คุณเชื่อฟังใคร—พระเจ้าหรือมนุษย์?
คุณเชื่อฟังใคร—พระเจ้าหรือมนุษย์?
“ข้าพเจ้าจำต้องเชื่อฟังพระเจ้ายิ่งกว่าเชื่อฟังมนุษย์.”—กิจการ 5:29.
1. (ก) ข้อพระคัมภีร์ที่เป็นอรรถบทของบทความศึกษานี้คืออะไร? (ข) เพราะเหตุใดพวกอัครสาวกจึงถูกคุมขัง?
ผู้พิพากษาศาลสูงสุดของชาวยิวคงต้องเดือดดาล. ผู้ต้องหาหายตัวไป. ผู้ที่ถูกคุมขังคืออัครสาวกของพระเยซูคริสต์ บุรุษที่ศาลสูงสุดนี้ได้ตัดสินให้ต้องโทษประหารไปเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน. บัดนี้ ศาลพร้อมแล้วที่จะดำเนินคดีกับเหล่าสาวกคนสนิทของพระองค์. แต่เมื่อพวกผู้คุมไปที่ห้องขังเพื่อจะพาตัวผู้ต้องหามา พวกเขาพบว่าห้องขังว่างเปล่า ทั้ง ๆ ที่ประตูใส่กุญแจไว้อยู่. ไม่ช้าผู้คุมก็ได้รับรายงานว่าพวกอัครสาวกกำลังอยู่ที่พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม สั่งสอนประชาชนเรื่องพระเยซูคริสต์อยู่อย่างไม่หวั่นกลัว—งานเดียวกันกับที่ทำให้พวกเขาถูกจับกุม! ผู้คุมมุ่งหน้าไปยังพระวิหารในทันที จับกุมพวกอัครสาวกอีก แล้วนำตัวพวกเขามาที่ศาล.—กิจการ 5:17-27.
2. ทูตสวรรค์สั่งเหล่าอัครสาวกให้ทำอะไร?
2 ทูตสวรรค์ได้ปล่อยอัครสาวกออกจากคุก. ที่ทำเช่นนี้เพื่อจะไม่ให้พวกเขาถูกข่มเหงอีกต่อไปไหม? ไม่ใช่ แต่เพื่อจะให้ชาวเมืองเยรูซาเลมได้ยินการประกาศข่าวดีเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์. คำบัญชาที่ทูตสวรรค์สั่งพวกอัครสาวกคือ ให้พวกเขา “ประกาศถึงบรรดาข้อความแห่งชีวิตใหม่นี้ให้คนทั้งปวงฟัง.” (กิจการ 5:19, 20) ดังนั้น เมื่อผู้คุมมาถึงพระวิหารพวกเขาจึงพบเหล่าอัครสาวกกำลังปฏิบัติตามคำสั่งนั้นอยู่ด้วยความเชื่อฟัง.
3, 4. (ก) เมื่อถูกห้ามไม่ให้ประกาศ เปโตรกับโยฮันตอบว่าอย่างไร? (ข) อัครสาวกคนอื่น ๆ ตอบอย่างไร?
3 สองคนในหมู่ผู้ประกาศเหล่านั้นที่ไม่ยอมเลิกรา คืออัครสาวกเปโตรกับโยฮัน เคยมายืนต่อหน้าศาลนี้แล้ว ในครั้งที่โยเซฟ กายะฟาผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้เตือนทั้งสองอย่างหนักแน่น. เขากล่าวว่า “เราได้กำชับพวกเจ้าอย่างแข็งแรงมิให้สอนออกชื่อ [เยซู], ก็นี่แน่ะ เจ้าได้ให้กรุงยะรูซาเลมแพร่หลายไปด้วยคำสอนของเจ้า.” (กิจการ 5:28) กายะฟาไม่น่าจะประหลาดใจเลยที่ได้เห็นเปโตรกับโยฮัน กลับมาที่ศาลนี้อีก. ครั้งแรกที่ถูกสั่งห้ามไม่ให้ประกาศนั้น อัครสาวกทั้งสองคนนี้ตอบว่า “จำเพาะพระพักตร์พระเจ้า ข้าพเจ้าควรจะเชื่อฟังคำของพวกท่านหรือควรจะเชื่อฟังคำพระเจ้า? ท่านทั้งหลายจงพิจารณาดูเถิด ด้วยว่าข้าพเจ้าจะไม่พูดตามที่ได้เห็นและได้ยินนั้นก็หามิได้.” เช่นเดียวกับยิระมะยา ผู้พยากรณ์สมัยโบราณ เปโตรกับโยฮันไม่อาจจะหยุดทำงานประกาศที่ได้รับมอบหมาย.—กิจการ 4:18-20; ยิระมะยา 20:9.
