การแสวงหาความชอบธรรมจะช่วยป้องกันเราไว้
การแสวงหาความชอบธรรมจะช่วยป้องกันเราไว้
“จงแสวงหา . . . ความชอบธรรม [ของพระเจ้า] ก่อน.”—มัดธาย 6:33.
1, 2. คริสเตียนวัยสาวคนหนึ่งทำการตัดสินใจอะไร และเพราะเหตุใดเธอจึงตัดสินใจอย่างนั้น?
คริสเตียนวัยสาวคนหนึ่งในเอเชียทำงานเป็นเลขานุการในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง. เธอเป็นคนสำนึกในหน้าที่ รายงานตัวเข้าทำงานแต่เช้าและไม่เถลไถลในหน้าที่การงาน. อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเธอมีตำแหน่งเป็นลูกจ้างชั่วคราว จึงมีการประเมินเพื่อบรรจุเป็นลูกจ้างประจำ. หัวหน้าแผนกบอกหญิงสาวว่าเขาจะรับเธอเป็นลูกจ้างประจำและกระทั่งให้เธอทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้นด้วย หากเธอยอมหลับนอนกับเขา. เธอปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง แม้ว่านั่นจะทำให้ถูกเลิกจ้างก็ตาม.
2 คริสเตียนสาวคนนี้ตัดสินใจแบบไม่ฉลาดไหม? เปล่าเลย เธอกำลังปฏิบัติตามคำตรัสของพระเยซูอย่างสุขุมที่ว่า “จงแสวงหา . . . ความชอบธรรม [ของพระเจ้า] ก่อน.” (มัดธาย 6:33) สำหรับเธอแล้ว การปฏิบัติตามหลักการอันชอบธรรมมีความสำคัญมากยิ่งกว่าการได้ผลประโยชน์จากการประพฤติผิดศีลธรรมทางเพศมากนัก.—1 โกรินโธ 6:18.
ความสำคัญของความชอบธรรม
3. ความชอบธรรมคืออะไร?
3 “ความชอบธรรม” แสดงนัยถึงการยึดมั่นกับหลักศีลธรรม. ในคัมภีร์ไบเบิล คำภาษาฮีบรูและกรีกสำหรับคำว่าชอบธรรม ถ่ายทอดความคิดเรื่อง “ความถูกต้อง” หรือ “ความซื่อตรง.” ความชอบธรรมไม่ใช่การประเมินตัวเองโดยอาศัยมาตรฐานของตนเอง. (ลูกา 16:15) ความชอบธรรมเป็นความเที่ยงธรรมตามมาตรฐานของพระยะโฮวา. พระเจ้าคือผู้กำหนดมาตรฐานความชอบธรรม.—โรม 1:17; 3:21.
4. เหตุใดความชอบธรรมจึงสำคัญสำหรับคริสเตียน?
4 เหตุใดความชอบธรรมจึงสำคัญ? ก็เนื่องจากพระยะโฮวา “พระเจ้าแห่งความชอบธรรม” โปรดปรานประชาชนของพระองค์เมื่อพวกเขาประพฤติตัวชอบธรรม. (บทเพลงสรรเสริญ 4:1; สุภาษิต 2:20-22; ฮะบาฆูค 1:13) ผู้ใดก็ตามที่กระทำสิ่งไม่ชอบธรรมจะมีสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับพระองค์ไม่ได้. (สุภาษิต 15:8) นั่นเป็นเหตุที่อัครสาวกเปาโลกระตุ้นติโมเธียวว่า “จงหนีเสียจากความปรารถนาซึ่งมักมีในวัยหนุ่มสาว แต่จงมุ่งติดตามความชอบธรรม” อีกทั้งคุณลักษณะอื่น ๆ ที่สำคัญ. (2 ติโมเธียว 2:22, ล.ม.) นั่นยังเป็นเหตุที่เปาโลรวมเอา “ความชอบธรรมเป็นเครื่องทับทรวงป้องกันอก” ไว้ด้วยเมื่อท่านกล่าวถึงชิ้นต่าง ๆ ของยุทธภัณฑ์ฝ่ายวิญญาณของเรา.—เอเฟโซ 6:14.
5. มนุษย์ไม่สมบูรณ์จะแสวงหาความชอบธรรมได้อย่างไร?
