“เป็นพยานแก่ทุกชาติ”
“เป็นพยานแก่ทุกชาติ”
“ท่านทั้งหลายจะเป็นพยานฝ่ายเรา . . . จนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก.”—กิจการ 1:8.
1. เมื่อไรและที่ไหนที่พวกสาวกได้ยินคำพยากรณ์ดังบันทึกไว้ที่มัดธาย 24:14 เป็นครั้งแรก?
คำตรัสของพระเยซูที่บันทึกไว้ในมัดธาย 24:14 เป็นข้อความที่คุ้นเคยกันดีจนพวกเราหลายคนจำได้ขึ้นใจ. และนับว่าเป็นคำพยากรณ์ที่โดดเด่นจริง ๆ! ลองนึกดูสิว่าเหล่าสาวกคงจะคิดเช่นไรเมื่อพวกเขาได้ยินคำตรัสนั้นเป็นครั้งแรก! เวลานั้นเป็นปี ส.ศ. 33. เหล่าสาวกอยู่กับพระเยซูมาประมาณสามปีแล้ว และตอนนี้ได้มากรุงเยรูซาเลมด้วยกันกับพระองค์. พวกเขาได้เห็นพระองค์ทำการอัศจรรย์และได้ฟังคำสั่งสอนของพระองค์. แม้ว่าพวกสาวกชื่นชอบความจริงอันล้ำค่าที่พระเยซูสอน แต่พวกเขาก็รู้ดีว่าไม่ใช่ทุกคนจะรู้สึกอย่างเดียวกับพวกเขา. พระเยซูมีเหล่าศัตรูที่มีอำนาจและทรงอิทธิพล.
2. เหล่าสาวกจะเผชิญอันตรายและข้อท้าทายอะไร?
2 บนภูเขามะกอกเทศ สาวกสี่คนนั่งอยู่กับพระเยซู ตั้งอกตั้งใจฟังขณะพระองค์ตรัสถึงอันตรายและข้อท้าทายที่พวกเขาจะเผชิญในอีกไม่ช้า. ก่อนหน้านี้ พระเยซูได้บอกพวกเขาแล้วว่าพระองค์จะถูกประหาร. (มัดธาย 16:21) บัดนี้ พระองค์ทำให้สาวกเห็นชัดเจนว่าพวกเขาจะเผชิญการต่อต้านอย่างโหดร้ายทารุณเช่นกัน. พระองค์ตรัสว่า “เขาจะมอบท่านทั้งหลายไว้ให้ทนทุกข์ลำบากและฆ่าท่านเสีย, และชาติต่าง ๆ จะเกลียดชังพวกท่านเพราะนามของเรา.” ไม่เพียงแค่นั้น. ผู้พยากรณ์เท็จจะล่อลวงหลายคนให้หลงไป. บางคนจะสะดุดและคิดคดทรยศ อีกทั้งเกลียดชังกันและกัน. ที่จริง ยังจะมี “คนเป็นอันมาก” ยอมให้ความรักต่อพระเจ้าและพระคำของพระองค์เยือกเย็นลง.—มัดธาย 24:9-12.
3. ทำไมคำตรัสของพระเยซูในมัดธาย 24:14 จึงน่าประหลาดใจจริง ๆ?
3 หลังจากกล่าวถึงสภาพการณ์ที่น่าท้อใจนั้นเองที่พระเยซูตรัสถ้อยคำซึ่งคงจะทำให้พวกสาวกรู้สึกประหลาดใจ. พระองค์ตรัสว่า “ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรนี้จะได้รับการประกาศทั่วทั้งแผ่นดินโลกที่มีคนอาศัยอยู่ เพื่อเป็นพยานแก่ทุกชาติ และครั้นแล้วอวสานจะมาถึง.” (มัดธาย 24:14, ล.ม.) ใช่แล้ว งานที่พระเยซูเริ่มต้นในเขตอิสราเอล ซึ่งก็คืองาน “ให้คำพยานถึงความจริง” จะดำเนินต่อไปและขยายขอบเขตไปทั่วโลก. (โยฮัน 18:37, ล.ม.) นับว่าเป็นคำพยากรณ์ที่น่าประหลาดใจจริง ๆ! การแผ่ขยายงานนั้นไปยัง “ทุกชาติ” ก็เป็นข้อท้าทายอยู่แล้ว ที่จะทำเช่นนั้นในขณะที่ประสบ ‘ความเกลียดชังจากชาติต่าง ๆ’ คงจะต้องเป็นเรื่องอัศจรรย์อย่างแท้จริง. การทำงานใหญ่โตขนาดนี้ได้สำเร็จไม่เพียงแต่ยกย่องความเป็นผู้ใหญ่ยิ่งสูงสุดและฤทธานุภาพของพระยะโฮวาเท่านั้น แต่ยังเชิดชูความรัก, พระเมตตา, และความอดกลั้นพระทัยของพระองค์ด้วย. อีกทั้งยังให้ผู้รับใช้ของพระองค์มีโอกาสแสดงให้เห็นความเชื่อและความเลื่อมใสของตน.