4 ในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่เปโตรกับโยฮันเท่านั้น แต่อัครสาวกทุกคน รวมถึงมัดเธียที่เพิ่งได้รับการเลือก ต่างมีโอกาสแถลงอย่างเปิดเผยถึงจุดยืนของตนต่อหน้าศาล. (กิจการ 1:21-26) เมื่อถูกห้ามไม่ให้ประกาศ พวกเขาก็ตอบอย่างกล้าหาญเช่นกันว่า “ข้าพเจ้าจำต้อง เชื่อฟังพระเจ้ายิ่งกว่าเชื่อฟังมนุษย์.”—กิจการ 5:29.
เชื่อฟังพระเจ้าหรือเชื่อฟังมนุษย์?
5, 6. เพราะเหตุใดพวกอัครสาวกจึงไม่ทำตามคำสั่งของศาล?
5 พวกอัครสาวกเป็นบุคคลที่ปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งปกติแล้วจะไม่ฝ่าฝืนคำสั่งศาล. อย่างไรก็ตาม ไม่มีมนุษย์คนใด ไม่ว่าใหญ่เพียงไร จะมีอำนาจสั่งใครให้ขัดขืนพระบัญชาข้อใดข้อหนึ่งของพระเจ้าได้. พระยะโฮวาเป็น “พระผู้สูงสุดเหนือแผ่นดินโลกทั้งสิ้น.” (บทเพลงสรรเสริญ 83:18, ล.ม.) พระองค์ไม่ได้เป็นเพียง “ผู้พิพากษาแห่งแผ่นดินโลกทั้งสิ้น” เท่านั้น แต่ยังเป็นผู้บัญญัติกฎหมายที่มีอำนาจสูงสุด อีกทั้งเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเจริญนิรันดร์. คำสั่งใด ๆ ของศาลที่พยายามจะเพิกถอนพระบัญชาข้อใดข้อหนึ่งของพระเจ้านั้นย่อมเป็นโมฆะจากทัศนะของพระองค์.—เยเนซิศ 18:25, ล.ม.; ยะซายา 33:23.
6 ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของผู้ชำนัญพิเศษด้านกฎหมายบางคน. ตัวอย่างเช่น วิลเลียม แบล็กสโตน นักกฎหมายที่มีชื่อเสียงชาวอังกฤษแห่งศตวรรษที่ 18 เขียนไว้ว่า ไม่ควรยอมให้กฎหมายใดของมนุษย์ขัดแย้งกับ “กฎหมายที่ได้รับโดยการดลใจจากพระเจ้า” ดังที่พบในคัมภีร์ไบเบิล. ด้วยเหตุนี้ ศาลซันเฮดรินจึงได้ล้ำเส้นเมื่อพวกเขาสั่งให้อัครสาวกเลิกประกาศ. พวกอัครสาวกไม่อาจทำตามคำสั่งนั้นได้.
7. ทำไมงานประกาศทำให้พวกปุโรหิตใหญ่รู้สึกโกรธแค้น?
7 ความตั้งใจแน่วแน่ของเหล่าอัครสาวกที่จะประกาศต่อไปทำให้พวกปุโรหิตใหญ่โกรธแค้น. ปุโรหิตบางคนในคณะปุโรหิต รวมถึงตัวกายะฟาเอง เป็นพวกซาดูกายซึ่งไม่เชื่อเรื่องการเป็นขึ้นจากตาย. (กิจการ 4:1, 2; 5:17) กระนั้น พวกอัครสาวกยืนยันว่าพระเยซูคืนพระชนม์แล้ว. นอกจากนี้ ปุโรหิตใหญ่บางคนได้พยายามเหลือเกินที่จะได้รับความโปรดปรานจากผู้มีอำนาจชาวโรมัน. ณ การพิจารณาคดีพระเยซู เมื่อปีลาตเสนอโอกาสให้ยอมรับพระเยซูเป็นกษัตริย์ พวกปุโรหิตใหญ่ทำเลยเถิดถึงขนาดร้องตะโกนว่า “พวกเราไม่มีกษัตริย์เว้นแต่ซีซาร์.” (โยฮัน 19:15, ล.ม.) * พวกอัครสาวกไม่เพียงแต่ยืนยันว่าพระเยซูคืนพระชนม์แล้วเท่านั้น แต่ยังสอนด้วยว่า นอกจากพระเยซู “นามอื่นซึ่งเป็นที่รอดแก่เราทั้งหลายไม่ทรงโปรดให้มีในท่ามกลางมนุษย์ทั่วใต้ฟ้า.” (กิจการ 2:36; 4:12) พวกปุโรหิตกลัวว่าหากประชาชนหันไปพึ่งพระเยซูเป็นผู้นำของตนแล้ว ชาวโรมันอาจยกทัพมาและพวกผู้นำชาวยิวจะสูญเสีย ‘ทั้งที่และชาติของตน’ ไป.—โยฮัน 11:48, ล.ม.