5 แน่นอน ไม่มีมนุษย์คนใดเป็นผู้ชอบธรรมในความหมายที่ครบถ้วน. ทุกคนได้รับความไม่สมบูรณ์สืบทอดมาจากอาดาม และทุกคนทำบาป ไม่ชอบธรรมตั้งแต่เกิดมา. ถึงกระนั้น พระเยซูตรัสว่าเราควรแสวงหาความชอบธรรม. นั่นจะเป็นไปได้อย่างไร? ก็โดยการที่พระเยซูประทานชีวิตสมบูรณ์ของพระองค์เป็นค่าไถ่เพื่อเรา และถ้าเราแสดงความเชื่อในเครื่องบูชาดังกล่าว พระยะโฮวาก็เต็มพระทัยจะอภัยบาปให้เรา. (มัดธาย 20:28; โยฮัน 3:16; โรม 5:8, 9, 12, 18) โดยอาศัยพื้นฐานดังกล่าว เมื่อเราเรียนรู้มาตรฐานความชอบธรรมของพระยะโฮวาและบากบั่นปฏิบัติตามมาตรฐานเหล่านั้นอย่างสุดกำลังของเรา—อธิษฐานขอความช่วยเหลือเพื่อเอาชนะข้ออ่อนแอของเรา—พระยะโฮวาจะยอมรับการนมัสการของเรา. (บทเพลงสรรเสริญ 1:6; โรม 7:19-25; วิวรณ์ 7:9, 14) นี่นับว่าเป็นการชูใจเราสักเพียงไร!
ความชอบธรรมในโลกที่ไม่ชอบธรรม
6. ทำไมโลกจึงเป็นสถานที่อันตรายสำหรับคริสเตียนในยุคแรก?
6 เมื่อสาวกของพระเยซูได้รับมอบหมายงานให้เป็นพยานฝ่ายพระองค์ “จนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก” พวกเขาเผชิญกับสภาพการณ์ที่ยุ่งยาก. (กิจการ 1:8) เขตทำงานที่พวกเขาได้รับมอบหมายทั้งหมดล้วน “อยู่ในอำนาจตัวชั่วร้าย” คือซาตาน. (1 โยฮัน 5:19, ล.ม.) โลกติดเชื้อน้ำใจชั่วช้าที่ซาตานส่งเสริม และคริสเตียนต้องเผชิญกับการถูกชักจูงโดยอิทธิพลที่เสื่อมเสียของโลก. (เอเฟโซ 2:2) สำหรับพวกเขา โลกเป็นสถานที่ที่อันตราย. เฉพาะแต่โดยการแสวงหาความชอบธรรมของพระเจ้าก่อนเท่านั้นพวกเขาจึงจะอดทนและรักษาความซื่อสัตย์มั่นคงไว้ได้. ส่วนใหญ่ในพวกเขายืนหยัดต่อไป แต่บางคนหันเหไปจาก “ทางแห่งความชอบธรรม.”—สุภาษิต 12:28, ล.ม.; 2 ติโมเธียว 4:10.
7. หน้าที่รับผิดชอบอะไรที่ทำให้คริสเตียนต้องต้านทานอิทธิพลที่ทำให้เสื่อมทราม?
7 โลกเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยกว่าสำหรับคริสเตียนในสมัยนี้ไหม? ไม่เลย! โลกเสื่อมทรามยิ่งกว่าในสมัยศตวรรษแรกเสียอีก. นอกจากนั้น ซาตานได้ถูกเหวี่ยงลงมายังโลกนี้ และทำสงครามอย่างโหดร้ายกับคริสเตียนผู้ถูกเจิม “ผู้ที่เหลืออยู่แห่งพงศ์พันธุ์ [ของผู้หญิง] ซึ่งปฏิบัติตามข้อบัญญัติต่าง ๆ ของพระเจ้าและมีงานเป็นพยานถึงพระเยซู.” (วิวรณ์ 12:12, 17, ล.ม.) ซาตานโจมตีใครก็ตามที่สนับสนุน “พงศ์พันธุ์” นั้นด้วย. กระนั้น คริสเตียนไม่สามารถหนีจากโลกได้. แม้ไม่เป็นส่วนของโลก แต่พวกเขาก็ต้องใช้ชีวิตอยู่ในโลก. (โยฮัน 17:15, 16) และพวกเขาต้องประกาศในโลกเพื่อเสาะหาผู้มีความโน้มเอียงอย่างถูกต้องและสอนคนเหล่านั้นให้เข้ามาเป็นสาวกของพระคริสต์. (มัดธาย 24:14; 28:19, 20) ฉะนั้น ในเมื่อคริสเตียนไม่สามารถหลีกเลี่ยงอิทธิพลเสื่อมทรามในโลกนี้ได้อย่างสิ้นเชิง พวกเขาจึงต้องต้านทานอิทธิพลนั้น. ให้เรามาพิจารณาอิทธิพลชักนำเหล่านี้สักสี่ประการ.