4. ใครได้รับพระบัญชาให้ทำงานเป็นพยาน และพระเยซูให้การชูใจอะไร?
4 พระเยซูแสดงให้เหล่าสาวกเห็นอย่างชัดแจ้งว่าพวกเขาได้รับงานมอบหมายใหญ่โตให้ทำ. ก่อนจะเสด็จสู่สวรรค์ พระเยซูปรากฏพระกายแก่พวกเขาแล้วตรัสว่า “ท่านทั้งหลายจะได้รับพระราชทานฤทธิ์เดชเมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์จะเสด็จมาเหนือท่าน และท่านทั้งหลายจะเป็นพยานฝ่ายเราในกรุงยะรูซาเลม, สิ้นทั้งมณฑลยูดาย, มณฑลซะมาเรีย, และจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก.” (กิจการ 1:8) แน่ละ อีกไม่นานจะมีคนอื่น ๆ เข้ามาร่วมสมทบกับพวกเขา. กระนั้น สาวกยังมีจำนวนน้อยอยู่. พวกเขาคงต้องได้รับการชูใจสักเพียงไรเมื่อรู้ว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่ทรงอานุภาพจะช่วยพวกเขาให้ทำงานมอบหมายจากพระเจ้าได้สำเร็จ!
5. อะไรที่เหล่าสาวกไม่รู้เกี่ยวกับงานให้คำพยาน?
มัดธาย 28:19, 20, ล.ม.) แต่พวกเขาไม่รู้ว่าการให้คำพยานจะทำถี่ถ้วนถึงขนาดไหน อีกทั้งไม่รู้ว่าอวสานจะมาถึงเมื่อไร. พวกเราก็ไม่รู้เช่นกัน. พระยะโฮวาเท่านั้นที่เป็นผู้ตัดสินในเรื่องเหล่านี้. (มัดธาย 24:36) เมื่องานให้คำพยานถึงขีดที่พระยะโฮวาพอพระทัยแล้ว พระองค์จะนำอวสานมาสู่ระบบชั่วนี้. เฉพาะเมื่อถึงตอนนั้นเท่านั้นที่คริสเตียนจะเข้าใจว่างานประกาศได้สำเร็จลุล่วงถึงขีดที่พระยะโฮวาทรงมุ่งหมายไว้. สาวกรุ่นแรกเหล่านี้คงจะนึกภาพไม่ออกเลยว่างานให้คำพยานจะดำเนินไปถึงขนาดไหนในสมัยสุดท้ายนี้.
5 สาวกเหล่านั้นรู้ว่าพวกตนได้รับพระบัญชาให้ประกาศข่าวดีและ “ทำให้คนจากทุกชาติเป็นสาวก.” (งานให้คำพยานในศตวรรษแรก
6. เกิดอะไรขึ้นในวันเพนเทคอสต์ ปี ส.ศ. 33 และไม่นานหลังจากนั้น?
