จงระวังการกลายเป็นคนที่มีใจเย่อหยิ่ง
จงระวังการกลายเป็นคนที่มีใจเย่อหยิ่ง
“พระเจ้าทรงต่อสู้ผู้ที่หยิ่งจองหอง.”—ยาโกโบ 4:6.
1. จงยกตัวอย่างความรู้สึกภูมิใจอย่างที่เหมาะสม?
เคยมีเหตุการณ์อะไรที่ทำให้หัวใจคุณพองโตด้วยความภูมิใจไหม? พวกเราส่วนใหญ่เคยประสบความรู้สึกที่น่ายินดีเช่นนั้นมาแล้ว. การที่เรารู้สึกภูมิใจอยู่บ้างนั้นไม่มีอะไรผิด. ตัวอย่างเช่น เมื่อสามีภรรยาคริสเตียนคู่หนึ่งอ่านรายงานจากโรงเรียนเกี่ยวกับความประพฤติที่เรียบร้อยและความขยันเรียนของลูกสาว ใบหน้าของทั้งสองดูอิ่มเอิบด้วยความรู้สึกพอใจยินดีในสิ่งที่ลูกได้ทำ. อัครสาวกเปาโลกับเพื่อนร่วมเดินทางของท่านภูมิใจในประชาคมใหม่ที่พวกเขาได้ช่วยกันก่อตั้งมา เนื่องจากพี่น้องที่นั่นอดทนการข่มเหงอย่างซื่อสัตย์.—1 เธซะโลนิเก 1:1, 6; 2:19, 20; 2 เธซะโลนิเก 1:1, 4.
2. เพราะเหตุใดความรู้สึกภูมิใจมักจะไม่เป็นที่พึงปรารถนา?
2 จากตัวอย่างข้างต้น เราเห็นได้ว่าความภูมิใจอาจเป็นการบ่งบอกถึงความรู้สึกยินดีที่มาจากการกระทำบางอย่างหรือการเป็นเจ้าของอะไรบางสิ่ง. แต่บ่อยครั้ง ความภูมิใจสะท้อนถึงการยกตัวเองอย่างไม่สมควร รู้สึกว่าตัวเหนือกว่าเพราะมีความสามารถ, รูปร่างหน้าตา, ทรัพย์สมบัติ, หรือฐานะในสังคมดีกว่าคนอื่น. บ่อยครั้งแสดงออกมาด้วยท่าทีหยิ่งทะนง. ความทะนงตนอย่างนั้นเป็นสิ่งที่เราในฐานะคริสเตียนต้องระวังอย่างแน่นอน. เพราะเหตุใด? เพราะเรามีแนวโน้มในทางเห็นแก่ตัวมาแต่กำเนิดซึ่งตกทอดมาจากอาดามบรรพบุรุษของเรา. (เยเนซิศ 8:21) ด้วยเหตุนี้ หัวใจของเราสามารถชักจูงเราได้อย่างง่ายดายให้มีความรู้สึกภูมิใจอย่างไม่เหมาะสม. ตัวอย่างเช่น คริสเตียนต้องต้านทานความรู้สึกภูมิใจในเชื้อชาติ, ความมั่งคั่ง, การศึกษา, ความสามารถที่มีมาแต่กำเนิด, หรือประสิทธิภาพในการทำงานของตนเมื่อเทียบกับคนอื่น ๆ. ความภูมิใจอันเนื่องมาจากสิ่งเหล่านี้ไม่เหมาะสมและไม่เป็นที่พอพระทัยพระยะโฮวา.—ยิระมะยา 9:23; กิจการ 10:34, 35; 1 โกรินโธ 4:7; ฆะลาเตีย 5:26; 6:3, 4.
3. ความเย่อหยิ่งคืออะไร และพระเยซูกล่าวเช่นไรเกี่ยวกับเรื่องนี้?
