“จงเฝ้าระวังอยู่เสมอ”—ชั่วโมงแห่งการพิพากษามาถึงแล้ว!
“จงเฝ้าระวังอยู่เสมอ”—ชั่วโมงแห่งการพิพากษามาถึงแล้ว!
ข้อมูลในบทความศึกษานี้อาศัยจุลสารจงเฝ้าระวังอยู่เสมอ! ซึ่งออก ณ การประชุมภาคที่จัดขึ้นทั่วโลกระหว่างปี 2004 ถึง 2005.
“จงเฝ้าระวังอยู่เสมอ เพราะท่านไม่รู้ว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าของท่านจะเสด็จมาวันใด.” —มัดธาย 24:42, ล.ม.
1, 2. พระเยซูเปรียบการเสด็จมาของพระองค์เหมือนกับอะไรอย่างเหมาะเจาะ?
คุณจะทำเช่นไรถ้ารู้ว่ามีขโมยย่องขึ้นบ้านเพื่อนบ้านของคุณไปแล้วหลายหลัง? เพื่อปกป้องคนที่คุณรักและทรัพย์สิน คุณคงจะตื่นตัวและเฝ้าระวัง. คุณทำอย่างนั้นก็เพราะขโมยจะไม่ส่งใบแจ้งล่วงหน้าว่าเขาจะมาในเวลาใด. ตรงกันข้าม ขโมยจะมาอย่างเงียบเชียบในเวลาที่ไม่คาดคิด.
2 มีหลายครั้งที่พระเยซูนำวิธีทำงานของขโมยมาเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ. (ลูกา 10:30; โยฮัน 10:10) เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นระหว่างสมัยสุดท้ายและที่จะเกิดขึ้นก่อนการเสด็จมาสำเร็จโทษตามการพิพากษา พระเยซูให้คำเตือนดังนี้: “เหตุฉะนั้น จงเฝ้าระวังอยู่ เพราะท่านไม่รู้ว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าของท่านจะเสด็จมาเวลาไหน. แต่ให้เข้าใจอย่างนี้ว่า, ถ้าเจ้าของบ้านล่วงรู้ได้ว่าขโมยจะมายามไหน. เขาจะเฝ้าระวังไว้. ไม่ให้ตัดฝาเรือนของเขาได้.” (มัดธาย 24:42, 43) ดังนั้น พระเยซูเปรียบการเสด็จมาของพระองค์เหมือนกับการมาของขโมย คือมาในเวลาที่ไม่คาดคิด.
3, 4. (ก) การเชื่อฟังคำเตือนของพระเยซูเกี่ยวกับการเสด็จมาของพระองค์เกี่ยวข้องกับการทำอะไร? (ข) เกิดคำถามอะไรขึ้น?
3 การเปรียบเช่นนี้นับว่าเหมาะ เนื่องจากจะไม่มีใครรู้เวลาที่แน่นอนที่พระเยซูจะเสด็จมา. ก่อนหน้านั้นในคำพยากรณ์เดียวกันนี้ พระเยซูตรัสว่า “วันนั้นโมงนั้นไม่มีผู้ใดรู้. ถึงทูตสวรรค์หรือพระบุตรก็ไม่รู้. รู้แต่พระบิดาองค์เดียว.” (มัดธาย 24:36) ด้วยเหตุนี้ พระเยซูจึงเตือนผู้ฟังของพระองค์ว่า “จงเตรียมตัวไว้ให้พร้อม.” (มัดธาย 24:44) ผู้ที่เชื่อฟังคำเตือนของพระเยซูจะเตรียมพร้อมเสมอ มีความประพฤติอย่างเหมาะสม ไม่ว่าในเวลาใดก็ตาม ที่พระองค์จะเสด็จมาในฐานะตัวแทนของพระยะโฮวาเพื่อสำเร็จโทษตามคำพิพากษาของพระบิดา.
4 เกิดบางคำถามที่สำคัญขึ้นมาว่า คำเตือนของพระเยซูนี้เป็นคำเตือนสำหรับผู้คนทั่วไปในโลกเท่านั้นไหม หรือว่าคริสเตียนแท้ก็จำเป็นต้อง “เฝ้าระวังอยู่เสมอ” ด้วย? ทำไมเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้อง “เฝ้าระวังอยู่เสมอ” และเราจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร?
คำเตือนสำหรับใคร?