6 ในศตวรรษแรก งานประกาศเรื่องราชอาณาจักรและงานทำให้คนเป็นสาวกเกิดผลอย่างน่าทึ่ง. ในวันเพนเทคอสต์ ปี ส.ศ. 33 สาวกประมาณ 120 คนอยู่ ณ ห้องชั้นบนในกรุงเยรูซาเลม. พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าหลั่งลงมาบนพวกเขา อัครสาวกเปโตรกล่าวคำปราศรัยที่เร้าใจอธิบายความหมายของการอัศจรรย์นี้ และมีประมาณ 3,000 คนเข้ามาเป็นผู้เชื่อถือและรับบัพติสมา. แต่นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้น. ถึงแม้พวกผู้นำศาสนาได้พยายามอย่างไม่ละลดเพื่อหยุดยั้งการประกาศข่าวดี “องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงโปรดให้คนทั้งหลายซึ่งกำลังจะพ้นจากความผิดบาปของตนมาเข้ากับจำพวกสาวกทวีขึ้นทุกวัน.” ในไม่ช้า “จำนวน . . . นับแต่ผู้ชายได้ประมาณห้าพันคน.” หลังจากนั้น “มีชายหญิงเป็นอันมากที่เชื่อถือได้เข้าเป็นสาวกของพระเจ้า.”—กิจการ 2:1-4, 8, 14, 41, 47; 4:4; 5:14.
7. ทำไมการที่โกระเนเลียวเข้ามาเป็นผู้เชื่อถือจึงเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญ?
7 พอถึงปี ส.ศ. 36 มีเหตุการณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นคือ การเปลี่ยนความเชื่อและการรับบัพติสมาของโกระเนเลียว ซึ่งเป็นคนต่างชาติ. โดยการชี้นำให้อัครสาวกเปโตรไปหาชายที่เกรงกลัวพระเจ้าผู้นี้ พระยะโฮวาทรงแสดงให้เห็นว่าคำสั่งของพระเยซูที่ให้ “ทำให้คนจากทุกชาติเป็นสาวก” นั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในหมู่ชาวยิวที่กระจัดกระจายอยู่ตามแว่นแคว้นต่าง ๆ. (กิจการ 10:44, 45) ผู้ที่นำหน้ามีปฏิกิริยาอย่างไร? เมื่อเหล่าอัครสาวกและผู้เฒ่าผู้แก่ในแคว้นยูเดียเข้าใจว่าข่าวดีจะต้องประกาศแก่ผู้ที่ไม่ใช่ชาวยิวในชาติต่าง ๆ ด้วย พวกเขาก็พากันสรรเสริญพระเจ้า. (กิจการ 11:1, 18) ในระหว่างนั้น งานประกาศก็ยังบังเกิดผลต่อไปท่ามกลางชาวยิว. หลายปีต่อมา คงจะในราว ๆ ปี ส.ศ. 58 นอกจากผู้เชื่อถือชาวต่างชาติแล้ว “มีชาวยิวตั้งหลายพันคนมาเป็นผู้เชื่อถือ.”—กิจการ 21:20, ล.ม.
8. ข่าวดีส่งผลกระทบต่อผู้คนอย่างไร?
8 แม้จำนวนที่เพิ่มขึ้นของคริสเตียนในศตวรรษแรกจะดูน่าประทับใจ แต่เราก็ไม่ควรลืมว่าจำนวนดังกล่าวหมายถึงผู้คน. ข่าวสารในคัมภีร์ไบเบิลที่พวกเขาได้ยินนั้นทรงพลังมาก. (เฮ็บราย 4:12) ข่าวสารนั้นทำให้ชีวิตของผู้คนที่ตอบรับเอานั้นเปลี่ยนแปลงอย่างน่าทึ่ง. ผู้คนชำระชีวิตของตนให้สะอาด, สวมบุคลิกภาพใหม่, และกลับมาคืนดีกับพระเจ้า. (เอเฟโซ 4:22, 23) ทุกวันนี้ก็เป็นเช่นนั้นด้วย. และทุกคนที่ตอบรับข่าวดีล้วนมีความหวังอันน่าพิศวงเรื่องชีวิตนิรันดร์.—โยฮัน 3:16.
เพื่อนร่วมงานกับพระเจ้า
9. คริสเตียนสมัยแรกตระหนักว่าพวกเขามีสิทธิพิเศษและหน้าที่รับผิดชอบอะไร?
