ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

จงเลียนแบบความอดกลั้นของพระยะโฮวา

จงเลียนแบบความอดกลั้นของพระยะโฮวา

จง​เลียน​แบบ​ความ​อด​กลั้น​ของ​พระ​ยะโฮวา

“พระ​ยะโฮวา​ไม่​ได้​ทรง​เฉื่อย​ช้า​ใน​เรื่อง​คำ​สัญญา​ของ​พระองค์ . . . แต่​พระองค์​อด​กลั้น​พระทัย.”—2 เปโตร 3:9, ล.ม.

1. พระ​ยะโฮวา​เสนอ​ของ​ประทาน​อะไร​แก่​มนุษย์​ซึ่ง​ไม่​มี​อะไร​จะ​เทียบ​ได้?

พระ​ยะโฮวา​เสนอ​บาง​สิ่ง​ให้​เรา​อย่าง​ที่​ไม่​มี​ใคร​อื่น​เสนอ​ให้​ได้. เป็น​สิ่ง​ที่​น่า​ปรารถนา​และ​ล้ำ​ค่า​ยิ่ง แต่​กระนั้น ก็​ไม่​ใช่​สิ่ง​ที่​จะ​ซื้อ​ขาย​กัน​ได้​หรือ​ได้​รับ​เป็น​ค่า​จ้าง. สิ่ง​นั้น​ก็​คือ​ชีวิต​นิรันดร์ ซึ่ง​สำหรับ​พวก​เรา​ส่วน​ใหญ่​แล้ว หมาย​ถึง​การ​มี​ชีวิต​ไม่​รู้​สิ้น​สุด​ใน​อุทยาน​บน​แผ่นดิน​โลก. (โยฮัน 3:16) นั่น​จะ​ก่อ​ให้​เกิด​ความ​ปีติ​ยินดี​เสีย​จริง ๆ! เหตุ​ที่​ก่อ​ให้​เกิด​ความ​เศร้า​สลด เช่น การ​ต่อ​สู้​กัน, ความ​รุนแรง, ความ​ยาก​จน, อาชญากรรม, ความ​เจ็บ​ป่วย, และ​แม้​กระทั่ง​ความ​ตาย จะ​ไม่​มี​อีก​ต่อ​ไป. ผู้​คน​จะ​อยู่​อย่าง​สันติ​และ​ปรองดอง​กัน​เต็ม​ที่​ภาย​ใต้​การ​ปกครอง​ด้วย​ความ​รัก​ของ​ราชอาณาจักร​ของ​พระเจ้า. เรา​ปรารถนา​อุทยาน​ดัง​กล่าว​อย่าง​ยิ่ง​สัก​เพียง​ไร!—ยะซายา 9:6, 7; วิวรณ์ 21:4, 5.

2. ทำไม​พระ​ยะโฮวา​ยัง​ไม่​ได้​ทำลาย​โลก​ของ​ซาตาน?

2 พระ​ยะโฮวา​ก็​ทรง​จดจ่อ​คอย​ท่า​เวลา​ที่​พระองค์​จะ​ให้​มี​อุทยาน​ขึ้น​บน​แผ่นดิน​โลก​เช่น​กัน. ที่​เป็น​อย่าง​นั้น​ก็​เพราะ​พระองค์​ทรง​รัก​ความ​ชอบธรรม​และ​ความ​ยุติธรรม. (บทเพลง​สรรเสริญ 33:5) พระองค์​หา​ชอบ​พระทัย​ไม่​ที่​เห็น​โลก​ไม่​แยแส​หรือ​ดำเนิน​สวน​ทาง​กับ​หลักการ​อัน​ชอบธรรม​ของ​พระองค์ โลก​ที่​บอก​ปัด​สิทธิ​อำนาจ​ของ​พระองค์​และ​ข่มเหง​ประชาชน​ของ​พระองค์. ถึง​กระนั้น มี​เหตุ​ผล​อัน​ดี​ที่​พระองค์​ยัง​ไม่​ดำเนิน​การ​ทำลาย​โลก​ชั่ว​ของ​ซาตาน. เหตุ​ผล​ต่าง ๆ ดัง​กล่าว​เกี่ยว​ข้อง​กับ​ข้อ​สงสัย​ใน​เรื่อง​สิทธิ​อัน​ชอบธรรม​ใน​การ​ปกครอง​ของ​พระองค์. ใน​การ​จัด​การ​กับ​ข้อ​สงสัย​เหล่า​นี้ พระ​ยะโฮวา​ทรง​สำแดง​คุณลักษณะ​อย่าง​หนึ่ง​ที่​ดึงดูด​ใจ​เป็น​พิเศษ อัน​เป็น​คุณลักษณะ​ที่​หลาย​คน​ใน​ทุก​วัน​นี้​ไม่​มี นั่น​คือ ความ​อด​กลั้น.

3. (ก) คำ​กรีก​และ​คำ​ฮีบรู​ที่​ได้​รับ​การ​แปล​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​ว่า “ความ​อด​กลั้น​ใจ” มี​ความ​หมาย​ประการ​ใด? (ข) จาก​นี้​ไป​เรา​จะ​พิจารณา​คำ​ถาม​อะไร​บ้าง?

