ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยคุณสื่อความกับคู่สมรส
ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยคุณสื่อความกับคู่สมรส
‘ฉันไม่น่าจะพูดอย่างนั้น.’ ‘ฉันไม่ได้พูดออกมาอย่างชัดเจน.’ คุณเคยรู้สึกอย่างนั้นไหมหลังจากที่พยายามสื่อความกับคู่สมรสของคุณ? การสื่อความเป็นทักษะที่จำเป็นต้องพัฒนา. เช่นเดียวกับทักษะไม่ว่าด้านใด ๆ บางคนดูเหมือนว่าสามารถใช้ทักษะในการสื่อความได้อย่างง่ายดาย ขณะที่คนอื่นทำได้ยากกว่า. กระนั้น ถึงแม้คุณอยู่ในคนกลุ่มหลัง ก็ยังมีทางเป็นไปได้ที่คุณจะเรียนรู้วิธีถ่ายทอดความคิดของคุณในแบบที่น่าพอใจ เพื่อจะสื่อความอย่างบังเกิดผล.
บางครั้ง วัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อวิธีที่ผู้คนปฏิบัติต่อคู่สมรส. พวกผู้ชายอาจถูกสอนว่า ‘เพื่อจะเป็นลูกผู้ชาย ไม่ควรพูดมากเกินไป.’ ผู้ชายที่ชอบพูดชอบคุยอาจได้รับการดูถูกว่าเป็นคนเหลาะแหละไม่จริงใจ. จริงอยู่ คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “จงให้ทุกคนว่องไวในการฟัง, ช้าในการพูด.” (ยาโกโบ ) อย่างไรก็ตาม คำแนะนำนี้นำมาใช้กับทั้งชายและหญิง และแสดงว่าการสื่อความเกี่ยวข้องไม่เพียงแค่การพูด. คนสองคนอาจพูดคุยกันอย่างยืดยาว แต่จะว่าอย่างไรหากทั้งสองต่างก็ไม่ฟังกันและกัน? คงจะไม่มีการสื่อความอย่างแท้จริง. ดังที่ข้อคัมภีร์ดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็น ส่วนใหญ่ของการสื่อความที่ประสบผลสำเร็จอยู่ที่ศิลปะในการฟัง. 1:19
การสื่อความโดยไม่ใช้คำพูด
ในบางชุมชน เป็นที่คาดหมายว่าภรรยาไม่ควรแสดงความคิดเห็น. สามีต้องไม่เข้าไปยุ่งในเรื่องของครอบครัวอย่างเด็ดขาด. ในสภาพการณ์เช่นนั้น สามีและภรรยาจึงไม่รู้ว่าคู่ของตนต้องการอะไรในสถานการณ์เฉพาะอย่างใด ๆ. ภรรยาบางคนช่ำชองทีเดียวในการสังเกตออกถึงความต้องการของสามี แล้วลงมือจัดการทันทีเพื่อสนองความต้องการนั้น. ในกรณีดังกล่าว มีการสื่อความโดยไม่ใช้คำพูดระหว่างสามีกับภรรยา. แต่ตามปกติแล้ว การสื่อความชนิดนี้เป็นแบบฝ่ายเดียว. ขณะที่ภรรยาอาจเรียนรู้ที่จะมองให้ออกว่าสามีคิดหรือรู้สึกอย่างไรนั้น ไม่ค่อยจะมีการคาดหมายให้สามีพัฒนาทักษะอย่างเดียวกันและสังเกตออกถึงความรู้สึกของภรรยา.
จริงอยู่ ในบางวัฒนธรรม ผู้ชายสังเกตความต้องการด้านอารมณ์ของผู้หญิงและพยายามจะสนองความต้องการนั้น. อย่างไรก็ดี แม้แต่ในวัฒนธรรมดังกล่าว คู่สมรสหลายคู่คงจะได้รับประโยชน์จากการสื่อความที่ดีขึ้น.