9 คริสเตียนสมัยแรกไม่ได้อ้างเอาความดีใส่ตัวสำหรับสิ่งที่มีการบรรลุผล. พวกเขายอมรับว่างานเผยแพร่ของตนได้รับการหนุนหลังจาก “ฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์.” (โรม 15:13, 19) พระยะโฮวาเป็นผู้ดูแลให้มีการเติบโตด้านวิญญาณ. ขณะเดียวกัน คริสเตียนเหล่านั้นก็รู้ว่าตนมีสิทธิพิเศษและหน้าที่รับผิดชอบในการเป็น “ผู้ร่วมทำการด้วยกันกับพระเจ้า.” (1 โกรินโธ 3:6-9) ดังนั้น พวกเขาจึงทำงานที่ตนได้รับมอบหมายด้วยความบากบั่นอย่างแข็งขันตามที่พระเยซูได้กระตุ้นเตือน.—ลูกา 13:24.
10. คริสเตียนบางคนในสมัยแรกมีความบากบั่นพยายามประการใดบ้างเพื่อให้คำพยานแก่ทุกชาติ?
10 ฐานะที่เป็น “อัครสาวกที่ถูกส่งมายังคนต่างชาติ” เปาโลเดินทางรวมหลายพันกิโลเมตรทั้งทางบกทางทะเล ก่อตั้งหลายประชาคมในแคว้นเอเชียของจักรวรรดิโรมันและในกรีซ. (โรม 11:13, ล.ม.) นอกจากนี้ ท่านได้เดินทางไปกรุงโรมและเป็นไปได้ว่าไปถึงสเปนด้วยซ้ำ. ขณะเดียวกัน อัครสาวกเปโตร ซึ่งได้รับมอบให้ประกาศ “ข่าวดีแก่ผู้ที่รับสุหนัต” ได้เดินทางไปอีกทางหนึ่งเพื่อทำงานรับใช้ในบาบิโลน ศูนย์กลางที่สำคัญของศาสนายิวในเวลานั้น. (ฆะลาเตีย 2:7-9, ล.ม.; 1 เปโตร 5:13) ในบรรดาคนอื่น ๆ อีกหลายคนที่บากบั่นทำงานขององค์พระผู้เป็นเจ้าก็มีสตรีรวมอยู่ด้วย เช่น ตรุฟายนากับตรุโฟซา. เประชีซเป็นผู้หญิงอีกคนหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงว่า “กระทำการมากมายฝ่ายองค์พระผู้เป็นเจ้า.”—โรม 16:12.
11. พระยะโฮวาอวยพรความพยายามของเหล่าสาวกอย่างไร?
11 พระยะโฮวาอวยพรอย่างอุดมสำหรับความพยายามของคนเหล่านี้และผู้ทำการด้วยใจแรงกล้าคนอื่น ๆ. ภายในเวลาไม่ถึง 30 ปีหลังจากที่พระเยซูบอกไว้ล่วงหน้าว่าจะมีการให้คำพยานแก่ทุกชาติ เปาโลเขียนว่า “กิตติคุณ . . . ได้ประกาศแล้วแก่มนุษย์ทุกคนที่อยู่ใต้ฟ้า.” (โกโลซาย 1:23) แล้วอวสานมาถึงในตอนนั้นไหม? ใช่ในแง่หนึ่ง. อวสานของระบบยิวมาถึงในปี ส.ศ. 70 เมื่อกองทัพโรมันได้ทำลายกรุงเยรูซาเลมพร้อมกับพระวิหาร. แต่กระนั้น พระยะโฮวาทรงตั้งพระทัยไว้ว่าจะให้มีการให้คำพยานในขอบเขตที่ใหญ่โตยิ่งกว่านั้นมากนักก่อนที่พระองค์จะนำอวสานมาสู่โลกชั่วทั้งสิ้นของซาตาน.
งานให้คำพยานสมัยปัจจุบัน
12. นักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลสมัยแรก ๆ เข้าใจพระบัญชาที่ให้ประกาศนั้นอย่างไร?