กับดักแห่งการผิดศีลธรรม
8. ทำไมชาวอิสราเอลจึงไปนมัสการบรรดาพระของชาวโมอาบ?
8 เมื่อการรอนแรม 40 ปีในถิ่นทุรกันดารใกล้จะสิ้นสุดลง ชาวอิสราเอลจำนวนไม่น้อยได้ละทิ้งทางแห่งความชอบธรรม. พวกเขาเป็นประจักษ์พยานถึงการช่วยให้รอดจากพระยะโฮวาหลายครั้งหลายครา และในอีกไม่ช้าก็จะเคลื่อนขบวนเข้าสู่แผ่นดินตามคำสัญญา. แต่กระนั้น ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้เอง พวกเขาไปกราบไหว้พวกพระของชาวโมอาบ. เพราะเหตุใด? พวกเขาพ่ายต่อ “ความปรารถนาของเนื้อหนัง.” (1 โยฮัน 2:16, ล.ม.) บันทึกรายงานว่า “พวกยิศราเอลได้ประพฤติผิดล่วงประเวณีกับหญิงชาวเมืองโมอาบ.”—อาฤธโม 25:1.
9, 10. สภาพการณ์เช่นไรในปัจจุบันที่ทำให้ต้องจำไว้เสมอว่าความปรารถนาผิด ๆ ทางเนื้อหนังนั้นมีพลังชักจูงที่เสื่อมทราม?
9 เหตุการณ์ครั้งนั้นแสดงให้เห็นว่าความปรารถนาผิด ๆ ทางเนื้อหนังทำให้ผู้ที่ไม่ระวังตัวเสื่อมเสียไปได้อย่างไร. เราควรจะเรียนรู้จากเหตุการณ์นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากการผิดศีลธรรมทางเพศถูกมองว่าเป็นรูปแบบชีวิตที่ถือกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นที่ยอมรับได้. (1 โกรินโธ 10:6, 8) รายงานหนึ่งจากสหรัฐกล่าวว่า “ก่อนหน้าปี 1970 การอยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยาโดยไม่สมรสเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายของทุกรัฐในสหรัฐอเมริกา. เดี๋ยวนี้ กิจปฏิบัติดังกล่าวกลายเป็นเรื่องธรรมดา. มากกว่าครึ่งหนึ่งของคู่สมรสที่แต่งงานกันครั้งแรกนั้นได้อยู่กินกันมาก่อนแล้ว.” กิจปฏิบัติดังกล่าวและการประพฤติหละหลวมอื่น ๆ ในเรื่อง เพศแบบนี้ไม่ได้มีอยู่แค่ในสหรัฐ. สิ่งเหล่านี้พบเห็นได้ตลอดทั่วโลก และน่าเศร้าที่คริสเตียนบางคนได้ติดตามกระแสนิยมดังกล่าว และถึงกับสูญเสียฐานะของตนในประชาคมคริสเตียนไป.—1 โกรินโธ 5:11.