8. ฆามาลิเอลให้คำแนะนำอะไรที่สุขุมแก่ศาลซันเฮดริน?
8 อนาคตดูมืดมนสำหรับอัครสาวกของพระเยซูคริสต์. พวกผู้พิพากษาศาลซันเฮดรินหมายมั่นจะประหารชีวิตพวกเขา. (กิจการ 5:33) แต่เหตุการณ์กลับพลิกผันโดยไม่คาดหมาย. ฆามาลิเอล ผู้เชี่ยวชาญพระบัญญัติ ได้ยืนขึ้นและเตือนเพื่อนผู้พิพากษาว่าอย่าได้รีบร้อนทำอะไรลงไป. เขาให้ข้อคิดเห็นที่สุขุมว่า “ถ้าความคิดหรือกิจการนี้มาจากมนุษย์ก็จะล้มละลายไปเอง, แต่ถ้าเป็นมาจากพระเจ้า ท่านทั้งหลายจะทำลายเสียก็ไม่ได้.” แล้วฆามาลิเอลก็กล่าวประโยคสำคัญเพิ่มเติมว่า “เกลือกว่าท่านทั้งหลายกลับจะเป็นผู้รบสู้ต่อพระเจ้า.”—กิจการ 5:34, 38, 39.
9. อะไรพิสูจน์ว่ากิจการงานของพวกอัครสาวกมาจากพระเจ้า?
9 น่าประหลาดใจ ศาลซันเฮดรินยอมรับคำแนะนำของฆามาลิเอล. พวกเขา “เรียกอัครสาวกเข้ามา แล้วจึงเฆี่ยนและกำชับไม่ให้ออกนามของพระเยซู, แล้วก็ปล่อยไป.” กิจการ 5:40, 42) พระยะโฮวาทรงอวยพรความมุ่งมั่นพยายามของพวกเขา. ถึงขั้นไหน? “การประกาศพระคำของพระเจ้าจึงเจริญขึ้น, และศิษย์ก็ได้ทวีขึ้นเป็นอันมากในกรุงยะรูซาเลม.” ที่จริง “พวกปุโรหิตเป็นอันมากก็ได้เชื่อฟังในศาสนา.” (กิจการ 6:7) นั่นคงจะเป็นความพ่ายแพ้สักเพียงไรสำหรับพวกปุโรหิตใหญ่! หลักฐานมีมากขึ้นทุกทีที่ว่า กิจการงานของพวกอัครสาวกมาจากพระเจ้าอย่างแท้จริง!
อย่างไรก็ตาม พวกอัครสาวกมุ่งมั่นที่จะทำตามคำสั่งของทูตสวรรค์ที่ให้ประกาศ โดยไม่รู้สึกหวั่นกลัว. ฉะนั้น หลังจากได้รับการปล่อยตัว “เขาจึงได้สั่งสอนประกาศกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ในโบสถ์ [“พระวิหาร,” ล.ม.] และตามบ้านเรือนทุก ๆ วันมิได้ขาด.” (ผู้ต่อสู้พระเจ้าไม่ชนะ
10. จากทัศนะของมนุษย์ ทำไมกายะฟาจึงรู้สึกว่าตำแหน่งของตนมีความมั่นคง แต่ทำไมการวางใจของเขาจึงเป็นความผิดพลาด?