12 ระหว่างช่วงหลังของศตวรรษที่ 19 หลังจากที่การออกหากทางศาสนาได้แพร่ไปเป็นเวลายาวนาน การนมัสการบริสุทธิ์ก็ได้รับการตั้งขึ้นใหม่. กลุ่มนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งเป็นชื่อเรียกพยานพระยะโฮวาในสมัยนั้น เข้าใจชัดถึงพระบัญชาที่ให้ทำคนจากทุกชาติเป็นสาวก. (มัดธาย 28:19, 20, ล.ม.) พอมาถึงปี 1914 มีผู้เข้าร่วมงานประกาศอย่างขยันขันแข็งอยู่ประมาณ 5,100 คน และข่าวดีเข้าไปถึง 68 ดินแดนทีเดียว. อย่างไรก็ดี นักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลในสมัยแรก ๆ นั้นยังไม่เข้าใจเต็มที่นักถึงความหมายของมัดธาย 24:14. พอถึงปลายศตวรรษที่ 19 คัมภีร์ไบเบิล ซึ่งบรรจุข่าวดีหรือกิตติคุณ ได้รับการแปลและพิมพ์ในหลายภาษาโดยสมาคมคัมภีร์ไบเบิลต่าง ๆ และแจกจ่ายไปตลอดทั่วโลก. ด้วยเหตุนี้ เป็นเวลาหลายสิบปีที่นักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลหาเหตุผลว่าได้มีการให้คำพยานแก่ชาติต่าง ๆ ไปแล้ว.
13, 14. ความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นอะไรเกี่ยวกับพระทัยประสงค์ของพระเจ้า ได้รับการชี้แจงในวารสารหอสังเกตการณ์ ปี 1928?
13 ทีละเล็กทีละน้อย พระยะโฮวาประทานความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นในเรื่องพระทัยประสงค์ของพระองค์แก่ประชาชนของพระองค์. (สุภาษิต 4:18) วารสารหอสังเกตการณ์ (ภาษาอังกฤษ) ฉบับ 1 ธันวาคม 1928 กล่าวว่า “เราจะพูดได้หรือว่า การแจกจ่ายคัมภีร์ไบเบิลนั้นเป็นการประกาศกิตติคุณเรื่องราชอาณาจักรตามที่บอกไว้ล่วงหน้า? ไม่ใช่อย่างแน่นอน! ทั้ง ๆ ที่มีการแจกจ่ายคัมภีร์ไบเบิล ก็ยังจำเป็นที่พยานกลุ่มเล็ก ๆ ของพระเจ้าบนโลกนี้จะต้องจัดพิมพ์หนังสืออธิบาย [พระประสงค์] ของพระเจ้า และเยี่ยมบ้านต่าง ๆ ที่รับคัมภีร์ไบเบิลไว้. มิฉะนั้น ผู้คนก็จะไม่รู้เรื่องราชอาณาจักรมาซีฮาที่มีการตั้งขึ้นในสมัยของเรา.”
14 หอสังเกตการณ์ ฉบับนั้นกล่าวต่อไปว่า “ในปี 1920 . . . นักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลได้มาเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับคำพยากรณ์ขององค์พระผู้เป็นเจ้าในมัดธาย 24:14. แล้วพวกเขาก็ได้มาเข้าใจว่า ‘กิตติคุณนี้’ ที่จะต้องประกาศไปทั่วโลกเพื่อเป็นพยานแก่คนต่างชาติหรือทุกชาติ ไม่ใช่กิตติคุณเรื่องราชอาณาจักรที่จะมาในอนาคต แต่เป็นกิตติคุณที่มีใจความสำคัญว่ากษัตริย์มาซีฮาได้ครองราชย์เหนือแผ่นดินโลกแล้ว.”
15. งานให้คำพยานแผ่ขยายไปอย่างไรนับจากทศวรรษ 1920?
15 “พยานกลุ่มเล็ก ๆ” ดังกล่าวในทศวรรษ 1920 ไม่ได้เป็นกลุ่มเล็ก ๆ เรื่อยไป. ทศวรรษต่อ ๆ มา “ชนฝูงใหญ่” แห่ง “แกะอื่น” ได้รับการระบุตัวและเริ่มถูกรวบรวมเข้ามา. (วิวรณ์ 7:9, ล.ม.; โยฮัน 10:16) ทุกวันนี้ มีผู้ประกาศข่าวดี 6,613,950 คน อยู่ทั่วโลกใน 235 ดินแดน. ช่างเป็นความสำเร็จเป็นจริงอย่างน่าทึ่งของคำพยากรณ์เสียจริง ๆ! ไม่เคยมีการประกาศ “ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรนี้” ในระดับใหญ่โตอย่างนี้มาก่อน. ไม่เคยมีผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระยะโฮวาบนแผ่นดินโลกจำนวนมากเช่นนี้มาก่อน.
