บัดนี้เป็นเวลาที่จะต้องลงมือปฏิบัติอย่างเด็ดขาด
บัดนี้เป็นเวลาที่จะต้องลงมือปฏิบัติอย่างเด็ดขาด
“นานสักเท่าไรที่เจ้าทั้งหลายเดินกะเผลกระหว่างความคิดเห็นที่ต่างกันสองอย่าง?”—1 กษัตริย์ 18:21, ล.ม.
1. อะไรทำให้สมัยของเราต่างกันมากจากสมัยก่อน ๆ?
คุณเชื่อไหมว่าพระยะโฮวาเป็นพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว? คุณเชื่อด้วยไหมว่าคำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิลชี้ว่าสมัยของเราเป็น “สมัยสุดท้าย” แห่งระบบชั่วของซาตาน? (2 ติโมเธียว 3:1, ล.ม.) ถ้าอย่างนั้น คุณย่อมจะเห็นด้วยอย่างแน่นอนว่า บัดนี้มีความจำเป็นที่จะต้องลงมือปฏิบัติอย่างเด็ดขาดยิ่งกว่าสมัยใด ๆ ทั้งสิ้น. ไม่เคยมีสมัยใดในประวัติศาสตร์มนุษย์ที่หลายต่อหลายชีวิตตกอยู่ในอันตรายอย่างนี้มาก่อน.
2. เกิดอะไรขึ้นในอาณาจักรอิสราเอลสิบตระกูลในระหว่างรัชกาลกษัตริย์อาฮาบ?
2 ในศตวรรษที่สิบก่อนสากลศักราช ชาติอิสราเอลจำเป็นที่จะต้องทำการตัดสินใจที่สำคัญ. พวกเขาจะปรนนิบัติผู้ใด? กษัตริย์อาฮาบ ซึ่งถูกชักจูงจากอีซาเบลพระมเหสีนอกรีต ได้ส่งเสริมการนมัสการพระบาละในอาณาจักรอิสราเอลสิบตระกูล. บาละเป็นพระเจ้าแห่งการเจริญพันธุ์ซึ่งเชื่อถือกันว่าจะบันดาลให้ฝนตกและเกิดพืชผลอุดมสมบูรณ์. ผู้นมัสการพระบาละเป็นจำนวนมากจะส่งจูบหรือไม่ก็ก้มกราบรูปปั้นพระที่พวกเขานมัสการ. เพื่อจะชักนำให้พระบาละอวยพรพืชพันธุ์กับปศุสัตว์ของพวกเขา ผู้นมัสการบาละจะปล่อยตัวประพฤติผิดทางเพศกับเหล่าโสเภณีประจำวิหาร. พวกเขายังมีธรรมเนียมเชือดตัวเองให้เลือดไหลด้วย.—1 กษัตริย์ 18:28.
3. การนมัสการพระบาละก่อผลกระทบเช่นไรต่อประชาชนของพระเจ้า?
3 มีชาวอิสราเอลเหลืออยู่ประมาณ 7,000 คนที่ไม่ยอมเข้าร่วมในการนมัสการที่เกี่ยวข้องกับการบูชารูปเคารพ, การผิดศีลธรรม, และการทำร้ายตัวเองนี้. (1 กษัตริย์ 19:18) พวกเขายึดมั่นอย่างภักดีกับสัมพันธภาพที่มีกับพระยะโฮวาพระเจ้าโดยทางคำสัญญาไมตรี และด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงถูกข่มเหง. ตัวอย่างเช่น ราชินีอีซาเบลประหารผู้พยากรณ์หลายคนของพระยะโฮวา. (1 กษัตริย์ 18:4, 13) เพราะตกอยู่ในสภาพการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้ ชาวอิสราเอลส่วนใหญ่จึงรวมความเชื่อ พยายามทำให้เป็นที่พอใจทั้งต่อพระยะโฮวาและต่อบาละ. แต่การหันเหจากพระยะโฮวาและไปนมัสการพระเท็จเป็นการออกหากสำหรับชาวอิสราเอล. พระยะโฮวาได้สัญญาจะอวยพรชาวอิสราเอล หากพวกเขารักพระองค์และเชื่อฟังพระบัญชาของพระองค์. อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงเตือนว่าหากพวกเขาไม่ได้ถวาย “ความเลื่อมใสโดยเฉพาะ” แด่พระองค์ พระองค์จะกำจัดพวกเขาให้หมดสิ้น.—พระบัญญัติ 5:6-10, ล.ม.; 28:15, 63.