5. เรารู้ได้อย่างไรว่าคำเตือนที่ให้ “เฝ้าระวังอยู่เสมอ” นั้นเป็นคำเตือนที่ให้แก่คริสเตียนแท้?
5 เป็นความจริงอย่างแน่นอนว่า การเสด็จมาขององค์พระผู้เป็นเจ้าจะเป็นเหมือนกับการมาของขโมยสำหรับผู้คนในโลก ซึ่งปิดหูไม่ยอมฟังคำเตือนเกี่ยวกับความหายนะที่กำลังจะมาถึง. (2 เปโตร 3:3-7) แต่จะเป็นเช่นนั้นสำหรับคริสเตียนแท้ไหม? อัครสาวกเปาโลเขียนถึงเพื่อนร่วมความเชื่อว่า “ท่านทั้งหลายเองก็รู้ดีแล้วว่า วันของพระยะโฮวาจะมาเหมือนขโมยทีเดียวที่มาในเวลากลางคืน.” (1 เธซะโลนิเก 5:2, ล.ม.) เราไม่เคยคิดสงสัยเลยว่า “วันของพระยะโฮวาจะมา” หรือไม่. แต่นี่ทำให้ความจำเป็นสำหรับเราที่จะเฝ้าระวังอยู่เสมอลดลงไปไหม? ขอสังเกตว่า กับสาวกของพระองค์นั่นเองที่พระเยซูตรัสว่า “ในโมงที่ท่าน ไม่ทันคิดนั้น บุตรมนุษย์จะเสด็จมา.” (มัดธาย 24:44) ก่อนหน้านั้น เมื่อสนับสนุนสาวกของพระองค์ให้แสวงหาราชอาณาจักรของ พระเจ้าเรื่อยไป พระเยซูเตือนว่า “จงเตรียมตัวไว้ให้พร้อมด้วย, เพราะบุตรมนุษย์จะเสด็จมาในโมงที่ท่าน ไม่ทันคิด.” (ลูกา 12:31, 40) เห็นได้ชัดมิใช่หรือว่าพระเยซูนึกถึงสาวกของพระองค์เมื่อเตือนว่า “จงเฝ้าระวังอยู่เสมอ”?
6. ทำไมเราจำเป็นต้อง “เฝ้าระวังอยู่เสมอ”?
6 ทำไมเราจำเป็นต้อง “เฝ้าระวังอยู่เสมอ” และ “เตรียมตัวไว้ให้พร้อม”? พระเยซูชี้แจงว่า “ชายสองคนอยู่ที่ทุ่งนา: จะถูกเอาไปคนหนึ่ง ละไว้คนหนึ่ง; หญิงสองคนโม่แป้งอยู่ที่โรงโม่: จะถูกเอาไปคนหนึ่ง ละไว้คนหนึ่ง.” (มัดธาย 24:40, 41) คนที่เตรียมพร้อมไว้เสมอจะ “ถูกเอาไป” หรือรอดชีวิตเมื่อโลกที่ไม่เลื่อมใสพระเจ้าถูกทำลาย. ส่วนคนอื่น ๆ จะถูก “ละไว้” สำหรับความพินาศ เนื่องจากพวกเขาดำเนินชีวิตตามแนวทางของตนเองอย่างเห็นแก่ตัว. คนเหล่านี้น่าจะรวมไปถึงผู้ที่ครั้งหนึ่งเคยรู้จักความจริง แต่ไม่ได้เฝ้าระวังอยู่เสมอ.
7. การไม่รู้ว่าอวสานจะมาเมื่อไรนั้นเปิดโอกาสให้เราสามารถทำอะไร?
7 การไม่รู้วันเวลาที่แน่ชัดของอวสานแห่งระบบเก่านี้ทำให้เรามีโอกาสแสดงให้เห็นว่าเรารับใช้พระเจ้าด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์. ทำไมจึงกล่าวอย่างนั้นได้? อาจจะดูเหมือนว่าอีกนานกว่าอวสานจะมาถึง. น่าเสียดาย คริสเตียนบางคนที่รู้สึกเช่นนั้นได้ปล่อยให้ความมีใจแรงกล้าในการรับใช้พระยะโฮวาลดน้อยลง. กระนั้น โดยการอุทิศตัว เราได้เต็มใจเสนอตัวเราเองแด่พระยะโฮวาเพื่อรับใช้พระองค์อย่างไม่มีเงื่อนไข. ผู้ที่รู้จักพระยะโฮวาตระหนักดีว่าการสำแดงความมีใจแรงกล้าในนาทีสุดท้ายจะไม่ได้ทำให้พระองค์ประทับใจ. พระองค์ทรงเห็นสิ่งที่อยู่ในหัวใจ.—1 ซามูเอล 16:7.