16. มีการบรรลุผลอะไรในปีรับใช้ที่ผ่านมา? (ดูตารางหน้า 27-30.)
16 พยานฯ จำนวนมากมายเหล่านี้ร่วมกันทำงานอย่างขยันขันแข็งระหว่างปีรับใช้ 2005. มีการใช้เวลารวมกันมากกว่าหนึ่งพันล้านชั่วโมงเพื่อป่าวประกาศข่าวดีใน 235 ดินแดน. มีการกลับเยี่ยมเยียนหลายล้านราย และการนำการศึกษาพระคัมภีร์อีกหลายล้านราย. งานนี้บรรลุผลโดยพยานพระยะโฮวา ซึ่งสละเวลาและทรัพยากรของตนอย่างเต็มที่เพื่อบอกพระคำของพระเจ้าแก่คนอื่น ๆ. (มัดธาย 10:8) โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่มีพลังของพระองค์ พระยะโฮวาประทานกำลังแก่ผู้รับใช้ของพระองค์ต่อ ๆ ไปเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามพระทัยประสงค์ของพระองค์.—ซะคาระยา 4:6.
ให้คำพยานอย่างขยันขันแข็ง
17. ประชาชนของพระยะโฮวาตอบสนองอย่างไรต่อคำตรัสของพระเยซูเรื่องการประกาศข่าวดี?
17 แม้เวลาผ่านไปเกือบ 2,000 ปีแล้วตั้งแต่ที่พระเยซู2 โกรินโธ 5:18-20; 2 เปโตร 3:9) พยานพระยะโฮวาซึ่งรุ่งโรจน์ด้วยพระวิญญาณของพระเจ้าประกาศข่าวดีต่อ ๆ ไปด้วยใจแรงกล้าจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก. (โรม 12:11, ล.ม.) ผลคือ ผู้คนทุกหนแห่งกำลังรับเอาความจริงและติดตามการชี้นำด้วยความรักจากพระยะโฮวา. ขอเราพิจารณาสักสองตัวอย่าง.
ตรัสว่าข่าวดีจะได้รับการประกาศ ความมีใจแรงกล้าของประชาชนของพระเจ้าต่องานนี้ก็ไม่ได้ลดน้อยลง. เรารู้ว่าโดยการอดทนในการทำสิ่งที่ดี เราสะท้อนคุณลักษณะของพระยะโฮวาในเรื่องความรัก, ความเมตตา, และความอดกลั้น. เช่นเดียวกับพระองค์ เราไม่ต้องการให้ใครถูกทำลาย แต่ปรารถนาให้คนทั้งปวงกลับใจเสียใหม่และกลับมาคืนดีกับพระยะโฮวา. (18, 19. คุณสามารถเล่าประสบการณ์อะไรบ้างเกี่ยวกับบางคนที่ตอบรับข่าวดี?
18 ชาลส์เป็นชาวไร่คนหนึ่งในเขตตะวันตกของประเทศเคนยา. ในปี 1998 เขาขายยาสูบรวมแล้วมากกว่า 8,000 กิโลกรัม และได้รับใบประกาศเกียรติคุณว่าเป็นชาวไร่ยาสูบดีเด่น. ในเวลานั้น เขาเริ่มศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. ไม่ช้า เขาก็ได้มาเข้าใจว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยาสูบละเมิดพระบัญชาของพระเยซูที่ให้รักเพื่อนบ้านของตน. (มัดธาย 22:39) เมื่อเขาได้ข้อสรุปว่า ‘ชาวไร่ยาสูบดีเด่น’ ที่แท้ก็คือ ‘นักฆ่าดีเด่น’ ชาลส์ก็พ่นยาฆ่าต้นยาสูบของเขาทั้งหมด. เขาก้าวหน้าถึงขั้นอุทิศตัวและรับบัพติสมา และปัจจุบันรับใช้ในฐานะไพโอเนียร์ประจำและผู้ช่วยงานรับใช้.