3 มี​คำ​กรีก​คำ​หนึ่ง​ที่​ได้​รับ​การ​แปล​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​ฉบับ​แปล​โลก​ใหม่ สาม​ครั้ง​ว่า “ความ​อด​กลั้น​ใจ.” คำ​ดัง​กล่าว​มี​ความ​หมาย​ตาม​ตัว​อักษร​ว่า “ความ​ยาว​ของ​จิตใจ” และ​จึง​มี​การ​แปล​บ่อย​ครั้ง​ว่า “ความ​อด​กลั้น​ไว้​นาน” และ​ครั้ง​หนึ่ง​แปล​ว่า “แสดง​ความ​อด​ทน.” ทั้ง​คำ​กรีก​และ​คำ​ฮีบรู​ที่​มี​การ​แปล​ว่า “ความ​อด​กลั้น​ใจ” แฝง​ความ​คิด​ของ​การ​ยอม​ทน​และ​ไม่​โกรธ​เคือง​ง่าย ๆ. ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระ​ยะโฮวา​เป็น​ประโยชน์​ต่อ​เรา​อย่าง​ไร? เรา​เรียน​อะไร​ได้​จาก​ความ​อด​กลั้น​พระทัย​และ​ความ​อด​ทน​ของ​พระ​ยะโฮวา​และ​ของ​ผู้​รับใช้​ที่​ซื่อ​สัตย์​ของ​พระองค์? เรา​รู้​อย่าง​ไร​ว่า​ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระ​ยะโฮวา​ไม่​ได้​เป็น​แบบ​ไร้​ขีด​จำกัด? ให้​เรา​มา​พิจารณา​กัน.

พิจารณา​เรื่อง​ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระ​ยะโฮวา

4. อัครสาวก​เปโตร​เขียน​ไว้​ว่า​อย่าง​ไร​เกี่ยว​กับ​ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระ​ยะโฮวา?

4 อัครสาวก​เปโตร​เขียน​เกี่ยว​กับ​ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระ​ยะโฮวา​ว่า “ดู​ก่อน​พวก​ที่​รัก อย่า​ให้​ข้อ​เท็จ​จริง​ข้อ​นี้​พ้น​จาก​การ​สังเกต​ของ​ท่าน​ทั้ง​หลาย คือ​ว่า​วัน​เดียว​สำหรับ​พระ​ยะโฮวา​เป็น​เหมือน​พัน​ปี และ​พัน​ปี​ก็​เป็น​เหมือน​วัน​เดียว. พระ​ยะโฮวา​ไม่​ได้​ทรง​เฉื่อย​ช้า​ใน​เรื่อง​คำ​สัญญา​ของ​พระองค์​เหมือน​บาง​คน​ถือ​ว่า​ช้า​นั้น แต่​พระองค์​อด​กลั้น​พระทัย​กับ​ท่าน​ทั้ง​หลาย เพราะ​พระองค์​ไม่​ประสงค์​จะ​ให้​คน​หนึ่ง​คน​ใด​ถูก​ทำลาย แต่​ทรง​ปรารถนา​จะ​ให้​คน​ทั้ง​ปวง​กลับ​ใจ​เสีย​ใหม่.” (2 เปโตร 3:8, 9, ล.ม.) ขอ​สังเกต​สอง​จุด​ที่​กล่าว​ไว้​ใน​ข้อ​เหล่า​นี้​ที่​ช่วย​เรา​ให้​เข้าใจ​ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระ​ยะโฮวา.

5. มุม​มอง​เรื่อง​เวลา​ของ​พระ​ยะโฮวา​ส่ง​ผล​กระทบ​อย่าง​ไร​ต่อ​การ​กระทำ​ของ​พระองค์?

5 จุด​แรก​คือ​มุม​มอง​เรื่อง​เวลา​ของ​พระ​ยะโฮวา​ต่าง​จาก​มุม​มอง​ของ​เรา. สำหรับ​ผู้​ทรง​ดำรง​อยู่​เป็น​นิตย์ พัน​ปี​ก็​เป็น​เหมือน​วัน​เดียว. พระองค์​ไม่​ได้​ถูก​จำกัด​หรือ​ถูก​กดดัน​ด้วย​เวลา แต่​พระองค์​ก็​ไม่​เฉื่อย​ช้า​ใน​การ​ลง​มือ​จัด​การ​ปัญหา. เนื่อง​จาก​มี​พระ​ปัญญา​ที่​ไม่​มี​ขีด​จำกัด พระ​ยะโฮวา​ทรง​รู้​ดี​ว่า​เมื่อ​ไร​เป็น​เวลา​เหมาะ​ที่​สุด​ที่​จะ​ดำเนิน​การ​เพื่อ​ประโยชน์​ของ​ผู้​ที่​เกี่ยว​ข้อง​ทั้ง​หมด และ​พระองค์​ทรง​อด​ใจ​รอ​คอย​วัน​เวลา​นั้น. อย่าง​ไร​ก็​ตาม เรา​ไม่​ควร​ลง​ความ​เห็น​ว่า​พระ​ยะโฮวา​เพิกเฉย​ความ​ทุกข์​ใด ๆ ที่​ผู้​รับใช้​ของ​พระองค์​อาจ​ประสบ​ใน​ระหว่าง​นี้. พระองค์​เป็น​พระเจ้า​ที่​มี “ความ​สงสาร​อัน​อ่อน​ละมุน” และ​ทรง​เป็น​แบบ​ฉบับ​ของ​ความ​รัก. (ลูกา 1:78, ล.ม.; 1 โยฮัน 4:8) พระองค์​สามารถ​ลบ​ล้าง​ผล​เสียหาย​ใด ๆ ที่​อาจ​เกิด​ขึ้น​จาก​การ​ที่​พระองค์​ทรง​ยอม​ให้​ความ​ทุกข์​มี​อยู่​ชั่ว​คราว​นี้​ได้​อย่าง​สิ้นเชิง​และ​ถาวร.—บทเพลง​สรรเสริญ 37:10.

6. เรา​ไม่​ควร​สรุป​เช่น​ไร​เกี่ยว​กับ​พระเจ้า และ​เพราะ​เหตุ​ใด?