10 นอกจากนี้ การผิดศีลธรรมทางเพศดูเหมือนจะได้รับการส่งเสริมอย่างแพร่หลาย. ภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ถ่ายทอดความคิดที่ว่าไม่มีอะไรผิดเลยที่หนุ่มสาวจะมีเพศสัมพันธ์กันก่อนการสมรส. มีการให้ภาพว่าความสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศเป็นเรื่องปกติธรรมดา. และรายการบันเทิงมากมายก็แสดงการมีเพศสัมพันธ์ที่โจ่งแจ้งมากขึ้นเรื่อย ๆ. ภาพการร่วมเพศแบบโจ่งแจ้งสามารถเข้าไปดูได้ง่ายในอินเทอร์เน็ตเช่นกัน. เพื่อเป็นตัวอย่าง นักเขียนคอลัมน์ของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งรายงานว่าลูกชายวัยเจ็ดขวบของเขากลับมาจากโรงเรียนเล่าให้พ่อฟังด้วยความตื่นเต้นว่า เพื่อนคนหนึ่งที่โรงเรียนเจอเว็บไซต์ที่มีภาพผู้หญิงเปลือยกำลังร่วมเพศอยู่. ผู้เป็นพ่อตกใจมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วจะมีเด็กสักกี่คนที่เจอเว็บไซต์อย่างนั้นแล้วบอกให้พ่อแม่รู้? นอกจากนี้ จะมีพ่อแม่สักกี่คนที่รู้ว่าวิดีโอเกมที่ลูกเล่นอยู่มีเนื้อหาเช่นไร? วิดีโอเกมที่เป็นที่นิยมมากมายเสนอเรื่องผิดศีลธรรมที่น่ารังเกียจ รวมทั้งลัทธิผีปิศาจและความรุนแรง.
11. ครอบครัวจะได้รับการปกป้องจากกิจปฏิบัติต่าง ๆ ที่ไร้ศีลธรรมของโลกได้อย่างไร?
11 ครอบครัวจะต้านทาน “ความบันเทิง” ที่เสื่อมทรามเช่นนั้นได้อย่างไร? โดยการแสวงหาความชอบธรรมของพระเจ้าก่อนและไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการผิดศีลธรรมไม่ว่ารูปแบบใดก็ตาม. (2 โกรินโธ 6:14; เอเฟโซ 5:3) พ่อแม่ที่สอดส่องดูแลกิจกรรมต่าง ๆ ของลูกอย่างเหมาะสมและปลูกฝังความรักต่อพระยะโฮวาและต่อกฎหมายอันชอบธรรมของพระองค์เข้าไว้ในตัวบุตร ก็จะสร้างเกราะป้องกันบุตรไว้จากสิ่งลามก, วิดีโอเกมที่ลามก, ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเรื่องเพศ, และสิ่งล่อใจอื่น ๆ ที่ไร้ความชอบธรรม.—พระบัญญัติ 6:4-9. *
อันตรายของความกดดันจากชุมชน
12. เกิดปัญหาอะไรขึ้นในศตวรรษแรก?
12 เมื่อเปาโลอยู่ในเมืองลิสตราแคว้นเอเชียน้อย ท่านรักษาโรคชายคนหนึ่งให้หายอย่างอัศจรรย์. บันทึกรายงานว่า “เมื่อประชาชนเห็นเหตุการณ์ซึ่งเปาโลได้กระทำนั้น, จึงร้องด้วยเสียงดังเป็นภาษาลุกาโอเนียว่า, ‘พวกพระแปลงเป็นมนุษย์ลงมาหาเราแล้ว.’ เขาจึงเรียกบาระนาบาว่าซูศ, และเรียกเปาโลว่าเฮระเม, เพราะเปาโลเป็นผู้เทศน์มากกว่า.” (กิจการ 14:11, 12) ในภายหลัง ฝูงชนกลุ่มเดียวกันนี้ต้องการเอาชีวิตเปาโลกับบาระนาบา. (กิจการ 14:19) เห็นได้ชัดว่า คนเหล่านี้ถูกความกดดันจากชุมชนครอบงำได้ง่ายจริง ๆ. ดูเหมือนว่าเมื่อบางคนในภูมิภาคนี้เข้ามาเป็นคริสเตียน พวกเขาก็ยังผูกพันกับความเชื่อที่ผิด ๆ อยู่. ในจดหมายที่เปาโลเขียนไปถึงคริสเตียนในเมืองโกโลซาย ท่านเตือนเรื่องการ “บูชาทูตสวรรค์.”—โกโลซาย 2:18, ล.ม.
13. อะไรเป็นธรรมเนียมบางอย่างที่คริสเตียนพึงหลีกเลี่ยง และเขาจะได้ความเข้มแข็งเพื่อทำเช่นนั้นอย่างไร?