3 ยังมีเหตุผลอื่นอีกที่เราควรต้านทานความรู้สึกภูมิใจอย่างไม่สมควร. ถ้าเราปล่อยให้ความรู้สึกดังกล่าวเติบโตขึ้นในหัวใจ ความรู้สึกนั้นก็อาจพัฒนาไปเป็นความเย่อหยิ่ง ซึ่งเป็นความภูมิใจรูปแบบหนึ่งที่น่ารังเกียจอย่างยิ่ง. ความเย่อหยิ่งคืออะไร? นอกจากจะรู้สึกว่าเหนือกว่าแล้ว คนที่เย่อหยิ่งยังดูถูกดูแคลนคนอื่น ๆ ที่เขาถือว่าด้อยกว่า. (ลูกา 18:9; โยฮัน 7:47-49) พระเยซูจัด “ความเย่อหยิ่ง” ไว้ด้วยกันกับอุปนิสัยที่ไม่ดี ซึ่งออกมา “จากใจมนุษย์” และ “ทำให้มนุษย์เป็นมลทิน.” (มาระโก 7:20-23, ฉบับแปลใหม่) คริสเตียนตระหนักว่าสำคัญมากสักเพียงไรที่จะหลีกเลี่ยงการกลายเป็นคนที่มีใจเย่อหยิ่ง.
4. การพิจารณาตัวอย่างในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับความเย่อหยิ่งจะช่วยเราได้อย่างไร?
4 สิ่งที่จะช่วยคุณหลีกเลี่ยงการเป็นคนเย่อหยิ่งคือการพิจารณาเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับผู้ที่หยิ่งยโส. โดยการทำเช่นนั้น คุณจะมีความสามารถมากขึ้นที่จะตรวจพบความรู้สึกภูมิใจที่ไม่เหมาะสมซึ่งอาจมีอยู่ในตัวคุณหรืออาจจะเกิดขึ้นในภายหลัง. นี่จะช่วยคุณขจัดความคิดหรือความซะฟันยา 3:11.
รู้สึกที่อาจนำไปสู่การมีใจเย่อหยิ่ง. ผลคือ คุณจะไม่ได้รับผลร้ายเมื่อพระเจ้าดำเนินการตามคำเตือนของพระองค์ที่ว่า “เราจะเอาบรรดาคนที่เย่อหยิ่งอวดอ้างไปเสียจากท่ามกลางท่านทั้งหลาย, แลท่านจะเป็นคนจองหองต่อไปอีกในภูเขาอันบริสุทธิ์ของเราก็หามิได้.”—พระเจ้าลงมือจัดการกับผู้เย่อหยิ่ง
5, 6. ฟาโรห์แสดงความหยิ่งทะนงอย่างไร และผลเป็นเช่นไร?
5 คุณยังเห็นทัศนะของพระยะโฮวาต่อความเย่อหยิ่งได้ด้วยจากวิธีที่พระองค์จัดการกับผู้ปกครองที่ทรงอำนาจ เช่น ฟาโรห์. ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าฟาโรห์มีใจหยิ่งทะนง. เนื่องจากถือว่าตัวเองเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งที่ต้องได้รับการนมัสการ เขาจึงดูถูกดูแคลนชาวอิสราเอล ทาสของเขา. ขอพิจารณาปฏิกิริยาของเขาต่อคำขอให้ปล่อยชาวอิสราเอลไป “เลี้ยงนมัสการ” พระยะโฮวาในถิ่นทุรกันดาร. ฟาโรห์ผู้หยิ่งยโสตอบว่า “พระยะโฮวานั้นเป็นผู้ใดเล่า ที่เราจะต้องฟังคำของท่าน และปล่อยชนชาติยิศราเอลไป.”—เอ็กโซโด 5:1, 2.
6 หลังจากฟาโรห์ประสบภัยพิบัติไปแล้วหกอย่าง พระยะโฮวาบอกโมเซให้ถามผู้ปกครองอียิปต์องค์นี้ว่า “ฟาโรยังจะมีมานะต่อสู้พลไพร่ของเรา, ไม่ยอมปล่อยเขาไปอีกหรือ?” (เอ็กโซโด 9:17) แล้วโมเซก็ประกาศภัยพิบัติประการที่เจ็ดซึ่งก็ได้แก่ ลูกเห็บที่ก่อความเสียหายทั่วทั้งแผ่นดิน. เมื่อปล่อยชาวอิสราเอลไปหลังจากภัยพิบัติประการที่สิบ ไม่นานฟาโรห์ก็เปลี่ยนใจและไล่ตามพวกเขาไป. ในที่สุด ฟาโรห์กับกองทัพของเขาก็ติดกับในทะเลแดง. ลองมโนภาพดูว่าพวกเขาคงต้องรู้สึกอย่างไรในขณะที่น้ำกำลังท่วมมิดพวกเขา! ความหยิ่งทะนงของฟาโรห์ก่อผลเช่นไร? กองทหารชั้นยอดของฟาโรห์กล่าวว่า “ให้เราหนีไปจากชนชาติยิศราเอลเถิด ด้วยพระยะโฮวาได้ทรงช่วยเขาต่อสู้กับชาวอายฆุบโต.”—เอ็กโซโด 14:25.