10 ในศตวรรษแรก ผู้ปกครองชาวโรมันเป็นผู้แต่งตั้งมหาปุโรหิตชาวยิว. โยเซฟ กายะฟาผู้มั่งคั่งได้รับการแต่งตั้งจากวาเลริอุส กราทุส และเขาอยู่ในตำแหน่งนี้นานกว่ามหาปุโรหิตหลายคนก่อนหน้าเขา. กายะฟาอยู่ในตำแหน่งได้นานกว่าคนอื่นคงเป็นเพราะอาศัยการเป็นนักการทูตและการเป็นเพื่อนสนิทกับปีลาต มากกว่าจะพึ่งการหนุนหลังจากพระเจ้า. ไม่ว่าจะอย่างไร การที่เขาวางใจมนุษย์ปรากฏว่าเป็นความผิดพลาด. เพียงสามปีหลังจากที่พวกอัครสาวกอยู่ต่อหน้าศาลซันเฮดริน กายะฟาไม่เป็นที่พอใจผู้ปกครองชาวโรมันอีกต่อไป และถูกถอดออกจากตำแหน่งมหาปุโรหิต.
11. เกิดอะไรขึ้นกับปนเตียว ปีลาตและระบบยิวในที่สุด และคุณได้ข้อสรุปอะไรจากเรื่องนี้?
11 คำสั่งปลดกายะฟาออกจากตำแหน่งมาจากผู้มีอำนาจสูงกว่าปีลาต คือลูคิอุส วิเทลลิอุส ผู้สำเร็จราชการแคว้นซีเรีย และปีลาตเพื่อนสนิทของกายะฟาก็ช่วยอะไรไม่ได้. ที่จริง เพียงหนึ่งปีหลังจากที่กายะฟาถูกถอดถอน ปีลาตเองก็ถูกปลดออกจากตำแหน่ง และถูกเรียกตัวกลับกรุงโรมเพื่อไปให้การสำหรับข้อกล่าวหาที่ร้ายแรง. ส่วนพวกผู้นำชาวยิวที่วางใจซีซาร์ ก็ถูกชาวโรมันยึดเอา ‘ทั้งที่และชาติของตน’ ไป. สิ่งนี้เกิดขึ้นในปี ส.ศ. 70 เมื่อกองทัพโรมันมาทำลายกรุงเยรูซาเลมจนพินาศสิ้น รวมถึงพระวิหารและที่โยฮัน 11:48, ล.ม.; บทเพลงสรรเสริญ 146:3.
ประชุมศาลซันเฮดริน. ถ้อยคำของผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญปรากฏว่าเป็นจริงสักเพียงไรในกรณีนี้ ที่ว่า “อย่าวางใจในพวกเจ้านาย, หรือในเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ช่วยให้รอดไม่ได้”!—12. กรณีของพระเยซูพิสูจน์ให้เห็นอย่างไรว่าการเชื่อฟังพระเจ้าเป็นแนวทางแห่งสติปัญญา?
12 ตรงกันข้าม พระเจ้าทรงแต่งตั้งพระเยซูคริสต์ที่คืนพระชนม์เป็นมหาปุโรหิตประจำมหาวิหารฝ่ายวิญญาณ. ไม่มีมนุษย์คนใดจะยกเลิกการแต่งตั้งนี้ได้. ที่จริง พระเยซู “ดำรงตำแหน่งปุโรหิตของพระองค์โดยไม่มีผู้สืบทอดใด ๆ.” (เฮ็บราย 2:9; 7:17, 24, ล.ม.; 9:11) นอกจากนี้ พระเจ้ายังแต่งตั้งพระเยซูเป็นผู้พิพากษาทั้งคนเป็นและคนตาย. (1 เปโตร 4:5) ในบทบาทดังกล่าว พระเยซูจะตัดสินว่าโยเซฟ กายะฟากับปนเตียว ปีลาตพอจะมีโอกาสได้รับชีวิตหรือไม่ในอนาคต.—มัดธาย 23:33; กิจการ 24:15.
ผู้ประกาศราชอาณาจักรที่ไม่หวั่นกลัวในสมัยปัจจุบัน
13. ในสมัยปัจจุบัน กิจการใดที่ปรากฏว่ามาจากมนุษย์ และกิจการใดที่ปรากฏว่ามาจากพระเจ้า? คุณรู้ได้อย่างไร?