13 ปัจจุบันนี้คริสเตียนแท้ก็เช่นกัน ต้องหลีกเลี่ยงจารีตประเพณีซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปและที่อาศัยความเชื่อท่านผู้ประกาศ 9:5, 10) บางประเทศมีธรรมเนียมขริบอวัยวะเพศของเด็กสาว. * นี่เป็นกิจปฏิบัติโหดร้ายทารุณที่ไม่จำเป็นเลยซึ่งไม่เข้ากันอย่างยิ่งกับความห่วงใยรักใคร่ที่บิดามารดาคริสเตียนพึงมีต่อบุตรของตน. (พระบัญญัติ 6:6, 7; เอเฟโซ 6:4) คริสเตียนจะต้านทานความกดดันจากชุมชนและละเว้นกิจปฏิบัติเช่นนั้นได้อย่างไร? ก็โดยการวางใจพระยะโฮวาอย่างเต็มเปี่ยม. (บทเพลงสรรเสริญ 31:6) พระเจ้าองค์ชอบธรรมจะเสริมความเข้มแข็งและเอาพระทัยใส่ผู้ที่ทูลต่อพระองค์จากหัวใจว่า “พระองค์เป็นที่พึ่งพำนักและเป็นป้อมของข้าพเจ้า; พระองค์เป็นพระเจ้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าวางใจในพระองค์.”—บทเพลงสรรเสริญ 91:2; สุภาษิต 29:25.
ของศาสนาเท็จซึ่งขัดต่อหลักการคริสเตียน. ตัวอย่างเช่น ในบางประเทศ พิธีรีตองหลายอย่างตามธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการเกิดและการตายนั้น อาศัยคำโกหกที่ว่าคนเรามีวิญญาณหลงเหลืออยู่หลังจากตายไป. (อย่าหลงลืมพระยะโฮวา
14. พระยะโฮวาให้คำเตือนอะไรแก่ชาวอิสราเอลไม่นานก่อนที่พวกเขาจะเข้าสู่แผ่นดินตามคำสัญญา?
14 ไม่นานก่อนที่ชาวอิสราเอลจะเข้าสู่แผ่นดินตามคำสัญญา พระยะโฮวาทรงเตือนพวกเขาไม่ให้หลงลืมพระองค์. พระองค์ตรัสว่า “เจ้าทั้งหลายจงระวังตัวอย่าได้ลืมพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า, ไม่รักษาข้อบัญญัติ, ข้อพิพากษา, และข้อกฎหมายของพระองค์, ซึ่งเราได้สั่งเจ้าไว้ในวันนี้: กลัวว่า, เมื่อเจ้าทั้งหลายได้กินอิ่ม, และสร้างเรือนอยู่งดงาม: และเมื่อเจ้ามีฝูงสัตว์มากทวีขึ้น, มีเงินทองบริบูรณ์มาก, และบรรดาสิ่งของที่มีอยู่นั้นได้ทวีขึ้นบริบูรณ์อยู่แล้ว; ใจของเจ้าทั้งหลายก็พองขึ้น, และจะหลงลืมพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า.”—พระบัญญัติ 8:11-14.
15. เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเราไม่ได้หลงลืมพระยะโฮวา?
15 เป็นไปได้ไหมที่บางสิ่งคล้าย ๆ กันนั้นจะเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้? ใช่แล้ว หากเราจัดลำดับความสำคัญไม่ถูกต้อง. อย่างไรก็ดี ถ้าเราแสวงหาความชอบธรรมของพระเจ้าก่อน การนมัสการแท้จะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตของเรา. เราจะ ‘ซื้อโอกาสมาใช้’ และสำนึกถึงความเร่งด่วนของงานเผยแพร่ดังที่เปาโลสนับสนุนให้เราทำ. (โกโลซาย 4:5; 2 ติโมเธียว 4:2) แต่หากการเข้าร่วมประชุมและงานเผยแพร่ของเรามีความสำคัญน้อยกว่านันทนาการหรือการแสวงหาความเพลิดเพลิน เราก็อาจหลงลืมพระยะโฮวาในแง่ที่ว่าเราถือว่าพระองค์อยู่ในอันดับรองในชีวิตของเรา. เปาโลกล่าวว่าในสมัยสุดท้าย ผู้คนจะ “รักการสนุกสนานมากกว่ารักพระเจ้า.” (2 ติโมเธียว 3:4) คริสเตียนที่มีใจสุจริตตรวจสอบตัวเองเป็นประจำเพื่อจะทำให้แน่ใจว่าตัวเขาไม่ได้ถูกครอบงำด้วยทัศนคติแบบนั้น.—2 โกรินโธ 13:5.
