บิดามารดาจงเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุตรของคุณ
บิดามารดาจงเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุตรของคุณ
“นักจิตวิทยาสามารถยุติการสืบหานานนับศตวรรษเพื่อจะรู้วิธีที่ดีที่สุดในการเลี้ยงดูเด็กให้เป็นคนดี—ใช่ว่าเพราะพวกเขาได้พบวิธีนั้นแล้ว แต่เป็นเพราะวิธีดังกล่าวไม่มีอยู่.” บทวิจารณ์ในวารสารไทม์ เกี่ยวกับหนังสือเรื่องการเลี้ยงดูเด็กได้กล่าวไว้เช่นนั้น. หนังสือนั้นอ้างเหตุผลว่าเด็ก ๆ ซึมซับค่านิยมต่าง ๆ จากเพื่อนรุ่นเดียวกันเป็นอันดับแรก ไม่ใช่จากบิดามารดา.
เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความกดดันจากคนรุ่นเดียวกันเป็นพลังที่มีอานุภาพจริง ๆ ซึ่งต้องคำนึงถึง. (สุภาษิต 13:20; 1 โกรินโธ 15:33) วิลเลียม บราวน์นักเขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ได้กล่าวว่า “หากมีสิ่งใดที่สำคัญมากที่สุดในชีวิตของวัยรุ่นแล้ว สิ่งนั้นก็คือการเอาอย่างคนอื่น . . . สำหรับวัยรุ่นแล้ว การแตกต่างไปจากคนรอบข้างนับว่าเป็นเรื่องเลวร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้.” เมื่อบิดามารดาล้มเหลวในการทำให้ชีวิตครอบครัวอบอุ่นและน่าพอใจ หรือไม่ได้ใช้เวลาเพียงพอกับบุตร—ซึ่งทั้งสองอย่างเป็นสภาพการณ์ปกติในโลกที่เต็มไปด้วยธุระยุ่ง—ที่แท้แล้วพวกเขาเปิดโอกาสให้อิทธิพลจากคนรุ่นเดียวกันก่อผลเสียหายต่อบุตรของตน.
นอกจากนี้ ระหว่าง “สมัยสุดท้าย” นี้ หน่วยครอบครัวถูกโจมตี เนื่องจากผู้คนหมกมุ่นอยู่กับเงิน, ความสนุกสนาน, และตัวเอง ดังที่คัมภีร์ไบเบิลได้บอกไว้ล่วงหน้า. ดังนั้น เราควรแปลกใจไหมที่เห็นเด็ก ๆ กลายเป็นคน “ไม่เชื่อฟังบิดามารดา, อกตัญญู, ไม่ภักดี, ไม่มีความรักใคร่ตามธรรมชาติ”?—2 ติโมเธียว 3:1-3, ล.ม.
คำ “ความรักใคร่ตามธรรมชาติ” ตามที่ใช้ในคัมภีร์ไบเบิลพรรณนาถึงความรักในครอบครัว. ความรักแบบนี้เป็นความผูกพันตามธรรมชาติ ที่กระตุ้นบิดามารดาให้เอาใจใส่ดูแลบุตรและกระตุ้นบุตรให้มีความรู้สึกผูกพันอย่างแน่นแฟ้นกับบิดามารดา. แต่เมื่อบิดามารดาขาดความรักใคร่ตามธรรมชาติ บุตรก็จะแสวงหาการเกื้อหนุนทางอารมณ์จากแหล่งอื่น—โดยทั่วไปจากคนรุ่นเดียวกัน ซึ่งเป็นผู้ที่บุตรคงจะรับเอาค่านิยมและเจตคติของเขา. กระนั้น บ่อยครั้งจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์เช่นนี้ได้ถ้าบิดามารดายอมให้หลักการในคัมภีร์ไบเบิลควบคุมชีวิตครอบครัวของเขา.—สุภาษิต 3:5, 6.