4. พระเยซูกับอัครสาวกของพระองค์บอกไว้ล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้นท่ามกลางคริสเตียน และสิ่งนั้นเกิดขึ้นจริงอย่างไร?
4 สภาพการณ์คล้าย ๆ กันมีอยู่ในคริสต์ศาสนจักรในทุกวันนี้. สมาชิกของคริสตจักรเรียกตัวเองว่าเป็นคริสเตียน แต่วันนักขัตฤกษ์, ความประพฤติ, และข้อเชื่อของพวกเขาขัดกับคำสอนในคัมภีร์ไบเบิล. เช่นเดียวกับอีซาเบล นักเทศน์นักบวชของคริสต์ศาสนจักรเป็นตัวตั้งตัวตีในการข่มเหงพยานพระยะโฮวา. นอกจากนี้ นักเทศน์นักบวชของคริสต์ศาสนจักรยังมีประวัติมายาวนานในเรื่องการสนับสนุนสงคราม และโดยการทำเช่นนั้น พวกเขาทำให้สมาชิกของตนสูญเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมหาศาล. การที่ศาสนาเข้าไปสนับสนุนรัฐบาลฝ่ายโลกเช่นนั้น คัมภีร์ไบเบิลเรียกว่าเป็นการล่วงประเวณีในแง่ฝ่ายวิญญาณ. (วิวรณ์ 18:2, 3) นอกจากนั้น การล่วงประเวณีจริง ๆ ตามตัวอักษรก็กลาย เป็นที่ยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ ในคริสต์ศาสนจักร แม้แต่ในท่ามกลางพวกนักเทศน์นักบวชของเขาเอง. พระเยซูคริสต์กับอัครสาวกของพระองค์บอกไว้ล่วงหน้าถึงการออกหากครั้งใหญ่นี้. (มัดธาย 13:36-43; กิจการ 20:29, 30; 2 เปโตร 2:1, 2) ในที่สุดจะเกิดอะไรขึ้นกับสมาชิกของคริสต์ศาสนจักรที่มีมากกว่าพันล้านคน? และผู้นมัสการแท้ของพระยะโฮวามีความรับผิดชอบอะไรต่อคนเหล่านี้และคนอื่น ๆ ทั้งปวงที่ถูกชักนำให้หลงไปโดยศาสนาเท็จ? เราจะได้คำตอบที่กระจ่างชัดสำหรับคำถามเหล่านี้โดยการตรวจสอบเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นเร้าใจซึ่งนำไปสู่การ “ทำลายบาละออกจากประเทศยิศราเอล.”—2 กษัตริย์ 10:28.
ความรักที่พระเจ้ามีต่อประชาชนที่ดื้อดึงของพระองค์
5. พระยะโฮวาแสดงความห่วงใยด้วยความรักอย่างไรต่อประชาชนที่ดื้อดึงของพระองค์?
5 พระยะโฮวาพระเจ้าไม่มีความยินดีในการลงโทษผู้ที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อพระองค์. ฐานะบิดาผู้เปี่ยมด้วยความรัก พระองค์ปรารถนาให้ผู้ประพฤติชั่วกลับใจและหันกลับมาหาพระองค์. (ยะเอศเคล 18:32; 2 เปโตร 3:9) หลักฐานในเรื่องนี้คือ พระยะโฮวาใช้ผู้พยากรณ์หลายคนในสมัยของอาฮาบกับอีซาเบลไปเตือนประชาชนของพระองค์ถึงผลของการนมัสการพระบาละ. เอลียาเป็นผู้พยากรณ์คนหนึ่งในจำนวนนั้น. หลังจากเกิดช่วงฝนแล้งที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก ซึ่งมีการประกาศล่วงหน้า เอลียาทูลขอกษัตริย์อาฮาบให้สั่งชาวอิสราเอลกับผู้พยากรณ์ของพระบาละมาชุมนุมกันที่ภูเขาคาร์เมล.—1 กษัตริย์ 18:1, 19.