13 เช่นเดียวกับสมัยศตวรรษแรก สมัยของเราก็มี “ผู้ต่อสู้พระเจ้า” มิได้ขาด. (กิจการ 5:39, ล.ม.) ตัวอย่างเช่น เมื่อพยานพระยะโฮวาในเยอรมนีไม่ยอมรับฮิตเลอร์เป็นผู้นำของตน อะดอล์ฟ ฮิตเลอร์ประกาศว่าจะกำจัดพวกเขาให้สิ้นซาก. (มัดธาย 23:10) พลพรรคและเครื่องมือของเขาดูเหมือนมีมากเกินพอสำหรับงานนี้. พวกนาซีประสบความสำเร็จในการจับกุมพยานฯ หลายพันคนและส่งไปค่ายกักกัน. พวกเขาถึงกับฆ่าพยานฯ จำนวนหนึ่งได้สำเร็จด้วยซ้ำ. แต่ว่าพวกนาซีไม่สามารถทำลายความตั้งใจแน่วแน่ของพยานฯ ที่จะนมัสการแต่พระเจ้าองค์เดียว อีกทั้งไม่สามารถกำจัดผู้รับใช้ของพระองค์ในฐานะกลุ่มชนให้หมดไปได้. กิจการงานของคริสเตียนเหล่านี้มาจากพระเจ้า ไม่ใช่มาจากมนุษย์ และไม่มีใครจะโค่นล้มกิจการของพระเจ้าได้. หกสิบปีผ่านไป ผู้ซื่อสัตย์ที่รอดชีวิตจากค่ายกักกันของฮิตเลอร์ยังคงรับใช้พระยะโฮวา ‘ด้วยสุดหัวใจ สุดชีวิต สุดจิตใจ’ ในขณะที่ฮิตเลอร์และพรรคนาซีของเขาสูญสิ้นไป จะเหลือเป็นที่จดจำก็แต่เรื่องการกระทำอันชั่วร้ายของพวกเขาเท่านั้น.—มัดธาย 22:37.
14. (ก) ผู้ต่อต้านพยายามทำอะไรเพื่อให้ร้ายผู้รับใช้ของพระเจ้า และส่งผลเช่นไร? (ข) ความพยายามเช่นนั้นจะก่อผลเสียหายถาวรใด ๆ แก่ประชาชนของพระเจ้าไหม? (เฮ็บราย 13:5, 6)
14 หลายปีต่อมานับจากความพยายามของพวกนาซี คนอื่น ๆ ก็เข้าร่วมด้วยในการสงครามต่อต้านพระยะโฮวาและประชาชนของพระองค์ที่ไม่มีวันจะชนะ. บางประเทศในยุโรป เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองกับผู้นำศาสนาเจ้าเล่ห์ได้พยายามให้ภาพพยานพระยะโฮวาว่าเป็น ‘นิกายอันตราย’ อันเป็นการกล่าวหาแบบเดียวกันกับที่คริสเตียนในศตวรรษแรกได้รับ. (กิจการ 28:22) ความเป็นจริงคือ ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปประกาศรับรองพยานพระยะโฮวาว่าเป็นศาสนา ไม่ใช่กลุ่มนิกาย. พวกผู้ต่อต้านต้องรู้เรื่องนี้แน่ แต่พวกเขาก็ยังคงใส่ร้ายพวกพยานฯ อยู่ต่อไป. ผลโดยตรงจากการให้ภาพผิด ๆ เช่นนี้ทำให้คริสเตียนเหล่านี้บางคนถูกปลดออกจากงาน. เด็กพยานฯ ถูกรังแกที่โรงเรียน. เจ้าของที่ที่รู้สึกกลัวก็ยกเลิกสัญญาเช่าอาคารที่พวกพยานฯ ใช้เป็นที่ประชุมกันมานาน. ในบางกรณี หน่วยงานของรัฐถึงกับปฏิเสธการให้สัญชาติเพียงเพราะบุคคลนั้นเป็นพยานพระยะโฮวา! กระนั้น พยานฯ ก็ไม่ย่อท้อ.
15, 16. พยานพระยะโฮวาในฝรั่งเศสมีปฏิกิริยาเช่นไรเมื่อมีการต่อต้านงานของพวกเขา และเพราะเหตุใดพวกเขาจึงประกาศต่อไป?