ครอบครัว—การจัดเตรียมที่พระเจ้าทรงริเริ่ม
หลังจากทำให้อาดามกับฮาวาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันฐานะสามีและภรรยาแล้ว พระเจ้าทรงให้พระบัญชานี้แก่เขาว่า “จงบังเกิดทวีมากขึ้นทั่วทั้งแผ่นดิน.” หลังจากนั้น ครอบครัว ซึ่งประกอบด้วยบิดา, มารดา, และบุตร ก็ได้มีขึ้นมา. (เยเนซิศ 1:28; 5:3, 4; เอเฟโซ 3:14, 15) เพื่อช่วยมนุษย์ให้เลี้ยงดูบุตรของตน พระยะโฮวาได้ทรงตั้งแง่มุมพื้นฐานบางอย่างเกี่ยวกับสัญชาตญาณในการเป็นบิดามารดา. แต่ต่างจากสัตว์ มนุษย์จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือนอกจากสัญชาตญาณ ดังนั้น พระยะโฮวาทรงจัดเตรียมการชี้นำเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับพวกเขา. คำแนะนำในเรื่องศีลธรรมและเรื่องเกี่ยวกับการนมัสการพระเจ้าและการตีสอนบุตรอย่างเหมาะสมก็รวมอยู่ในการชี้นำดังกล่าว.—สุภาษิต 4:1-4.
พระบัญญัติ 6:6, 7; สุภาษิต 1:8, 9) สังเกตว่าบิดามารดาต้องเอากฎหมายของพระเจ้าใส่ไว้ในหัวใจของตนเองก่อน. เหตุใดเรื่องนี้จึงสำคัญ? เพราะคำสอนชนิดที่กระตุ้นคนอื่นอย่างแท้จริงไม่ใช่มาจากปาก แต่ต้องมาจากหัวใจ. เฉพาะแต่เมื่อบิดามารดาสอนจากหัวใจของเขาเท่านั้น เขาจึงจะเข้าถึงหัวใจของบุตร. บิดามารดาเช่นนั้นจะทำหน้าที่เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุตรด้วยซึ่งเป็นผู้ที่ไวมากในการสังเกตความไม่จริงใจ.—โรม 2:21.
พระเจ้าได้ตรัสกับบิดาทั้งหลายโดยเฉพาะว่า “ถ้อยคำเหล่านี้, ซึ่งเราสั่งไว้แก่เจ้าทั้งหลายในวันนี้, ก็ให้ตั้งอยู่ในใจของเจ้าทั้งหลาย; และจงอุตส่าห์สั่งสอนบุตรทั้งหลายของเจ้าด้วยถ้อยคำเหล่านี้, และเมื่อเจ้าทั้งหลายจะนั่งอยู่ในเรือน หรือเดินในหนทาง, หรือนอนลง, และตื่นขึ้น.” (มีการสั่งให้บิดามารดาคริสเตียนสอนบุตรตั้งแต่เป็นทารก “อบรมด้วยการตีสอนและการเตือนสติขององค์พระผู้เป็นเจ้า.” (เอเฟโซ 6:4; 2 ติโมเธียว 3:15) ตั้งแต่เป็นทารกหรือ? ใช่แล้ว! มารดาคนหนึ่งเขียนว่า “บางครั้งพวกเราที่เป็นพ่อแม่ดูเบาความสามารถของพวกเขา. เด็ก ๆ มีศักยภาพ. พวกเราที่เป็นพ่อแม่ต้องใช้ศักยภาพของเด็กให้เป็นประโยชน์.” ใช่แล้ว เด็ก ๆ ชอบเรียนรู้ และเมื่อได้รับการสอนจากบิดามารดาที่เลื่อมใสในพระเจ้า พวกเขาก็จะเรียนรู้ที่จะรักด้วย. เด็กแบบนั้นจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นคงภายในขอบเขตที่กำหนดไว้สำหรับพวกเขา. ฉะนั้น บิดามารดาที่ประสบผลสำเร็จพยายามจะเป็นเพื่อนที่เปี่ยมด้วยความรัก, เป็นผู้สื่อความที่ดี, และเป็นครูที่อดทนทว่าหนักแน่น จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีงามซึ่งบุตรจะวัฒนาขึ้น. *
จงปกป้องบุตรของคุณ
ในจดหมายถึงบิดามารดา ครูใหญ่ที่ห่วงใยคนหนึ่งในเยอรมนีได้เขียนว่า “เราใคร่จะสนับสนุนคุณซึ่งเป็นบิดามารดาที่รักทั้งหลายให้มีความสนใจมากขึ้นในการอบรมบุตรและไม่ทิ้งสิ่งที่ตามจริงแล้วเป็นความรับผิดชอบของคุณเองในการพัฒนาบุคลิกภาพของพวกเขาไว้กับโทรทัศน์หรือพวกเด็กข้างถนน.”