8. ความรักต่อพระยะโฮวากระตุ้นเราอย่างไรให้เฝ้าระวังอยู่เสมอ?
8 เนื่องจากเรารักพระยะโฮวาอย่างแท้จริง เราจึงยินดีอย่างยิ่งที่จะกระทำตามพระทัยประสงค์ของพระองค์. (บทเพลงสรรเสริญ 40:8; มัดธาย 26:39) และเราต้องการรับใช้พระยะโฮวาตลอดไป. ความหวังดังกล่าวมิได้มีค่าน้อยลงไปเพียงเพราะเราต้องคอยท่านานกว่าที่เราอาจได้คาดหมายอยู่สักหน่อย. สำคัญยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด ที่เราเฝ้าระวังอยู่เสมอก็เนื่องจากสิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันของพระยะโฮวาจะเป็นเหตุการณ์สำคัญในการทำให้พระประสงค์ของพระองค์บรรลุผลสำเร็จ. ความปรารถนาจากใจจริงเพื่อจะเป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้ากระตุ้นเราให้นำคำแนะนำจากพระคำของพระองค์มาใช้ และจัดให้ราชอาณาจักรของพระองค์อยู่อันดับแรกในชีวิต. (มัดธาย 6:33; 1 โยฮัน 5:3) ให้เรามาพิจารณากันว่าการเฝ้าระวังอยู่เสมอควรมีผลกระทบต่อการตัดสินใจและวิธีที่เราดำเนินชีวิตในแต่ละวันอย่างไร.
ชีวิตคุณกำลังมุ่งไปทางไหน?
9. ทำไมจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ผู้คนในโลกจะต้องเข้าใจถึงความหมายของสภาพการณ์ในยุคสมัยของเรา?
9 ผู้คนมากมายในทุกวันนี้ยอมรับว่าปัญหาที่ร้ายแรงและเหตุการณ์ที่ทำให้ตกตะลึงได้กลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ และพวกเขาอาจไม่พอใจกับแนวทางชีวิตที่ตนดำเนินอยู่. แต่พวกเขารู้ความหมายที่แท้จริงของสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกไหม? พวกเขารู้ไหมว่าเรากำลังมีชีวิตอยู่ใน “ช่วงอวสานของระบบ”? (มัดธาย 24:3, ล.ม.) พวกเขามองออกไหมว่าความเห็นแก่ตัว, ความรุนแรง, กระทั่งเจตคติที่ไม่เลื่อมใสพระเจ้าซึ่งมีอยู่แพร่หลายนั้น เป็นหมายสำคัญที่แสดงว่ายุคนี้เป็น “สมัยสุดท้าย”? (2 ติโมเธียว 3:1-5, ล.ม.) เป็นเรื่องเร่งด่วนที่พวกเขาจำเป็นต้องเข้าใจถึงความหมายของเหตุการณ์ทั้งปวงนี้ และไตร่ตรองว่าชีวิตของตนกำลังมุ่งไปทางไหน.
10. เราต้องทำอะไรเพื่อจะแน่ใจว่าเรากำลังเฝ้าระวังอยู่?
10 แล้วเราล่ะ? ทุกวันเราเผชิญการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีพ, สุขภาพ, ครอบครัว, และการนมัสการของเรา. เราทราบสิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าว และพยายามดำเนินชีวิตตามนั้น. ฉะนั้น เราควรถามตัวเองว่า ‘ฉันปล่อยให้ความกังวลในชีวิตมาทำให้ฉันเขวออกไปไหม? ฉันให้ปรัชญาหรือแนวความคิดแบบโลกกำหนดสิ่งที่ฉันเลือกไหม?’ (ลูกา 21:34-36; โกโลซาย 2:8) เราต้องแสดงให้เห็นเรื่อยไปว่าเราวางใจพระยะโฮวาด้วยสุดหัวใจของเราและไม่พึ่งความเข้าใจของเราเอง. (สุภาษิต 3:5) โดยวิธีนี้ เราจะ “ยึดเอาชีวิตแท้ให้มั่น”—ชีวิตนิรันดร์ในโลกใหม่ของพระเจ้า.—1 ติโมเธียว 6:12, 19, ล.ม.