6 เป็น​เรื่อง​ธรรมดา​ที่​การ​รอ​คอย​บาง​สิ่ง​ที่​เรา​ปรารถนา​จะ​ได้​รับ​นั้น​ไม่​ใช่​เรื่อง​ง่าย. (สุภาษิต 13:12) ด้วย​เหตุ​นี้ เมื่อ​มี​ใคร​ชักช้า​ใน​การ​ทำ​ตาม​ที่​เขา​สัญญา​ไว้ คน​อื่น ๆ ก็​อาจ​สรุป​ว่า​เขา​ไม่​ได้​มุ่ง​มั่น​จะ​ทำ​ตาม​คำ​สัญญา. คง​จะ​ไม่​สุขุม​สัก​เพียง​ไร​ที่​จะ​คิด​อย่าง​นั้น​กับ​พระเจ้า! หาก​เรา​หลง​เข้าใจ​ว่า​การ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระเจ้า​คือ​ความ​เฉื่อย​ช้า เวลา​ที่​ผ่าน​ไป​ก็​อาจ​ทำ​ให้​เรา​เริ่ม​คิด​สงสัย​และ​ท้อ​ใจ​ได้​อย่าง​ง่าย​ดาย และ​เสี่ยง​ที่​จะ​ตก​อยู่​ใน​สภาพ​เงื่อง​หงอย​ฝ่าย​วิญญาณ. แย่​ยิ่ง​กว่า​นั้น เรา​อาจ​ถูก​ชัก​นำ​ให้​หลง​โดย​คน​เหล่า​นั้น​ที่​เปโตร​เตือน​ไว้​ก่อน​หน้า​นั้น​ให้​ระวัง ซึ่ง​ก็​คือ พวก​ที่​เยาะเย้ย ผู้​ซึ่ง​ไม่​มี​ความ​เชื่อ. คน​เหล่า​นั้น​จะ​เย้ย​ว่า “การ​ประทับ​ของ​พระองค์​ที่​ทรง​สัญญา​ไว้​นี้​อยู่​ที่​ไหน​ล่ะ? ก็​ตั้ง​แต่​สมัย​ที่​บรรพบุรุษ​ของ​เรา​ได้​ล่วง​หลับ​ไป​ใน​ความ​ตาย สิ่ง​ทั้ง​ปวง​ก็​ดำเนิน​ต่อ​ไป​เหมือน​ตั้ง​แต่​ตอน​เริ่ม​ต้น​การ​ทรง​สร้าง​นั้น​ที​เดียว.”—2 เปโตร 3:4, ล.ม.

7. ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระ​ยะโฮวา​เกี่ยว​ข้อง​อย่าง​ไร​กับ​ความ​ปรารถนา​ของ​พระองค์​ที่​จะ​ให้​คน​ทั้ง​ปวง​กลับ​ใจ​เสีย​ใหม่?

7 จุด​ที่​สอง​ที่​เรา​ได้​จาก​คำ​กล่าว​ของ​เปโตร​ก็​คือ พระ​ยะโฮวา​อด​กลั้น​พระทัย​เพราะ​พระองค์​ปรารถนา​ให้​คน​ทั้ง​ปวง​กลับ​ใจ​เสีย​ใหม่. ผู้​ที่​แข็ง​ขืน​ไม่​ยอม​หัน​กลับ​จาก​ทาง​ชั่ว​ของ​ตน​จะ​ถูก​พระ​ยะโฮวา​สำเร็จ​โทษ. อย่าง​ไร​ก็​ดี พระเจ้า​ไม่​ได้​พึง​พอ​พระทัย​ใน​ความ​ตาย​ของ​คน​ชั่ว. แทน​ที่​จะ​เป็น​อย่าง​นั้น พระองค์​ทรง​ยินดี​ที่​เห็น​ผู้​คน​กลับ​ใจ หัน​กลับ​จาก​ทาง​ชั่ว​ของ​ตน และ​ดำรง​ชีวิต​อยู่​ต่อ​ไป. (ยะเอศเคล 33:11) นั่น​เป็น​เหตุ​ที่​พระองค์​ยัง​คง​อด​กลั้น​พระทัย​อยู่​ต่อ​ไป และ​ให้​มี​การ​ประกาศ​ข่าว​ดี​ไป​ตลอด​ทั่ว​โลก​เพื่อ​ผู้​คน​อาจ​จะ​มี​โอกาส​มาก​พอ​ที่​จะ​รอด​ชีวิต.

8. ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระเจ้า​เห็น​ได้​อย่าง​ไร​จาก​วิธี​ที่​พระองค์​ปฏิบัติ​กับ​ชาติ​อิสราเอล?

8 ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระเจ้า​ยัง​เห็น​ได้​จาก​วิธี​ที่​พระองค์​ปฏิบัติ​กับ​ชาติ​อิสราเอล​โบราณ. เป็น​เวลา​หลาย​ศตวรรษ พระองค์​ทรง​ยอม​ทน​กับ​การ​ไม่​เชื่อ​ฟัง​ของ​พวก​เขา. โดย​ทาง​ผู้​พยากรณ์​ของ​พระองค์ พระองค์​ทรง​กระตุ้น​พวก​เขา​ครั้ง​แล้ว​ครั้ง​เล่า​ว่า “จง​หัน​กลับ​จาก​ทาง​ชั่ว​ของ​เจ้า​ทั้ง​หลาย​และ​รักษา​บัญญัติ​ของ​เรา ข้อ​กฎหมาย​ของ​เรา ตาม​กฎหมาย​ทั้ง​ปวง​ที่​เรา​ได้​สั่ง​บรรพบุรุษ​ของ​เจ้า และ​ที่​เรา​ได้​ให้​แก่​เจ้า​โดย​ทาง​ผู้​พยากรณ์​ผู้​รับใช้​ของ​เรา.” ผล​เป็น​อย่าง​ไร? น่า​เสียดาย​ที่​พวก​เขา “ไม่​ฟัง.”—2 กษัตริย์ 17:13, 14, ล.ม.

9. ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระ​เยซู​สะท้อน​ถึง​ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระ​บิดา​อย่าง​ไร?

9 ท้าย​ที่​สุด พระ​ยะโฮวา​ได้​ส่ง​พระ​บุตร​ของ​พระองค์ ผู้​ทรง​เชิญ​ชวน​ชาว​ยิว​อย่าง​ไม่​หยุดหย่อน​ให้​กลับ​มา​คืน​ดี​กับ​พระเจ้า. ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระ​เยซู​ได้​สะท้อน​ถึง​ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระ​บิดา​อย่าง​สมบูรณ์​แบบ. เนื่อง​จาก​รู้​ดี​ว่า​อีก​ไม่​นาน​พระองค์​จะ​ถูก​ประหาร พระองค์​คร่ำ​ครวญ​ว่า “โอ​ยะรูซาเลม ๆ ที่​ได้​ฆ่า​บรรดา​ศาสดา​พยากรณ์, และ​เอา​หิน​ขว้าง​ผู้​ที่​รับใช้​มา​หา​เจ้า, เรา​ใคร่​จะ​รวบ​รวม​ลูก​ของ​เจ้า​ไว้​เนือง ๆ เหมือน​แม่​ไก่​กก​ลูก​อยู่​ใต้​ปีก​ของ​มัน, แต่​เจ้า​ไม่​ยอม.” (มัดธาย 23:37) ถ้อย​คำ​ที่​สะเทือน​อารมณ์​นี้​ไม่​ได้​มา​จาก​ผู้​พิพากษา​ใจ​แข็ง​ที่​กระหาย​จะ​ลง​โทษ แต่​มา​จาก​ผู้​ที่​เป็น​มิตร​ซึ่ง​มี​ความ​รักใคร่​และ​แสดง​ความ​อด​ทน​ต่อ​ผู้​คน. เช่น​เดียว​กับ​พระ​บิดา​ของ​พระองค์​ใน​สวรรค์ พระ​เยซู​ประสงค์​ให้​คน​ทั้ง​ปวง​กลับ​ใจ​เสีย​ใหม่​เพื่อ​จะ​พ้น​การ​พิพากษา​ลง​โทษ. บาง​คน​ฟัง​คำ​เตือน​ของ​พระ​เยซู และ​หนี​พ้น​การ​พิพากษา​อัน​น่า​กลัว​ที่​ตก​แก่​กรุง​เยรูซาเลม​ใน​ปี ส.ศ. 70.—ลูกา 21:20-22.

10. ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระเจ้า​เป็น​ประโยชน์​ต่อ​เรา​ใน​ทาง​ใด?

10 ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระเจ้า​เป็น​ที่​น่า​อัศจรรย์​ใจ​สำหรับ​เรา​มิ​ใช่​หรือ? ทั้ง ๆ ที่​มนุษยชาติ​ไม่​เชื่อ​ฟัง​พระองค์​อย่าง​เหลือ​ทน พระ​ยะโฮวา​ก็​ยัง​ให้​โอกาส​เรา​แต่​ละ​คน​พร้อม​กับ​คน​อื่น ๆ อีก​หลาย​ล้าน​คน​ได้​มา​รู้​จัก​พระองค์​และ​รับ​เอา​ความ​หวัง​เรื่อง​ความ​รอด. เปโตร​เขียน​ถึง​เพื่อน​คริสเตียน​ว่า “จง​ถือ​ว่า​การ​ที่​องค์​พระ​ผู้​เป็น​เจ้าของ​เรา​ได้​ทรง​อด​กลั้น​พระทัย​ไว้​นาน​นั้น​ก็​เป็น​ที่​ให้​เรา​รอด.” (2 เปโตร 3:15) เรา​รู้สึก​ขอบคุณ​มิ​ใช่​หรือ​ที่​ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระ​ยะโฮวา​ได้​เปิด​โอกาส​ให้​เรา​ได้​รับ​ความ​รอด? เรา​อธิษฐาน​ขอ​ให้​พระ​ยะโฮวา​อด​ทน​กับ​เรา​เรื่อย​ไป​มิ​ใช่​หรือ​ขณะ​ที่​เรา​รับใช้​พระองค์​ใน​แต่​ละ​วัน?—มัดธาย 6:12.

11. การ​เข้าใจ​เกี่ยว​กับ​ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระ​ยะโฮวา​กระตุ้น​เรา​ให้​ทำ​อะไร?