การทิ้งบุตรไว้กับโทรทัศน์หรือเด็กข้างถนน ที่แท้แล้วเป็นการปล่อยให้น้ำใจของโลกมีอิทธิพลต่อการอบรมบุตร. (เอเฟโซ 2:1, 2) วิญญาณของโลกซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับพระวิญญาณของพระเจ้า เป็นเหมือนลมแรงที่พัดพาเมล็ดของความคิด “อย่างโลก, อย่างเดียรัจฉาน, อย่างผีปิศาจ” มาและทำให้ความคิดดังกล่าวทับถมอย่างมากมายอยู่ในจิตใจและหัวใจของคนที่ขาดประสบการณ์หรือคนโง่. (ยาโกโบ 3:15, ล.ม.) ความคิดแบบนี้ซึ่งก่อผลเสียหายเหมือนวัชพืช ทำให้หัวใจเสื่อมทรามในที่สุด. พระเยซูได้อธิบายผลที่เกิดจากสิ่งที่หว่านลงในหัวใจว่า “คนดีก็ย่อมเอาของดีออกจากคลังดีแห่งใจของตน, และคนชั่วก็ย่อมเอาของชั่วออกจากคลังชั่วแห่งใจของตน เพราะว่าใจเต็มบริบูรณ์อย่างไรปากก็พูดออกอย่างนั้น.” (ลูกา 6:45) เนื่องจากเหตุนี้ คัมภีร์ไบเบิลกระตุ้นเตือนเราว่า “จงป้องกันรักษาหัวใจของเจ้าไว้ยิ่งกว่าสิ่งอื่นที่ควรปกป้อง เพราะแหล่งแห่งชีวิตเกิดจากหัวใจ.”—สุภาษิต 4:23, ล.ม.
แน่นอน เด็กก็คือเด็ก และบางคนมีแนวโน้มที่จะดื้อรั้น ถึงกับออกนอกลู่นอกทางด้วยซ้ำ. (เยเนซิศ 8:21) บิดามารดาสามารถทำประการใด? คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ความโฉดเขลาผูกพันอยู่ในจิตต์ใจ [“หัวใจ,” ล.ม.] ของเด็ก; แต่ไม้เรียวอาจขับไล่ความโฉดเขลานั้นไปเสียได้.” (สุภาษิต 22:15) บางคนมองว่าการทำเช่นนี้เป็นการปฏิบัติที่รุนแรงซึ่งล้าสมัยแล้ว. ที่จริง คัมภีร์ไบเบิลคัดค้านความรุนแรงทั้งทางวาจาและทางกาย. แต่บางครั้ง “ไม้เรียว” ซึ่ง เกี่ยวข้องกับการลงโทษจริง ๆ แสดงถึงอำนาจของบิดามารดาที่มีการใช้อย่างหนักแน่นแต่เปี่ยมด้วยความรักและอย่างเหมาะสมเนื่องจากความห่วงใยต่อสวัสดิภาพถาวรของบุตร.—เฮ็บราย 12:7-11.