11-13. เราเรียนรู้อะไรได้จากตัวอย่างต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (ก) ในสมัยของโนฮา? (ข) ในสมัยของโลต?
11 คัมภีร์ไบเบิลมีตัวอย่างเตือนใจมากมายที่ช่วยให้เรา2 เปโตร 2:5) ในเรื่องนี้ พระเยซูตรัสว่า “ด้วยสมัยของโนฮาเป็นอย่างไร การประทับของบุตรมนุษย์ก็จะเป็นอย่างนั้น. เพราะผู้คนในสมัยก่อนน้ำท่วมเป็นเช่นไร คือกินและดื่ม ผู้ชายทำการสมรสและผู้หญิงถูกยกให้เป็นภรรยา จนถึงวันที่โนฮาเข้าในนาวา; และพวกเขาไม่แยแสจนกระทั่งน้ำมาท่วมและกวาดล้างเขาไปเสียสิ้นฉันใด การประทับของบุตรมนุษย์ก็จะเป็นฉันนั้น.” (มัดธาย 24:37-39, ล.ม.) เราเรียนอะไรได้จากเรื่องนี้? หากเราคนใดคนหนึ่งยอมให้ความกังวลในชีวิตประจำวัน—แม้แต่กิจกรรมในชีวิตตามปกติ—มาทำให้เราไม่มีเวลาและกำลังพอสำหรับการทำกิจกรรมฝ่ายวิญญาณที่พระเจ้าทรงกระตุ้นเราให้จัดไว้ในอันดับแรกเสมอแล้วละก็ เราต้องคิดอย่างจริงจังถึงสภาพการณ์ของเรา.—โรม 14:17.
เฝ้าระวังอยู่เสมอ. ขอพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยโนฮา. พระเจ้าทรงจัดให้มีการประกาศคำเตือนล่วงหน้านานพอ. แต่นอกจากโนฮากับครอบครัวแล้ว ผู้คนต่างไม่แยแส. (12 ขอให้พิจารณาสิ่งที่ได้เกิดขึ้นในสมัยของโลตด้วย. เมืองโซโดมที่โลตกับครอบครัวอาศัยอยู่ มีความเจริญมั่งคั่งทางด้านวัตถุ แต่ไร้ศีลธรรม. พระยะโฮวาทรงส่งทูตสวรรค์ไปทำลายเมืองนั้น. ทูตสวรรค์เร่งเร้าโลตและครอบครัวให้หนีออกจากเมืองโซโดมและไม่ให้หันกลับไปมอง. ด้วยการกระตุ้นจากทูตสวรรค์ พวกเขาได้ออกจากเมืองไปจริง ๆ. แต่ภรรยาโลตดูเหมือนยังอาลัยอาวรณ์บ้านของเธอในเมืองโซโดม. เธอไม่เชื่อฟังและหันกลับไปมอง จึงทำให้เธอเสียชีวิต. (เยเนซิศ 19:15-26) พระเยซูทรงเตือนเราเกี่ยวกับอนาคตของเราโดยกล่าวว่า “จงระลึกถึงภรรยาของโลตนั้นเถิด.” เราปฏิบัติตามคำเตือนนี้อยู่ไหม?—ลูกา 17:32.
13 ผู้ที่เชื่อฟังคำเตือนของพระเจ้าได้รับการคุ้มครองให้รอดชีวิต. เป็นอย่างนั้นกับโนฮาและครอบครัวรวมทั้งโลตกับบุตรสาว. (2 เปโตร 2:9) ขณะที่เราใคร่ครวญคำเตือนในตัวอย่างเหล่านี้ เราก็ได้รับการหนุนใจเช่นกันจากข่าวสารเรื่องการช่วยให้รอดที่มีอยู่ในคำเตือนดังกล่าวสำหรับผู้รักความชอบธรรม. นั่นทำให้เรามีความหวังที่แน่นอนที่จะได้เห็นคำสัญญาของพระเจ้าสำเร็จเป็นจริงในเรื่อง ‘ท้องฟ้าใหม่และแผ่นดินโลกใหม่’ ที่ซึ่ง “ความชอบธรรมจะดำรงอยู่.”—2 เปโตร 3:13.