7. ผู้ปกครองบาบิโลนแสดงความยโสโอหังอย่างไร?
7 ผู้ปกครองที่เย่อหยิ่งองค์อื่น ๆ ก็ถูกพระยะโฮวาทำให้อัปยศอดสูเช่นกัน. องค์หนึ่งก็คือซันเฮริบกษัตริย์ของอัสซีเรีย. (ยะซายา 36:1-4, 20; 37:36-38) ในที่สุด อัสซีเรียถูกโค่นโดยชาวบาบิโลน แต่กษัตริย์บาบิโลนสององค์ผู้ยโสโอหังก็ต้องประสบความอัปยศเช่นกัน. ขอนึกย้อนไปถึงงานเลี้ยงที่กษัตริย์เบละซาซัรจัดขึ้น ซึ่งพระองค์กับแขกดื่มน้ำจัณฑ์โดยใช้จอกที่ริบมาจากพระวิหารของพระยะโฮวา แล้วยกย่องสรรเสริญบรรดาพระเจ้าของบาบิโลน. ทันใดนั้น นิ้วมือมนุษย์ก็ปรากฏขึ้นและเขียนข้อความลงบนผนัง. เมื่อถูกขอให้อธิบายข้อความลึกลับนั้น ผู้พยากรณ์ดานิเอลเตือนเบละซาซัรว่า “พระเจ้าผู้สูงสุดนั้นได้ประทานแผ่นดินนี้ . . . ให้แก่ราชานะบูคัศเนซัร พระราชบิดาของฝ่าพระบาท; แต่เมื่อพระทัยของพระราชา . . . จองหอง, พระราชาก็ถูกถอดไปเสียจากพระที่นั่ง, และสง่าราศีก็ถูกริบไปเสียจากพระราชา. ข้าแต่ราชันเบละซาซัร, เจ้าลูกยาเธอ, แม้นว่าฝ่าพระบาทได้รู้เรื่องราวเหล่านี้ทั้งสิ้นแล้ว, แต่ก็ยังหาได้ถ่อมพระทัยของฝ่าพระบาทลงไม่.” (ดานิเอล 5:3, 18, 20, 22) ในคืนนั้นเอง กองทัพของมีเดียและเปอร์เซียบุกโค่นบาบิโลน และเบละซาซัรถูกสังหาร.—ดานิเอล 5:30, 31.
8. พระยะโฮวาจัดการอย่างไรกับผู้ที่เย่อหยิ่งจองหองบางคน?
8 ขอให้คิดถึงคนหยิ่งผยองคนอื่น ๆ ด้วยที่ได้ดูหมิ่นเหยียดหยามประชาชนของพระยะโฮวา เช่น ฆาละยัธร่างยักษ์ชาวฟิลิสติน, ฮามานมหาเสนาบดีแห่งเปอร์เซีย, และกษัตริย์เฮโรดอะฆะริปาผู้ครองแคว้นยูเดีย. เนื่องจากความเย่อหยิ่ง พระเจ้าบันดาลให้ทั้งสามคนนี้ประสบความตายอย่างน่าอดสู. (1 ซามูเอล 17:42-51; เอศเธระ 3:5, 6; 7:10; กิจการ 12:1-3, 21-23) วิธีที่พระยะโฮวาจัดการกับคนที่เย่อหยิ่งจองหองเหล่านั้นเน้นความจริงที่ว่า “ความเย่อหยิ่งนำไปถึงความพินาศ, และจิตต์ใจที่จองหองนำไปถึงการล้มลง.” (สุภาษิต 16:18) ใช่แล้ว “พระเจ้าทรงต่อสู้ผู้ที่หยิ่งจองหอง.”—ยาโกโบ 4:6, ล.ม.
9. กษัตริย์เมืองตุโรกลายเป็นผู้ทรยศอย่างไร?