11 เมื่อ​เรา​เข้าใจ​เหตุ​ผล​ที่​พระ​ยะโฮวา​ทรง​อด​กลั้น​พระทัย นั่น​ช่วย​เรา​ให้​อด​ทน​รอ​คอย​ความ​รอด​ซึ่ง​พระองค์​จะ​นำ​มา เรา​จะ​ไม่​ลง​ความ​เห็น​ว่า​พระองค์​ทรง​เฉื่อย​ช้า​ใน​การ​ทำ​ตาม​ที่​สัญญา​ไว้. (บทเพลง​ร้อง​ทุกข์ 3:26) ขณะ​ที่​เรา​อธิษฐาน​ขอ​ต่อ ๆ ไป​ให้​ราชอาณาจักร​ของ​พระเจ้า​มา เรา​วางใจ​ว่า​พระเจ้า​ทรง​ทราบ​ว่า​เมื่อ​ใด​เป็น​เวลา​เหมาะ​ที่​สุด​ที่​จะ​ตอบ​คำ​อธิษฐาน​นั้น. นอก​จาก​นี้ เรา​ได้​รับ​การ​กระตุ้น​ให้​เลียน​แบบ​พระ​ยะโฮวา​โดย​แสดง​ความ​อด​ทน​เหมือน​พระองค์​ใน​การ​ปฏิบัติ​ต่อ​พี่​น้อง​ของ​เรา​และ​ต่อ​คน​ที่​เรา​ประกาศ​ให้​ฟัง. เรา​ก็​เช่น​กัน​ไม่​ปรารถนา​ให้​ใคร​ถูก​ทำลาย แต่​อยาก​เห็น​พวก​เขา​กลับ​ใจ​และ​มี​ความ​หวัง​เรื่อง​ชีวิต​นิรันดร์​เหมือน​กับ​พวก​เรา.—1 ติโมเธียว 2:3, 4.

พิจารณา​เรื่อง​การ​อด​กลั้น​ใจ​ของ​พวก​ผู้​พยากรณ์

12, 13. สอดคล้อง​กับ​ยาโกโบ 5:10 ผู้​พยากรณ์​ยะซายา​แสดง​ความ​อด​กลั้น​ใจ​อย่าง​บรรลุ​ผล​สำเร็จ​อย่าง​ไร?

12 การ​พิจารณา​ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระ​ยะโฮวา​ช่วย​เรา​ทั้ง​หยั่ง​รู้​ค่า​และ​ปลูกฝัง​คุณลักษณะ​ดัง​กล่าว. สำหรับ​มนุษย์​ไม่​สมบูรณ์​แล้ว การ​ปลูกฝัง​ความ​อด​ทน​ไม่​ใช่​เรื่อง​ง่าย แต่​ก็​สามารถ​ทำ​ได้. เรา​เรียน​รู้​จาก​ตัว​อย่าง​ของ​ผู้​รับใช้​ของ​พระเจ้า​สมัย​โบราณ. สาวก​ยาโกโบ​เขียน​ดัง​นี้: “พี่​น้อง​ทั้ง​หลาย ใน​เรื่อง​การ​ทน​รับ​การ​ชั่ว​ร้าย​และ​การ​อด​กลั้น​ใจ​นั้น จง​เอา​แบบ​อย่าง​ของ​พวก​ผู้​พยากรณ์​ที่​ได้​กล่าว​ใน​นาม​ของ​พระ​ยะโฮวา.” (ยาโกโบ 5:10, ล.ม.) การ​รู้​ว่า​คน​อื่น ๆ ประสบ​ความ​สำเร็จ​ใน​การ​เผชิญ​ปัญหา​ต่าง ๆ ที่​คล้าย​กัน​กับ​ที่​เรา​เผชิญ​นั้น​เป็น​การ​ปลอบโยน​และ​ชู​ใจ​เรา.

13 ตัว​อย่าง​เช่น ผู้​พยากรณ์​ยะซายา​จำเป็น​ต้อง​มี​ความ​อด​ทน​ใน​การ​ทำ​งาน​มอบหมาย​ของ​ท่าน​แน่ ๆ. พระ​ยะโฮวา​บ่ง​ชี้​ถึง​เรื่อง​นี้​เมื่อ​ตรัส​แก่​ท่าน​ว่า “ไป​บอก​พลเมือง​เหล่า​นี้​ว่า, ‘ฟัง​แล้ว​ฟัง​เล่า, ก็​จะ​ไม่​เห็น​เข้าใจ; มอง​ซ้ำ​มอง​ซาก, แต่​ก็​จะ​ไม่​เห็น​อะไร.’ จง​ไป​ทำ​ให้​ใจ​ของ​พลเมือง​นั้น​ให้​มึน​ชา​ไป, และ​จง​กระทำ​ให้​หู​ของ​เขา​ตึง​ไป, และ​จง​ป้าย​ตา​ของ​เขา​ให้​ปิด; เกรง​ว่า​เมื่อ​เห็น​กับ​ตา​ของ​เขา; และ​ยิน​กับ​หู, และ​เข้าใจ​ด้วย​ใจ​ของ​เขา, เขา​จะ​กลับ​ใจ​เสีย​ใหม่, และ​เขา​จะ​ถูก​รักษา​ให้​หาย.” (ยะซายา 6:9, 10) ทั้ง ๆ ที่​ไม่​มี​การ​ตอบรับ​จาก​ชน​ชาติ​นี้ ยะซายา​อด​ทน​แถลง​ข่าวสาร​ที่​เป็น​คำ​เตือน​ของ​พระ​ยะโฮวา​เป็น​เวลา​ไม่​ต่ำ​กว่า 46 ปี! เช่น​เดียว​กัน ความ​อด​ทน​จะ​ช่วย​เรา​ให้​ยืนหยัด​ใน​การ​ประกาศ​ข่าว​ดี แม้​ว่า​หลาย​คน​ไม่​ตอบรับ.

14, 15. อะไร​ช่วย​ยิระมะยา​ใน​การ​รับมือ​กับ​ความ​ทุกข์​ยาก​ลำบาก​และ​ความ​ท้อ​ใจ?