19 ไม่มีข้อสงสัยว่าพระยะโฮวากำลังเขย่านานาชาติโดยทางงานให้คำพยานที่ดำเนินอยู่ทั่วโลก และสิ่งน่าปรารถนา ซึ่งก็คือผู้คน กำลังหลั่งไหลเข้ามา. (ฮาฆี 2:7) เปดรู ซึ่งอยู่ในประเทศโปรตุเกส เข้าโรงเรียนนักธรรมเมื่ออายุได้ 13 ปี. เป้าหมายของเขาคือเป็นมิชชันนารีและสอนคัมภีร์ไบเบิล. อย่างไรก็ตาม หลังจากเรียนได้ไม่นานเขาก็ลาออก เนื่องจากแทบจะไม่มีการสอนพระคัมภีร์ในชั้นเรียนเลย. หกปีต่อมา เขาศึกษาในสาขาจิตวิทยา ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงลิสบอน. เขาอาศัยอยู่กับน้าสาวซึ่งเป็นพยานพระยะโฮวา และน้าชวนเขาให้ศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. ในเวลานั้น เปดรูไม่แน่ใจนักว่าพระเจ้ามีอยู่จริง และยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะตอบรับการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลหรือไม่. เขาพูดกับอาจารย์ที่สอนจิตวิทยาถึงความลังเลใจของเขา. อาจารย์บอกเขาว่าวิชาจิตวิทยาสอนว่า คนที่ไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้มีแนวโน้มจะก่อความเสียหายแก่ตัวเอง. คำพูดนั้นทำให้เปดรูตอบตกลงการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. เขารับบัพติสมาเมื่อไม่นานมานี้และกำลังนำการศึกษาพระคัมภีร์กับบางคน.
20. เพราะเหตุใดเราจึงปีติยินดีที่มีการให้คำพยานแก่ชาติต่าง ๆ ในขอบเขตใหญ่โตจริง ๆ?
20 เรายังไม่รู้ว่างานให้คำพยานแก่นานาชาติจะดำเนินไปถึงขีดไหน อีกทั้งไม่รู้ว่าอวสานจะมาถึงวันใดโมงใด. เรารู้แต่เพียงว่าอวสานจะมาถึงในอีกไม่ช้า. เรารู้สึกปีติยินดีที่การประกาศข่าวดีในขอบเขตใหญ่โตจริง ๆ นี้เป็นหนึ่งในสิ่งบ่งชี้หลาย ๆ ประการที่ว่า เวลาที่ราชอาณาจักรของพระเจ้าจะแทนที่การปกครองของมนุษย์นั้นใกล้เข้ามาแล้ว. (ดานิเอล 2:44) แต่ละปีที่ผ่านไป มีหลายล้านคนได้รับโอกาสที่จะตอบรับข่าวดี และสิ่งนี้นำพระเกียรติมาสู่พระยะโฮวาพระเจ้าของเรา. ขอให้เราตั้งใจแน่วแน่ที่จะรักษาความซื่อสัตย์ต่อ ๆ ไป และขยันขันแข็งร่วมกับพี่น้องของเราตลอดทั่วโลกในงานให้คำพยานแก่ชนทุกชาติ. โดยการทำเช่นนั้น เราจะช่วยทั้งตัวเราเองและคนที่ฟังเราให้รอดได้.—1 ติโมเธียว 4:16.
คุณจำได้ไหม?
• เหตุใดมัดธาย 24:14 จึงเป็นคำพยากรณ์ที่โดดเด่นจริง ๆ?
• คริสเตียนสมัยแรกใช้ความพยายามเช่นไรในการประกาศ และผลเป็นอย่างไร?
• นักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลได้มาเข้าใจอย่างไรถึงความจำเป็นที่จะต้องให้คำพยานแก่ทุกชาติ?
• เมื่อพิจารณากิจกรรมงานรับใช้ของประชาชนของพระยะโฮวาในปีรับใช้ที่ผ่านมา มีอะไรประทับใจคุณ?
[คำถาม]
[แผนภูมิหน้า 27-30]
(รายละเอียดดูจากวารสาร)
รายงานเกี่ยวกับปีรับใช้ 2005 ของพยานพระยะโฮวาตลอดทั่วโลก
[แผนที่/ภาพหน้า 25]
เปาโลเดินทางหลายพันกิโลเมตรทั้งทางบกทางทะเลเพื่อประกาศข่าวดี
[ภาพหน้า 24]
พระยะโฮวาชี้นำเปโตรไปให้คำพยานแก่โกระเนเลียวและครอบครัวของเขา