6, 7. (ก) เอลียาชี้ถึงสาเหตุของการออกหากของอิสราเอลว่าอย่างไร? (ข) ผู้พยากรณ์ของพระบาละทำอะไร? (ค) เอลียาทำอะไร?
6 การชุมนุมนั้นจัดขึ้นตรงแท่นบูชาหนึ่งของพระยะโฮวาที่ถูก “ทำลาย” ไป ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเพื่อเอาใจพระนางอีซาเบล. (1 กษัตริย์ 18:30) น่าเศร้า ชาวอิสราเอลที่มาร่วมชุมนุมไม่แน่ใจว่าใครกันแน่—พระยะโฮวาหรือว่าพระบาละ—ที่จะบันดาลให้มีฝนซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างยิ่งได้จริง ๆ. พระบาละมีผู้พยากรณ์ 450 คนเป็นตัวแทน ในขณะที่เอลียาเป็นผู้พยากรณ์คนเดียวที่เป็นตัวแทนพระยะโฮวา. โดยเจาะลึกถึงรากเหง้าของปัญหา เอลียาถามประชาชนเหล่านั้นว่า “นานสักเท่าไรที่เจ้าทั้งหลายเดินกะเผลกระหว่างความคิดเห็นที่ต่างกันสองอย่าง?” จากนั้น ท่านยกประเด็นขึ้นมาให้พวกเขาพิจารณาโดยใช้ถ้อยคำที่ง่าย ๆ ว่า “ถ้าพระยะโฮวาเป็นพระเจ้า, จงตามพระองค์: หรือถ้าบาละเป็นพระเจ้า, จงตามบาละเถิด.” เพื่อกระตุ้นชาวอิสราเอลที่ยังลังเลให้ถวายความเลื่อมใสโดยเฉพาะแด่พระยะโฮวา เอลียาเสนอการทดสอบว่าใครคือพระเจ้าเที่ยงแท้. มีการฆ่าโคสองตัวถวายเป็นเครื่องบูชา ตัวหนึ่งสำหรับพระยะโฮวา และอีกตัวสำหรับพระบาละ. พระเจ้าองค์เที่ยงแท้จะบันดาลให้เกิดไฟลุกท่วมเครื่องบูชานั้น. ผู้พยากรณ์ของพระบาละจัดเครื่องบูชาของตนถวาย แล้วร้องเรียกเป็นเวลาหลายชั่วโมงไม่หยุดว่า “โอ้บาละ, ขอฟังข้าพเจ้าเถิด.” เมื่อเอลียาเริ่มเยาะเย้ย พวกเขาก็เชือดเนื้อตัวเองให้เลือดไหล และพวกเขาร้องเรียกดังขึ้นอีกจนสุดเสียง. แต่ก็ไม่มีคำตอบใด ๆ.—1 กษัตริย์ 18:21, 26-29.
7 ทีนี้ถึงตาของเอลียาบ้าง. ก่อนอื่น ท่านซ่อมแซมแท่นบูชาของพระยะโฮวาและวางโคหนุ่มที่หั่นเป็นท่อน ๆ บนแท่น. แล้วท่านสั่งให้ตักน้ำสี่โอ่งมาเทลงบนเครื่องบูชา. มีการทำอย่างนั้นสามครั้งจนกระทั่งมีน้ำเต็มร่องที่ขุดไว้รอบแท่นบูชา. จากนั้น เอลียาทูลอธิษฐานว่า “ข้าแต่พระยะโฮวา, พระเจ้าแห่งอับราฮาม, ยิศฮาค, และยิศราเอล, ขอให้รู้ทั่วกันว่า, วันนี้พระองค์คือพระเจ้าแห่งยิศราเอล, และข้าพเจ้าคือทาสของพระองค์, และการเหล่านี้ซึ่งข้าพเจ้าได้กระทำนั้นก็กระทำตามพระดำรัสของพระองค์. ข้าแต่พระยะโฮวา, ขอทรงสดับฟังคำกราบทูลของข้าพเจ้า, ขอทรงสดับฟังข้าพเจ้า, เพื่อไพร่พลเหล่านี้จะได้รู้ว่าพระองค์คือพระยะโฮวาเป็นพระเจ้าและพระองค์ซึ่งบันดาลให้ใจของเขาทั้งหลายหันกลับมาอีก.”—1 กษัตริย์ 18:30-37.