14 ขณะ​ที่​เหล่า​ผู้​พยากรณ์​ทำ​งาน​รับใช้​ของ​ตน พวก​เขา​ต้อง​เผชิญ​ไม่​เพียง​แต่​การ​ไม่​ตอบรับ​เท่า​นั้น แต่​ยัง​ถูก​ข่มเหง​อีก​ด้วย. ยิระมะยา​ถูก​จับ​ใส่​ขื่อ ถูก​ล่าม​โซ่​ตรวน​อยู่​ใน “คุก” และ​ถูก​โยน​ลง​บ่อ​น้ำ. (ยิระมะยา 20:2; 37:15; 38:6) ท่าน​ถูก​ข่มเหง​เช่น​นี้​ด้วย​น้ำ​มือ​ของ​ผู้​ที่​ท่าน​ต้องการ​จะ​ช่วย​พวก​เขา. กระนั้น ยิระมะยา​ไม่​แค้น​เคือง​หรือ​โต้​ตอบ. ท่าน​เพียร​อด​ทน​ด้วย​อด​กลั้น​ใจ​อยู่​เป็น​เวลา​หลาย​สิบ​ปี.

15 การ​ข่มเหง​และ​การ​เยาะเย้ย​ไม่​ได้​ทำ​ให้​ยิระมะยา​เลิก​รา และ​ก็​จะ​ไม่​ทำ​ให้​เรา​เลิก​รา​เช่น​กัน. แน่​ละ เรา​อาจ​ท้อ​ใน​บาง​ครั้ง. ยิระมะยา​ก็​เคย​ท้อ​ใจ. ท่าน​เขียน​ว่า “คำ​ของ​พระ​ยะโฮวา​เป็น​ความ​ดูหมิ่น, แล​เป็น​ความ​เยาะเย้ย​แก่​ข้าพเจ้า​ทุก​วัน. ขณะ​นั้น​ข้าพเจ้า​ได้​บอก​ว่า, ข้าพเจ้า​จะ​ไม่​พูด​ถึง​พระองค์​อีก, หรือ​จะ​ไม่​บอก​ใน​นาม​ของ​พระองค์​อีก​แล้ว.” เกิด​อะไร​ขึ้น​หลัง​จาก​นั้น? ยิระมะยา​หยุด​ประกาศ​ไหม? ท่าน​กล่าว​ต่อ​ไป​ว่า “คำ​ของ​พระองค์​อยู่​ใน​ใจ​ข้าพเจ้า​เหมือน​อย่าง​ไฟ​ปิด​ไว้​ใน​กะดูก​ทั้ง​ปวง​ของ​ตัว​ข้าพเจ้า, แล​ข้าพเจ้า​จึง​เหน็ด​เหนื่อย​ด้วย​การ​นิ่ง​อยู่, แล​ข้าพเจ้า​จะ​นิ่ง​ต่อ​ไป​มิ​ได้.” (ยิระมะยา 20:8, 9) ขอ​สังเกต​ว่า​เมื่อ​ท่าน​มุ่ง​สนใจ​การ​เยาะเย้ย​ของ​ผู้​คน ท่าน​สูญ​เสีย​ความ​ยินดี. เมื่อ​ท่าน​หัน​มา​ใส่​ใจความ​ล้ำ​เลิศ​และ​ความ​สำคัญ​ของ​ข่าวสาร​นั้น ท่าน​กลับ​มา​มี​ความ​ยินดี​อีก. ยิ่ง​กว่า​นั้น พระ​ยะโฮวา​อยู่​กับ​ยิระมะยา “อย่าง​ผู้​มี​ฤทธิ์” และ​ทรง​เสริม​กำลัง​ให้​ท่าน​ประกาศ​คำ​ของ​พระองค์​ด้วย​ใจ​แรง​กล้า​และ​ด้วย​ความ​กล้า​หาญ.—ยิระมะยา 20:11.

16. เรา​จะ​รักษา​ความ​ยินดี​ใน​งาน​ประกาศ​ข่าว​ดี​ไว้​ได้​อย่าง​ไร?

16 ผู้​พยากรณ์​ยิระมะยา​มี​ความ​ยินดี​ใน​งาน​ที่​ท่าน​ทำ​ไหม? แน่นอน​ที่​สุด! ท่าน​ทูล​พระ​ยะโฮวา​ว่า “คำ​โอวาท​ของ​พระองค์​ข้าพเจ้า​ได้​พบ​แล้ว, แล​ข้าพเจ้า​ได้​กิน​คำ​นั้น, แล​คำ​โอวาท​ของ​พระองค์​เป็น​ที่​ให้​เกิด​ความ​อภิรมย์​ยินดี​ใน​ใจ​ข้าพเจ้า, เพราะ​ข้าพเจ้า​เรียก​ชื่อ​ด้วย​นาม​ของ​พระองค์, โอ้​พระ​ยะโฮวา.” (ยิระมะยา 15:16) ยิระมะยา​ชื่นชม​ยินดี​ที่​ได้​รับ​เกียรติ​เป็น​ตัว​แทน​ของ​พระเจ้า​องค์​เที่ยง​แท้​และ​ประกาศ​พระ​คำ​ของ​พระองค์. เรา​ก็​มี​ความ​ปีติ​ยินดี​ได้​เช่น​กัน. นอก​จาก​นั้น เรา​ยัง​มี​ความ​ชื่นชม​ยินดี​เช่น​เดียว​กับ​เหล่า​ทูตสวรรค์ ที่​ผู้​คน​มาก​มาย​จริง ๆ ตลอด​ทั่ว​โลก​ตอบรับ​ข่าวสาร​ราชอาณาจักร, กลับ​ใจ, และ​ดำเนิน​อยู่​บน​เส้น​ทาง​ที่​นำ​ไป​สู่​ชีวิต​นิรันดร์.—ลูกา 15:10.

“ความ​เพียร​อด​ทน​ของ​โยบ”

17, 18. โยบ​เพียร​อด​ทน​ใน​เรื่อง​ใด และ​ผล​เป็น​เช่น​ไร?