‘ชั่วโมงแห่งการพิพากษามาถึงแล้ว’!
14, 15. (ก) มีอะไรบ้างรวมอยู่ใน “ชั่วโมง” แห่งการพิพากษา? (ข) ‘การเกรงกลัวพระเจ้าและถวายเกียรติแด่พระองค์’ หมายรวมถึงอะไรบ้าง?
14 ขณะที่เราเฝ้าระวังอยู่เสมอ เราคาดหมายอะไรได้? พระธรรมวิวรณ์แสดงให้เห็นคร่าว ๆ ว่าพระประสงค์ของพระเจ้าจะสำเร็จเป็นจริงเป็นขั้น ๆ อย่างไร. การทำตามสิ่งที่กล่าวในพระธรรมนั้นนับว่าสำคัญยิ่งหากเราจะพิสูจน์ตัวอยู่พร้อม. คำพยากรณ์นี้ให้ภาพล่วงหน้าอย่างชัดเจนถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นใน “วันขององค์พระผู้เป็นเจ้า” ซึ่งเริ่มตั้งแต่พระคริสต์ขึ้นครองราชย์ในสวรรค์เมื่อปี 1914. (วิวรณ์ 1:10) พระธรรมวิวรณ์นำความสนใจของเราไปยังทูตสวรรค์องค์หนึ่งซึ่งได้รับมอบให้ประกาศ “ข่าวดีนิรันดร์.” ทูตสวรรค์องค์นี้ประกาศด้วยเสียงดังว่า “จงเกรงกลัวพระเจ้าและถวายเกียรติแด่พระองค์ เพราะชั่วโมงแห่งการพิพากษาโดยพระองค์มาถึงแล้ว.” (วิวรณ์ 14:6, 7, ล.ม.) “ชั่วโมง” แห่งการพิพากษานั้นเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งจะมีทั้งการประกาศคำพิพากษาและการสำเร็จโทษตามการพิพากษาตามที่พรรณนาไว้ในคำพยากรณ์นั้น. ขณะนี้เรากำลังมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว.
15 บัดนี้ ก่อนที่ชั่วโมงแห่งการพิพากษาจะจบลง เราได้รับการกระตุ้นว่า “จงเกรงกลัวพระเจ้าและถวายเกียรติแด่พระองค์.” การทำเช่นนี้หมายรวมถึงอะไรบ้าง? ความเกรงสุภาษิต 8:13) หากเราถวายเกียรติพระเจ้า เราจะเชื่อฟังพระองค์ด้วยความนับถืออย่างยิ่ง. เราจะไม่หมกมุ่นเกินไปกับกิจกรรมอื่น ๆ จนละเลยการอ่านคัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระองค์เป็นประจำ. เราจะไม่ดูเบาคำแนะนำของพระองค์ที่ให้เข้าร่วมการประชุมคริสเตียน. (เฮ็บราย 10:24, 25) เราจะทะนุถนอมสิทธิพิเศษที่จะประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรมาซีฮาของพระเจ้า และจะประกาศด้วยใจแรงกล้า. เราจะวางใจพระยะโฮวาทุกเวลาและด้วยสุดหัวใจของเรา. (บทเพลงสรรเสริญ 62:8) เนื่องจากยอมรับว่าพระยะโฮวาทรงเป็นองค์บรมมหิศรแห่งเอกภพ เราจึงถวายเกียรติแด่พระองค์ด้วยการเต็มใจยอมอยู่ใต้อำนาจพระองค์ฐานะผู้มีสิทธิ์จะปกครองชีวิตเรา. คุณเกรงกลัวพระเจ้าและถวายเกียรติแด่พระองค์ในวิธีต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาทั้งหมดอย่างแท้จริงไหม?
กลัวอย่างเหมาะสมต่อพระเจ้าน่าจะทำให้เราหันหนีจากความชั่ว. (16. ทำไมจึงกล่าวได้ว่าการพิพากษาบาบิโลนใหญ่ตามที่กล่าวในวิวรณ์ 14:8 นั้นได้เกิดขึ้นแล้ว?