8. พระเจ้าตอบคำอธิษฐานของเอลียาอย่างไร และผู้พยากรณ์เอลียาดำเนินการเช่นไร?
8 พระเจ้าองค์เที่ยงแท้ตอบคำอธิษฐานโดยให้มีไฟลงมาจากฟ้าลุกท่วมเครื่องบูชาพร้อมกับแท่นบูชา. ไฟนั้นทำให้กระทั่งน้ำในร่องรอบแท่นบูชาแห้งเหือดไปหมด! ลองมโนภาพผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวอิสราเอล. พวกเขา “ซบหน้าลงและร้องว่า; พระยะโฮวา, พระองค์นั้นเป็นพระเจ้า [เที่ยงแท้]; พระยะโฮวา, พระองค์นั้นเป็นพระเจ้า [เที่ยงแท้].” ถึงตอนนี้ เอลียาดำเนินการขั้นเด็ดขาด โดยสั่งชาวอิสราเอลว่า “จงจับผู้ทำนายทั้งหลายของบาละ; อย่าให้หนีพ้นสักคนเดียว.” ผู้พยากรณ์ของพระบาละทั้ง 450 คนถูกประหารเสียตรงเชิงเขาคาร์เมล.—1 กษัตริย์ 18:38-40.
9. ผู้นมัสการแท้ยังจะถูกทดสอบต่อไปอย่างไร?
9 ในวันที่ยากจะลืมเลือนนั้นเอง พระยะโฮวาบันดาลให้ฝนตกลงมารดแผ่นดินเป็นครั้งแรกหลังจากเกิดฝนแล้งมานานสามปีครึ่ง! (ยาโกโบ 5:17, 18) คุณสามารถนึกภาพการสนทนาในหมู่ชาวอิสราเอลระหว่างที่พวกเขาเดินทางกลับบ้านกัน ในเรื่องที่พระยะโฮวาได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความ เป็นพระเจ้าเที่ยงแท้ของพระองค์. อย่างไรก็ตาม ผู้นมัสการพระบาละไม่ยอมแพ้. พระนางอีซาเบลรณรงค์การกดขี่ข่มเหงผู้รับใช้ของพระยะโฮวาต่อไป. (1 กษัตริย์ 19:1, 2; 21:11-16) ด้วยเหตุนี้ ความซื่อสัตย์มั่นคงของประชาชนของพระเจ้าจึงถูกทดสอบอีกครั้งหนึ่ง. พวกเขาจะยังคงถวายความเลื่อมใสเฉพาะแด่พระยะโฮวาอยู่ไหมเมื่อถึงวันที่พระองค์ดำเนินการพิพากษาผู้นมัสการพระบาละ?
ลงมือปฏิบัติอย่างเด็ดขาดเสียแต่เดี๋ยวนี้
10. (ก) ในสมัยปัจจุบัน คริสเตียนผู้ถูกเจิมกำลังทำสิ่งใด? (ข) การเชื่อฟังพระบัญชาที่พบในวิวรณ์ 18:4 หมายถึงการทำอะไร?