17 หลัง​จาก​ให้​ความ​คิด​เห็น​เกี่ยว​กับ​พวก​ผู้​พยากรณ์​สมัย​โบราณ สาวก​ยาโกโบ​เขียน​ว่า “ท่าน​ทั้ง​หลาย​เคย​ได้​ยิน​ถึง​ความ​เพียร​อด​ทน​ของ​โยบ​และ​ได้​เห็น​ผล​ที่​พระ​ยะโฮวา​ทรง​ประทาน​แล้ว​ว่า พระ​ยะโฮวา​ทรง​เปี่ยม​ไป​ด้วย​ความ​รักใคร่​อัน​อ่อน​ละมุน​และ​เมตตา.” (ยาโกโบ 5:11, ล.ม.) คำ​กรีก​ที่​ได้​รับ​การ​แปล​ว่า “เพียร​อด​ทน” ใน​ข้อ​คัมภีร์​นี้​มี​ความ​หมาย​คล้าย​กัน​กับ​คำ​กรีก​ที่​ยาโกโบ​ใช้​ซึ่ง​ได้​รับ​การ​แปล​ว่า “การ​อด​กลั้น​ใจ” ใน​ข้อ​ก่อน. เมื่อ​กล่าว​ถึง​ความ​แตกต่าง​ระหว่าง​สอง​คำ​นี้ ผู้​คง​แก่​เรียน​คน​หนึ่ง​เขียน​ว่า “คำ​ที่​ได้​รับ​การ​แปล​ว่า “การ​อด​กลั้น​ใจ” หมาย​ถึง​ความ​อด​กลั้น​เมื่อ​ผู้​คน​ข่มเหง​เรา คำ​ที่​ได้​รับ​การ​แปล​ว่า “เพียร​อด​ทน” หมาย​ถึง​ความ​อุตสาหะ​พากเพียร​อย่าง​กล้า​หาญ​เมื่อ​อยู่​ใน​สภาพการณ์​ที่​ยาก​ลำบาก.”

18 โยบ​ประสบ​ความ​ทุกข์​ยาก​อย่าง​แสน​สาหัส. ท่าน​สิ้น​เนื้อ​ประดา​ตัว, สูญ​เสีย​ลูก ๆ, และ​เป็น​โรค​ที่​ก่อ​ความ​เจ็บ​ปวด​ทรมาน. นอก​จาก​นั้น ท่าน​ยัง​ต่อ​สู้​กับ​ข้อ​กล่าวหา​ผิด ๆ ที่​ว่า​พระ​ยะโฮวา​ทรง​ลง​โทษ​ท่าน. โยบ​ไม่​ได้​ทน​ทุกข์​โดย​ไม่​ปริปาก ท่าน​โอด​ครวญ​ถึง​สภาพการณ์​ของ​ท่าน และ​ถึง​กับ​พูด​ใน​เชิง​ว่า​ท่าน​มี​ความ​ชอบธรรม​มาก​กว่า​พระเจ้า. (โยบ 35:2) อย่าง​ไร​ก็​ดี ท่าน​ไม่​เคย​สูญ​เสีย​ความ​เชื่อ​หรือ​ความ​ซื่อ​สัตย์​มั่นคง. ท่าน​ไม่​แช่ง​ด่า​พระเจ้า​อย่าง​ที่​ซาตาน​บอก​ว่า​ท่าน​จะ​ทำ. (โยบ 1:11, 21, ฉบับ​แปล​ใหม่) ผล​เป็น​อย่าง​ไร? “พระ​ยะโฮวา​ได้​ทรง​อวย​พร​ชีวิต​บั้น​ปลาย​ของ​โยบ​ให้​รุ่งเรือง​ยิ่ง​กว่า​ชีวิต​ใน​บั้น​ต้น​ของ​ท่าน.” (โยบ 42:12) พระ​ยะโฮวา​บันดาล​ให้​โยบ​หาย​ขาด​จาก​โรค ให้​มี​ทรัพย์​สมบัติ​เป็น​สอง​เท่า และ​อวย​พร​ท่าน​ให้​มี​ชีวิต​ที่​บริบูรณ์​และ​มี​ความ​สุข​กับ​คน​ที่​ท่าน​รัก. ความ​อด​ทน​อย่าง​ซื่อ​สัตย์​ของ​โยบ​ยัง​ช่วย​ให้​ท่าน​เข้าใจ​บุคลิก​ลักษณะ​ของ​พระ​ยะโฮวา​มาก​ขึ้น​อีก​ด้วย.

19. เรา​เรียน​รู้​อะไร​จาก​ความ​เพียร​อด​ทน​ด้วย​ความ​อด​กลั้น​ใจ​ของ​โยบ?

19 เรา​เรียน​รู้​อะไร​จาก​ความ​เพียร​อด​ทน​ด้วย​ความ​อด​กลั้น​ใจ​ของ​โยบ? เช่น​เดียว​กับ​โยบ เรา​อาจ​เจ็บ​ป่วย​หรือ​ประสบ​ความ​ทุกข์​ยาก. เรา​อาจ​ไม่​เข้าใจ​เต็ม​ที่​ว่า​ทำไม​พระ​ยะโฮวา​จึง​ยอม​ให้​เรา​ประสบ​ความ​ทุกข์​ร้อน​อย่าง​หนึ่ง​อย่าง​ใด. ถึง​กระนั้น เรา​มั่น​ใจ​ได้​อย่าง​หนึ่ง​ว่า ถ้า​เรา​รักษา​ความ​ซื่อ​สัตย์ เรา​จะ​ได้​รับ​การ​อวย​พร. พระ​ยะโฮวา​ย่อม​จะ​ประทาน​บำเหน็จ​ให้​แก่​ผู้​ที่​แสวง​หา​พระองค์​อย่าง​จริงจัง. (เฮ็บราย 11:6) พระ​เยซู​ตรัส​ว่า “ผู้​ใด​ทน​ได้​จน​ถึง​ที่​สุด ผู้​นั้น​จะ​รอด.”—มัดธาย 10:22; 24:13.

