“ประกาศการปลดปล่อยแก่พวกเชลย”
“ประกาศการปลดปล่อยแก่พวกเชลย”
ในตอนเริ่มต้นงานรับใช้ของพระเยซู พระองค์ทรงประกาศว่า ส่วนหนึ่งของงานมอบหมายของพระองค์ คือการ “ประกาศการปลดปล่อยแก่พวกเชลย.” (ลูกา 4:18, ล.ม.) คริสเตียนแท้ในทุกวันนี้ติดตามตัวอย่างของผู้เป็นนายโดยประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรแก่ “คนทุกชนิด” ทำให้คนเหล่านั้นหลุดพ้นจากการเป็นเชลยทางฝ่ายวิญญาณและช่วยพวกเขาให้ปรับปรุงชีวิตของตน.—1 ติโมเธียว 2:4, ล.ม.
ทุกวันนี้ งานดังกล่าวรวมถึงการประกาศแก่ผู้ที่ถูกคุมขังเนื่องจากก่อคดีอาชญากรรมต่าง ๆ และเห็นคุณค่าของการปลดปล่อยฝ่ายวิญญาณ. ขอให้คุณเพลิดเพลินกับรายงานที่หนุนใจต่อไปนี้เกี่ยวกับกิจกรรมการประกาศของพยานพระยะโฮวาในเรือนจำทั้งในยูเครนและประเทศอื่น ๆ ในยุโรป.
จากผู้ติดยามาเป็นคริสเตียน
ตลอด 38 ปีในชีวิตของเซอร์ฮี * เขาใช้เวลา 20 ปีอยู่ในคุก. เขาถึงกับเรียนหนังสือจบขณะอยู่ในคุก. เขาบอกว่า “เมื่อหลายปีก่อน ผมถูกจำคุกเพราะฆ่าคน และเดี๋ยวนี้ผมก็ยังไม่พ้นโทษ. เมื่ออยู่ในคุกผมทำตัวเป็นทรราช และนักโทษคนอื่น ๆ ต่างก็กลัวผม.” นั่นทำให้เขารู้สึกเป็นอิสระไหม? ไม่เลย. เป็นเวลาหลายปี เซอร์ฮีเป็นทาสของยาเสพติด, แอลกอฮอล์, และยาสูบ.
ต่อมา เพื่อนผู้ต้องขังคนหนึ่งได้แบ่งปันความจริงจากคัมภีร์ไบเบิลแก่เขา. นี่เป็นเหมือนลำแสงที่ส่องมาในความมืด. ในเวลาไม่กี่เดือน เขาก็เลิกสิ่งเสพติดต่าง ๆ. แล้วกลายมาเป็นผู้ประกาศข่าวดีและรับบัพติสมา. ชีวิตในคุกของเซอร์ฮีขณะนี้ยุ่งอยู่กับงานฐานะผู้รับใช้เต็มเวลาของพระยะโฮวา. เขาได้ช่วยอาชญากรเจ็ดคนให้เปลี่ยนแนวทางชีวิตและกลายมาเป็นพี่น้องฝ่ายวิญญาณของเขา. หกคนในจำนวนนี้ได้พ้นโทษแล้ว แต่เซอร์ฮียังติดคุกอยู่. เขาไม่ได้เสียใจในเรื่องนี้เพราะเขามีความสุขที่สามารถช่วยคนอื่น ๆ ให้ได้รับการปลดปล่อยจากการถูกจองจำฝ่ายวิญญาณ.—กิจการ 20:35.
คนหนึ่งที่เคยศึกษากับเซอร์ฮีในคุกคือวิกทอร์ อดีตผู้ค้าและผู้เสพยา. หลังจากถูกปล่อยตัวจากเรือนจำแล้ว เฮ็บราย 4:12, ล.ม.