10 ในสมัยปัจจุบัน เหล่าคริสเตียนผู้ถูกเจิมทำงานที่เหมือนกันกับงานของเอลียา. โดยทางคำพูดและสิ่งตีพิมพ์ พวกเขาเตือนประชาชนทุกชาติทั้งในและนอกคริสต์ศาสนจักรถึงภัยของศาสนาเท็จ. ผลคือ หลายล้านคนได้ลงมือปฏิบัติอย่างเด็ดขาดเพื่อยุติความสัมพันธ์กับศาสนาเท็จ. พวกเขาได้อุทิศชีวิตแด่พระยะโฮวา และเข้ามาเป็นสาวกที่รับบัพติสมาของพระเยซูคริสต์. ใช่แล้ว พวกเขาเชื่อฟังคำวิงวอนอย่างเร่งร้อนของพระเจ้าเกี่ยวกับศาสนาเท็จว่า “จงออกไปจากเมืองนั้นเถิด ประชาชนของเรา ถ้าพวกเจ้าไม่อยากจะมีส่วนในบาปของเมืองนั้น และถ้าพวกเจ้าไม่อยากจะได้รับส่วนแห่งภัยพิบัติของเมืองนั้น.”—วิวรณ์ 18:4, ล.ม.
11. อะไรเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะได้รับความพอพระทัยจากพระยะโฮวา?
11 ส่วนอีกหลายล้านคน แม้ว่าจะชอบข่าวสารในคัมภีร์ไบเบิลที่ได้ยินจากพยานพระยะโฮวา แต่ก็ยังไม่แน่ใจในสิ่งที่พวกเขาควรทำ. บางคนในพวกเขามาร่วมการประชุมคริสเตียนในบางโอกาส เช่น การประชุมอนุสรณ์ฉลองอาหารมื้อเย็นขององค์พระผู้เป็นเจ้าหรือการประชุมภาคในบางรายการ. เราขอสนับสนุนคนเหล่านี้ให้พิจารณาถ้อยคำของเอลียาอย่างถี่ถ้วนที่ว่า “เจ้าทั้งหลายจะเหยียบเรือสองแคมไปอีกนานสักเท่าใด?” (1 กษัตริย์ 18:21, นิว อิงลิช ไบเบิล) แทนที่จะชักช้าอยู่ พวกเขาต้องลงมือปฏิบัติอย่างเด็ดขาดในขณะนี้ และพยายามด้วยความกระตือรือร้นที่จะบรรลุเป้าหมายในการมาเป็นผู้นมัสการพระยะโฮวาที่อุทิศตัวและรับบัพติสมา. โอกาสที่จะได้รับชีวิตนิรันดร์ของพวกเขาอยู่ในระหว่างเสี่ยง!—2 เธซะโลนิเก 1:6-9.
12. คริสเตียนที่รับบัพติสมาแล้วบางคนได้ตกเข้าสู่สภาพเช่นไรที่อันตราย และพวกเขาควรทำอะไร?
12 น่าเศร้า คริสเตียนที่รับบัพติสมาแล้วบางคนกลายเป็นผู้ประกาศไม่สม่ำเสมอหรือไม่ออกประกาศอีกเลย. (เฮ็บราย 10:23-25; 13:15, 16) บางคนสูญเสียความมีใจแรงกล้าไปเพราะกลัวการกดขี่ข่มเหง, ห่วงกังวลเรื่องการทำมาหากิน, พยายามจะเป็นคนมั่งมี, หรือมุ่งแสวงหาความเพลิดเพลินสำหรับตน. พระเยซูเตือนว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้สาวกของพระองค์บางคนสะดุดล้ม, ชะงักงัน, และติดกับ. (มัดธาย 10:28-33; 13:20-22; ลูกา 12:22-31; 21:34-36) แทนที่จะทำราวกับว่า “เดินกะเผลกระหว่างความคิดเห็นที่ต่างกันสองอย่าง” คริสเตียนเหล่านี้ควรจะ “มีใจกระตือรือร้นและกลับใจเสียใหม่” ด้วยการลงมือปฏิบัติอย่างเด็ดขาดตามที่ตนได้อุทิศตัวแด่พระเจ้า.—วิวรณ์ 3:15-19.
อวสานฉับพลันของศาสนาเท็จ
13. จงพรรณนาสภาพการณ์ในอิสราเอลคราวที่เยฮูได้รับการเจิมเป็นกษัตริย์.