การสื่อความเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
การสื่อความแบบตรงไปตรงมาสามารถป้องกันการเข้าใจผิดและการตีความแบบผิด ๆ. ในช่วงต้นประวัติศาสตร์ของชาวอิสราเอล ตระกูลรูเบน, กาด, และมะนาเซห์ครึ่งตระกูลซึ่งอาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดนได้สร้าง “แท่นใหญ่งามน่าดู” ริมแม่น้ำจอร์แดน. ตระกูลอื่น ๆ ได้เข้าใจผิดในการกระทำของพวกเขา. โดยคิดว่าพวกพี่น้องของตนในตระกูลดังกล่าวที่อยู่อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำจอร์แดนได้ทำสิ่งที่เป็นการออกหาก ตระกูลต่าง ๆ ที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกจึงเตรียมตัวจะทำสงครามกับตระกูลที่พวกเขาถือว่าเป็น “กบฏ.” แต่ก่อนออกเดินทางไปสู้รบ พวกเขาได้ส่งตัวแทนไปเจรจากับตระกูลที่อยู่ทางฝั่งตะวันออก. ช่างเป็นการกระทำที่ฉลาดสุขุมจริง ๆ! พวกเขาได้พบว่าแท่นดังกล่าวไม่ได้ถูกทำขึ้นมาเพื่อถวายเครื่องบูชาเผาอย่างที่ผิดกฎหมาย. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ตระกูลต่าง ๆ ที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกเกรงว่าในอนาคต ตระกูลอื่นจะบอกพวกเขาว่า “เจ้าหามีส่วนในพระยะโฮวาไม่.” แท่นดังกล่าวจะเป็นพยานว่าพวกเขาก็เป็นผู้นมัสการพระยะโฮวาด้วยเช่นกัน. (ยะโฮซูอะ 22:10-29) พวกเขาได้ตั้งชื่อแท่นนั้นว่า แท่นพยาน คงเป็นเพราะว่าแท่นนั้นใช้เป็นพยานว่า พวกเขายอมรับพระยะโฮวาในฐานะพระเจ้าเที่ยงแท้.—ยะโฮซูอะ 22:34, ฉบับแปลใหม่.
คำอธิบายของพวกเขานับว่าเพียงพอที่จะทำให้ตระกูลอื่น ๆ มั่นใจ และเลิกล้มความคิดที่จะลงมือจัดการกับสองตระกูลครึ่งนั้น. ใช่แล้ว การสื่อความแบบเปิดเผยและตรงไปตรงมาช่วยให้หลีกเลี่ยงการต่อสู้กันด้วยอาวุธ. ต่อมา เมื่อชาติอิสราเอลกบฏต่อพระยะโฮวาพระเจ้า ผู้เป็นสามีโดยนัยของพวกเขา พระองค์แจ้งให้พวกเขาทราบว่า พระองค์จะ ‘พูดปลอบโยนใจของพวกเขา’ ด้วยความเมตตา. (โฮเซอา 2:14) ช่างเป็นตัวอย่างที่ดีอะไรเช่นนี้สำหรับคนที่สมรสแล้ว! ใช่แล้ว จงพยายามเข้าถึงหัวใจคู่ชีวิตของคุณ เพื่อเขาจะเข้าใจความรู้สึกของคุณ. การทำเช่นนี้นับว่าสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกที่รุนแรงภายใน. แพตตี มิฮาลิก นักหนังสือพิมพ์คนหนึ่งในสหรัฐให้ข้อสังเกตว่า “บางคนบอกว่า คำพูดนั้นราคาถูกมากไม่ต้องซื้อหา แต่คำพูดก็อาจมีค่าที่ไม่อาจประมาณได้ด้วยเช่นกัน. และขณะที่บางคนอาจรู้สึกว่ายากที่จะพูดแสดงความรู้สึกออกมา แต่ผลของการพูดนั้นอาจมีค่ามากยิ่งกว่าเงินในธนาคารเสียอีก.”