วิกทอร์ทำความก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณต่อไป และในที่สุดก็เข้าร่วมโรงเรียนฝึกอบรมเพื่องานรับใช้ในยูเครนจนจบหลักสูตร. ขณะนี้เขารับใช้เป็นไพโอเนียร์พิเศษอยู่ในประเทศมอลโดวา. วิกทอร์เล่าว่า “ผมเริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุ 8 ขวบ, ดื่มแอลกอฮอล์ตอนอายุ 12, และใช้ยาเสพติดตอนอายุ 14. ผมอยากจะเปลี่ยนชีวิตตัวเอง แต่ก็ทำไม่สำเร็จ. และแล้วในปี 1995 เมื่อผมกับภรรยากำลังวางแผนจะย้ายไปให้ห่างจากพวกเพื่อน ๆ ของผมที่นิสัยไม่ดี ภรรยาก็ถูกคนโรคจิตแทงจนเสียชีวิต. ชีวิตผมตอนนั้นทุกข์ระทมถึงขีดสุด. ‘ตอนนี้ภรรยาผมอยู่ที่ไหน? เกิดอะไรขึ้นเมื่อคนเราตาย?’ ผมเฝ้าถามคำถามเหล่านี้ แต่ก็ไม่ได้คำตอบ. ผมชดเชยความรู้สึกอ้างว้างด้วยการเสพยามากขึ้นเรื่อย ๆ. ผมถูกจับเพราะค้ายาและต้องติดคุกห้าปี. ที่คุก เซอร์ฮีช่วยผมให้พบคำตอบสำหรับคำถามเหล่านั้น. ผมเคยพยายามเลิกยาหลายครั้ง แต่ครั้งนี้ผมเลิกได้สำเร็จเพราะความช่วยเหลือจากคัมภีร์ไบเบิล. พระคำของพระเจ้ามีพลังจริง ๆ!”—อาชญากรหัวแข็งเปลี่ยนนิสัย
วาซิลไม่เคยใช้ยาเสพติด แต่เขาก็ไม่ได้รอดพ้นจากการถูกคุมขัง. เขาอธิบายว่า “ผมชอบชกมวยเป็นชีวิตจิตใจ. ผมฝึกที่จะชกคนอื่นโดยไม่ทิ้งรอยฟกช้ำใด ๆ ไว้.” วาซิลใช้วิธีที่รุนแรงของเขาในการปล้นจี้. “ผมเคยติดคุกสามครั้ง ภรรยาของผมจึงขอหย่า. ครั้งสุดท้ายผมติดคุกนานห้าปี ระหว่างนั้นผมก็ได้รู้จักกับสรรพหนังสือของพยานพระยะโฮวา. หนังสือเหล่านี้กระตุ้นให้ผมอ่านคัมภีร์ไบเบิล แต่ผมยังคงพัวพันกับสิ่งที่ผมชอบจริง ๆ นั่นคือการชกมวย.
“อย่างไรก็ตาม หลังจากอ่านคัมภีร์ไบเบิลได้หกเดือน มีบางอย่างในตัวผมเปลี่ยนไป. ชัยชนะในการชกมวยไม่ได้ทำให้ผมอิ่มใจพอใจเหมือนก่อน. ดังนั้น ผมจึงเริ่มวิเคราะห์ชีวิตของผมโดยอาศัยยะซายา 2:4 และผมก็ตระหนักว่าหากผมไม่ปรับความคิดของตัวเอง ผมคงต้องอยู่ในคุกไปตลอดชีวิต. ผมจึงทิ้งอุปกรณ์การชกมวยทุกอย่างและเริ่มเปลี่ยนแปลงบุคลิกตัวเอง. นั่นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การใคร่ครวญและการอธิษฐานค่อย ๆ ช่วยให้ผมเลิกนิสัยที่ไม่ดีได้. บางครั้ง ผมทูลอ้อนวอนพระยะโฮวาทั้งน้ำตาขอพระองค์ประทานกำลังให้ผมเพื่อจะเลิกชกมวยได้. ในที่สุดผมก็ทำสำเร็จ.
“เมื่อออกจากคุกแล้ว ผมกับครอบครัวก็กลับมาอยู่ด้วยกันอีก. ปัจจุบันนี้ผมทำงานในเหมืองถ่านหิน ซึ่งทำให้ผมมีเวลาที่จะทำงานประกาศร่วมกับภรรยาและทำหน้าที่รับผิดชอบต่าง ๆ ในประชาคมได้.”