9 ตรงกันข้ามกับผู้ปกครองที่เย่อหยิ่งของอียิปต์, อัสซีเรีย, และบาบิโลน ครั้งหนึ่งกษัตริย์เมืองตุโรได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนของพระเจ้า. ระหว่างรัชกาลของกษัตริย์ดาวิดและซะโลโม กษัตริย์ตุโรส่งช่างฝีมือพร้อมกับวัสดุต่าง ๆ มาช่วยก่อสร้างพระราชวังและพระวิหาร. 2 ซามูเอล 5:11; 2 โครนิกา 2:11-16) น่าเศร้า ต่อมากษัตริย์ตุโรหันมาเป็นปฏิปักษ์กับประชาชนของพระยะโฮวา. อะไรทำให้เป็นอย่างนั้น?—บทเพลงสรรเสริญ 83:3-7; โยเอล 3:4-6; อาโมศ 1:9, 10.
(“จิตใจของท่านเย่อหยิ่ง”
10, 11. (ก) ใครที่อาจเทียบได้กับกษัตริย์ตุโร? (ข) อะไรทำให้ท่าทีของชาวตุโรต่อชาวอิสราเอลเปลี่ยนไป?
10 พระยะโฮวาดลใจยะเอศเคลผู้พยากรณ์ของพระองค์ให้เปิดโปงและตำหนิราชวงศ์ผู้ครองตุโร. ข่าวสารที่แถลงแก่ “กษัตริย์เมืองตุโร” นั้น เป็นถ้อยคำที่ใช้พรรณนาได้อย่างเหมาะเจาะกับทั้งราชวงศ์ผู้ครองตุโรและซาตานตัวกบฏแรกเดิมซึ่ง “มิได้ตั้งอยู่ในความจริง.” (ยะเอศเคล 28:12; โยฮัน 8:44) ครั้งหนึ่งซาตานเป็นกายวิญญาณที่ภักดีในองค์การของพระยะโฮวาซึ่งประกอบด้วยเหล่าบุตรทางภาคสวรรค์ของพระองค์. พระยะโฮวาพระเจ้าบ่งชี้ผ่านทางยะเอศเคลถึงสาเหตุพื้นฐานที่ทำให้ราชวงศ์ผู้ครองตุโรกับซาตานเสื่อมทรามไป.
11 “ท่านได้อยู่ในเอเดนซึ่งเป็นสวนแห่งพระเจ้า, ท่านได้ประดับกายด้วยพลอยอันวิเศษต่าง ๆ . . . ท่านเป็นคะรูปอันเฉลิมที่บังไว้ . . . ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ในทางทั้งปวงของท่านตั้งแต่วันที่ท่านสร้างไว้ จนถึงวันที่การชั่วได้บังเกิดเห็นในท่าน. เขาทั้งหลายได้ทำให้ท่ามกลางของท่านเต็มด้วยความร้ายกาจโดยสินค้าของท่านเป็นอันมาก และท่านได้ทำผิด. เหตุฉะนี้ เราจะ . . . ทำลายท่าน โอ้คะรูปที่บังเหนือ . . . จิตใจของท่านเย่อหยิ่งด้วยการงดงามของท่าน. ท่านได้ทำสติปัญญาตนให้เป็นมลทินไป เพราะท่านเห็นแก่การงดงาม.” (ยะเอศเคล 28:13-17) ใช่แล้ว ความเย่อหยิ่งกระตุ้นให้กษัตริย์ตุโรใช้ความรุนแรงต่อประชาชนของพระยะโฮวา. ตุโรกลายเป็นศูนย์กลางด้านการค้าและมีความมั่งคั่งอย่างมาก อีกทั้งขึ้นชื่อในเรื่องผลิตภัณฑ์ที่งดงาม. (ยะซายา 23:8, 9) กษัตริย์ตุโรกลายเป็นคนเย่อหยิ่ง และก็เริ่มกดขี่ประชาชนของพระเจ้า.
12. อะไรชักนำให้ซาตานเข้าสู่แนวทางทรยศ และมันดำเนินการเช่นไรต่อไป?