พัฒนาทักษะในการสื่อความ
บางคนอาจอ้างว่า ‘ชีวิตสมรสของเราล้มเหลวมาตั้งแต่ต้น.’ คนอื่นอาจสรุปว่า ‘ชีวิตสมรสรายนี้ไปไม่รอด.’ บางคู่อาจรู้สึกว่าไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะปรับปรุงทักษะในการสื่อ
ความภายหลังวันแต่งงานของเขา. กระนั้น ขอให้คิดถึงคนเหล่านั้นที่อยู่ในสังคมซึ่งญาติพี่น้องเป็นผู้จัดการสมรสให้. หลายคนในวัฒนธรรมดังกล่าวได้สร้างการสื่อความที่ประสบผลสำเร็จในชีวิตสมรสของเขาในที่สุด.ชายหญิงคู่หนึ่งในประเทศแถบตะวันออกได้แต่งงานกันโดยที่ผู้ใหญ่จัดการให้. พ่อสื่อคนหนึ่งได้ถูกขอให้เดินทางเป็นระยะทางไกลเพื่อหาเจ้าสาวสำหรับฝ่ายชาย. กระนั้น คู่สมรสซึ่งมีชีวิตอยู่เกือบ 4,000 ปีมาแล้วนี้ ได้แสดงให้เห็นทักษะที่โดดเด่นในเรื่องศิลปะของการสื่อความ. ชายผู้นี้คือยิศฮาคได้พบพ่อสื่อคนนั้นและว่าที่เจ้าสาวของเขาในทุ่งนา. ชายที่ทำหน้าที่เป็นพ่อสื่อ “เล่าเรื่องที่ตนได้ทำนั้นให้ยิศฮาคฟังทุกประการ.” เรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับการสมรสรายนี้บอกต่อไปว่า “ยิศฮาคจึงพานาง [ริบะคา] เข้ามาในทับอาศัยของนางซารามารดาของตน [ขั้นตอนนี้เป็นการสมรสอย่างเป็นทางการ], รับนางริบะคาเป็นภรรยา, มีความรักใคร่มาก.”—เยเนซิศ 24:62-67.
ขอสังเกตว่า ทีแรกยิศฮาคได้ฟังเรื่องจากพ่อสื่อก่อนแล้วหลังจากนั้นจึงรับนางริบะคาเป็นภรรยา. พ่อสื่อเป็นคนใช้ที่วางใจได้ซึ่งเป็นผู้เลื่อมใสในพระยะโฮวาพระเจ้าที่ยิศฮาคนมัสการอยู่. ยิศฮาคมีเหตุผลอันควรในการวางใจชายคนนี้. หลังจากนั้น ยิศฮาคก็ “มีความรักใคร่มาก” ต่อนางริบะคาที่ท่านได้สมรสด้วย.
ยิศฮาคกับนางริบะคาได้พัฒนาทักษะในการสื่อความที่ดีไหม? หลังจากเอซาวบุตรของคนทั้งสองได้แต่งงานกับบุตรสาวชาติเฮทสองคนแล้ว ได้เกิดปัญหาร้ายแรงขึ้นในครอบครัว. ริบะคา “จึงบอกยิศฮาค [“อยู่เรื่อย ๆ,” ล.ม.] ว่า, ‘ฉันเบื่อหน่ายด้วยบุตรสาวชาติเฮธนั้น: ถ้าแม้นยาโคบ [บุตรชายคนเล็ก] จะรับบุตรสาวชาติเฮธ . . . เป็นภรรยาแล้ว, ฉันจะมีชีวิตต่อไปเป็นประโยชน์อะไรเล่า?” (เยเนซิศ 26:34; 27:46) ปรากฏชัดว่า เธอบอกให้รู้ความเป็นห่วงกังวลของเธออย่างชัดแจ้ง.
ยิศฮาคได้สั่งยาโคบ น้องชายฝาแฝดของเอซาวว่า อย่ารับลูกสาวของชาวคะนาอันมาเป็นภรรยา. (เยเนซิศ 28:1, 2) ริบะคาได้ทำให้ยิศฮาคเข้าใจชัดเจน. สามีภรรยาคู่นี้ได้สื่อความกันอย่างประสบผลสำเร็จในเรื่องที่ละเอียดอ่อนของครอบครัว, เป็นการวางตัวอย่างที่ดีไว้ให้เราในทุกวันนี้. แต่จะว่าอย่างไรหากคู่สมรสไม่เห็นพ้องกันในประเด็นหนึ่ง? จะทำประการใดดี?