16 พระธรรมวิวรณ์บท 14 พรรณนาต่อไปถึงเหตุการณ์อื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในชั่วโมงแห่งการพิพากษา. บาบิโลนใหญ่ จักรวรรดิโลกแห่งศาสนาเท็จ ได้รับการกล่าวถึงก่อนดังนี้: “มีทูตสวรรค์อีกองค์หนึ่งเป็นองค์ที่สองตามไปประกาศว่า, ‘เมืองบาบูโลนอันใหญ่นั้นล่มจมเสียแล้ว, ล่มจมเสียแล้ว.’ ” (วิวรณ์ 14:8) ใช่แล้ว ในมุมมองของพระเจ้า บาบิโลนใหญ่ได้ล่มจมแล้ว. ในปี 1919 ผู้รับใช้ที่ได้รับการเจิมของพระยะโฮวาได้รับการช่วยให้หลุดพ้นจากคำสอนและกิจปฏิบัติแบบบาบิโลน ซึ่งครอบงำชนชาติต่าง ๆ มาเป็นเวลาหลายพันปี. (วิวรณ์ 17:1, 15) ตั้งแต่เวลานั้น พวกเขาจึงสามารถถวายตัวเพื่อส่งเสริมการนมัสการแท้ได้. มีการประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าไปตลอดทั่วโลกนับแต่นั้นเป็นต้นมา.—มัดธาย 24:14.
17. เพื่อจะออกจากบาบิโลนใหญ่เราต้องทำอะไรบ้าง?
17 การพิพากษาของพระเจ้าต่อบาบิโลนใหญ่ไม่ได้จบแค่นั้น. พินาศกรรมขั้นสุดท้ายของเมืองนี้จะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้า. (วิวรณ์ 18:21) ด้วยเหตุผลที่ดี คัมภีร์ไบเบิลกระตุ้นผู้คนทุกหนแห่งว่า “จงออกมาจากเมืองนั้น [บาบิโลนใหญ่] เถิด, เพื่อท่านทั้งหลายจะไม่ได้มีส่วนในการบาปของเมืองนั้น.” (วิวรณ์ 18:4, 5) เราออกจากเมืองบาบิโลนใหญ่โดยวิธีใด? นี่ไม่ได้หมายถึงเพียงแต่ตัดขาดความเกี่ยวพันใด ๆ กับศาสนาเท็จ. อิทธิพลแบบบาบิโลนมีอยู่ในการเฉลิมฉลองและธรรมเนียมอันเป็นที่นิยมหลายอย่าง, ในเจตคติของผู้คนในโลกที่ปล่อยตามอำเภอใจในเรื่องเพศ, ในความบันเทิงที่เกี่ยวข้องกับลัทธิผีปิศาจซึ่งเป็นที่นิยมมากขึ้น, และอีกหลายอย่าง. เพื่อจะเฝ้าระวังอยู่เสมอ นับว่าสำคัญยิ่งที่เราต้องให้หลักฐานที่แสดงว่าเราแยกตัวจากบาบิโลนใหญ่ในทุก ๆ ทางอย่างแท้จริง ทั้งในการกระทำและความปรารถนาในหัวใจของเรา.
18. เมื่อคำนึงถึงสิ่งที่กล่าวไว้ที่วิวรณ์ 14:9, 10 คริสเตียนที่ตื่นตัวจะระวังในเรื่องใด?
18 ที่วิวรณ์ 14:9, 10 (ล.ม.) มีการกล่าวถึง “ชั่วโมงแห่งการพิพากษา” ในอีกแง่มุมหนึ่ง. ทูตสวรรค์อีกองค์หนึ่งกล่าวว่า “ถ้าผู้ใดนมัสการสัตว์ร้ายและรูปของมัน และได้รับเครื่องหมายที่หน้าผากหรือที่มือ เขาก็จะดื่มเหล้าองุ่นแห่งพระพิโรธของพระเจ้า.” เพราะเหตุใด? “สัตว์ร้ายและรูปของมัน” เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการปกครองโดยมนุษย์ที่ไม่ยอมรับสิทธิในการปกครองของพระยะโฮวา. คริสเตียนที่ตื่นตัวจะระวังไม่ยอมให้ตนเองถูกชักจูงหรือรับเอาเครื่องหมาย ไม่ว่าจะโดยทางทัศนคติหรือการกระทำ ซึ่งเป็นการแสดงว่าเขาเป็นทาสของผู้คนที่ไม่ยอมรับสิทธิในการปกครองสูงสุดของพระยะโฮวาพระเจ้าองค์เที่ยงแท้. คริสเตียนรู้ว่าราชอาณาจักรของพระเจ้าได้ตั้งขึ้นแล้วในสวรรค์ และจะทำให้การปกครองทั้งสิ้นของมนุษย์หมดสิ้นไป และราชอาณาจักรนี้จะดำรงอยู่ตลอดไป.—ดานิเอล 2:44.