15 ยกตัวอย่าง ในฝรั่งเศส ประชาชนโดยทั่วไปเป็นคนมีเหตุมีผลและไม่ลำเอียง. แต่ผู้ต่อต้านบางคนได้ผลักดันกฎหมายที่มุ่งหมายจะขัดขวางงานราชอาณาจักร. พยานพระยะโฮวาในประเทศนี้มีปฏิกิริยาเช่นไร? พวกเขายิ่งทำงานยาโกโบ 4:7) เพียงในช่วงเวลาหกเดือนเท่านั้น จำนวนรายศึกษาพระคัมภีร์ตามบ้านในประเทศนี้เพิ่มขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อถึง 33 เปอร์เซ็นต์! พญามารคงต้องรู้สึกโกรธแค้นเมื่อเห็นผู้มีหัวใจสุจริตในฝรั่งเศสตอบรับข่าวดี. (วิวรณ์ 12:17) เพื่อนคริสเตียนของเราในฝรั่งเศสมั่นใจว่าถ้อยคำของผู้พยากรณ์ยะซายาจะเป็นจริงในกรณีของพวกเขาที่ว่า “ไม่มีเครื่องมืออันใดที่สร้างไว้ประหาร [“ต่อสู้,” ล.ม.] เจ้าจะสัมฤทธิ์ผล, และลิ้นทุกลิ้นที่กล่าวใส่ร้ายเจ้า เจ้าก็จะแก้ตก.”—ยะซายา 54:17.
ประกาศมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน และเกิดผลที่น่าทึ่ง. (16 พยานพระยะโฮวาไม่ชอบที่ถูกข่มเหง. อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยการเชื่อฟังพระบัญชาของพระเจ้าที่มอบไว้แก่คริสเตียนทุกคน พวกเขาไม่อาจหยุดพูดและจะไม่หยุดพูดในสิ่งที่พวกเขาได้ยินมานั้น. พวกเขาพยายามเป็นพลเมืองที่ดี. แต่เมื่อมีข้อขัดแย้งกันระหว่างกฎหมายของพระเจ้ากับของมนุษย์ พวกเขาจำต้องเชื่อฟังพระเจ้าฐานะเป็นผู้ครอบครอง.
ไม่ต้องกลัวเขา
17. (ก) เพราะเหตุใดเราไม่จำเป็นต้องกลัวศัตรูของเรา? (ข) เราควรมีเจตคติเช่นไรต่อผู้ข่มเหง?
17 ศัตรูของเราอยู่ในฐานะที่อันตราย. พวกเขากำลังต่อสู้พระเจ้า. ฉะนั้น แทนที่จะกลัวเขา เราอธิษฐานเพื่อผู้ที่ข่มเหงเรา ซึ่งสอดคล้องกับพระบัญชาของพระเยซู. (มัดธาย 5:44) เราอธิษฐานว่าหากมีใครต่อต้านพระเจ้าด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เหมือนอย่างเช่นเซาโลแห่งเมืองตาระโซ ขอพระยะโฮวาทรงโปรดเมตตาเปิดตาเขาให้มองเห็นความจริง. (2 โกรินโธ 4:4) เซาโลได้เข้ามาเป็นคริสเตียนอัครสาวกเปาโล และประสบความทุกข์มากมายด้วยน้ำมือของผู้มีอำนาจปกครองในสมัยนั้น. กระนั้น ท่านก็ยังเตือนเพื่อนร่วมความเชื่ออยู่เสมอว่า “ให้ยอมอยู่ใต้อำนาจและเชื่อฟังรัฐบาลและผู้มีอำนาจที่เป็นผู้ปกครอง, ให้พร้อมสำหรับการงานที่ดีทุกอย่าง, ไม่ให้พูดใส่ร้ายคนหนึ่งคนใด [แม้แต่ต่อผู้ที่ตั้งหน้าตั้งตาต่อต้านเขาอย่างที่สุด], ไม่ให้เป็นคนชอบวิวาท, ให้มีเหตุผล, สำแดงความอ่อนโยนในทุกทางต่อคนทั้งปวง.” (ติโต 3:1, 2, ล.ม.) พยานพระยะโฮวาในฝรั่งเศสและในที่อื่น ๆ ต่างบากบั่นพยายามทำตามคำแนะนำนี้.
18. (ก) พระยะโฮวาอาจช่วยประชาชนของพระองค์ให้พ้นจากการข่มเหงโดยวิธีใดบ้าง? (ข) ผลในที่สุดจะเป็นอย่างไร?