เมื่อเผชิญกับความขัดแย้ง
หากคุณกับคู่สมรสมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง อย่าปฏิบัติต่อคู่ของคุณโดยไม่พูดไม่จา. การทำอย่างนี้ก็เหมือนกับว่าคุณไม่มีความสุข และคุณก็ไม่อยากให้คู่ของคุณมีความสุขด้วยเช่นกัน. กระนั้น คู่ของคุณอาจยังไม่เข้าใจความประสงค์และความรู้สึกของคุณทั้งหมด.
คุณกับคู่สมรสอาจต้องปรึกษาหารือกัน. หากประเด็นนั้นอาจทำให้อีกฝ่ายหนึ่งอารมณ์เสีย ก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสงบสติอารมณ์. อับราฮามและซาราห์ซึ่งเป็นบิดามารดาของยิศฮาค เคยเผชิญสภาพการณ์ที่ยากลำบากครั้งหนึ่ง. เนื่องจากซาราห์เป็นหมัน เธอจึงปฏิบัติตามธรรมเนียมในสมัยนั้น โดยจัดให้ฮาฆารสาวใช้ของเธอเป็นอนุภรรยาของอับราฮามเพื่อให้กำเนิดบุตร. ฮาฆารได้มีบุตรชายกับอับราฮามชื่อยิศมาเอล. อย่างไรก็ดี ต่อมาซาราห์เองได้ตั้งครรภ์ เธอมีบุตรชายกับอับราฮาม คือยิศฮาค. เมื่อยิศฮาคหย่านม ซาราห์ได้สังเกตเห็นยิศมาเอลเยาะเย้ยบุตรชายของเธอ. ดังนั้น ซาราห์ซึ่งมองเห็นอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับบุตรของเธอ ได้เร่งเร้าอับราฮามให้ขับไล่สาวใช้กับยิศมาเอลไปเสีย. ใช่แล้ว ซาราห์บอกให้รู้ว่าเธอรู้สึกอย่างไรด้วยท่าทีที่ตรงไปตรงมา. แต่สิ่งที่เธอขอปรากฏว่าทำให้อับราฮามไม่พอใจทีเดียว.
มีการจัดการกับความขัดแย้งนั้นโดยวิธีใด? เรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “พระเจ้าจึงตรัสแก่อับราฮามว่า, ‘อย่าให้ใจของเจ้าเป็นทุกข์ร้อนด้วยเด็กและหญิงทาสีของเจ้านั้นเลย; จงเชื่อฟังถ้อยคำทั้งหมดที่นางซาราได้พูดกับเจ้าเถิด; ด้วยกุมารยิศฮาคนี้จะสืบเชื้อวงศ์ของเจ้าไว้.’ ” อับราฮามได้ฟังคำแนะนำของพระยะโฮวาพระเจ้าแล้วลงมือปฏิบัติตามนั้น.—เยเนซิศ 16:1-4; 21:1-14.
คุณอาจบอกว่า ‘ก็ถ้าพระเจ้าจะตรัสกับเราจากสวรรค์ เราก็จะเห็นพ้องต้องกันได้อย่างง่ายดาย!’ นั่นนำเราไป1 เธซะโลนิเก 2:13.
สู่ปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งเพื่อจะขจัดข้อโต้แย้งกันระหว่างสามีภรรยา. คู่สมรสสามารถฟังพระเจ้าได้. โดยวิธีใด? โดยการอ่านพระคำของพระเจ้าด้วยกันและยอมรับว่าสิ่งที่พระคำนี้กล่าวเป็นการชี้นำจากพระเจ้า.—ภรรยาคริสเตียนที่อาวุโสคนหนึ่งได้กล่าวว่า “หลายครั้ง เมื่อหญิงสาวมาหาดิฉันเพื่อขอคำแนะนำในเรื่องชีวิตสมรสของเธอ ดิฉันก็จะถามว่าเธอกับสามีอ่านคัมภีร์ไบเบิลด้วยกันหรือไม่. คนส่วนใหญ่ที่มีปัญหาในชีวิตสมรสไม่ได้อ่านคัมภีร์ไบเบิลด้วยกันเป็นประจำ.” (ติโต 2:3-5) เราทุกคนสามารถได้รับประโยชน์จากข้อสังเกตของเธอ. จงอ่านพระคำของพระเจ้ากับคู่สมรสของคุณเป็นประจำ. โดยวิธีนี้ คุณ “ได้ยิน” พระคำของพระเจ้าในเรื่องวิธีประพฤติตัวทุกวัน. (ยะซายา 30:21) แต่จงระวัง อย่าใช้คัมภีร์ไบเบิลเป็นเหมือนไม้เรียวตีคู่ของคุณ, โดยชี้อยู่เรื่อย ๆ ถึงข้อคัมภีร์ที่คุณรู้สึกว่าคู่ของคุณไม่ได้นำมาใช้. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น จงพยายามจะดูว่าคุณทั้งสองจะนำสิ่งที่อ่านมาใช้ได้อย่างไร.
