิลที่อาจใช้ได้. หลักการบางอย่างได้แก่: การนับถือตำแหน่งประมุข (จงฟังสติรู้สึกผิดชอบของคุณ
เพื่อที่สติรู้สึกผิดชอบของเราจะช่วยเราได้ เราต้องใส่ใจฟัง. สติรู้สึกผิดชอบที่ได้รับการฝึกตามหลักการในคัมภีร์ไบเบิลจะเป็นประโยชน์แก่เราก็ต่อเมื่อเราตอบรับทันทีต่อสัญญาณเตือน. เราอาจเปรียบสติรู้สึกผิดชอบที่ได้รับการฝึกกับไฟเตือนต่าง ๆ บนแผงหน้าปัดรถยนต์. สมมุติว่ามีไฟขึ้นเพื่อเตือนว่าความดันน้ำมันเครื่องอยู่ในระดับต่ำ. จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราไม่ใส่ใจสัญญาณเตือนนั้นทันทีและยังขับรถต่อไป? เราคงทำให้เครื่องยนต์เสียหายมากทีเดียว. ในทำนองเดียวกัน สติรู้สึกผิดชอบของเรา หรือเสียงที่อยู่ภายใน สามารถเตือนเราได้ว่าการกระทำบางอย่างเป็นเรื่องผิด. เมื่อเราเทียบดูมาตรฐานและค่านิยมตามหลักพระคัมภีร์กับสิ่งที่กำลังทำหรือคิดจะทำ สติรู้สึกผิดชอบของเราก็ส่งสัญญาณเตือน เหมือนกับไฟที่ขึ้นบนแผงหน้าปัด. การเอาใจใส่สัญญาณเตือนไม่เพียงช่วยเราให้หลีกเลี่ยงผลร้ายของการทำผิด แต่ยังช่วยให้สติรู้สึกผิดชอบของเราทำงานได้อย่างดีต่อไป.
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราเพิกเฉยต่อสัญญาณเตือน? สติรู้สึกผิดชอบของเราอาจค่อย ๆ ด้านชาไป. ผลของการเพิกเฉยหรือฝืนสติรู้สึกผิดชอบอยู่เรื่อย ๆ อาจเป็นเหมือนกับผลที่เกิดจากการเอาเหล็กร้อนไปนาบผิวหนัง. เนื้อเยื่อที่เป็นแผลเป็นซึ่งปลายประสาทถูกทำลายทั้งหมดจะไม่มีความรู้สึกใด ๆ อีกต่อไป. (1 ติโมเธียว 4:2) สติรู้สึกผิดชอบเช่นนั้นไม่ตอบสนองอีกต่อไปเมื่อมีการทำบาป อีกทั้งไม่ส่งสัญญาณเตือนเพื่อป้องกันการทำบาปซ้ำอีก. สติรู้สึกผิดชอบที่มีแผลเป็นและด้านชาจะไม่แยแสต่อมาตรฐานของคัมภีร์ไบเบิลในเรื่องสิ่งถูกผิด และดังนั้นจึงเป็นสติรู้สึกผิดชอบที่ใช้การไม่ได้. สติรู้สึกผิดชอบเช่นนี้มีมลทินไปแล้ว และผู้ที่มีสติรู้สึกผิดชอบเช่นนี้ก็ “ปราศจากความสำนึกด้านศีลธรรม” และเหินห่างจากพระเจ้า. (เอเฟโซ 4:17-19, ล.ม.; ติโต 1:15) ช่างเป็นผลที่น่าเศร้าอะไรเช่นนี้!
“รักษาสติรู้สึกผิดชอบอันดีไว้”
เพื่อจะรักษาสติรู้สึกผิดชอบที่ดีเอาไว้จำเป็นต้องมีความพยายามอย่างต่อเนื่อง. อัครสาวกเปาโลกล่าวว่า “ข้าพเจ้าอุสส่าห์ประพฤติตามที่ใจสังเกตเห็นว่าดีเสมอ, มิให้ผิดต่อกิจการ 24:16) ในฐานะคริสเตียน เปาโลตรวจสอบและแก้ไขการประพฤติของท่านเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ทำสิ่งใดให้พระเจ้าเคืองพระทัย. เปาโลทราบว่า ที่สุดแล้วพระเจ้าจะเป็นผู้ตัดสินว่าสิ่งที่เราทำนั้นถูกหรือผิด. (โรม 14:10-12; 1 โกรินโธ 4:4) เปาโลกล่าวว่า “สรรพสิ่งปรากฏแจ้งต่อพระเนตรของพระองค์ผู้ซึ่งเราต้องให้การ.”—เฮ็บราย 4:13.