มิโคลากับเพื่อนได้ร่วมกันปล้นธนาคารหลายแห่งในยูเครน. ผลที่เขาได้รับคือโทษจำคุกสิบปี. ก่อนที่จะถูกคุมขัง เขาเคยไปโบสถ์เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และที่ไปก็เพื่อจะเตรียมวางแผนปล้นโบสถ์แห่งนั้น. เหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปตามแผน แต่การไปโบสถ์ครั้งนั้นทำให้มิโคลาคิดว่าคัมภีร์ไบเบิลจะต้องเป็นหนังสือที่มีแต่เรื่องน่าเบื่อเกี่ยวกับบาทหลวงออร์โทด็อกซ์, เทียนไข, และวันหยุดทางศาสนา. เขาบอกว่า “ผมไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วเป็นเพราะอะไร แต่ผมก็เริ่มอ่านคัมภีร์ไบเบิล. ผมแปลกใจที่พบว่าไม่มีอะไรเหมือนกับที่ผมคิดไว้เลย!” เขาขอศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและรับบัพติสมาในปี 1999. เมื่อมองดูเขาในตอนนี้ เป็นเรื่องยากที่จะเชื่อว่าผู้ช่วยงานรับใช้ที่ถ่อมใจคนนี้เคยเป็นโจรปล้นธนาคารมาก่อน!
วลาดิเมียร์ต้องโทษประหารชีวิต. ขณะที่รอวันประหาร เขาอธิษฐานถึงพระเจ้าและสัญญาว่าหากรอดชีวิตเขาจะรับใช้พระองค์. ระหว่างนั้นมีการเปลี่ยนกฎหมาย และโทษประหารถูกลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต. เพื่อรักษาสัญญาที่ให้ไว้ วลาดิเมียร์เริ่มมองหาศาสนาแท้. เขาสมัครเรียนทางไปรษณีย์และได้รับประกาศนียบัตรจากคริสตจักรแอดเวนติสต์ แต่เขาก็ไม่รู้สึกอิ่มใจ.
อย่างไรก็ตาม หลังจากได้อ่านวารสารหอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! ในห้องสมุดของเรือนจำ วลาดิเมียร์ก็เขียนจดหมายไปยังสำนักงานสาขาของพยานพระยะโฮวาในยูเครนเพื่อขอให้ส่งคนมาเยี่ยม. ตอนที่พี่น้องชายในท้องถิ่นสองคนไปเยี่ยมเขา เขาถือว่าตัวเองเป็นพยานฯ แล้วและกำลังประกาศอยู่ในคุก. เขาได้รับการช่วยให้มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้ประกาศราชอาณาจักร. ขณะที่มีการเขียนเรื่องนี้ วลาดิเมียร์พร้อมกับอีกเจ็ดคนในเรือนจำแห่งนี้กำลังรอที่จะรับบัพติสมา. แต่พวกเขามีปัญหาอย่างหนึ่ง. เนื่องจากมีการขังผู้ที่ต้องโทษตลอดชีวิตไว้ตามกลุ่มความเชื่อทางศาสนา วลาดิเมียร์และเพื่อนร่วมห้องขังจึงเป็นกลุ่มที่มีความเชื่ออย่างเดียวกัน. แล้วพวกเขาจะประกาศกับใคร? พวกเขาแบ่งปันข่าวดีกับพวกผู้คุมในเรือนจำและให้คำพยานโดยการเขียนจดหมาย.
นาซาร์ย้ายจากยูเครนไปยังสาธารณรัฐเช็กและได้เข้าร่วมแก๊งโจรกลุ่มหนึ่ง. ผลคือเขาถูกจำคุกสามปีครึ่ง. ขณะที่อยู่ในคุก เขาตอบรับการเยี่ยมของพยานพระยะโฮวาที่มาจากคาร์โลวี แวรี ได้เรียนความจริง และเปลี่ยนแปลงนิสัยอย่างสิ้นเชิง. เมื่อเห็นเช่นนั้น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคนหนึ่งในเรือนจำได้บอกกับนักโทษที่อยู่ในห้องขังเดียวกับนาซาร์ว่า “ถ้าพวกคุณเป็นเหมือนชาวยูเครนคนนั้น ในที่สุดผมคงต้องเปลี่ยนอาชีพ.” เจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งพูดว่า “พวกพยานพระยะโฮวานี่เก่งจริง ๆ. ตอนเข้ามาในคุกคนเหล่านั้นเป็นอาชญากร แต่กลับออกไปเป็นคนที่น่านับถือ.” ปัจจุบันนาซาร์กลับไปอยู่ที่บ้านแล้ว. เขาเรียนเป็นช่างไม้แล้วก็แต่งงาน และทั้งเขากับภรรยากำลังรับใช้เต็มเวลา. เขารู้สึกขอบคุณพวกพยานฯ มากจริง ๆ ที่มาเยี่ยมที่คุก!