หากคุณพยายามจะรับมือกับปัญหาที่ยาก ก็ลองตรวจดูดัชนีสรรพหนังสือของว็อชเทาเวอร์ * (ภาษาอังกฤษ) เกี่ยวกับเรื่องที่คุณเป็นห่วงกังวลโดยเฉพาะ. ตัวอย่างเช่น คุณอาจดูแลบิดามารดาที่สูงอายุ และนั่นก่อให้เกิดความเครียดในชีวิตสมรสของคุณ. แทนที่จะโต้เถียงกันในเรื่องที่ว่าคู่ของคุณควรทำหรือไม่ควรทำอะไร ลองตรวจดูดัชนีด้วยกันสิ. ทีแรก ค้นดูหัวข้อหลัก “บิดามารดา.” คุณอาจต้องการค้นดูข้ออ้างอิงภายใต้หัวข้อย่อยต่าง ๆ เช่น “การเอาใจใส่ดูแลบิดามารดาที่สูงอายุ.” จงอ่านด้วยกันในบทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จากสรรพหนังสือของพยานพระยะโฮวา. คุณอาจรู้สึกแปลกใจที่คุณกับคู่สมรสสามารถได้รับประโยชน์มากเพียงไรจากความรู้ที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก ซึ่งได้ช่วยคริสเตียนที่จริงใจหลายคน.
การตรวจดูข้ออ้างอิงเหล่านั้นและอ่านเรื่องราวด้วยกันจะช่วยคุณให้มองปัญหาของคุณโดยไม่ลำเอียง. คุณจะพบข้อคัมภีร์ที่ยกขึ้นมากล่าวและที่อ้างอิงถึงซึ่งทำให้คุณทราบความคิดของพระเจ้า. จงค้นดูข้อเหล่านั้นในคัมภีร์ไบเบิลแล้วอ่านด้วยกัน. ใช่แล้ว คุณจะได้ยินสิ่งที่พระเจ้าตรัสเกี่ยวกับปัญหาที่คุณเผชิญอยู่!
รักษาการสื่อความที่ดีไว้เสมอ
คุณเคยพยายามเปิดประตูที่ไม่ได้ใช้มานานไหม? เสียงลั่นเอี๊ยด บานพับที่ขึ้นสนิมค่อย ๆ อ้าออก. แต่จะเป็นอย่างไรถ้ามีการใช้ประตูนั้นเป็นประจำ และบานพับก็ได้รับการหยอดน้ำมันเป็นอย่างดี? ประตูก็คงจะเปิดง่าย. ประตูแห่งการสื่อความก็เช่นเดียวกัน. เช่นเดียวกับการหยอดน้ำมันประตูทำให้ประตูเปิดง่าย โดยการแสดงความรักแบบคริสเตียน คุณก็สามารถบอกให้รู้ความคิดของคุณได้ง่ายขึ้น แม้แต่เมื่อมีการขัดแย้งกันอย่างรุนแรง.
ทีแรกการปรับปรุงทักษะนี้มักจะช้า แต่ความบากบั่นจะค่อย ๆ ก่อผลที่น่าปรารถนา. แม้การสื่อความอาจต้องใช้ความพยายามมากในตอนแรก ก็จงพยายามสื่อความ. ครั้นแล้ว คุณจะมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นยิ่งขึ้นกับคู่สมรสของคุณในที่สุด ทำให้รู้ใจกันตลอดไป.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 22 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
[ภาพหน้า 7]
เมื่อเผชิญความขัดแย้งกัน คุณจะแสวงหาการชี้นำจากพระเจ้าไหม?