13 เหตุผลที่เป็นเรื่องเร่งด่วนสำหรับมนุษย์ที่จะลงมือปฏิบัติอย่างเด็ดขาดเสียแต่เดี๋ยวนี้ เห็นได้จากสิ่งที่เกิดขึ้นในอิสราเอลอีกประมาณ 18 ปีต่อมา หลังจากประเด็นเรื่องความเป็นพระเจ้าได้ข้อยุติที่ภูเขาคาร์เมล. วันพิพากษาของพระยะโฮวาต่อการนมัสการพระบาละเกิดขึ้นอย่างฉับพลันในเวลาที่ไม่คาดคิดระหว่างช่วงงานรับใช้ของอะลีซา ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากเอลียา. โยราม ราชโอรสของกษัตริย์อาฮาบ กำลังปกครองอิสราเอลอยู่ขณะนั้น และอีซาเบลราชมารดาของกษัตริย์ยังคงมีชีวิตอยู่. อะลีซาส่งคนใช้ของท่านไปทำการเจิมเยฮูแม่ทัพของอิสราเอลอย่างลับ ๆ ให้เป็นกษัตริย์องค์ใหม่. ตอนนั้น เยฮูบัญชาการรบกับศัตรูของอิสราเอลอยู่ที่เมืองราโมท-กิเลียดทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดน. กษัตริย์โยรามอยู่ที่ยิศเรเอล (ยิศเรล) เมืองในที่ราบในหุบเขาใกล้กับเมกิดโด เพื่อรักษาบาดแผลที่เกิดจากการสู้รบ.—2 กษัตริย์ 8:29–9:4.
14, 15. เยฮูได้รับงานมอบหมายอะไร และท่านตอบสนองอย่างไร?
14 นี่คือสิ่งที่พระยะโฮวาทรงสั่งให้เยฮูทำ: “ท่านจงประหารเชื้อวงศ์ของอาฮาบนายของท่าน, เพื่อเราจะได้แก้แค้นโลหิตแห่งผู้ทาสทั้งหลายของเราคือผู้พยากรณ์, และโลหิตแห่งผู้ทาสทั้งปวงของพระยะโฮวา, ซึ่งมือของอิซาเบ็ลได้กระทำไว้นั้น. ด้วยว่าเชื้อวงศ์ของอาฮาบทั้งสิ้นจะต้องพินาศไป . . . สุนัขจะกินอิซาเบ็ลในตำบลหนึ่งที่เมืองยิศเรลนั้น, และจะไม่มีใครฝังศพนางนั้นเลย.”—15 เยฮูเป็นคนเด็ดขาด. โดยไม่รีรอ ท่านขึ้นรถม้าบึ่งไปเมืองยิศเรเอล. คนยามที่เมืองยิศเรเอลจำลักษณะการขับรถม้าของเยฮูได้และรายงานให้กษัตริย์โยรามทราบ โยรามจึงขึ้นรถม้าออกไปหาแม่ทัพของตนในทันที. เมื่อทั้งสองประจันหน้ากัน โยรามถามว่า “เยฮูเอ๋ย, เจ้ามาดีหรือ?” เยฮูตอบว่า “จะมาดีอย่างไรได้, เมื่อการล่วงประเวณีและการทรงเจ้าเข้าผีของอิซาเบ็ลราชมารดาท่านยังมีมากอยู่?” จากนั้น ก่อนที่กษัตริย์โยรามจะหนีไปได้ เยฮูดึงลูกธนูออกมายิงทะลุหัวใจของโยรามเสียชีวิต.—2 กษัตริย์ 9:20-24.
16. (ก) ข้าราชสำนักของอีซาเบลเผชิญสถานการณ์เช่นไรอย่างไม่ทันคาดคิด? (ข) คำตรัสของพระยะโฮวาเกี่ยวกับพระนางอีซาเบลสำเร็จเป็นจริงอย่างไร?