เพลิดเพลินในนันทนาการกับบุตร
เป็นความจริงที่ว่าเพื่อเด็ก ๆ จะพัฒนาอย่างเหมาะสม พวกเขาจำเป็นต้องมีการเล่นและความบันเทิง. บิดามารดาที่ฉลาดใช้ประโยชน์จากโอกาสต่าง ๆ ที่จะเสริมความผูกพันระหว่างบิดามารดากับบุตรให้แน่นแฟ้นโดยเข้าร่วมในนันทนาการกับบุตรเมื่อไรก็ตามที่เป็นไปได้. โดยการทำเช่นนี้ บิดามารดาไม่เพียงแต่สามารถชี้นำบุตรในการเลือกนันทนาการชนิดที่ถูกต้อง แต่ยังสามารถแสดงให้บุตรเห็นว่าพวกเขาถือว่าการเป็นเพื่อนกับบุตรนั้นมีค่ามากสักเพียงไร.
บิดาที่เป็นพยานฯ คนหนึ่งกล่าวว่าบ่อยครั้งเขาเล่นบอลกับลูกชายเมื่อกลับจากที่ทำงานมาถึงบ้าน. มารดาคนหนึ่งจำได้ว่าการเล่นหมากรุกเป็นเกมโปรดของลูก ๆ. ลูกสาวคนหนึ่งที่เป็นผู้ใหญ่แล้วจำได้ว่าครอบครัวของเธอสนุกเพลิดเพลินกับการขี่รถจักรยานด้วยกัน. ปัจจุบันเด็กเหล่านี้เป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่ความรักที่พวกเขามีต่อบิดามารดา—และต่อพระยะโฮวา—ยังคงแรงกล้าอยู่ และความรักจะยังแรงกล้าขึ้นต่อไป.
ที่จริง บิดามารดาซึ่งแสดงให้เห็นโดยคำพูดและการกระทำว่ารักบุตรและต้องการอยู่กับบุตรนั้นสร้างความประทับใจอย่างสุดซึ้งที่บ่อยครั้งคงอยู่ตลอดชั่วชีวิตของบุตร. ตัวอย่างเช่น หลายคนที่สำเร็จการศึกษาจากชั้นเรียนหนึ่งของโรงเรียนว็อชเทาเวอร์ไบเบิลแห่งกิเลียดได้เล่าว่าที่พวกเขามีความปรารถนาจะทำงานรับใช้เต็มเวลาก็เนื่องมาจากตัวอย่างและการสนับสนุนของบิดามารดา. ช่างเป็นมรดกที่วิเศษอะไรเช่นนี้สำหรับบุตร และเป็นพระพรเสียจริง ๆ สำหรับบิดามารดา! จริงอยู่ ใช่ว่าเด็กทุกคนอยู่ในฐานะที่จะเข้าสู่งานรับใช้เต็มเวลาเมื่อเขาโตขึ้น แต่ทุกคนจะได้รับประโยชน์และให้เกียรติบิดามารดาที่เกรงกลัวพระเจ้าอย่างแน่ ๆ ผู้ซึ่งกลายเป็นเพื่อนสนิทที่สุดและเป็นแบบอย่างที่ดีของเขา.—สุภาษิต 22:6; เอเฟโซ 6:2, 3.