18 พระเจ้าบอกผู้พยากรณ์ยิระมะยาว่า “เราอยู่ด้วยเจ้าเพื่อจะช่วยเจ้าให้พ้น.” (ยิระมะยา 1:8) พระยะโฮวาอาจช่วยพวกเราให้พ้นจากการข่มเหงในสมัยปัจจุบันโดยวิธีใด? พระองค์อาจกระตุ้นใจผู้พิพากษาที่มีใจเที่ยงธรรมเหมือนอย่างฆามาลิเอล. หรือพระองค์อาจจะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐที่ประพฤติมิชอบหรือเป็นปรปักษ์นั้นพ้นจากตำแหน่งโดยไม่คาดคิด และให้คนที่มีใจเป็นธรรมกว่ามาดำรงตำแหน่งแทน. แต่บางครั้ง พระยะโฮวาก็อาจปล่อยให้การข่มเหงที่เกิดขึ้นกับประชาชนของพระองค์ดำเนินต่อไป. (2 ติโมเธียว 3:12) หากพระเจ้ายอมให้เราถูกข่มเหง พระองค์จะประทานกำลังแก่เราเสมอเพื่อเราจะทนได้. (1 โกรินโธ 10:13, ล.ม.) และไม่ว่าพระเจ้ายอมให้เกิดอะไรขึ้น เรามั่นใจได้ในเรื่องผลขั้นสุดท้าย นั่นคือ ผู้ต่อสู้ประชาชนของพระเจ้าก็ต่อสู้พระองค์ และผู้ที่ต่อสู้พระเจ้าจะไม่ชนะ.
19. ข้อคัมภีร์ประจำปีสำหรับปี 2006 คืออะไร และทำไมข้อนี้จึงเหมาะ?
19 พระเยซูบอกสาวกให้คาดหมายว่าพวกเขาจะประสบความทุกข์ยาก. (โยฮัน 16:33) เมื่อคำนึงถึงเรื่องนี้ คำกล่าวที่บันทึกในกิจการ 5:29 ที่ว่า “ข้าพเจ้าจำต้องเชื่อฟังพระเจ้ายิ่งกว่าเชื่อฟังมนุษย์” จึงเป็นถ้อยคำที่เหมาะกับเวลายิ่งกว่าแต่ก่อน. ด้วยเหตุนี้ ถ้อยคำที่เร้าใจดังกล่าวจึงถูกเลือกเป็นข้อคัมภีร์ประจำปี 2006 ของพยานพระยะโฮวา. ระหว่างปีที่กำลังจะมาถึงนี้และเรื่อยไปตราบชั่วนิรันดร์ ขอให้เราตั้งใจแน่วแน่ว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราจะเชื่อฟังพระเจ้ายิ่งกว่าเชื่อฟังมนุษย์!
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 7 “ซีซาร์” ที่พวกปุโรหิตใหญ่ประกาศรับรองอย่างเปิดเผยให้เป็นกษัตริย์ของตนในโอกาสนั้นคือ ทิเบริอุส จักรพรรดิโรมันผู้เป็นที่รังเกียจ เป็นคนหน้าซื่อใจคดและเป็นผู้ฆ่าคน. ทิเบริอุสยังขึ้นชื่อด้วยในเรื่องการประพฤติต่ำทรามทางเพศ.—ดานิเอล 11:15, 21.
คุณตอบได้ไหม?
• เหล่าอัครสาวกวางตัวอย่างอะไรที่หนุนกำลังใจไว้ให้เราโดยวิธีที่พวกเขารับมือกับการต่อต้าน?
• ทำไมเราควรเชื่อฟังพระเจ้ายิ่งกว่าเชื่อฟังมนุษย์เสมอ?
• ที่แท้แล้วผู้ต่อต้านเรากำลังต่อสู้กับใคร?
• เราคาดหมายได้ว่าผลจะเป็นเช่นไรสำหรับผู้ที่อดทนการข่มเหง?
[คำถาม]
[คำโปรยหน้า 23]
ข้อคัมภีร์ประจำปี 2006 คือ “ข้าพเจ้าจำต้องเชื่อฟังพระเจ้ายิ่งกว่าเชื่อฟังมนุษย์.”—กิจการ 5:29
[ภาพหน้า 19]
“ข้าพเจ้าจำต้องเชื่อฟังพระเจ้ายิ่งกว่าเชื่อฟังมนุษย์”
[ภาพหน้า 21]
กายะฟาวางใจมนุษย์แทนที่จะวางใจพระเจ้า