16 โดยไม่ยอมให้เสียเวลา เยฮูบึ่งรถม้ามุ่งเข้าเมือง. อีซาเบลซึ่งแต่งหน้าเข้มมองลงมาจากหน้าต่าง ทักทายเยฮูด้วยคำข่มขู่. โดยไม่สนใจนาง เยฮูถามหาผู้สนับสนุนว่า “ใครอยู่ฝ่ายเรา? ใครบ้าง?” โอกาสนี้แหละที่เหล่าบริพารของอีซาเบลต้องลงมือปฏิบัติอย่างเด็ดขาด. ข้าราชสำนักสองสามคนโผล่หน้าออกมาจากหน้าต่าง. ในทันใดนั้น ความภักดีของพวกเขาถูกทดสอบ. เยฮูสั่งว่า “โยนนางลงมา!” ข้าราชสำนักเหล่านั้นทิ้งอีซาเบลลงมาสู่ถนนเบื้องล่าง และตรงนั้นเองนางถูกม้าและรถม้าของเยฮูเหยียบย่ำ. โดยวิธีนี้ ผู้ยุยงส่งเสริมให้มีการนมัสการพระบาละในแผ่นดินอิสราเอลจึงถึงจุดจบอย่างที่สมควรได้รับ. ไม่ทันที่จะนำร่างนางไปฝัง สุนัขได้มาแทะกินเนื้อซากศพเสียก่อน ดังที่มีพยากรณ์ไว้.—2 กษัตริย์ 9:30-37, ฉบับแปลใหม่.
17. การพิพากษาของพระเจ้าต่อนางอีซาเบลควรเสริมความเชื่อของเราให้มากขึ้นสำหรับเหตุการณ์อะไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต?
วิวรณ์ 17:3-6; 19:19-21; 21:1-4.
17 จุดจบอย่างน่าตกตะลึงคล้ายกันนี้จะเกิดขึ้นกับหญิงแพศยาโดยนัยซึ่งได้ชื่อว่า “เมืองบาบูโลนใหญ่.” หญิงแพศยานี้เป็นภาพแสดงถึงศาสนาเท็จในโลกของซาตาน ซึ่งล้วนมีต้นกำเนิดมาจากเมืองบาบิโลนโบราณ. ภายหลังอวสานของศาสนาเท็จ พระยะโฮวาพระเจ้าจะหันความสนพระทัยมายังมวลมนุษย์ซึ่งประกอบกันเป็นส่วนอื่น ๆ แห่งโลกของซาตาน. ส่วนเหล่านี้จะถูกทำลายเช่นกัน ซึ่งเป็นการเตรียมทางไว้สำหรับโลกใหม่อันชอบธรรม.—18. หลังความตายของอีซาเบล เกิดอะไรขึ้นกับผู้นมัสการพระบาละในอิสราเอล?
18 หลังความตายของอีซาเบล กษัตริย์เยฮูดำเนินการสังหารเชื้อวงศ์ของอาฮาบและผู้สนับสนุนคนสำคัญ ๆ ทั้งหมดในทันที. (2 กษัตริย์ 10:11) แต่ยังคงมีชาวอิสราเอลที่นมัสการพระบาละเหลืออยู่ไม่น้อยในแผ่นดินนั้น. กับชนอิสราเอลเหล่านี้ เยฮูดำเนินการอย่างเด็ดขาดเพื่อแสดง ‘ความร้อนรนของท่านเพื่อพระยะโฮวา.’ (2 กษัตริย์ 10:16) โดยทำทีว่าเป็นผู้นมัสการพระบาละ เยฮูจัดการถวายบูชาครั้งใหญ่ในวิหารของพระบาละที่อาฮาบได้สร้างขึ้นในกรุงซะมาเรีย. ผู้นมัสการพระบาละทุกคนในอิสราเอลมายังงานนั้น. เมื่อเข้ามาติดกับอยู่ในวิหาร พวกเขาถูกฆ่าโดยคนของเยฮูจนหมดสิ้น. คัมภีร์ไบเบิลลงท้ายเรื่องราวด้วยถ้อยคำที่ว่า “ดังนั้นแหละ เยฮูได้ทำลายบาละออกจากประเทศยิศราเอล.”—2 กษัตริย์ 10:18-28.