บิดามารดาไร้คู่สามารถประสบผลสำเร็จ
ทุกวันนี้ เด็กหลายคนได้รับการเลี้ยงดูจากบิดาหรือมารดาที่ไร้คู่. ถึงแม้การเลี้ยงดูบุตรโดยไม่มีคู่สมรสนับว่าเป็นข้อท้าทายที่ยากกว่า แต่ก็สามารถบรรลุผลสำเร็จได้. บิดามารดาไร้คู่อาจได้รับการหนุนใจจากตัวอย่างในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับยูนิเก คริสเตียนชาวยิวในศตวรรษแรก. เนื่องจากได้สมรสกับคนที่ไม่มีความเชื่อ ยูนิเกคงไม่ได้รับการเกื้อหนุนจากสามีในเรื่องการนมัสการแท้. ถึงกระนั้น เธอก็เป็นแบบอย่างที่ดีในการสอนติโมเธียว. อิทธิพลที่ดีของเธอที่มีต่อติโมเธียวตั้งแต่เป็นทารก พร้อมกับอิทธิพลที่ดีของโลอี ยายของติโมเธียว ปรากฏว่ามีพลังมากกว่าอิทธิพลที่ก่อผลเสียหายใด ๆ ซึ่งอาจมาจากเพื่อนรุ่นเดียวกันบางคนของติโมเธียว.—กิจการ 16:1, 2; 2 ติโมเธียว 1:5; 3:15.
หนุ่มสาวหลายคนในทุกวันนี้ซึ่งได้เติบโตขึ้นโดยมีบิดาหรือมารดาที่ไม่มีความเชื่อหรืออยู่ในครอบครัวที่มีแต่บิดาหรือมารดาก็แสดงคุณลักษณะที่ดีเช่นเดียวกับชายหนุ่มติโมเธียว. ตัวอย่างเช่น ไรอัน ปัจจุบันอายุ 22 ปี และเป็นผู้
เผยแพร่เต็มเวลา ได้เติบโตมาพร้อมกับพี่ชายและพี่สาวของเขาในครอบครัวที่มีแต่มารดา. บิดาของเขาติดเหล้าและได้ทิ้งครอบครัวไปตอนไรอันอายุสี่ขวบ. ไรอันเล่าความหลังว่า “คุณแม่ตกลงใจว่าครอบครัวของเราจะรับใช้พระยะโฮวาต่อไป และท่านได้ทำตามความตั้งใจนั้นอย่างสุดหัวใจ.”ไรอันได้กล่าวว่า “ตัวอย่างเช่น คุณแม่อนุญาตให้เราคบเฉพาะกับเด็กที่มีผลกระทบต่อเราในทางที่ดีเท่านั้น. ท่านไม่เคยอนุญาตให้เราคบหากับคนเหล่านั้นที่คัมภีร์ไบเบิลพรรณนาว่าเป็นการคบหาสมาคมที่ไม่ดี ไม่ว่าภายนอกหรือภายในประชาคม. ท่านยังได้พร่ำสอนเราให้มีทัศนะที่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษาทางโลก.” ถึงแม้มารดาของไรอันมักจะมีธุระยุ่งและเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน นี่ก็ไม่ได้ยับยั้งเธอไว้มิให้แสดงความสนใจด้วยความรักต่อลูก ๆ ของเธอ. ไรอันกล่าวว่า “คุณแม่ต้องการอยู่กับเราและพูดคุยกับเราเสมอ. ท่านเป็นครูที่อดทนแต่ก็หนักแน่น ท่านพยายามสุดความสามารถเพื่อทำให้แน่นอนว่าเรามีการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำในครอบครัว. เมื่อมาถึงเรื่องหลักการในคัมภีร์ไบเบิล ไม่มีคำว่า ‘อะลุ่มอล่วย’ อยู่ในพจนานุกรมของท่าน.”