พวกเจ้าหน้าที่สังเกต
ไม่ได้มีเพียงนักโทษเท่านั้นที่รู้สึกขอบคุณสำหรับงานของพยานพระยะโฮวา. มิโลสลาฟ โควัลสกี โฆษกของเรือนจำแห่งหนึ่งในโปแลนด์บอกว่า “เราหยั่งรู้ค่าการเยี่ยมของพวกเขามาก. นักโทษบางคนมีภูมิหลังที่น่าเศร้า. พวกเขาอาจไม่เคยได้รับการปฏิบัติเยี่ยงมนุษย์เลย. . . . การช่วยเหลือ [จากพยานฯ] เป็นสิ่งที่มีค่ามาก เพราะเราเองก็ขาดบุคลากรและผู้สอน.”
พัศดีของเรือนจำอีกแห่งหนึ่งในโปแลนด์ได้เขียนถึงสำนักงานสาขาเพื่อขอให้พยานฯ มาที่คุกของเขาบ่อยขึ้น. เพราะอะไร? เขาอธิบายว่า “การที่ตัวแทนของหอสังเกตการณ์มาบ่อยขึ้นอาจช่วยผู้ต้องขังให้พัฒนาคุณลักษณะที่น่าปรารถนาเพื่อจะอยู่ในสังคม และเป็นการลดความก้าวร้าวในหมู่พวกเขา.”
หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งของยูเครนได้รายงานเกี่ยวกับนักโทษคนหนึ่งซึ่งเป็นโรคซึมเศร้าและพยายามจะฆ่าตัวตายแต่แล้วก็ได้รับการช่วยเหลือจากพยานพระยะโฮวา. รายงานกล่าวว่า “ขณะนี้ผู้ชายคนนี้มีสภาพจิตใจดีขึ้นเรื่อย ๆ.
เขาทำกิจวัตรต่าง ๆ ของเรือนจำและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เพื่อนนักโทษ.”ประโยชน์มีมากกว่านั้น
งานที่พยานพระยะโฮวาทำไม่ได้ก่อประโยชน์เฉพาะภายในเรือนจำเท่านั้น. งานของพวกเขายังเป็นประโยชน์หลังจากที่นักโทษได้รับการปล่อยตัวแล้วด้วย. คริสเตียนสองคนชื่อบริกิตเตและเรนาเต ได้ช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิงด้วยวิธีนี้มาหลายปีแล้ว. หนังสือพิมพ์ภาษาเยอรมันชื่อไมน์-เอโค อาชาฟเฟนบูรก์ ได้รายงานเกี่ยวกับคริสเตียนสองคนนี้ว่า “พวกเธอจะดูแลนักโทษหญิงที่พ้นโทษไปแล้วสามถึงห้าเดือน และสนับสนุนให้คนเหล่านั้นค้นพบจุดมุ่งหมายที่แท้จริงในชีวิต. . . . พวกเธอได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการฐานะเจ้าหน้าที่อาสาคุมประพฤติ. . . . พวกเธอยังทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ในเรือนจำได้เป็นอย่างดีอีกด้วย” มีอดีตนักโทษหลายคนได้อุทิศชีวิตแด่พระยะโฮวาเนื่องจากได้รับการช่วยเหลือเช่นนี้.