อย่าสูญเสียความสำนึกถึงความเร่งด่วน!
19, 20. (ก) ขณะที่เราเข้าใกล้อวสานของสมัยสุดท้ายเข้าไปทุกขณะ เราแน่ใจได้เลยว่าซาตานจะพยายามทำอะไร? (ข) เราควรตั้งใจที่จะทำอะไร?
19 ขณะที่เราเข้าใกล้อวสานของสมัยสุดท้ายเข้าไปทุกขณะ ความกดดันและการล่อใจก็มีแต่จะเพิ่มทวีขึ้น. ตราบใดที่เรามีชีวิตอยู่ในระบบเก่านี้และเผชิญปัญหาจากความไม่สมบูรณ์ของตัวเอง เราย่อมได้รับผลกระทบจากสิ่งต่าง ๆ เช่น สุขภาพที่เสื่อมถอย, วัยชรา, การสูญเสียผู้เป็นที่รัก, ความรู้สึกเจ็บใจหรือขุ่นเคืองใจ, ความผิดหวังเมื่อพยายามประกาศพระคำของพระเจ้าแต่ผู้คนไม่แยแส, และอื่น ๆ อีกมากมาย. อย่าลืมว่าซาตานอยากจะฉกฉวยประโยชน์จากความกดดันต่าง ๆ ที่เราเผชิญเพื่อทำให้เราเลิก—ไม่ว่าเลิกประกาศข่าวดี หรือเลิกดำเนินชีวิตตามมาตรฐานของพระเจ้า. (เอเฟโซ 6:11-13) นี่ไม่ใช่เวลาที่จะสูญเสียความสำนึกถึงความเร่งด่วนเมื่อคำนึงถึงยุคสมัยที่เรามีชีวิตอยู่!
20 พระเยซูรู้ว่าเราจะประสบความกดดันมากมายให้เลิกรา พระองค์จึงแนะนำดังนี้: “จงเฝ้าระวังอยู่เสมอ, เพราะท่านไม่รู้ว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าของท่านจะเสด็จมาวนใด.” (มัดธาย 24:42, ล.ม.) ฉะนั้น ขอให้เราตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาว่าเรากำลังอยู่ช่วงไหนของกระแสเวลา. ขอให้เราระวังกลอุบายของซาตานที่จะทำให้เราเฉื่อยลงหรือเลิกรา. ขอให้เราตั้งใจที่จะประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าด้วยใจแรงกล้าและด้วยความมุ่งมั่นยิ่ง ๆ ขึ้น. ใช่แล้ว ขอให้เราสำนึกถึงความเร่งด่วนอยู่เสมอขณะที่เราใส่ใจคำเตือนของพระเยซูที่ให้ “เฝ้าระวังอยู่เสมอ.” โดยการทำเช่นนี้ เราจะนำพระเกียรติมาสู่พระยะโฮวา และจะอยู่ในหมู่คนที่มีความหวังจะได้รับพระพรชั่วนิรันดร์จากพระองค์.
คุณจะตอบอย่างไร?
• เรารู้ได้อย่างไรว่าคำเตือนของพระเยซูที่ให้ “เฝ้าระวังอยู่เสมอ” เป็นคำเตือนที่ให้แก่คริสเตียนแท้?
• ตัวอย่างเตือนใจอะไรบ้างในคัมภีร์ไบเบิลสามารถช่วยเราให้ “เฝ้าระวังอยู่เสมอ”?
• ชั่วโมงแห่งการพิพากษาคืออะไร และเราได้รับการกระตุ้นให้ทำอะไรก่อนช่วงเวลานั้นจะจบลง?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 23]
พระเยซูเปรียบการเสด็จมาของพระองค์เหมือนกับการมาของขโมย
[ภาพหน้า 24]
พินาศกรรมของบาบิโลนใหญ่ใกล้เข้ามาแล้ว
[ภาพหน้า 25]
ให้เราตั้งใจที่จะประกาศด้วยใจแรงกล้าและด้วยความมุ่งมั่นยิ่ง ๆ ขึ้น