12 ในทำนองเดียวกัน ทูตสวรรค์ที่ต่อมากลายเป็นซาตานนั้น ครั้งหนึ่งมีสติปัญญาตามที่จำเป็นเพื่อทำงานใด ๆ ที่พระเจ้ามอบหมาย. แทนที่จะสำนึกบุญคุณ มันกลับ “พองตัวด้วยความหยิ่งทะนง” และเริ่มดูหมิ่นวิธีที่พระเจ้าปกครอง. (1 ติโมเธียว 3:6, ล.ม.) มันหลงทะนงตัวถึงขนาดที่เริ่มคิดอยากได้การนมัสการจากอาดามกับฮาวา. ความปรารถนาผิด ๆ นี้เริ่มก่อตัวขึ้น แล้วก็ก่อให้เกิดบาป. (ยาโกโบ 1:14, 15) ซาตานได้ล่อลวงฮาวาให้กินผลของต้นไม้ต้นเดียวที่พระเจ้าห้ามนั้น. แล้วซาตานก็ใช้นางทำให้อาดามกินผลไม้ต้องห้ามนั้น. (เยเนซิศ 3:1-6) โดยวิธีนี้ มนุษย์คู่แรกได้ปฏิเสธสิทธิของพระเจ้าที่จะปกครองพวกเขา และที่แท้แล้ว พวกเขากลายเป็นผู้นมัสการซาตาน. ความหยิ่งผยองของมันไม่มีขีดจำกัด. มันพยายามล่อลวงสิ่งทรงสร้างทั้งปวงที่มีเชาวน์ปัญญา ทั้งในสวรรค์และแผ่นดินโลก รวมทั้งพระเยซูคริสต์ ให้นมัสการมัน ซึ่งโดยวิธีนั้นจึงเป็นการปฏิเสธอำนาจการปกครองจากพระยะโฮวา.—มัดธาย 4:8-10; วิวรณ์ 12:3, 4, 9.
13. ผลพวงของความหยิ่งทะนงคืออะไร?
13 ดังนั้น คุณจึงเห็นได้ว่าความหยิ่งทะนงมีต้นกำเนิดมา2 โกรินโธ 4:4, ล.ม.) มันรู้ว่าเวลาของมันมีน้อย มันจึงทำสงครามกับคริสเตียนแท้. เป้าหมายของมันคือทำให้พวกเขาปฏิเสธพระเจ้า กลายเป็นคนรักตัวเอง, อวดตัว, และจองหอง. คัมภีร์ไบเบิลบอกล่วงหน้าว่าลักษณะนิสัยที่คิดถึงแต่ตัวเองมากเกินไปเช่นนั้นจะแพร่หลายใน “สมัยสุดท้าย” นี้.—2 ติโมเธียว 3:1, 2, ล.ม.; วิวรณ์ 12:12, 17.
จากซาตาน และเป็นสาเหตุสำคัญของความบาป, ความทุกข์, และความเสื่อมเสียในโลกปัจจุบัน. ฐานะ “พระเจ้าของระบบนี้” ซาตานยังคงส่งเสริมความรู้สึกภาคภูมิใจอย่างผิด ๆ และความหยิ่งทะนงอยู่ต่อไป. (14. พระยะโฮวาปฏิบัติต่อสิ่งทรงสร้างที่มีเชาวน์ปัญญาตามกฎอะไร?
14 พระเยซูคริสต์ทรงเปิดโปงอย่างกล้าหาญถึงผลเลวร้ายอันเนื่องมาจากความเย่อหยิ่งของซาตาน. อย่างน้อยในสามโอกาสและต่อหน้าศัตรูที่ถือว่าตัวเองชอบธรรม พระเยซูแถลงกฎซึ่งพระยะโฮวาปฏิบัติต่อมนุษยชาติที่ว่า “ทุกคนที่ยกตัวขึ้นจะต้องถูกเหยียดลง, แต่ทุกคนที่ได้ถ่อมตัวลงจะต้องถูกยกขึ้น.”—ลูกา 14:11; 18:14; มัดธาย 23:12.
จงระวังการมีใจเย่อหยิ่ง
15, 16. อะไรทำให้นางฮาฆารทะนงตน?
15 คุณอาจได้สังเกตว่าตัวอย่างของความเย่อหยิ่งที่กล่าวไปเกี่ยวข้องกับบุคคลที่โดดเด่น. นี่หมายความว่าคนธรรมดา ๆ ทั่วไปไม่มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นคนเย่อหยิ่งอย่างนั้นไหม? หามิได้. ขอพิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครัวเรือนของอับราฮาม. ปฐมบรรพบุรุษผู้นี้ไม่มีบุตรสืบเชื้อสาย และซาราห์ภรรยาของท่านก็ล่วงเลยวัยที่จะให้กำเนิดบุตรแล้ว. ตามธรรมเนียมแล้ว ผู้ชายที่อยู่ในสถานการณ์อย่างอับราฮามจะรับภรรยาอีกคนหนึ่งเพื่อจะมีบุตร. ที่พระเจ้าทรงยอมให้กับการสมรสแบบนั้นก็เพราะตอนนั้นยังไม่ถึงเวลาที่พระองค์จะฟื้นฟูมาตรฐานดั้งเดิมของพระองค์เรื่องการสมรสท่ามกลางเหล่าผู้นมัสการแท้.—มัดธาย 19:3-9.