ระวังน้ำใจเอกเทศ
16. ฮาวาและบางคนในสมัยเปาโลมีน้ำใจที่ไม่ถูกต้องเช่นไร?
16 ในสวนเอเดน ซาตานประสบความสำเร็จในการปลุกเร้าความปรารถนาอันเห็นแก่ตัวของฮาวาในเรื่องการเป็นเอกเทศ. ฮาวาต้องการจะตัดสินใจด้วยตัวเองว่าอะไรถูกอะไรผิด. (เยเนซิศ 3:1-6) ในศตวรรษแรก บางคนในประชาคมโครินท์มีน้ำใจเอกเทศคล้าย ๆ กันนั้น. พวกเขาคิดว่าตนมีความรู้เหนือกว่าเปาโล และท่านเรียกคนพวกนี้เชิงกระแนะกระแหนว่า อัครสาวกสุดวิเศษ.—2 โกรินโธ 11:3-5, ล.ม.; 1 ติโมเธียว 6:3-5.
17. เราจะหลีกเลี่ยงการพัฒนาน้ำใจไม่ยอมขึ้นกับผู้ใดได้อย่างไร?
17 ในโลกทุกวันนี้ หลายคนเป็นคน “หัวดื้อ เย่อหยิ่งจองหอง” และคริสเตียนบางคนก็ได้รับอิทธิพลจากทัศนคติเช่นนั้น. บางคนถึงกับกลายเป็นคนต่อต้านความจริงด้วยซ้ำ. 2 ติโมเธียว 3:4, ล.ม.; ฟิลิปปอย 3:18) ในเรื่องเกี่ยวกับการนมัสการอันบริสุทธิ์ เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องหมายพึ่งการชี้นำจากพระยะโฮวาและให้ความร่วมมือกับ “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” และผู้ปกครองในประชาคม. นั่นเป็นวิธีหนึ่งในการแสวงหาความชอบธรรม และการทำอย่างนั้นจะป้องกันเราไม่ให้พัฒนาน้ำใจไม่ยอมขึ้นกับผู้ใด. (มัดธาย 24:45-47, ล.ม.; บทเพลงสรรเสริญ 25:9, 10; ยะซายา 30:21) ประชาคมแห่งคริสเตียนผู้ถูกเจิมเป็น “หลักและรากแห่งความจริง.” พระยะโฮวาตั้งประชาคมนี้ขึ้นเพื่อปกป้องและชี้นำเรา. (1 ติโมเธียว 3:15) การยอมรับบทบาทที่สำคัญของประชาคมจะช่วยเรา ‘ไม่ให้ทำประการใดในทางอวดดีไปเปล่า ๆ’ ขณะที่เราอ่อนน้อมต่อพระทัยประสงค์อันชอบธรรมของพระยะโฮวาด้วยความถ่อมใจ.—ฟิลิปปอย 2:2-4, ล.ม.; สุภาษิต 3:4-6.
(เป็นผู้เลียนแบบอย่างของพระเยซู
18. เราได้รับการกระตุ้นให้เลียนแบบพระเยซูในทางใดบ้าง?
18 คัมภีร์ไบเบิลกล่าวในเชิงพยากรณ์เกี่ยวกับพระเยซูว่า “พระองค์ได้ทรงรักความยุติธรรมและทรงเกลียดความอสัตย์อธรรม.” (บทเพลงสรรเสริญ 45:7; เฮ็บราย 1:9) ช่างเป็นเจตคติอันยอดเยี่ยมจริง ๆ ที่เราพึงเลียนแบบ! (1 โกรินโธ 11:1) พระเยซูไม่ใช่เพียงแต่รู้มาตรฐานอันชอบธรรมของพระยะโฮวา แต่พระองค์ทรงรักมาตรฐานเหล่านั้นด้วย. ดังนั้น เมื่อถูกซาตานล่อใจในถิ่นทุรกันดาร พระเยซูไม่ได้ลังเลที่จะปฏิเสธ และทรงปฏิเสธอย่างหนักแน่นไม่ยอมหันเหไปจาก “ทางแห่งความชอบธรรม.”—สุภาษิต 8:20; มัดธาย 4:3-11.