เมื่อหวนคิดถึงวัยเด็ก ไรอันตระหนักว่าคนที่มีอิทธิพลอันทรงพลังมากที่สุดในชีวิตของเขาและพวกพี่ ๆ นั้นก็คือมารดา ผู้ซึ่งรักพระเจ้าและลูก ๆ อย่างแท้จริง. ดังนั้น คุณที่เป็นบิดามารดาคริสเตียน ทั้งที่มีคู่สมรสอยู่หรือเป็นม่าย, คนที่มีคู่สมรสที่มีความเชื่อหรือไม่มีความเชื่อ ขออย่ายอมแพ้เนื่องจากความท้อใจหรืออุปสรรคที่มีอยู่ชั่วคราวขณะที่คุณพยายามจะสอนบุตรของคุณ. บางครั้ง หนุ่มสาวบางคนอาจหันเหไปจากความจริง เหมือนกับบุตรสุรุ่ยสุร่าย. แต่เมื่อพวกเขาเห็นว่าจริง ๆ แล้วโลกนี้ไม่มีแก่นสารและโหดร้าย พวกเขาอาจกลับมาก็ได้. ใช่แล้ว “คนชอบธรรมที่ประพฤติตามความสุจริตของตน, ลูกหลานของเขาจะอยู่เป็นสุข.”—สุภาษิต 20:7; 23:24, 25; ลูกา 15:11-24.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 9 สำหรับการพิจารณาที่ละเอียดกว่าเกี่ยวกับจุดที่เฉพาะเจาะจงเหล่านี้ โปรดดูหน้า 55-59 ของหนังสือเคล็ดลับสำหรับความสุขในครอบครัว จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
[กรอบ/ภาพหน้า 11]
พระเจ้าทรงเลือกบิดามารดาของพระเยซู
เมื่อส่งพระบุตรของพระองค์มาประสูติเป็นมนุษย์ พระยะโฮวาทรงเลือกบิดามารดาของพระเยซูอย่างรอบคอบ. น่าสนใจ พระองค์ทรงเลือกคู่สามีภรรยาที่ถ่อมใจและเกรงกลัวพระเจ้า ผู้ซึ่งไม่ได้พะเน้าพะนอพระเยซู แต่สอนพระคำของพระเจ้าและคุณค่าของการทำงานอย่างขยันขันแข็งและความรับผิดชอบให้พระองค์. (สุภาษิต 29:21; บทเพลงร้องทุกข์ของยิระมะยา 3:27) โยเซฟได้สอนอาชีพช่างไม้ให้พระเยซู และไม่ต้องสงสัยว่าทั้งโยเซฟและมาเรียคงได้ขอร้องพระเยซูซึ่งเป็นบุตรหัวปีให้ช่วยเหลือพวกเขาในการเอาใจใส่ดูแลลูกคนอื่น ๆ ที่มีจำนวนอย่างน้อยหกคน.—มาระโก 6:3.
คุณอาจนึกภาพครอบครัวของโยเซฟทำงานด้วยกันในช่วงเทศกาลปัศคาเพื่อเตรียมตัวสำหรับการเดินทางประจำปีของพวกเขาไปกรุงเยรูซาเลม ซึ่งเป็นการเดินทางไปกลับ 200 กิโลเมตรโดยไม่มีพาหนะอย่างสมัยปัจจุบัน. เป็นเรื่องแน่นอนว่า ครอบครัวที่มีสมาชิกเก้าคนหรือมากกว่านั้นคงต้องจัดระเบียบอย่างดีสำหรับการเดินทางไกลเช่นนั้น. (ลูกา 2:39, 41) แม้จะมีข้อท้าทายต่าง ๆ ไม่ต้องสงสัยว่าโยเซฟกับมาเรียถือว่าการเดินทางไกลเช่นนี้มีคุณค่า บางทีใช้ประโยชน์จากโอกาสดังกล่าวที่จะสอนบุตรเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตจากคัมภีร์ไบเบิล.
ขณะเติบโตขึ้น พระเยซู “อยู่ใต้ความปกครองของ” บิดามารดาต่อไป ตลอดเวลาพระองค์ทรง “จำเริญขึ้นในฝ่ายสติปัญญา, ในฝ่ายกาย, และเป็นที่ชอบจำเพาะพระเจ้าและต่อหน้าคนทั้งปวงด้วย.” (ลูกา 2:51, 52) แน่นอน โยเซฟกับมาเรียได้พิสูจน์ว่าคู่ควรกับความไว้วางใจของพระยะโฮวา. คนทั้งสองช่างเป็นตัวอย่างที่ดีสักเพียงไรสำหรับบิดามารดาในทุกวันนี้!—บทเพลงสรรเสริญ 127:3.