16 ตามข้อเสนอแนะของซาราห์ อับราฮามเห็นด้วยที่จะให้นางฮาฆาร สาวใช้ชาวอียิปต์ เป็นผู้ให้กำเนิดผู้ที่จะเป็นทายาทสืบเชื้อสายท่าน. แล้วฮาฆารก็ตั้งครรภ์ฐานะที่เป็นภรรยาคนที่สองของอับราฮาม. นางน่าจะหยั่งรู้บุญคุณอย่างสุดซึ้งสำหรับฐานะอันมีเกียรติ. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น นางปล่อยให้ตัวเองมีใจหยิ่งทะนง. คัมภีร์ไบเบิลเล่าว่า “เมื่อนางรู้ว่ามีครรภ์แล้ว ก็มีใจหมิ่นประมาทนายผู้หญิง.” ท่าทีดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาขึ้นในครัวเรือนของอับราฮามจนซาราห์ไล่ฮาฆารออกจากบ้านไป. แต่ปัญหานี้มีทางแก้. ทูตสวรรค์ของพระเจ้าแนะนำฮาฆารว่า “จงกลับไปหานายผู้หญิงของเจ้า, และจงยอมตัวอยู่ใต้บังคับของเขาเถิด.” (เยเนซิศ 16:4, 9) ปรากฏว่าฮาฆารทำตามคำแนะนำนั้น โดยปรับทัศนะที่มีต่อ ซาราห์ และจึงได้กลายเป็นบรรพสตรีของคนเป็นอันมาก.
17, 18. ทำไมเราทุกคนต้องระวังการเป็นคนหยิ่งทะนง?
17 กรณีของฮาฆารแสดงให้เห็นว่าเมื่อสถานภาพของคนเราเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ก็อาจจะเกิดความทะนงตนขึ้นมาได้. บทเรียนก็คือแม้แต่คริสเตียนที่มีหัวใจบริสุทธิ์ในการรับใช้พระเจ้าก็อาจทะนงตนเมื่อเขามั่งมีหรือมีอำนาจขึ้นมา. ความทะนงตนอาจเกิดขึ้นได้เช่นกันเมื่อมีคนอื่น ๆ ยกย่องสรรเสริญความสำเร็จ, สติปัญญา, หรือความสามารถของเขา. ใช่แล้ว คริสเตียนควรระวังที่จะไม่ให้ความหยิ่งทะนงเกิดขึ้นในหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเขาประสบความสำเร็จ หรือได้รับหน้าที่รับผิดชอบมากขึ้น.
18 เหตุผลหนักแน่นที่สุดที่จะหลีกเลี่ยงการเป็นคนหยิ่งทะนงก็คือ ทัศนะที่พระเจ้ามีต่อลักษณะนิสัยเช่นนี้. พระคำของพระองค์กล่าวว่า “ตาหยิ่งยโสกับใจจองหองที่เป็นน้ำมือแห่งคนชั่วนั้นเป็นบาปทั้งสิ้น.” (สุภาษิต 21:4) น่าสนใจ คัมภีร์ไบเบิลให้คำเตือนเป็นพิเศษแก่คริสเตียน “ที่มั่งคั่ง” ไม่ให้ “เย่อหยิ่ง.” (1 ติโมเธียว 6:17, ฉบับแปล 2002; พระบัญญัติ 8:11-17) ส่วนคริสเตียนที่ไม่มีฐานะร่ำรวยก็ควรหลีกเลี่ยงการมีตา “อิจฉา” และพวกเขาควรจำไว้ว่าความหยิ่งทะนงสามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ไม่ว่าคนรวยหรือคนจน.—มาระโก 7:21-23; ยาโกโบ 4:5.
19. อุซียาทำลายประวัติที่ดีงามของตนโดยวิธีใด?