แม้แต่เจ้าหน้าที่เรือนจำก็ได้รับประโยชน์จากงานให้การศึกษาด้านคัมภีร์ไบเบิลที่พยานพระยะโฮวาทำอยู่. ตัวอย่างเช่น โรมัน นายทหารและจิตแพทย์ของเรือนจำแห่งหนึ่งในยูเครน. เมื่อพยานฯ มาเยี่ยมที่บ้าน เขาตอบรับการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. แล้วเขาก็ได้ทราบว่าพยานฯ ไม่ได้รับอนุญาตให้ติดต่อกับผู้ต้องขังในเรือนจำที่เขาทำงานอยู่. เขาจึงขออนุญาตผู้คุมใช้คัมภีร์ไบเบิลกับนักโทษในงานของเขา. คำขอของเขาได้รับอนุญาต และมีนักโทษประมาณสิบคนแสดงความสนใจ. โรมันแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลที่เขามีมากขึ้นเรื่อย ๆ ให้กับนักโทษเหล่านั้น และความพยายามของเขาก็ได้ผลดีเยี่ยม. หลังจากได้รับการปล่อยตัวแล้ว บางคนยังทำความก้าวหน้าต่อไปและมาเป็นคริสเตียนที่รับบัพติสมาแล้ว. เมื่อได้เห็นพลังแห่งพระคำของพระเจ้า โรมันจึงศึกษาอย่างเอาจริงเอาจังมากขึ้น. เขาออกจากกองทัพและทำงานให้การศึกษาด้านคัมภีร์ไบเบิลต่อไป. ขณะนี้เขากำลังทำงานประกาศร่วมกับอดีตนักโทษคนหนึ่ง.
นักโทษคนหนึ่งเขียนมาบอกว่า “ที่นี่เราอยู่ได้เพราะคัมภีร์ไบเบิล, สรรพหนังสือเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิล, และการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล.” คำพูดนี้แสดงให้เห็นว่า เรือนจำบางแห่งยังต้องการสรรพหนังสือเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิล. ประชาคมหนึ่งของยูเครนได้รายงานเกี่ยวกับงานให้การศึกษาด้านคัมภีร์ไบเบิลในเรือนจำท้องถิ่นแห่งหนึ่งดังนี้: “ฝ่ายบริหารรู้สึกขอบคุณสำหรับหนังสือที่เรานำไปให้. เราส่งหอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! ให้พวกเขางวดละ 60 เล่ม.” อีกประชาคมหนึ่งเขียนมาบอกว่า “ทัณฑสถานที่พวกเราดูแลอยู่มีห้องสมุดเล็ก ๆ 20 แห่ง. เราให้สรรพหนังสือเล่มหลัก ๆ ของเราแก่ห้องสมุดทุกแห่ง. หนังสือเหล่านี้มีจำนวนถึง 20 กล่อง.” ในเรือนจำแห่งหนึ่ง ผู้คุมเก็บวารสารของเราใส่แฟ้มไว้ในห้องสมุดเพื่อนักโทษจะได้รับประโยชน์จากวารสารทุกฉบับ.
ในปี 2002 สำนักงานสาขาในยูเครนได้ตั้งแผนกเรือนจำขึ้น. ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แผนกนี้ได้ติดต่อทัณฑสถานประมาณ 120 แห่งและได้มอบหมายประชาคมต่าง ๆ ให้ดูแลทัณฑสถานเหล่านั้น. ทางแผนกได้รับจดหมายจากนักโทษประมาณ 50 ฉบับทุกเดือน ส่วนใหญ่เป็นจดหมายที่เขียนมาขอหนังสือและขอการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. ทางสาขาจะส่งหนังสือปกแข็ง, วารสาร, และจุลสารไปให้ จนกว่าพี่น้องในท้องถิ่นสามารถติดต่อพวกเขาได้.
อัครสาวกเปาโลเขียนถึงเพื่อนคริสเตียนว่า “จงระลึกถึงคนเหล่านั้นที่ถูกจำจองอยู่.” (เฮ็บราย 13:3) ท่านกำลังพูดถึงคนที่ถูกจำคุกเนื่องจากรักษาความเชื่อ. ทุกวันนี้พยานพระยะโฮวาระลึกถึงคนที่ถูกคุมขัง, เยี่ยมเยียนเรือนจำ, และ “ประกาศการปลดปล่อยแก่พวกเชลย.”—ลูกา 4:18, ล.ม.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 5 ชื่อสมมุติ.
[ภาพหน้า 9]
กำแพงเรือนจำลวิฟ ยูเครน
[ภาพหน้า 10]
มิโคลา
[ภาพหน้า 10]
วาซิลกับไอรินา ภรรยา
[ภาพหน้า 10]
วิกทอร์