“วัน​ของ​พระ​ยะโฮวา​จะ​มา”

20. ทำไม​เรา​จึง​มั่น​ใจ​ได้​ว่า​วัน​ของ​พระ​ยะโฮวา​จะ​มา?

20 ถึง​แม้​พระ​ยะโฮวา​ทรง​อด​กลั้น​พระทัย แต่​พระองค์​ก็​ทรง​ยุติธรรม​ด้วย และ​จะ​ไม่​ปล่อย​ให้​ความ​ชั่ว​มี​อยู่​ตลอด​ไป. ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระองค์​มี​ขีด​จำกัด. เปโตร​เขียน​ว่า “[พระเจ้า] มิ​ได้​ทรง​ยับยั้ง​ไว้​จาก​การ​ลง​โทษ​โลก​ใน​สมัย​โบราณ.” ขณะ​ที่​โนฮา​กับ​ครอบครัว​ของ​ท่าน​ได้​รับ​การ​สงวน​ชีวิต แต่​โลก​ที่​ไม่​นับถือ​พระเจ้า​ถูก​น้ำ​ท่วม​ทำลาย. เช่น​เดียว​กัน พระ​ยะโฮวา​ทรง​พิพากษา​ลง​โทษ​เมือง​โซโดม​กับ​โกโมร์ราห์ ทำลาย​เมือง​ทั้ง​สอง​จน​เป็น​เถ้า​ถ่าน. การ​พิพากษา​ลง​โทษ​เหล่า​นี้​เป็น “แบบ​อย่าง​สำหรับ​คน​ที่​ดูหมิ่น​พระเจ้า​เกี่ยว​กับ​สิ่ง​ที่​จะ​เกิด​ขึ้น.” เรา​สามารถ​มั่น​ใจ​ได้​ว่า “วัน​ของ​พระ​ยะโฮวา​จะ​มา.”—2 เปโตร 2:5, 6; 3:10, ล.ม.

21. เรา​อาจ​จะ​แสดง​ความ​อด​ทน​และ​ความ​อด​กลั้น​ใจ​ได้​อย่าง​ไร และ​เรา​จะ​พิจารณา​อะไร​ใน​บทความ​หน้า?

21 ฉะนั้น ให้​เรา​เลียน​แบบ​ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระ​ยะโฮวา​ด้วย​การ​ช่วย​คน​อื่น ๆ ให้​กลับ​ใจ​เพื่อ​ว่า​พวก​เขา​จะ​มี​โอกาส​ได้​รับ​ความ​รอด. เช่น​เดียว​กัน ให้​เรา​เลียน​แบบ​เหล่า​ผู้​พยากรณ์​โดย​การ​ประกาศ​ข่าว​ดี​ด้วย​ความ​อด​ทน​ต่อ ๆ ไป​แม้​ว่า​จะ​ไม่​มี​การ​ตอบรับ​จาก​ผู้​ที่​เรา​ประกาศ​ให้​ฟัง. นอก​จาก​นี้ เรา​มั่น​ใจ​ได้​ว่า​พระ​ยะโฮวา​จะ​อวย​พร​เรา​อย่าง​อุดม หาก​เรา​ทน​รับ​ความ​ทุกข์​ยาก​และ​รักษา​ความ​ซื่อ​สัตย์​มั่นคง​เช่น​เดียว​กับ​โยบ. เรา​มี​เหตุ​ผล​เต็ม​เปี่ยม​ที่​จะ​ชื่นชม​ยินดี​ใน​งาน​รับใช้​ของ​เรา​เมื่อ​เรา​คำนึง​ถึง​ว่า​พระ​ยะโฮวา​ทรง​อวย​พร​การ​งาน​ประกาศ​ข่าว​ดี​ตลอด​ทั่ว​โลก​ของ​ประชาชน​ของ​พระองค์​อย่าง​ล้น​เหลือ​สัก​เพียง​ไร. เรา​จะ​พิจารณา​เรื่อง​นี้​กัน​ใน​บทความ​หน้า.

คุณ​จำ​ได้​ไหม?

• เพราะ​เหตุ​ใด​พระ​ยะโฮวา​จึง​อด​กลั้น​พระทัย?

• เรา​เรียน​รู้​อะไร​จาก​การ​อด​กลั้น​ใจ​ของ​เหล่า​ผู้​พยากรณ์?

• โยบ​แสดง​ความ​เพียร​อด​ทน​อย่าง​ไร และ​ผล​เป็น​อย่าง​ไร?

• เรา​รู้​อย่าง​ไร​ว่า​ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระ​ยะโฮวา​ไม่​ได้​เป็น​แบบ​ไร้​ขีด​จำกัด?

[คำ​ถาม]

[ภาพ​หน้า 18]

ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระ​เยซู​ได้​สะท้อน​ถึง​ความ​อด​กลั้น​พระทัย​ของ​พระ​บิดา​อย่าง​สมบูรณ์​แบบ

[ภาพ​หน้า 20]

พระ​ยะโฮวา​ทรง​ตอบ​แทน​ความ​อด​ทน​ของ​ยิระมะยา​อย่าง​ไร?

[ภาพ​หน้า 21]

พระ​ยะโฮวา​ทรง​ตอบ​แทน​ความ​อด​ทน​ของ​โยบ​อย่าง​ไร?