19 ความเย่อหยิ่งและนิสัยที่ไม่ดีอื่น ๆ สามารถทำลายสัมพันธภาพที่ดีกับพระยะโฮวา. เพื่อเป็นตัวอย่าง ขอพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นกับกษัตริย์อุซียาในช่วงต้นรัชกาล: “ท่านได้ประพฤติเป็นการชอบต่อพระเนตรพระยะโฮวา . . . ท่านได้ตั้งพระทัยแสวงหาพระเจ้า . . . ท่านได้แสวงหาพระยะโฮวานานเท่าไร พระเจ้าก็ทรงบันดาลให้ท่านมีความเจริญนานเท่านั้น.” (2 โครนิกา 26:4, 5) แต่น่าเสียดาย กษัตริย์อุซียาทำลายประวัติที่ดีงามของตน เนื่องจากท่าน “มีใจหยิ่งทำการชั่ว.” ท่านเอาตัวเองเป็นใหญ่ถึงขนาดที่เข้าไปในพระวิหารเพื่อเผาเครื่องหอมถวาย. เมื่อเหล่าปุโรหิตเตือนท่านไม่ให้ทำเกินสิทธิ์เช่นนั้น “อุซียาก็กริ้ว.” ผลคือ พระยะโฮวาลงโทษท่านให้เป็นโรคเรื้อน และท่านสิ้นชีวิตไปโดยที่ไม่ได้เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า.—2 โครนิกา 26:16-21.
20. (ก) ประวัติอันดีของฮิศคียาเกือบเสียไปเพราะเหตุใด? (ข) จะมีการพิจารณาเรื่องใดในบทความถัดไป?
20 คุณอาจเปรียบเทียบตัวอย่างของอุซียากับตัวอย่างของกษัตริย์ฮิศคียา. ครั้งหนึ่ง ประวัติอันดีของกษัตริย์องค์นี้เกือบจะเสียไปเพราะท่าน “มีพระทัยกำเริบเย่อหยิ่ง.” น่าดีใจที่ “ฮิศคียาได้อ่อนน้อมถ่อมพระทัยที่กำเริบนั้นลง” และได้รับความพอพระทัยจากพระเจ้าอีก. (2 โครนิกา 32:25, 26) ขอสังเกตว่าวิธีแก้ความเย่อหยิ่งของฮิศคียาคือความถ่อมใจ. ใช่แล้ว ความถ่อมใจตรงข้ามกับความเย่อหยิ่ง. ดังนั้น ในบทความหน้า เราจะพิจารณาวิธีที่เราสามารถปลูกฝังและรักษาความถ่อมใจแบบคริสเตียน.
21. คริสเตียนที่ถ่อมใจสามารถคอยท่าอะไร?
21 อย่างไรก็ตาม ขอเราอย่าลืมผลไม่ดีทุกอย่างซึ่งเกิดมาจากความเย่อหยิ่ง. เนื่องจาก “พระเจ้าทรงต่อสู้ผู้ที่หยิ่งจองหอง” จึงขอให้เราตั้งใจแน่วแน่ที่จะต้านทานความรู้สึกยะซายา 2:17.
ภูมิใจอย่างไม่สมควร. ขณะที่เราพยายามเป็นคริสเตียนที่ถ่อมใจ เราสามารถคอยท่าที่จะรอดชีวิตผ่านวันใหญ่ของพระเจ้า ซึ่งเป็นคราวที่คนเย่อหยิ่งและผลที่เขาก่อขึ้นจะถูกขจัดไปเสียจากแผ่นดินโลก. แล้ว “ความใฝ่สูงของมนุษย์จะต้องถูกเหยียดลงมาต่ำ, และความเย่อหยิ่งของมนุษย์จะต้องถูกข่มให้ต่ำลง; และในวันนั้นพระยะโฮวาแต่องค์เดียวจะต้องถูกเทิดให้สูงยิ่ง.”—จุดสำคัญต่าง ๆ สำหรับใคร่ครวญ
• คุณจะพรรณนาคนที่หยิ่งทะนงอย่างไร?
• ใครเป็นต้นกำเนิดของความเย่อหยิ่ง?
• อะไรอาจทำให้คนเรากลายเป็นคนหยิ่งทะนง?
• ทำไมเราต้องระวังการเป็นคนเย่อหยิ่ง?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 23]
ความเย่อหยิ่งของฟาโรห์นำไปสู่ความอัปยศ
[ภาพหน้า 24]
สถานภาพที่ดีขึ้นของฮาฆารทำให้นางทะนงตน
[ภาพหน้า 25]
ฮิศคียาถ่อมใจและได้รับความพอพระทัยจากพระเจ้าอีก