พระเจ้าและต่อมนุษย์.” (เปาโลยังได้กล่าวถึงการไม่ทำให้มนุษย์ขุ่นเคืองด้วย. ตัวอย่างหนึ่งที่เหมาะคือ คำแนะนำที่ท่านให้กับคริสเตียนชาวโครินท์ในเรื่อง “การกินอาหารที่เขาได้บูชาแก่รูปเคารพ.” จุดสำคัญที่เปาโลต้องการพูดถึงก็คือ แม้เมื่อสิ่งที่เราทำในตัวมันเองจะไม่ผิดหลักการในพระคำของพระเจ้า แต่เราจำต้องคำนึงถึงสติรู้สึกผิดชอบของคนอื่น. หากไม่ทำเช่นนั้นเราอาจเป็นเหตุให้ ‘พวกพี่น้องซึ่งพระคริสต์ได้ทรงยอมวายพระชนม์เพื่อเขาต้องพินาศไป’ ในแง่ฝ่ายวิญญาณ. นอกจากนั้น เราอาจทำลายสัมพันธภาพของเราเองกับพระเจ้าด้วย.—1 โกรินโธ 8:4, 11-13, ฉบับแปลใหม่; 10:23, 24.
ดังนั้น จงฝึกสติรู้สึกผิดชอบของคุณต่อไปและรักษาสติรู้สึกผิดชอบที่ดีเอาไว้. จงมองหาการชี้นำจากพระเจ้าเมื่อจะตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ. (ยาโกโบ 1:5) จงศึกษาพระคำของพระเจ้า และยอมให้หลักการในพระคำนั้นนวดปั้นจิตใจและหัวใจของคุณ. (สุภาษิต 2:3-5) เมื่อมีเรื่องสำคัญที่ต้องตัดสินใจ จงปรึกษาคริสเตียนที่อาวุโส เพื่อทำให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจหลักการของคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นอย่างถูกต้อง. (สุภาษิต 12:15; โรม 14:1; ฆะลาเตีย 6:5) จงใคร่ครวญดูว่าการตัดสินใจของคุณจะมีผลกระทบต่อสติรู้สึกผิดชอบของคุณอย่างไร, การตัดสินใจนั้นจะมีผลต่อคนอื่นอย่างไร, และที่สำคัญที่สุด การตัดสินใจดังกล่าวจะมีผลอย่างไรต่อสัมพันธภาพของคุณกับพระยะโฮวา.—1 ติโมเธียว 1:5, 18, 19.
สติรู้สึกผิดชอบของเราเป็นของประทานที่ยอดเยี่ยมจากพระยะโฮวาพระเจ้า พระบิดาของเราในสวรรค์องค์เปี่ยมด้วยความรัก. เมื่อเราใช้สติรู้สึกผิดชอบอย่างที่ประสานกับพระทัยประสงค์ของผู้ที่ประทานให้ เราก็จะเข้าใกล้พระผู้สร้างของเรามากยิ่งขึ้น. ไม่ว่าจะทำสิ่งใด หากเราพยายาม “รักษาสติรู้สึกผิดชอบอันดี” เอาไว้ เราก็แสดงให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่าเราถูกสร้างตามแบบพระเจ้า.—1 เปโตร 3:16; โกโลซาย 3:10.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 3 คำภาษากรีกที่ได้รับการแปลว่าสติรู้สึกผิดชอบในที่นี้หมายถึง “ความสามารถในการวินิจฉัยด้านศีลธรรมซึ่งมีอยู่ภายใน” (พจนานุกรมภาษากรีกเชิงวิเคราะห์ฉบับปรับปรุง ของแฮโรลด์ เค. โมลตัน) “การแยกแยะระหว่างสิ่งถูกและผิดทางศีลธรรม.” พจนานุกรมกรีก-อังกฤษ โดย เจ. เอช. เทเยอร์.
[ภาพหน้า 13]
สติรู้สึกผิดชอบของคุณได้รับการฝึกให้ชี้นำคุณแทนที่จะเพียงตัดสินคุณไหม?
[ภาพหน้า 14]
สติรู้สึกผิดชอบที่ได้รับการฝึกอย่างดีเป็นผลจากการที่เราเรียนรู้หลักการของคัมภีร์ไบเบิลและนำไปใช้
[ภาพหน้า 15]
อย่าเพิกเฉยต่อสัญญาณเตือนของสติรู้สึกผิดชอบ