19, 20. การแสวงหาความชอบธรรมก่อผลดีอะไรบ้าง?
19 จริงอยู่ ความปรารถนาในทางไม่ชอบธรรมของเนื้อหนังอาจมีพลังมาก. (โรม 7:19, 20) กระนั้น หากเราถือว่าความชอบธรรมเป็นสิ่งที่มีค่ามาก นั่นจะเสริมกำลังเราให้ต้านทานสิ่งชั่วร้าย. (บทเพลงสรรเสริญ 119:165) ความรักอันลึกซึ้งต่อความชอบธรรมจะปกป้องเราไว้เมื่อถูกล่อใจให้ทำผิด. (สุภาษิต 4:4-6) จำไว้ว่า เมื่อไรก็ตามที่เรายอมพ่ายแพ้ต่อการล่อใจ เราให้ซาตานได้ชัยชนะ. จะดีกว่าสักเพียงไรที่เราจะต้านทานซาตาน และให้พระยะโฮวาเป็นฝ่ายมีชัย!—สุภาษิต 27:11; ยาโกโบ 4:7, 8.
20 เนื่องจากคริสเตียนแท้แสวงหาความชอบธรรม พวกเขาจึงเปี่ยมด้วย “ผลแห่งความชอบธรรม, ซึ่งมีมาโดยพระเยซูคริสต์ ให้เกิดสง่าราศีและความสรรเสริญแก่พระเจ้า.” (ฟิลิปปอย 1:10, 11) พวกเขาสวม “บุคลิกภาพใหม่ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าในความชอบธรรมและความภักดีที่แท้จริง.” (เอเฟโซ 4:24, ล.ม.) พวกเขาเป็นของพระยะโฮวาและมีชีวิตอยู่เพื่อรับใช้พระองค์ ไม่ใช่เพื่อทำตามความพอใจของเขาเอง. (โรม 14:8; 1 เปโตร 4:2) นั่นเป็นสิ่งที่ควบคุมความคิดและการกระทำของพวกเขา. พวกเขานำความยินดีสักเพียงไรมาสู่พระทัยพระบิดาของตนผู้สถิตในสวรรค์!—สุภาษิต 23:24.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 11 คำแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับบิดามารดาในการปกป้องครอบครัวไว้จากอิทธิพลที่เสื่อมทรามทางเพศจะหาได้จากหนังสือเคล็ดลับสำหรับความสุขในครอบครัว ซึ่งจัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
^ วรรค 13 การขริบอวัยวะเพศสตรีนี้เดิมเคยเรียกกันว่าเป็นการทำสุหนัตในสตรี.
คุณอธิบายได้ไหม?
• เพราะเหตุใดการแสวงหาความชอบธรรมจึงเป็นเรื่องสำคัญ?
• คริสเตียนซึ่งเป็นคนไม่สมบูรณ์จะแสวงหาความชอบธรรมได้อย่างไร?
• มีสิ่งใดบ้างในโลกนี้ที่คริสเตียนพึงหลีกเลี่ยง?
• การแสวงหาความชอบธรรมช่วยปกป้องเราอย่างไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 26]
สำหรับเหล่าสาวกของพระเยซู โลกนี้เป็นสถานที่ที่อันตราย
[ภาพหน้า 27]
เด็ก ๆ ที่ได้รับการสอนให้รักพระยะโฮวาจะได้รับการเสริมกำลังให้ต้านทานการผิดศีลธรรม
[ภาพหน้า 28]
ชาวอิสราเอลบางคนหลงลืมพระยะโฮวาหลังจากมีความเจริญรุ่งเรืองในแผ่นดินตามคำสัญญา
[ภาพหน้า 29]
เช่นเดียวกับพระเยซู คริสเตียนแท้เกลียดสิ่งที่ไม่ชอบธรรม