19. มีความหวังอันยอดเยี่ยมอะไรคอยท่า “ชนฝูงใหญ่” เหล่าผู้นมัสการที่ภักดีของพระยะโฮวา?
19 การนมัสการพระบาละถูกขจัดออกไปจากอิสราเอล. ศาสนาเท็จในโลกนี้จะถึงจุดจบฉับพลันและน่าตกตะลึงเช่นเดียวกันนั้นอย่างแน่นอน. คุณจะอยู่ฝ่ายไหนระหว่างวันใหญ่แห่งการพิพากษาดังกล่าว? จงลงมือปฏิบัติอย่างเด็ดขาดเสียแต่บัดนี้ เผื่อว่าคุณจะมีโอกาสได้อยู่ท่ามกลาง “ชนฝูงใหญ่” ของมนุษย์ที่รอดชีวิตผ่าน “ความทุกข์ลำบากครั้งใหญ่.” แล้วคุณจะสามารถย้อนกลับไปมองอดีตด้วยความรู้สึกปีติยินดี และจะกล่าวสรรเสริญพระเจ้าที่ทรงพิพากษาลงโทษ “หญิงแพศยาคนสำคัญนั้นที่ได้ทำให้แผ่นดินโลกเสื่อมเสียด้วยการผิดประเวณีของนาง.” คุณจะเห็นพ้องอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับผู้นมัสการแท้คนอื่น ๆ ในถ้อยคำที่แสดงถึงความตื่นเต้นยินดีของผู้อยู่ในสวรรค์ ซึ่งเปล่งเสียงร้องว่า “ท่านทั้งหลาย จงสรรเสริญยาห์ เพราะพระยะโฮวาพระเจ้าของเรา องค์ทรงฤทธานุภาพทุกประการ ทรงเริ่มปกครองเป็นกษัตริย์แล้ว.”—วิวรณ์ 7:9, 10, 14; 19:1, 2, 6, ล.ม.
คำถามสำหรับใคร่ครวญ
• อาณาจักรอิสราเอลโบราณมีความผิดฐานนมัสการพระบาละอย่างไร?
• คัมภีร์ไบเบิลบอกล่วงหน้าถึงการออกหากครั้งใหญ่อะไร และคำพยากรณ์ดังกล่าวสำเร็จเป็นจริงอย่างไร?
• เยฮูกำจัดการนมัสการพระบาละให้หมดไปอย่างไร?
• เราต้องทำอะไรเพื่อจะรอดชีวิตผ่านวันพิพากษาของพระเจ้า?
[คำถาม]
[แผนที่หน้า 25]
(รายละเอียดดูจากวารสาร)
โซโคห์
อาเฟก
เฮลคาท
โยกเนอัม
เมกิดโด
ทานัค
โดทาน
ซะมาเรีย
เอน-โดร์
ชูเนม
โอฟราห์
ยิศเรเอล
อิบเลอัม (กาท-ริมโมน)
ทีร์ซาห์
เบท-เชเมช
เบท-เชอัน (เบท-ชาน)
ยาเบช-กิเลียด?
เอเบล-เมโฮลาห์
บ้านอาร์เบล
ราโมท-กิเลียด
[ภูเขา]
ภูเขาคาร์เมล
ภูเขาทาโบร์
โมเรห์
ภูเขากิลโบอา
[แหล่งน้ำ]
ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ทะเลแกลิลี
[แม่น้ำ]
แม่น้ำจอร์แดน
[บ่อน้ำ]
บ่อน้ำฮาโรด
[ที่มาของภาพ]
Based on maps copyrighted by Pictorial Archive (Near Eastern History) Est. and Survey of Israel
[ภาพหน้า 26]
การเข้าร่วมงานประกาศเรื่องราชอาณาจักรและการเข้าร่วมประชุมคริสเตียนเป็นประจำเป็นส่วนสำคัญของการนมัสการแท้
[ภาพหน้า 28, 29]
เช่นเดียวกับเยฮู ทุกคนที่ต้องการรอดชีวิตผ่านวันของพระยะโฮวาต้องลงมือปฏิบัติอย่างเด็ดขาด